โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

เดือน: ตุลาคม 2022

“พล.อ.ประวิตร”ถก“ชัชชาติ”แผนเร่งระบายน้ำฝั่งตะวันออก กทม. ลดผลกระทบน้ำท่วมขังให้ประชาชนกลับสู่ภาวะปกติ

,

“พล.อ.ประวิตร”ถก“ชัชชาติ”แผนเร่งระบายน้ำฝั่งตะวันออก กทม.
ลดผลกระทบน้ำท่วมขังให้ประชาชนกลับสู่ภาวะปกติ

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 2/2565 และประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 1/2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และนาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่า กทม.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม อาทิ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า โครงการพัฒนาทรัพยากรน้ำตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำ ลดความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง และยังช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้า โดยการประชุมทั้ง 2 คณะในวันนี้ เป็นการประชุมครั้งแรก ภายใต้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ชุดใหม่ ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 เพื่อพิจารณาขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปีที่ได้วางไว้ โดยเฉพาะแนวคิดในการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของ กทม. ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากปัญหาน้ำท่วม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 การปรับปรุงระบบระบายน้ำในพื้นที่ กทม. แบ่งเป็น ระยะที่ 1 (เร่งด่วน) เช่น งานปรับปรุงระบบสูบน้ำ ระบบไฟฟ้า และระบบเก็บขยะ สถานีสูบน้ำพระโขนง โครงการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กจากคลองหนองบอน และคลองมะขามเทศ เชื่อมโยงกับคลองประเวศบุรีรมย์ ระยะที่ 2 เป็นการปรับปรุงเครื่องสูบน้ำของสถานีสูบน้ำพระโขนงให้มีประสิทธิภาพในการสูบระบายน้ำมากยิ่งขึ้น และการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กในพื้นที่คลองสายสำคัญที่เชื่อมต่อกับคลองประเวศบุรีรมย์ เช่น คลองจระเข้ขบ คลองสองต้นนุ่น คลองทับยาว เป็นต้น เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการออกแบบรายละเอียดโครงการ และกลุ่มที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่รอยต่อ กทม. เช่น โครงการก่อสร้างอุโมงค์ส่วนต่อขยายจากบึงหนองบอนถึงคลองประเวศบุรีรมย์และประตูระบายน้ำลาดกระบัง โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพสถานีสูบน้ำสำโรง โครงการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กคลองลำปลาทิว เป็นต้น สามารถช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่ จ.ปทุมธานี กทม. และ จ.สมุทรปราการ ลดความเดือดร้อนของประชาชนและความเสียหายต่อทรัพย์สินจากปัญหาน้ำท่วม อีกทั้งยังเป็นการรองรับการขยายตัวของเมืองในพื้นที่นอกคันกั้นน้ำพระราชดำริได้อีกด้วย

โดยที่ประชุมได้เห็นชอบและให้นำเสนอแนวคิดต่อ กนช. และให้ กทม.เร่งรัดดำเนินการแผนงานในกลุ่มที่ 1 ระยะที่ 1 (เร่งด่วน) เพื่อเสนอขอรับงบประมาณในปี 2567 รวมทั้งให้เร่งศึกษาภาพรวมการระบายน้ำพื้นที่ กทม. ฝั่งตะวันออกให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับแผนงาน/โครงการของหน่วยงานอื่น เช่น โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างของกรมชลประทาน และแผนงานระบบระบายน้ำของเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ จ.สมุทรปราการ เพื่อให้การระบบระบายน้ำมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างทันท่วงที และให้เร่งรัดการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ดำเนินการได้โดยเร็ว

ด้านดร.สุรสีห์ เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการขับเคลื่อนโครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จ.จันทบุรี โดยให้กรมชลประทานเร่งประสานกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้เห็นชอบในการขอใช้พื้นที่โดยเร็ว นอกจากนี้ยังได้เห็นชอบร่างแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566 – 2580) ตามที่ สทนช. เสนอ โดยได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทปัจจุบัน รวมทั้งได้มีการวิเคราะห์ให้รองรับสถานการณ์ในอนาคต พร้อมทั้งได้รับฟังความคิดเห็นจากคณะกรรมการลุ่มน้ำ องค์กรผู้ใช้น้ำ ประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอ กนช. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”เสียใจเหตุการณ์สะเทือนขวัญหนองบัวลำภู เร่งถอดบทเรียนหามาตรการป้องกันตัดต้นตอปัญหายาเสพติด

,

“พล.อ.ประวิตร”เสียใจเหตุการณ์สะเทือนขวัญหนองบัวลำภู
เร่งถอดบทเรียนหามาตรการป้องกันตัดต้นตอปัญหายาเสพติด

วันที่7 ตุลาคม 2565 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) เปิดเผยว่า ตนและพรรคพลังประชารัฐขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์อดีตนายตำรวจก่อเหตุภายในศูนย์เด็กเล็ก อบต.อุทัยสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู ซึ่งถือเป็นเหตุารณ์ไม่คาดฝัน ที่กระทบกระเทือนขวัญกำลังใจของคนทั้งประเทศ โดยรัฐบาลจะนำมาถอดบทเรียน และหามาตรการไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำขึ้นอีก แต่ เรื่องเร่งด่วนขณะนี้คือการเยียวยาและช่วยเหลือครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบและขอยืนยันว่าจะดูแลช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและครอบครัวผู้เสียชีวิตอย่างดีที่สุด

