โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

เดือน: ตุลาคม 2022

“พล.อ.ประวิตร” เข้มแผนลดอุบัติภัยบนท้องถนน ปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายเน้นความปลอดภัย ปชช.

“พล.อ.ประวิตร” เข้มแผนลดอุบัติภัยบนท้องถนน ปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายเน้นความปลอดภัย ปชช.

เมื่อ 20 ต.ค.65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน แห่งชาติ ครั้งที่2/2565 ร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์, โดยพล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบ ความคืบหน้าการแก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 เพื่อปรับปรุงมาตรการทางกฏหมาย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การใช้รถใช้ถนน รวมทั้งกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการขับขี่ เช่น การกำหนดที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก การเพิ่มโทษผู้ทำผิดซ้ำ การขับรถขณะเมาสุรา การป้องกันการแข่งรถ เป็นต้น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 5 ก.ย.65 รวมทั้งระบบการบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ พ.ศ.2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 9 ม.ค.66 และรับทราบมติที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กำหนดให้วันที่ 21 ม.ค.ของทุกปี เป็น”วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน” เพื่อย้ำเตือนผู้ขับขี่ยานพาหนะ จะต้องระมัดระวังความปลอดภัย สืบเนื่องจากเหตุการณ์ วันที่ “หมอกระต่าย” หรือ พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ถูกรถจักรยานยนต์ชนบนทางม้าลาย เมื่อ 21 ม.ค.65 ที่ผ่านมาแล้ว

จากนั้น ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเห็นชอบ แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลและช่วงวันหยุด พ.ศ.2566 โดยช่วงเทศกาลปีใหม่และวันสงกรานต์ ปี66 กำหนดชื่อโครงการรณรงค์ “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” และเห็นชอบ (ร่าง)แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน ปี65-70 ภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งสู่การสัญจรทางถนนที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน”

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ มท. สตช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งนำนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยเคร่งครัด เพื่อลดการบาดเจ็บ และการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ให้ได้อย่างต่อเนื่อง และจากแนวโน้มอุบัติเหตุทางถนนที่ลดลง ในขณะนี้ ต้องขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงานอย่างได้ผล แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องเพิ่มการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้มีใครต้องเสียใจ เพราะคนในครอบครัวเสียชีวิต บาดเจ็บ พิการ จากอุบัติเหตุ โดยเน้นมาตรการเชิงรุก วิเคราะห์จุดเกิดเหตุซ้ำควบคู่ประชาสัมพันธ์ สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย เพื่อแก้ไขปัจจัยเสี่ยงด้าน คน ถนน และยานพาหนะ ซึ่งผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัย 100% พร้อมสร้างการรับรู้ ควบคู่การบังคับใช้กฎหมาย อย่างเข้มข้น เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่ยานพาหนะ และผู้ใช้ถนนร่วมกัน ทุกคน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ถก กนช.ไฟเขียวร่างแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี เปิด10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2566

,

“พล.อ.ประวิตร” ถก กนช.ไฟเขียวร่างแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี
เปิด10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2566

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการ กนช. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566–2580) ที่ปรับปรุงกรอบแนวทางและค่าเป้าหมายตามกรอบวิสัยทัศน์ “ทุกหมู่บ้านมีน้ำสะอาดอุปโภค บริโภค น้ำเพื่อการผลิตมั่นคง ความเสียหายจากอุทกภัยลดลง คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาอย่างสมดุล โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน” โดยได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 13 กระทรวง 51 หน่วยงาน เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาด้านทรัพยากรน้ำ ค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แผนงานภายใต้แผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี พร้อมทั้งได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจำนวน 7 พื้นที่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการลุ่มน้ำ องค์กรผู้ใช้น้ำ และภาคประชาชน เพื่อให้ร่างแผนแม่บทดังกล่าวมีความสมบูรณ์ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง

สำหรับการปรับปรุงแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี ได้นำประเด็นสถานการณ์ปัจจุบันมาใช้วิเคราะห์สถานการณ์ด้านทรัพยากรน้ำ เช่น สถานการณ์ของโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน การปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ เศรษฐกิจหมุนเวียนและการฟื้นตัว การเชื่อมโยงตัวชี้วัดและเป้าหมายกับแผนระดับชาติและแผนระดับนานาชาติ การปรับปรุงกรอบแนวทางการพัฒนา จากเดิม 6 ด้าน เป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1.การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค 2.การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต 3.การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 4.การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ ซึ่งมีการควบรวมแผนแม่บทฯ เดิมด้านจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และการอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดินเข้าด้วยกัน เพื่อให้ครอบคลุมระบบนิเวศของต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และ 5.การบริหารจัดการ

