โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

เดือน: กันยายน 2023

‘รมว.ธรรมนัส’ ประกาศทำสงครามกับสินค้าเกษตรเถื่อน พร้อมมอบนโยบายหน่วยงานกระทรวงฯทำแผนเชิงรุกแก้ทุกข์ที่คั่งค้างให้พี่น้องปชช.และเกษตรกร

,

‘รมว.ธรรมนัส’ ประกาศทำสงครามกับสินค้าเกษตรเถื่อน พร้อมมอบนโยบายหน่วยงานกระทรวงฯทำแผนเชิงรุกแก้ทุกข์ที่คั่งค้างให้พี่น้องปชช.และเกษตรกร

วันที่ 11 ก.ย. 2566 ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาว่า ในการทำงานของรัฐบาลได้มีการวางนโยบายเป็นกรอบไว้แต่ละกระทรวง ไปดำเนินการจัดทำรายละเอียด ดังนั้นในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ หลังจากที่มีการแถลงนโยบายแล้ว จะมีการประชุมผู้บริหารกระทรวง เพื่อวางแผนการทำงานในระยะ 4 ปี ในการดูแลและแก้ไขปัญหาที่คั่งค้างให้กับพี่น้องประชาชน

“ขณะนี้ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ยืนยันว่า มีแผนทุกกรมอยู่แล้ว และหลังจากที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเสร็จ จะมีการมอบนโยบายให้แก่ทุกหน่วยงานที่อยู่ในสังกัด ซึ่งจะมีสาระรายละเอียด และเนื้อแท้ของงาน โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่างบประมาณในการแก้ไขปัญหานั้นมาจากไหน การร่วมงานกันของภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหาจะเป็นอย่างไร” รมว.ธรรมนัสกล่าว

อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าปัญหาทางการเกษตรนั้นมีการสะสมมาอย่างยาวนาน ไม่ใช่เฉพาะราคาพืชผลทางการเกษตร แต่ยังรวมไปถึงการแปรปรวนของสภาพอากาศ เช่น วิกฤตเอลนีโญ ที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกร โดยทางกระทรวงเกษตรฯ จะต้องมีการประสานในทุกๆ หน่วยงานว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร

นอกจากนี้ในเรื่องของปัญหาปศุสัตว์ เช่น การลักลอบขนส่ง หรือนำเข้าเนื้อหมู เนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ อย่างผิดกฎหมายก็ได้เลือกอธิบดีแต่ละกรมมาอยู่แล้ว หลังจากวันพรุ่งนี้จะตั้งคณะทำงาน อย่างเอาจริงเอาจัง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึง

“ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ผมขอประกาศทำสงครามกับสินค้าเถื่อนที่เข้ามาภายในประเทศ ส่วนการทำรายละเอียดต่างๆ ของกระทรวงอื่นๆ ก็คงทำเหมือนกัน” ร.อ.ธรรมนัส กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 กันยายน 2566

“สันติ รมช.สธ.” ร่วมพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวง พร้อมเดินหน้าภารกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

,

“สันติ รมช.สธ.” ร่วมพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวง พร้อมเดินหน้าภารกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

วันที่ 11 กันยายน 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงสาธารณสุข ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กับ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์(สส.)พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ให้การต้อนรับ ในเวลา 7.09 น.ได้ทำพิธีบูชาพระพุทธนิรามัย พระพรหม พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนมและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระอนุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรพระอนุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์และพระพุทธมหานวนาคปฏิมากร เพื่อความเป็นสิริมงคล

โดยนายสันติ กล่าวว่า ตนพร้อมเข้าปฏิบัติภารกิจ ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณชีวิต และระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 กันยายน 2566

ร่วมระดมแก้ปัญหาน้ำ 3 จังหวัด !!! “รมว.ธรรมนัส”ลงพื้นที่กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ เยี่ยมปชช.รับฟังปัญหา เร่งหน่วยงานแก้ไขผลกระทบจากอุทกภัย หลังลงพื้นที่จ.ขอนแก่นร่วมกับนายกรัฐมนตรี

,

ร่วมระดมแก้ปัญหาน้ำ 3 จังหวัด !!! “รมว.ธรรมนัส”ลงพื้นที่กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ เยี่ยมปชช.รับฟังปัญหา เร่งหน่วยงานแก้ไขผลกระทบจากอุทกภัย หลังลงพื้นที่จ.ขอนแก่นร่วมกับนายกรัฐมนตรี

ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ด่วนเพื่อตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธ์โดยลงพื้นที่อ.ห้วยผึ้ง และอ.กุชินารายณ์ และ ต.เชียงใหม่

รมว.เกษตรฯกล่าวว่า นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงประชาชนและพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม จึงได้กำชับให้ทางกระทรวงเกษตรฯ สั่งหน่วยงานในสังกัดช่วยเหลือบรรเทาความเดือดูร้อนประชาชนอย่างเต็มที่

