โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวกิจกรรม

“พล.อ.ประวิตร” ร่วมรับมอบธงในฐานะเจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 !!!

, ,

“พล.อ.ประวิตร” ร่วมรับมอบธงในฐานะเจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 !!!

ปิดฉากลงแล้วกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 สนามกีฬาแห่งชาติมรดกเตโช ประเทศกัมพูชา โดยบิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ร่วมรับมอบธงในฐานะเจ้าภาพครั้งต่อไป ครั้งที่ 33 อีก 2 ปีข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9-20 ธันวาคม ในปี พ.ศ. 2568 ใช้กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี, สงขลา เป็น 3 จังหวัดหลักในการเป็นเจ้าภาพ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 พฤษภาคม 2566

พปชร. เตือนสัญญาณเกิดพายุเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบ เสนอรัฐบาลหน้าเตรียมแผนรับมือเร่งด่วน เพื่อสกัดผลกระทบต่อการฟื้นและขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ชี้ต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน พร้อมแก้ไขความเปราะบางภายในประเทศ เสนอทำทันที 3 ภารกิจ 7 ขับเคลื่อน

,

พปชร. เตือนสัญญาณเกิดพายุเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบ เสนอรัฐบาลหน้าเตรียมแผนรับมือเร่งด่วน เพื่อสกัดผลกระทบต่อการฟื้นและขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ชี้ต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน พร้อมแก้ไขความเปราะบางภายในประเทศ เสนอทำทันที 3 ภารกิจ 7 ขับเคลื่อน

วันนี้ (2 พ.ค. 2566) ที่พรรคพลังประชารัฐ นายอุตตม สาวนายน ประธานคณะกรรมการจัดทำนโยบายพรรค พร้อมด้วย นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดทำนโยบายพรรค แถลงข่าวหัวข้อ “รับมือความเสี่ยงพายุเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบ ความท้าทายเร่งด่วนของรัฐบาลหน้า”

จากกรณีสถาบันทางเศรษฐกิจทุกแห่งทั่วโลกต่างคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้ยังชะลอตัว และมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยจากปัจจัยความเสี่ยงและความท้าทายรอบด้านที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและอาจจะรุนแรงมากขึ้น จนกลายเป็นพายุเศรษฐกิจขั้นสมบุรณ์แบบ หรือ Perfect Economic Storm ดังนั้นทีมเศรษฐกิจของพรรคพลังประชารัฐ จึงส่งสัญญาณเตือนให้รัฐบาลหน้า ก้าวข้ามความขัดแย้ง ผลึกกำลัง ร่วมแรงร่วมใจกันฝ่าพายุเศรษฐกิจที่กำลังก่อตัวขึ้น โดยเสนอ 3 ภารกิจ 7 ขับเคลื่อน ที่รัฐบาลหน้าต้องเร่งทำทันที เพื่อผลักดันเศรษฐกิจให้พลิกฟื้น กระตุ้นเศรษฐกิจให้โตเต็มศักยภาพ พร้อมกับการพลิกโฉมประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก

นายธีระชัย ได้ฉายภาพที่แสดงให้เห็นปัญหาของเศรษฐกิจโลกว่า จากเดิมเศรษฐกิจโลกขับเคลื่อนด้วยปัจจัย “3 ราคาต่ำ” คือ 1.”ดอกเบี้ยต่ำ” 2.”ราคาสินค้าจากจีนต่ำ” และ 3.”ราคาพลังงานต่ำ” แต่ปัจจุบันปัจจัยเหล่านี้ได้เปลี่ยนไปเป็น “ 3 ราคาแพง” แล้ว และเป็นความเสี่ยงสูงที่จะนำไปสู่พายุเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบในประเทศตะวันตก และส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในที่สุด

“หลายประเทศใช้นโยบายการคลังควบคู่กับนโยบายการเงินอย่างเต็มที่ในช่วงวิกฤติโควิด ที่เรียกว่าเป็นปืนบาซูก้าลำกล้องแฝดนั้น ได้นำไปสู่เงินเฟ้อสูง ทำให้ธนาคารชาติสหรัฐและยุโรปต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสู้เงินเฟ้อ แต่การขึ้นดอกเบี้ยที่แรงและเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อนดังกล่าว ทำให้ปัญหาที่ซ่อนอยู่ในระบบธนาคารสหรัฐและยุโรปเริ่มปรากฏขึ้น และมีแนวโน้มจะลุกลามต่อไป ดังนั้น ทุกหน่วยงานในประเทศไทยจึงควรคำนึงและเตรียมพร้อมรับมือพายุนี้” นายธีระชัย กล่าว