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เน้นย้ำเรื่องการกำหนดเป้าหมายแต่ละระยะโดยนำงบประมาณมาพิจารณาประกอบ รวมถึงการปรับปรุงจำนวนกลยุทธ์ โดยเพิ่มกลยุทธ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัยเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการจัดกลุ่มกลยุทธ์แผนแม่บทด้านบริหารจัดการให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดธรรมาภิบาลด้านน้ำ เช่น การส่งเสริมองค์กรและการมีส่วนร่วม การจัดทำเครื่องมือในการบริหารจัดการ การจัดทำงบประมาณและการเงิน ทั้งกลุ่มโครงการที่สามารถดำเนินการได้เลย ให้ขับเคลื่อนผ่านช่องทางปกติ และโครงการที่ดำเนินการจำเป็นต้องขับเคลื่อน แต่ต้องให้มีการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบ หรือแนวทางที่เหมาะสม เพื่อให้การขับเคลื่อนงานตามแผนแม่บทฯ เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติและติดตามประเมินผลได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุม กนช. ยังได้เห็นชอบ 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 ประกอบด้วย 1.เร่งเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภท 2.เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรอง พร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ ในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ 3.ปฏิบัติการเติมน้ำ 4.กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง 5.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร 6.เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำ รับน้ำนอง 7.เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ 8.เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน 9.สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ และ 10.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน รวมทั้งเห็นชอบโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2566 แนวคิดในการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของกรุงเทพมหานครในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และผลการศึกษาวิจัยนวัตกรรมเชิงระบบ โครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ และข้อเสนอการยกระดับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำด้วย


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์​ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2565

” รองหน.พปชร.” ติดตามสถานการณ์ระดับน้ำอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร’ จ.นครราชสีมา เตรียมแผนป้องกัน เร่งการระบายน้ำ ลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน”

,

” รองหน.พปชร.” ติดตามสถานการณ์ระดับน้ำอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร’ จ.นครราชสีมา
เตรียมแผนป้องกัน เร่งการระบายน้ำ ลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน”

นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จ.นครราชสีมา ลงพื้นที่ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ติดตามสถานการณ์ระดับน้ำอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) เนื่องจากอิทธิพลของพายุ “โนรู” ทำให้เกิดฝนตกสะสมเป็นปริมาณมาก และเต็มพื้นที่ลุ่มน้ำของลำเชียงไกร ทำให้มีปริมาณน้ำท่า ไหลลงลำห้วย ลำน้ำต่างๆ เป็นจำนวนมาก และจากการติดตามฯ พบว่า มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 31.88 ล้านลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีน้ำไหลลงอ่างวันละ 2.83 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 3 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 1.13 เมตร ซึ่งระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก แต่อยู่ในสภาวะที่สามารถควบคุมได้ ทั้งนี้ได้แนะนำให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการป้องกัน พร้อมทั้งปรับการระบายน้ำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ พิจารณาระบายน้ำ โดยไม่กระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายหรือกระทบน้อยที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์​ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66

“พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66

,

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ครั้งที่ 3/2565

โดยที่ประชุมได้รับทราบสถานการณ์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในประเทศและตลาดโลก ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของอินโดนีเซียที่ได้มีการประกาศยกเลิกภาษีส่งออกสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มทั้งหมด แต่จากสถานการณ์ภัยแล้งในทวีปอเมริกาทำให้ราคาน้ำมันพืชชนิดต่างๆ รวมถึงน้ำมันปาล์มยังทรงตัว ไม่ปรับลดลงมากนัก สำหรับสถานการณ์ความต้องการใช้น้ำมันดิบในประเทศ คาดว่า ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบในภาคบริโภคและอุตสาหกรรม จะปรับลดลงมาอยู่ที่ 0.09 ล้านตันต่อเดือน เนื่องจากภาวะการค้าและการบริโภคยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในขณะที่ภาคพลังงานปรับเพิ่มขึ้นหลังจากมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 เห็นชอบ การกำหนดเพิ่มสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลจาก บี5 เป็น บี7 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

ในคราวนี้ ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบการเปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม คราวละ 3 ปี (ปี 2566 – 2568) และขอขยายระยะเวลาดำเนินการตามโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 เป้าหมาย 150,000 ตัน โดยขยายระยะเวลาส่งออกเป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 และขยายระยะเวลาโครงการให้สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2566 ยิ่งไปกว่านั้น ได้เห็นชอบให้ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2565 – 2566 โดยให้เริ่มจ่ายเงินชดเชยประกันรายได้ งวดที่ 1 ให้แก่เกษตรกรตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 เพื่อให้มีความต่อเนื่องจากโครงการฯ ปี 2564 – 2565 นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติแทนที่ชุดเดิมซึ่งหมดวาระในวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประกอบไปด้วยผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน และผู้ประกอบการสวนปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นตัวแทนเกษตรกร จำนวน 3 ท่าน

พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนกลไกบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร ได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานให้คำนึงถึงเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ประกอบการ ไม่ไห้ได้ผลกระทบ หรือ ได้ผลกระทบน้อยที่สุด จากการดำเนินการของรัฐบาล โดยเน้นมาตรการระยะยาวแปรรูป และเพิ่มมูลค่าให้ปาล์มเป็นพืชเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ทั้งยังได้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ 8 ชนิด ส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ (SAF) ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีภาคเอกชนหลายรายเริ่มลงทุนแล้ว ต้องยอมรับว่า ผลงานการบริหารราคาน้ำมันปาล์มที่สูงขึ้นเป็นที่ประจักษ์ภายใต้การดูแลของพล.อ.ประวิตรทำให้ชาวเกษตรกรสวนปาล์มชื่นชมถึงความทุ่มเทในการยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ให้ “กินดีอยู่ดี” อย่างยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์​ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66 “พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66 “พล.อ.ประวิตร”เร่งแผนดันราคาปาล์มช่วยเกษตรกร เดินหน้าโครงการประกันรายได้ต่อเนื่องปี’65-66

