โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 22 สิงหาคม 2022

“รมว.ตรีนุช” หนุนพัฒนาอาชีพด้านสมุนไพรจ.สระแก้ว จัดสรรงบ 350 ลบ.เปิดร.ร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์

, , ,

“รมว.ตรีนุช”หนุนพัฒนาอาชีพด้านสมุนไพรจ.สระแก้ว จัดสรรงบ 350 ลบ.เปิดร.ร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์

‘รมว.ตรีนุช’ เปิดโครงการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ให้ปชช. ดันสระแก้วเป็นเมืองสมุนไพร พร้อมทุ่ม 350 ล้าน สร้าง ร.ร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ฯ จ.สระแก้ว เพิ่มคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสหนุน ”สระแก้วโมเดล” พัฒนาโรงเรียนคุณภาพ 58 แห่ง

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม จังหวัดสระแก้ว น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาการศึกษาด้านอาชีพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการขับเคลื่อนการดำเนินงานระหว่างสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ละภาคีเครือข่าย ว่า เป็นหนึ่งในโครงการที่ กศน. จัดเพื่อพัฒนาการศึกษาด้านอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ มีหลักการ คือ การตลาดนำการผลิต โดยจะลงพื้นที่รับฟังความต้องการและดูความพร้อมของชุมชน และสถานประกอบการ อย่างในจังหวัดสระแก้ว มีจุดแข็ง คือ สามารถเพาะปลูกขมิ้นชันที่มีคุณภาพ เพราะขมิ้นชันของจังหวัดสระแก้ว มีสารที่มีคุณค่าสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ ทำให้เห็นว่าจังหวัดสระแก้วมีจุดแข็งเรื่องของพื้นที่ สภาพอากาศเหมาะกับการปลูกสมุนไพร สามารถผลักดันให้สระแก้วเป็นเมืองสมุนไพรได้ ถือเป็นทางเลือกหนึ่งให้ประชาชนมาสร้างรายได้ พัฒนาทักษะการปลูกพืชสมุนไพร เพิ่มมากขึ้น

น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อว่า โครงการนี้ จะเป็นการสร้างทางเลือกให้ประชาชน มีรายได้ และพัฒนาทักษะอาชีพ โดยจะจับคู่สถานประกอบการ ทำให้ผลผลิตมีตลาดรองรับทันที ซึ่งการพัฒนาทักษะ จะเริ่มตั้งแต่พัฒนาต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และภาคเอกชน มาบูรณาการพัฒนาทักษะให้ประชาชนร่วมกัน โครงการนี้จะเริ่มนำร่องที่จังหวัดสระแก้วก่อน อย่างไรก็ตาม ตนพบว่าในหลายพื้นที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาได้ จึงมอบหมายให้นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. และนายวัลลภ สงวนนาม เลขาธิการ กศน.ไปขยายผลไปจังหวัดอื่นๆ ต่อไป

“เมื่อพูดถึงเรื่องการศึกษา ในฐานะลูกหลานชาวสระแก้วและมีโอกาสได้เข้าไปทำงานในศธ. ที่ดูแลการศึกษาในทุกมิติ ทำให้เห็นถึงข้อจำกัดในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณที่ถึงแม้ศธ.จะได้งบประมาณเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ แต่งบฯ ที่ได้มาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของบุคลากร ทำให้งบฯพัฒนาน้อย เมื่อมีโอกาสดูเรื่องการศึกษาก็พยายามมองว่าจะสามารถพัฒนาด้านการศึกษาอะไรให้กับประเทศบนข้อจำกัดที่มีอยู่ โดย ศธ.พยายามจะมองว่าเราสามารถพัฒนาอะไรให้กับ ประเทศ และจังหวัดสระแก้วให้ได้ทุกมิติบ้าง ทั้งมิติด้านคุณภาพ มิติการลดความเหลื่อมล้ำ และมิติการสร้างโอกาส จึงเกิดเป็น”สระแก้วโมเดล” โดยการสร้างคุณภาพนั้น จะพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ 58 โรง ในจังหวัดสระแก้ว เพื่อให้โรงเรียนเหล่านี้เป็นโรงเรียนคุณภาพอย่างแท้จริง ไม่ใช่คุณภาพแค่ชื่อ มีการจัดสื่อดิจิทัล เข้าไปในโรงเรียน ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้เด็ก ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลและสื่อต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียม แม้จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกลก็จะไม่ทอดทิ้ง แต่จะสร้างเสริมให้เข้าถึงคุณภาพให้ได้ รวมถึงได้มีการจัดครู ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ เข้าไปเสริมให้ เพราะถือว่าภาษาก็เป็นเรื่องสำคัญ” น.ส.ตรีนุช กล่าว