ในส่วนจ.กาฬสินธ์ ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดโดยเฉพาะสำนักงานชูลประทานที่ 6 จัดเตรียมเครื่องจักร และเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือระบายน้ำอย่างเร่งด่วน และเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหลากที่อาจจะลงมาอีกหากมีปริมาณฝนตกหนักเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งให้มีการรายงานสถานการณ์ทุกระยะ และขอเป็นกำลังใจให้กับพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยทุกท่าน กระทรวงเกษตรฯ จะ
เร่งให้ความช่วยเหลืออย่างเรงด่วน ต่อไป

ต่อจากนั้นได้เดินทางไปจ.เชียงใหม่ เข้าร่วม โดยพบปะ รับฟังปัญหาของกลุ่มสภาอาชีพเกษตรกร (สอก.) จำนวนกว่า 400 ราย และรับฟังปัญหาของเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำอำเภอดอยหล่อ และกลุ่มผู้ใช้น้ำโครงการอ่างเก็บน้ำแม่วาง โอกาสนี้ กลุ่มเกษตรกรได้ยื่นหนังสือเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปอน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้ง และอุทกภัยเป็นเรื่องสำคัญที่นายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) แสดงความเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยปี 2563 ตนในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ซึ่งเคยได้ศึกษาการแก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยแล้ว โดยจะมอบหมายให้กรมชลประทานศึกษาภาพใหญ่และถอดแบบเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยทั้งระบบ ภายหลังจากที่แถลงนโยบายรัฐบาล ในวันจันทร์ที่ 11 ก.ย. 66 จากนั้น จะเรียกประชุมผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมอบหมายงานและวางแผนแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

“ในวันนี้ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำใน 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ขอนแก่น ติดตามการบริหารจัดการน้ำและป้องกันภัยแล้งที่เขื่อนอุบลรัตน์ จากนั้น ลงพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ให้กำลังใจ มอบถุงยังชีพให้กับเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย และ จ.เชียงใหม่ เพื่อรับฟังปัญหาจากเครือข่ายภาคเกษตรกร ขอฝากถึงพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ นายกฯ ได้เน้นย้ำและให้ความสำคัญกับภาคเกษตรซึ่งเป็นภาคการผลิต เป็นเรื่องที่ผมมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเข้ามารับผิดชอบ ทั้งด้าน ราคาพืชผล ต้นทุนการผลิต รวมถึงการตลาด และจะเร่งขับเคลื่อนการทำงานในมิติใหม่ ลงพื้นที่เข้าถึงเกษตรกร นำปัญหาจากรากหญ้า สู่การแก้ไขให้มากที่สุด สำหรับข้อเสนอของพี่ร้องเกษตรกรใรวันนี้ จะรับเรื่องไว้และมอบหมายให้หน่อยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการทันที หลังวันที่ 11 ก.ย. นี้” รมว.ธรรมนัส กล่าว

จากนั้น รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานการปรับปรุงระบบผันน้ำฝายแม่ตื่น ต.สันติสุข อ.ดอยหล่อ ก่อนจะลงพื้นที่ติดตามรับฟังผลการดำเนินงานขุดลอกอ่างเก็บน้ำโป่งจ้อ และพบปะกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำบ้านโป่งจ้อ / สถานีสูบด้วยไฟฟ้าในเขต อ.ดอยหล่อ เพื่อรับทราบปัญหาความต้องการ
ณ อ่างเก็บน้ำห้วยโป่งจ้อ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่บ้านโป่งจ้อ ต.สันติสุข อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้มีการวางแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ อาทิ 1. โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ความจุอ่างฯ 2.029 ล้านลูกบาศก์เมตร หากดำเนินการแล้วเสร็จจะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และการเกษตรในพื้นที่ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 1,226 ครัวเรือน ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกฤดูฝน 4,268 ไร่ 2. โครงการอ่างเก็บน้ำแม่วาง ตำบลบ้านกาด อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ความจุอ่างฯ 25.415 ล้าน ลบ.ม. หากดำเนินการแล้วเสร็จจะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 38,209 ไร่ ในฤดูฝนและ 20,488 ไร่ในฤดูแล้ง 3. โครงการประตูระบายน้ำวังหิน พร้อมระบบส่งน้ำ ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ หากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถส่งน้ำช่วยเหลือในพื้นที่ บ้านหาดนาค หมู่ที่ 7 บ้านหนองอาบช้าง หมู่ที่ 9 บ้านดงหาคนาคหมู่ที่ 17 และ บ้านพุทธมิตร หมู่ที่ 18 ใช้เพื่ออุปโภคบริโภค จำนวน 1,028 ครัวเรือน ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในช่วงฤดูฝนได้ประมาณ 4,180 ไร่ และในฤดูแล้ง 1,980 ไร่ และ 4. โครงการปรับปรุงระบบผันน้ำฝายแม่ตื่น – อ่างเก็บน้ำห้วยโป่งจ้อ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีความคืบหน้าแล้วกว่าร้อยละ 96 หากดำเนินการแล้วเสร็จจะช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและพื้นที่การเกษตรกว่า 5,000 ไร่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้มากขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่อ่างเก็บน้ำห้วยโป่งจ้อ 1.6 ล้าน ลบ.ม./ปี ในช่วงฤดูน้ำหลาก

ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะเร่งดำเนินโครงการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด เพื่อให้สามารถใช้เก็บกักน้ำ เป็นแหล่งน้ำต้นทุน สำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้ง และยังช่วยหน่วงชะลอน้ำในช่วงอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กันยายน 2566

“อนุรัตน์ สส.พะเยา”ลุยงานหนักทั้งสภาฯ-พื้นที่ เผย 3 เดือนของการทำหน้าที่ สส.แม้จะเป็นเรื่องใหม่ เดินหน้าทำเพื่อชาวบ้านเต็มที่ พร้อมชนทุกอุปสรรค

,

“อนุรัตน์ สส.พะเยา”ลุยงานหนักทั้งสภาฯ-พื้นที่ เผย 3 เดือนของการทำหน้าที่ สส.แม้จะเป็นเรื่องใหม่ เดินหน้าทำเพื่อชาวบ้านเต็มที่ พร้อมชนทุกอุปสรรค

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง สส.เขต 2 จังหวัดพะเยา พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า ตนได้ลงพื้นที่ ต.ทุ่งรวงทวง อ.จุน เพื่อรับฟังปัญหาของแม่พี่น้องประชาชน และพบปะกลุ่มผู้สูงอายุ ที่เทศบาลตำบลทุ่งรวงทอง รวมถึงได้มีการประชุมกับนายกเทศบาลทุ่งรวงทอง พร้อมคณะบริหาร เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการขอทำฝนเทียมในพื้นที่ เนื่องจากเกิดปัญหาภัยแล้ง น้ำไม่เพียงพอที่จะใช้ในการทำเกษตร รวมถึงการขาดแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้อีกด้วย

นายอนุรัตน์ กล่าวต่อว่า ตนได้พบกับกลุ่มแม่บ้าน ต.ทุ่งรวงทอง ซึ่งได้รับมอบผลิตภัณฑ์ในตำบล เพื่อขอให้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของตำบลให้มีช่องทางทางการตลาด และทางกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ได้ร่วมกันมอบหนังสือโครงการขอสร้างอ่างเก็บน้ำในตำบล เพื่อไว้ใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ว โดยทั้ง 2 เรื่องที่ตนได้รับข้อเสนอมา ตนก็จะเดินหน้าผลักดันให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ให้มากขึ้น หรือปัญหาน้ำไม่เพียงพอในการทำการเกษตร

“จากการทำหน้าที่ สส.มา 3 เดือน ถือว่าชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเพราะไม่เคยเป็น สส.มาก่อน แต่ก็ถือว่าได้เข้าสภาฯไปเรียนรู้แล้วมีประสบการณ์มากขึ้น นอกจากงานในสภาฯแล้ว ผมก็ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาของพี่น้องเราทุกวัน อย่างล่าสุด ผมต้องขอกราบขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขปัญหาส่วนรวมอย่าง ถนนสายหลักของพ่อแม่พี่น้องบ้าน แม่ทะลาย ต.พระธาตุขิงแกง ระยะทางเกือบ 5 km. ผมและพ่อไพรัตน์ ตันบรรจง ได้นำยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต จำนวน 40 ตัน ร่วมกับ นายกสิทธิ์ พ่อหลวงบ้าน รวมถึงผู้ช่วยและทีมงานในหมู่บ้าน รวมถึงอาสาสมัครที่มาร่วมแรงร่วมใจกันล้างผิวถนน และซ่อมหลุมลึกบนถนนสายนี้ ผมซึ้งใจและขอบคุณทุกท่านที่เราไม่ทอดทิ้งกันยามลำบาก และร่วมกันเอาชนะอุปสรรคแบบนี้ต่อไป ซึ่งจากนี้ผมจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันหางบมาซ่อมสร้างถนนเส้นนี้ให้ได้”นายอนุรัตน์ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กันยายน 2566

“อามินทร์” ชี้ช่องแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำในสามจ.ชายแดนใต้ แค่ตั้งโรงงานแปรรูปผลไม้ส่งขายโลกมุสลิม พร้อมวอน เพิ่มศักยภาพสภาเกษตรกร

,

“อามินทร์” ชี้ช่องแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำในสามจ.ชายแดนใต้ แค่ตั้งโรงงานแปรรูปผลไม้ส่งขายโลกมุสลิม พร้อมวอน เพิ่มศักยภาพสภาเกษตรกร

