โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 8 กันยายน 2023

“อามินทร์” ชี้ช่องแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำในสามจ.ชายแดนใต้ แค่ตั้งโรงงานแปรรูปผลไม้ส่งขายโลกมุสลิม พร้อมวอน เพิ่มศักยภาพสภาเกษตรกร

,

“อามินทร์” ชี้ช่องแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำในสามจ.ชายแดนใต้ แค่ตั้งโรงงานแปรรูปผลไม้ส่งขายโลกมุสลิม พร้อมวอน เพิ่มศักยภาพสภาเกษตรกร

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวถึงปัญหาพืชผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำ เช่นเงาะ ลองกอง มังคุด และทุเรียนบ้านโดยราคาปลายน้ำของผลไม้เหล่านี้มีราคาสูง แต่ก็สมเหตุสมผล เพราะผลไม้มีรสชาติที่ดี มีผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผลไม้จากทางสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่ฝ่าฝน ฝ่าแดด รอดมาถึงมือผู้บริโภคได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ราคาต้นน้ำ ก็คือราคาหน้าสวนของเกษตรกรมันตกต่ำเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

“ล่าสุดที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการทั้ง 2 ท่าน ได้ลงไปดูเรื่องราคามังคุดที่ตกต่ำ และได้มอบนโยบายเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ซึ่งผมได้มีโอกาสติดตามท่านไปด้วย จึงทราบว่าราคามังคุดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ค่าขึ้นต้นกิโลกรัมละ 10 บาท แต่ที่บ้านของผมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ราคามังคุดต่อกิโลกรัมแค่ 10 บาท ค่าขึ้นต้นกิโลกรัมละ 2 บาท ในเวลาที่ผลผลิตทางการเกษตรออกมาล้นตลาด ทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ เช่น เงาะในราคาหน้าสวนกิโลกรัมละ 3 บาท ซึ่ง 3 บาทต้องจ้างคนมาเก็บค่าจ้างกิโลละ 2 บาท เจ้าของสวนได้แค่บาทเดียว ลองกองก็เช่นกัน ช่อไซด์ขนาดครึ่งแขน เกรดA+ ตาสีตาสาแถวบ้านผม ไม่มีโอกาสได้กินหรอก ส่งออกในภาคกลาง และต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ในกรุงเทพต่ำๆ กิโลนึง 80-90 บาท แต่หน้าสวนกิโลกรัมละ 10 บาท”นายอามินทร์ กล่าว

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า ตนในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ชาวบ้านเลือกมาให้เป็นปากเสียงแทน ดีใจที่ตอนนี้เรามีนายก เราเพิ่งจะมีคณะรัฐมนตรี ประเทศจะได้รับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตนหวังอย่างยิ่งว่ากระทรวงที่เกี่ยวข้องกับปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ หรือกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ และสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และที่สำคัญคือ การยกระดับ คุณภาพชีวิตของเกษตรกร อย่างการสร้างโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในสามจังหวัดชายแดนใต้ เช่น โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง โรงงานผลไม้อบแห้ง

“ผลไม้อีกอย่างหนึ่งที่สร้างมูลค่าได้ดี ก็คือ ทุเรียนกวน เราสามารถส่งออกต่างประเทศได้ เราทำให้เป็นรูปธรรม มีตราฮาลาล ผลิตจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งออกไปขายยังประเทศแทบตะวันออกกลาง หรือประเทศโลกมุสลิม ซึ่งประเทศเหล่านี้นิยมผลไม้จากประเทศไทยเป็นอย่างมาก และสามารถแก้ปัญหาผลผลิตที่ตกต่ำ โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างแน่นอน”นายอามินทร์ กล่าว

ทั้งนี้ นายอามินทร์ ยังกล่าวทิ้งท้ายถึง สภาเกษตรกรที่มีอยู่ในทุกจังหวัด ซึ่งผ่านการเลือกตั้งมาเหมือน สส.ที่อยู่ในสภาฯแห่งนี้ แต่หน่วยงานนี้กลับไม่ได้รับความสำคัญ ไม่ได้รับการส่งเสริม ไม่ได้รับการเพิ่มบทบาท เพิ่มศักยภาพเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเหล่านี้ล้วนมีความรู้ความสามารถ รู้ปัญหา รู้เรื่องเกษตรกรเป็นอย่างดี ตนจึงขอฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” ร่วมคณะนายกฯลุยพื้นที่ภาคอีสาน เดินหน้าสางปัญหาเก่าให้พี่น้องเกษตรกรให้กินดีอยู่ดี

,

“รมว.ธรรมนัส” ร่วมคณะนายกฯลุยพื้นที่ภาคอีสาน
เดินหน้าสางปัญหาเก่าให้พี่น้องเกษตรกรให้กินดีอยู่ดี

วันนี้ (8 กันยายน 2566) เวลา 10.00 น. ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ร่วมพบปะพี่โดยน้องเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรงโดยได้พูดคุย รับฟัง และพร้อมสะสางปัญหาของน้องเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนด้านการเกษตรจากโครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณชิงเขาพนมดงรักษ์ อ่างเก็บน้ำห้วยเชิง จ.สุรินทร์ โครงอ่างเก็บน้ำห้วยศาลา ผู้ได้รับผลกระทบจากการปลูกป่าทับที่ทำกินที่ป่าภูแลนคา ด้านทิศเหนือ อ.แก่งค้อ จ.ชัยภูมิ ได้รับผล กระทบจากการก่อสร้างเขื่อนเขื่อนราษีไศล ผู้เดือดร้อนจากโครงการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญทับที่อาศัย และที่ทำกิน ผู้เดือนร้อนจากโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยขนาดมอญ อ.สังขะจ.สุรินทร์ จากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำ เขื่อน โครงการฝ่าย รวมถึงโครงการเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินปัญหาที่ดินทำกิน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนที่สะสมมานาน

จากนั้น รัฐมนตรีเกษตรฯ ได้ร่วมพบปะพี่น้องเกษตรกรพร้อมนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีจากนั้น รัฐมนตรีเกษตรฯ ร่วมกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ติดตามประเด็นปัญหาภัยแล้งผลกระทบจากเอลณีญ พื้นที่ทำกิน การบริหารจัดการน้ำ โดยปัญหาหลักที่เกษตรกรอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไข ได้แก่ปัญหาความเสียหายจากภัยพิบัติน้ำท่วมในภาคอีสาน ปัญหาการพักหนี้เกษตรกรและปัญหาที่ดินทำกิน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 กันยายน 2566