โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 27 กันยายน 2023

“อัครแสนคีรี” ชงสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า หวังได้ข้อสรุปจะรับมืออย่างไร หลังเป็นของผิดกม.แต่ลักลอบขายสูบกันทั่วเมือง

,

“อัครแสนคีรี” ชงสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า หวังได้ข้อสรุปจะรับมืออย่างไร หลังเป็นของผิดกม.แต่ลักลอบขายสูบกันทั่วเมือง

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ กล่าวนำเสนอญัตติในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาผลประโยชน์ของการมีกฎหมายควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทความเป็นจริงในประเทศไทย โดยเป็นญัตติที่นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)เป็นผู้เสนอ

โดย นายอัครแสนคีรี กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ สส.ไผ่ ลิกค์ ที่ได้ มอบหมายตนมานำเสนอในสภา บุหรี่ไฟฟ้า ปัจจุบันเป็นสินค้าที่มีการขายซื้อง่าย ทั้งช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ โดยทุกวันนี้บุหรี่ไฟฟ้าสามารถสั่งซื้อได้ผ่านเว็บไซต์ชื่อดัง รวมถึงโซเชียลมีเดียต่างๆ เนื่องจากเป็นที่แพร่นิยมของวัยรุ่น สาเหตุที่มีความนิยม ในกลุ่มผู้ใช้เป็นเพราะว่า มีรูปลักษณ์และกลิ่น ที่ทำให้เกิดความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นของผลไม้ หรือเป็นกลิ่นต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้มีความชื่นชอบและมีการใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีกฎหมายที่ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า หลักๆ มี 4 หน่วยงาน คือ หน่วยงานพาณิชย์ ,คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค,พรบ.ควบคุมยาสูบ และกรมศุลกากร ซึ่งจะดูในส่วนของการนำเข้า ทั้งนี้ถ้าหากหน่วยงานเหล่านี้ มีการ กำกับดูแล การออกกฏหมาย มีบทลงโทษที่ชัดเจน

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า จากผลสำรวจพบว่าตลาดบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 6,408 ล้านบาทต่อปี และมีการเติบโตที่ร้อยละ 100 ต่อปี โดยจากผลสำรวจยังพบว่า ปัจจุบันเยาวชนไทยมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 9 และที่สำคัญ มีการสูบตามเพื่อนฝูงถึง 92.2% พูดง่ายๆ เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่เห็นเพื่อนใช้กันแล้วก็อยากใช้ตาม และที่สำคัญคือ ไม่ทราบว่าด้านในมีสาร นิโคติน ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าทุกวันนี้เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ในประเทศไทย ดังนั้นการนำเข้ามาขาย รวมถึงการจัดจำหน่าย ก็เป็นการลักลอบเข้ามาจำหน่าย ส่วนประเทศทุกวันนี้ที่มี ฃการอนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ได้แล้วมี ประมาณ 60 ประเทศ ซึ่งจะมีบางประเทศที่สามารถจำหน่ายได้เฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่มีสารนิโคติน เช่นออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ศรีลังกา

“ผมได้ศึกษาเบื้องต้น จากตัวอย่างของประเทศที่มีการอนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า อย่างในประเทศจีน จะมีข้อกำหนด ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า เช่น การกำจัดอายุขั้นต่ำ,ห้ามขายใกล้สถานศึกษา,การห้ามจำหน่ายผ่านตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและอินเตอร์เน็ต รวมถึงการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง อย่างประเทศญี่ปุ่นบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคตินก็จะไม่สามารถขายได้ ส่วนเกาหลีเกาหลี อนุญาตให้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าแต่มีการเก็บภาษีที่สูง โดยสรุปในต่างประเทศก็จะมีกฎหมาย เพื่อเข้ามากำกับดูแลบุหรี่ไฟฟ้า ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ”นายอัครแสนคีรี กล่าว