นอกจากนี้ นายธีระชัยยังเสนอแนะให้มีการเตรียมพร้อม โดยรัฐมนตรีคลังควรมีการประชุมหารือกับธนาคารชาติ สภาอุตสาหกรรมฯ และหอการค้าต่างๆ สม่ำเสมอทุกไตรมาส เพื่อติดตามสถานการณ์ของโลกและเงินทุนไหลเข้าออก นอกจากนี้ จะต้องมีแนวทางแก้ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนและหนี้ของธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก ซึ่งทีมเศรษฐกิจ พรรคพลังประชารัฐ จะมานำเสนอแถลงข่าวต่อไป

ด้านนายอุตตม กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐได้จัดทำแผนนำประเทศไทยผ่านพ้นพายุเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ภารกิจ 7 ขับเคลื่อน โดย 3 ภารกิจหลัก ประกอบด้วย
1.กระตุ้นเศรษฐกิจให้พลิกฟื้นจริงทันที
2.เร่งการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีพลัง เต็มศักยภาพ
3.เร่งรัดสร้างรากฐานการพัฒนา พลิกโฉมประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน ทั่วถึง มีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็ง

ส่วน 7 ขับเคลื่อน ประกอบด้วย
1.สร้างสวัสดิการประชาชน พัฒนาคนไทยก้าวทันโลก โดยการขยายต่อยอดโครงการประชารัฐ ผ่านโครงการเติมทักษะที่ขับเคลื่อนโดยเครือข่ายศูนย์ประชารัฐพัฒนา ควบคู่การเติมทุน 30,000 บาท ต่อ 1 ผู้ถือบัตรประชารัฐ รวมถึงปรับเพิ่มสวัสดิการดูแลคนไทยทุกช่วงวัย โดยมุ่งลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ไปพร้อมกับการพัฒนาทักษะเพื่อสร้างโอกาส สร้างรายได้ ให้กับประชาชนคนไทย

2.เร่งรัดแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ และต้นทุนผุ้ประกอบการที่พุ่งสูงขั้น โดยปฏิรูปโครงสร้างพลังงานของประเทศทันที คืนความยุติธรรมด้านราคาให้ประชาชน ผลักดันไฟฟ้าภาคประชาชน การปลดภาระหนี้สินครบวงจรแบบเบ็ดเสร็จ ปรับโครงสร้างหนี้พร้อมเติมทุนใหม่ โดยสถาบันการเงินรัฐเป็นผู้นำการจัดหาทุนใหม่ให้ผู้ประกอบการ SME เช่น สินเชื่อผ่อนปรน/ดอกเบี้ยตํ่า โดยมีบสย.คํ้าประกันพิเศษ รวมถึงการใช้กลไกกองทุนประชารัฐร่วมทุนกับสตาร์ทอัพ

3.สร้างเศรษฐกิจฐานราก ชุมชนเข้มแข็ง ยกระดับเกษตรมั่งคั่ง เชื่อมโยงการท่องเที่ยวและการผลิตชุมชน โดยจัดทุนให้เกษตรกรครัวเรือนละ 30,000 บาท เพื่อช่วยค่าใช้จ่าย เป็นทุนการผลิต และจัดหาเทคโนโลยีการเกษตร ด้านการท่องเที่ยว มีมาตราการจัดหาสินเชื่อผ่อนปรนให้ผู้ประกอบการเพื่อใช้ซ่อมสร้างสถานที่ประกอบการครบวงจร รวมถึงการเติมเงินให้กองทุนหมู่บ้าน 200,000 บาท เพื่อใช้ลงทุนโครงสร้างพัฒนาในพื้นที่ สร้างงาน เสริมรายได้ ให้คนในชุมชน

4.ผลักดันการลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ และโครงสร้างพื้นฐาน ที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) อาทิ การฟื้น EEC ให้เดินหน้าเต็มศักยภาพ พร้อมพัฒนาพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ทุกภูมิภาค เช่น โครงการอีสานประชารัฐ กระจายความเจริญ และความมั่งคั่งสู่พี่น้องชาวอีสาน การสร้างเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ 6 โครงการ ใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ การเร่งสร้าง “รถไฟไทย-จีน” ให้เสร็จสมบูรณ์ การเติมเต็มโครงข่ายดิจิทัล 5G เข้าถึงทุกหมู่บ้าน ขยายต่อยอดพร้อมเพย์ แอปเป๋าตัง เพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

