โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 26 กันยายน 2023

“สส.บุญชัย”ร่วมหารือปัญหาการขาดแคลนน้ำในจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อวางแนวทางแก้ปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

,

”สส.อนุรัตน์ ส.ส.พะเยา“ เตรียมเชิญ รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่ แก้ปัญหาภัยแล้ง อ.เชียงคำ หลังแก้ไขปัญหาเร่งด่วนติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยปชช.

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ร่วมประชุมติดตามรับฟัง เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยได้ร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.)ในเขตพื้นที่เพชรบูรณ์ เพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

โดยมีนายชัชวาล เบญจสิริวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในการประชุม ,นายสุชาติ กาญจนวิลัย ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบูรณ์ ,นายเจษฎา โทศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 10 พร้อมด้วยข้าราชการโครงการชลประทานเพชรบูรณ์ ณ โครงการชลประทานเพชรบูรณ์ ตำบลป่าเลา อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 กันยายน 2566

”สส.อนุรัตน์ ส.ส.พะเยา“ เตรียมเชิญ รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่ แก้ปัญหาภัยแล้ง อ.เชียงคำ หลังแก้ไขปัญหาเร่งด่วนติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยปชช.

,

”สส.อนุรัตน์ ส.ส.พะเยา“ เตรียมเชิญ รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่ แก้ปัญหาภัยแล้ง อ.เชียงคำ หลังแก้ไขปัญหาเร่งด่วนติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยปชช.

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง สส.พะเยา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พผชร.) เปิดเผยว่า ตนได้ทำหนังสือเชิญ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ อ.เชียงคำ จ.พะเยา เพื่อรับฟังปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ให้กับประชาชน หลังจากที่ได้ร่วมหารือกับกลุ่มเกษตรกร 3 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลอ่างทอง ตำบลน้ำแวน ตำบลเชียงบาน อ.เชียงคำ เพื่อหาแนวทางการผันน้ำและการบริหารจัดการน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร

“โดยระหว่างนี้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้กับพี่น้องเกษตร ผมจึงได้จัดเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนให้พี่น้องประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และ ไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรในพื้นที่ ส่งผลให้ต้นข้าวกำลังยืนต้นตาย“นายอนุรัตน์ กล่าว

นายอนุรัตน์ กล่าวต่อว่า ตนยังได้ลงพื้นที่ ต.หงส์หิน อ.จุน เพื่อมอบข้าวสารให้แก่ประชาชน พร้อมรายงานความคืบหน้าการตั้งเครื่องสูบน้ำพลังงานไฟฟ้าให้กับทุกคนในพื้นที่ได้รับทราบถึงการแก้ไขปัญหา การติดตั้งเครื่องสูญน้ำในพื้นที่ เนื่องจากปัญหาการใช้สถานที่ในการติดตั้งอยู่ในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ จึงจะมีการเจรจาหาทางออกร่วมกันอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส”สำรวจสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา พร้อมมอบหมายกรมชลประทานเร่งเก็บกักน้ำ เตรียมรับมือเอลนีโญ ก่อนเข้าฤดูแล้ง

,

“รมว.ธรรมนัส”สำรวจสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา พร้อมมอบหมายกรมชลประทานเร่งเก็บกักน้ำ เตรียมรับมือเอลนีโญ ก่อนเข้าฤดูแล้ง

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน และดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มเจ้าพระยา พร้อมเตรียมแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในช่วงที่ฝนตกหนัก ควบคู่ไปกับการรับมือปรากฎการณ์เอลนีโญ ณ เขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

