โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

เดือน: ธันวาคม 2022

“พัชรินทร์” ขอบคุณ “ตรีนุช” ตั้งเป้าปี 66 นักเรียน 1 ล้านคนต้อง CPR เป็น ชี้เป็นนิมิตรหมายที่ดี เพิ่มโอกาสรอดคนไทยจากเดิมแค่ 2% แนะบรรจุในหลักสูตรการศึกษา ให้เป็นชุดความรู้สากล มาตรฐานเดียว

,

“พัชรินทร์” ขอบคุณ “ตรีนุช” ตั้งเป้าปี 66 นักเรียน 1 ล้านคนต้อง CPR เป็น ชี้เป็นนิมิตรหมายที่ดี เพิ่มโอกาสรอดคนไทยจากเดิมแค่ 2% แนะบรรจุในหลักสูตรการศึกษา ให้เป็นชุดความรู้สากล มาตรฐานเดียว

ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม.เขต2 ปทุมวัน บางรัก สาทร และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ ขอขอบคุณ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งเป้าให้ปี 2566 นักเรียน 1 ล้านคน ต้องทำ CPR เป็น ซึ่งถือเป็นการเพิ่มทักษะการช่วยชีวิต ของเด็กและเยาวชน ให้เรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในโรงเรียน โดยตนได้พยายามขับเคลื่อน เรื่องนี้ให้คนไทยทำ CPR เป็น มาโดยตลอด และวันนี้เริ่มได้รับการตอบรับจากผู้ใหญ่ในรัฐบาล ซึ่งนับเป็นนิมิตรหมายที่ดีต่อมิติด้านความปลอดภัย และจะยังเป็นการเพิ่มอัตราการรอดชีวิต จากเหตุการหยุดหายใจ ของคนไทย ที่มีอัตราการรอดเพียง 2% เท่านั้น ต่างจากประเทศในกลุ่มยุโรป ที่มีอัตรารอดสูงถึง 60%

ทั้งนี้ตนขอเสนอว่าเราควรบรรจุเรื่องของ CPR การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการใช้เครื่อง AED ไว้ในหลักสูตรการศึกษาด้วย เพื่อที่จะได้ชุดข้อมูล ความรู้ และทักษะที่เป็นสากล และได้มาตรฐานเดียวกัน รวมถึงควรจัดให้มีการฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา เป็นวงกว้าง เพื่อจะได้นำไปใช้ประยุกต์กับการเรียนการสอน ได้อย่างถูกต้องถูกวิธี


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 ธันวาคม 2565

“ส.ส.จักรพันธ์”ร่วมระดมแนวทางขับเคลื่อนBCG สานเวทีเอเปค ยื่น 3 ข้อเสนอพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

“ส.ส.จักรพันธ์”ร่วมระดมแนวทางขับเคลื่อนBCG สานเวทีเอเปค ยื่น 3 ข้อเสนอพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

,

3 ธันวาคม 2565 นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ประธานภาค ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร. ) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ กล่าวเปิดสัมมนา “เอเปค อัพเดท : ก้าวต่อไปของความร่วมมือระหว่างไทย อาเซียน เอเปค และสหภาพยุโรป (อียู) จัดโดย มูลนิธิคอนราด อเดนาวร์ ว่า จากความสำเร็จของไทยในการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC)ครั้งที่ 29 ปี 2565 ซึ่งมีสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจและการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย.ที่ผ่านมาจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือกับภูมิภาคต่างๆมากขึ้นทั้งอาเซียน สหภาพยุโรป(อียู) เพื่อความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ท่ามกลางความท้าทายจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์

“ แม้ว่าการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคได้จบสิ้นแล้ว แต่การหารือครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วม ทั้งสมาชิกสภา วุฒิสมาชิก เจ้าหน้าที่รัฐสภา นักวิชาการและ สื่อมวลชน เพื่อระดมความคิดเห็นที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนแนวทางที่เอเปควางกรอบและต่อเนื่องไปถึงการประชุมเอเปคครั้งถัดไป โดยเฉพาะหัวข้อหลักที่เป้าหมายของการประชุมเอเปคที่กรุงเทพมหานครภายใต้แนวคิด “Open. Connect. Balance.” ที่ไทยได้ชูโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นแนวคิดสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืนของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนจึงเป็นโอกาสอันดีที่จะร่วมมือกันสร้างความเข้าใจในยุทธศาสตร์และบทบาทของเอเปคและอนาคตของเอเปค”นายจักรพันธ์กล่าว