"พล.อ.ประวิตร"ปลื้มปชช.ตอบรับนโยบายสวัสดิการประชารัฐ ลุยขยายผลต่อเนื่อง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเศษฐกิจยั่งยืน

“พล.อ.ประวิตร”ปลื้มปชช.ตอบรับนโยบายสวัสดิการประชารัฐ ลุยขยายผลต่อเนื่อง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเศษฐกิจยั่งยืน

,

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร. ) เปิดเผยถึง นโยบาย 3 พันธกิจหลักของพรรคพลังประชารัฐ ที่ประกอบด้วย 1.สวัสดิการประชารัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ 2.เศรษฐกิจประชารัฐ สร้างความสามารถและโอกาสที่เท่าเทียม และ 3.สังคมประชารัฐ สงบสุข เข้มแข็ง แบ่งปัน โดยการดำเนินการในส่วนของ สวัสดิการประชารัฐ เป็นหนึ่งในเสาหลัก และนโยบายที่พรรคผลักดันให้เกิดขึ้นในรัฐบาลปัจจุบัน นับเป็นความสำเร็จ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนช่วงนี้ อยู่ระหว่างการเปิดให้ลงทะเบียนรอบใหม่ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประชาชนให้ความสนใจ มีการลงทะเบียนจำนวนมาก เพราะเป็นแนวทางที่ประชาชนได้ประโยชน์ สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ได้รับการดูแล ทั้งในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การดูแลเบี้ยยังชีพของผู้สูงวัย ตลอดจนผู้มีรายได้น้อย หรือกลุ่มเปราะบาง

สำหรับการขับเคลื่อน และสานต่อ นโยบายสวัสดิการประชารัฐ พปชร. เล็งเห็นความสำคัญ ที่ต้องการให้ประชาชนได้รับสวัสดิการที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิต สามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียม มองว่าเป็นนโยบายที่ตอบสนองคนไทยทุกคน นับแต่วันแรกที่มีลมหายใจ จนถึงวันสุดท้ายของลมหายใจ จึงเป็นที่มาของแนวคิด จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน สวัสดิการประชารัฐ

ทั้งนี้ได้แบ่งการดูแลสวัสดิประชารัฐตาม ช่วงวัย ดังนี้

  1. ช่วงอยู่ในครรภ์ จนถึง 6 ปี ต้องเติบโตอย่างมีคุณภาพ โภชนาการครบถ้วน พัฒนาการตามวัย
  2. อายุ 7-18 ปี : การศึกษามีคุณภาพอย่างเท่าเทียม เพิ่มทางเลือกทางการศึกษาให้เหมาะสมกับโลกที่เปลี่ยนไป
  3. อายุ 18-40 ปี : สวัสดิการคุ้มครองแรงงานในและ นอกระบบ ฝึกอบรมเพิ่มทักษะ รองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
  4. อายุ 40-60 ปี : ดูแลสวัสดิการเสริมด้านสุขภาพ ครอบคลุมประชาชนทุกคน
  5. อายุ 60 ปีขึ้นไป : เบี้ยยังชีพ บ้านพัก และสวัสดิการผู้สูงอายุ

    อย่างไรก็ตามเป้าหมายต่อไปที่จะผลักดันการใช้ สวัสดิการประชารัฐ ให้เกิดประสิทธิภาพ พรรคพลังประชารัฐไม่ได้เน้นเพียงกลุ่มเปราะบางเท่านั้น แต่ต้องการให้ประชาชนทุกคนได้เข้าถึงสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน สนับสนุนให้เกิดฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือ บิ๊กดาต้าด้านสวัสดิการ เพื่อออกแบบสวัสดิการสำหรับคนต่างกลุ่ม ต่างวัย ได้อย่างครอบคลุม และถูกฝาถูกตัว ผ่านบัตรประชาชน

“เป้าหมายสำคัญ คือ ลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน และสร้างความเท่าเทียมให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย เพราะพรรคพลังประชารัฐห่วงใยและพร้อมดูแลพี่น้องประชาชนอย่างครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกคน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”พล.อ.ประวิตรกล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ ​พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2565

"พล.อ.ประวิตร"ปลื้มปชช.ตอบรับนโยบายสวัสดิการประชารัฐ ลุยขยายผลต่อเนื่อง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเศษฐกิจยั่งยืน