รมว.ธรรมนัส กล่าวว่า จากการที่ฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ตอนบนของประเทศ ส่งผลดีต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำท่าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับขณะนี้เข้าสู่ช่วงปลายฤดูฝนของพื้นที่ตอนบน จึงได้สั่งการให้กรมชลประทานจัดหาแหล่งน้ำสำรอง และเร่งเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาที่มีปริมาณการใช้น้ำสูง เพื่อรองรับปรากฏการณ์เอลนีโญ และ
การใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง ป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้ได้มากที่สุด และในวันที่ 1 พฤสจิกายน 2566 ที่จะถึงนี้ จะมีการประชุมหารือการบริหารจัดการน้ำกันอีกรอบ เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเรงด่วน จึงอยากจะขอความร่วมมือจากพี่น้อง
ชาวนา ในการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการปลูกพืชอายุสั้น/งดทำนาปรังรอบที่ 2
ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ก.ย. 66) ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,166 ลบ .ม./วินาที แนโน้มลดลง กรมชลประทาน ได้ใช้ระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาในการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ระดับ 16.80 เมตร (รทก.) สูงกว่าระดับปกติประมาณ 0.30
เมตร เพื่อยกระดับน้ำเข้าสูคลองต่างๆที่อยู่ด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้ได้มากที่สุด โดยไม่กระ ทบต่อพื้นที่ริมคลอง และสามารถรองรับฝนที่อาจตกลงมาในพื้นที่ได้อีกด้วย พร้อมกันนี้ ยังได้ผันน้ำเข้าระบบชลประทาน ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่คลองชัยนาท-
ป่าสัก และ คลองชัยนาท-อยุธยา และผันน้ำบางส่วนไปลงคลองพระองค์ไซยยานุชิต เพื่อสูบผันน้ำไปเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตก จะผันเข้าทางแม่น้ำท่จีน แม่น้ำน้อย และคลองมะขามเฒ่า อู่ทองไปกักเก็บไว้ในแหล่งน้ำต่างๆ รวมไปถึง
คลองส่งน้ำในพื้นที่ชลประทาน เพื่อสำรองไว้ใช้อุปโภคบริโภค ในช่วงฤดูแล้ง การเพาะปลูกพืชใข้น้ำน้อย ตลอดจนไม้ยินต้น และรักษาระบบนิเวศน์ เป็นหลัก

สำหรับปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ที่คงเหลือจากการส่งน้ำเข้าระบบชลประทานเพื่อสำรองไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ในช่วงฤดูแล้งนั้น ได้วางแผนการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อรักษาสมดุลของปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา และเพื่อความมั่นคงของตัวเขื่อน โดยจะควบคุมการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาไม่ให้เกิน 1,000 ลบ.ม/วินาที ปัจจุบัน (25 ก.ย. 66) มีการระบายน้ำสูงสุดอยู่ที่ 802 ลบ.ม./วินาที มีแนวโน้มลดลง โดยปริมาณน้ำที่ระบายท้ายเขื่อนนี้ บางส่วนจะถูกนำไปเก็บกักไว้ในแหล่งน้ำและพื้นที่แก้มลิง ในเขตจังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยุธยา จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี รวมทั้งสนับสนุการผลิตประปาของการประปานครหลวง และการรักษาคุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ได้มีการเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือกรณีภัยพิบัติด้านเกษตร ได้แก่ 1) เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลกว่า 1 13 รายการ ประกอบด้วย เครื่องสูบน้ำ จำนวน 38 เครื่อง รถขุด จำนวน 6 คัน เรือกำจัดวัชพีช จำนวน 25 ลำ รถแทรกเตอร์ จำนวน 2 คัน รถทรลเลอร์ จำนวน 3 คัน รถบรรทุกและยานพาหนะจำนวน 20 คัน และรถบรรทุกน้ำ จำนวน 19 คัน 2) เตรียมจัดตั้งคลังสำรองทรัพยากร ได้แก่ การสำรองเสบียงอาหารสัตว์ (หญ้าแห้งอัดฟ่อน) ตามศูนย์/สถานี จำนวน 30 ตัน ซึ่งเกษตรกรขอรับได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ชัยนาทและศูนย์ดงเกณฑ์หลวง อ.วัดสิงห์สำรองเวชภัณฑ์ยา และวัดนสำหรับสัตว์ต่าง ๆ 3) ด้านการผลิตทางการเกษตร แบ่งออกเป็น ด้านพืช จะจัดทำการประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งปี 2564/2565 โดยการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการปลูกพืชอายุสั้น/งดทำนาปรังรอบที่ 2ส่งเสริมการปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย และให้ปลูกพืซหลากหลายตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกษตรกรรับทราบสถานการณ์แนวโน้มการระบาดศัตรูพืชในช่วงฤดูแล้ง สำรวจข้อมูลพื้นที่ที่ประสบปัญหาภาวะแห้งแล้ง และเร่งรัดจัดทำข้อมูลสถานการณ์เนื้อที่เพาะปลูก และเนื้อที่เสียหายผ่านระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร (รต) เป็นประ จำทุกเดือน 2) ด้านประมง มีการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยการบริหารจัดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายเกษตรกร อาสาเฝ้าระวังภัยแล้งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำใน 8 อำเภอ ทยอยจับสัตว์น้ำที่มีขนาดโต หรือได้ขนาดขึ้นมาจำหน่าย/บริโภคเพื่อลดความเสี่ยง และ 3) ด้านปสุสัตว์
สนับสนุนหญ้าแห้งเพื่อนำไปช่วยเหลือเกษตรกร 30 ตัน และเวชภัณฑ์สัตว์ต่าง ๆ ทำการผลิตสำรองเสบียงอาหารสัตว์ตามศูนย์/สถานีอาหารสัตว์ 30,000 กิโลกรัม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 กันยายน 2566