“ รัฐบาลจะดูแลครอบครัวของผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต เพราะทุกคนต่างเสียใจกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ จะนำมาสู่แนวทาง และวางมาตรการร่วมกันแก้ไขปัญหาต้นเหตุให้มีความเข้มข้นมากขึ้น ทั้งในเรื่องการปราบปรามยาเสพติด และการรักษาผู้ติดยาเสพติด ตัดวงจรไม่ให้เสพซ้ำ ที่ผ่านมาได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการปราบปรามและเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลจับกุมผู้ค้ามาอย่างต่อเนื่อง” พล.อ.ประวิตรกล่าว

สำหรับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดรัฐบาลได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นจะต้องบูรณาการในการแก้ไขปัญหาทุกภาคส่วนเพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนให้มากยิ่งขึ้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 ตุลาคม 2565

พปชร.เสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์กราดยิงศูนย์เด็กเล็ก เผย “พล.อ.ประวิตร”ห่วงใยผลกระทบที่เกิดขึ้น มอบว่าที่ผู้สมัครส.ส. หนองบัวลำภู ติดตามใกล้ชิด

,

พปชร.เสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์กราดยิงศูนย์เด็กเล็ก เผย “พล.อ.ประวิตร”ห่วงใยผลกระทบที่เกิดขึ้น มอบว่าที่ผู้สมัครส.ส. หนองบัวลำภู ติดตามใกล้ชิด

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับครอบครัวผู้สูญเสียและผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์คนร้ายกราดยิงภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งหนึ่ง ในจ.หนองบัวลำภู โดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ห่วงใยสถานการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น พร้อมมอบหมายให้สมาชิกพรรคและว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐในพื้นที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมประสานข้อมูลในทุกมิติ

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ทั้งนี้เบื้องต้นสาเหตุมาจากยาเสพติด ซึ่งรัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนมาโดยตลอด ทั้งการป้องกันและปราบปราม โดยมีโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นจะต้องบูรณาการณ์ในการแก้ไขปัญหาทุกภาคส่วนเพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม พรรคพลังประชารัฐ พร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพี่น้องประชาชนในทุกวิกฤติ โดยเฉพาะพี่น้องชาวหนองบัวลำภู ที่พรรคพลังประชารัฐ เพิ่งจัดกิจกรรม ไปเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา โดยพรรคพลังประชารัฐจะเร่งผลักดันแนวทางในการป้องกันปัญหาในเชิงรุก เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์สลดซ้ำขึ้นอีก

ด้าน ส.จ.ประภาลักษณ์ สิทธิ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. หนองบัวลำภู เขต3 กล่าวว่า เมื่อตนทราบเรื่องตนรู้สึกเสียใจและขอเป็นกำลังใจให้กับครอบครัวของผู้สูญเสีย ในเหตุการณ์ไม่คาดฝันนี้โดยตนพร้อมที่จะเดินหน้าโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนแบบครบวงจรโดยเฉพาะการบำบัดผู้ติดยาเสพติด และมาตรการในการเฝ้าระวังของชุมชน


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”ลงพื้นที่ดูแลชาวปทุมรับผลกระทบอุทุกภัย เดินหน้าผลักดันโครงการบริหารจัดการน้ำป้องกันระยะยาว

,

“พล.อ.ประวิตร”ลงพื้นที่ดูแลชาวปทุมรับผลกระทบอุทุกภัย
เดินหน้าผลักดันโครงการบริหารจัดการน้ำป้องกันระยะยาว

เมื่อวันที่ 6 ต.ค.65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงการคลัง ได้เดินทางพื้นที่ศาลากลาง จ.ปทุมธานี เพื่อติดตามสถานการณ์ของปริมาณน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จาก”พายุโนรู” โดยมี ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ โฆษกพรรคพลังประชารัฐ เขต 2 กทม. รวมถึงว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ทั้ง 7 เขตปทุมธานี อาทิ นายเศวก ประเสริฐสุข , นายปรีชา ชื่นชนกพิบูล , นายเกียติศักด์ ส่องแสง , นายคิว อรุโณรส , นายสุรศักดิ สุรทัตโชค, นายประเสริฐศรี ฮ้อแสงชัย และนางฐิตินันท์ เจริญอาจ นายชณทัต ปัทะมะภูวดล ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.อยุธยา เขต 3 ให้การต้อนรับอย่างพร้อมเพรียง โดย นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้บรรยายสรุปสถานการณ์น้ำภาพรวม จ.ปทุมธานี นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รักษาการที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นำเสนอแผนงานด้านทรัพยากรน้ำใน จ.ปทุมธานี และภาพรวมสถานการณ์น้ำปัจจุบัน นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นำเสนอแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ โดยสรุป