5.เร่งลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (National Champions) ยึดโยงโจทย์ระดับโลกกับจุดแข็งของประเทศ อาทิ อุตสาหกรรม BCG อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ต้องสร้างระบบนิเวศน์เกื้อหนุนการลงทุนในเทคโนโลยี นวัตกรรม และพัฒนาทักษะคนไทย เช่น จัดตั้งโครงการแซนด์บ็อกซ์ระดับชาติ (NATIONAL SANDBOX COMMITTEE) การสนับสนุน BOI ออกมาตรการใหม่ให้ดึงดูดเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่แค่เงินลงทุน

6.เร่งขยายฐานรายได้ของประเทศ ปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ อาทิ การปรับโครงสร้างและขยายฐานภาษีเดิม การพิจารณาภาษีใหม่ เช่นภาษีคาร์บอน/มลพิษ ปรับวิธีจัดเก็บภาษีธุรกรรมออนไลน์จากต่างประเทศให้มีประสิทธิผล เน้นการใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (BIG DATA ANALYTIC) รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี BLOCKCHAIN และ AI

7. เร่งสร้างระบบเตือนภัย ป้องกันและจัดการพายุเศรษฐกิจจากภายนอก โดยจัดตั้งกลไกความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการสม่ำเสมอ ระหว่างหน่วยงานหลักทางเศรษฐกิจทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน สมาพันธ์ SME ไทย เป็นต้น โดยกลไกที่ตั้งขึ้นดังกล่าวจะทำให้สามารถติดตามสถานการณ์ และดำเนินการแก้ปัญหาในทันทีที่เกิดความไม่ปกติทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและทันท่วงที

นายอุตตม กล่าวทิ้งท้ายว่า แม้ปัจจุบันจะมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เช่น จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่ม แต่เราไม่ควรวางใจและฝากความหวังไว้กับการท่องเที่ยวและการส่งออกซึ่งก็มีสัญญาณชะลอตัวแล้วเท่านั้น โดยเฉพาะในภาวะที่ปัจจัยเสี่ยงภายนอกมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น รัฐบาลหน้าจะต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ไม่มีเวลามาลองผิดลองถูก ต้องเตรียมพร้อมแผนรับมือความท้าทายต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจกับประชาชนได้ว่า สามารถจัดการดูแลหากผลกระทบจากภายนอกรุนแรงขึ้น รวมทั้งผลักดันให้เศรษฐกิจไทยไม่ถดถอย แต่จะพลิกฟื้นรวดเร็วและขยายตัวได้ต่อเนื่อง สามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส เพื่ออนาคตที่ดีของคนไทยทุกๆคน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 พฤษภาคม 2566

ใจเกินร้อย ! “ธรรมนัส” บุกหาเสียงช่วยผู้สมัคร ส.ส.เชียงราย ทั้งที่ตาซ้ายเยื่อบุตาขาด จากเหตุลุยหาเสียงมืดค่ำโดนแมลงบินเข้าตา ย้ำตั้งใจมุ่งมั่นมาพบชาวอำเภอแม่สรวย – แม่ลาว เพื่อฝากนโยบายสำคัญ ก้าวข้ามความขัดแย้ง และผลักดัน พ.ร.บ.ลำไย ให้เป็นรูปธรรม เพื่อเยียวยาผู้ปลูกลำไยภาคเหนือ

, ,

ใจเกินร้อย ! “ธรรมนัส” บุกหาเสียงช่วยผู้สมัคร ส.ส.เชียงราย ทั้งที่ตาซ้ายเยื่อบุตาขาด จากเหตุลุยหาเสียงมืดค่ำโดนแมลงบินเข้าตา ย้ำตั้งใจมุ่งมั่นมาพบชาวอำเภอแม่สรวย – แม่ลาว เพื่อฝากนโยบายสำคัญ ก้าวข้ามความขัดแย้ง และผลักดัน พ.ร.บ.ลำไย ให้เป็นรูปธรรม เพื่อเยียวยาผู้ปลูกลำไยภาคเหนือ

