โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 19 ตุลาคม 2022

“พล.อ.ประวิตร” ถก กนช.ไฟเขียวร่างแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี เปิด10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2566

,

“พล.อ.ประวิตร” ถก กนช.ไฟเขียวร่างแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี
เปิด10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2566

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการ กนช. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566–2580) ที่ปรับปรุงกรอบแนวทางและค่าเป้าหมายตามกรอบวิสัยทัศน์ “ทุกหมู่บ้านมีน้ำสะอาดอุปโภค บริโภค น้ำเพื่อการผลิตมั่นคง ความเสียหายจากอุทกภัยลดลง คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาอย่างสมดุล โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน” โดยได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 13 กระทรวง 51 หน่วยงาน เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาด้านทรัพยากรน้ำ ค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แผนงานภายใต้แผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี พร้อมทั้งได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจำนวน 7 พื้นที่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการลุ่มน้ำ องค์กรผู้ใช้น้ำ และภาคประชาชน เพื่อให้ร่างแผนแม่บทดังกล่าวมีความสมบูรณ์ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง

สำหรับการปรับปรุงแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี ได้นำประเด็นสถานการณ์ปัจจุบันมาใช้วิเคราะห์สถานการณ์ด้านทรัพยากรน้ำ เช่น สถานการณ์ของโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน การปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ เศรษฐกิจหมุนเวียนและการฟื้นตัว การเชื่อมโยงตัวชี้วัดและเป้าหมายกับแผนระดับชาติและแผนระดับนานาชาติ การปรับปรุงกรอบแนวทางการพัฒนา จากเดิม 6 ด้าน เป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1.การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค 2.การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต 3.การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 4.การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ ซึ่งมีการควบรวมแผนแม่บทฯ เดิมด้านจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และการอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดินเข้าด้วยกัน เพื่อให้ครอบคลุมระบบนิเวศของต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และ 5.การบริหารจัดการ

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เน้นย้ำเรื่องการกำหนดเป้าหมายแต่ละระยะโดยนำงบประมาณมาพิจารณาประกอบ รวมถึงการปรับปรุงจำนวนกลยุทธ์ โดยเพิ่มกลยุทธ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัยเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการจัดกลุ่มกลยุทธ์แผนแม่บทด้านบริหารจัดการให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดธรรมาภิบาลด้านน้ำ เช่น การส่งเสริมองค์กรและการมีส่วนร่วม การจัดทำเครื่องมือในการบริหารจัดการ การจัดทำงบประมาณและการเงิน ทั้งกลุ่มโครงการที่สามารถดำเนินการได้เลย ให้ขับเคลื่อนผ่านช่องทางปกติ และโครงการที่ดำเนินการจำเป็นต้องขับเคลื่อน แต่ต้องให้มีการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบ หรือแนวทางที่เหมาะสม เพื่อให้การขับเคลื่อนงานตามแผนแม่บทฯ เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติและติดตามประเมินผลได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุม กนช. ยังได้เห็นชอบ 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 ประกอบด้วย 1.เร่งเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภท 2.เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรอง พร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ ในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ 3.ปฏิบัติการเติมน้ำ 4.กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง 5.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร 6.เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำ รับน้ำนอง 7.เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ 8.เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน 9.สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ และ 10.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน รวมทั้งเห็นชอบโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2566 แนวคิดในการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของกรุงเทพมหานครในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และผลการศึกษาวิจัยนวัตกรรมเชิงระบบ โครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ และข้อเสนอการยกระดับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำด้วย


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์​ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2565

” รองหน.พปชร.” ติดตามสถานการณ์ระดับน้ำอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร’ จ.นครราชสีมา เตรียมแผนป้องกัน เร่งการระบายน้ำ ลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน”

,

” รองหน.พปชร.” ติดตามสถานการณ์ระดับน้ำอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร’ จ.นครราชสีมา
เตรียมแผนป้องกัน เร่งการระบายน้ำ ลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน”

นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จ.นครราชสีมา ลงพื้นที่ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ติดตามสถานการณ์ระดับน้ำอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) เนื่องจากอิทธิพลของพายุ “โนรู” ทำให้เกิดฝนตกสะสมเป็นปริมาณมาก และเต็มพื้นที่ลุ่มน้ำของลำเชียงไกร ทำให้มีปริมาณน้ำท่า ไหลลงลำห้วย ลำน้ำต่างๆ เป็นจำนวนมาก และจากการติดตามฯ พบว่า มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 31.88 ล้านลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีน้ำไหลลงอ่างวันละ 2.83 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 3 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 1.13 เมตร ซึ่งระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก แต่อยู่ในสภาวะที่สามารถควบคุมได้ ทั้งนี้ได้แนะนำให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการป้องกัน พร้อมทั้งปรับการระบายน้ำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ พิจารณาระบายน้ำ โดยไม่กระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายหรือกระทบน้อยที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์​ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66

“พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66

,

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ครั้งที่ 3/2565

โดยที่ประชุมได้รับทราบสถานการณ์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในประเทศและตลาดโลก ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของอินโดนีเซียที่ได้มีการประกาศยกเลิกภาษีส่งออกสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มทั้งหมด แต่จากสถานการณ์ภัยแล้งในทวีปอเมริกาทำให้ราคาน้ำมันพืชชนิดต่างๆ รวมถึงน้ำมันปาล์มยังทรงตัว ไม่ปรับลดลงมากนัก สำหรับสถานการณ์ความต้องการใช้น้ำมันดิบในประเทศ คาดว่า ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบในภาคบริโภคและอุตสาหกรรม จะปรับลดลงมาอยู่ที่ 0.09 ล้านตันต่อเดือน เนื่องจากภาวะการค้าและการบริโภคยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในขณะที่ภาคพลังงานปรับเพิ่มขึ้นหลังจากมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 เห็นชอบ การกำหนดเพิ่มสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลจาก บี5 เป็น บี7 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

ในคราวนี้ ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบการเปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม คราวละ 3 ปี (ปี 2566 – 2568) และขอขยายระยะเวลาดำเนินการตามโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 เป้าหมาย 150,000 ตัน โดยขยายระยะเวลาส่งออกเป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 และขยายระยะเวลาโครงการให้สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2566 ยิ่งไปกว่านั้น ได้เห็นชอบให้ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2565 – 2566 โดยให้เริ่มจ่ายเงินชดเชยประกันรายได้ งวดที่ 1 ให้แก่เกษตรกรตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 เพื่อให้มีความต่อเนื่องจากโครงการฯ ปี 2564 – 2565 นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติแทนที่ชุดเดิมซึ่งหมดวาระในวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประกอบไปด้วยผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน และผู้ประกอบการสวนปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นตัวแทนเกษตรกร จำนวน 3 ท่าน

พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนกลไกบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร ได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานให้คำนึงถึงเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ประกอบการ ไม่ไห้ได้ผลกระทบ หรือ ได้ผลกระทบน้อยที่สุด จากการดำเนินการของรัฐบาล โดยเน้นมาตรการระยะยาวแปรรูป และเพิ่มมูลค่าให้ปาล์มเป็นพืชเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ทั้งยังได้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ 8 ชนิด ส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ (SAF) ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีภาคเอกชนหลายรายเริ่มลงทุนแล้ว ต้องยอมรับว่า ผลงานการบริหารราคาน้ำมันปาล์มที่สูงขึ้นเป็นที่ประจักษ์ภายใต้การดูแลของพล.อ.ประวิตรทำให้ชาวเกษตรกรสวนปาล์มชื่นชมถึงความทุ่มเทในการยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ให้ “กินดีอยู่ดี” อย่างยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์​ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66 “พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66 “พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66

"พล.อ.ประวิตร"ปลื้มปชช.ตอบรับนโยบายสวัสดิการประชารัฐ ลุยขยายผลต่อเนื่อง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเศษฐกิจยั่งยืน

