โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 28 กันยายน 2023

“รมช.สันติ” รมช.สธ. แนะพัฒนาพื้นที่บลูโซนแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพดี ปลอดโรค ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว

,

“รมช.สันติ” รมช.สธ. แนะพัฒนาพื้นที่บลูโซนแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพดี ปลอดโรค ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว

วันที่ 27 กันยายน 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 1 /2566 ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร ชั้น 2 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กับ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. ตลอดจนผู้บริหารของกระทรวงเข้าร่วม โดยมีการประชุมติดตามความก้าวหน้า 7 เรื่อง ซึ่งอยู่ในนโยบาย Quick Win ของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 1. โครงการพระราชดำริ / โครงการเฉลิมพระเกียรติและโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ 2. เศรษฐกิจสุขภาพ “น่าน โมเดล (NAN_MODELs)” 3. ด้านดิจิทัลสุขภาพ 4. โรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร 50 เขต 50 โรงพยาบาล และปริมณฑล 5. ด้านมะเร็งครบวงจร 6. การสร้างขวัญกำลังใจบุคลากร และ 7. ด้านสถานชีวาภิบาล

นายสันติ กล่าวถึงประเด็นเศรษฐกิจสุขภาพ บลูโซน (Blue Zone) หรือเมืองที่คนอยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี อายุยืน ทำให้ได้เขตสุขภาพละ 1 แห่ง นั้นมองว่า บลูโซนเป็นคำจำกัดความที่สื่อถึงพื้นที่ต่างๆที่เอื้อให้ผู้ที่อยู่อาศัยสามารถมีความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาว และมีความปลอดในทุกรูปแบบ จึงอยากฝากแนวคิดว่า ถ้าตำบลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีการพัฒนายกระดับให้เป็นบลูโซน เมื่อนักท่องเที่ยวทางเข้ามาก็จะเกิดความสบายใจได้ทันทีว่าสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ปลอดภัยในทุกๆด้าน ทั้งเรื่องอากาศ สาธารณสุข อาหาร แหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า หรือ ตลาดที่ถูกสุขอนามัย ซึ่งหากมีแนวคิดนี้ออกไปทำให้กระทรวงสาธารณสุขดูเข้มแข็งขึ้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

คอซีย์ มามุ วอนรัฐบาลเร่งเบิกค่าเสี่ยงภัย ให้กับผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น พื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเป็นกำลังใจเจ้าหน้าปฏิบัติงานเพื่อ ปชช.

,

คอซีย์ มามุ วอนรัฐบาลเร่งเบิกค่าเสี่ยงภัย ให้กับผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น พื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเป็นกำลังใจเจ้าหน้าปฏิบัติงานเพื่อ ปชช.

นายคอชีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 (อ.หนองจิก และ อ.โคกโพธิ์)พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หารือในที่ประชุมสภาไปยังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ถึงประเด็นในความล่าช้าการจ่ายค่าตอบแทนสมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่น เป็นเงินค่าเสี่ยงภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วย จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และ อีก4 อำเภอจังหวัดสงขลา

ในตอนที่ตนทำหน้าที่ประธานชมรมผู้บริหารท้องถิ่นจังหวัดชายแดนใต้ได้ยื่นข้อเสนอต่อภาครัฐให้นำเสนอสวัสดิการการปฎิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามกฤษฎีกาสวัสดิการปฏิบัติงานพื้นที่เสี่ยง พ.ศ. 2544 และแก้ไขปฏิบัติพื้นที่ 3 ปี 2560 ว่าด้วยบำเหน็จเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจังหวัดชายแดนภาคใต้

ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของชายแดนภาคใต้ ครั้งที่หนึ่งโดยมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานในการประชุม มีวาระเห็นชอบและสวัสดิการเบี้ยเสี่ยงภัยของผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกท้องถิ่น

“วันนี้เข้ามาเดือนกันยายน ยังไม่มีการจ่ายเงินเสี่ยงภัย ให้กับสมาชิกสภาท้องถิ่น การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ ผมจึงขอนำเรียนให้ท่านนายกเศรษฐา ได้มีบัญชาสั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรีบดำเนินการให้กับผู้บริหารท้องถิ่นในฐานะผู้ปฏิบัติงานพื้นที่เสี่ยงภัย ได้รับความเท่าเทียมได้รับเบี้ยเสี่ยงภัยเหมือนกับหน่วยงานราชการอื่นด้วย”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท” เดินหน้าขับเคลื่อนแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5ทั้งโครงสร้าง-ระบบ ดึงทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมทุกมิติเพื่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เศรษฐกิจ ยั่งยืน

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” เดินหน้าขับเคลื่อนแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5ทั้งโครงสร้าง-ระบบ ดึงทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมทุกมิติเพื่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เศรษฐกิจ ยั่งยืน

วันที่ 27 กันยายน 2566 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมด้วยนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวง ทส. ได้พบปะประธานคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนร่างกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด นายบัณฑูร เศรษฐศิโรจน์ โดยมี นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมผู้บริหาร ทส. เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นมิติภาพรวม ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เศรษฐกิจ เพื่อลดปัญหาเชิงระบบและโครงสร้าง ทั้งด้านข้อจำกัดในการบริหารงานของภาครัฐ ด้านปัญหาเศรษฐกิจ ความยากจนและเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากร และด้านปัญหาการกำกับระบบตลาดเสรี

