โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 9 พฤศจิกายน 2022

รมช อธิรัฐ เผยแผนป้องกันเหตุ“ลอยกระทง 2565” ปลอดภัย อุบัติเหตุทางน้ำเป็นศูนย์

รมช อธิรัฐ เผยแผนป้องกันเหตุ“ลอยกระทง 2565” ปลอดภัย อุบัติเหตุทางน้ำเป็นศูนย์

ประชุมกรมเจ้าท่า ติดตามผลการปฏิบัติงานตามมาตรการรักษาความปลอดภัย “วันลอยกระทง 2565” พร้อมติดตามผลการดำเนินงานและขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ กรมเจ้าท่า ปี 65-66

วันที่ 9 พ.ย. 2565 น. นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมติดตามผลการปฏิบัติงานตามมาตรการรักษาความปลอดภัยในวันลอยกระทง 2565 ตามข้อห่วงใยของท่านนายกรัฐมนตรี สรุปภาพรวมได้ดังนี้

  • ในพื้นที่ส่วนกลางแม่น้ำเจ้าพระยา จัดกำลังเจ้าหน้าที่รักษาการณ์ในคืนลอยกระทง จำนวน 200 คน เรือรักษาการณ์ 8 ลำ เรือตรวจการณ์ทั่วไป 1 ลำ เจ้าหน้าที่ประจำท่าเทียบเรือ 63 ท่าเรือ
  • ส่วนภูมิภาค กำลังเจ้าหน้าที่ จำนวน 510 คน เรือตรวจการณ์ 61 ลำ
    โดยเจ้าหน้าที่และเรือตรวจการณ์เจ้าท่าออกปฏิบัติงานตั้งแต่ เวลา 14.30 น.- 24.00 น. หรือจนกว่าจะแล้วเสร็จ ซึ่งในคืนวันลอยกระทงที่ผ่านมา (8 พ.ย.65) ไม่พบอุบัติเหตุทางน้ำ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ สูญหาย หรือผู้เสียชีวิต

ทั้งนี้ นายอธิรัฐ ได้กล่าวขอบคุณกรมเจ้าท่าทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่ได้ปฏิบัติงาน ออกตรวจตรา อำนวยความสะดวกและความปลอดภัย ในวันลอยกระทง 2565 เป็นไปตามแผนด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะพี่น้องประชาชนที่ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำแนะของเจ้าหน้าที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

และในการนี้ นายอธิรัฐ ได้ติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบาย/ แผนงานและข้อสั่งการ ปี 65 และมอบนโยบายการดำเนินงานกรมเจ้าท่า ปี 66 ดังนี้

  1. การปรับปรุงท่าเรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยา (Smart Pier)
    • ปี 65 : แล้วเสร็จพร้อมใช้งาน จำนวน 5 ท่า ได้แก่ ท่ากรมเจ้าท่า,ท่าสะพานพุทธ, ท่านนทบุรี, ท่าช้าง, ท่าสาทร อยู่ระหว่างดำเนินการพร้อมเปิดใช้งานภายในปี 65 จำนวน 6 ท่า ได้แก่ ท่าเตียน, ท่าบางโพ, ท่าพระราม 7, ท่าพายัพ, ท่าราชินี, ท่าเกียกกาย
    • ปี 66 : จำนวน 3 ท่า ได้แก่ ท่าปิ่นเกล้า, ท่าพระราม 5, ท่าปากเกร็ด
  2. การขุดลอกต่างตอบแทนแก้ปัญหาภัยแล้ง
    • ปี 65 : โดยกรมเจ้าท่า 132 แห่ง ปริมาณดินรวม 18,160,500 ลบ.ม./ ขุดลอกต่างตอบแทนและอื่นๆ ปริมาณ 5.00 ล้าน ลบ.ม. ประหยัดงบประมาณ 285 ล้านบาท
    • ปี 66 : จำนวน 54 แห่ง ปริมาณดินรวม 4,048,600 ลบ.ม./ ขุดลอกต่างตอบแทนและอื่นๆ (ออกใบอนุญาตแล้ว) รวม 170,101.2 ลบ.ม.
  3. เรือไฟฟ้า (EV BOAT) ในแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันมีจำนวน 26 ลำ
    • ปี 65 เพิ่มขึ้น จำนวน 11 ลำ
    • ปี 66 เพิ่มขึ้น จำนวน 7 ลำ
  4. องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO)
    • ปี 65 ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่อง (CAP) จำนวน 29 รายการ
    • ปี 66 เตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินจากองค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ในเดือน ก.พ.66 ( 20-27 ก.พ.66)

