โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

เดือน: ตุลาคม 2022

“พล.อ.ประวิตร” โทรชื่นชมครอบครัววอลเลย์หญิงไทย นำความสุขสร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติในเวทีโลก

,

“พล.อ.ประวิตร” โทรชื่นชมครอบครัววอลเลย์หญิงไทย นำความสุขสร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติในเวทีโลก

วันที่ 14 ต.ค.65 เวลา 12.00 น. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้วิดีโอคอลไปยัง “โค้ชด่วน” นายดนัย ศรีวัชรเมธากุล หัวหน้าผู้ฝึกสอนและนักกีฬาวอลเลย์หญิงทีมชาติไทย เพื่อขอบคุณที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศ ในงาน “ครอบครัววอลเลย์บอล สร้างสุขทั่วไทย ได้ใจทั่วโลก” ของสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 14 ต.ค.65 ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอรีน พระรามเก้า กรุงเทพฯ

โดยพลเอกประวิตร ได้กล่าวขอบคุณสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ผู้ฝึกสอน นักกีฬา ที่เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติรายการต่าง ๆ ตลอดปี 2022 รวมทั้งบุคลากรด้านอื่นๆ ที่มุ่งมั่น ทุ่มเท ด้วยความเสียสละ อดทน ทําให้ทีมวอลเลย์บอลของไทยประสบผลสําเร็จเป็นอย่างดียิ่ง และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ

สำหรับผลงานวอลเลย์บอลหญิงไทย 2022 โชว์ผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยการคว้าแชมป์ซีเกมส์ (13 สมัยติด /นับเป็นสมัยที่ 15), เนชันส์ลีก 2022 อันดับ 8 (สร้างประวัติศาสตร์เข้ารอบไฟนอลเป็นครั้งแรก), อันดับ 3 เอวีซี คัพ 2022 (AVC CUP 2022), แชมป์วัน อาเซียน กรังด์ปรีซ์ 2022 ก่อนส่งท้ายปี 2022 ด้วยการจบอันดับ 15ในศึกวอลเลย์บอลหญิง ชิงแชมป์โลก 2022 จากการชนะ ตุรกี, โครเอเชีย, เกาหลีใต้ และโดมินิกัน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 ตุลาคม 2565

“ตรีนุช” ถกประชุม รมต.ศึกษาอาเซียน พร้อมรับไม้ต่อปี67 ไทยเจ้าภาพชู “พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล”

,

“ตรีนุช” ถกประชุม รมต.ศึกษาอาเซียน พร้อมรับไม้ต่อปี67 ไทยเจ้าภาพชู “พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล”

เมื่อวานนี้ (13 ตุลาคม 2565) ที่โรงแรม MELIA Hanoi กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า ตน พร้อมด้วย นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีศึกษาของอาเซียน ครั้งที่ 12 (The 12th ASEAN Education Ministers Meeting: 12th ASED) ร่วมกับรัฐมนตรีศึกษาของ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนและเลขาธิการอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางของแต่ละประเทศในการจัดการศึกษาในยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และหารือถึงแนวทางการพัฒนาการศึกษาในอนาคตร่วมกัน

“การประชุม 12th ASED นี้ จัดขึ้นในหัวข้อ ‘Joint efforts to recover learning and building resilience of education systems in ASEAN and beyond in the new context’ หรือ ‘ความพยายามร่วมกันในการพลิกโฉมการเรียนรู้และการสร้างความยืดหยุ่นของระบบการศึกษาในอาเซียนและในบริบทใหม่’ ซึ่งรัฐมนตรีศึกษาประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมแลกเปลี่ยนถึงแนวทางการจัดการศึกษาที่ได้รับผลกระทบมาจากโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยประเทศไทย และประเทศสมาชิกส่วนใหญ่มีการปรับการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและเน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้ครูเพื่อสามารถรองรับรูปแบบการสอนที่เปลี่ยนไปได้ รวมถึงพัฒนาแพลตฟอร์มกลางให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ” นางสาวตรีนุช กล่าว

รมว.ศธ. กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยเฉพาะการพาเด็กตกหล่นและหลุดออกกลางคันให้ได้กลับมาเรียนอีกครั้ง ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยไทยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการพาเด็กที่หลุดออกจากระบบกลับมาให้มากที่สุด รวมถึงฟื้นฟูความรู้ในช่วงที่หายไป โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้สนับสนุน ดังนั้น การเรียนรู้แบบผสมผสานที่เกิดขึ้นทำให้ผู้เรียนและครูต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ใหม่ด้านดิจิทัล เพราะตอนนี้การศึกษาได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งตนได้ขอบคุณประเทศสมาชิกอาเซียนในการร่วมมือระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาในการพัฒนาทักษะผู้เรียนให้มีทักษะด้านดิจิทัลพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2567 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASED ครั้งที่ 13 โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาในเรื่อง “พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล” (Transforming Education to Fit in the Digital Era)

