โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 2 มีนาคม 2023

“พล.อ.ประวิตร” เดินหน้าความร่วมมือพัฒนาลุ่มน้ำโขงเสริมสร้างใช้น้ำยั่งยืน ย้ำศึกษาประโยชน์ร่วมกันทุกมิติรอบครอบพร้อมสร้างการนับรู้กับ ปชช.

,

“พล.อ.ประวิตร” เดินหน้าความร่วมมือพัฒนาลุ่มน้ำโขงเสริมสร้างใช้น้ำยั่งยืน
ย้ำศึกษาประโยชน์ร่วมกันทุกมิติรอบครอบพร้อมสร้างการนับรู้กับ ปชช.

เมื่อ 2 มี.ค.66 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยพล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. กล่าวว่า ที่ประชุมรับทราบ ความคืบหน้ากระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า ภายใต้ระเบียบปฏิบัติ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เรื่องการแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อน สานะคาม สปป.ลาว ซึ่งฝ่ายไทยยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบข้ามพรมแดน ซึ่งพล.อ.ประวิตร ได้กำชับให้คณะอนุกรรมการวิชาการ พิจารณาข้อมูลของโครงการให้เกิดความรอบคอบ ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพน้ำ ระบบนิเวศ การประมง ทางผ่านปลา รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคม

อย่างไรก็ตามที่ประชุมยังได้รับทราบรายงานความคืบหน้า การขอรับการสนับสนุนโครงการจัดการประมงข้ามพรมแดน ภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF ครั้งที่8) รวมทั้งรับทราบความคืบหน้า โครงการจัดตั้งกองทุนแม่โขง (Mekong Fund) เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ในการบรรเทาผลกระทบและเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบข้ามพรมแดนจากการดำเนินการบนแม่น้ำโขง สายประธาน รวมทั้ง ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นอกจากนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบ ร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023 ภายใต้แนวคิดหลักร่วมกัน คือ “นวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ำและความยั่งยืนของลุ่มน้ำโขง” ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ เชิงนโยบายของประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ในการมุ่งเน้นการดำเนินงานตามพันธะกรณีของความตกลง ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเห็นชอบร่างถ้อยแถลงสำหรับนายกรัฐมนตรีในการประชุม”สุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขง ตอนล่าง” ครั้งที่ 4และร่างประเด็นสำหรับการหารือในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ สทนช., ก.การต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการฯ โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ และความมั่นคงของประเทศชาติ ภายใต้ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศสมาชิกฯ พร้อมทั้งให้มีการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจให้ประชาชนคนไทยในพื้นที่ได้รับทราบ อย่างทั่วถึง ควบคู่กันไปด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 มีนาคม 2566

พล.อ.ประวิตร ไม่ประมาท เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำรอยปี65 ถอดบทเรียนฯ ใช้ 12 มาตรการ กำชับทุกหน่วยรับมือฤดูฝนปี66 มุ่งลดผลกระทบ ปชช.ได้ประโยชน์สูงสุด

,

พล.อ.ประวิตร ไม่ประมาท เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำรอยปี65 ถอดบทเรียนฯ ใช้ 12 มาตรการ
กำชับทุกหน่วยรับมือฤดูฝนปี66 มุ่งลดผลกระทบ ปชช.ได้ประโยชน์สูงสุด

ว่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดย พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. กล่าวว่าที่ประชุมได้รับทราบ ผลการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ระยะเร่งด่วนในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ จากเหตุการณ์อุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาปี2565 ส่งผลให้มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ราว 2.8 ล้านไร่ ใน 16 จังหวัด ภาคกลาง ซึ่ง สทนช.ได้เสนอโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ระยะเร่งด่วนในพื้นที่เจ้าพระยาใหญ่ และขอรับการสนุนงบประมาณประจำปี66 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงบประมาณ ก่อนเสนอ ครม. ต่อไป

จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ (ร่าง)มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 โดย สทนช. ได้นำผลการถอดบทเรียนฯมาปรับปรุงเป็น 12 มาตรการ ได้แก่
มาตรการที่ 1 การคาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงช่วงฝนทิ้งช่วง
มาตรการที่ 2 การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก
มาตรการที่ 3 ทบทวนปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำ /เขื่อนระบายน้ำและจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำเชิงบูรณาการ
มาตรการที่ 4 เตรียมความพร้อมซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ โทรมาตร ให้พร้อมใช้งานและปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ
มาตรการที่ 5 เตรียมพร้อม /วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือบุคลากรประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม และพื้นที่เสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่วง
มาตรการที่ 6 ตรวจความมั่นคงปลอดภัยคัน ทำนบ พนังกั้นน้ำ
มาตรการที่ 7 ขุดลอกคู คลอง และกำจัดผักตบชวา
มาตรการที่ 8 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ส่วนหน้า ก่อนเกิดภัยและฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ
มาตรการที่ 9 เร่งเก็บกักน้ำแหล่งน้ำทุกประเภทช่วงปลายฤดูฝน
มาตรการที่ 10 สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชนในการให้ข้อมูลสถานการณ์
มาตรการที่ 11 การสร้างการรับรู้/ประชาสัมพันธ์ และ
มาตรการที่ 12 ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย และได้เห็นชอบ แผนป้องกัน และแก้ไขภาวะน้ำท่วมปี 2566 ของลุ่มน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อม ไว้ด้วยต่อไป

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงาน ร่วมกันแก้ไขปัญหาด้านน้ำ ในทุกมิติ เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงด้านน้ำ ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด อย่างทั่วถึง พร้อมทั้งไดักำชับให้ สทนช.เตรียมการวางแผนการกักเก็บน้ำในฤดูฝน ให้มากที่สุด เพื่อไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย และให้สร้างการรับรู้ และการแจ้งเตือนภัยสถานการณ์น้ำให้ ประชาชนทราบ อย่างทั่วถึง ทันเวลาและต่อเนื่อง นอกจากนั้น พล.อ.ประวิตร ยังได้ขอบคุณ สทนช. และหน่วยงานที่รับผิดชอบ 10 มาตรการฤดูแล้ง ที่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของประชาชน ทั่วประเทศ ได้ผลเป็นอย่างดี ที่ผ่านมา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 มีนาคม 2566