โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. สันติ พร้อมพัฒน์

“รมช.สันติ” ชูนโยบายอาหารปลอดภัย ดึงภาคีเครือข่ายยกระดับสู่มาตรฐาน SAN เดินหน้าเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพรับตลาดท่องเที่ยววิถีชีวิตใหม่สร้างรายได้ปชช.

,

“รมช.สันติ” ชูนโยบายอาหารปลอดภัย ดึงภาคีเครือข่ายยกระดับสู่มาตรฐาน SAN เดินหน้าเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพรับตลาดท่องเที่ยววิถีชีวิตใหม่สร้างรายได้ปชช.

เมื่อวันที่ 11 ก.ค.2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดและมอบนโยบายการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานสถานประกอบกิจการอาหารไทย ปลอดภัย อนามัยดี “มี SAN ไม่มีเซ็ง” เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีความรู้ ความข้าใจ หลักเกณฑ์ และแนวทางในการพัฒนาสถานประกอบกิจการด้านอาหาร ให้มีการจัดการสุขลักษณะที่ดีและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนมาตรฐาน SAN&SAN Plus และสื่อสารความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้องไปสู่ประชาชนและนักท่องเที่ยวเพื่อช่วยให้การดูแลสุขาภิบาลอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วม ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี

กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสำคัญด้านการสร้างเศรษฐกิจสุขภาพ และนักท่องเที่ยวปลอดภัย ผ่านกลไกการพัฒนาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลอาหาร ผู้ประกอบกิจการ ผู้สัมผัสอาหาร และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องด้านสุขาภิบาลอาหาร ทั้งภาครัฐ และเอกชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจหลักเกณฑ์ และแนวทางในการพัฒนาสถานประกอบกิจการอาหาร ให้มีความสะอาด ปลอดภัย พร้อมยกระดับการสื่อสาร ความรอบรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง เพื่อให้บริโภคได้รับอาหารที่ปลอดภัย โดยการควบคุม กำกับดูแล สุขลักษณะของสถานประกอบกิจการด้านอาหาร ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ทั้งนี้ได้ขับเคลื่อนงานสุขาภิบาลอาหารแบบภาคีเครือข่าย ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานสาธารณสุขในระดับพื้นที่ เช่น ศูนย์อนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคประชาชน ตลอดจนสมาคมและชมรมผู้ประกอบกิจการ ขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านอาหาร ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนสัญลักษณ์ป้ายมาตรฐาน งานสุขาภิบาลอาหารให้สอดรับกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อเป็นที่จดจำง่ายแก่ผู้บริโภคภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ แซน (SAN) และแซนพลัส (SAN Plus)

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 กรกฎาคม 2567

“สันติ”รมช.สธ.คิกออฟวันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย ปี 67 สร้างมาตรฐานร้านอาหารปลอดภัยร่วมพัฒนาสังคมคาร์บอนต่ำ

“สันติ”รมช.สธ.คิกออฟวันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย ปี 67 สร้างมาตรฐานร้านอาหารปลอดภัยร่วมพัฒนาสังคมคาร์บอนต่ำ

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานวันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย ปี 2567 “1 ทศวรรษ วันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อคนไทยสุขภาพดี” (1 Decade of Environmental Health Day : Healthy Environment for Healthier Living) เพื่อเทิดพระเกียรติศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงพระราชทานพระอนุญาต ให้วันคล้ายวันประสูติ วันที่ 4กรกฎาคม ของทุกปี เป็น “วันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย” ซึ่งกรมอนามัย ดำเนินการจัดงานต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2558 เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างในการขับเคลื่อนงานอนามัยสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การปกป้องคุ้มครองสิทธิทางสุขภาพของประชาชน และแก้ไขปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยมีคณะผู้บริหารเข้าร่วม บริเวณโถงอาคาร 1 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

นายสันติ กล่าวต่อว่า กรมอนามัยได้ยกระดับและพัฒนางานสุขาภิบาลอาหาร ผ่านสัญลักษณ์ อาหารสะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ป้ายSAN และ SAN Plus เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบ นอกจากนี้ได้รณรงค์ผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารทั่วประเทศ นำน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้วไม่เกิน 2 ครั้ง และนำน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้วมาขายให้บริษัทในกลุ่มบริษัทบางจาก เพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) ซึ่งขณะนี้โรงกลั่นอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2568 ขณะที่เศษอาหารต่างๆ ทางกรมอนามัยได้นำไปวิจัยเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพให้พืช ซึ่งจะช่วยดูแลสุขภาพของผู้บริโภค ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดูแลสิ่งแวดล้อมของประเทศได้อย่างยั่งยืน

สำหรับกิจกรรมสำคัญประกอบด้วย พิธีถวายพระพรศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี การประกาศรางวัลสำหรับบุคคลและองค์กรดีเด่น ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม การปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “บ้านก้อแชนด์บ๊อก ฝ่าฝุ่น PM/2.5 อย่างยั่งยืน” การเสวนาวิชาการในหัวข้อ “ลดและปรับ รับมือกับ Climate Change” และกิจกรรมรณรงค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อมการจัดการขยะ การทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านอนามัยสิ่งแลดล้อมควบคู่กับการนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 กรกฎาคม 2567

“สันติ” รมช.สธ.ลงพื้นที่ตรวจงานอาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ รพ.มหาราชนครราชสีมา

,

“สันติ” รมช.สธ.ลงพื้นที่ตรวจงานอาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ รพ.มหาราชนครราชสีมา
รองรับการให้บริการด้านสุขภาพให้ประชาชน เข้าถึงเครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัยครบวงจร

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา หลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) กับนายกรัฐมนตรี เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการจัดสร้างอาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ 18 ชั้น

ทั้งนี้แผนพัฒนาอาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ 18 ชั้น ประกอบด้วย Trauma& Emergency center , ICU และศูนย์เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ , แผนกผ่าตัด ศูนย์ส่องกล้อง ODS, MIS และศูนย์สุขภาพครบวงจร (CHECK UP CENTER) ดำเนินการภายใต้งบประมาณการก่อสร้างรวมคุรุภัณฑ์ จำนวนเงิน 4,427 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างอาคารพักแพทย์และพยาบาล 18 ชั้น จำนวน 352 ห้อง วงเงิน 437 ล้านบาท รวมวงเงินการดำเนินการโครงการ ทั้งสิ้น จำนวน 4,864 ล้านบาท