“รมว.สุชาติ” เตรียมจับมือ 15 สถานประกอบการ หนุนจ้างงานคนพิการ ปี’66 เพิ่ม 20%

,

“รมว.สุชาติ” เตรียมจับมือ 15 สถานประกอบการ หนุนจ้างงานคนพิการ ปี’66 เพิ่ม 20%

วันนี้ (18 ตุลาคม 2565) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญกับนโยบายของกระทรวงแรงงานด้านการมุ่งเน้นการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมให้กับประชาชนกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการ เพื่อให้มีหลักประกันทางสังคม ยกระดับให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งกระทรวงฯ ได้มีการจัดทำโครงการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม โดยประชาสัมพันธ์ เพื่อเชิญชวนนายจ้าง สถานประกอบการที่เคยใช้สิทธิตามมาตรา 34 ในการส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้เปลี่ยนมาให้สิทธิตามมาตรา 35 ประเภทการจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการ โดยจ้างงานคนพิการเข้าไปปฏิบัติงานสนับสนุนหน่วยงานสาธารณะประโยชน์ในท้องถิ่น เช่น โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ เป็นต้น ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับคนพิการโดยตรง ช่วยให้คนพิการในพื้นที่ห่างไกลได้รับโอกาสมีอาชีพ มีรายได้ สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน

“ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ เป็นอย่างดี ขอบคุณที่มีส่วนร่วมในการสร้างโอกาส และขับเคลื่อนให้คนพิการมีงานทำ มีรายได้ นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 กระทรวงฯ มีการขยายเป้าหมายการมีงานทำให้คนพิการเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จำนวน 1,800 คน ซึ่งผมได้มอบหมายให้กรมการจัดหางานเชิญชวนนายจ้าง/สถานประกอบการ เข้าร่วมโครงการฯเพิ่ม” นายสุชาติ กล่าว

ทั้งนี้กระทรวงแรงงาน ได้ เชิญชวนสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม สอดรับกับการเพิ่มเป้าหมายให้คนพิการมีงานทำ โดยได้เชิญเอกชนเข้าร่วมโครงการ อาทิ บริษัท อีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานสำโรง (สำนักงานใหญ่) พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแนวทางร่วมกัน จากเดิมที่ส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 ให้เปลี่ยนมาใช้สิทธิมาตรา 35 ซึ่งทางบริษัทฯให้ความสนใจโครงการฯ ดังกล่าวอย่างมาก

นอกจากนี้ ในเดือนตุลาคม กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. มีเป้าหมายเข้าพบหารือสถานประกอบการเอกชน โดยมีผู้ตรวจราชการกรมลงพื้นที่ เพื่อแนะนำและเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ 15 แห่ง เช่น ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคาร ทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเตม จำกัด เป็นต้น

“โครงการนี้ฯ ก่อให้เกิดรายได้กับผู้พิการโดยตรง นอกเหนือไปจากเบี้ยยังชีพคนพิการ โดยสามารถทำงานได้ที่หน่วยงานใกล้บ้าน เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการและครอบครัวให้ดีขึ้น มีอาชีพ มีรายได้ โดยทางกรมฯ อำนวยความสะดวกสถานประกอบการให้สามารถลงทะเบียนใช้สิทธิผ่านระบบ E-service นอกจากนี้ยังมีทีมงานในการติดตามประเมินผลเพื่อดูแลคนพิการแทนสถานประกอบการด้วย”
สำหรับสถานประกอบการที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ สามารถสอบถามติดต่อขอรับบริการได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 สามารถลงทะเบียนใช้สิทธิผ่านระบบ E-service กรมการจัดหางาน หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกระทรวงแรงงาน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”ผนึกหน่วยงานส่งเสริมองค์ความรู้จัดการน้ำอย่างยั่งยืน เสริมศักยภาพชุมชนร่วมคิด วางแผน พัฒนาใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

,

“พล.อ.ประวิตร”ผนึกหน่วยงานส่งเสริมองค์ความรู้จัดการน้ำอย่างยั่งยืน
เสริมศักยภาพชุมชนร่วมคิด วางแผน พัฒนาใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“พลเอก ประวิตร” เป็นประธานลงนามบันทึกความเข้าใจ “พัฒนาองค์ความรู้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชน”ยกระดับความเข้มแข็งของการดำเนินงานร่วมกัน จัดการทรัพยากรน้ำตั้งแต่ต้นทาง – ปลายทาง

วันนี้ (18 ตุลาคม 65) เวลา 14.00 น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจการพัฒนาองค์ความรู้ด้านบริหารทรัพยากรน้ำ เพื่อบูรณาการสร้างการเรียนรู้ของชุมชน โดยมี นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริ กล่าวถึงการพัฒนาองค์ความรู้ด้านบริหารทรัพยากรน้ำ เพื่อบูรณาการสร้างการเรียนรู้ของชุมชน และผู้บริหารจาก 3 หน่วยงาน ได้แก่ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และนายโชติ โสภณพนิช ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะไทย กล่าวถึงแผนการดำเนินงาน และลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน ณ ห้องราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ด้านบริหารทรัพยากรน้ำในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือของทั้ง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และมูลนิธินโยบายสาธารณะไทย ที่มุ่งมั่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีความมั่นคง และเกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชน นับว่าเป็นการยกระดับความเข้มแข็งของการดำเนินงานร่วมกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเกิดผลสัมฤทธิ์ที่สนับสนุนแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากการร่วมลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังในครั้งนี้ และในโอกาสนี้ ขอเน้นย้ำถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เนื่องจากน้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สำคัญของชาติ โดยปัจจุบันมี “คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.)” ทำหน้าที่ในการบูรณาการและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีเอกภาพ อย่างไรก็ตาม จะต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจะต้องพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการที่จะร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมพัฒนาและใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า เพื่อประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน

โดยที่ผ่านมาสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ดำเนินงานตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่ได้ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบกับพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พุทธศักราช 2561 มีเจตนารมณ์ที่จะให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมบูรณาการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีความประสานสอดคล้องกันในทุกมิติอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การลงนามบันทึกความเข้าใจของทั้ง 3 หน่วยงานในการที่จะร่วมกันบูรณาการความร่วมมือในครั้งนี้ จึงสอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนและสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้การบริหารทรัพยากรน้ำมีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และคาดหวังว่าจะเกิดผลสัมฤทธิ์คือประโยชน์สุขของประชาชน อันเกิดจากการบริหารจัดการน้ำของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 ตุลาคม 2565

“ส.ส.สัมพันธ์” จัดประชุมใหญ่สาขาพรรค พปชร. จ.นราธิวาส ให้ความรู้-รับฟังความคิดเห็นสมาชิก

“ส.ส.สัมพันธ์” จัดประชุมใหญ่สาขาพรรค พปชร. จ.นราธิวาส ให้ความรู้-รับฟังความคิดเห็นสมาชิก

นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ กรรมการบริหารพรรค และ ส.ส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ร่วมประชุมใหญ่สาขาพรรคพลังประชารัฐ ประจำปี 2565 จังหวัดนราธิวาส เขตเลือกตั้งที่ 2 โดยมีสมาชิกพรรคที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่กว่า 150 คน เข้าร่วมประชุม โดยมีวาระการประชุมการรับรองรายงานการประชุมใหญ่สาขาพรรค ปี 2564 และวาระรายงานการดำเนินการของพรรคและรายงานจำนวนสมาชิกพรรคสาขา

ทั้งนี้ ได้มีการบรรยายให้ความรู้แก่สมาชิกพรรค โดยวิทยากร จาก กกต.จังหวัดนราธิวาส นายอารีย์ บารู พนักงานสืบสวนและไต่สวนชำนาญการ รักษาการหัวหน้ากลุ่มงานสืบสวนสอบสวนและพรรคการเมือง และนายมัรวาน ดือราแม พนักงานการเลือกตั้งชำนาญการ จากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จ.นราธิวาส ร่วมประชุมและให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกพรรค พร้อมกันนี้ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคร่วมเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น เพื่อการมีส่วนร่วมในการประชุมใหญ่สาขาพรรค

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #สัมพันธ์มะยูโซ๊ะ
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ลงสุราษฎร์สั่งรับมือฤดูมรสุมเข้าภาคใต้ ติดตามแก้ปัญหาราคาปาล์มหนุนเพิ่มมูลค่าช่วยชาวสวน

,

“พล.อ.ประวิตร” ลงสุราษฎร์สั่งรับมือฤดูมรสุมเข้าภาคใต้
ติดตามแก้ปัญหาราคาปาล์มหนุนเพิ่มมูลค่าช่วยชาวสวน

วันที่ 17 ต.ค. 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย นายสันติ พร้อมพร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พล.อ. ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม นายวิรัช รัตนเศรษฐ สส.บัญชีรายชื่อ เดินทางลงจ. สุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและเตรียมการรับมือฤดูฝน รวมทั้งความคืบหน้าการแก้ปัญหาปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีสส.พปชร. อาทิ นายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง ส.ส.จ.นครศรีธรรมราช เขต 2 นายอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ นครศรีธรรมราช เขต 3 นายสายัณห์ ยุติธรรม ส.ส. นครศรีธรรมราช เขต 7 ณ ศาลากลาง จ.สุราษฎร์ธานี และนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัด และ หัวหน้าราชการให้การต้อนรับ ทั้งนี้พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก ประจำ รองนายกรัฐมนตรี ได้รายงานสถานการณ์ภาพรวมปริมาณฝนที่กำลังเข้าสู่ฤดูฝนในพื้นที่ภาคใต้ ปริมาณน้ำสะสมในพื้นที่มากขึ้น เสี่ยงต่อน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งเกิดจากร่องมรสุมพาดผ่านและพายุโซนร้อนจากทะเลจีนใต้ ส่งผลฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ในจ.ชุมพร ระนอง พังงาน กระบี่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสตูล

พล.อ.ประวิตร’ ได้ย้ำให้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช. จว.)และทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตรียมการรับฤดูฝนภาคใต้ที่กำลังมาถึง พร้อมการบริหารจัดการลุ่มน้ำและโครงการแหล่งเก็บกักน้ำ พร้อมที่จะมุ่งแก้ปัญหาอุทกภัยเป็นหลักรวมถึงการแก้ปัญหาภัยแล้งไปพร้อมกัน โดยเน้น 13 มาตรการรับมือฤดูฝน และให้ความสำคัญ สำรวจพื้นที่เสี่ยงและความพร้อมของสถานีสูบน้ำ สิ่งกีดขวางทางน้ำ โดยให้บริหารจัดการน้ำ ผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำและคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด พร้อมทั้งขอให้มีการนำบทเรียน การป้องกันและแก้ปัญหา พื้นที่เสี่ยงปีที่ผ่านมา มาบริหารจัดการลดความเสี่ยงและผลความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย และต้องให้ความสำคัญ แจ้งเตือนและนำประชาชนออกจากพื้นที่ให้ทันเหตุการณ์ หากเกิดน้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่ม เพื่อความปลอดภัยของประชาชน พร้อมกันนี้ ขอให้ สทนช.เตรียมความพร้อมจัดตั้ง ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า ในพื้นที่ จว.สุราษฎร์ธานี โดยทันที

พล.อ.ประวิตรในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มแห่งชาติ (กปน.) ได้เดินเยี่ยมชมนิทรรศการการบริหารจัดการปาล์มน้ำมัน พร้อมพบปะประชาชนและพูดคุยกับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาปาล์มน้ำมัน รัฐบาลปัจจุบันให้ความสำคัญและมีมาตรการต่างๆออกมาต่อเนื่อง ที่ส่งผลราคาปาล์มน้ำมันดีขึ้นต่อเนื่องกว่า ร้อยละ 150 และสามารถทำสถิติส่งออกสูงสุด 6.2 แสนตันในปี 64 และคาดว่าราคาปาล์มน้ำมันในปี 65 เฉลี่ยอยู่ที่ 7.5 บาท/กก.

โดยที่ผ่านมาได้แก้ไขปัญหาราคาปาล์ม ล้นตลาดและราคาปาล์มตกต่ำมาโดยตลอด จนสำเร็จเป็นรูปธรรมในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สนับสนุนให้นำน้ำมันปาล์มดิบในสต๊อกส่วนเกินจำนวน 3.6 แสนตันไปผลิตไฟฟ้า เพื่อให้ราคาปาล์มมีเสถียรภาพ โดยตั้งแต่ปี 2562 ราคาปาล์มน้ำมันไม่เคยต่ำกว่า 4 บาทจนถึงขณะนี้ จากบาทกว่ามาถึง 8 บาทกว่า จนเห็นได้ชัดว่าชาวสวนปาล์มมีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา ราคาปาล์มเฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.50 บาท คาดว่าทั้งปีน่าจะอยู่ที่ 7.50 บาทถึง 8 บาท

พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า การแก้ปัญหากับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม รัฐบาลได้บริหารจัดการปาล์มน้ำมัน ผ่าน คณะกรรมการปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่มุ่งแก้ปริมาณปาล์มล้นตลาดและราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำมาตลอด โดยผลักดันการส่งออกและนำน้ำมันปาล์มส่วนเกินมาผลิตพลังงานผสมในน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน พร้อมทั้งติดมิเตอร์วัดน้ำมันปาล์มดิบป้องกันการลักลอบการนำเข้านำมันปาล์มเถื่อน ส่งผลให้ราคาปาล์มน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง

ทั้งนี้รัฐบาลยังได้เตรียมออกมาตรการระยะยาว โดยการนำน้ำมันปาล์มมาแปรรูป เพิ่มมูลค่าให้ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่ยั่งยืน สำหรับ การบูรณาการพัฒนาปาล์มน้ำของ จว.สุราษฎร์ธานี ขอให้มุ่งเป้า Oil Palm City ที่ส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันเพื่อให้เกิดความอย่างยั่งยืน และราคามีเสถียรภาพ กำหนดราคาซื้อขายปาล์มน้ำมันที่เป็นธรรม เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ทั่วถึง ในทุกพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนมาตรการปาล์ม้ำมันอย่างเป็นรูปธรรม

พล.อ.ประวิตร ได้เดินพบปะ จับมือทักทายเกษตรกรชาวสวนปาล์ม โดยมีกลุ่มเกษตรกรขอให้ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ซึ่งระหว่างการเยี่ยมประชาชน มีเด็กผู้ชาย 2 คน อายุประมาณ 3-4 ขวบ เข้าสวมกอดพล.อ.ประวิตร ท่ามกลางเสียงตะโกนของชาวบ้าน ให้กำลังใจว่า “ลุงป้อมสู้ๆ” โดยตลอดการเดินพบปะชาวบ้าน พล.อ.ประวิตรมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส และโบกมือทักทายชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 ตุลาคม 2565

รมช.อธิรัฐ ร่วมประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 28 อินโดนีเซีย มุ่งยกระดับคมนาคมในภูมิภาคก้างทันรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