มอบนโยบายการดำเนินงาน กรมเจ้าท่า ปี 66

  1. การใช้จ่ายงบประมาณโครงการ ปี 66 ให้ดำเนินการตามระเบียบทางราชการโดยเคร่งครัด โปร่งใส สามารถตรวจสอบและเปิดเผยต่อสาธารณะได้ และเน้นย้ำห้ามมีการร้องเรียนการเรียกผลประโยชน์โดยเด็ดขาด
  2. การปรับปรุงท่าเรือ Smart Pier แม่น้ำเจ้าพระยา ให้แล้วเสร็จตามแผน เพื่อให้เป็นตามนโยบายของรัฐบาล ในการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ
  3. การผลักดันเรือไฟฟ้าในคลองแสนแสบ เร่งรัดการดำเนินงานให้ออกบริการได้ภายในปี 66
  4. ด้านการต่างประเทศให้กรมเจ้าท่าเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ร่วมกับหน่วยงานและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการรับการตรวจประเมินของ IMO ที่จะมีขึ้นในเดือน ก.พ.66

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 พฤศจิกายน 2565

พปชร.สงขลา ร้องรัฐเร่งซ่อมถนนให้ประชาชนในอำเภอหาดใหญ่ พร้อมช่วยดูแล ร.ร.เอกชน หลังประสบปัญหาเศรษฐกิจช่วงโควิด

พปชร.สงขลา ร้องรัฐเร่งซ่อมถนนให้ประชาชนในอำเภอหาดใหญ่
พร้อมช่วยดูแล ร.ร.เอกชน หลังประสบปัญหาเศรษฐกิจช่วงโควิด

นายศาสตรา ศรีปาน ส.ส.สงขลา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ถึงการสร้างถนนเลียบคลอง 4 ตำบลคลอง อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งตอนนี้ได้สร้างแล้วเสร็จไม่ถึงปี แต่ถนนกลับชำรุดเสียหายแล้ว เนื่องจากมีรถขนาดใหญ่ น้ำหนักเกิน มาใช้ถนนเส้นนี้ ตนได้รับเรื่องร้องเรียนมาจากประชาชนในพื้นที่ โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาซ่อมแซมให้ด้วย

นายศาสตรา ยังกล่าวถึง สถานการณ์โควิดช่วงที่ผ่านมาที่ทำให้โรงเรียนเอกชนนอกระบบทั่วประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน วันนี้พวกเขาลำบากและตนก็เห็นใจ จึงอยากให้ทางภาครัฐ นำโรงเรียนเหล่านี้มามีส่วนร่วมสร้างโรงเรียน โดยให้มาอบรมงานเสริมทักษะที่ภาครัฐได้จัดทำขึ้นให้กับพี่น้องประชาชน โรงเรียนเหล่านี้จะได้มีรายได้อีกทางหนึ่ง

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #ศาสตราศรีปาน
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 พฤศจิกายน 2565

พปชร.จันทบุรี วอนกระทรวงการคลังคงสิทธิค่ารักษาลูกจ้างเกษียณ พิจารณาตั้งงบประมาณช่วยเหลือเบิกตรงลดปัญหาความเดือดร้อน

พปชร.จันทบุรี วอนกระทรวงการคลังคงสิทธิค่ารักษาลูกจ้างเกษียณ
พิจารณาตั้งงบประมาณช่วยเหลือเบิกตรงลดปัญหาความเดือดร้อน

พ.ต.ท.ฐนภัทร กิตติวงศา ส.ส. จันทบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากอดีตลูกจ้างประจำโรงพยาบาลพระปกเก้า จังหวัดจันทบุรี ที่ขอร้องเรียนแทนลูกจ้างประจำทั่วประเทศ ว่า ขณะที่ดำรงตำแหน่งลูกจ้างประจำ จะได้รับสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลโดยเบิกจ่ายตรงได้ แต่พอเกษียณไปแล้วกลับถูกตัดสิทธิ์ แล้วให้ไปใช้สิทธิ์ในการรักษาพยาบาล 30 บาทแทน ซึ่งเห็นว่าไม่เป็นธรรม