ทั้งนี้ภาพรวมจ.ปทุมธานี อยู่ในพื้นที่ 2ลุ่มน้ำ คือลุ่มน้ำเจ้าพระยา (77%) และลุ่มน้ำบางปะกง (23%)มีปริมาณน้ำปัจจุบัน 26 ล้าน ลบ.ม.( 39%) ซึ่งปัญหาอุทกภัยในปีนี้ มีสาเหตุ จากน้ำหลาก จากต้นน้ำตอนบน ไหลลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำให้เกิดการเอ่อล้นตลิ่ง เข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรกรรม รวม 7อำเภอ อยู่ในขณะนี้ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาล ได้มี 13มาตรการรองรับฤดูฝน ควบคู่กับโครงการ 349 โครงการในปี61-65 แล้ว และอีก 4 โครงการสำคัญ ในปี66-67

ขณะเดียวกันยังได้ติดตามการบริหารจัดการน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าน้ำวัดโบสถ์ อ.สามโคก การก่อกระสอบทรายกั้นน้ำ อบต.กระแชง อ.สามโคก และประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ที่ใช้บริหารจัดการน้ำคลองรังสิตประยูรศักดิ์และการระบายน้ำในพื้นที่ จ.ปทุมธานี และกรุงเทพฯ และการปฎิบัติงานของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี พร้อมทั้งได้พบปะ เยี่ยมเยียนพี่น้องประชาชน เพื่อให้กำลังใจผู้ที่ประสบอุทกภัยต่อด้วยการเดินทางไปตรวจสภาพ ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ อ.ธัญบุรี เพื่อเร่งระบายน้ำ ลดความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ตามแผนงานอย่างเร่งด่วน ต่อไป

พล.อ.ประวิตร กล่าวขอบคุณประชาชนที่มาต้อนรับ ซึ่งรัฐบาลเห็นใจเรื่องของปริมาณน้ำที่สร้างผลกระทบมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยพบว่าพื้นที่ริมน้ำได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำในเจ้าพระยาในขณะนี้มีปริมาณที่สูงกว่าเขื่อน ส่งผลให้น้ำท่วมเข้าสู่บ้านเรือนที่ส่งผลให้ท่วมถึงกว่า 6,000 ครัวเรือน ซึ่งรัฐบาลกำลังวางแผนเพื่อลดผลกระทบเกิดขึ้นกับประชาชนให้น้อยที่สุด โดยได้หน่วยงานต่างๆได้ร่วมวางแผนไม่ว่าจะเป็นสนทช. กรมชลประทาน เพื่อกำหนดแผนป้องกันไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน และแก้ไขปัญหาโดยเร็ว

นอกจากนี้ ยังได้เตรียมแผนให้หน่วยงานท้องถิ่นขยายถนน ทางเข้าวัดสามโคกเพิ่มขึ้น โดยให้อบจ.ไปดำเนินการออกแบบ ซึ่งจะมีการเร่งรัด เพื่อแก้ไขปัญหาตามข้อแนะนำจากท่านเจ้าอาวาสวัดสามโคกต่อไป

พล.อ. ประวิตร กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อติดตามความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และ กทม. โดยเฉพาะการรับมือกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน บ้านเรือน และพื้นที่ทำกินของประชาชน และได้สั่งการให้ สทนช. กรมชลประทาน และจังหวัด ร่วมบูรณาการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ และเร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ยังมีจุดท่วมขังให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยการเร่งดำเนินการซ่อมแซม บำรุงรักษาระบบระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำและสถานีสูบน้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รักษาการที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สทนช. ได้รายงานผลการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรน้ำในพื้นที่ จ.ปทุมธานีในปี 61 – 64 พบว่า มีโครงการด้านแหล่งน้ำทั้งสิ้น 337 แห่ง พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ2 หมื่นไร่ พื้นที่เก็บกักน้ำเพิ่มขึ้น 3.45 ล้านลูกบาศก์เมตร เช่น การปรับปรุงอาคารบังคับน้ำปลายคลองลาดหลุมแก้วประปาหมู่บ้านแบบบาดาลขนาดใหญ่ ประตูระบายน้ำกลางคลอง 13 ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งระยะทาง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นต้น ซึ่งโครงการสำคัญที่จะเกิดขึ้นในช่วงปี 66 – 67 ได้แก่ ประตูระบายน้ำกลางคลองรังสิต (8-9) ประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ปากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ปรับปรุงคันคลองเชียงรากน้อย ด้านทิศเหนือ ระยะที่ 1 ซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสามารถป้องกันน้ำท่วมได้ถึง 53,000 ไร่


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” พอใจแผนงานกำกับภูมิภาค ย้ำเร่งแก้ไขปัญหาอุทกภัยดูแล ปชช.ต่อเนื่อง