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวถึงปัญหาพืชผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำ เช่นเงาะ ลองกอง มังคุด และทุเรียนบ้านโดยราคาปลายน้ำของผลไม้เหล่านี้มีราคาสูง แต่ก็สมเหตุสมผล เพราะผลไม้มีรสชาติที่ดี มีผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผลไม้จากทางสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่ฝ่าฝน ฝ่าแดด รอดมาถึงมือผู้บริโภคได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ราคาต้นน้ำ ก็คือราคาหน้าสวนของเกษตรกรมันตกต่ำเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

“ล่าสุดที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการทั้ง 2 ท่าน ได้ลงไปดูเรื่องราคามังคุดที่ตกต่ำ และได้มอบนโยบายเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ซึ่งผมได้มีโอกาสติดตามท่านไปด้วย จึงทราบว่าราคามังคุดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ค่าขึ้นต้นกิโลกรัมละ 10 บาท แต่ที่บ้านของผมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ราคามังคุดต่อกิโลกรัมแค่ 10 บาท ค่าขึ้นต้นกิโลกรัมละ 2 บาท ในเวลาที่ผลผลิตทางการเกษตรออกมาล้นตลาด ทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ เช่น เงาะในราคาหน้าสวนกิโลกรัมละ 3 บาท ซึ่ง 3 บาทต้องจ้างคนมาเก็บค่าจ้างกิโลละ 2 บาท เจ้าของสวนได้แค่บาทเดียว ลองกองก็เช่นกัน ช่อไซด์ขนาดครึ่งแขน เกรดA+ ตาสีตาสาแถวบ้านผม ไม่มีโอกาสได้กินหรอก ส่งออกในภาคกลาง และต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ในกรุงเทพต่ำๆ กิโลนึง 80-90 บาท แต่หน้าสวนกิโลกรัมละ 10 บาท”นายอามินทร์ กล่าว

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า ตนในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ชาวบ้านเลือกมาให้เป็นปากเสียงแทน ดีใจที่ตอนนี้เรามีนายก เราเพิ่งจะมีคณะรัฐมนตรี ประเทศจะได้รับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตนหวังอย่างยิ่งว่ากระทรวงที่เกี่ยวข้องกับปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ หรือกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ และสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และที่สำคัญคือ การยกระดับ คุณภาพชีวิตของเกษตรกร อย่างการสร้างโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในสามจังหวัดชายแดนใต้ เช่น โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง โรงงานผลไม้อบแห้ง

“ผลไม้อีกอย่างหนึ่งที่สร้างมูลค่าได้ดี ก็คือ ทุเรียนกวน เราสามารถส่งออกต่างประเทศได้ เราทำให้เป็นรูปธรรม มีตราฮาลาล ผลิตจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งออกไปขายยังประเทศแทบตะวันออกกลาง หรือประเทศโลกมุสลิม ซึ่งประเทศเหล่านี้นิยมผลไม้จากประเทศไทยเป็นอย่างมาก และสามารถแก้ปัญหาผลผลิตที่ตกต่ำ โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างแน่นอน”นายอามินทร์ กล่าว

ทั้งนี้ นายอามินทร์ ยังกล่าวทิ้งท้ายถึง สภาเกษตรกรที่มีอยู่ในทุกจังหวัด ซึ่งผ่านการเลือกตั้งมาเหมือน สส.ที่อยู่ในสภาฯแห่งนี้ แต่หน่วยงานนี้กลับไม่ได้รับความสำคัญ ไม่ได้รับการส่งเสริม ไม่ได้รับการเพิ่มบทบาท เพิ่มศักยภาพเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเหล่านี้ล้วนมีความรู้ความสามารถ รู้ปัญหา รู้เรื่องเกษตรกรเป็นอย่างดี ตนจึงขอฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” ร่วมคณะนายกฯลุยพื้นที่ภาคอีสาน เดินหน้าสางปัญหาเก่าให้พี่น้องเกษตรกรให้กินดีอยู่ดี

,

“รมว.ธรรมนัส” ร่วมคณะนายกฯลุยพื้นที่ภาคอีสาน
เดินหน้าสางปัญหาเก่าให้พี่น้องเกษตรกรให้กินดีอยู่ดี

วันนี้ (8 กันยายน 2566) เวลา 10.00 น. ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ร่วมพบปะพี่โดยน้องเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรงโดยได้พูดคุย รับฟัง และพร้อมสะสางปัญหาของน้องเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนด้านการเกษตรจากโครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณชิงเขาพนมดงรักษ์ อ่างเก็บน้ำห้วยเชิง จ.สุรินทร์ โครงอ่างเก็บน้ำห้วยศาลา ผู้ได้รับผลกระทบจากการปลูกป่าทับที่ทำกินที่ป่าภูแลนคา ด้านทิศเหนือ อ.แก่งค้อ จ.ชัยภูมิ ได้รับผล กระทบจากการก่อสร้างเขื่อนเขื่อนราษีไศล ผู้เดือดร้อนจากโครงการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญทับที่อาศัย และที่ทำกิน ผู้เดือนร้อนจากโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยขนาดมอญ อ.สังขะจ.สุรินทร์ จากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำ เขื่อน โครงการฝ่าย รวมถึงโครงการเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินปัญหาที่ดินทำกิน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนที่สะสมมานาน