“ขอชื่นชมประเทศเวียดนามที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้และยินดีที่ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนมาร่วมกันขับเคลื่อนการศึกษาไปด้วยกัน เพราะงานด้านการศึกษาไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง เราในฐานะเจ้าภาพการประชุมในครั้งต่อไป จะสานต่อความร่วมมือที่เข้มแข็ง เพื่อสร้างหลักประกันว่าทุกคนจะต้องมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม” นางสาวตรีนุช กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 ตุลาคม 2565

“รมต.อนุชา” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ จ.ชัยนาท ซ่อมแซมคันกั้นน้ำ-ลดผลกระทบพื้นที่การเกษตรเสียหาย

,

“สัณหพจน์” ชื่นชม ครม.อนุมัติ ปรับปรุงขยายประปา “ลุ่มน้ำปากพนัง” สืบสานพระราชปณิธาน ในหลวง ร.9 การบริหารจัดการน้ำ

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 – นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายนที มนตริวัต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท นายอนุสรณ์ นาคาศัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดชัยนาท เดินทางลงพื้นที่ อ.เมือง จ.ชัยนาท เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำหลังได้รับรายงานน้ำในพื้นที่เพิ่มสูงจากปริมาณฝนตกหนักและน้ำเหนือไหลเข้าพื้นที่ ประกอบกับคันกั้นน้ำที่วัดลัดเสนาบดี (วัดเกาะ) ชำรุด ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนและพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย

ทั้งนี้ นายอนุชายังได้เดินทางไปยังวัดลัดเสนาบดี หมู่ที่ 1 ต.เขาท่าพระ อ.เมือง และบ้านดักคะนน ต.ธรรมามูล อ.เมือง เพื่อสำรวจความเสียหายจากผลกระทบคันกั้นน้ำชำรุด พบว่ามีปริมาณน้ำไหลแรงเข้าสู่พื้นที่อยู่อาศัยของประชาชนและพื้นที่การเกษตรอย่างรวดเร็ว ถนนหนทางบางส่วนได้รับความเสียหายจากน้ำกัดเซาะ สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ทุกภาคส่วนให้ความช่วยเหลือและดูแลประชาชนอย่างเต็มกำลัง และฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนทุกพื้นที่ สำหรับ จ.ชัยนาท พื้นที่ ต.ธรรมามูล และ ต.เขาท่าพระ เป็นพื้นที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา และเป็นพื้นที่สำคัญที่ต้องรักษาไม่ให้เกิดน้ำท่วมสูง เมื่อคันกั้นน้ำพังจะทำให้น้ำท่วมไปหลายตำบลและอาจส่งผลถึงจังหวัดใกล้เคียง ขณะนี้ตนได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วนให้ความช่วยเหลือ โดยเร่งดำเนินการซ่อมแซมคันกั้นน้ำ เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่พี่น้องประชาชน คาดว่าหากไม่มีปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำจากแหล่งอื่นมาเพิ่มเติม สถานการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติ

“ตอนนี้เราอยู่ในช่วงของการเฝ้าระวังและเสริมกำลังไปยังพื้นที่เปราะบาง เพื่อให้มีความมั่นคงในการป้องกันคันน้ำไม่ให้พังทลาย ในระยะยาวจะดำเนินการประสานไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดและทางหลวงชนบทที่ดูแลถนนเส้นนี้ ให้ทำการยกระดับถนนให้ปลอดภัยจากน้ำท่วม และได้กำชับทางจังหวัดให้ดูแลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบทุกด้าน ทั้งชีวิตความเป็นอยู่และสุขอนามัย หากมีความเดือดร้อนเรื่องใดจะจัดชุดเคลื่อนที่เร็วให้ความช่วยเหลือประชาชนทันที” นายอนุชา กล่าว

ทั้งนี้ จ.ชัยนาท ประสบสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ 30 ตำบล 145 หมู่บ้าน 10 ชุมชน ประชาชนได้รับความเสียหาย 8,250 ครัวเรือน มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 86,994 ไร่ โดยพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยรุนแรงมากที่สุดคือ อ.สรรพยา เบื้องต้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือและอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #อนุชานาคาศัย
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 13 ตุลาคม 2565

พปชร.นครราชสีมา ส่งความห่วงใยผู้ประสบภัยน้ำท่วม อ.โนนสูง

,

พปชร.นครราชสีมา ส่งความห่วงใยผู้ประสบภัยน้ำท่วม อ.โนนสูง

นางทัศนียา รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา เขต 7 และ นายทวิรัฐ รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วยทีมงานลงพื้นอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เยี่ยมเยียมพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัยและได้รับผลกระทบจากพายุฝนตกต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ ยังได้ร่วมพูดคุยและรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะต่างๆ จากชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน

สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ ศาลาบ้านผู้ใหญ่ บ้านหนองอ้อ ต.เมืองปราสาท, บ้านหนองอ้อ ต.เมืองปราสาท, วัดโนนคาม ต.เมืองปราสาท, ศาลาบ้านคล้า ต.เมืองปราสาท, บ้านโนนบ่อ ม.9 ต.ลำคอหงษ์, บ้านโนนพรม ม.1 ต.ลำคอหงษ์, บ้านโนนลาว ม.6 ต.ลำคอหงษ์ และบ้านกระถิน ม.8 ต.ลำคอหงษ์ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #ทัศนียารัตนเศรษฐ # ทวิรัฐรัตนเศรษฐ
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” เคาะจังหวัดเร่งเยียวยาชาวอุบล-ศรีษะเกษ ประสานทุกหน่วยระดมแผนฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลด

,

“พล.อ.ประวิตร” เคาะจังหวัดเร่งเยียวยาชาวอุบล-ศรีษะเกษ
ประสานทุกหน่วยระดมแผนฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลด

วันที่12 ต.ค.65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช. ) ได้เดินทางลง พื้นที่ จ.อุบลราชธานี และ จ.ศรีสะเกษ พร้อมคณะ พื่อติดตามสถานการณ์น้ำ และให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากภาวะน้ำท่วม โดยมี นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดให้การต้อนรับ ณ สำนักงานชลประทานที่ 7 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ทั้งนี้ พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำและสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เป็นจังหวัดได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม จากอิทธิพลพายุโนรู และร่องมรสุมที่พัดผ่านประเทศไทยทำให้ฝนตกหนัก ต่อเนื่อง เป็นบริเวณกว้างส่งผลให้ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูล มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม ที่มีน้ำคงค้างอยู่ก่อนแล้ว และมีปริมาณน้ำมากกว่า ทุกปี เฉลี่ยร้อยละ 25 แต่พื้นที่น้ำท่วมน้อยกว่าปี2554 และปี2562 เนื่องจากรัฐบาลได้นำ13มาตรการรับมือฤดูฝน มาใช้อย่างได้ผล

ขณะเดียวกัน จ.อุบลราชธานี ยังเป็นพื้นที่ที่มีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยเพื่อบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วย ทั้งนี้ภาครัฐได้ระดมให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบ อย่างเต็มที่ ทั้ง 19 อำเภอ ที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ว และเตรียมแผนรองรับการเยียวยาหลังน้ำลด ไว้แล้ว

พล.อ.ประวิตร และคณะ ยังได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ บริเวณแม่น้ำมูล ณ วัดหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี และได้เยี่ยมเยียนพบปะให้กำลังใจ พี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม เสร็จแล้วเดินทางต่อไปยัง จ.ศรีสะเกษ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ และการให้ความช่วยเหลือประชาชน ณ บริเวณบ้านหนองบัวไชยวาน อ.กันทรารมณ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งประชาชนได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม เช่นกัน

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวมอบนโยบายแก่ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช. )กรมชลประทาน จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยย้ำว่า รัฐบาลมีความห่วงใยต่อความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น กับประชาชนทุกครัวเรือน และได้สั่งการให้ทุกหน่วยงาน เร่งดำเนินการตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน อย่างเข้มข้น ตลอดจนการเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือกำลังคน อย่างเต็มที่ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้สถานการณ์กลับสู่ ภาวะปกติ โดยเร็วที่สุด

นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ กอนช. โดยศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหน่วยงานหลัก ในการประสานแผนการบริหารจัดการน้ำของกรรมการลุ่มน้ำ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดและการประกาศพื้นที่ประสบภัย ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการน้ำในสภาวะเสี่ยงเกิดอุทกภัยและส่งผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด พร้อมมอบหมายให้กรมชลประทาน ดำเนินการตามแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมปี 2565 ตามที่ กนช. ได้ให้ความเห็นชอบไว้ และตามมติของคณะทำงานศูนย์ส่วนหน้าฯที่มีความเห็นร่วมกัน ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างทันท่วงที และเตรียมแผนการช่วยเหลือฟื้นฟู ภายหลังน้ำลดให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วต่อไปด้วย

อย่างไรก็ตามสทนช ได้เตรียมดำเนินการ สั่งศูนย์ส่วนหน้า ในการจัดทีม เข้าไป เพื่อฟื้นฟูร่วมกับเหล่าทัพ ข้าราชการหน่วยงานท้องถิ่น รวม 28 ทีม แบ่งเป็นทีมละ 15 คน เข้าไปเยียวยา โดยเร็วที่สุด


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” เตรียมลงอีสานติดตามข้อมูลน้ำลุ่มน้ำชี-มูล เร่งแผนระบายน้ำ ลดผลกระทบประชาชนจ.อุบล-ศรีสะเกษ

,

“พล.อ.ประวิตร” เตรียมลงอีสานติดตามข้อมูลน้ำลุ่มน้ำชี-มูล
เร่งแผนระบายน้ำ ลดผลกระทบประชาชนจ.อุบล-ศรีสะเกษ

“พล.อ.ประวิตร” ห่วงน้ำท่วมอีสาน ลงพื้นที่อุบลราชธานี – ศรีสะเกษ วางแผนจัดการบริหารลุ่มน้ำชี-มูล เร่งระบายออกแม่น้ำโขง บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน หลังเจอผลกระทบจากพายุโนรู และร่องมรสุมหลายระลอก

