โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 28 สิงหาคม 2022

ส.ส.ครอบครัวรัตนเศรษฐ พปชร. เข้าช่วยเหลือทุกพื้นที่จ.โคราช.มอบซิมโทรศัพท์ ใช้เน็ตฟรี มอบเครื่องอุปโภคบริโภค แบ่งเบาภาระปชช.

ส.ส.ครอบครัวรัตนเศรษฐ พปชร. เข้าช่วยเหลือทุกพื้นที่จ.โคราช.มอบซิมโทรศัพท์ ใช้เน็ตฟรี มอบเครื่องอุปโภคบริโภค แบ่งเบาภาระปชช.

,

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2565 ส.ส.วิรัช รัตนเศรษฐ แบบบัญชีรายชื่อ จ.นครราชสีมา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ลงพื้นที่ อ.เมืองยาง จ.นครราชสีมา เปิดโครงการ “สื่อสารใจถึงใจ” มอบซิมโทรศัพท์ ใช้เน็ตและโทรศัพท์ฟรี เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับพี่น้องประชาชน พร้อมมอบเสื้อและหมวก เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ณ จุดต่างๆ ดังนี้ ต.โนนอุดม ต.เมืองยาง ศาลาลานย่าโม บ้านครบุรี ต.ละหานปลาค้าว

ด้าน ส.ส.ทวิรัฐ รัตนเศรษฐ เขต 4 จ.นครราชสีมา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้ลงพื้นที่ อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา เยี่ยมและให้กำลังใจ ผู้ได้รับผลกระทบจากฝนตกต่อเนื่อง พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภค ของใช้จำเป็น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ณ จุดต่างๆ ดังนี้ วัดหญ้าคาใต้ ต.ธารปราสาท วัดบ้านปราสาท ต.ธารปราสาท วัดใหม่เกษม ต.ธารปราสาท ศาลาประชาคม ม.11 ต.ธารปราสาท ศาลาบ้านหนองแหนพัฒนา ม.11 ต.ธารปราสาท ศาลาประชาคมบ้านวังม่วง ต.ธารปราสาท

ส.ส.ครอบครัวรัตนเศรษฐ พปชร. เข้าช่วยเหลือทุกพื้นที่จ.โคราช.มอบซิมโทรศัพท์ ใช้เน็ตฟรี มอบเครื่องอุปโภคบริโภค แบ่งเบาภาระปชช. ส.ส.ครอบครัวรัตนเศรษฐ พปชร. เข้าช่วยเหลือทุกพื้นที่จ.โคราช.มอบซิมโทรศัพท์ ใช้เน็ตฟรี มอบเครื่องอุปโภคบริโภค แบ่งเบาภาระปชช. ส.ส.ครอบครัวรัตนเศรษฐ พปชร. เข้าช่วยเหลือทุกพื้นที่จ.โคราช.มอบซิมโทรศัพท์ ใช้เน็ตฟรี มอบเครื่องอุปโภคบริโภค แบ่งเบาภาระปชช. ส.ส.ครอบครัวรัตนเศรษฐ พปชร. เข้าช่วยเหลือทุกพื้นที่จ.โคราช.มอบซิมโทรศัพท์ ใช้เน็ตฟรี มอบเครื่องอุปโภคบริโภค แบ่งเบาภาระปชช. ส.ส.ครอบครัวรัตนเศรษฐ พปชร. เข้าช่วยเหลือทุกพื้นที่จ.โคราช.มอบซิมโทรศัพท์ ใช้เน็ตฟรี มอบเครื่องอุปโภคบริโภค แบ่งเบาภาระปชช. ส.ส.ครอบครัวรัตนเศรษฐ พปชร. เข้าช่วยเหลือทุกพื้นที่จ.โคราช.มอบซิมโทรศัพท์ ใช้เน็ตฟรี มอบเครื่องอุปโภคบริโภค แบ่งเบาภาระปชช. ส.ส.ครอบครัวรัตนเศรษฐ พปชร. เข้าช่วยเหลือทุกพื้นที่จ.โคราช.มอบซิมโทรศัพท์ ใช้เน็ตฟรี มอบเครื่องอุปโภคบริโภค แบ่งเบาภาระปชช. ส.ส.ครอบครัวรัตนเศรษฐ พปชร. เข้าช่วยเหลือทุกพื้นที่จ.โคราช.มอบซิมโทรศัพท์ ใช้เน็ตฟรี มอบเครื่องอุปโภคบริโภค แบ่งเบาภาระปชช. ส.ส.ครอบครัวรัตนเศรษฐ พปชร. เข้าช่วยเหลือทุกพื้นที่จ.โคราช.มอบซิมโทรศัพท์ ใช้เน็ตฟรี มอบเครื่องอุปโภคบริโภค แบ่งเบาภาระปชช. ส.ส.ครอบครัวรัตนเศรษฐ พปชร. เข้าช่วยเหลือทุกพื้นที่จ.โคราช.มอบซิมโทรศัพท์ ใช้เน็ตฟรี มอบเครื่องอุปโภคบริโภค แบ่งเบาภาระปชช.