จากนั้น รัฐมนตรีเกษตรฯ ได้ร่วมพบปะพี่น้องเกษตรกรพร้อมนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีจากนั้น รัฐมนตรีเกษตรฯ ร่วมกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ติดตามประเด็นปัญหาภัยแล้งผลกระทบจากเอลณีญ พื้นที่ทำกิน การบริหารจัดการน้ำ โดยปัญหาหลักที่เกษตรกรอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไข ได้แก่ปัญหาความเสียหายจากภัยพิบัติน้ำท่วมในภาคอีสาน ปัญหาการพักหนี้เกษตรกรและปัญหาที่ดินทำกิน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 กันยายน 2566

คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า ยื่นข้อเสนอพรรค พปชร.เพิ่มเงินอุดหนุน – สิทธิ พ่อแม่ดูแลบุตร ด้าน “พิมพ์พร”เผย พร้อมเดินหน้าผลักดันใน รบ.คณะใหม่

,

คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า ยื่นข้อเสนอพรรค พปชร.เพิ่มเงินอุดหนุน – สิทธิ พ่อแม่ดูแลบุตร ด้าน “พิมพ์พร”เผย พร้อมเดินหน้าผลักดันใน รบ.คณะใหม่

วันที่ 7 ก.ย. ที่รัฐสภา นางสุนี ไชยรส ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน ยื่นหนังสือถึงพรรคพลังประชารัฐ ผ่าน น.ส.พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ จ.เพชรบูรณ์ เขต 1 และ นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ จ.ชัยภูมิ เขต 7 ตัวแทนถึงข้อเรียกร้องของคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า โดยมีข้อเสนอ คือ 1.ให้เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กเล็กถ้วนหน้า รวมทั้งเด็กเล็กทุกคนบนพื้นแผ่นดินไทย ตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์จนถึงอายุหกปีคนละ 3,000 บาทต่อเดือน 2.ขยายสิทธิ์ลาคลอดเป็น 180 วัน เพิ่มระยะเวลาให้แม่ และพ่อ ได้เลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิด และเชื่อมต่อไปศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้รับเด็กเล็กตั้งแต่อายุหกเดือน 3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรับเด็กเล็กตั้งแต่ 6 เดือน รับช่วงต่อจากพ่อแม่ที่ลามาเลี้ยงดูลูกได้หรือ 180 วัน มีความหลากหลายสอดคล้องกับวิถีชีวิตของพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่ทำงานในพื้นที่ 4.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีจำนวนมากพอ กระจายตัวใกล้บ้าน ใกล้ที่ทำงาน หลากหลายรูปแบบ และมีคุณภาพ เพื่อให้เด็กเล็กทุกคนเข้าถึง และได้รับการดูแลพัฒนาในด้านโภชนาการและการเรียนรู้อย่างสมวัย และ5. รัฐบาล และหน่วยงานที่จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้การสนับสนุนงบประมาณ และบุคลากร โดยเฉพาะศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถขึ้นทะเบียนให้สามารถดำเนินการได้ตามมาตรฐาน

ด้าน น.ส.พิมพ์พร กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐมีนโยบายในเรื่องสวัสดิการณ์เด็กและสตรีที่ชัดเจน และพยายามผลักดันนโยบายดังกล่าวให้สามารถขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมในรัฐบาลชุดใหม่ โดยข้อเสนอในวันนี้ ตนมองว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลานของเรา และจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ดังนั้น พรรคจะไม่นิ่งเฉยและจะให้ความสำคัญนโยบายดังกล่าวอย่างแน่นอน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 กันยายน 2566

“จำลอง สส.กาฬสินธุ์” มั่นใจ รมว.เกษตรฯคนใหม่ เข้าใจหัวอกเกษตรกร แก้ปัญหาได้แน่นอน พร้อมฝาก กมธ.สภาฯจริงใจเร่งแก้หลานปัญหาให้ยั่งยืน

,

“จำลอง สส.กาฬสินธุ์” มั่นใจ รมว.เกษตรฯคนใหม่ เข้าใจหัวอกเกษตรกร แก้ปัญหาได้แน่นอน พร้อมฝาก กมธ.สภาฯจริงใจเร่งแก้หลานปัญหาให้ยั่งยืน