,

“พล.อ.ประวิตร” พอใจแผนงานกำกับภูมิภาค ย้ำเร่งแก้ไขปัญหาอุทกภัยดูแล ปชช.ต่อเนื่อง

พล.อ.ประวิตร ประชุม ติดตามแผนงาน “กำกับฯภูมิภาค” เน้นช่วยเหลือเร่งด่วน ปชช.ทั่วประเทศ พอใจผลงานปี65ได้ตามเป้า อนุมัติงบฯกรณีฉุกเฉิน ปี66 แก้ปัญหาต่อเนื่อง 18 เขตพื้นที่ ตามนโยบายรัฐบาล ย้ำห้ามซ้ำซ้อน งานปกติ

เมื่อ 6 ต.ค.65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ครั้งที่ 1/2565 ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด โดยพล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้รับทราบ ผลการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมสตรี ประจำปี 2565 โดย รองนายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่เพื่อมอบนโยบายและตรวจเยี่ยม พร้อมประชุม/หารือ เพื่อรับฟังปัญหา รวมถึงแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆ จำนวน 23 ครั้ง และรับทราบความก้าวหน้า ของโครงการที่ผ่านความเห็นชอบไปแล้ว จำนวน 1,513 โครงการ วงเงิน 1,800 ล้านบาทเศษ ซึ่งเป็นไปตามแผนงาน อย่างน่าพอใจ ภายใต้นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

จากนั้นที่ประชุม ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นชอบ นโยบาย มาตรการ และแนวทาง การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ของรอง นรม.ประจำปี 66 โดยเน้นย้ำ การลงพื้นที่ติดตาม แก้ปัญหาให้สอดคล้องและตรงตามความต้องการ ของพี่น้องประชาชน อย่างแท้จริง และเห็นชอบ แนวทางและกรอบวงเงินงบประมาณ งบกลางของรอง นรม.เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ประจำปี66 จำนวน 18 เขตตรวจราชการ วงเงิน 900 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนโครงการส่งเสริม การพัฒนาที่มีการบูรณาการ โดยยึดพื้นที่และประชาชนเป็นหลัก น้อมนำหลักปัญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ภูมิสังคม เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ต่อไป

พล.อ.ประวิตร ยังได้กำชับคณะทำงาน ทุกเขตตรวจราชการ ให้เร่งติดตามความก้าวหน้าของผลงาน อย่างรีบด่วน โดยเฉพาะปัญหาอุทกภัย ที่ประชาชนกำลังประสพอยู่ในขณะนี้ รวมถึงปัญหาภัยแล้ง และปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วน ของประชาชนทั่วประเทศ โดยจะต้องไม่ซ้ำซ้อนงานปกติ โดยเด็ดขาด พร้อมทั้ง เน้นการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ให้รอบด้าน ควบคู่ การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ประชาชน ให้รับทราบประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการต่างๆ ที่รัฐบาลดำเนินการให้ อย่างต่อเนื่อง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 ตุลาคม 2565

รมต.อนุชา เยือนเกาหลีใต้ ร่วมเวทีบริหารจัดการน้ำ MKWF ครั้งแรก สานความร่วมมือน้ำโขง-น้ำฮันเร่งฟื้นฟูความสมบูรณ์ลุ่มน้ำในภูมิภาค

,

รมต.อนุชา เยือนเกาหลีใต้ ร่วมเวทีบริหารจัดการน้ำ MKWF ครั้งแรก สานความร่วมมือน้ำโขง-น้ำฮันเร่งฟื้นฟูความสมบูรณ์ลุ่มน้ำในภูมิภาค

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายจาก พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นำคณะ ประกอบด้วย ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะทำงาน เข้าร่วมการประชุม Mekong-Korea Water Forum (MKWF) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคม 2565 ณ สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)

การประชุมครั้งนี้เป็นผลจากการที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมการประชุมกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลี (Mekong-ROK Summit) ที่สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นการประชุมคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ ในระดับ ระดับผู้นําของอาเซียนกับประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งประเทศไทยและเกาหลีใต้ได้พัฒนาความร่วมมือความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์หลายด้าน โดยเฉพาะด้านทรัพยากรน้ำ มีการรับรองปฏิญญาแม่น้ำโขง–แม่น้ำฮัน เป็นเอกสารผลลัพธ์สำคัญของการประชุม ซึ่งได้กำหนดทิศทางความร่วมมือลุ่มน้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลี ในอนาคต

ทั้งนี้ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ไทยและเกาหลีใต้ได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินการด้านทรัพยากรน้ำร่วมกัน 3 ด้าน (3 Partnerships หรือ 3Ps) ได้แก่ หุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจสีเขียว หุ้นส่วนด้านอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และหุ้นส่วนด้านสาธารณสุข รวมถึงความร่วมมือที่ใกล้ชิดในกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ทั้งในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค

โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีที่ประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี ได้ประสานความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ซึ่งการประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครั้งนี้จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถของภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน

“สำหรับประเทศไทย แม่น้ำโขงเป็นเส้นเลือดใหญ่สำคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ใน 8 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 28 อำเภอ 100 ตำบล ตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา ประชาชนริมน้ำโขงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งปัจจัยทางธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ ส่งผลต่อความแปรปรวนของปริมาณน้ำ คุณภาพน้ำและระบบทางนิเวศ ซึ่งสิ่งนี้เป็นความท้าทายประเทศที่อาศัยแม่น้ำโขงในการดำรงชีวิต โดยต้องร่วมมือกันฟื้นฟูและรักษาคุณภาพทรัพยากรน้ำให้กลับมาสมบูรณ์ มีความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำ อาหาร พลังงาน เพื่อช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจระดับภูมิภาค” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะได้เข้าร่วมการประชุมระดับสูง(High Level Dialogue) โดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ร่วมอภิปรายเรื่องความร่วมมือด้านน้ำในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำโขงภายใต้ความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งพบปะหารือกับผู้บริหาร K-Water เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและส่งเสริมความร่วมมือด้านน้ำระหว่างไทยกับ K-Water และเยี่ยมชมโครงการบริหารจัดการน้ำของเกาหลีใต้ อาทิ สถานีโรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงซีฮวา และสถานีผลิตน้ำสะอาดฮวาซอง เป็นต้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 ตุลาคม 2565

“ส.ส. จักรพันธ์” พปชร.รุดตรวจความแข็งแรงเขื่อนเขตบางพลัด-บางกอกน้อย เร่งรับมือมวลน้ำทุกทิศทาง มั่นใจเข้าดูแล ปชช.ทันสถานการณ์

,

“ส.ส. จักรพันธ์” พปชร.รุดตรวจความแข็งแรงเขื่อนเขตบางพลัด-บางกอกน้อย
เร่งรับมือมวลน้ำทุกทิศทาง มั่นใจเข้าดูแล ปชช.ทันสถานการณ์

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2565 นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตบางพลัด บางกอกน้อย และหัวหน้าภาค พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) พร้อมด้วย ดร.บุณณดา สุปิยพันธุ์ ที่ปรึกษา ส.ส. ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำ และสนับสนุนการปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมริมเขื่อนแม่น้ำเจ้าพระยา และรับฟังข้อมูลสถานการณ์น้ำ จากสำนักการระบายน้ำ กทม. (สนน.) เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมวลน้ำที่เกิดขึ้น ทั้งมาจากภาคเหนือ,ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามากในพื้นที่ กทม.วานนี้ และน้ำทะเลหนุนสูงสุดที่ต้องเฝ้าระวังในวันที่ 10 ตุลาคม และวันที่ 27 และ 28 ตุลาคม2565 นี้ เพื่อไม่ให้ชุมชน และพื้นที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบ

นายจักรพันธ์ กล่าวว่า การดำเนินการเป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากการที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้ลงพื้นที่ จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.อ่างทอง และ จ.อยุธยา เพื่อติดตามการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมกำชับให้ ส.ส.ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาประสานหน่วยงานรัฐ เพื่อขอความช่วยเหลือ และแจ้งเตือนประชาชนอย่างทันท่วงที

นายจักรพันธ์ กล่าวต่อว่า เมื่อวานถือเป็นปรากฎการณ์ 3 น้ำคือ น้ำเหนือ น้ำหนุน และน้ำฝน ถ้ามี 3 น้ำนี้ประกอบกันขึ้น บริเวณชุมชน กทม.ที่อยู่ริมเจ้าพระยา และคลองหลัก ๆ ก็จะได้รับผลกระทบ แต่จากการประเมินสถานการณ์แล้ว ขณะนี้เข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 10 ต.ค.จะเป็นช่วงที่ทะเลหนุนสูง เพราะฉะนั้นในวันนี้ ได้พาคณะลงพื้นที่เพื่อติดามว่าเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดแนวในพื้นที่บางพลัด มีความแข็งแรงที่จะรับกับสถานการณ์น้ำได้ โดยเฉพาะน้ำเหนือ กับน้ำหนุน ซึ่งเท่าที่สำรวจดูก็อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ

“ในบางจุดที่เป็นจุดเสี่ยงอยู่แล้ว ประชาชนในพื้นที่ก็รับทราบแล้ว เช่น จุดที่เป็นฟันหลอ ไม่มีเขื่อนถาวรของ กทม.จุดที่เป็นคันกั้นน้ำของเอกชน จุดเหล่านี้ ทาง กทม.ก็ได้มาเตรียมการไว้แล้ว หรืออย่างจุดท่าเรือวัดเทพากร หรือ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 68 เขตบางพลัด ก็จะเป็นจุดที่มีเขื่อนถาวรที่สร้างมาเกือบ 30 ปีแล้ว ทางสำนักการระบายน้ำ กทม. ก็ได้มาดำเนินการเสริมความแข็งแรงของเขื่อน คืออัดฉีดน้ำปูนเข้าไปในเขื่อนเดิม เพื่อเสริมรอยรั่ว เสริมความแข็งแกร่งของเขื่อน ซึ่งประธานชุมชนบอกว่าถือว่าช่วยบรรเทาปัญหาไปได้มาก แต่ระยะยาวก็ต้องเร่งดำเนินการของบประมาณเพื่อสร้างเขื่อนถาวรซ้อนเข้าไปอีกชั้น “นายจักรพันธ์ กล่าว

