โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. สันติ พร้อมพัฒน์

“สันติ รมช.สธ.” ตรวจเยี่ยมศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี หนุนยกระดับงานวิจัย พัฒนา อสม. ดูแลสุขอนามัยในท้องถิ่น เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ประชาชน

,

“สันติ รมช.สธ.” ตรวจเยี่ยมศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี หนุนยกระดับงานวิจัย พัฒนา อสม. ดูแลสุขอนามัยในท้องถิ่น เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ประชาชน

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี พร้อมเปิดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์สู่ชุมชน เพื่อให้ผู้บริหารและนักวิชาการภาครัฐ ภาคเอกชนโดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์กับเครือข่ายในพื้นที่
โดยมีนายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี และพี่น้องชาว
อสม.จำนวน 800 คน รวมพลังร้องเพลงมาร์ช อสม.ให้การต้อนรับด้วยความอบอุ่น พร้อมเยี่ยมชมบูธจัดแสดงผลงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ อาทิ ศักยภาพการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP/SME และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์
การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี

นายสันติ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นหน่วยงานทางวิชาการ มีภารกิจสำคัญในการศึกษา การวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข และการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ สร้างเสริมสุขภาพที่ดีแก่ประชาชนในพื้นที่ครอบคลุมทุกเขตสุขภาพ

“ที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้กับพี่น้องประชาชนในชุมชน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบและป้องกันปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะการพัฒนา อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ที่ช่วยขับเคลื่อนการคัดกรองผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยง และสื่อสารแจ้งเตือนภัยสุขภาพ เกิดนวัตกรรมใหม่ที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมศักยภาพการบริหารจัดการงานคุ้มครองผู้บริโภค และงานป้องกันโรค ให้กับประชาชนในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง”

ตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือน ที่เข้ามารับผิดชอบงานของกระทรวงสาธารณสุข วันนี้มีความรู้สึกอบอุ่นที่ได้มา จ.อุดรธานีอีกครั้งและเน้นย้ำความสำคัญกับ อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้ที่มีจิตอาสามาทำงานช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ทำให้โรคอุบัติภัย และโรคระบาดต่างๆ ในชุมชนท้องถิ่นได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว

โดย อสม.มีส่วนสำคัญที่สุดในการเชื่อมโยงกับบุคลากรทางการแพทย์ และพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ไปยังพี่น้องประชาชนในหมู่บ้าน และตำบลได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะการรักษาพยาบาลพี่น้องประชาชนเบื้องต้น ยกตัวอย่าง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ยังไม่มีแพทย์มาประจำแต่ยังมี อสม.เข้ามาช่วยงานแพทย์ ซึ่งประเทศไทยมี รพ.สต.กว่า 10,000 แห่ง ควรมีแพทย์อย่างต่ำ 3 คน จะเรื่องนี้จะขอให้มหาวิทยาลัยและกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันผลิตแพทย์ ประมาณ 30,000 คน ซึ่งถ้าเริ่มผลิตแพทย์วันนี้จะต้องใช้เวลา 6 ปี จะได้แพทย์คนแรกไปอยู่รพ.สต. และหากจะได้แพทย์ที่ครบทั้ง 30,000 คน คาดว่าจะต้องใช้เวลาถึง 12 ปี

“ผมเป็นผู้แทนมาเกือบ 30 ปีได้เห็นเรื่องสาธารณสุขในแต่ละท้องถิ่นที่มีความสำคัญต่อพี่น้องประชาชน ซึ่งปัจจุบันระบบการแพทย์ของไทยถือว่าดีมากติดอันดับต้นๆของโลก ดังนั้นการมีแพทย์ที่ รพ.สต. จึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญในการลดต้นทุนไปหาหมอที่โรงพยาบาลได้มาก โดยพี่น้องประชาชนมี 67 ล้านคน หากไปโรงพยาบาลที่อำเภอ 1 ครั้งต่อปี รวมค่าเดินทั้งประเทศประมาณ แสนกว่าล้านบาทต่อปี และถ้าเฉลี่ยไปโรงพยาบาล 2 ครั้งต่อปีก็ใช้เงินถึงเกือบ 3 แสนล้านบาทต่อปี แต่การผลิตแพทย์ 1 คนใช้เงินเฉลี่ย 5 ล้านบาท ในเวลา 6 ปีถ้าผลิตแพทย์ 30,000 คน ใช้เงิน 150,000 ล้านบาท ซึ่งต้นทุนตรงนี้จะช่วยเหลือพี่น้องในชนบทได้” นายสันติ กล่าว