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 สิงหาคม 2565

โฆษกพปชร.เผยพล.อ.ประวิตรห่วงใยปชช.ช่วงฤดูมรสุม ระดมส.ส.พื้นที่เสี่ยงเตรียมแผนแจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำ 3 เดือน

โฆษกพปชร.เผยพล.อ.ประวิตรห่วงใยปชช.ช่วงฤดูมรสุม ระดมส.ส.พื้นที่เสี่ยงเตรียมแผนแจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำ 3 เดือน

,

ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม.เขต 2 โฆษกพรรคพลังประชารัฐ ( พปชร.) เปิดเผยว่าจากสถานการณ์ปริมาณน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ที่ต้องเป็นพื้นที่รับน้ำจากการระบายน้ำออกจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยมีปริมาณการปล่อยน้ำ ในระดับ 1,500 -1,800 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลต่อน้ำท่วมเข้าพื้นที่ทำการเกษตรและบ้านเรือนของประชาชน ซึ่งพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) มีความห่วงใยประชาชน ในผลกระทบที่เกิดขึ้น ได้มอบหมายให้ สส.พปชร. ในพื้นที่เร่งประสานงานและติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยที่ผ่านมา ส.ส.สัญญา นิลสุพรรณ พปชร. เขต 3 จังหวัดนครสวรรค์ และ ส.ส.สุรชาติ ศรีบุศกร พปชร. เขต 3 จังหวัดพิจิตร ได้มีการลงพื้นที่ เข้าให้ความช่วยเหลือ พร้อมรับฟังข้อมูลและปัญหาของชาวบ้านมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการประสานงานกับหน่วยงาน บูรณาการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ภายใต้การดำเนินการ 13 มาตรการ ของแผนการบริหารจัดการน้ำ ของพื้นที่แต่ละลุ่มน้ำ ให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งสะท้อนปัญหาในพื้นที่ ให้กับท่านหัวหน้าพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเฝ้าระวังและเร่งระบายน้ำในบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา

“ในระยะ 3 เดือนที่เหลือของปีนี้ ถือเป็นช่วงฤดูมรสุมที่การพยากรณ์และคาดการณ์ว่า จะมีพายุพาดผ่าน อีกหลายลูก ซึ่งจะมีปริมาณฝนมากและมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาอุทกภัยในบางพื้นที่ได้ อาจสร้างผลกระทบ และเป็นภัยพิบัติต้องมีการเตรียมรับมือ พล.อ.ประวิตร ได้สั่งการให้ดำเนินงานตามมาตรการที่วางแผนไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างทั่วถึงเพื่อลดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง”

นอกจากนี้ ยังได้เตรียมการแนวทางการประสานงาน เพื่อการอพยพ ประชาชนในกรณี ภาวะฉุกเฉิน หากเกิดน้ำท่วมแบบฉับพลัน เพื่อช่วยเหลืออพยพประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย พร้อมประสานศูนย์ดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่มีการจัดตั้งขึ้นโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบล(อบต. )และจังหวัด รวมทั้งได้วางแผนระยะยาว ที่จะเก็บกักปริมาณน้ำที่มีมาก มาใช้ยามช่วงน้ำแล้งด้วย