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กรกฎาคม 2567

“สันติ” รมช.สธ. ยกต้นแบบ รพ.อัจฉริยะ รพ.ปากช่องนานา-เทพรัตน์ จ.นครราชสีมา

,

“สันติ” รมช.สธ. ยกต้นแบบ รพ.อัจฉริยะ รพ.ปากช่องนานา-เทพรัตน์ จ.นครราชสีมา

ดึงเอกชนร่วมพัฒนาเขาใหญ่สู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสร้างรายได้ประชาชนยั่งยืน

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจราชการก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์)เพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะการพัฒนาและยกระดับระบบสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 9 “นครชัยบุรินทร์” ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่สะดวก สบายมากยิ่งขึ้น โดยได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโรงพยาบาลอัจฉริยะของโรงพยาบาลปากช่องนานา จ.นครราชสีมา ได้แก่ ระบบคิว ระบบการให้บริการผู้ป่วยนอกในรูปแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะ การให้บริการ Telemedicine ณ จุดบริการผู้ป่วยนอก อาคารผู้ป่วยนอก พร้อมมอบของที่ระลึกให้กับผู้รับบริการที่รถนั่ง

ทั้งนี้โรงพยาบาลปากช่องนานา เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ระดับ A+ มีจำนวนเตียง ทั้งสิ้น จำนวน 303 เตียง มีบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 87 คน พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 253 คน ได้ดำเนินการตามนโยบายและพัฒนา ให้เป็นโรงพยาบาลที่มีศักยภาพ ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขชั้นเลิศในเขตการท่องเที่ยว โดยการยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพ เน้นเสริมสร้างระบบนิเวศเพื่อส่งเสริม นโยบายอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสุขภาพ ซึ่งเป็น 1 ใน 5 นโยบายที่กระทรวงสาธารณสุข ในการเร่งรัดพัฒนาให้เห็นผลโดยมีการให้บริการ ด้านการแพทย์ครอบคลุมการรักษาพยาบาลแบบบูรนาการครอบคลุมทุกมิติ เพื่อลดการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่น ๆ นอกเขตสุขภาพ มีแพทย์เฉพาะทางสาขาหลัก โดยเฉพาะอายุรแพทย์โรคหัวใจ ประสาทวิทยา เวชศาสตร์การกีฬาและกระดูกสันหลัง และโรคหลอดเลือดสมอง ได้วางแผนเป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วยเพื่อใส่สายสวนหลอดเลือดสมอง (Thrombectomy) และเตรียมเปิดห้องปฏิบัติการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cath Lab) นอกจากนี้ยังเปิดคลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ช่วยค้นหาเด็กพัฒนาการช้าเข้าระบบเพิ่มขึ้นถึง 33% ลดระยะเวลารอคอยในโรงพยาบาลจาก 6 เดือน เหลือ 1 เดือน ขณะที่ด้านอุบัติเหตุสามารถให้บริการประชาชนใน อ.ปากช่อง และพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนนักท่องเที่ยว โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้นโยบายโรงพยาบาลอัจฉริยะมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการด้วยการยกระดับ 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว การลงทะเบียนยืนยันตัวตน การนัดหมายออนไลน์ บริการรับ-ส่งยาทางไปรษณีย์/Health Rider ระบบบริการการแพทย์ทางไกล เพื่อประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่ มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน

นายสันติ กล่าวว่า ได้เห็นถึงความทันสมัย ที่ครอบคลุมในการดูแลรักษาต่างๆ โดยเฉพาะการส่งยากลับไปให้พี่น้องประชาชนที่มาหาหมอ และการใช้ระบบเทเลเมดิซีน หรือ แพทย์ทางไกล ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ที่ประจำ รพ.สต.เพื่อช่วยแพทย์ดูแลประชาชนเบื้องต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับพี่น้องประชาชน ในการเดินทางมาพบแพทย์ ที่สำคัญที่สุดระบบเทคโนโลยีต่างๆ จะช่วยประหยัดบุคลากรทางการแพทย์ในอีกระดับหนึ่ง จากการที่ตนได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหลายโรงพยาบาลพบว่า โรงพยาบาลหลายแห่งมีการขาดแคลนแพทย์ค่อนข้างมาก แต่โรงพยาบาลปากช่องนานา ได้นำเทคโลโนยีมาใช้ควบคู่กับการทำงานจนสามารถพัฒนารองรับการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ได้ อย่างไรก็ตามตนได้ให้มหาวิทยาลัย และแพทยสภาเร่งรัดผลิตบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขาให้เพียงพอ เพื่อป้อน รพ.สต.ที่ขาดแคลน ดังนั้นโรงพยาบาลปากช่องนานา สามารถที่จะเป็นต้นแบบของโรงพยาบาลหลายๆแห่งได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหรรษาไทยเวลเนส คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สาขาเขาใหญ่ อ.ปากช่อง เปิดให้บริการและให้คำปรึกษาด้านสุขภาพโดยแพทย์แผนไทยประยุกต์ในโรคทั่วไป โรคกล้ามเนื้อกระดูกและข้อ สุขภาพทางเพศชายและหญิง การใช้ยาสมุนไพร และคุณแม่หลังคลอด การรักษาออฟฟิศซินโดรม การนวดรักษาอาการปวด จาก Office syndrome เฉพาะรายที่มีปัญหาแตกต่างกันออกไป ใช้การประคบสมุนไพร ในการเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและลดการอักเสบ และอบสมุนไพรเพื่อคลายกล้ามเนื้อช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย การรักษาโรคนอนไม่หลับ การนวดรักษาที่ใช้น้ำมันกัญชาในการนวดรักษาเพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและช่วยให้สามารถเข้านอนได้ง่ายมากขึ้นพร้อมกับการประคบและอบสมุนไพรเพื่อคลายกล้ามเนื้อและช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