การแพทย์แผนปัจจุบันมีความสำคัญตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 150 ปี จนต่างประเทศให้ความมั่นใจบุคลากรทางการแพทย์ของไทย ซึ่งทราบว่า ต่างประเทศอยากได้บุคลากรทางการแพทย์ หากในประเทศมีบุคลากรทางการแพมย์ที่เพียงพอแล้ว แพทย์ก็จะสามารถไปทำงานต่างประเทศได้

ทั้งนี้ในช่วงบ่าย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงพื้นร่วมกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะเพื่อตรวจราชการในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 โดยจุดแรก ลงพื้นที่บ้านภูดินทอง หมู่ 13 ต.กุดดินจี่ อ.นากลาง เพื่อพบปะ อสม.และผู้นำชุมชนและรับฟังผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment: CBITX) จากนั้นจะเดินทางโรงพยาบาลสุวรรณคูหา อ.สุวรรณคูหา ชมการดำเนินงาน มะเร็งครบวงจร และการตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดี (OV CCA และตรวจเยี่ยมมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลสุวรรณคูหา)

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 ธันวาคม 2566

“สันติ” รมช.สธ. ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร

,

“สันติ” รมช.สธ. ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ให้กับวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กทม. นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราขทานผ้าพระกฐินในปีนี้ โดยมีข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ (สส.) จ.เพชรบูรณ์ ประกอบด้วย นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ น.ส.พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ นายวรโชติ สุคนธ์ขจร นายอัคร ทองใจสด ตลอดจนประชาชนเข้าร่วมพิธี

ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้บวงสรวงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด ถวายภัตตาหารอพลแด่พระสงฆ์-สามเณร ทั้งพระอาราม จากนั้นประกอบพิธีถวายผ้ากฐินพระราชทาน เสร็จพิธีได้มอบทุนการศึกษาแก่โรงเรียนวัดหงส์รัตนาราม และเยี่ยมพบปะประชาชน ก่อนเดินทางกลับ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 พฤศจิกายน 2566

“สันติ รมช.สธ.” มอบนโยบาย สรพ.เพื่อขับเคลื่อนสู่องค์กรหลักยกระดับระบบบริหารสุขภาพไทยเข้มแข็ง

,

“สันติ รมช.สธ.” ตรวจติดตามภารกิจกรมอนามัย เร่งส่งเสริมการมีบุตร ดันให้บรรจุเป็นวาระแห่งชาติ

มุ่งสร้างความเชื่อมั่น รักษามาตฐานรพ.-บุคลากร เทคโนโลยีเพื่อบริการประชาชน

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) พร้อมตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของ สรพ.ในการพัฒนาระบบบริหารสุขภาพของประเทศ ณ ห้องประชุมร่มไม้-สายธาร ชั้น 5 อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข

นายสันติ กล่าวว่า ปัจจุบันการเข้าถึงบริการของประชาชน มีความหลากหลาย ทั้งระบบบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ รวมถึงความก้าวหน้าทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทำให้ระบบบริการสุขภาพในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนไปจากในอดีต ดังนั้นการยกระกับมาตรฐานและกระบวนการต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อให้ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย ซึ่งที่ผ่านมาได้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ สรพ. ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย ให้มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับประชาชน เชื่อมั่นว่ามาตรฐานและการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยพัฒนาระบบบริการสุขภาพภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรบุคคล ภาระงาน และความคาดหวังของพี่น้องประชาชนเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการรับบริการ

“มีโอกาสร่วมงานกับ สรพ. ครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2566 ซึ่งเป็น “วันแห่งความปลอดภัยของผู้ป่วยโลก” โดยได้มอบประกาศนียบัตรแก่สถานพยาบาล ที่เข้าร่วมโครงการ 3P Safety Hospital ปี 2566 ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่มุ่งเน้น พัฒนาความปลอดภัย ในระบบบริการให้กับผู้ป่วย บุคลากร และประชาชน รวมถึงได้มีโอกาสสื่อสารเจตนาและความตั้งใจที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของกระทรวงสาธารณสุขในด้านต่าง ๆโดยเฉพาะเรื่องทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการผลักดัน “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย บุคลากรและประชาชน” ในระยะที่ 2 ถึงแม้ สรพ. จะมีบุคลากรไม่มาก แต่เป็นองค์กรที่มีศักยภาพ เนื่องจากมีผู้นำและทีมงานที่ มีความรู้ ความสามารถ ตั้งแต่ประธานกรรมการ กรรมการสถาบัน ผู้อำนวยการ และบุคลากรทุกคน” นายสันติ กล่าว

ทั้งนี้ เชื่อว่าสรพ. จะประสบความสำเร็จ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามภารกิจที่กำหนดไว้ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สรพ. ซึ่งกำหนดให้ สรพ. เป็นหลักประกันให้พี่น้องประชาชนได้รับการบริการด้านสาธารณสุข ที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพของการให้บริการตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการด้านสาธารณสุข ที่จะยกระดับมาตรฐานและคุณภาพในการให้บริการของสถานพยาบาล เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขที่ดี และมีคุณภาพ

“ผมเป็นประชาชนคนหนึ่งใช้บริการโรงพยาบาลต่างๆ ได้เห็นถึงคุณภาพหมอ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทน์ไทย ตลอดจนบุคลากรที่ดูแลเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันนั้น ทราบว่ามีสถาบันรับรองคุณภาพที่กำกับดูแลโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ให้มีมาตรฐานสากล และความปลอดภัย ทำให้โรงพยาบาลทั่วประเทศมีคุณภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ สร้างความมั่นใจจากชาวต่างประเทศทั่วโลก” นายสันติ กล่าว

นอกจากนี้ยัวได้รับทราบว่า ผู้ป่วยที่อยู่ต่างประเทศ มีความตั้งใจที่จะมารักษากับแพทย์ในโรงพยาบาลของประเทศไทย เนื่องจากเขามีความเชื่อมั่น จึงฝากกับสถาบัน สรพ.ว่า เราต้องรักษามาตฐานในการตรวจสอบคุณภาพโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการตรวจสอบดูแลให้เทคโนโลยีในการรักษาพยาบาลนั้นมีความทันสมัยต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 พฤศจิกายน 2566

“สันติ รมช.สธ.” ตรวจติดตามภารกิจกรมอนามัย เร่งส่งเสริมการมีบุตร ดันให้บรรจุเป็นวาระแห่งชาติ

,

“สันติ รมช.สธ.” ตรวจติดตามภารกิจกรมอนามัย เร่งส่งเสริมการมีบุตร ดันให้บรรจุเป็นวาระแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะผู้บริหาร ตรวจเยี่ยม ติดตาม และรับฟังภารกิจของกรมอนามัย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญ ในการดำเนินงานส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดี พร้อมมอบนโยบายให้กับผู้บริหารและบุคลากรเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายสันติ กล่าวว่า วันนี้ได้เน้นย้ำการดำเนินการ “ยกระดับ 30 บาทอัพเกรด” ให้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด ต้องพร้อมรับมือกับความท้าทายจากสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน ภายใต้นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง 13 ประเด็น โดยเฉพาะนโยบายการส่งเสริมการมีบุตร ต้องเร่งรัดขับเคลื่อนการดำเนินการให้เห็นผลลัพธ์เป็นรูปธรรม และผลักดันให้บรรจุเป็นวาระแห่งชาติ ร่วมบูรณาการกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดมาตรการส่งเสริมการมีบุตร ทั้งเรื่องคลินิกส่งเสริมการมีบุตร หน่วยคัดกรองโรคหายาก และการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการรักษาภาวะมีบุตรยาก ด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ให้มีโอกาสมีลูกได้ รวมถึงบูรณาการขับเคลื่อนภายใต้ประเด็นเศรษฐกิจสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ให้เกิดการพัฒนาเมืองต้นแบบชุมชนสุขภาพดี (Healthy City Models) และขับเคลื่อนนโยบายในประเด็นอื่น ๆ ด้วย

“ผมมีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหาอัตราการเกิดน้อยของประชากรน้อยลง ซึ่งกรมอนามัยเป็นผู้ที่สนับสนุน วางแผนในด้านต่างๆ ที่จะส่งเสริมการมีบุตรและอยากให้บรรจุเป็นวาระแห่งชาติ และมีสิ่งจูงใจให้สุภาพสตรีมีบุตร เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่าการมีบุตรนั้นมีเกียรติ เสียสละ เพราะต้องยอมรับว่า สุภาพสตรีที่มีบุตรนั้นร่างกายจะทรุดโทรมค่อยข้างมาก กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ดูแลเรื่องเหล่านี้ ถ้าไม่นำร่องการให้เกียรติ ยกย่อง เพื่อให้เขารู้ว่าการมีบุตรเป็นสิ่งที่ช่วยประเทศชาติ” นายสันติ กล่าว

ดังนั้นควรสร้างแรงจูงใจให้กับสตรีที่มีครอบครัวใหม่ มีความมั่นใจในการมีบุตร สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องจำเป็นของสังคม ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีความตั้งใจจะผลัดดันเรื่องนี้ใน ครม. ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มประชากรที่มีคุณภาพมาพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ รองรับการเป็นสังคมสูงวัย ทำให้ประเทศชาติเดินหน้าไปได้อย่างมั่นคงแข็งแรง สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น

วันนี้ผู้บริหารทุกท่านจะได้รับฟังการนำเสนอภารกิจและการดำเนินงานของกรมอนามัย ร่วมให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนาการดำเนินงานต่อไป ขอให้ทุกท่านร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งตนและผู้บริหารทุกท่าน มีความเชื่อมั่นและเห็นถึงศักยภาพของบุคลากรของกรมอนามัย และพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานทุกด้าน ที่จะทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ยกระดับ 30บาท อัพเกรด เพื่อคุณภาพชีวิตในทุกระดับชั้นมีสุขภาพที่ดี

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 พฤศจิกายน 2566

“สันติ” รมช.สธ.ส่งเสริมอาหารไทย กินเป็นยาเสริมสุขภาพสร้างศก.ท้องถิ่น

,

“สันติ” รมช.สธ.ส่งเสริมอาหารไทย กินเป็นยาเสริมสุขภาพสร้างศก.ท้องถิ่น

หนุนกรมการแพทย์แผนไทยฯวิจัยสรรพคุณพืชสมุนไพรทุกภูมิภาค

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานเสวนาทางวิชาการและนิทรรศการอาหารเป็นยาครั้งที่ 1/2566 ภายใต้แนวคิด “อาหารไทยถิ่น กินเป็นยา” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-12 พฤศจิกายน 2566 โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดงานในครั้งนี้ขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการนำอาหารไทย สมุนไพรไทย มาช่วยสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ อีกทั้งยังเป็นการสร้างกระแสให้ประชาชนหันมาใส่ใจการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น บริเวณลาน MBK Avenue A ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร

นายสันติ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวมีส่วนสนับสนุนในการสร้างรายได้ให้กับประเทศสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ผลักดันการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวที่ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงานให้กับประชาชนจำนวนมาก การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้านอาหารสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศนับแสนล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะมีการเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ธุรกิจด้านอาหารจึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจ ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการท่องเที่ยวจากข้อมูลของกรมการท่องเที่ยวจะเห็นได้ว่า รายได้จากการท่องเที่ยวในด้านอาหาร มีสัดส่วนถึง 20 % ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมดของประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมากเนื่องจากอาหารเป็นสิ่งจำเป็นสามารถสอดแทรกอยู่ในทุก ๆ การท่องเที่ยว และทุกช่วงเวลา อาหารไทยได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ทั้งในและต่างประเทศหลายรายการจนเกิดเป็นรายการอาหารประจำชาติที่นักท่องเที่ยวรู้จักอย่างแพร่หลาย

“รัฐบาลได้กำหนดรายการอาหาร ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวไว้จำนวน 6 รายการ ได้แก่ ผัดไทย ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน ส้มตำ มัสมั่น และต้มข่าไก่ นอกจากนี้มีรายการอาหารที่น่าสนใจมากมายที่ควรส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักมากยิ่งขึ้น เช่น ผัดกะเพรา ผัดฉ่า เครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งมีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19 ได้ ” นายสันติ กล่าว

นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมโภชนาการอาหารไทยเพื่อสุขภาพให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ได้ตระหนักรับรู้ว่าอาหารไทย สมุนไพรไทย มีคุณค่าได้เรียนรู้วิธีการทำอาหารไทยที่ถูกต้อง สอดแทรกด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย สามารถให้คำแนะนำเมนูอาหารในการดูแลสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยว และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเบื้องต้นได้ เช่น ปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ นอนไม่หลับ ท้องผูก ช่วยสร้างมูลค่าและคุณค่าของอาหารไทย เป็นการผสม “ศาสตร์” ความชำนาญการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กับ “ศิลป์” ความพิถีพิถันความละเอียดอ่อนในการปรุงอาหารไทยได้เป็นอย่างดี และยังช่วยสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวหันมาสนใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากยิ่งขึ้น

นายสันติ กล่าวต่อว่า กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ทำงานวิจัยสรรพคุณของพืชสมุนไพรของไทยที่มีจำนวนนับหมื่นชนิดพืชพันธุ์ให้กับประชาชนไทยรับประทานเป็นอาหารและเสริมสร้างสุขภาพแล้ว ในต่างประเทศโดยเฉพาะตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา ยังได้สั่งพืชสมุนไพร เช่น ข่า ตะไคร้ ไปทำการวิจัยเป็นยาปรุงอาหารอีกด้วย นำไปสู่การสร้างเสริมเศรษฐกิจให้กับประเทศ

“ประเทศไทยมีพืชที่เป็นสมุนไพรและนำมาใช้รักษาโรคกันเป็นนับร้อยปี เรามีสมุนไพรมากมายทั่วทุกภูมิภาคของไทย ตั้งแต่เหนือสุดยันใต้สุด ทางกระทรวงสาธารณสุขมีความตั้งใจที่จะพัฒนาพืชสมุนไพรให้เป็นที่รู้จักและไม่รู้จัก ได้วิจัยและประชาสัมพันธ์ให้รับรู้ถึงประโยชน์และสรรพคุณต่างๆ โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีความตั้งใจที่จะพัฒนาสมุนไพรเพื่อพี่น้องประชาชนได้ทานเป็นสมุนไพรเป็นยา จึงมีนโยบายวิจัยพืชสมุนไพรแต่ละชนิด ในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ ว่ามีสรรณคุณอย่างอย่างไร เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้กับประชาชนได้รับทราบ” นายสันติ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 พฤศจิกายน 2566

“สันติ” รมช.สธ.กำชับหน่วยบริการสาธารณสุขจ.เพชรบูรณ์ “เตรียมพร้อมบริการการแพทย์ฉุกเฉินรับฤดูกาลท่องเที่ยว”

,

“สันติ” รมช.สธ.กำชับหน่วยบริการสาธารณสุขจ.เพชรบูรณ์
“เตรียมพร้อมบริการการแพทย์ฉุกเฉินรับฤดูกาลท่องเที่ยว”

