โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

“พล.อ.ประวิตร”ลงพื้นที่ดูแลชาวปทุมรับผลกระทบอุทุกภัย เดินหน้าผลักดันโครงการบริหารจัดการน้ำป้องกันระยะยาว

“พล.อ.ประวิตร”ลงพื้นที่ดูแลชาวปทุมรับผลกระทบอุทุกภัย
เดินหน้าผลักดันโครงการบริหารจัดการน้ำป้องกันระยะยาว

เมื่อวันที่ 6 ต.ค.65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงการคลัง ได้เดินทางพื้นที่ศาลากลาง จ.ปทุมธานี เพื่อติดตามสถานการณ์ของปริมาณน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จาก”พายุโนรู” โดยมี ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ โฆษกพรรคพลังประชารัฐ เขต 2 กทม. รวมถึงว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ทั้ง 7 เขตปทุมธานี อาทิ นายเศวก ประเสริฐสุข , นายปรีชา ชื่นชนกพิบูล , นายเกียติศักด์ ส่องแสง , นายคิว อรุโณรส , นายสุรศักดิ สุรทัตโชค, นายประเสริฐศรี ฮ้อแสงชัย และนางฐิตินันท์ เจริญอาจ นายชณทัต ปัทะมะภูวดล ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.อยุธยา เขต 3 ให้การต้อนรับอย่างพร้อมเพรียง โดย นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้บรรยายสรุปสถานการณ์น้ำภาพรวม จ.ปทุมธานี นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รักษาการที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นำเสนอแผนงานด้านทรัพยากรน้ำใน จ.ปทุมธานี และภาพรวมสถานการณ์น้ำปัจจุบัน นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นำเสนอแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ โดยสรุป

ทั้งนี้ภาพรวมจ.ปทุมธานี อยู่ในพื้นที่ 2ลุ่มน้ำ คือลุ่มน้ำเจ้าพระยา (77%) และลุ่มน้ำบางปะกง (23%)มีปริมาณน้ำปัจจุบัน 26 ล้าน ลบ.ม.( 39%) ซึ่งปัญหาอุทกภัยในปีนี้ มีสาเหตุ จากน้ำหลาก จากต้นน้ำตอนบน ไหลลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำให้เกิดการเอ่อล้นตลิ่ง เข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรกรรม รวม 7อำเภอ อยู่ในขณะนี้ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาล ได้มี 13มาตรการรองรับฤดูฝน ควบคู่กับโครงการ 349 โครงการในปี61-65 แล้ว และอีก 4 โครงการสำคัญ ในปี66-67

ขณะเดียวกันยังได้ติดตามการบริหารจัดการน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าน้ำวัดโบสถ์ อ.สามโคก การก่อกระสอบทรายกั้นน้ำ อบต.กระแชง อ.สามโคก และประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ที่ใช้บริหารจัดการน้ำคลองรังสิตประยูรศักดิ์และการระบายน้ำในพื้นที่ จ.ปทุมธานี และกรุงเทพฯ และการปฎิบัติงานของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี พร้อมทั้งได้พบปะ เยี่ยมเยียนพี่น้องประชาชน เพื่อให้กำลังใจผู้ที่ประสบอุทกภัยต่อด้วยการเดินทางไปตรวจสภาพ ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ อ.ธัญบุรี เพื่อเร่งระบายน้ำ ลดความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ตามแผนงานอย่างเร่งด่วน ต่อไป

พล.อ.ประวิตร กล่าวขอบคุณประชาชนที่มาต้อนรับ ซึ่งรัฐบาลเห็นใจเรื่องของปริมาณน้ำที่สร้างผลกระทบมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยพบว่าพื้นที่ริมน้ำได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำในเจ้าพระยาในขณะนี้มีปริมาณที่สูงกว่าเขื่อน ส่งผลให้น้ำท่วมเข้าสู่บ้านเรือนที่ส่งผลให้ท่วมถึงกว่า 6,000 ครัวเรือน ซึ่งรัฐบาลกำลังวางแผนเพื่อลดผลกระทบเกิดขึ้นกับประชาชนให้น้อยที่สุด โดยได้หน่วยงานต่างๆได้ร่วมวางแผนไม่ว่าจะเป็นสนทช. กรมชลประทาน เพื่อกำหนดแผนป้องกันไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน และแก้ไขปัญหาโดยเร็ว

นอกจากนี้ ยังได้เตรียมแผนให้หน่วยงานท้องถิ่นขยายถนน ทางเข้าวัดสามโคกเพิ่มขึ้น โดยให้อบจ.ไปดำเนินการออกแบบ ซึ่งจะมีการเร่งรัด เพื่อแก้ไขปัญหาตามข้อแนะนำจากท่านเจ้าอาวาสวัดสามโคกต่อไป

พล.อ. ประวิตร กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อติดตามความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และ กทม. โดยเฉพาะการรับมือกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน บ้านเรือน และพื้นที่ทำกินของประชาชน และได้สั่งการให้ สทนช. กรมชลประทาน และจังหวัด ร่วมบูรณาการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ และเร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ยังมีจุดท่วมขังให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยการเร่งดำเนินการซ่อมแซม บำรุงรักษาระบบระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำและสถานีสูบน้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รักษาการที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สทนช. ได้รายงานผลการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรน้ำในพื้นที่ จ.ปทุมธานีในปี 61 – 64 พบว่า มีโครงการด้านแหล่งน้ำทั้งสิ้น 337 แห่ง พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ2 หมื่นไร่ พื้นที่เก็บกักน้ำเพิ่มขึ้น 3.45 ล้านลูกบาศก์เมตร เช่น การปรับปรุงอาคารบังคับน้ำปลายคลองลาดหลุมแก้วประปาหมู่บ้านแบบบาดาลขนาดใหญ่ ประตูระบายน้ำกลางคลอง 13 ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งระยะทาง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นต้น ซึ่งโครงการสำคัญที่จะเกิดขึ้นในช่วงปี 66 – 67 ได้แก่ ประตูระบายน้ำกลางคลองรังสิต (8-9) ประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ปากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ปรับปรุงคันคลองเชียงรากน้อย ด้านทิศเหนือ ระยะที่ 1 ซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสามารถป้องกันน้ำท่วมได้ถึง 53,000 ไร่


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 ตุลาคม 2565

" ,