อย่างไรก็ตาม พรรคพลังประชารัฐ ไม่เคยนิ่งนอนใจในการทำงานลงพื้นที่ และติดตามสถานการณ์น้ำในเขื่อนต่างๆเพื่อรายงานผลไปยังผู้นำชุมชน และชุมชน ให้มีการเตรียมพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง ในช่วงที่มีพายุเข้าสู่ประเทศไทย และฝนตกหนักติดต่อกัน เห็นได้จากก อิทธิพลพายุ”มู่หลาน” ที่สร้างผลกระทบให้กับบ้านเรือนในหลายพื้นที่ ในภาคเหนือ ซึ่งพล.อ.ประวิตร ได้ลงพื้นที่ และมีการเร่งแผนฟื้นฟู ระบบสาธารณูปโภคที่ได้รับความเสียหาย ให้กลับมาใช้ได้ปกติ โดยอาศัยการเบิกจากสำนักงานงบประมาณ ช่วยเหลือเข้าจังหวัดเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับให้สส.พปชร. ในพื้นที่ใกล้เคียง ติดตามความช่วยเหลือในเรื่องการสนับสนุน สิ่งของจำเป็น ที่เป็นความต้องการอย่างแท้จริง

โฆษกพปชร.เผยพล.อ.ประวิตรห่วงใยปชช.ช่วงฤดูมรสุม ระดมส.ส.พื้นที่เสี่ยงเตรียมแผนแจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำ 3 เดือน โฆษกพปชร.เผยพล.อ.ประวิตรห่วงใยปชช.ช่วงฤดูมรสุม ระดมส.ส.พื้นที่เสี่ยงเตรียมแผนแจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำ 3 เดือน โฆษกพปชร.เผยพล.อ.ประวิตรห่วงใยปชช.ช่วงฤดูมรสุม ระดมส.ส.พื้นที่เสี่ยงเตรียมแผนแจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำ 3 เดือน โฆษกพปชร.เผยพล.อ.ประวิตรห่วงใยปชช.ช่วงฤดูมรสุม ระดมส.ส.พื้นที่เสี่ยงเตรียมแผนแจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำ 3 เดือน โฆษกพปชร.เผยพล.อ.ประวิตรห่วงใยปชช.ช่วงฤดูมรสุม ระดมส.ส.พื้นที่เสี่ยงเตรียมแผนแจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำ 3 เดือน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 สิงหาคม 2565

"พล.อ.ประวิตร"สายตรงผู้ว่าจังหวัดอยุธยาเตรียมแผนป้องอุทุกภัย กำชับหน่วยงานระดมเครื่องมือ อุปกรณ์-กำลังคนเสริมช่วยปชช.

“พล.อ.ประวิตร”สายตรงผู้ว่าจังหวัดอยุธยาเตรียมแผนป้องอุทุกภัย กำชับหน่วยงานระดมเครื่องมือ อุปกรณ์-กำลังคนเสริมช่วยปชช.

,

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร. ) ได้โทรศัพท์สายตรงพูดคุยกับผู้ว่าราชการอยุธยา นายวีระชัย นาคมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาอุทกภัยอยู่ในขณะนี้และเกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง ซึ่งรองนายกฯ ได้กำชับและสั่งการเร่งรัดให้เกิดการทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้ระดับน้ำไม่ส่งผลกระทบกับประชาชน โดยเฉพาะกรมชลประทาน และกรมป้องกันสาธารณภัย ในการตรวจสอบเครื่องจักรเครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ ระบบไฟ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 24 ชั่วโมง เพื่อให้การเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว

ขณะเดียวกัน ต้องจัดกำลังเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมทันที ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณาภัย หน่วยทหาร ตำรวจ หน่วยงานจิตอาสา ในการอำนวยความสะดวกในการสัญจร สิ่งของที่จำเป็นการในดำรงชีพ รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านสุขภาพที่อาจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่ด้วยเช่นกัน จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายเป็นปกติ