วันที่ 29 ตุลาคม 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ติดตามการดำเนินงานห้องฉุกเฉินคุณภาพ หน่วยบริการฟอกไต พร้อมมอบของเยี่ยมไข้ผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ ให้การต้อนรับ
นายสันติ กล่าวว่า ได้กำชับให้หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่เตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพประชาชนโดยเฉพาะในช่วงใกล้จะเข้าสู่ฤดูหนาวที่ประชาชนจะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศและโรคต่างๆที่อาจแพร่ระบาดได้มากขึ้น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม เป็นต้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีการบูรณาการกับเครือข่ายในพื้นที่เพื่อจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน รองรับให้เพียงพอกับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยือน จ.เพชรบูรณ์ที่คาดว่าจะปริมาณเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาวนี้
“ ฤดูหนาวของทุกปีเป็นช่วงที่ประชาชนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ภูเขาหรือยอดดอยมากขึ้น และ จ.เพชรบูรณ์เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญ เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเป็นจำนวนมาก จึงได้กำชับให้หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่เตรียมพร้อมดูแลประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวอย่างเข้มข้น”นายสันติกล่าว
สำหรับโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่าเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง ดูแลประชากรในพื้นที่ ประมาณ 54,000 คน ได้เตรียมการตามนโยบายนักท่องเที่ยวปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ โดยมีระบบห้องฉุกเฉินคุณภาพ Smart EMS ที่ได้รับการรับรองเป็นอำเภอที่ดำเนินการป้องกันการบาดเจ็บทางจราจรทางถนน (D-RTI) ระดับดีเยี่ยม (Advance) มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบบริการ พร้อมแพทย์ พยาบาล นักเวชปฏิบัติฉุกเฉิน ประจำตลอด 24 ชั่วโมง มีระบบคัดแยกผู้ป่วยทำให้ได้รับการตรวจรักษาอย่างรวดเร็วตามลำดับความเร่งด่วน และยังมีช่องทางด่วน (Fast Track) ในกลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงสูง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โดยมีโรงพยาบาลหล่มสัก และโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ เป็นเครือข่ายในระบบส่งรักษาต่อ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างไร้รอยต่อ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 ตุลาคม 2566

“สันติ” รมช.สธ. คิกออฟ รณรงค์เพิ่มทักษะเด็กไทยว่ายน้ำ หนุนสร้างทีมผู้ก่อการดีครบคลุมทุกตำบลปกป้องเด็กเอาชีวิตรอด

,

“สันติ” รมช.สธ. คิกออฟ รณรงค์เพิ่มทักษะเด็กไทยว่ายน้ำ หนุนสร้างทีมผู้ก่อการดีครบคลุมทุกตำบลปกป้องเด็กเอาชีวิตรอด

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์ “Survival Swimming Skills เพื่อเด็กไทยไม่จมน้ำ” โดยมีเด็กที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 300 คน และ 3,000 คน จาก 15 จังหวัด ที่ร่วมกิจกรรมตลอดเดือนตุลาคม ได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติทักษะเบื้องต้นในการเอาชีวิตรอดทางน้ำ การช่วยเหลือคนตกน้ำ การที่ทำซีพีอาร์ช่วยคนจมน้ำ และจะขยายผลไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศในการร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับหน่วยงานในพื้นที่ และการเร่งดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการสร้างทีมผู้ก่อการดี ป้องกันการจมน้ำ ให้ครอบคลุมทุกตำบล เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยมี นายแพทย์ ธงชัย กีรติฟัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ บริเวณสระว่ายน้ำกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี

นายสันติ กล่าวว่า การจมน้ำเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ทั้งในระดับโลกและประเทศไทย จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5-14 ปี จมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 มากกว่าการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อ และมากกว่าไข้เลือดออกถึง 13 เท่าตัวองค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการจมน้ำจนเกิดเป็นฉันทามติร่วมกันครั้งแรกในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 โดยเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเร่งดำเนินการป้องกันการจมน้ำ และล่าสุดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 สมัชชาอนามัยโลกได้รับมติ Accelerating Action on Global Drowning Prevention