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ปลูกพืช คือ อ้อย มัน มันสัปปะหลัง ยางพารา และทำการเลี้ยงสัตว์ เช่นไก่ ปลา กุ้ง แต่ตอนนี้ประสบปัญหาเรื่อง ค่าปุ๋ยแพงไม่สมดุลกับราคาพืชผลการเกษตร อย่างเช่น มันสัปปะหลัง ถ้าจะเกษตรกรอยู่ได้ต้อง ปุ๋ยต้องมีราคาต่ำกว่า 1000 บาท ปัจจุบันนี้ปุ๋ย ยูเรีย ราคา 1000 กว่าบาท เละหลายหลายสูตรซึ่ง มัน ไม่สมดุลย์ นอกจากนี้ ระบบชลประทานที่เป็นเรื่องสำคัญในการทำเกษตรให้ได้ผลผลิตอย่างเพียงพอ

นายจำลอง กล่าวต่อว่า วันนี้ตนขอนำความคับแค้นแห่งหัวใจของเกษตรกร โดยปัญหาเรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่อง กรมปศุสัตว์ผู้เลี้ยงไก่ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะที่อำเภอหัดสขัน ที่ผู้เลี้ยงไก่ทำพันธกิจกับเจ้าของบริษัท เรียกว่าเกษตรพันธกิจ ไปทำรายงานกับธนาคาร เพื่อการเกษตร ให้บอกว่ารายได้เลี้ยงได้ถึง7 รุ่นถึง 8 รุ่น ต่อรอบ ในการส่งดอกเบี้ยธนาคาร ปรากฏว่ามันไม่ได้เป็นไปดังที่เจ้าของบริษัทบอกไว้ ทำให้เกษตรกรขาดทุน เมื่อขาดทุนแล้ว อาหารไม่ได้คุณภาพ บริษัทก็บอกว่า บริษัทขัดคล่องทางการเงิน ไม่สามารถส่งอาหารได้ตามระยะเวลาที่ต้องการ ทำให้ไก่มีขนาดตัวเล็กส่งออกไม่ได้ เกษตรกรก็ไม่มีเงินส่งธนาคาร

“วิธีแก้ไขของบริษัททำให้เกษตรกรเป็นทาส เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ ต้องกู้เงินนอกระบบ ทำให้เป็นหนี้ 2 ทาง เป็นหนี้ทั้งธนาคารและบริษัทที่ส่งเสริมการเลี้ยง ฉะนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงจัง ผมจึงฝากไปยังผู้ที่จะเข้ามาเป็นกรรมาธิการสามัญ และขอสนับสนุนให้มีการตั้งกรรมการวิสามัญขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงจังและจริงใจ ผมเฝ้าติดตามการประชุมสภาผู้แทนราษฎรมาตลอด และครั้งนี้มีโอกาสที่ผมได้เป็น สส. ครั้งแรก และมีโอกาสนำเรื่องคับแค้นของพี่น้องประชาชนเข้ามาสู่สภาแห่งนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ผมฝากไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนใหม่ ผมมั่นใจในตัวท่านมากว่าท่านทำได้ เพราะท่านเป็นคนไวต่อหัวอกของเกษตรกร และไวต่อทุกเรื่อง คือส่งเสริมให้มีระบบชลประทาน เพื่อพี่น้องเกษตรกรได้ ปลูกพืชได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น”นายจำลอง กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 กันยายน 2566

“ พล.ต.อ.พัชรวาท” เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงทรัพย์ฯวันแรก เดินหน้าบูรณาหน่วยงาน รุกดูแล แก้ปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อมมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตปชช.

,

“ พล.ต.อ.พัชรวาท” เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงทรัพย์ฯวันแรก เดินหน้าบูรณาหน่วยงาน รุกดูแล แก้ปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อมมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตปชช.

7 ก.ย.66 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำกระทรวง ในเวลา 9.45 น. โดยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ให้การต้อนรับ โดยได้ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณทางตอนใต้ของเกาะสีชัง จ.ชลบุรี ว่า ตนได้ มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการแพร่กระจายของคาบน้ำมัน ที่ต้องเน้นการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมเพื่อตรวจสอบการขยายวงกว้างของคาบน้ำมันที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบด้านส่ิงแวดล้อม และระบบนิเวศทางทะเลที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพประมงชายฝั่ง

ขณะเดียวกันให้มีการจัดทำแผนแม่บท โดยการถอดบทเรียน กรณีการรั่วไหลของน้ำมัน ในครั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำซาก เพราะคาบน้ำมัน จะมีผลต่อส่ิงแวดล้อม และระบบนิเวศ ทางทะเลและชายฝั่ง นอกจากนี้ยังมีความเป็นห่วงปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ประเทศไทย กำลังเผชิญปัญหาและสร้างผลบกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ในฤดูหนาวของทุกปี ซึ่งได้ให้มีการเตรียมแผนป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น โดยตั้งเป้าให้มีการแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงเรื่องการจัดสรรที่ทำกิน นับเป็นเรื่องสำคัญ ที่พรรค พปชร. ผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในภาพรวมการทำงาน จะเน้นให้เกิดการบูรณาการของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือประชาชน และการดูแลส่ิงแวดล้อมควบคู่กันไป เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีย่ิงขึ้น และเกิดความยั่งยืน