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ทุกวันนี้ประเทศไทยมีกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ห้ามนำเข้าบารากุและบุหรี่ไฟฟ้า หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงกฎหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบปี 60 หากฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 5000 บาท และ พรบ.ศุลกากรปี 60 ซึ่งมีการห้ามลักลอบนำเข้ามีบทลงโทษชัดเจน

“เราต่างทราบกันดีว่าข้อเท็จจริง แล้วสถานการณ์ในปัจจุบันนั้นกับไม่สอดคล้องกับเจตนาของกฎหมายที่มี ในปัจจุบัน นั่นก็คือยังมีการนำเข้า มีการจำหน่ายมีการสูบกันอย่างเปิดเผยในพื้นที่สาธารณะ ทั้งที่กฎหมายได้ห้ามเอาไว้ จึงทำให้เกิดช่องทางในการเก็บส่วย ไม่ว่าจะเป็น การตั้งด่าน หรือการจ่ายส่วย เพื่อจัดจำหน่ายหน้าร้าน รวมถึงการเรียกเก็บเงินจากผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 60 พบว่า รายได้ภาษีกรมสรรพสามิต ยาสูบมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ตลาดบุหรี่ไฟฟ้า มีมูลค่ามากขึ้น แต่กลับไม่สามารถเรียกเก็บภาษีได้“นายอัครแสนคีรี กล่าว

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ถ้าบุหรี่ไฟฟ้ายังผิดกฎหมายอยู่แบบนี้ รัฐย่อมไม่สามารถใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลไกราคา ไม่สามารถควบคุมการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงอยากเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อหาข้อสรุปว่า ข้อดีและข้อเสีย และผลกระทบของการออกกฏหมายมาควบคุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในการควบคุมคุณภาพ มาตรฐานที่ก่อให้เกิดอันตรายในบุหรี่ไฟฟ้า หรือกฎหมายควบคุมผู้บริโภค การกำหนดอายุของผู้บริโภค ที่ชัดเจนรวมถึง การจัดเก็บภาษีจากบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง เพื่อการลดปัญหาในปัจจุบันและป้องกันปัญหาที่ตามมาในอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 กันยายน 2566

”อนุรัตน์“ขอ ก.สาธารณสุข อนุมัติงบประมาณ ปรับปรุงอาคาร รพ.จุน และโรงบำบัดน้ำเสียให้เพียงพอในการรองรับ ปชช.กว่า 7 ตำบล

,

”อนุรัตน์“ขอ ก.สาธารณสุข อนุมัติงบประมาณ ปรับปรุงอาคาร รพ.จุน และโรงบำบัดน้ำเสียให้เพียงพอในการรองรับ ปชช.กว่า 7 ตำบล

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง สส.เขต 2 จังหวัดพะเยา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาว่า ตนของบประมาณ สนับสนุนก่อสร้างโรงพยาบาลอำเภอจุน เพราะโรงพยาบาลอำเภอจุน ได้รับผิดชอบผู้ป่วยทั้งหมด 7 ตำบล ซึ่งโรงพยาบาลจุนนั้น ก่อตั้งในปี 2525 เป็นโรงพยาบาล 10 เตียง จากนั้นปี 2533 ได้ขยายเป็น 30 เตียง และปัจจุบันนี้โรงพยาบาลจุน สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 52 เตียง มีแพทย์ 8 อัตราหัตถกรรม ทันตแพทย์ 6 อัตรา เภสัชสกร 7 อัตรา และ พยาบาล 53 อัตรา จากสถิติการรับผู้ป่วยนอกรับต่อปี 119,382 คน/ปี ผู้ป่วยภายใน2,392 คน/ปี และแผนกทันตกรรม 23,374 คน/ปี จะเห็นได้ว่าจากสัดส่วนของผู้ป่วย ตัวอาคารของโรงพยาบาลนั้น ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ ดังนั้นจึงทำให้เกิดปัญหาผู้ป่วยที่อยู่ในอำเภอจุน ต้องไปใช้บริการโรงพยาบาลในตัวจังหวัดพะเยา อำเภอเชียงม่วน อำเภอปง หรืออำเภอเชียงคำ