สำหรับบทบาทไทย ได้มีการทบทวนกลยุทธ์ เพื่อการเติบโตบนปัจจัยเสี่ยงของโลกที่เกิดจากผลกระทบไวรัสโควิด -19 การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทำให้เกิดการสู้รบส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงจากความผันผวนของราคาพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เหล่านี้ล้วนกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทย เป้าหมายการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจของไทย เดินหน้าเข้าสู่ BCG Economy Model ตามเป้าหมายของการประชุมเอเปคที่ผ่านมา จะมีส่วนสำคัญต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การฟื้นฟู หลังผ่านวิกฤติการแพร่ระบาดโควิด 19 โดยการนำ วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุ้มค่า พร้อมไปกับ การฟื้นฟูระบบนิเวศน์ โดยเฉพาะการบริหารจัดการขยะ กลับมาเป็นวัตถุดิบ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เข้าสู่กระบวนกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง เพื่อสร้างความสมดุล ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อให้ประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

โดยแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในยุคต่อไป ที่จะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนจะมี 3 ประเด็นหลัก คือ 1. มีการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจใหม่นับจากนี้ และทบทวนแนวทางการส่งเสริมเพื่อการบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ควบคู่ไปกับการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน ที่มีความยืดหยุ่น เพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม
2. สร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางระหว่างประเทศอย่างปลอดภัย ด้วยการกำหนดมาตรการและการรับรองระบบการคัดกรองโรคระบาดที่เป็นมาตรฐานที่ใช้ร่วมกัน ภายใต้กลุ่มสมาชิก และขยายผลการใช้การรับรองไปยังภาคธุรกิจ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเดินทางในอนาคต
3. ประเทศสมาชิก ให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบาย ที่สามารถครอบคลุมความตกลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในภาคสังคม ต้องเข้ามามีส่วนร่วม และบูรณาการความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ภาคเอกชน นักวิชาการ กลุ่มสตรี และเยาวชน เพื่อให้บรรลุผลในพันธกิจจากกรอบความร่วมมือของเอเปก สู่การพัฒนาและการเติบโตที่มีความสมดุลและเกิดความยั่งยืน

“ส.ส.จักรพันธ์”ร่วมระดมแนวทางขับเคลื่อนBCG สานเวทีเอเปค ยื่น 3 ข้อเสนอพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล “ส.ส.จักรพันธ์”ร่วมระดมแนวทางขับเคลื่อนBCG สานเวทีเอเปค ยื่น 3 ข้อเสนอพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล “ส.ส.จักรพันธ์”ร่วมระดมแนวทางขับเคลื่อนBCG สานเวทีเอเปค ยื่น 3 ข้อเสนอพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล “ส.ส.จักรพันธ์”ร่วมระดมแนวทางขับเคลื่อนBCG สานเวทีเอเปค ยื่น 3 ข้อเสนอพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล “ส.ส.จักรพันธ์”ร่วมระดมแนวทางขับเคลื่อนBCG สานเวทีเอเปค ยื่น 3 ข้อเสนอพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล “ส.ส.จักรพันธ์”ร่วมระดมแนวทางขับเคลื่อนBCG สานเวทีเอเปค ยื่น 3 ข้อเสนอพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: ธันวาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ลงมุกดาหารแก้ปัญหาน้ำทุกระบบยั่งยืน เปิดแผนพัฒนาแหล่งน้ำผิวดิน น้ำบาดาล ช่วยเหลือปชช.

,

“พล.อ.ประวิตร” ลงมุกดาหารแก้ปัญหาน้ำทุกระบบยั่งยืน เปิดแผนพัฒนาแหล่งน้ำผิวดิน น้ำบาดาล ช่วยเหลือปชช.

วันนี้ (2 ธ.ค.65). พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการบริหารจัดการน้ำตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ณ ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร โดยมี นายวลัยพรรณ น้อยสันเทียะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร กล่าวต้อนรับและบรรยายสรุป ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) บรรยายสรุปการบริหารจัดการน้ำในภาพรวม และมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 ก่อนเดินทางไปติดตามก้าวหน้าโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยบังอี่ ต.โพธิ์ไทร อ.ดอนตาล และโครงการขุดเจาะน้ำบาดาลและสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ณ บ้านนาดี หมู่ 8 ต.ดงมอน อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร พร้อมพบปะประชาชนในพื้นที่ และมอบนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาแหล่งน้ำและการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดผลกระทบให้กับประชาชนโดยเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค วางแผนการบริหารจัดการน้ำและกักเก็บน้ำ รวมทั้งการเตรียมการรับมือสถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังจะมาถึง ซึ่งรองนายกฯ ได้มอบหมายให้ สทนช. บูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงาน เร่งรัด ขับเคลื่อน แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม-น้ำแล้ง เพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำในระดับพื้นที่ ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ พร้อมสั่งการให้จังหวัดและกรมชลประทาน วางแผนการใช้น้ำให้เพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้ด้วย