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เตรียมลงพื้นที่ตรวจราชการติดตามสถานการณ์น้ำในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ ในวันที่ 12 ต.ค. 2565 เพื่อรับฟังรายงานบรรยายสรุปการบริหารจัดการน้ำ และสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ที่สำนักงานชลประทานที่ 7 อ.เมือง จากอิทธิพลของพายุโนรูที่เข้าภาคอีสานของไทย ในช่วงที่ผ่านมา และยังได้รับผลกระทบจากร่องมรสุมที่พัดผ่านเข้าสู่ไทยหลายระลอก มีปริมาณฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมที่ก่อนหน้านี้มีน้ำคงค้างอยู่แล้ว ซึ่งจนถึงขณะนี้สถานการณ์ก็ยังอยู่ในการเฝ้าระวังและต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประเมินความเสี่ยงที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณน้ำในลุ่มน้ำมูลขณะนี้สูงกว่าปี 2562 มากว่า 50 ซม. ทำให้บ้านเรือนและประชาชน ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม ขณะที่เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ยังมีการเพิ่มการระบายน้ำจาก 50 ลบ.ม./วัน มาเป็น 52 ลบ.ม./วัน ทำให้ระดับน้ำชีสูงขึ้น

นอกจากนี้จะลงพื้นที่บริเวณวัดหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำว่าอยู่ในระดับใด และมีการบริหารจัดการน้ำอย่างไร เพื่อให้สามารถผันลงแม่น้ำโขงให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะสามารถระบายน้ำ ในการบรรเทาความเดือดร้อนในกับประชาชนในพื้นที่

นอกจากนี้ได้เดินทางต่อไปบริเวณสะพานข้ามทางรถไฟ บ้านหนองบัวไชยวาน ต.โนนสัง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ รับฟังถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ พร้อมพบปะพูดคุยกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2565

“รมว.ตรีนุช” ลงพื้นที่หนองคาย ปลื้มผลงานขับเคลื่อนนโยบายโรงเรียนคุณภาพ-คลินิก 3R

,

“รมว.ตรีนุช” ลงพื้นที่หนองคาย ปลื้มผลงานขับเคลื่อนนโยบายโรงเรียนคุณภาพ-คลินิก 3R

วันนี้ ( 11 ต.ค.2565) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา ตนได้ลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย โดยได้ตรวจเยี่ยมสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) หนองคายเขต 2 จำนวน 2 โรงเรียน คือ ที่โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึง ม.3 เป็นโรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา มีโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 10 โรงเรียน ทั้ง 11 โรงเรียน มีนักเรียน รวม 1,227 คน ครูและบุคลากรรวม 105 คน โดยในปีงบประมาณ 2565 ก็ได้มีการจัดสรรงบลงทุนสร้างอาคารให้ และตนก็ไม่ผิดหวังที่ได้เห็นการขับเคลื่อนนโยบายโรงเรียนคุณภาพอย่างจริงจัง มีแผนงานที่จะพัฒนาและใช้ทรัพยากรร่วมกันกับโรงเรียนเครือข่าย สามารถดึงนักเรียนที่ออกจากระบบกลับมาเรียนได้หลายคน มีการสร้างทักษะอาชีพให้นักเรียน มีการดูแลความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า อาคาร และอุปกรณ์ต่างๆ เห็นถึงความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมจากการได้รับรางวัลของโรงเรียนและนักเรียน เห็นเพชรเม็ดงามในชนบท ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ก็จะเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนงบฯด้านต่างๆ เช่น ค่ารถในการนำเด็กจากโรงเรียนเครือข่ายมาเรียน และหาวิธีการขับเคลื่อนให้โรงเรียนเครือข่ายเกิดคุณภาพด้วย

รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับโรงเรียนบ้านพระบาทนาหงส์ เป็นโรงเรียนประถมศึกษา สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง ป.6 ที่โรงเรียนนี้มีกิจกรรมเด่นๆ อาทิ กิจกรรมสภานักเรียน ส่งเสริมประชาธิปไตย ,คลินิก 3R เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้อ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ, จัดห้องสมุดมีชีวิต โดยจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ซึ่งส่งผลให้ได้รับรางวัลชนะเลิศห้องสมุด 3 D และรางวัลชนะเลิศห้องสมุดส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ประจำปีการศึกษา 2565 นอกจากนี้ยังมีโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน ที่ส่งเสริมการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ มีสมรรถนะในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งยังส่งผลถึงชุมชน ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่ สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาผสมผสานกับงานด้านการเกษตรและแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการฟาร์มได้

“ดิฉันมาลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมโรงเรียน เพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของ ศธ. ให้กำลังใจครู บุคลากร และผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเมื่อเห็นนักเรียนมีความสุขแล้วก็หายเหนื่อย และขอชื่นชมครู และผู้บริหารโรงเรียนทุกคนที่ได้ทุ่มเททำงานต่อเนื่องหลายปี ซึ่งนักเรียนทุกคน ก็คือ ผลลัพธ์เชิงประจักษ์ในการทำงาน ดิฉันดีใจที่ได้เห็นเด็กๆได้ใช้ความรู้ที่เชื่อมโยงจากการอ่าน นำมาเป็นนิทาน และนำมาเป็นการแสดงออกต่างๆ อาทิ การฟ้อนรำนาฏศิลป์พื้นเมือง ซึ่งสอดคล้องกับนโนบาย Soft Skills ทักษะที่คนยุคใหม่ควรมี และสิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงการเรียนการสอนที่มีกลไกในการเรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนแบบ active learning ที่เป็นเป้าหมายของ ศธ.ซึ่งดิฉันจะนำไปเล่าให้จังหวัดอื่นๆได้ดูเป็นแบบอย่าง และขอฝากให้โรงเรียนฝึกฝนเรื่องจริยธรรม ศีลธรรม และประชาธิปไตยให้แก่เด็กๆ ซึ่งปัจจุบันบริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงไปเด็กอยู่กับสื่อต่างๆในโลกโซเชียลเยอะ ดังนั้น ครู ต้องทำงานหนักมากขึ้นในการทำให้เด็กมีความมั่นคงและแข็งแกร่งในเรื่องของการมีจริยธรรม ศีลธรรม และ ที่สำคัญต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยในมิติต่างๆ รวมถึงการคัดกรองบุคคลเข้าออกสถานศึกษา” รมว.ศธ.กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2565

‘พล.อ.ประวิตร’สั่งเพิ่มประสิทธิภาพแผนจัดการน้ำลดผลกระทบปชช. เฝ้าระวังปริมาณน้ำในเขื่อน คาดหลัง 11 ต.ค.ฝนตอนบนเริ่มลด

,

‘พล.อ.ประวิตร’สั่งเพิ่มประสิทธิภาพแผนจัดการน้ำลดผลกระทบปชช.
เฝ้าระวังปริมาณน้ำในเขื่อน คาดหลัง 11 ต.ค.ฝนตอนบนเริ่มลด

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำครั้งที่ 3/2565 โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) เป็นต้น เข้าร่วมการประชุม และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า รัฐบาลห่วงใยต่อสถานการณ์น้ำในขณะนี้ เนื่องจากปริมาณฝนในปีนี้มากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ มีปริมาณฝนใกล้เคียงปี 54 ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและมีการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะส่งผลให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันน้อยกว่าในปี 54 จะมีเพียงพื้นที่เฉพาะจุดเท่านั้นที่อาจได้รับผลกระทบมากกว่า เนื่องจากสภาพการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจต่อผลกระทบและความเสียหายที่เกิดแก่ประชาชน โดยได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ที่ยังประสบปัญหาอุทกภัย โดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ชีและมูล

ทั้งนี้ยังได้เน้นย้ำให้เร่งดำเนินการบริหารจัดการน้ำให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด พร้อมกันนี้ ได้เน้นย้ำเรื่องการบริหารจัดการน้ำทุกแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำในอ่างฯ มากกว่า 80% ของความจุ หรือมากกว่าระดับควบคุม ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงแข็งแรงและอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนด้านท้ายน้ำของอ่างฯ โดยสั่งการให้บริหารจัดการให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รวมถึงให้ตรวจสอบคัน ทำนบ และพนังกั้นน้ำบริเวณพื้นที่ท้ายอ่างฯ ให้มีความมั่นคงปลอดภัย สามารถใช้บริหารจัดการน้ำได้เต็มศักยภาพ รวมถึงกำชับให้มีการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝน ซึ่งขณะนี้ในพื้นที่ตอนบนปริมาณฝนเริ่มมีแนวโน้มลดลงแล้ว จึงให้ลดการระบายน้ำเพื่อไม่ให้ปริมาณน้ำกระทบในพื้นที่ด้านท้าย ขณะเดียวกันก็เป็นการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งที่จะถึงด้วย นอกจากนี้ ให้เร่งแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในจุดต่าง ๆ ที่มีน้ำท่วมขังออกโดยสู่ลำน้ำสายหลักเพื่อระบายออกสู่ทะเลโดยเร็ว

สำหรับการบริหารจัดการน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งยังคงมีปริมาณน้ำเหนือเขื่อนอยู่จำนวนมากในขณะนี้ ทำให้
กรมชลประทานจำเป็นต้องจะปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันได ให้อยู่ในอัตรามากกว่า 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยให้กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำและควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเต็มศักยภาพของพื้นที่เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชนและพื้นที่การเกษตร พร้อมดำเนินการแจ้งเตือนจังหวัดในพื้นที่ท้ายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเร่งประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย

ด้านดร.สุรสีห์ เลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมว่า คาดการณ์ว่าในช่วงหลังวันที่ 11 ตุลาคม แนวโน้มปริมาณฝนจะเริ่มลดลง โดยขณะนี้ระดับน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ เริ่มทรงตัว รวมถึงปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ลดลง โดยปัจจุบันอ่างฯ ส่วนใหญ่เริ่มลดและงดระบายน้ำที่อาจจะส่งผลกระทบด้านท้ายน้ำ รวมถึงเพื่อเป็นการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในในฤดูแล้ง ทำให้ภาพรวมของฤดูแล้งในปีนี้ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก โดยเฉพาะปริมาณน้ำใช้การใน 4 เขื่อนหลักเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่บริเวณนอกเขตชลประทานและพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำ โดยวันนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบต่อ (ร่าง) มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 65/66 จำนวน 10 มาตรการ ตามที่ สทนช. เสนอ และให้เสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบโดยเร็วก่อนเข้าสู่ฤดูแล้งในต้นเดือนหน้า พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานนำมาตรการไปจัดทำแผนปฏิบัติการในส่วนที่เกี่ยวข้องและจัดส่งให้ สทนช. เพื่อติดตามประเมินผลต่อไป


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 ตุลาคม 2565

รมว.ชัยวุฒิ หวั่น คัน กั้นน้ำภาคกลางขาด เร่งระบายน้ำด่วน

,

รมว.ชัยวุฒิ หวั่น คัน กั้นน้ำภาคกลางขาด เร่งระบายน้ำด่วน

9 ตุลาคม 2565 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ลงพื้นที่ บริเวณ เเนวคันกั้นนำ้ขาด เเละเสียหาย ที่ บริเวณวัด ประสาท อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี พร้อมกับ นายสุพจน์ ยศสิงห์คำ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี และหัวหน้าส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง โดย นายชัยวุฒิ ได้ให้กำลังใจ พร้อมพูคคุยกับประชาชน ผู้ประสบภัย ขณะที่จังหวัดสิงห์บุรี ได้นำอาหารเเห้ง จากผู้มีจิต ศรัทธา มามอบให้ ผู้ประสบอุทกภัย จำนวน 2000 ครอบครัวด้วย ทั้งนี้ นายชัยวุฒิ กล่าวว่า สิ่งสำคัญตอนนี้เราเน้น จะดูเรื่องอาหารการกินมีการตั้งโรงครัวพระราชทานให้ถุงยังชีพนำ้ดื่ม สะอาด แล้วก็ดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ส่วนผู้สูงอายุ คนป่วยติดเตียงที่มีสุขภาพไม่ดี ก็จะนำมาพักอยู่ที่โรงพยาบาล อําเภอพรหมบุรี ซึ่งจะรองรับผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงขณะนี้ เราเตรียมศูนย์พักพิงไว้ทุกๆอําเภอเพื่อ รองรับผู้ประสบภัย ที่น้ําท่วมหนัก นอกจากนี้ก็มีการจัดตั้ง สุขาชั่วคราวในทุกๆจุดที่ประชาชนบ้านถูกนำ้ท่วมด้วย
โดยในภาพรวมถือว่าสิงห์บุรี เเละจังหวัดในพื้นที่ ภาคกลาง ได้มีการวางแผนมาอย่างดี นายชัยวุฒิ ยังระบุด้วยว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงเเละเป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้คือเรื่องการระบายน้ํา เพราะว่าวันนี้ปริมาณน้ําที่มี ถ้าดูจากระดับความสูง ก็เท่าๆกับประมาณปี2554 ปริมาณฝนที่ตกจริงๆทั้งประเทศก็ใกล้เคียงกับปี54 สิ่งที่เรากลัวคือ ถ้าน้ํามันล้นจากระบบชลประทานป้องกันน้ําท่วมมันก็จะเกิดความเสียหาย ปริมาณนำ้ที่มากจะกระจาย ความเเรงของนำ้ จะทำให้เกิดความเสียหายในพื้นที่วงกว้างซึ่งรัฐบาลได้วางแผนไว้แล้ว มีนโยบายให้เราปล่อยน้ําลงทุ่ง เพื่อหน่วงน้ํา ลดปริมาณน้ําที่จะเข้าสู่เจ้าพระยา ซึ่งก็ดําเนินการไปบางส่วนแล้ว
ทั้งนี้ยอมรับว่า บางจุดที่สิงห์บุรีน้ําก็ยังไม่ได้ออกไปเป็นระบบมากเท่าที่ควร ทำให้คันกั้นน้ําต่างๆล้นไปท่วมบ้านเรือนประชาชน เเละคันกันนำ้ หลายจุด ก็กําลังจะพังแล้ว ดังนั้น ถ้าเราไม่มีการบริหารจัดการน้ํา ปล่อยน้ําออกไปบ้าง ผมเชื่อว่าเดี๋ยวคันกั้นน้ําจะขาด คลองชลประทานขาด ก็จะคุมมวลนำ้มหาศาลไม่ได้เลย จะเสียหายหนัก ทั่งพื้นที่เศรษฐกิจ เเละเกษตรกรรม อย่างไรก็ตามจะติดตามกับทางชลประทานว่าได้มีการะบายน้ําอย่างไรเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ก็คือ การ เอาน้ําลงทุ่ง 11 ทุ่งตามมติ ครม. ที่กําหนดไปแล้ว