นายสันติ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพโดยส่งเสริมให้สถานประกอบกานด้านการท่องเที่ยว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศที่จะมีส่วนสำคัญในการสร้างโอกาสการแข่งขันและฟื้นฟูเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย ด้วยการยกระดับสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เวลเนส (Wellness Center) โดยภูมิประเทศของเขาใหญ่เป็นพื้นที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์อันดับต้นๆของประเทศ มีโอโซนที่บริสุทธิ์ และยังเป็นพื้นที่เศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง ที่ผ่านมามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งโรงแรมและรีสอร์ทหลายแห่ง มีสาธารณูปโภคที่พร้อม และการคมนาคมที่สะดวกหากได้มาเยือนแล้วก็ต้องกลับมาเรียนอีก จึงอยากให้ผู้ประกอบการของหรรษาไทยเวลเนส ตลอดจนผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร และสถานบันเทิงของเขาใหญ่และปากช่อง ร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ wellness อย่างแท้จริง โดยให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงสาธารณสุข เข้ามาสนับสนุนเพื่อให้คนไทยเข้ามาใช้บริการ หากมีการพัฒนาได้เชื่อว่าเขาใหญ่จะมีศักยภาพการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวในประเทศได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน สร้างเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศได้อีกระดับหนึ่ง

ในช่วงบ่ายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเดินทางต่อไปยังโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา มีการให้บริการที่สำคัญ ได้แก่ ผ่าตัดไส้ติ่ง ผ่าตัดต้อกระจก ผ่าตัดข้อเข่าเทียม การผ่าตัดแผลเล็ก และการผ่าตัดวันเดียวกลับ โรคหลอดเลือดสมองทั้งตีบและแตกเฉียบพลันแบบครบวงจร เป็นแม่ข่ายรับส่งต่อผู้ป่วยจาก อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.ด่านขุนทด อ.เทพารักษ์ และ อ.เมืองและ มี stroke unit มาตรฐาน ขยายบริการจาก 8 เตียง เป็น 16 เตียง นอกจากนี้ยังมีการดำเนินการระบบโรงพยาบาลอัจฉริยะยกระดับ 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว นัดหมายออนไลน์ ใช้นัดหมายออนไลน์ผ่านโปรแกรม หมอพร้อม โดยมีการนัดหมายผ่านคลินิกทันตกรรมและคลินิกแพทย์แผนไทย ใบรับรองแพทย์ดิจิตอล สามารถดูใบรับรองแพทย์ออนไลน์ผ่านโปรแกรม หมอพร้อม บริการรับ-ส่งยาทางไปรษณีย์/Health Rider มีการให้บริการรับ-ส่งยา ผ่าน Rider และ Flash Exprees ระบบบริการการแพทย์ทางไกล คลินิกจิตเวช ใช้ระบบบริการแพทย์ ทางไกลผ่านโปรแกรม LINE บนเครื่องคอมพิวเตอร์

นอกจากนี้ยังมีการดำเนินการคลินิกส่งเสริมการมีบุตรคลินิกมีบุตรยาก มีผู้เข้ารับบริการคลินิกส่งเสริมการมีบุตร จำนวน 24 คน ประกอบด้วยผู้เข้ารับบริการโดยวิธีการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (Intra – Uterine Insemination : บI) จำนวน 9 ราย ซึ่งตั้งครรภ์ 1 ราย (มีการฝากครรภ์ และมีอายุครรภ์ 29 สัปดาห์/อยู่ในกระบวนการ 4 ราย/ส่งต่อ 4 ราย ผู้รับบริการผ่าตัดทางนรีเวช 15 ราย

หรรษาเวลเนส

รพ.เทพรัตน์

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 กรกฎาคม 2567

“สันติ” รมช.สธ.จับมือ พม.เปิดตัวแพลตฟอร์มประเมินสุขภาพเพื่อคนพิการ นำร่อง 40 รพ.ทั่วประเทศเข้าถึงระบบสาธารณสุขลดภาระค่าเดินทาง

,

“สันติ” รมช.สธ.จับมือ พม.เปิดตัวแพลตฟอร์มประเมินสุขภาพเพื่อคนพิการ
นำร่อง 40 รพ.ทั่วประเทศเข้าถึงระบบสาธารณสุขลดภาระค่าเดินทาง

เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 67 ที่โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเปิดตัวแพลตฟอร์มสำหรับการตรวจประเมินและออกเอกสารรับรองความพิการ แบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นโยบายกระทรวงสาธารณสุข ด้านคนพิการ” ว่ากระทรวงสาธารณสุขมีภารกิจสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชน ทุกกลุ่มวัย รวมไปถึงกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ เช่น ผู้พิการ ได้แก่ กลุ่มคนป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความพิการ ที่จำเป็นต้องได้รับการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความพิการ กลุ่มคนป่วยที่เกิดความพิการแล้ว ซึ่งต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพกลุ่มคนพิการที่เจ็บป่วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับและเข้าถึงบริการสุขภาพที่รวดเร็วและมีคุณภาพ “คนพิการจำเป็นต้องได้รับ การประเมินและขึ้นทะเบียนคนพิการ”

กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดให้มีศูนย์บริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาลตั้งแต่ ปี 2563 โดยมีพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำจังหวัด มาร่วมให้บริการ รับคำร้องขอมีบัตรและออกบัตรคนพิการ ณ โรงพยาบาล และให้บริการส่งต่อ เพื่อรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ การรับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ ส่งต่อทางการศึกษา การประกอบอาชีพ ตามความเหมาะสม จนถึงปัจจุบันแม้ว่าประเทศไทยจะมีศูนย์บริการดังกล่าวแล้วอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง แต่ด้วยข้อจำกัด หลายประการยังทำให้การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จไม่สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมทุกโรงพยาบาล ซึ่งส่งผลให้คนพิการมีความยากลำบากในการเข้าถึง การขึ้นทะเบียนคนพิการ