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันการจมน้ำเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำตามมติสหประชาชาติ ภายใต้คณะอนุกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การสอนให้เด็กทุกคนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการปฐมพยาบาล ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปทุกคน มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป สามารถทำซีพีอาร์ได้ รวมถึงการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน มีนโยบายในการเติมเต็มบริการสุขภาพเพื่อประชาชนในทุกมิติ ด้วยการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ภายใต้บริบทในปัจจุบันที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบกระทรวงสาธารณสุขจึงผลักดันนโยบายส่งเสริมการมีบุตร เพิ่มอัตราการเกิดของเด็กที่เกิดมามีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีชีวิตรอดปลอดภัย ซึ่งการปกป้องคุ้มครองเด็ก ไม่ให้เสียชีวิตจากการจมน้ำเป็นอีกหนึ่งงานสำคัญ ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อแก้ปัญหาการเสียชีวิตของเยาวชนก่อนวัยอันควร

“สถิติการเสียชีวิตของเด็กที่จมน้ำนั้นส่วนใหญ่อยู่ในชนบท เมื่อว่างจากการเรียนเด็กก็จะไปลงเล่นน้ำเป็นกลุ่มในพื้นที่บ่อน้ำสาธารณะ การจัดกิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้จึงเป็นการฝึกให้เด็กช่วยกันเอง ให้เกิดทักษะในการลอยน้ำ หรือใช้วิธีการง่ายๆ แบบบ้านๆ โดยการใช้อุปกรณ์ ซึ่งทำขึ้นจากท้องถิ่น เช่นกล่อง หรือวัสดุอะไรก็ตามที่สามารถลอยน้ำได้เพื่อช่วยพยุงตัวเอง ก็สามารถช่วยให้เด็กรอดจากการจมน้ำได้ ซึ่งถือเป็นทักษะที่มีความสำคัญในท้องถิ่นต่างจังหวัด ขณะเดียวกัน มีความเป็นไปได้ ในการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ให้เยาวชน มีการนำกิจกรรมดังกล่าว ไปฝึกฝนในการเรียนการสอน เพราะถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะดำเนินการเป็นนโยบายร่วมกัน” นายสันติ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ตุลาคม 2566

“สันติ” รมช.สธ. ตรวจเยี่ยม อย. เข้มป้องกันสินค้าออนไลน์ ยา-ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ได้มาตรฐาน

,

“สันติ” รมช.สธ. ตรวจเยี่ยม อย. เข้มป้องกันสินค้าออนไลน์ ยา-ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ได้มาตรฐาน

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมตรวจเยี่ยมสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กับนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยมี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข คณะผู้บริหาร ตลอดจนพนักงานและเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ พร้อมเยี่ยมชมบูทนิทรรศการก่อนรับฟังบรรยายสรุป ที่ห้องประชุมชั้น 9 อาคาร OSSC อย.กระทรวงสาธารณสุข

นายสันติ กล่าวว่า มีความชื่นชมการทำงานของ อย. ที่มีมาตรฐานสูง ทำให้ได้ยาที่มีคุณภาพ และกำกับดูแลร้านขายยาทุกแห่งอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ไปไกลและรวดเร็ว เรื่องการค้าออนไลน์จึงมีปัญหาค่อนข้างมาก มีการสั่งซื้อและจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์ ทั้ง อาหาร ยา และผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งสินค้าเหล่านี้มีผู้ร้องเรียนว่าการตรวจสอบจะไม่ทัน บางชิ้นส่งจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรวจสอบยาก โดยเฉพาะการค้าออนไลน์ในเรื่องสุขภาพ ความสวยความงาม มีสัดส่วนสูงมากและเป็นปัญหามาก เช่น หลายเดือนที่ผ่านมาส่งสารไซยาไนด์ ได้มีการพูดถึง อย.ว่ามีการตรวจสอบอย่างไร หากมีการส่งสินค้าทางไปรษณีย์หรือบริษัทของเอกชนต่างๆ

“ปัญหาอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ไม่ตรงปก หากมีไม่กี่ชิ้นไปทำอะไรคงยาก การที่ของเหล่านี้ส่งเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมากทำให้ประชาชนเสียเงินกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การดำเนินการสกัดกั้นก็มีความสำคัญ ฉะนั้นถ้าเป็นอาหารและยา ต้องดูว่าเป็นอะไร เช่น ยาลดความอ้วน ต้องดูเรื่องกฎระเบียบ ถ้าไม่มีก็ต้องออก เพื่อให้บุคคลที่สั่งซื้อสินค้าไม่ได้มาตรฐานสามารถแจ้งความดำเนินคดีได้”

ทั้งนี้มองว่า การค้าออนไลน์มีความสะดวก อยู่บ้านก็ค้าขายได้ แต่ก็ทำลายระบบเศรษฐกิจในระดับมหาภาค ร้านค้าในชนบทก็สามารถค้าขายได้ แต่ปัจจุบันปิดไป 80% เพราะมีการค้าออนไลน์ซึ่งทำลายระบบเศรษฐกิจร้านค้าชุมชน ฉะนั้นสินค้าที่แปลกปลอมก็ออกระเบียบ ถ้าเข้าได้แล้วไม่มีมาตรฐานก็กำหนดโทษทางคดีอาญา เพราะตอนอยู่กรมศุลกากร ก็มีปัญหาดังกล่าว ซึ่งไม่สามารถแก้ได้เพราะสินค้าที่ส่งต่ำกว่า 1,500 บาท ต่ำกว่า 3,000 บาท ไม่สามารถเก็บได้ เพราะเป็นเรื่องการค้าโลก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 ตุลาคม 2566

“รมช.สันติ” รมช.สธ. แนะพัฒนาพื้นที่บลูโซนแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพดี ปลอดโรค ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว

,

“รมช.สันติ” รมช.สธ. แนะพัฒนาพื้นที่บลูโซนแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพดี ปลอดโรค ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว

วันที่ 27 กันยายน 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 1 /2566 ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร ชั้น 2 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กับ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. ตลอดจนผู้บริหารของกระทรวงเข้าร่วม โดยมีการประชุมติดตามความก้าวหน้า 7 เรื่อง ซึ่งอยู่ในนโยบาย Quick Win ของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 1. โครงการพระราชดำริ / โครงการเฉลิมพระเกียรติและโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ 2. เศรษฐกิจสุขภาพ “น่าน โมเดล (NAN_MODELs)” 3. ด้านดิจิทัลสุขภาพ 4. โรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร 50 เขต 50 โรงพยาบาล และปริมณฑล 5. ด้านมะเร็งครบวงจร 6. การสร้างขวัญกำลังใจบุคลากร และ 7. ด้านสถานชีวาภิบาล

นายสันติ กล่าวถึงประเด็นเศรษฐกิจสุขภาพ บลูโซน (Blue Zone) หรือเมืองที่คนอยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี อายุยืน ทำให้ได้เขตสุขภาพละ 1 แห่ง นั้นมองว่า บลูโซนเป็นคำจำกัดความที่สื่อถึงพื้นที่ต่างๆที่เอื้อให้ผู้ที่อยู่อาศัยสามารถมีความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาว และมีความปลอดในทุกรูปแบบ จึงอยากฝากแนวคิดว่า ถ้าตำบลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีการพัฒนายกระดับให้เป็นบลูโซน เมื่อนักท่องเที่ยวทางเข้ามาก็จะเกิดความสบายใจได้ทันทีว่าสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ปลอดภัยในทุกๆด้าน ทั้งเรื่องอากาศ สาธารณสุข อาหาร แหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า หรือ ตลาดที่ถูกสุขอนามัย ซึ่งหากมีแนวคิดนี้ออกไปทำให้กระทรวงสาธารณสุขดูเข้มแข็งขึ้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566