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 เวลา 17.00-19.45 น. ณ บริเวณศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ได้จัดเวทีปราศรัยหาเสียง นำโดย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 เบอร์ 6 จังหวัดพะเยา พปชร.และในฐานะประธานยุทธศาสตร์เลือกตั้งภาคเหนือ พร้อมด้วยนายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะกรรมการบริหารพปชร.ร่วมขึ้นปราศรัยนโยบายพรรค พร้อมผู้สมัคร ส.ส.จังหวัดเชียงรายประกอบด้วย เขต 1 นายศรัณย์พัส ศรีสวัสดิ์ เบอร์ 7 เขต 2 นางวันดี ราชชมภู เบอร์ 7 เขต 3 พ.ต.อ.รัฐพล น้อยช่างคิด เบอร์ 5 เขต 4 นายเกียรดิศักดิ์ อุดขา เบอร์ 8 เขต 5 นายพันธวัช ภูผาพันธกานต์ เบอร์ 2 เขต 6 นายระพิน เตมียะ เบอร์ 3 และ เขต 7 นายบุญเกิด ร่องแก้ว เบอร์ 10 โดยมีประชาชนกว่า 5,000 คนมาร่วมฟังการปราศรัย บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเวลา 18.00 น. ร.อ.ธรรมนัส เดินทางมาถึงบริเวณเวทีปราศรัยด้วยใบหน้าที่ปิดตาด้านซ้าย ก่อนจะนำคณะผู้สมัคร ส.ส.จังหวัดเชียงราย ไปสักการะศาลสมเด็จพระนเรศวรเพื่อน้อมรำลึกถึงพระ มหากรุณาธิคุณของพระนเรศวรมหาราช และเพื่อความเป็นสิริมงคลเอาฤกษ์เอาชัยในการเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้

โดย ร.อ.ธรรมนัส ได้กล่าวทักทักทายกับประชาชน ช่วงหนึ่งว่า “พ่อแม่พี่น้องทุกท่านครับวันนี้ ผมมาด้วยสภาพร่างกายพร้อมทุกส่วน ยกเว้นตาซ้าย ที่ต้องปิดตาซ้ายข้างหนึ่ง จากสาเหตุที่วันก่อนขี้นรถแห่ปราศรัยหาเสียงที่พะเยาช่วงมืดค่ำ ทำให้แมลงบินเข้าตา ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดทำให้ตาแดงอักเสบ เมื่อวานนี้ ผมไปพบหมอให้รักษา หมอบอกว่าเยื่อบุตาขาด ต้องพักรักษาอาการอักเสบดังกล่าว แต่จะทำอย่างไรได้เมื่อผมได้รับปากบผู้สมัคร ส.ส.เชียงรายทุกคน โดยเฉพาะเขต 3 และเขต 6 ไว้แล้วก็ต้องมาให้ได้ด้วยความห่วงใย จึงเร่งรัดรักษาทั้งประคบเย็นและกินยาทุกอย่างเพื่อมาปะกับพ่อแม่พี่น้องชาวอำแม่แม่สรวย และแม่ลาวในสภาพที่เห็นแบบนี้ครับ”

ร.อ.ธรรมนัส ยังกล่าวต่อว่า ในช่วงเวลาปฎิวัติรัฐประหารปี พ.ศ.2549 และ ปี พ.ศ.2557 รวมกว่า 10ปีแล้ว ที่เป็นอุทาหรณ์ให้คนไทยเราได้เห็นว่า การแบ่งแยก ขัดแย้ง เป็นสีต่าง ๆ ทำให้ถูก ฝ่ายการเมืองและผู้มีอำนาจไม่หวังดีฉวยเอาไปใช้ประโยชน์เป็นเครื่องมือในการหาเสียง สร้างความแตกแยกเข้ามาหาผลประโยชน์ ในขณะที่ตนเองก็ได้รับผลกระทบถูกไปคุมขัง และอายัดทรัพย์ในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่นับรวมประชาชนที่ได้รับผลกระทบแตกต่างกันไป มาวันนี้จึงมาบอกทุกท่านว่า พรรคพลังประชารัฐ ภายใต้การนำของท่านพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ มีหลักยึดชัดเจนคือก้าวข้าวความขัดแย้ง เพื่อให้ประชาชนมีความรักสามัคคีกัน ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงของชาติบ้านเมือง วันนี้ ณ สถานที่แห่งนี้ ซึ่งสมเด็จพระนเรศวร ประกาศอิสระภาพจากพม่า ตนเองจึงเห็นสำคัญที่พรรคฯ ได้มาประกาศนโยบายก้าวข้ามความขัดแย้ง ดังกล่าวด้วย