การพัฒนาแพลตฟอร์ม “การตรวจประเมินและออกเอกสารรับรอง ความพิการแบบอิเล็กทรอนิกส์” ให้เชื่อมโยงกับ “ระบบคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ” ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภายใต้ระบบอิเล็กทรอนิกส์คนพิการ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ให้สามารถเข้ารับการประเมินวินิจฉัยความพิการจากแพทย์วันใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรอวันที่พัฒนาสังคมจังหวัดเข้ามาให้บริการที่โรงพยาบาล และไม่จำเป็นต้องถือเอกสารไปยื่นที่ศาลากลางจังหวัดด้วยตนเอง เนื่องจากระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงระหว่างสองกระทรวง จะทำให้คนพิการสามารถเข้าถึงการมีบัตรประจำตัวคนพิการได้อย่างสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ช่วยลดขั้นตอน ระยะเวลาการเดินทาง และค่าใช้จ่าย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมโรงพยาบาลนำร่อง 40 แห่งทั่วประเทศ เพื่อทดลองการใช้งานระบบและจะขยายผลไปยังโรงพยาบาลรัฐแห่งอื่นๆ ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 มิถุนายน 2567

“รมช.สันติ ” สานความร่วมมือเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 11 ส่งเสริมนวัตกรรมพัฒนาสมุนไพรสร้างมูลค่าดูแลสุขภาพด้วยยาพื้นถิ่น

,

“รมช.สันติ ” สานความร่วมมือเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 11
ส่งเสริมนวัตกรรมพัฒนาสมุนไพรสร้างมูลค่าดูแลสุขภาพด้วยยาพื้นถิ่น

เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ดร.ไพวัน แก้วปะเสิด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข สปป.ลาว เป็นประธานเปิดการประชุมเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 11 ภายใต้แนวคิด “การเอาชนะวิกฤตโรคระบาดโควิด – 19 ด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ดั้งเดิม” ระหว่างวันที่ 12-14 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมรอยัลนาคาราและคอนเวนชั่นฮอล์หนองคาย จ.หนองคาย
มีผู้ร่วมประชุม ทั้งจากหมอพื้นบ้าน นักวิชาการ ผู้ประกอบการ และสถาบันการศึกษา และผู้แทนจากประเทศสมาชิก 6 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา จีน สปป.ลาว เมียนม่า เวียดนาม และไทย เพื่อเชื่อมโยงการแพทย์พื้นบ้านกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมความร่วมมือ และเสริมสร้างรากฐานภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน โดยการอาศัยภูมิปัญญาร่วมกันของภูมิภาคนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพยุคใหม่อย่างสร้างสรรค มีสุขภาพที่ดีขึ้นสำหรับทุกคนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

นายสันติ กล่าวว่า ลุ่มแม่น้ำโขง เป็นภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำที่กว้างใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 6 ประเทศ มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่จำนวนมาก และบางชาติพันธุ์มีความสัมพันธ์ร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมา ภาษา ประเพณี และวัฒนธรรม รวมทั้งการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ชาติพันธุ์ที่ยังคงมีบทบาทในการดูแลสุขภาพ การป้องกัน และรักษาโรคในชุมชน นับเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ด้านการรักษาพื้นบ้าน อันเก่าแก่ยาวนาน ตลอดจนเป็นแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมอันหลากหลาย ชุมชนต่าง ๆ ได้อาศัยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ในการรักษาโรค และส่งเสริมสุขภาพ

“ปัจจุบันองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) และรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก รวมถึงประเทศจากภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง ได้ตระหนักถึงการนำภูมิปัญญาการแพทย์ดั้งเดิมและการแพทย์พื้นบ้านมาใช้ดูแลสุขภาพประชาชน โดยองค์การอนามัยโลกได้มีการวางแผนยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์ดั้งเดิม (WHO Traditional Medicine Strategy) ขึ้น
เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการแพทย์ดั้งเดิมและการแพทย์เสริมของโลก” นายสันติ กล่าว

นายสันติ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยและประเทศที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงอยู่ในเขตร้อนชื้นที่มีความเหมาะสมในการปลูกพืชสมุนไพร ที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน โดยเฉพาะประเทศไทยยาสมุนไพรเกือบทุกประเภทเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 600 ปี และยังรักษาต่อยอดสมุนไพรเหล่านี้เพื่อนำมารักษาควบคู่กับวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ และที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขมีหน่วยงานในการวิจัยถึงศักยภาพเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับประทานยาเหล่านี้เป็นอาหารในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเป็นการสร้างเสริมเศรษฐกิจให้กับประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 6 ได้ด้วย

“ที่ผ่านมาได้มีการวิจัยสมุนไพรมาระดับหนึ่งแล้วพบว่า สมุนไพรชนิดหนึ่งเมื่อนำไปปลูกในดินแต่ละแห่ง ซึ่งสภาพดินไม่เหมือนกัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพและรสชาติจะแตกต่างกัน หากมีความร่วมมือกับ สปป.ลาว ในการส่งเสริมวิจัยทำให้สมุนไพรเป็นอาหารได้โดยมีสรรพคุณเป็นยาเพื่อนำมาสร้างเสริมสุขภาพและสร้างเสริมนวัตกรรมของสมุนไพรให้เจริญก้าวหน้า เพื่อให้ประชาชนที่รับประทาน วันนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ 6 ประเทศไทย ได้จับมือร่วมกันพัฒนาพืชสมุนไพรและนวัตกรรมที่จะเกิดประโยชร์ต่อพี่น้องประชาชน โดยเมื่อทำการวิจัยและจัดทำเป็นรูปแล่มแจกจ่ายทุกครัวเรือน” นายสันติ กล่าว

ทั้งนี้ภายในงานมีกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การนำเสนอผลงานและการอภิปราย การสาธิตภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านเด่น (Show case) การศึกษาดูงานเส้นทางท่องเที่ยวสุขภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพรในราชอาณาจักรไทย และสวนพฤกษศาสตร์ใน สปป.ลาว ตลอดจนการประชุมคณะกรรมการด้านวิชาการและด้านการคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์ดั้้งเดิมและพันธุกรรมพืชสมุนไพร เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานร่วมกันของประเทศลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะทำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือและระบบข้อมูลสำคัญในการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ อาทิ ฐานข้อมูลหมอพื้้นบ้านกว่า 50,000 คน และตำรับยาแผนไทย/พื้นบ้าน กว่า 250,000 ตำรับ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ สร้างเศรษฐกิจและรายได้ให้กับประชากรลุ่มน้ำโขงในอนาคต

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 มิถุนายน 2567

“สันติ” รมช.สธ.เปิดศูนย์เวลเนส รพ.ห้วยเกิ้ง หนุนแพทย์แผนไทยผสมผสานฟื้นฟูสุขภาพ ปชช.