,

รมช.อธิรัฐ ร่วมประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 28 อินโดนีเซีย
มุ่งยกระดับคมนาคมในภูมิภาคก้างทันรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 28และการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 16-17 ตุลาคม 2565 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมฯ โดยการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ ๒๘ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง วันอาทิตย์ที่ 16 ต.ค.65 นั้นประกอบด้วย
การประชุมรัฐมนตรีขนส่งระหว่างอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 13 การประชุมรัฐมนตรีขนส่งระหว่างอาเซียน – ญี่ปุ่น ครั้งที่ 20 และการประชุมรัฐมนตรีขนส่งระหว่างอาเซียน – จีน ครั้งที่ 21 โดยมี H.E. Mr. Budi Karya Sumadi รมว.คมนาคมของอินโดนีเซีย ทำหน้าที่ประธานการประชุม
โดยที่ประชุมได้ร่วมหารือความร่วมมือด้านการขนส่ง เพื่อพัฒนาการคมนาคมขนส่งในภูมิภาค ที่สำคัญ ประจำปี 2566 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมท่าอากาศยาน และการจัดการบริการขนส่งโดยการใช้แอปพลิเคชันสำหรับการขนส่งผู้โดยสารในอาเซียน และเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนตู้คอนเทนเนอร์ในภูมิภาค ซึ่งสะท้อนให้เห็นความร่วมมือของอาเซียนในการมุ่งสู่การขนส่งอัจฉริยะ และการปรับตัวที่ยืดหยุ่นพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19

ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ ๒๘ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ ได้กล่าวถ้อยคำแถลงสนับสนุนการรับรองเอกสารต่าง ๆ
“โดยประเทศไทยพร้อมจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการดำเนินการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และพร้อมสนับสนุนสาขาการขนส่งที่จะดำเนินการในปีถัดไป เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งของอาเซียน หรือแผนยุทธศาสตร์กัวลาลัมเปอร์ เพื่อช่วยพัฒนาและส่งเสริมขีดความสามารถด้านการขนส่งของประเทศไทย ตลอดจนอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนในประเทศไทยและอาเซียน”

ในโอกาสนี้ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ ยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับรัฐมนตรีขนส่งของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสานต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิก และเน้นย้ำเจตนารมณ์ในการดำเนินงานร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการยกระดับมาตรฐานการขนส่งในสาขาต่าง ๆ ของไทยให้มีความยืดหยุ่น ยั่งยืน ครอบคลุม และมีความเป็นสากลทัดเทียมนานาประเทศอีกด้วย


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 ตุลาคม 2565

“ตรีนุช”ลงพื้นที่น้ำท่วมให้กำลังใจชาวอุบลฯ

,

“ตรีนุช”ลงพื้นที่น้ำท่วมให้กำลังใจชาวอุบลฯ

วันนี้ ( 16 ตุลาคม 2565)
ที่จังหวัดอุบลราชธานี นางสาวตรีนุช เทียนทองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)
ลงพื้นที่ติดตามและให้ความช่วยเหลือสถานศึกษาที่ประสบอุทกภัย ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)อุบลราชธานี เขต 3 , โรงเรียนบ้านเดื่อสะพานโดม และ เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
โดยมีพระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม,นางสาวสมปรารถนา วิกรัยเจิดเจริญ
ที่ปรึกษา รมว.ศธ.,นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.), นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการร่วมลงพื้นที่

นางสาวตรีนุช กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยผู้บริหาร ศธ.ตั้งใจมาเยี่ยมให้กำลังใจครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาทุกคน ซึ่งปีนี้จังหวัดอุบลราชธานี ประสบกับอุทกภัยอย่างหนักและรุนแรง โดยตนได้รับรายงานว่า เฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานี มีสถานศึกษา ในสังกัด ศธ.มากกว่า 92 แห่งได้รับความเสียหาย ทั้งอาคารเรียน และอุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งตนได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ว่า หลังจากที่น้ำลดแล้วอาจจะต้องมีการซ่อมแซมโรงเรียน หรือวัสดุครุภัณฑ์ต่างๆที่ได้รับความเสียหาย ก็ขอให้หน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาได้จัดงบประมาณไปดูแลโดยเร่งด่วน เพื่อให้มีความพร้อมสามารถเปิดโรงเรียนจัดการเรียนการสอนได้ทัน การเปิดเทอมที่จะถึงนี้ หรือให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
และให้ดูแลครูผู้อยู่ในด่านหน้าได้รับขวัญกำลังใจ และได้รับการดูแลอย่างเต็มที่

“ ดิฉันพร้อมที่จะเป็นหลักในการช่วยเหลือสนับสนุนในทุกๆด้าน เพื่อทำให้โรงเรียน ทำให้เด็กๆของเรากลับมาสู่การเปิดภาคเรียนได้อีกครั้ง ซึ่งในการช่วยเหลือนั้น หน่วยงานของ ศธ. ทุกหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่จะทำงานเชื่อมโยง บูรณาการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น อาชีวะช่วยประชาชน , กศน. จิตอาสา ซ่อม สร้าง ล้างใหม่ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เป็นต้น และวันนี้ก็ได้รับการอนุเคราะห์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.) และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ได้มอบถุงยังชีพมาร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดิฉันขอขอบคุณผู้บริหารทุกท่านและเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คน ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปเร็ว ๆ ขอให้ทุกคนรักษาสุขภาพร่างกายจิตใจให้เข้มแข็งปลอดภัย เพื่อที่เราจะได้เป็นหลักในการทำงานให้กับลูกหลาน เยาวชน และครูของเราต่อไป” รมว.ศธ. กล่าว

รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยัง ได้รับเมตตาจากพระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ซึ่งเป็นพระนักพัฒนาได้จัดสรรพื้นที่ของวัด จัดเป็นโรงเรียนเอกชนขึ้น เพื่อดูแลเยาวชนของเราส่วนหนึ่งให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา มีการพัฒนานวัตกรรมในเรื่องการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เพื่อลดค่าไฟฟ้า , ช่วยระดมความช่วยเหลือจากชุมชนทุกด้านทำให้พวกเราบรรเทาทุกข์จากอุทกภัยในครั้งนี้ด้วย.