ทั้งนี้ เพราะลูกจ้างโรงพยาบาลเหล่านั้น ในขณะปฎิบัติหน้าที่ได้อุทิศตน ตามความสามารถแล้ว ใช้เวลาทั้งในเวลาราชการและเวลานอกราชการปฎิบัติหน้าที่ในการดูแลรักษาคนไข้ ดูแลอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชน จึงขอเรียนให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับลูกจ้างที่เกษียณไปแล้ว

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #ฐนภัทรกิตติวงศา
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 พฤศจิกายน 2565

“พล.อ.ประวิตร” ประกาศรับรอง 15 เมืองอัจฉริยะไทยแลนด์ พร้อมดัน 7 เมืองขึ้นชั้นอัจฉริยะอาเซียนหนุนเศรษฐกิจดิจิทัล

“พล.อ.ประวิตร” ประกาศรับรอง 15 เมืองอัจฉริยะไทยแลนด์
พร้อมดัน 7 เมืองขึ้นชั้นอัจฉริยะอาเซียนหนุนเศรษฐกิจดิจิทัล

9 พฤศจิกายน 2565 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมี นายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า และผู้แทนจากสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม อาทิ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ มูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัด และผ่านระบบออนไลน์

ทั้งนี้ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะที่มี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นประธาน โดยเฉพาะประเด็นการมอบตราสัญลักษณ์เพื่อรับรองการเป็นพื้นที่เมืองอัจฉริยะ 15 พื้นที่ใน 14 จังหวัด ประกอบด้วย
1) นครระยอง เมืองอัจฉริยะและน่าอยู่ จังหวัดระยอง
2) คันทรงโมเดล เมืองแห่งความสุขที่พึงประสงค์และสังคมแห่งการแบ่งปัน จังหวัดชลบุรี
3) เมืองอัจฉริยะจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
4) โครงการพิษณุโลกนครอัจฉริยะอย่างยั่งยืน จังหวัดพิษณุโลก
5) นครเชียงรายสู่เมืองอัจฉริยะ จังหวัดเชียงราย
6) เมืองน่านสู่เมืองอัจฉริยะ จังหวัดน่าน
7) โคราชเมืองอัจฉริยะ จังหวัดนครราชสีมา
8) Smart City อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
9) กระบี่เมืองอัจฉริยะ จังหวัดกระบี่
10) จังหวัดพังงาสู่เมืองอัจฉริยะ จังหวัดพังงา
11) Satun Smart City จังหวัดสตูล
12) พัฒนาเทศบาลนครเกาะสมุย สู่เมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
13) หาดใหญ่เมืองอัจฉริยะสีเขียว จังหวัดสงขลา
14) ปัตตานีเมืองอัจฉริยะ จังหวัดปัตตานี
15) เมืองสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์นราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

อย่างไรก็ตามการประกาศดังกล่าว ปัจจุบันส่งผลให้ประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นเมืองอัจฉริยะรวม 30 พื้นที่ใน 23 จังหวัดแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนได้มากกว่า 20 ล้านคน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับกิจการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ และกิจการพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะจากบีโอไอ โดยทั้ง 15 เมืองอัจฉริยะประเทศไทยใหม่ในครั้งนี้ จะช่วยให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชนมูลค่ารวมกว่า 20,000 ล้านบาทและพัฒนาสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาการเสนอเมืองเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities Network: ASCN) เพิ่มเติม ประกอบด้วย เชียงใหม่ ขอนแก่น ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งเดิมมีเมืองที่เข้าร่วมแล้วคือ กรุงเทพฯ ชลบุรี และภูเก็ต ซึ่งทั้ง 7 เมืองนับเป็นเป้าหมายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของรัฐบาล

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบผลการจัดกิจกรรมสานต่อความร่วมมือระดับภูมิภาคผ่านเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities Network: ASCN) ผลการดำเนินกิจกรรมสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในปี 2565 ผ่านกิจกรรมการพัฒนากำลังคนด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ อาทิ โครงการนักส่งเสริมดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ (Smart City Ambassadors) รุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการพัฒนากำลังคนดิจิทัลรุ่นใหม่ ควบคู่ไปกับการยกระดับทักษะด้านดิจิทัลให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น กิจกรรมส่งเสริมและสร้างความตระหนัก อาทิ การจัดประกวด The Smart City Solution Awards 2022 เพื่อมอบรางวัลแก่ผู้ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อการบริการภาคประชาชน และการจัดนิทรรศการ Smart City Expo 2022 ที่จะมีขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2565
พลเอกประวิตร กล่าว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลผ่านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ตามแนวทางที่แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีได้วางไว้ โดยการประชุมในวันนี้เพื่อรับทราบผลการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการประกาศมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย ประจำปี 2565 กิจกรรมการพัฒนากำลังคนด้านเมืองอัจฉริยะ การสร้างกลไกการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการพิจารณาเพิ่มเมืองเพื่อเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน ทั้งนี้ ขอให้ทุกภาคบูรณาการการทำงาน เพื่อขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะของประเทศ เนื่องจากเป็นวาระแห่งชาติ และจะนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของภาคประชาชน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 โดยเฉพาะหมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 พฤศจิกายน 2565

“พัชรินทร์” กางสถิติอัตรารอดชีวิตจากเหตุหยุดหายใจเฉียบพลัน ไทยรอดเพียง 2% เทียบไม่ติดยุโรป 60% ขอฝ่ายบริหาร รับข้อเสนอ บรรจุ CPR ในหลักสูตรการศึกษา

“พัชรินทร์” กางสถิติอัตรารอดชีวิตจากเหตุหยุดหายใจเฉียบพลัน ไทยรอดเพียง 2% เทียบไม่ติดยุโรป 60% ขอฝ่ายบริหาร รับข้อเสนอ บรรจุ CPR ในหลักสูตรการศึกษา

ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม.เขต2 พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงโครงการอบรม ให้ความรู้ CPR และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ภายในสถานศึกษา ซึ่งตนพยายามผลักดันมาตลอด ตั้งแต่ปีแรกของการเป็น ส.ส. ให้เกิดการเรียนรู้เรื่อง CPR และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เชิงปฏิบัติในหลักสูตรการศึกษาของไทยเรา ให้เด็กได้เข้าใจและสามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้เป็นเรื่องยาก ไม่ได้ใช้งบประมาณมาก หน่วยงานที่พร้อมจะช่วยกันมีอยู่แล้ว เพียงแต่ฝ่ายบริหาร ต้องเปิดกว้าง ที่จะรับข้อเสนอแนะนี้ไปผลักดันให้เกิดขึ้นจริง และหวังว่า ฝ่ายบริหารจะได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์ของพวกเราทุกคน ชีวิตทุกชีวิตมีคุณค่า เพียงเรารักษาได้ 1 ชีวิต ก็คุ้มค่าที่สุดแล้ว

“สองมือเหมือนกัน แต่ช่วยคนได้ไม่เหมือนกัน เพียงเพราะขาดองค์ความรู้ในการช่วยชีวิต #คนไทยต้องCPRเป็น” ดร.พัชรินทร์ กล่าวย้ำ

ดร.พัชรินทร์ ยังได้ เปรียบเทียบให้เห็นถึงอัตราการรอดชีวิต เมื่อเกิดเหตุการหยุดหายใจเฉียบพลันโดยประมาณ ในต่างประเทศ กับไทย อย่างประเทศทางยุโรป อัตรารอด 60% ประเทศญี่ปุ่น อัตราการรอด 40% ขณะที่ไทย เรามีอัตราการรอดชีวิตเพียง 2% เท่านั้น เท่ากับว่า เมื่อเกิดเหตุ ถ้าอยู่ๆ เราล้มตึงไปกลางถนน เรามีโอกาสรอดชีวิตเพียง 2% เพราะมีคนที่จะสามารถช่วย CPR ในประเทศไทย ยังไม่มากพอ แตกต่างกับในต่างประเทศ จะมีการสอนให้ความรู้ทั้งในทฤษฎี และปฏิบัติ กับเด็กๆ เยาวชน ตั้งแต่ในโรงเรียน เป็นความรู้พื้นฐาน แต่สำหรับของไทยเรา อาจมีการสอนในเรื่องการปฐมพยาบาลบ้าง แต่อาจยังไม่ทั่วถึง รวมทั้งการสอนภาคปฏิบัติ ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง ไม่สมบูรณ์นัก

#คนไทยต้องCPRเป็น


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 พฤศจิกายน 2565