การประชุมหารือ ได้พิจารณาข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการ 7 ข้อ ได้แก่ ด้านการระบบ Big Data เพื่อการบริหารจัดการแก้ไขปัญหา PM2.5 ด้านการมีหน่วยงาน กลไกประสานและดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เป็นกลไกทำงานต่อเนื่อง ด้านการทำงานประสานเชื่อมโยงกับกระทรวง และคณะกรรมการตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้วิเคราะห์และปรับปรุงแนวทางแก้ปัญหา PM2.5 จากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่มีอยู่ ด้านการสร้างระบบและเครือข่ายการทำงานกับภาคเอกชน และภาควิชาการ ด้านระบบงบประมาณเพื่อการป้องกัน เผชิญเหตุ และฟื้นฟู เยียวยา ทั้งในระยะเร่งด่วน เป็นการจัดสรรงบกลาง งบลงทุนภาคเอกชน และเงินกู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และในระยะเร่งรัด มีงบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนการทำงานตามแผนแม่บทและแผนปฏิบัติด้านฝุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการแก้ไข ปรับปรุง กฎระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ด้านการสื่อสารสาธารณะทุกช่องทาง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมความร่วมมือ ลดความสับสนของข้อมูลฝุ่น PM2.5 และปรับลดพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่เป็นสาเหตุของ PM2.5

นอกจากนั้นยังมี 5 ข้อเสนอต่อการจัดการปัญหารายสาขาตามแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 ทั้งภาคเกษตรกรรม กรณีข้าวโพด นาข้าว และอ้อย ภาคคมนาคมขนส่ง และฝุ่นควันข้ามแดน โดย ทส. มุ่งเป้าจัดการที่เป็นพื้นที่ไฟไหม้มากที่สุดในปี 2566 ไม่ให้เกิดไฟที่ลักลอบเผาในป่า สนับสนุนการขับเคลื่อนร่างกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด พร้อมดึงทุกภาคส่วนร่วมแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา PM2.5 แบบ Win-Win และ Quick Win ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาวและเกิดความยั่งยืน โดย ทส.จะได้เร่งดำเนินการเพื่อให้เกิดผลและขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

”สส.จีรเดช“กรมโยธาธิการ ช่วยสำรวจบ้านเรือน ปชช.ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือน วอน รีบจัดสรรงบประมาณแก้ปัญหาด่วน

,

”สส.จีรเดช“กรมโยธาธิการ ช่วยสำรวจบ้านเรือน ปชช.ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือน วอน รีบจัดสรรงบประมาณแก้ปัญหาด่วน

นายจีรเดช ศรีวิราช สส.พะเยา เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาถึง ความล่าช้าในการอนุมัติโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง หมู่ที่ 4 ตำบลดอกคำใต้ ซึ่งได้เสนอไปยังกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย เนื่องจากประชาชนได้รับความเดือดร้อนและได้รับคำร้องเรียน จากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ซึ่งได้ร้องขอต่อกรมโยธาธิการ ไปนานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งหมู่บ้านนี้อยู่หลังสถานีประมง จังหวัดพะเยา ในช่วงฤดูฝน น้ำกว้านพะเยาเอ่อล้นก็ถูกระบายไปสู่แม่น้ำอิง ทำให้บริเวณบ้านฝั่งหมิ่น ซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับประตูน้ำ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เกิดปัญหาน้ำท่วมทะลักเข้าสู่บ้านเรือนที่พักอาศัย บางแห่งถูกน้ำกัดเซาะเข้าไปเกือบถึงตัวบ้าน ไม่รู้จะพังขึ้นมาเมื่อไหร่ ยิ่งอยู่ใกล้ประตูน้ำระบายด้วย ทีนี้ก็ลำบากก็ว้าวุ่นเลย ต้องหากระสอบทรายจำนวนมากนำมากั้นน้ำเป็นประจำทุกปี ขอฝากความเดือดร้อนนี้ไปยังกรมโยธาธิการ

นายจีรเดช กล่าวว่า อีกปัญหาที่ถูกเรียกร้องมามากก็คือ ปัญหาน้ำท่วมขังในเขตเทศบาลเมืองดอกคำใต้ บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำร่องช้าง และอยู่ช่วงปลายน้ำที่แคบคอขวด ที่สำคัญปลายน้ำยังไม่ทะลุเชื่อมต่อไปถึงแม่น้ำอิงที่ไหลลงไปสู่แม่น้ำโขง ในช่วงหน้าฝน เกิดน้ำป่าไหลหลาก ทำให้ไม่สามารถระบายได้ทันก็เอ่อล้นเข้าสู่บ้านเรือนพี่น้องชาวบ้าน ต้องขนเข้าของเครื่องใช้ ไปที่สูงเพื่อหนีน้ำ บางทีน้ำมาไว ก็ขนไม่ทัน สร้างความเสียหายอย่างหนัก และเกิดขึ้นซ้ำซาก ตั้งแต่ผมจำความได้

”ผมขอฝาก 2 เรื่องนี้ ไปยังกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย ได้ช่วยไปสำรวจตรวจสอบ หาแนวทางแก้ไข รวมทั้งรีบจัดสรรงบประมาณ มาดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน“นายจีรเดช กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566