,

“สันติ” รมช.สธ.เปิดศูนย์เวลเนส รพ.ห้วยเกิ้ง หนุนแพทย์แผนไทยผสมผสานฟื้นฟูสุขภาพ ปชช.

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานมหกรรมสุขภาพ การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและเปิดอาคาร Wellness Center โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จ.อุดรธานี เพื่อบูรณาการงานรักษาแบบบูรณาการด้วยทีมสหวิชาชีพในการฟื้นฟูและปรับสมดุลในร่างกายด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์ผสมผสานแลบองค์รวม พร้อมเยี่ยมชมบูธนิทรรศการ และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลห้วยเกิ้งตามจุดต่างๆ อาทิ บูธนิทรรศการการแพทย์แผนไทย , บูธนิทรรศการการให้ความรู้ด้านยาเสพติดให้ , บูธนิทรรศการผลิตภัณฑ์ด้านสมุนไพร , บูธนิทรรศการวิสาหกิจชุมชน , บูธนิทรรศการการแพทย์พื้นบ้านภูมิปัญญาไทย และเยี่ยมชมโรงผลิตยาสมุนไพรที่ได้มาตรฐานของโรงพยาบาล

นายสันติ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขขับเคลื่อนนโยบาย 5 + 5 เพื่อเร่งรัดพัฒนาสานต่อ โดยการยกกระดับมาตรฐานการแพทย์แผนไทยและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจสุขภาพ ซึ่งเป็น 1 ใน 5 นโยบายที่จะเร่งพัฒนาให้เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพอนามัยที่ครอบคลุมงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยนำเวชศาสตร์วิถีชีวิตแบบบูรณาการ สู่การดูแลสุขภาพประชาชนในทุกพื้นที่ และช่วยเหลือสนับสนุนการบริหารงานของโรงพยาบาล ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถเพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

“ปัจจุบันความต้องการใช้บริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการขยายบริการให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยโรงพยาบาลห้วยเกิ้ง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลนำร่องด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ผสมผสาน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีจนเป็นที่ยอมรับ ให้บริการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีทีมสหวิชาชีพคอยดูแล ให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้บริการในทุกขั้นตอน โดยการบูรณาการทางการแพทย์ให้บริการทางทันตกรรมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิต และยังเป็นศูนย์ประสานงานเวชศาสต์ครอบครัวออกเยี่ยมบ้านด้วยทีมวิชาชีพ” นายสันติ กล่าว

นอกจากนี้ยังมีโรงผลิตยาสมุนไพรที่ผ่านการตรวจประเมินมาตรฐานการผลิตยาสมุนไพร WHO GMP มีการควบคุมคุณภาพเพื่อให้ได้ยาสมุไพรที่ได้มาตรฐานเพื่อใช้ในโรงพบาบาลและกระจายออกไปสู่ทุกโรงพยาบาลใน จ.อุดรธานี โดยผลิตภัณฑ์ที่ออกจำหน่ายได้แก่ น้ำมันนวด ยาดมสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพร และสมุนไพรชนิดแคปซูน 5 ตำหรับ ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน มะขามแขก เพชรสังฆาต และเถาวัลย์เปรียง นอกจากนี้ยังมีน้ำมันกัญชาขมิ้นทองสูตรเฉพาะของโรงพยาบาลอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 มิถุนายน 2567

“สันติ” รมช.สธ. ดัน 2 นโยบายยกระดับสุขภาพประชาชน แก้วิกฤตบุคลากรทางการแพทย์ขาดแคลน-เด็กเกิดน้อย

,

“สันติ” รมช.สธ. ดัน 2 นโยบายยกระดับสุขภาพประชาชน
แก้วิกฤตบุคลากรทางการแพทย์ขาดแคลน-เด็กเกิดน้อย

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 9 อาคารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมประชุมกำหนดทิศทางการดำเนินงานกระทรวงสาธารณสุข ปี 2567-68 ได้มอบนโยบายแก่ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข สาธารณสุขจังหวัด และเขตสุขภาพ 13 เขตทั่วประเทศ ว่า ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงเพื่อยกระดับการบริการและหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับ ให้ก้าวทันโลกอนาคตเพื่อขยายบทบาทการดูแลระบบสุขภาพคนไทยไปสู่การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่ทำให้คนทั้งโลกได้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ

“การพัฒนาระบบสุขภาพที่ดีที่สุดให้กับพี่น้องประชาชนชาวไทยเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ แต่การดูแล และเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรสาธารณสุขก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน จากประสบการณ์ที่ผมลงพื้นที่ในจังหวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะในเขตชนบทได้ทราบถึงปัญหาด้านบุคลากรทางการแพทย์ที่ขาดแคลน ขณะที่ภาระงานล้นมือ ส่งผลในการสร้างเสริมสุขภาพในอนาคตจะเกิดประสิทธิภาพน้อยลง โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาดูแลรักษาพี่น้องประชาชนให้เกิดความแม่นยำ จึงขอฝากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขผลักดันเป็นนโยบายของกระทรวง” นายสันติ กล่าว

ทั้งนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตของประชากร เนื่องจากมีประชากร 67 ล้านคน ต้องมีอัตราการเกิดปีละกว่า 8 แสนคน แต่จากเลขพบว่าที่ผ่านมามีการเกิดกว่า 480,000-510,000 คน ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐาน ส่งผลให้ในอนาคตจะขาดบุคลากรในทุกด้าน หากกระทรวงได้ใช้นโยบายในการสร้างขวัญและกำลังใจในครอบครัวใหม่ๆ หรือสุภาพสตรีที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ เพื่อให้ความมั่นใจในการมีบุตรทางรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขก็จะช่วยดูแลเพื่อให้เกิดความมั่นคงในการคลอดบุตรและเลี้ยงบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตา ขอให้ความมั่นใจกับทุกท่านว่า ไม่ได้นิ่งนอนใจ และเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาและผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้เพียงพอต่อการบริการสุขภาพแก่ประชาชนอย่างมีคุณภาพและการเพิ่มจำนวนประชากร วันนี้ถือเป็นโอกาสดีในการผนึกกำลังเพื่อร่วมกันขับเคลื่อน และผลักดันการพัฒนาการสาธารณสุขไทยทั้งระบบให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 พฤษภาคม 2567