“เรื่องแรก ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวของแม่สรวย คือเรื่องอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง ผมตอนเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2562 ได้ลงพื้นที่มาสำรวจและผลักดันทำอีไอเอและของบประมาณสร้าง จนกระทั่งล่าสุดการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 19 เมษาฯ ที่ผ่านมา ได้อนุมัติสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้างแล้ว นอกจากนี้ ยังมีเรื่องใกล้ตัวอีกเรื่องคือ คนเมืองเหนือ 8 จังหวัดจะอู้ว่า ภาคใต้มียางพารา อีสานมีข้าว มีอ้อย มีสำปะหลัง ตะวันออกคือ ยางพารา ปาล์ม ภาคเหนือเราคือลำไย ถามว่า ทุกผลไม้และพืชเศรษฐกิจของทุกภาคมีพรบ.รองรับแก้ปัญหาต่างๆ แล้วหรือไม่ คำตอบคือมีแล้ว ขณะที่ลำไยของเรา ยังไม่มี แบบนี้น่าเจ็บใจมั๊ยครับ เวลานี้ผลผลิต ลำไย ถูกพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดเกรดเอ บี อะไรต่างๆ สร้างความเดือดร้อนคนเหนือเรา ขณะที่ นักการเมืองส่วนใหญ่เงียบกริบไม่มีใครเอ่ยปากจะช่วยเหลือ มีเพียงผม พี่บุญสิงห์ และดร.ธนสาร ที่ผลักดันเยียวยาช่วยเหลือลำไยไร่ละ 2 พัน ไม่น้อยกว่า 25 ไร่ ผมจำได้ว่าเคยมามอบที่ เชียงรายด้วย ดังนั้นจึงยืนยันจะผลักดันให้มี พ.ร.บ.ลำไย เป็นรูปธรรมทันทีที่ได้เป็นรัฐบาลครับ”

จากนั้น นายบุญสิงห์ ได้ปราศรัยถึงนโยบายต่างๆ ของพรรค และสานต่อบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งจะเพิ่มเป็น 700 บาท เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได ตั้งแต่อายุ 60 ปี เพิ่มเป็นจำนวน 3,000 บาทต่อเดือน อายุ 70 ปี ขึ้นไป เพิ่มเป็นจำนวน 4,000 บาทต่อเดือน และอายุ 80 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็นจำนวน 5,000 บาทต่อเดือน และยังมีเงินประกันชีวิต 2 แสนบาทด้วย นอกจากนี้ ยังแก้ปัญหาลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทั้งราคาแก๊สหุงต้ม ต่างๆ แก้ปัญหาที่ดินทำกิน โดยผลักดันเปลี่ยนส.ป.ก.เป็นโฉนด และ ค.ท.ช.เปลี่ยนเป็นส.ป.ก. ตามเป้าหมาย “มีเรา ไม่มีแล้ง มีน้ำ ไม่มีจน”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเสร็จสิ้นการปราศรัย ได้มีประชาชนมามอบพวงพาลัย และดอกไม้ ให้กำลังใจ ร.อ. ธรรมนัส พร้อมผู้สมัคร ส.ส.ทุกคน เป็นจำนวนมาก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 เมษายน 2566

“รมว.ชัยวุฒิ” เปิดตัวการใช้งาน Health Link รูปแบบใหม่ ตั้งเป้านำร่องกับโรงพยาบาลในสังกัด กทม. เดือนพฤษภาคมนี้

, ,

“รมว.ชัยวุฒิ” เปิดตัวการใช้งาน Health Link รูปแบบใหม่ ตั้งเป้านำร่องกับโรงพยาบาลในสังกัด กทม. เดือนพฤษภาคมนี้

26 เมษายน 2566, กรุงเทพมหานคร – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ พร้อมด้วยผู้บริหาร GBDi สังกัดดีป้า สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และคณะผู้บริหารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ร่วมเปิดตัวการ ใช้งาน Health Link รูปแบบใหม่ เพื่อเป็นช่องทางการลงทะเบียนและให้ความยินยอมในการส่งต่อข้อมูลสุขภาพ เข้าสู่ระบบแก่ประชาชนโดยสะดวกด้วยบัตรประชาชนเพียงใบเดียวในการลงทะเบียน ณ จุดบริการที่แผนกต่าง ๆ และแผนกเวชระเบียนของโรงพยาบาล เล็งนำร่องกับโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครเป็นกลุ่มแรกพฤษภาคมนี้