“พล.อ.ประวิตร”ปลื้มปชช.ตอบรับนโยบายสวัสดิการประชารัฐ ลุยขยายผลต่อเนื่อง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเศษฐกิจยั่งยืน

,

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร. ) เปิดเผยถึง นโยบาย 3 พันธกิจหลักของพรรคพลังประชารัฐ ที่ประกอบด้วย 1.สวัสดิการประชารัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ 2.เศรษฐกิจประชารัฐ สร้างความสามารถและโอกาสที่เท่าเทียม และ 3.สังคมประชารัฐ สงบสุข เข้มแข็ง แบ่งปัน โดยการดำเนินการในส่วนของ สวัสดิการประชารัฐ เป็นหนึ่งในเสาหลัก และนโยบายที่พรรคผลักดันให้เกิดขึ้นในรัฐบาลปัจจุบัน นับเป็นความสำเร็จ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนช่วงนี้ อยู่ระหว่างการเปิดให้ลงทะเบียนรอบใหม่ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประชาชนให้ความสนใจ มีการลงทะเบียนจำนวนมาก เพราะเป็นแนวทางที่ประชาชนได้ประโยชน์ สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ได้รับการดูแล ทั้งในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การดูแลเบี้ยยังชีพของผู้สูงวัย ตลอดจนผู้มีรายได้น้อย หรือกลุ่มเปราะบาง

สำหรับการขับเคลื่อน และสานต่อ นโยบายสวัสดิการประชารัฐ พปชร. เล็งเห็นความสำคัญ ที่ต้องการให้ประชาชนได้รับสวัสดิการที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิต สามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียม มองว่าเป็นนโยบายที่ตอบสนองคนไทยทุกคน นับแต่วันแรกที่มีลมหายใจ จนถึงวันสุดท้ายของลมหายใจ จึงเป็นที่มาของแนวคิด จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน สวัสดิการประชารัฐ

ทั้งนี้ได้แบ่งการดูแลสวัสดิประชารัฐตาม ช่วงวัย ดังนี้

  1. ช่วงอยู่ในครรภ์ จนถึง 6 ปี ต้องเติบโตอย่างมีคุณภาพ โภชนาการครบถ้วน พัฒนาการตามวัย
  2. อายุ 7-18 ปี : การศึกษามีคุณภาพอย่างเท่าเทียม เพิ่มทางเลือกทางการศึกษาให้เหมาะสมกับโลกที่เปลี่ยนไป
  3. อายุ 18-40 ปี : สวัสดิการคุ้มครองแรงงานในและ นอกระบบ ฝึกอบรมเพิ่มทักษะ รองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
  4. อายุ 40-60 ปี : ดูแลสวัสดิการเสริมด้านสุขภาพ ครอบคลุมประชาชนทุกคน
  5. อายุ 60 ปีขึ้นไป : เบี้ยยังชีพ บ้านพัก และสวัสดิการผู้สูงอายุ

    อย่างไรก็ตามเป้าหมายต่อไปที่จะผลักดันการใช้ สวัสดิการประชารัฐ ให้เกิดประสิทธิภาพ พรรคพลังประชารัฐไม่ได้เน้นเพียงกลุ่มเปราะบางเท่านั้น แต่ต้องการให้ประชาชนทุกคนได้เข้าถึงสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน สนับสนุนให้เกิดฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือ บิ๊กดาต้าด้านสวัสดิการ เพื่อออกแบบสวัสดิการสำหรับคนต่างกลุ่ม ต่างวัย ได้อย่างครอบคลุม และถูกฝาถูกตัว ผ่านบัตรประชาชน

“เป้าหมายสำคัญ คือ ลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน และสร้างความเท่าเทียมให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย เพราะพรรคพลังประชารัฐห่วงใยและพร้อมดูแลพี่น้องประชาชนอย่างครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกคน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”พล.อ.ประวิตรกล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ ​พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2565

"พล.อ.ประวิตร"ปลื้มปชช.ตอบรับนโยบายสวัสดิการประชารัฐ ลุยขยายผลต่อเนื่อง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเศษฐกิจยั่งยืน