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 ตุลาคม 2565

‘อธิรัฐ’ เร่งรัด ติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3

,

‘อธิรัฐ’ เร่งรัด ติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3

วันที่ 7 ตุลาคม 2565 เวลา 10.00 น. นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 (ส่วนที่ 1) โดยมี เรือเอกกานต์ เมนะรุจิ รองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมผู้บริหารให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม 1 อาคารบริหารท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนท่าเทียบเรือ F ซึ่ง กทท.เป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้างงานทางทะเลเพื่อรองรับการก่อสร้างท่าเทียบเรือและโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเรือชายฝั่ง ก่อสร้างระบบรถไฟ

ซึ่งปัจจุบัน กทท. ได้ส่งมอบงานก่อสร้างงานทางทะเลในส่วนของงานพื้นที่ถมทะเล 1 (Key Date 1) เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 31 ส.ค.65 การดำเนินงานพื้นที่ถมทะเล 2 (Key Date 2) ได้แก่ การขนย้ายดินเลน การถมทราย ฯลฯ กำหนดส่งมอบวันที่ 5 พ.ย.65 และตามแผนกิจการฯ ร่วมค้า จะส่งมอบพื้นที่ถมทะเล 2 ให้ กทท. วันที่ 31 ม.ค.66 ล่าช้ากว่าแผน 87 วัน เนื่องจากการขออนุมัติแก้ไขสัญญาการเปลี่ยนเรือขุดและกระบวนการในการขุดดินและขนย้ายดินเหนียว ซึ่งขณะนี้ได้เร่งก่อสร้างหลักผูกเรือ เพื่อนำดินเหนียวไปทิ้งและขนส่งหินให้ได้ 20,000 ลบ.ม./วัน

สำหรับพื้นที่ถมทะเล 3 (Key Date 3) กำหนดแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค.66 คาดว่า จะส่งมอบพื้นที่ท่าเทียบเรือ F ขนาด 1,000 เมตร ให้บริษัท จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด (จีพีซี) เอกชนคู่สัญญาได้ภายใน พ.ค. – พ.ย.66 จากนั้นจะส่งมอบพื้นที่ครบ 2,000 เมตร ในเดือน พ.ค.68

ตนจึงได้สั่งการให้ กทท. สรุปปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานในแต่ละส่วนของงานพื้นที่ แนวทางแก้ไข เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนเร่งรัดการก่อสร้าง เพื่อที่จะสามารถส่งมอบพื้นที่ให้ บริษัท จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด เข้าดำเนินงานได้ภายในปี 2568 ตามสัญญา ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำ การดำเนินการเรื่องกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นการเปิดเผยข้อมูลให้โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

นายอธิรัฐ กล่าวว่า โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F เมื่อพัฒนาแล้วจะเพิ่มขีดความสามารถท่าเรือแหลมฉบังจาก 11 ล้านตู้/ปี เป็น 18 ล้านตู้/ปี รองรับการขยายตัวของปริมาณเรือขนส่งสินค้าทางทะเลเพิ่มขึ้น เป็นการเตรียมความพร้อมรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะแล้วเสร็จในปี 68


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”ลงหนองบัวลำภูเยี่ยม-ดูแลผู้บาดเจ็บให้ดีที่สุด สั่งคุมเข้มขั้นเด็ดขาดใช้อาวุธ-ยาเสพติดในกลุ่มคนพฤติกรรมเสี่ยง

,

“พล.อ.ประวิตร”ลงหนองบัวลำภูเยี่ยม-ดูแลผู้บาดเจ็บให้ดีที่สุด
สั่งคุมเข้มขั้นเด็ดขาดใช้อาวุธ-ยาเสพติดในกลุ่มคนพฤติกรรมเสี่ยง

เมื่อ 7ต.ค.65, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางลงพื้นที่อบต.อุทัยสวรรค์ จ.หนองบัวลำภู เพื่อร่วมแสดงความอาลัย ผู้เสียชีวิตและให้กำลังใจครอบครัว พร้อมเข้าเยี่ยมให้กำลังใจผู้ได้รับบาดเจ็บ จากเหตุการณ์ความรุนแรง โดยผู้ก่อเหตุ เป็นอดีตตำรวจ ซึ่งถูกดำเนินคดียาเสพติด กระทั่งมาก่อเหตุความรุนแรง ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.อุทัยสวรรค์ จ.หนองบัวลำภู ตามที่เป็นข่าวเมื่อวาน และส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้คนในสังคม เป็นอย่างยิ่งโดย พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประวิตร ได้ร่วมวางดอกไม้แสดงความอาลัย ผู้เสียชีวิต บริเวณด้านหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พร้อมไปมอบกำลังใจ ให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิต ซึ่งยังอยู่ในอาการเศร้าโศก เสียใจ หลังจากนั้น ได้เดินทางต่อไปยัง รพ.หนองบัวลำภู ได้รุดเยี่ยมเด็กนักเรียน และผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยกล่าวให้กำลังใจ อย่างสุดซึ้งใจ และขอให้ทุกคนมีความปลอดภัย พร้อมแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยืนยันจะไม่ให้มีเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีกโดยเด็ดขาด และจะให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ครอบครัวผู้ที่เสียชีวิต และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทุกคน อย่างดีที่สุด