สำหรับ จ.พระนครศรีอยุธยาปัจจุบันมีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 7 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.บางปะหัน อ.เสนา อ.ผักไห่ อ.บางไทร อ.พระนครศรีอยุธยา และอ.ท่าเรือ รวม 75 ตำบล 340 หมู่บ้าน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา กรมชลประทานได้ออกหนังสือแจ้งเตือน สถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2565 ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 11 จังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องล่วงหน้าแล้ว พร้อมได้มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำ จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวมทั้งทำการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนในพื้นที่ ทั้งนี้ยังได้กำชับสทนช.ให้บูรณาการในการบริหารจัดการน้ำในการระบายน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาไปทางฝั่งตะวันตก ตะวันออก และท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเชื่อมโยงไปแต่ละจังหวัดที่มีทางน้ำผ่านไปสู่ทะเล ซึ่งรวมถึงกรุงเทพมหานครเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนให้น้อยที่สุด เพื่อให้ประชาชนกลับมาสู่การดำเนินชีวิตได้ตามปกติให้เร็วที่สุด เพื่อความกินดีอยู่ดี พร้อมให้สส. พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ในพื้นที่ติดตามสถานการณ์ ประสานงานความช่วยเหลือในทุกชุมชน ที่ได้รับผลกระทบ

ที่มา: ทีมประชาสัมะันธ์พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 สิงหาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”ยินดี”น้องมายด์”นักกีฬาเยาวชนหญิงสนุกเกอร์คว้า แชมป์คนแรก สร้างชื่อเสียงไทย

,

“พล.อ.ประวิตร”ชื่นชม “น้องมาย”นักสนุกเกอร์เยาวชนไทยคนแรกคว้าแชมป์สนามประเทศโรมาเนีย!!!พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาการนายกรัฐมนตรี ในฐานัประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ ได้แสดงความยินดีและชื่นชม กับ ด.ญ. ปุณชญาจันทร์น้อยหรือ “น้องมายด์” นักเรียน รร.เทพลีลา และนักกีฬาสนุกเกอร์หญิงไทยวัย 14 ปี คนแรกในประวัติศาสตร์สนุกเกอร์หญิง ที่คว้าแชมป์สนุกเกอร์เยาวชนหญิงอายุไม่เกิน 21 ปี ระหว่างจัดการแข่งขัน 12 – 29 สิงหาคม 2565 ที่มีขึ้น ณ ประเทศโรมาเนีย

“ขอบคุณ สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย ที่สร้างความสุขและความภูมิใจให้กับคนไทยทั้งประเทศ และประสบความสำเร็จในการส่งนักกีฬาเข้าแข่งขัน โดยเฉพาะการคัดเลือก เตรียมและให้โอกาสนักกีฬาทุกคนเข้าร่วมแข่งขันในรายการสำคัญๆ ระดับโลก โดยย้ำว่า รัฐบาล พร้อมที่จะกระตุ้นและส่งเสริมให้เยาวชนไทย เข้ามาเล่นกีฬาทุกชนิดมากขึ้น โดยเฉพาะการสนับสนุนนักกีฬาไทยให้ประสบความสำเร็จ โดยจะให้ความสำคัญกับการใช้วิทยาศาสตร์การกีฬามากขึ้นในทุกสมาคมกีฬา เพื่อเตรียมพร้อมร่างกาย และทักษะของนักกีฬาทุกประเภทกีฬาให้มีขีดความสามารถมากขึ้น เพื่อเข้ารับการแข่งขันในระดับโลกต่อไป” พล.อ.ประวิตร กล่าว

ทีมา: ทีมข่าวพรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 สิงหาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”ลุยภารกิจเร่งด่วนแก้ปัญหาความเดือดร้อนปชช. บูรณาการแก้ปัญหาที่ทำกิน-ดึงหน่วยงานความมั่นคงรับมือภัยพิบัติ