ขณะเดียวกัน มอบหมายให้กรมชลประทาน เร่งดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำบังอี่ ให้แล้วเสร็จตามแผนงาน เพื่อช่วยในการพร่องระบายน้ำในช่วงต้นฤดูฝนและเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร และอื่นๆ ในช่วงฤดูแล้ง รวมถึงยังช่วยป้องกันน้ำจากแม่น้ำโขงหนุนและไหลย้อนกลับเข้ามาท่วมพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ริมห้วยบังอี่ พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เร่งดำเนินการขุดเจาะน้ำบาดาลและสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ที่สามารถบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาขาดแคลนน้ำได้ ในช่วงฤดูแล้งปีที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรมีรายได้ในช่วงฤดูแล้ง แม้จะเกิดฝนทิ้งช่วง ทั้งนี้ รองนายกฯ ได้เน้นย้ำหน่วยงานในพื้นที่ให้ข้อมูลข่าวสารสถานการณ์น้ำที่ถูกต้องกับประชาชนล่วงหน้า เพื่อป้องกันผลกระทบตลอดฤดูแล้งนี้อย่างต่อเนื่องด้วย

ด้าน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำระยะยาวของจ.มุกดาหาร ซึ่งขาดแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่เพราะมีข้อจำกัดด้านสภาพภูมิประเทศ ระบบน้ำประปายังไม่ทั่วถึงมีการขยายตัวของชุมชนเมืองที่เพิ่มขึ้นทำให้เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค มี 3 แนวทางหลัก คือ 1) ก่อสร้างสถานีสูบน้ำ 2) ก่อสร้างแหล่งเก็บกักน้ำ 3) ขยายเขตน้ำประปา ซึ่งในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (ปี 61 – 64) รัฐบาลได้เร่งรัดการพัฒนาในพื้นที่โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีการพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มขึ้นรวม 634 แห่ง พื้นที่รับประโยชน์กว่า 4 หมื่นไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ประมาณ 2 หมื่นครัวเรือน ความจุ 9.81 ล้าน ลบ.ม. เช่น โครงการประตูระบายน้ำห้วยบางทราย ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระบบท่อจ่ายน้ำ อ.คำชะอี เป็นต้น ซึ่งในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมาแหล่งน้ำต่างๆ ใน จ.มุกดาหาร สามารถเก็บกักน้ำได้มากกว่าปี 64 ถึง 18%

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 ธันวาคม 2565

“ส.ส. กานต์กนิษฐ์” แนะ กระทรวงการท่องเที่ยวและ ททท. เร่งฟื้นตลาดท่องเที่ยวไทยกระตุ้น เศรษฐกิจในประเทศช่วงฟื้นตัว

,

“ส.ส. กานต์กนิษฐ์” แนะ กระทรวงการท่องเที่ยวและ ททท. เร่งฟื้นตลาดท่องเที่ยวไทยกระตุ้น เศรษฐกิจในประเทศช่วงฟื้นตัว

น.ส.กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ ส.ส.กทม. เขตพระนคร พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในประเด็นการส่งเสริมความท่องเที่ยว เนื่องจากช่วงนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเข้ามาเที่ยวพักผ่อนที่ประเทศไทยมากขึ้น แต่จะดีขึ้นหากกระทรวงการท่องเที่ยวและ ททท.ได้มีการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ เช่น อะเมซิ่งไทยแลนด์ ตามต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น โดยอาจจะใช้อินฟลูเอนเซอร์ของประเทศนั้นๆ เพื่อให้ต่างชาติรับรู้ว่า ประเทศไทยเปิดประเทศและพร้อมรับนักท่องเที่ยวแล้ว เพื่อให้เศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวเร็วขึ้น

“จากการทำงานในพื้นที่ เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ และเขตดุสิต ที่ถือเป็นเขตกรุงเทพฯ ชั้นในมาต่อเนื่องกว่า 10 ปี พบว่า เมืองไทยเป็นจุดหมายอันดับต้นๆ ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วโลก จับจองเดินทางมาพักผ่อนท่องเที่ยว โดยเฉพาะ เขตกรุงเทพฯ ชั้นใน ซึ่งมีวัฒนธรรมเก่าแก่มากว่า 100 ปี และถือเป็นพื้นที่ที่ตนเองได้มีส่วนผลักดันการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองเก่ามาตลอดหลายปี เช่น ย่านเยาวราช สำเพ็ง พาหุรัด สวนสาธารณะ แหล่งท่องเที่ยวริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีทัศนียภาพสวยงาม รวมถึงวัดที่สำคัญๆ ในพื้นที่หลายแห่ง”