“สันติ รมช.สธ.” เปิดประชุมเชิงปฏิบัติการ คสช.มุ่งยกระดับสุขภาพปชช. ระดมสมองแก้วิกฤตเด็กเกิดน้อย-ยาเสพติดระบาดในเยาวชนเสนอรัฐบาล

,

“สันติ รมช.สธ.” เปิดประชุมเชิงปฏิบัติการ คสช.มุ่งยกระดับสุขภาพปชช.
ระดมสมองแก้วิกฤตเด็กเกิดน้อย-ยาเสพติดระบาดในเยาวชนเสนอรัฐบาล

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เป้าหมาย ทิศทาง หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เพื่อระดมความเห็น ด้านส่งเสริมหน่วยงานหรือองค์กร ที่จะมุ่งขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะร่วมกัน นำไปสู่การสร้าง “สุขภาพ” หรือ “สุขภาวะ” ของประชาชน ที่ห้องประชุม Sapphire 2 – 3 โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ อ.เมือง จ.นนทบุรี

ทั้งนี้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้มีส่วนทำให้ประชาชน เข้าใจและสามารถวางแผนด้านสุขภาพมากขึ้นและยังคงผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งทางด้านสุขภาพจิตของประชาชนที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย โดยเฉพาะครอบครัวใหม่ๆกังวลเรื่องการมีบุตร ทำให้ปัจจุบันอัตราการเกิดของประชาชนต่ำกว่าเป้าหมายหรืออยู่ในขั้นวิกฤต โดยประเทศไทยมีประชากร 66-67 ล้านคน ต้องมีอัตราการเกิดปีละกว่า 8 แสนคน แต่ที่ผ่านมา มีการเกิดกว่า 400,000 คน ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตด้านแรงงานที่จะหายไปกว่าครึ่ง และจากการลงพื้นที่พบประชาชนในชนบทและชุมชนเมืองพบว่า ครอบครัวใหม่ๆ มีความกังวลในการมีบุตร เนื่องจากขาดศักยภาพในการเลี้ยงดู และพร้อมมีบุตรเมื่อครอบครัวมีฐานะมั่นคงขึ้น ดังนั้นจึงอยากให้ร่วมกันระดมความคิดในการวางแนวทางการส่งเสริมการมีบุตรมากขึ้น เพื่อเสนอปัญหาดังกล่าวไปยังรัฐบาลต่อไป

“จากการลงไปเยี่ยมสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมแต่ละแห่งพบว่า มีแรงงานประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในทุกรูปแบบต่างๆเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงเด็ก และเป็นพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม ที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายมากกว่า 3 ล้านคน และส่วนที่เข้ามาไม่ถูกต้องตามกฎหมายมีอีกกว่า 2 ล้านคน โดยรวมแล้วมีถึง 6 ล้านคน แต่ละวันจ่ายค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ใน 1 ปี ต้องจ่ายเงินจ้างแรงงานประเทศเพื่อนบ้านเกินกว่า 7 แสนล้านบาท ดังนั้นเงินที่ใช้จะต้องมีประสิทธิภาพ หากนำมาใช้ในการเพิ่มจำนวนประชากรก็จะสามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้ในอนาคต สิ่งเหล่านี้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จะเข้ามามีบทบาทในการเสริมการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขได้เป็นอย่างดี เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลสนใจเรื่องเหล่านี้” นายสันติ กล่าว

สำหรับประเด็นของปัญหาเรื่องยาเสพติด ที่มีผลต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชน และกระทบเศรษฐกิจของประเทศด้วย เช่น ยาบ้า 1 เม็ด 5 เม็ด หรือ 10 เม็ด ในอดีตเป็นสิ่งที่ทำลายพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ซึ่งจากการลงพื้นที่ไปยังชุมชนเมืองและชุมชนต่างจังหวัด บรรดาลูกหลานจำนวนมากเป็นทั้งผู้ค้าและผู้เสพ การปราบปรามของกระบวนการยุติธรรมยังไม่รัดกุม ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของวัยที่ใช้แรงงาน ก่อให้เกิดวิกฤตด้านการเรียนรู้ เนื่องจากไปทำลายระบบประสาทไม่สามารถพัฒนาด้านการเรียนรู้ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ได้ ส่งผลต่อสุขภาพครัวเรือน และสุขภาพจิตของพี่น้องประชาชนอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 พฤษภาคม 2567

“สันติ รมช.สธ.” ดัน อ.หัวหิน พื้นที่นำร่องด้านท่องเที่ยวปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นปชช. – นักท่องเที่ยว รับบริการสาธารณสุขไทย

,

“สันติ รมช.สธ.” ดัน อ.หัวหิน พื้นที่นำร่องด้านท่องเที่ยวปลอดภัยสร้างความเชื่อมั่นปชช. – นักท่องเที่ยว รับบริการสาธารณสุขไทย

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจราชการก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่พื้นที่ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 (ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร) เพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และจังหวัดนำร่องด้านนักท่องเที่ยวปลอดภัย (SAFETY TOURISM) ของโรงพยาบาลหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในการพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นสามารถรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพภาคการท่องเที่ยวของประเทศ สอดรับนโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว

ทั้งนี้ อ.หัวหิน เป็นพื้นที่ดำเนินการตามมาตรการ นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องการท่องเที่ยวปลอดภัยตาม 4 มาตรการ ประกอบด้วย 1. ยกระดับระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพให้ได้มาตรฐานทันเวลา ทันต่อสถานการณ์ โดยเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวปลอดโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies Free Zone) และได้ผลักดันการประเมินรับรองพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า 3 อำเภอ ได้แก่ หัวหิน บางสะพาน และทับสะแก
2. ยกระดับบริการการแพทย์ฉุกเฉิน รวมถึงระบบสาธารณสุขฉุกเฉินให้ครอบคลุม โดยทำงานร่วมกับหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินสังกัดโรงพยาบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิต่างๆ ระบบส่งต่อรักษา ที่มีการแบ่งเป็นเครือข่าย โซนเหนือมีโรงพยาบาลหัวหินเป็นแม่ข่าย และโซนใต้มีโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์เป็นแม่ข่าย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที ลดการส่งต่อระยะทางไกล รวมมีความพร้อมระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งทางบก ทางน้ำ และอากาศ ทำงานเป็นเครือข่ายแบบไร้รอยต่อ ช่วยให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับบริการที่ศักยภาพและเกิดความมั่นใจ