รัฐมนตรีว่าการ ศธ. กล่าวต่อว่า จังหวัดสระแก้ว เป็นจังหวัดที่อยู่ติดชายแดน ตนได้ปรึกษากับผู้ว่าราชการจังหวัด ถึงการสร้างโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัด ซึ่งขณะนี้ สพฐ. เตรียมงบประมาณไว้แล้ว ขณะนี้ สพฐ.อยู่ระหว่างเร่งหาสถานที่ เพื่อจัดสร้างโรงเรียนด้วย พร้อมกับทำการสำรวจเด็กว่าจะมาเรียนกี่คน เมื่อสำรวจเสร็จแล้ว จะยื่นให้ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) อนุมัติสร้างโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ต่อไป การสร้างโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กฐานะยากลำบากกลับเข้าสู่การศึกษาเพิ่มขึ้น

“ส่วนการสร้างโอกาสทางการศึกษา ดิฉัน เป็น ส.ส.มาหลายสมัย ประชาชนสะท้อนมาว่าอยากมีโรงเรียนดีๆ ดังๆ ในจังหวัดสระแก้ว ซึ่งหลายคนนึกถึงโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนนี้เน้นสร้างเด็กมีความเก่งด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ขณะนี้ ศธ.อยู่ระหว่างผลักดัน โดย สพฐ.เตรียมงบประมาณ และที่ดินสำหรับโรงเรียนนี้ไว้แล้ว คาดว่าจะเริ่มดำเนินการสร้างโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดสระแก้ว ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ โดยใช้งบประมาณ 350 ล้านบาท ต่อไปลูกหลานในจังหวัดสระแก้ว มีโรงเรียนคุณภาพใกล้บ้านผู้ปกครองก็ไม่ต้องส่งลูกไปเรียนในโรงเรียนไกลๆ อีกต่อไป” น.ส.ตรีนุช กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 สิงหาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ลงพบปะปชช.ชาวน่านรับผลกระทบพายุมู่หลาน เร่งติดตามเยียวยาผู้ประสบภัยแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหาย

,

“พล.อ.ประวิตร” ลงพบปะปชช.ชาวน่านรับผลกระทบพายุมู่หลาน เร่งติดตามเยียวยาผู้ประสบภัยแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหาย

“พล.อ.ประวิตร” นำคณะผู้บริหาร เยี่ยมชาว จ.น่าน ติดตามฟื้นฟู และเยียวยา ผู้ประสบภัยพายุ”มู่หลาน” มอบถุงยังชีพให้กำลังใจผู้ประสบภัย ประชาชนแห่ต้อนรับอบอุ่น เตรียมแผนผุดโครงการสะพาน อุตรดิตถ์-น่าน เชื่อมโยงภูมิภาค ส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่ เพื่อให้ ประชาชนอยู่ดี กินดี

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) พร้อมด้วย ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิก พปชร. พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี โดยมีนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ โฆษกพรรคพลังประชารัฐ( พปชร. )นายสัญญา นิลสุพรรณ ส.ส.นครสวรรค์ พปชร. นายสุรสิทธิ์ นิธิวุฒวรรักษ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พปชร. นายสุรชาติ ศรีบุษกร ส.ส.พปชร. จ.พิจิตร ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ได้บรรยายสรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำในพื้นที่ พร้อมด้วยเลขาฯ สทนช. และอธิบดีกรมชลประทาน นำเสนอการรายงานข้อมูล และความก้าวหน้าโครงการต่างๆ ในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ทั้งนี้ มีนายวรวิทย์ อินต๊ะใจ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จ.น่าน นำเสนอข้อมูลความเสียหายของจังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากพายุดีเปรสชัน “มู่หลาน” และการแก้ปัญหาช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วนในช่วง ที่ผ่านมา พร้อมหาแนวทางในการจัดการบริหารจัดน้ำเพื่อลดผลกระทบให้กับประชาชน