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #กานต์กนิษฐ์แห้วสันตติ
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ธันวาคม 2565

“พปชร.สงขลา” วอน กรมชลประทาน เร่งขุดคลองช่วยแก้ปัญหาน้ำให้เกษตรกร

“พปชร.สงขลา” วอน กรมชลประทาน เร่งขุดคลองช่วยแก้ปัญหาน้ำให้เกษตรกร

ร.ต.อ.อรุณ สวัสดี ส.ส.สงขลา เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนมาจากประชาชนกว่า 1,800 ครัวเรือน ในพื้นที่ อ.วัดโนช จ.สงขลา ที่พื้นที่การเกษตรกว่า 1,000 ไร่ ได้รับความเสียหายจากน้ำที่เข้าท่วม เนื่องจากพื้นที่ขาดการส่งน้ำยามหน้าแล้ง และระบบระบายน้ำยามน้ำท่วม จึงทำให้พืชผลการเกษตรเสียหาย ประชาชนขาดทุน เกิดหนี้สิน บางรายต้องทิ้งพื้นที่ให้ทิ้งร้างไปทำงานในเมืองแทน

“ขอให้กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งขุดลอกคลองเลียบวัดคลองเรือที่ตื้นเขินหมดแล้วทั้งเส้นทาง 3.2 กิโลเมตร จนทุกวันนี้ไม่เป็นคลองแล้ว ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบพื้นที่ เพื่อบรรเทาปัญหาให้เกษตรกรในพื้นที่ด้วย”

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #อรุณสวัสดี
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ธันวาคม 2565

“พปชร.จันทบุรี” เสนอรัฐอนุมัติก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำจันทบุรี อำนวยความสะดวกปชช. ยกระดับรายได้ให้คนในพื้นที่มั่นคง

,

“พปชร.จันทบุรี” เสนอรัฐอนุมัติก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำจันทบุรี อำนวยความสะดวกปชช. ยกระดับรายได้ให้คนในพื้นที่มั่นคง

พ.ต.ท.ฐนภัทร กิตติวงศา ส.ส.จันทบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ชาวจันทบุรี การเดินทางสัญจรไปมาจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงกว่า โดยคนจันทบุรี ขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล โดยกรมทางหลวงชนบท และกระทรวงคมนาคม เร่งดำเนินการขออนุมัติโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำจันทบุรี ที่บริเวณบ้านท่าแฉลม อ.เมืองจันทบุรี ไปยัง ต.บางกะชัย อ.แหลมสิงห์ เป็นระยะทาง 400 เมตร นอกจากจะเป็นการย่นระยะเวลาในการเดินทางแล้ว ยังเป็นการส่งเสริม สนับสนุน เพิ่มศักยภาพในการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มเส้นทางขนส่งสินค้าผลผลิตทางด้านการประมง การเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลมาจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดการสร้างงาน และเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในอำเภอเมือง ซึ่งปัจจุบันมีความซบเซาอย่างมาก เนื่องจากเป็นแค่ทางผ่านเพื่อไปยังจังหวัดตราดและระยองเท่านั้น นักท่องเที่ยงจึงไม่ค่อยแวะเข้ามาในจันทบุรี

“เมื่อมีสะพานแล้วผมคาดว่า การสัญจรก็จะดีขึ้น มีประชาชน นักท่องเที่ยวมาจับจ่าย ใช้สอยในพื้นที่ตัวอำเภอเมืองมากขึ้น ซึ่งในตัวเมืองมีการค้าขายอัญมณี ตลาด มีสถานที่ๆ สำคัญ ถือว่าเป็นการเพิ่มมูลค่ารายได้ให้พี่น้องชาวจันทบุรีนับหมื่นล้านบาท”

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #ฐนภัทรกิตติวงศา
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ธันวาคม 2565

“ส.ส. กรณิศ” วอน กทม.เร่งลอกท่อ-ติดไฟฟ้าส่องสว่าง หลัง ปชช.ประสบปัญหาหนักในพื้นที่วัฒนา-คลองเตย

,

“ส.ส. กรณิศ” วอน กทม.เร่งลอกท่อ-ติดไฟฟ้าส่องสว่าง หลัง ปชช.ประสบปัญหาหนักในพื้นที่วัฒนา-คลองเตย

นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ส.ส.กทม. เขตคลองเตย-วัฒนา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ขอเรียกร้องไปยัง กทม.พื้นที่เขตวัฒนา มาทำการลอกท่อบริเวณสุขุมวิท 71 ซอยปรีดี พนมยงค์ 21 เนื่องจากประชาชนร้องเรียนมา เพราะในช่วงเวลาฝนตกแม้จะติดเครื่องสูบน้ำแล้ว แต่พอสูบออกไปเพื่อไปเชื่อมกับท่อใหญ่ในส่วนของสวนสาธารณะ ในท่อใหญ่น้ำก็ท่วมเช่นกัน ทำให้น้ำย้อนกลับมาในบ้านอีก สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าได้รับความเสียหายจึงอยากให้ กทม.เข้ามาสำรวจบริเวณนี้ด้วย รวมถึงดำเนินการในเรื่องการขยายท่อน้ำด้วย

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณไผ่สิงห์โต ตรงข้ามศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานที่ๆ เพิ่งจัดประชุมเอเปค 2022 ไป เป็นพื้นที่เปลี่ยว ขาดไฟส่องสว่าง สร้างความไม่ปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในการสัญจรในช่วงกลางคืน รวมไปถึงในบริเวณสะพานกลับรถหน้า สำนักงานเขตวัฒนา ซึ่งบริเวณนี้ตนได้เรียกร้องไปหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้รับการดำเนินการแก้ไขใด ๆ

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #ศิริพงษ์รัสมี
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ธันวาคม 2565

พล.อ.ประวิตร เร่งเยียวยาผลกระทบน้ำท่วมภาคกลาง-อีสาน ระดมหน่วยงานระบายน้ำออกจากทุ่งเพิ่มแก้มลิงรับภัยแล้ง

,

เมื่อ 1 ธ.ค.65 , พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 4/2565 ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบ ผลการดำเนินงานตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี2565 ซึ่งภาพรวมมีความคืบหน้าตามแผนงานด้วยดี สามารถแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้เป็นพื้นที่บริเวณกว้าง และขณะนี้ทุกภาคของประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูฝน ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ( สุราษฎร์ธานี ,นครศรีธรรมราช ,พัทลุง ,สงขลา ,ปัตตานี ,ยะลา ,นราธิวาส) และรับทราบความก้าวหน้า 10 มาตรการ รองรับฤดูแล้ง ปี2565 /2566 ซึ่งยังคงดำเนินการ อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ตามแผนงานของ สทนช. รวมถึงรับทราบ สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้และแนวทางการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนบางลาง ปี2565 เพื่อลดผลกระทบที่มักจะเกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าสู่บ้านเรือนประชาชน และพืชสวนการเกษตร

จากนั้นที่ประชุม ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นชอบ แนวทางแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนในพื้นที่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้เพิ่มพื้นที่แก้มลิง รับน้ำให้มากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจ และยังสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตรกรรม

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ สทนช.ให้เร่งรัดการประสานงาน กับหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ภาคใต้ ที่กำลังประสบกับภาวะฤดูฝนขณะนี้ รวมทั้งให้ มท. ,เหล่าทัพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทันที อย่างทั่วถึง ภายหลังน้ำลด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โดยเร็วที่สุด

พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 4/2565 ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ที่ประชุมได้รับทราบ ผลการดำเนินงานตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี2565 ซึ่งภาพรวมมีความคืบหน้าตามแผนงานด้วยดี สามารถแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้เป็นพื้นที่บริเวณกว้าง และขณะนี้ทุกภาคของประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูฝน ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ( สุราษฎร์ธานี ,นครศรีธรรมราช ,พัทลุง ,สงขลา ,ปัตตานี ,ยะลา ,นราธิวาส) และรับทราบความก้าวหน้า 10 มาตรการ รองรับฤดูแล้ง ปี2565 /2566 ซึ่งยังคงดำเนินการ อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ตามแผนงานของ สทนช. รวมถึงรับทราบ สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้และแนวทางการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนบางลาง ปี2565 เพื่อลดผลกระทบที่มักจะเกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าสู่บ้านเรือนประชาชน และพืชสวนการเกษตร

จากนั้นที่ประชุม ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นชอบ แนวทางแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนในพื้นที่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้เพิ่มพื้นที่แก้มลิง รับน้ำให้มากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจ และยังสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตรกรรม

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ สทนช.ให้เร่งรัดการประสานงาน กับหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ภาคใต้ ที่กำลังประสบกับภาวะฤดูฝนขณะนี้ รวมทั้งให้ มท. ,เหล่าทัพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทันที อย่างทั่วถึง ภายหลังน้ำลด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โดยเร็วที่สุด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ธันวาคม 2565