3. ยกระดับเรื่องที่พักและอาหารปลอดภัยมีอาหารริมบาทวิถี (SAN Plus Street Food Good Health) ระดับดีขึ้นไป 2 แห่ง คือ ถนนคนเดินเมืองประจวบฯ และตลาดลงเลสามร้อยยอด มีสถานที่จำหน่ายอาหาร SAN Plus (CFGT+) 5 แห่ง SAN (CFGT) ระดับพื้นฐาน 80 แห่ง, ทุกอำเภอมีร้านเมนูชูสุขภาพรวม 51 ร้าน 155 เมนู, โรงแรมประเภท 4 ที่ผ่านมาตรฐาน GHH 100% 4แห่ง, โรงแรมประเภท 2,3,4 ผ่านมาตรฐาน GHH 34แห่ง, มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว GREEN Health Attraction ที่ วนอุทยานหาดวนกร อ.ทับสะแก และน้ำประปาในที่พักที่กิน ที่เที่ยว ผ่านเกณฑ์คุณภาพน้ำทางด้านแบคทีเรียครบ 100% และ 4.การจัดตั้งหรือยกระดับศูนย์เวชศาสตร์การเดินทางการท่องเที่ยว

นายสันติ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีความตั้งใจที่จะดูแล ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นประชาชน และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่ได้มาท่องเที่ยว จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ ที่ได้สนองนโยบายการท่องเที่ยวปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ได้เดินทางมาเที่ยว ให้เกิดความไว้วางใจในการบริการ สาธารณสุขที่จะดูแลอย่างดีเยี่ยม ทำให้ยกระดับเศรษฐกิจ ดีขึ้น ระบบการแพทย์ของสาธารณสุข ตอบสนองการท่องเที่ยว ของท่องเที่ยวดีเยี่ยมมีการเฝ้าระวังให้นักท่องเที่ยวเกิดความปลอดภัยก็จะเกิดความอบอุ่น

“ใน 8 อำเภอ มีปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังขาดแคลน เช่น อ.ปราณบุรี มีแพทย์ 7 คน ถือว่าน้อยมาก อ.สามร้อยยอด มีแพทย์ 3 คน อ.กุยบุรี มีแพทย์ 3 คน อ.ทับสะแก มีแพทย์ 5 คน อ.บางสะพานมีแพทย์ 14 คน ซึ่งจริงๆแล้วแพทย์จะต้องดูแลผู้ป่วย ไม่ว่าจะฉุกเฉิน และ กลางคืน จะต้องเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง หากมีแพทย์จำนวนน้อย ประสิทธิภาพการทำงานก็จะลดลง สิ่งเหล่านี้จะมีความสำคัญ ในการดูแลพี่น้องประชาชน แม้แพทย์มีความตั้งใจ เอาใจใส่ในการทำงาน แต่คงไม่มีประสิทธิภาพสูงสุด ปัญหาประเด็นเหล่านี้ อยากให้รายงานเข้าไปที่กระทรวงสาธารณสุขได้ทราบ เพื่อจะผลักดัน ให้เกิดการผลิตแพทย์ให้เกิดความเพียงพอ” นายสันติ กล่าว

หลังจากนั้นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมคณะลงพื้นที่จุดให้บริการฉีดวัคซีนนอกสถานที่ ณ ห้างสรรพสินค้ามาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน ซึ่งเป็นจุดบริการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามนโยบายสาธารณสุขประจำปี 2507 เป็นวัคซีนตามนโยบายนักท่องเที่ยวปลอดภัย ซึ่ง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้รับการจัดสรร 1,900 โดส ทั้งหมดมาลงที่ อ.หัวหิน ให้กับกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1.ผู้บริการด้านขนส่งสาธารณะ กลุ่มที่ 2. ผู้ให้บริการสถานที่พัก และ กลุ่มที่ 3 ผู้ประกอบการบริการสถานบริการ พร้อมพบปะผู้ประกอบการร้านค้าโดยได้นำมาตรฐาน SAN ในศูนย์อาหารมาตรฐาน Clean Food Good Taste หลังจากนั้นเดินทางตรวจเยี่ยมสถานประกอบการที่พักโรงแรมบ้านทะเลดาว ซึ่งเป็นบ้านพักตากอากาศใกล้ชายหาดเขาตะเกียบ สร้างเป็นบูติกรีสอร์ท ที่มีความเป็นธรรมชาติผ่านการรับรองตามมาตรฐาน SHA Plus มีพนักงานได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว มากกว่า ร้อยละ 70 และเดินทางต่อเยี่ยม บ้านกางมุ้ง สลีปอีซี่ โฮสเทล หัวหิน (Sleepeasy Hostel Hua Hin by Baan Kangmung) ที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน SHA Extra Plus อีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 พฤษภาคม 2567

“สันติ” รมช.สธ. คิกออฟรณรงค์หยุดมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย โชว์นวัตกรรมการแพทย์ HPV DNA Test แยก 14 สายพันธุ์ บริการสตรีเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง

,

“สันติ” รมช.สธ. คิกออฟรณรงค์หยุดมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย โชว์นวัตกรรมการแพทย์ HPV DNA Test แยก 14 สายพันธุ์ บริการสตรีเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดโครงการ “รณรงค์หยุดมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย FINDING HPV STOPCERVICALCANCER” ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากการเก็บตัวอย่างด้วยตนเองด้วยวิธี HPV DNA Test แบบแยก 14 สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย จัดทำโครงการดังกล่าวเพื่อสร้างความตระหนักให้สตรีไทย เห็นถึงความสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูก พร้อมมอบสัญลักษณ์การดำเนินโครงการหยุดมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ให้กับผู้แทนเขตสุขภาพ 13 เขต โดยมีนายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