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)
พร้อมด้วย รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) หน่วยงานผู้พัฒนา Health Link ระบบเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษาผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลทั่วประเทศ สังกัด สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดตัวการใช้งาน Health Link รูปแบบใหม่

โดยเพิ่มช่องทางการลงทะเบียนและให้ความยินยอมในการส่งต่อข้อมูลสุขภาพเข้าสู่ระบบแก่ประชาชน พร้อมรับชมกิจกรรมสาธิตการใช้งาน ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โดยมี ดร.นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร รองปลัดกรุงเทพมหานคร นพ.เพชรพงษ์ กำจรกิจการ รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ นพ.พรเทพ แซ่เฮ้ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดร.ศุภกร สิทธิไชย ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสดีป้า และ นพ.ธนกฤต จินตวร รองผู้อำนวยการ GBDi ร่วมงานโดยพร้อมเพรียง

นายชัยวุฒิ เปิดเผยว่า กระทรวงดิจิทัลฯ โดย GBDi มุ่งมั่นมอบความสะดวกให้กับประชาชนในการลงทะเบียนและให้ความยินยอมในการส่งต่อข้อมูลสุขภาพของตนเองเข้าสู่ระบบ Health Link ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเฉพาะประชาชนบางกลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน หรือใช้งานแอปพลิเคชันไม่คล่อง ทำให้ไม่สามารถลงทะเบียนเข้าสู่ระบบได้ ดังนั้นทีมงาน Health Link จึงพัฒนาบริการรูปแบบใหม่ที่ทำให้การลงทะเบียนและให้ความยินยอมในการส่งต่อข้อมูลสุขภาพของตนเองเข้าสู่ระบบเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วด้วยการใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว ณ จุดบริการที่แผนกต่าง ๆ รวมถึงแผนกเวชระเบียนของโรงพยาบาลนั้น ๆ โดยจะนำร่องปฏิบัติการร่วมกับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 11 แห่งเป็นกลุ่มแรกในเดือนพฤษภาคมนี้

ขณะที่ รศ.ดร.ธีรณี กล่าวต่อว่า รูปแบบการให้บริการของ Health Link ที่เปิดตัวในวันนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงระบบเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลประวัติสุขภาพและการรักษาระหว่างโรงพยาบาลได้ง่ายขึ้น และยังช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการเชื่อมต่อข้อมูลประวัติการรักษาโดยแพทย์สามารถเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ ได้ทันทีที่ผู้ป่วยลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ จากเดิมที่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า 1 วัน

“ปัจจุบันมีโรงพยาบาลทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ Health Link แล้วกว่า 300 แห่ง โดยในปี 2566 ตั้งเป้าหมายเพิ่มการเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลให้ครอบคลุมมากกว่า 200 แห่ง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้ารับบริการ โดยปีที่ผ่านมา GBDi ได้ส่งเสริมให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ Health Link เพื่อยินยอมให้โรงพยาบาลส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยไว้ในระบบผ่านแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ ในหมวดสิทธิที่น่าสนใจฟีเจอร์กระเป๋าสุขภาพ และตอนนี้สามารถมาลงทะเบียนที่โรงพยาบาลได้” ผู้อำนวยการ GBDi กล่าว

สำหรับประชาชนสามารถศึกษารายละเอียดต่าง ๆ และติดตามข้อมูลข่าวสารความคืบหน้าการพัฒนาระบบ Health Link ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก HealthLink.go.th และเว็บไซต์ www.healthlink.go.th

ปัจจุบัน GBDi อยู่ระหว่างจัดตั้งเป็น สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Institute) ในการเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบาย พร้อมยกระดับทักษะบุคลากรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่อย่างเป็นประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศในอนาคต

———————————————————————

ข้อมูลเพิ่มเติม :
Health Link เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ (Health Information Exchange) ที่มีประสิทธิภาพด้วยระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์ตามมาตรฐานสากล มีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยยกระดับบริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน ไม่ว่าจะเจ็บป่วยหรือเกิดเหตุฉุกเฉินที่ใดก็สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้ทันที โดยแพทย์สามารถสืบค้นข้อมูลผู้ป่วย Health Link ทำให้ไม่ต้องเสียเวลารอการส่งข้อมูลจากโรงพยาบาลเดิมของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัย และการวางแผนรักษารวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่วนกรณีที่ต้องการย้ายโรงพยาบาลจะดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว เพราะข้อมูลประวัติการรักษาจะตามตัวผู้ป่วยไปในทุกที่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 เมษายน 2566

‘ตรีนุช’ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์ PM 2.5 ให้อำนาจ ผอ.ตัดสินหากพบค่าฝุ่นพุ่ง สั่งหยุดเรียนออนไซต์ได้ทันที

, ,

‘ตรีนุช’ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์ PM 2.5 ให้อำนาจ ผอ.ตัดสินหากพบค่าฝุ่นพุ่ง สั่งหยุดเรียนออนไซต์ได้ทันที

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ที่โรงเรียนวัดอมรินทราราม กรุงเทพมหานคร น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ว่า เนื่องจากหลายจังหวัด โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคกลาง มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐานหลายแห่ง ศธ.มีความเป็นห่วงนักเรียนอย่างมาก และที่ผ่านมาได้เน้นย้ำให้สถานศึกษาเป็นสถานที่ปลอดภัยต่อนักเรียนในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติด้านสุขภาพ โดย PM 2.5 ส่งผลกระทบกับร่างกายของเด็ก และครูอย่างมาก เพราะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม พบว่าโรงเรียนอยู่ในเขตพื้นที่สีส้ม หรือ เป็นค่าฝุ่นที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ซึ่งทางโรงเรียนก็สามารถเตรียมการรับมือได้ดี เช่น ให้นักเรียนสวมหน้ากากอนามัยอยู่ตลอด กรณีที่พบเด็กมีอาการระคายเคือง ก็จะล้างจมูกให้เด็กทันที ประกอบโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลศิริราชที่ให้เครื่องฟอกอากาศมาติดในห้องเรียน ทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อเด็กอยู่ในห้องเรียนจะไม่ได้รับผลกระทบจาก PM 2.5

น.ส.ตรีนุชกล่าวต่อว่า ศธ.ได้ประกาศมาตรการป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งกำหนดมาตรการมาตรการเร่งด่วน และมาตรการระยะยาว เพื่อให้หน่วยงานและสถานศึกษาใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติเดียวกัน และตนที่จะกำชับให้แต่ละสถานศึกษาดูว่าในพื้นที่ของตนนั้น ค่าฝุ่นเป็นเช่นไร และขอให้แต่ละพื้นที่ดูแล เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนต่อได้ หากโรงเรียนอยู่ในพื้นที่สีแดง และสีส้ม ก็ขอให้งดกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อให้ไม่ส่งผลกระทบกับสุขภาพของนักเรียน

“แต่ละพื้นที่จะมีบริบทไม่เหมือนกัน มีความรุนแรงของ PM 2.5 ไม่เหมือนกัน ขอให้สถานศึกษาติดตามข่าวสาร และคอยอัพเดตข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ อยู่เสมอ ทั้งนี้ ศธ.ได้ให้อำนาจกับผู้อำนวยการโรงเรียน พิจารณาว่าควรจะปรับรูปแบบการเรียนการสอนหรือไม่ เช่น หากพบค่าฝุ่นอยู่ในระดับสีแดง หรือ สีส้ม ก็อาจจะสั่งหยุดเรียนออนไซต์ และให้นักเรียนไปเรียนออนไลน์ เป็นต้น แต่การพิจารณาหยุดเรียน หรือปรับการเรียนการสอนนั้น ขอให้ประสานและทำงานร่วมกับฝ่ายปกครองด้วย โดยให้ดูว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่ง และมีมาตรการรับมืออย่างไร และขณะนี้ ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีโรงเรียนไหนหยุดเรียนไปแล้วบ้าง” น.ส.ตรีนุช กล่าว.