ทั้งนี้พบว่าจากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลทำให้เกิดภาวะน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่ง จ.น่าน ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ทั้งอาคารบ้านเรือน ถนน และสะพาน ได้รับความเสียหาย ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ทั้งนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ผ่านงบกลางให้กับ จ.น่านไปแล้ว 2ครั้ง จำนวน 98 โครงการ วงเงินกว่า 120 ล้านบาท โดยเร่งทำการฟื้นฟู เยียวยา และซ่อมแซมสถานที่เสียหายให้กลับมามีสภาพใช้งานได้เหมือนเดิม โดยเร็ว และได้รับฟังความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมโยงเศรษฐกิจภูมิภาค ระหว่าง บ้านผาเวียง อ.ฝากท่า จ.อุตรดิตถ์-บ้านปากนาย อ.นาหมื่น จ.น่าน จาก ผอ.แขวงทางหลวงน่าน ที่ 1

“ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ได้รับการดูแลจากผู้ว่าราชการจังหวัด และได้มีการของบกลางเพิ่ม เพื่อขยายวงเงินในการช่วยเหลือ โดยได้ประสานไปยังกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทั่วถึง เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ยังได้เร่งรัดให้หน่วยงานติดตามดูแล ความเดือดร้อนของประชาชนอย่างต่อเนื่อง” พล.อ.ประวิตรกล่าว

พล.อ.ประวิตร กลาวว่า รัฐบาลมีความห่วงใย ต่อความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ทุกครัวเรือน จากภาวะน้ำท่วมที่ผ่านมา จากผลกระทบพายุดีเพลสชั่น จึงได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สทนช. ,กรมชลประทาน ,กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย และจ.น่าน ให้เร่งปฏิบัติตามแผนรับมือฤดูฝน 13มาตรการ พร้อมกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแหล่งน้ำกักเก็บขนาดใหญ่ช่วยเหลือพื้นที่แล้งซ้ำซาก 4อำเภอได้แก่อ.ท่าช้าง อ.เชียงกลาง อ.ท่าวังยา และ อ.ปัว และเร่งแก้ปัญหาการขาดแคนน้ำอุปโภคบริโภคนอกเขตชลประทาน พร้อมดำเนินการกับผู้บุกรุกป่า อย่างจริงจัง ทั้งนี้ในช่วงงบประมาณปี 61-64 รัฐบาลได้ดำเนินโครงการมาแล้วกว่า 1แสนกว่าไร่ มีผู้ได้รับประโยชน์ราว 3แสนกว่าครัวเรือน

พล.อ.ประวิตร ยังได้ลงพื้นที่ไปยัง อบต.ไชยสถาน อ.เมือง เพื่อติดตามความก้าวหน้า โครงการก่อสร้างฝายกั้นลำน้ำซาว ซึ่งท้องถิ่นได้รับประโยชน์ อย่างมากจากโครงการนี้ ซึ่งมีตัวแทนชาวบ้าน ได้กล่าวขอบคุณรัฐบาล ที่ให้ความช่วยเหลือ อย่างจริงจัง เห็นผล พร้อมพบปะพี่น้องประชาชน ที่มาให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ด้วยความประทับใจ

นอกจากนี้ยังได้ เดินทาง เพื่อติดตามความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จากพายุดีเปรสชั่น “มู่หลาน” ที่ ต.บ่อ อ.น่าน จ.น่าน โดยได้มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน1,000 ครัวเรือน เพิ่มเติมจากที่รัฐได้ให้การช่วยเหลือไปแล้ว พร้อมกล่าวยืนยันว่า รัฐบาลมีความห่วงใยประชาชน และจริงใจที่จะให้ความช่วยเหลือ อย่างดีที่สุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคน ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นแรงสนับสนุนให้รัฐบาลปัจจุบัน สามารถพัฒนาประเทศ ต่อไปได้ โดยมีเป้าหมายให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 สิงหาคม 2565