ในฐานะที่ต้องมารับผิดชอบงานบริหารราชการต่อ จากพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ไม่ได้มีข้อสั่งการเป็นพิเศษกับเรื่องนี้ แต่ให้เป็นความรับผิดชอบในการดูแลตามหน้าที่ให้ดีที่สุด และไม่มีความกังวลในการมาบริหารงานที่นี้ เพราะกระทรวงไม่ได้มีปัญหาอะไร เนื่องจากข้าราชการกระทรวงนี้ มีความรู้ความสามารถในการดูแล รับผิดชอบในหน้าที่ดีอยู่แล้ว พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 กันยายน 2566

“ร.อ.ธรรมนัส”รับข้อเรียกร้องแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ จากสส.ในสภาฯ ร่วมฟังข้อมูลสะท้อนปัญหาของเกษตรกรทุกพื้นที่พร้อมยื่นมือช่วยเหลือปชช.

,

“ร.อ.ธรรมนัส”รับข้อเรียกร้องแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ จากสส.ในสภาฯ
ร่วมฟังข้อมูลสะท้อนปัญหาของเกษตรกรทุกพื้นที่พร้อมยื่นมือช่วยเหลือปชช.

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการพิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำของนายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา เขต2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ซึ่งมีญัตติในเรื่องเดียวกันอีก 10 ญัตติของสมาชิกในสภาร่วมพิจารณาด้วย โดย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา และเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เข้าร่วมรับฟังปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งด้วยตนเองในสภาฯ

ทั้งนี้ นายศาสตรา ศรีปาน สส.สงขลา พรรครวมไทยสร้างชาติ หนึ่งในสมาชิกที่ร่วมอภิปรายการแก้ไขปัญหากุ้งราคาตกต่ำ กล่าวในที่ประชุมว่า วันนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ ร.อ.ธรรมนัส มาฟังการอภิปรายด้วย ทำให้ได้รับรู้ปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ โดยคาดหวังให้ ร.อ.ธรรมนัส รมว.เกษตรฯ เร่งแก้ไขราคากุ้งตกต่ำให้เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามจากการลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ของ ร.อ.ธรรมนัส เมื่อเร็วๆนี้เพื่อแก้ปัญหาเรื่องมังคุดราคาตกต่ำ ก็ต้องขอขอบคุณแทนเกษตรกร ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย เช่นเดียวกับปัญหาราคากุ้ง ที่กำลังรอให้ ร.อ.ธรรมนัส มาช่วยเหลือเช่นกัน ตนจึงขอยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่อยู่ในที่ประชุมด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กันยายน 2566

“อามินทร์”ฝาก ก.ทรัพยากรฯเร่งหาทางออกปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณบ้านปูลาโต๊ะบีซู หลังทำให้เสียดินแดนแนวชายฝั่งปีละ 2 เมตร

,

“อามินทร์”ฝาก ก.ทรัพยากรฯเร่งหาทางออกปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณบ้านปูลาโต๊ะบีซู หลังทำให้เสียดินแดนแนวชายฝั่งปีละ 2 เมตร

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส อำเภอตากใบพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือถึงความเดือดร้อนของประชาชนในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ศาลาใหม่ ถึงปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านปูลาโต๊ะบีซู หมู่ 8 ตำบลศาลาใหม่ ปัจจุบันได้รับความเสียหายตลอดแนวกว่า 2,500 เมตร หมู่บ้านแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 700 ไร่ ปัจจุบันเหลือเพียง 500 ไร่ โดยเฉพาะ 3 ปีหลัง ที่เราเสียดินแดนที่เรียกว่า ปลายด้ามขวาน เฉลี่ยปีละ 2 เมตร ชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ที่ดินพื้นเดียวที่มีอยู่บนเกาะแห่งนี้

“ผมต้องขอขอบคุณกรมโยธาธิการ และผังเมืองที่ไม่ได้นิ่งนอนใจ เข้าสำรวจและได้ทำประชาคมไปแล้วถึง 4 ครั้ง แต่ปัญหาอยู่ที่กฎหมายที่ต้องใช้เวลาศึกษาผลกระทบ ทำให้เราตกอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงจะเสียดินแดนแห่งนี้ต่อไป ปีละ 2 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง อย่างน้อยอีก 5 ปี ผมอยากจะขอฝากกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กรมโยธาธิการและผังเมือง เร่งหาทางออกให้กับเรื่องนี้”นายอามินทร์ กล่าว