,

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความเดือดร้อนของประชาชนในขณะนี้ ที่มีหลายด้านเข้ามากระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน และต้องรับผิดชอบราชการแทนนายกรัฐมนตรี สิ่งที่ต้องเร่งทำก็คือเรื่องการบริหารจัดการที่ดินทั่วประเทศ ที่ต้องบูรณาการหน่วยงานเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะให้22 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงาน ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในโครงการบูรณาการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ที่มีคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)กำกับดูแลในแผนการดำเนินงาน ระยะ 5 ปี

สำหรับ 22 หน่วยงานที่จะร่วมลงนาม ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ ได้แก่ กรมป่าไม้ กรมที่ดิน กรมธนารักษ์ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมอุทธยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช 2.กลุ่มหน่วยงานงานพัฒนา ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมทางหลวงชนบท กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมโยธาธิการและผังเมือง และ 3.กลุ่มหน่วยงานสนับสนุนส่งเสริม ได้แก่ กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน

ทั้งนี้ภารกิจที่ต้องทำร่วมกันได้ กำหนดเป้าหมาย ที่ให้ความสำคัญในด้านการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค รวมถึงส่งเสริมพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตให้ราษฎรมีรายได้ที่มั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามพ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ.2562 ที่กำหนดให้มี คทช. เพื่อทำให้การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินเป็นเอกภาพ มีการแก้ปัญหาแนวเขตที่ดินทับซ้อนระหว่างหน่วยงาน และหน่วยงานกับประชาชน โดยแก้ปัญหาประชาชนที่บุกรุกอยู่ในที่ดินรัฐ โดยการพัฒนาอาชีพเกษตรและนอกภาคเกษตร เพื่อให้ประชาชนมีรายได้ที่มั่นคง และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นการแก้ไขเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม ในช่วงสถานการณ์ภัยพิบัติที่มีความรุนแรงมากขึ้นขณะนี้ ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุและมรสุมที่พาดผ่าน ส่งผลให้มีปริมาณฝนตกชุก และต่อเนื่องในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ในระยะที่ผ่านมา ได้สั่งการให้กระทรวงกลาโหม จัดกำลังพล เข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เนื่องจากมีความพร้อม ทั้งกำลังคน และเครื่องมือที่จะเข้าช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที ทั้งด้านการอพยพประชาชน การซ่อมบำรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น การวางแผนเร่งระบายน้ำ เป็นต้น โดยจะทำงานร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่น ที่ผ่านมามีหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบ

“จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ได้กำชับกระทรวงกลาโหม ระดมกำลังพล และยุทโธปกรณ์ร่วมกับส่วนราชการ และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้บูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชน ในพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งให้ทุกหน่วยงานให้การสนับสนุนประชาชน วางแผนการใช้น้ำระยะยาว เก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง สำหรับพืชไร่ และการทำเกษตรด้วย”

สำหรับ พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวัง จากการรายงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พบว่า แบ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากปัญหาของปริมาณน้ำใน 3 รูปแบบ

1. พื้นที่ ที่อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ประกอบด้วย พื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ จ.ตาก (อ.แม่ระมาด ท่าสองยาง) พิษณุโลก (อ.นครไทย เนินมะปรางชาติตระการ วังทอง) และเพชรบูรณ์ (อ.หล่มเก่า หล่มสัก เขาค้อ) พื้นที่ภาคกลาง ได้แก่ จ.นครนายก (อ.เมืองฯ) ปราจีนบุรี (อ.ประจันตคาม นาดี) และกรุงเทพมหานคร

2.พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.ร้อยเอ็ด (อ.เสลภูมิ จังหาร โพนทอง) มหาสารคาม (อ.เมืองฯ กันทรวิชัย) และอุบลราชธานี (อ.เมืองฯ) พื้นที่ภาคกลาง ได้แก่ จ.อ่างทอง (อ.ป่าโมก วิเศษชัยชาญ) และพระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา ผักไห่บางบาล บางไทร บางปะหัน พระนครศรีอยุธยา)

3. พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง ได้แก่จังหวัด ต่างๆ ดังนี้ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ นนทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร ภาคใต้ ได้แก่ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงาภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: ทีมข่าวพรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 สิงหาคม 2565