นายจักรพันธ์ กล่าวด้วยว่า ในฐานะ ส.ส.ของพื้นที่ก็ได้มีการแจ้งกับชุมชนตลอด ซึ่งชาวบ้านก็เข้าใจ เพราะปกติหน้าน้ำชาวบ้านจะรับรู้ และเผชิญกับสถานการณ์แบบนี้ แต่จะน้อยจะมากก็แล้วแต่ปริมาณน้ำในช่วงนั้นตามภาวะน้ำแต่ละช่วงเวลา เพียงแต่ในขณะนี้ปริมาณน้ำเมื่อมารวมกันมีมากกว่าปกติ แต่เชื่อว่าจะไม่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมเหมือนในปี 2554


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”เร่งยุทธศาสตร์แก้ปัญหาภัยพิบัติ จากโลกร้อน ร่วมศึกษาเปลี่ยนรถบัสขสมก.เป็นไฟฟ้าลดการก่อมลพิษในกทม.

,

“พล.อ.ประวิตร”เร่งยุทธศาสตร์แก้ปัญหาภัยพิบัติ จากโลกร้อน
ร่วมศึกษาเปลี่ยนรถบัสขสมก.เป็นไฟฟ้าลดการก่อมลพิษในกทม.

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมตรี เปิดเผยว่า ได้เรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เพื่อเร่งขับเคลื่อนความร่วมมือการปฏิบัติงานรองรับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ผ่าน ระบบ VTC ณ มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อฯ โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมรับทราบ รายงานความก้าวหน้าโครงการเปลี่ยนรถประจำทางสาธารณะของภาคเอกชน เป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (รถร่วมบริการ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ที่ประชุม ได้ร่วมพิจารณาและเห็นชอบเรื่องสำคัญ ประกอบด้วย (ร่าง) การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (ร่าง) ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก็าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ ฉบับปรับปรุง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จะช่วยลดก็าซเรือนกระจกและเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2608 และช่วยสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม สำหรับการลงทุนที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ เช่น พลังงานหมุนเวียน ยานยนต์ไฟฟ้า การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน นอกจากนั้นยังช่วยให้สุขสภาวะของประชาชนดีขึ้น ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆและการจ้างงานสีเขียว รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจไทย สอดคล้องกับนโยบาย BCG

พล.อ.ประวิตร’ ได้แสดงความขอบคุณ ทส.และคณะกรรมการฯ ที่ร่วมกันเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระยะยาว และมาตรการต่างๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์’ นรม.และรมว.กห. ได้ไปลงนามความร่วมมือของไทยกับสหประชาชาติ ( COP 26 ) ทั้งนี้เพื่อการแก้ปัญหาและลดผลกระทบจากภัยพิบัติภายในประเทศที่ต้นทาง โดยขอให้นำเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบโดยเร็ว เพื่อเป็นกรอบการปฏิบัติงานร่วมกันและท่าทีเจรจาไทยกับต่างประเทศ พร้อมทั้ง ขอให้ ทส. ประสานความร่วมมือ เร่งศึกษาพิจารณาเปลี่ยนรถประจำทาง ขสมก.ให้เป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้าให้เป็นรูปธรรมไปพร้อมกัน


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ลงพื้นที่ติดตามปริมาณน้ำ “สิงห์บุรี-อ่างทอง-อยุธยา” กำชับหน่วยงานแจ้งเตือนเข้าเยียวยาความเดือดร้อนปชช.ทุกพื้นที่เสี่ยง

,

“พล.อ.ประวิตร” ลงพื้นที่ติดตามปริมาณน้ำ “สิงห์บุรี-อ่างทอง-อยุธยา”
กำชับหน่วยงานแจ้งเตือนเข้าเยียวยาความเดือดร้อนปชช.ทุกพื้นที่เสี่ยง

วันที่ 3 ตุลาคม 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปปฏิบัติราชการ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ เพื่อเร่งช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากพายุ”โนรู” บริเวณ เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท พร้อมเดินทางต่อไปยัง บริเวณพื้นที่ประตูน้ำบางโฉมศรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เพื่อติดตามสถานการณ์เขื่อนป้องกันตลิ่ง และ เดินทางต่อเนื่องไปยัง วัดโบสถ์(ล่าง) อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อตรวจ ติดตามสถานการณ์น้ำ บริเวณ แม่น้ำน้อย โดยมีนาย นิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัด.พระนครศรีอยุธยาให้การต้อนรับ พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม น้ำหลาก จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้พบปะพี่น้องประชาชนที่มาให้การต้อนรับ และให้กำลังใจชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ด้วยความเสียสละ ทุ่มเท ในการช่วยเหลือประชาชน อย่างเต็มที่