“ผมในฐานะที่วันนี้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผมเองเกิดมาไม่มีบ้านอยู่ ผมเติบโตในโรงพยาบาลจุน แค่เพียงว่าโชคดีมีแม่เป็นแพทย์ ตั้งแต่ปี 2526 ถึงปี 2539 ได้เห็นปัญหาต่างๆ และปัญหาในโรงพยาบาลจุน ยังมีปัญหาเรื่องน้ำเสีย เพราะระบบบำบัดในโรงพยาบาลจุนนั้น เก่าเต็มที ผ่านมา 40 กว่าปี ไม่มีงบประมาณในการสนับสนุนโรงบำบัดน้ำเสียให้แก่ประชาชนเลย“นายอนุรัตน์ กล่าว

นอกจากนี้ระบบไฟฟ้าในอาคารมีปัญหาติด ๆ ดับ ๆ ถ้าไฟดับ ก็ไม่มีสำรองไฟให้กับโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยทั้งในและนอกโรงพยาบาลลำบากเป็นอย่างยิ่งขอ จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขขอจัดสรรงบประมาณ เพื่อสร้างอาคารโรงพยาบาลจุน เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการอย่างทั่วถึง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 กันยายน 2566

“สส.อรรถกร”วอน กระทรวงที่เกี่ยวข้องเร่งแก้หลายปัญหาในพื้นที่ จ. ฉะเชิงเทรา พร้อมแนะ กรมฝนหลวง เร่งทำฝนเก็บสำรองในอ่างเก็บน้ำคลองสียัด รองรับการเกษตร และบริโภคโดยด่วน หวั่นเผชิญภัยแล้ง

,

“สส.อรรถกร”วอน กระทรวงที่เกี่ยวข้องเร่งแก้หลายปัญหาในพื้นที่ จ. ฉะเชิงเทรา พร้อมแนะ กรมฝนหลวง เร่งทำฝนเก็บสำรองในอ่างเก็บน้ำคลองสียัด รองรับการเกษตร และบริโภคโดยด่วน หวั่นเผชิญภัยแล้ง

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 เรื่อง คือ ขณะนี้พี่น้องเกษตรกร ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม และพี่น้องเกษตรกรในอำเภอบางคล้า อำเภอราชสาน กำลังประสบปัญหาต้องใช้น้ำอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะพี่น้องที่ทำการเกษตร ทำนา ปลูกข้าว ซึ่งขณะนี้ดินฟ้าอากาศเป็นใจ จึงขอให้กรมฝนหลวง ทำฝนหลวงเพื่อเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำคลองสียัดโดยด่วน เพื่อรองรับการทำเกษตร เพราะในอนาคต ข้างหน้า อาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง จากเอลนีโญได้

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ตนได้รับข่าวสารจากเพจแปดริ้วเดลิเวอรี่ ซึ่งเป็นสื่อที่คอยช่วยเหลือคอยตรวจตรา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน โดยตอนนี้ศาลาบนทางหลวงถนน จังหวัดฉะเชิงเทรา บางน้ำเปรี้ยว บริเวณหน้าปากทางเข้าวัดวิเวกวนาราม ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดความเสียหาย พี่น้องประชาชนที่ผ่านไป ผ่านมาไม่สบายใจ จึงขอให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ช่วยเร่งแก้ไขจะเอาไว้หรือไม่เอาไว้ ยังไงก็ได้

นอกจากนี้ โรงเรียนบ้านหนองโสน บ้านคล้า ขณะนี้ถูกถ่ายโอนไปอยู่ในการดูแลขององค์การส่วนตำบล สมัยใต้ อำเภอบ้านคล้า ซึ่งปัจจุบันขาดแคลนบุคลากรทางด้านการศึกษา โดยในโรงเรียนมีบุคลากรแค่ 2 ท่าน จึงอยากฝากให้กระทรวงมหาดไทย หรือกระทรวงศึกษาธิการ เข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อผลประโยชน์ของลูกๆ หลานๆ ของพวกเรา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 กันยายน 2566