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2566

“รมว.ตรีนุช” ลงพื้นที่หนองคาย ปลื้มผลงานขับเคลื่อนนโยบายโรงเรียนคุณภาพ-คลินิก 3R

,

“รมว.ตรีนุช” ลงพื้นที่หนองคาย ปลื้มผลงานขับเคลื่อนนโยบายโรงเรียนคุณภาพ-คลินิก 3R

วันนี้ ( 11 ต.ค.2565) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา ตนได้ลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย โดยได้ตรวจเยี่ยมสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) หนองคายเขต 2 จำนวน 2 โรงเรียน คือ ที่โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึง ม.3 เป็นโรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา มีโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 10 โรงเรียน ทั้ง 11 โรงเรียน มีนักเรียน รวม 1,227 คน ครูและบุคลากรรวม 105 คน โดยในปีงบประมาณ 2565 ก็ได้มีการจัดสรรงบลงทุนสร้างอาคารให้ และตนก็ไม่ผิดหวังที่ได้เห็นการขับเคลื่อนนโยบายโรงเรียนคุณภาพอย่างจริงจัง มีแผนงานที่จะพัฒนาและใช้ทรัพยากรร่วมกันกับโรงเรียนเครือข่าย สามารถดึงนักเรียนที่ออกจากระบบกลับมาเรียนได้หลายคน มีการสร้างทักษะอาชีพให้นักเรียน มีการดูแลความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า อาคาร และอุปกรณ์ต่างๆ เห็นถึงความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมจากการได้รับรางวัลของโรงเรียนและนักเรียน เห็นเพชรเม็ดงามในชนบท ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ก็จะเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนงบฯด้านต่างๆ เช่น ค่ารถในการนำเด็กจากโรงเรียนเครือข่ายมาเรียน และหาวิธีการขับเคลื่อนให้โรงเรียนเครือข่ายเกิดคุณภาพด้วย

รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับโรงเรียนบ้านพระบาทนาหงส์ เป็นโรงเรียนประถมศึกษา สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง ป.6 ที่โรงเรียนนี้มีกิจกรรมเด่นๆ อาทิ กิจกรรมสภานักเรียน ส่งเสริมประชาธิปไตย ,คลินิก 3R เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้อ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ, จัดห้องสมุดมีชีวิต โดยจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ซึ่งส่งผลให้ได้รับรางวัลชนะเลิศห้องสมุด 3 D และรางวัลชนะเลิศห้องสมุดส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ประจำปีการศึกษา 2565 นอกจากนี้ยังมีโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน ที่ส่งเสริมการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ มีสมรรถนะในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งยังส่งผลถึงชุมชน ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่ สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาผสมผสานกับงานด้านการเกษตรและแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการฟาร์มได้

“ดิฉันมาลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมโรงเรียน เพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของ ศธ. ให้กำลังใจครู บุคลากร และผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเมื่อเห็นนักเรียนมีความสุขแล้วก็หายเหนื่อย และขอชื่นชมครู และผู้บริหารโรงเรียนทุกคนที่ได้ทุ่มเททำงานต่อเนื่องหลายปี ซึ่งนักเรียนทุกคน ก็คือ ผลลัพธ์เชิงประจักษ์ในการทำงาน ดิฉันดีใจที่ได้เห็นเด็กๆได้ใช้ความรู้ที่เชื่อมโยงจากการอ่าน นำมาเป็นนิทาน และนำมาเป็นการแสดงออกต่างๆ อาทิ การฟ้อนรำนาฏศิลป์พื้นเมือง ซึ่งสอดคล้องกับนโนบาย Soft Skills ทักษะที่คนยุคใหม่ควรมี และสิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงการเรียนการสอนที่มีกลไกในการเรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนแบบ active learning ที่เป็นเป้าหมายของ ศธ.ซึ่งดิฉันจะนำไปเล่าให้จังหวัดอื่นๆได้ดูเป็นแบบอย่าง และขอฝากให้โรงเรียนฝึกฝนเรื่องจริยธรรม ศีลธรรม และประชาธิปไตยให้แก่เด็กๆ ซึ่งปัจจุบันบริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงไปเด็กอยู่กับสื่อต่างๆในโลกโซเชียลเยอะ ดังนั้น ครู ต้องทำงานหนักมากขึ้นในการทำให้เด็กมีความมั่นคงและแข็งแกร่งในเรื่องของการมีจริยธรรม ศีลธรรม และ ที่สำคัญต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยในมิติต่างๆ รวมถึงการคัดกรองบุคคลเข้าออกสถานศึกษา” รมว.ศธ.กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2565