พล.อ.ประวิตร ยังได้สั่งการจังหวัด กรมชลประทาน ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยเร็วที่สุด ตามนโยบาย 13 มาตรการรับมือฤดูฝน รวมทั้ง ให้เร่งรัดการก่อสร้างคลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา และมอบหมายให้ ก.เกษตร ,ก.การคลัง เตรียมให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ อย่างทั่วถึง รวมทั้งได้กำชับ สทนช. เร่งขับเคลื่อนแผนป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งระยะสั้น ระยะยาว อย่างเป็นระบบ ควบคู่กับการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำ ให้ประชาชนทราบล่วงหน้า ครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยง พร้อมทั้ง ได้กล่าวยืนยันกับพี่น้องประชาชนว่า รัฐบาลมีความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ครั้งนี้ อย่างเต็มที่ ทุกครัวเรือน เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ โดยเร็วที่สุด เพื่อลดผลกระทบจากความเดือดร้อน และมีความอยู่ดี กินดี ต่อไป


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 ตุลาคม 2565

พล.อ.ประวิตร’ ห่วงประชาชนพื้นที่ปลายเจ้าพระยารับมวลน้ำเพิ่ม เร่งหน่วยงานผันน้ำเข้าทุ่งพร้อมแผนเบี่ยงน้ำลดผลกระทบน้ำท่วมขัง

,

พล.อ.ประวิตร’ ห่วงประชาชนพื้นที่ปลายเจ้าพระยารับมวลน้ำเพิ่ม
เร่งหน่วยงานผันน้ำเข้าทุ่งพร้อมแผนเบี่ยงน้ำลดผลกระทบน้ำท่วมขัง

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และคณะผู้บริหารเดินทางลงพื้นที่ภาคกลาง จ.ชัยนาท และ อยุธยา เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง หลังเพิ่มปริมาณการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา โดยรับฟังสถานการณ์น้ำพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง จากศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า ณ สำนักงานชลประทานที่ 12 อ.สรรพยา จ.ชัยนาท โดยมี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ส.ส.จังหวัดชัยนาท พรรคพลังประชารัฐ นายวิรัช รัตนเศรษฐ สมาชิกพรรคพลังประรัฐ ร่วมติดตามลงพื้นที่ด้วย โดยมีประชาชนชาวจังหวัดชัยนาทร่วมต้อนรับและขอหอมแก้มให้กำลังใจ นำพวงมาลัยผ้าขาวม้า ผ้าขาวม้าผูกเอว และให้กำลังใจพล.อ.ประวิตร

สำหรับภาพรวมปริมาณน้ำปี 2565 มากกว่า ปี 2564 โดยใกล้เคียงกับปี 2554 อันเกิดจากมรสุมและพายุที่พาดผ่านไทยหลายลูก ปริมาณน้ำยม น่านและปิงรับน้ำมากขึ้น ส่งผลการบริหารการระบายน้ำเจ้าพระยา โดยศูนย์อำนวยการน้ำส่วนหน้า จ.ชัยนาท ได้พิจารณาให้ความสำคัญควบคุมความสมดุลไม่ให้กระทบพื้นที่อุทกภัยวงกว้าง

พล.อ.ประวิตร’ ได้ขอบคุณเจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยงาน ที่สนับสนุนรับมือสถานการณ์น้ำและช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ พร้อมทั้งสั่งการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ( สทนช. )จังหวัด กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกันติดตาม 13 มาตรการในการรับมือฤดูฝน โดยขอให้พิจารณาเร่งเบี่ยงน้ำจากแม่น้ำป่าสัก เข้าคลองระพีพัฒน์ออกทะเลโดยตรง รวมทั้งขอให้หน่วยน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ลงทุ่งรับน้ำในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ และให้ผันน้ำเข้าทุ่งรับน้ำ 10 ทุ่งที่จัดเตรียมไว้ เพื่อลดปริมาณน้ำลงพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง และขอให้เร่งระบายน้ำท่วมขังออกจากพื้นที่ชุมชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยให้ สทนช.เร่งขับเคลื่อนแผนป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งควบคู่กันไป เพื่อแก้ปัญหาน้ำระดับพื้นที่และกักน้ำไว้เพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง พร้อมทั้ง กำชับให้กรมชลประทานเร่งก่อสร้างคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร ให้เร็วขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ จว.อยุธยา ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว

พร้อมทั้งขอให้กระทรวงมหาดไทย โดยทุกจังหวัด ที่ประสบอุทกภัย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กระทรวงการคลัง ร่วมพิจารณามาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้ทั่วถึง และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบโดยทั่วถึง ในการบริหารจัดการสมดุลน้ำไปพร้อมกัน พร้อมกับขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ที่ร่วมบริหารจัดการน้ำและลงดูแลช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จากนั้นในบ่ายวันเดียวกัน พล.อ.ประวิตร’และคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่ อ.เสนา จว.อยุธยา ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่วัดโบสถ์


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 ตุลาคม 2565

" รมช อธิรัฐ “ ลงพื้นติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น 'โนรู' พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่ รับมือฝนตกต่อเนื่อ เยี่ยมเยียนประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม"

” รมช อธิรัฐ “ ลงพื้นติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น ‘โนรู’ พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่ รับมือฝนตกต่อเนื่อ เยี่ยมเยียนประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม”