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ชูนโยบาย 3 แกนหลัก พร้อมสู้ศึกเลือกตั้งสานต่อช่วยประชาชน

,

“พล.อ.ประวิตร” ชูนโยบาย 3 แกนหลัก
พร้อมสู้ศึกเลือกตั้งสานต่อช่วยประชาชน

“พล.อ.ประวิตร”ประกาศเดินหน้า ขับเคลื่อนนโยบาย พปชร. สานต่อ 3 เสาหลัก พันธกิจ สวัสดิการประชารัฐ เศรษฐกิจประชารัฐ และสังคมประชารัฐ กลไกลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเศรษฐกิจ สังคมเท่าเทียม ประชาชนทุกคนได้ประโยชน์ถ้วนหน้า พร้อมสู้ศึกเลือกตั้งครั้งหน้า ต่อยอดนโยบายส่งมอบสิ่งที่ดีให้ประชาชน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนนโยบายของพรรคพลังประชารัฐ ที่จะนำเสนอให้กับพี่น้องประชาชน สำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้ว พปชร. ยังเดินหน้าสานต่อนโยบาย 3 พันธกิจหลัก ที่ประกอบด้วย 1.สวัสดิการประชารัฐขจัดความเหลื่อมล้ำ 2.เศรษฐกิจประชารัฐ สร้างความสามารถและโอกาสที่เท่าเทียม และ 3.สังคมประชารัฐ สงบสุข เข้มแข็ง แบ่งปัน โดยเป็นกรอบนโยบายที่จะมาช่วยเหลือประชาชน และตอบโจทย์ประเทศไทยภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมนำพาประเทศไทยรวมถึงประชาชนให้มีความกินดีอยู่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และช่วยเหลือชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง ครอบคลุมประชาชนทุกคนให้ได้รับสิทธิสวัสดิการของรัฐอย่างถ้วนหน้า

พล.อ. ประวิตร กล่าวต่อว่า นโยบายของพรรคพลังประชารัฐในครั้งนี้ เป็นการดำเนินนโยบาย เพื่อเป็นการต่อยอดจากการทำงาน และร่วมขับเคลื่อนนโยบายของพรรคในการบริหารราชการของรัฐบาลชุดนี้ เพราะเราต้องการต่อยอดนโยบายที่ดีและเป็นประโยชน์กับประชาชน พร้อมกับนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ดังนั้น ประชาชนจะเป็นศูนย์กลางของการขับเคลื่อนนโยบาย โดยทุกนโยบายจะมีการพิจารณาถึงงบประมาณ สามารถชี้แจงแหล่งที่มาของงบประมาณได้แน่นอน เราเน้นทำได้จริง ไม่ขายฝัน เราฟังเสียงประชาชนว่ามีความเดือดร้อนอย่างไร จึงมาสู่การกำหนดเป็นนโยบาย

“พรรคพลังประชารัฐให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ต้องทำให้ทุกคน มีโอกาส มีอนาคต ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงการดูแลคนวัยทำงาน เพราะถือเป็นการสร้างอนาคตของประเทศ ถือเป็นการลงทุนทางสังคม เด็กทุกคนควรจะมีสิทธิเลือกว่าอยากมีอนาคตอย่างไร เด็กต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพที่ดี จึงเกิดเป็นนโยบายสวัสดิการประชารัฐ จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน”ที่ดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ด้วยมารดาประชารัฐ ฝากครรภ์ จนคลอด นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เราก็ไม่ทอดทิ้ง ต้องมีการดูแลสวัสดิภาพผู้สูงอายุ ยังสานต่อในเรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ บ้านพัก และสวัสดิการรักษาพยาบาล ไปจนถึงแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง และผู้ที่เสียชีวิต “พลเอกประวิตร กล่าว

พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า นโยบายของพรรค ต้องคิดให้ละเอียดในการที่จะนำนโยบายไปใช้แต่ละพื้นที่ เพราะทุกพื้นที่มีความแตกต่างตามบริบทของท้องถิ่น แต่ยังคงยึด 3 เสาหลัก พรรคพลังประชารัฐ คือ สถาบันของการเมืองไทย เราคิดนโยบายเพื่อตอบโจทย์ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และตอบโจทย์ประชาชน เราจะเป็นพรรคที่ทำให้สังคมสงบสุข โดยจะก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยที่นโยบายของเราที่จะขับเคลื่อน เกิดขึ้นบนพื้นฐานการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ที่ประชาชนเห็นด้วย และให้การตอบรับในการทำงานที่ผ่านมา และพร้อมที่จะทำต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลกับประชาชนอย่างแท้จริง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 ตุลาคม 2565