นายอามินทร์ กล่าวต่อถึงปัญหาบ้านเกาะยาว อำเภอตากใบ ต้นตำรับปลากุเลาที่โด่งดัง ที่คนซื้อไม่ได้กินทคนกินไม่ได้ซื้อ ตอนนี้ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจากทางเข้าออกของหมู่บ้านมีอยู่ 2 เส้นทาง ทางที่ 1 เข้าออกทางรถยนต์ต้องใช้การเดินทางกว่า 9 กิโลเมตรหรือใช้เส้นทางกว่า 20 นาที เพราะเส้นทางที่เข้าออกทุรกันดารเป็นอย่างมาก เส้นทางที่ 2 ทางเข้าออกอีกเส้นทางหนึ่งก็คือ สะพานคอย 100 ปี ที่ชื่อสะพานคอย 100 ปีนะครับ เพราะชาวบ้านรอสะพานแห่งนี้กว่าจะสร้างเสร็จใช้เวลา กว่า 100 ปี ได้สะพานมาทั้งทีก็ได้สะพานกว้างแค่ 2 เมตร ขับรถมอเตอร์ไซค์สวนกันก็ยากลำบาก จึงอยากจะขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างสะพานเข้าออกหมู่บ้าน ที่มีความกว้าง รถยนต์สามารถเข้าออกบ้านเกาะยาวด้วยความสะดวก เพื่อเปิดโอกาสให้จังหวัดนราธิวาสได้มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถชูโรง สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนราธิวาสได้

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของธรรมชาติ เช่น เรื่องของน้ำขึ้นน้ำลง บวกกับการขุดลอกคลองตากใบ ที่เคยเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุสัตว์น้ำหลากหลายชนิด หลายครัวเรือนเลี้ยงปลากระพงในกระชัง ซึ่งเป็นรายได้หลัก แต่ปัจจุบันประสบปัญหาคลองตื้นเขิน เพราะการขุดลอกมานาน ส่งผลให้ชาวบ้านไม่สามารถนำเรือเข้ามาจอดเทียบท่าได้ จึงขอให้กรมเจ้าท่า ดำเนินการขุดลอกคลองตากใบ เพื่อให้พี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงชีพได้ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กันยายน 2566

“ร.อ.ธรรมนัส” เข้าปฏิบัติหน้าที่ขับเคลื่อนกระทรวงเกษตรฯ รุกนโนยายแก้ปัญหาเร่งด่วนให้พี่น้องเกษตรกร 100 วันเห็นผล

,

“ร.อ.ธรรมนัส” เข้าปฏิบัติหน้าที่ขับเคลื่อนกระทรวงเกษตรฯ รุกนโนยายแก้ปัญหาเร่งด่วนให้พี่น้องเกษตรกร 100 วันเห็นผล

6 ก.ย.2566 ร.อ.ธรรมนัส พรหมณ์เผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิประจำกระทรวง ศาลพระภูมิ ศาลท้าวเวสสุวรรณ ศาลตา – ยาย สักการะองค์พระพิรุณทรงนาค (หน้าอาคาร) และองค์พระพิรุณทรงนาค (ห้องพิพิธภัณฑ์) พร้อมด้วย 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ในเวลา 8.19 น. และได้ร่วมถ่ายภาพร่วมกับผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ บริเวณหน้าอาคารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ยังได้เตรียมมอบหมายนโยบายให้นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการทั้งหมดในวันนี้ เพื่อหารือมาตรการและการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีความเร่งด่วน อาทิ การแก้ปัญหาภัยแล้ง ผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเหนือตอนบนและภาคอีสาน การแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมายตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี การปราบปรามการลักลอบนำเข้าเนื้อสัตว์ผิดกฎหมาย และนโยบายพักหนี้เกษตรกร เป็นต้น

ปัญหาเหล่านี้ ล้วนเป็นปัญหาเร่งด่วนที่นายกรัฐมนตรีให้ความเป็นห่วง และจะมีความชัดเจนหลังจากแถลงนโยบายของรัฐบาลในวันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 ที่จะถึงนี้ ส่วนการแบ่งงานของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมีการประชุมแบ่งงานภายหลังแถลงนโยบายฯ ทั้งนี้ ภายในสัปดาห์หน้าจะสามารถเดินหน้าทำงานได้ทันที

สำหรับปัญหาราคามังคุดใต้ที่ตกต่ำ ทั้งที่เป็นมังคุดปลายฤดูกาลผลิต ซึ่งได้เร่งระบายผลผลิตจนสถานการณ์คลี่คลายแล้ว นอกจากนี้ ได้มอบหมายปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินหน้ามาตรการแก้ปัญหาในระยะกลาง และระยะยาวอย่างยั่งยืนอีกด้วย

“ขอฝากถึงพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ ว่ากระทรวงเกษตรฯ มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย ให้มีความอยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืน ซึ่งนโยบายเร่งด่วนต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้น ต้องมีความชัดเจนและเห็นผลภายใน 100 วันด้วย”รัฐมนตรีเกษตรฯ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กันยายน 2566