,

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ดร.อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายฐนัญญ์ภพ ดาราย ปลัดอาวุโสอำเภอประทาย นางคมขำ ปองนาน นายกเทศมนตรีตำบลประทาย นายชัยยุทธ โคตรสมบัติ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองค่าย และผู้นำท้องที่ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จ.นครราชสีมา และเยี่ยมเยียนให้กำลังใจพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุ “โนรู” ณ ถนนบ้านไร่ริมบึง – บ้านนางิ้ว เทศบาลตำบลประทาย และ บ้านโคกเพชร ต.หนองค่าย กรณีน้ำท่วมบึงกระโตนและไหลออกมาท่วมชุมชนบริเวณบ้านกระโตน บ้านไร่ ในเทศบาลตำบลประทาย และบ้านโคกเพชร โดยในเบื้องต้น

ปภ.เขต 5 นครราชสีมา นำชุดรถปฏิบัติการสูบน้ำท่วม/ขัง พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ อัตราสูบ 54,000 ลิตร/นาที จำนวน 1 ชุดอบต.ประทาย ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ
– ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ในเขตเทศบาลตำบลประทาย
– ขนาด 6 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง เขตบ้านนางิ้ว
เพื่อสูบน้ำที่ท่วมขังผิวการจราจร และพื้นที่ชุมชน และสูบน้ำกลับเข้าไปใน “บึงกระโตน” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน

ทั้งนี้ ตนได้สั่งการกำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมมาตรการช่วยเหลือประชาชน ดังนี้

1. การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
1.1 ให้อำเภอ และ อปท. ประชาสัมพันธ์ เฝ้าระวัง สำรวจเส้นทางน้ำ หากพื้นที่ใดพบว่ามีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ให้เร่งดำเนินการเสริมแนวคันดิน กระสอบทราย พร้อมจัดเวรยามเฝ้าระวังตลอดเวลา
1.2 ให้ทุกหน่วยงานประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชน กรณีการระบายน้ำในอ่างเก็บน้ำ และคำนึงถึงภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย
1.3 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มอบถุงยังชีพ น้ำดื่ม อาหารแก่ผู้ประสบภัย
1.4 ให้แขวงทางหลวงนครราชสีมา แขวงทางหลวงชนบทนครราชสีมา สนับสนุนเครื่องมือ เครื่องจักรให้กับ อปท. เช่น กรณีคอสะพานชำรุด หากมีน้ำท่วมขังให้ดำเนินการตามมาตรการของหน่วยงาน และให้แจ้งจังหวัดเพื่อประชาสัมพันธ์ต่อไป

2. การเยียวยาฟื้นฟูในพื้นที่หลังเกิดภัย
2.1 ให้อำเภอ และ อปท.ดำเนินการสำรวจความเสียหายบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบฯ และหลักเกณฑ์
2.2 ด้านการเกษตร พืช ประมง ปศุสัตว์ ดำเนินการสำรวจความเสียหายหลังน้ำลด ช่วยเหลือเยียวยา ตามระเบียบฯ และหลักเกณฑ์

" รมช อธิรัฐ “ ลงพื้นติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น 'โนรู' พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่ รับมือฝนตกต่อเนื่อ เยี่ยมเยียนประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม" " รมช อธิรัฐ “ ลงพื้นติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น 'โนรู' พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่ รับมือฝนตกต่อเนื่อ  เยี่ยมเยียนประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม" " รมช อธิรัฐ “ ลงพื้นติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น 'โนรู' พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่ รับมือฝนตกต่อเนื่อ  เยี่ยมเยียนประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม" " รมช อธิรัฐ “ ลงพื้นติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น 'โนรู' พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่ รับมือฝนตกต่อเนื่อ  เยี่ยมเยียนประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม" " รมช อธิรัฐ “ ลงพื้นติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น 'โนรู' พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่ รับมือฝนตกต่อเนื่อ  เยี่ยมเยียนประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม" " รมช อธิรัฐ “ ลงพื้นติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น 'โนรู' พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่ รับมือฝนตกต่อเนื่อ  เยี่ยมเยียนประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม" " รมช อธิรัฐ “ ลงพื้นติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น 'โนรู' พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่ รับมือฝนตกต่อเนื่อ  เยี่ยมเยียนประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม" " รมช อธิรัฐ “ ลงพื้นติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น 'โนรู' พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่ รับมือฝนตกต่อเนื่อ  เยี่ยมเยียนประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม" " รมช อธิรัฐ “ ลงพื้นติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น 'โนรู' พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่ รับมือฝนตกต่อเนื่อ  เยี่ยมเยียนประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม" " รมช อธิรัฐ “ ลงพื้นติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น 'โนรู' พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่ รับมือฝนตกต่อเนื่อ  เยี่ยมเยียนประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม" " รมช อธิรัฐ “ ลงพื้นติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น 'โนรู' พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่ รับมือฝนตกต่อเนื่อ  เยี่ยมเยียนประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม" " รมช อธิรัฐ “ ลงพื้นติดตามสถานการณ์น้ำท่วม อ.ประทาย จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น 'โนรู' พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่ รับมือฝนตกต่อเนื่อ  เยี่ยมเยียนประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม"

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ตุลาคม 2565