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ ฝ่ายความมั่นคง ไปแล้ว ทั้งตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง จะต้องเพิ่มมาตรการป้องกันและกำจัดภัยร้ายจากอาวุธทุกชนิด และยาเสพติดให้ได้ อย่างจริงจัง เด็ดขาดทุกพื้นที่ ทั่วประเทศ เน้นเฝ้าระวัง เพ่งเล็งบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยง โดยทำงานเชิงรุกป้องกันการก่อเหตุซ้ำ ซึ่งที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะปัญหายาเสพติด ทั้งการป้องกัน ปราบปรามและการบำบัดรักษา ช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด คืนกลับสู่สังคม อย่างต่อเนื่อง และหากมีจนท.รัฐ บกพร่องต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือมีส่วนเกี่ยวข้อง ก็จะต้องถูกดำเนินคดี และถูกลงโทษตามกฏหมาย ไม่มีละเว้น พร้อมขอความร่วมมือประชาชน แจ้งเบาะแสบุคคลมีพฤติกรรมเสี่ยงให้ จนท.ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 ตุลาคม 2565

“ตรีนุช” ปล่อยขบวนคาราวาน “อาชีวะ ช่วยประชาชน” เพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม

,

“ตรีนุช” ปล่อยขบวนคาราวาน “อาชีวะ ช่วยประชาชน” เพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม

วันนี้ (7 ต.ค. 2565) ที่บริเวณหน้าสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศฺ) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานเปิดกิจกรรมปล่อยขบวนคาราวานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม “อาชีวะ ช่วยประชาชน” โดยมีว่าที่ร้อยตรี ดร. ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมพิธี ทั้งนี้ ก่อนการเริ่มพิธีคณะผู้บริหาร ครู และนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาได้ร่วมกันยืนสงบนิ่งไว้อาลัยกับเหตุการณ์การสูญเสียที่จังหวัดหนองบัวลำภู

โดยนางสาวตรีนุช กล่าวว่า จากเหตุการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติ พายุดีเปรสชั่นโนรู ที่พัดเข้าประเทศไทย ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก และมีฝนตกสะสม ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สร้างความเสียหายให้กับไร่นาและบ้านเรือนประชาชน เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนจากเหตุการณ์ดังกล่าว ตนจึงได้มอบหมายให้ สอศ.)ระดมสรรพกำลังผู้บริหาร ครู อาจารย์ นักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีจิตอาสาจากสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษา จัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix it Center เพื่อช่วยเหลือเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ภายใต้ชื่อ “อาชีวะ ช่วยประชาชน” เพื่อออกให้บริการซ่อมบำรุงรักษารถจักรยานยนต์ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน และเครื่องมือประกอบอาชีพแก่ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยกิจกรรมดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นการแสดงศักยภาพของนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำทักษะ ความรู้ความสามารถ สร้างประโยชน์แก่ชุมชน ปลูกจิตสำนึกให้มีจิตอาสา สร้างความเอื้ออาทร ความสามัคคี ความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์ ตลอดจนช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยให้ได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่การอาชีวศึกษา

ด้าน ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนุ กล่าวว่า สำหรับพิธีปล่อยขบวนคาราวาน “อาชีวะ ช่วยประชาชน” เพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมในวันนี้ มีสถานศึกษาที่เข้าร่วมงาน ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี วิทยาลัยการอาชีพเสนา วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี และวิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร และตนได้มอบนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ “เครื่องตรวจวัดกระแสไฟฟ้ารั่วในน้ำ” ที่ทางอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีได้ช่วยกันประดิษฐ์คิดค้นขึ้น ให้กับผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี และวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง เพื่อนำไปส่งมอบต่อให้กับโรงเรียนรุ่งเรืองวิทยา และโรงเรียนวัดแจ้งศิริสัมพันธ์ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่สถานศึกษาในการตรวจวัดกระแสไฟฟ้ารั่วในน้ำต่อไป

สำหรับพื้นที่การให้บริการ “อาชีวะ ช่วยประชาชน” จะเป็นการบูรณาการร่วมกันของสถานศึกษาทุกพื้นที่ ในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ และจังหวัดใกล้เคียง ที่ช่วยบรรเทาความเสียหายในทรัพย์สิน และค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยมีอาชีวศึกษาจังหวัดดูแล ทั้งนี้สามารถประสานได้ที่อาชีวศึกษาจังหวัดทุกแห่ง.


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 ตุลาคม 2565