นายสันติ กล่าวว่า การประชุม Finding HPV Stop Cervical Cancer ค้นเชื้อมะเร็งปากมดลูกในวันนี้ กระทรวงสาธารณสุขกำหนดนโยบายยกระดับ 30 บาท เพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน โดยมีนโยบาย “มะเร็งครบวงจร” เป็น 1ใน 13 ประเด็นมุ่งเน้น ซึ่งดำเนินการครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกัน คัดกรอง วินิจฉัยรักษา ดูแลฟื้นฟูกายและใจ โดยเฉพาะมะเร็งซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูกพบมาก 1 ใน 5 ของมะเร็ง ที่พบบ่อยในหญิงไทย สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเอชพีวี ปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบายการฉีดวัคซีนเอชพีวีให้กับหญิงอายุตั้งแต่ 11-20 ปีทุกคน ซึ่งที่ผ่านมามีการฉีดวัคซีนไปกว่า1ล้านคนแล้ว

นอกจากนี้การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการป้องกันมะเร็ง โดยกระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ให้หญิงไทยที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 5 ปี จึงขอเชิญชวนหญิงไทยอายุ 30 – 60 ปีบริบูรณ์ เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจหา HPV DNA จากการเก็บตัวอย่างด้วยตนเองแบบแยก 14 สายพันธุ์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาระยะเริ่มต้นและเพิ่มโอกาสในการรักษาหายขาดได้ เพื่อให้สตรีไทยมีสุขภาพดี ปลอดจากมะเร็งปากมดลูก เพิ่มความเข้มแข็งด้านการดูแลสุขภาพประชาชน และส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย

“โรคมะเร็งเป็นภัยร้ายแรงของพี่น้องชาวไทย และประชากรโลก โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก ได้คุกคามสตรีไทยมาหลายสิบปี กระทรวงสาธารณสุขมีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะตรวจมะเร็งให้กับสุภาพสตรีก่อนที่จะพบว่าเป็นมะเร็งแล้ว หรืออยู่ในระยะลุกลาม ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาตรวจคัดกรองได้ด้วยตนเอง โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่มีอยู่ในเกือบทุกภูมิภาคของประเทศไทยได้ตรวจคัดกรองตั้งแต่ ดีเอ็นเอว่า มีญาติที่น้องที่มีเชื้อจะนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้หรือไม่ และเมื่อตรวจเจอมะเร็งตั้งแต่เริ่มต้นสามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ โดยในอดีตที่สุภาพสตรีต้องไปขึ้นขาหยั่งเพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกก็จะทำให้เขินอาย ปัจจุบันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีชุดตรวจสามารถขอไปตรวจเองและส่งให้กับหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อตรวจวิจัยและส่งผลกลับไปให้กับประชาชน เพื่อคัดกรองตั้งแต่เบื้องต้น ลดการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตได้” นายสันติ กล่าว

จากข้อมูลภาพรวมของประเทศสตรีไทยที่จะต้องตรวจคัดกรองภายใน 5 ปี (ปี 2564- ปี2568) จำนวน 15,677,638 คน โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา มีเป้าหมาย 3,135,528 คน แต่ได้รับการตรวจคัดกรองเพียง 613,254 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.6 เท่านั้น และพบว่ายังมีสตรีไทยที่ไม่เคยไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจภายในและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเลย จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน เนื่องจากมีความเขินอาย การขาดความรู้ความ และการเข้าไม่ถึงระบบประกันสุขภาพ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ธันวาคม 2566

“รมช.สันติ” หนุนผลิตผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การจราจร เพิ่มประสิทธิภาพช่วยเหลือปชช.ทั่วถึง

,

“รมช.สันติ” หนุนผลิตผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การจราจร เพิ่มประสิทธิภาพช่วยเหลือปชช.ทั่วถึง
นำเทคโนโลยีพัฒนาระบบ ยกระดับด้านความปลอดภัยลดการสูญเสียชีวิต-ทรัพย์สินบนท้องถนนทุกเส้นทาง

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2566 สมาคมเวชศาสตร์การจราจร หัวข้อ “ภาพใหม่เชิงระบบสู่งานเวชศาสตร์การจราจร เทคโนโลยี การจัดการ และเวชปฏิบัติ” (New Ecology of Traffic Medicine: Technology, Management & Clinical practice) เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาความรู้และทักษะงานเวชศาสตร์การจราจร ทั้งด้านเทคโนโลยียานยนต์และการขนส่ง รูปแบบการจัดการจราจรยุคใหม่ นวัตกรรมด้านความปลอดภัย วิทยาการทางการแพทย์ด้านการป้องกันและการรักษาเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดจากการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรของประเทศไทย โดยมี นพ.อำนวย กาจีนะ นายกสมาคมเวชศาสตร์การจราจร กรรมการบริหารสมาคม คณะผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับอุบัติเหตุและความปลอดภัยทางถนน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ที่โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จ.นนทบุรี

นายสันติ กล่าวว่า เวชศาสตร์การจราจรเป็นวิทยาการทางการแพทย์เน้นการศึกษาวิเคราะห์ ระบบการป้องกันความเสี่ยงภัยจากความปลอดภัยทางการจราจรและการตรวจประเมินสมรรถนะทางร่างกาย เพื่อวินิจฉัยโรคและภาวะที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการขับขี่ยานยนต์ ก่อนให้การรับรองทางการแพทย์หรือให้คำแนะนำ เพื่อการรักษาหรือป้องกันอย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นแขนงความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ ที่ท้าทายการพัฒนาให้เท่าทันกับยุคสมัยที่ระบบการจราจรมีปริมาณและความชับซ้อนมากขึ้น ตามความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม การมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การจราจรที่มีความรู้ความสามารถ และมีจำนวนที่เพียงพอทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ที่จะมีส่วนสำคัญต่อการลดปัญหาการบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการจราจรได้

“การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจร สร้างความสูญเสียทางสังคมและเศรษฐกิจให้กับประเทศเป็นอย่างมาก จากการศึกษาของ TDRI ในปี 2562 พบว่า มีมูลค่าความสูญเสียรวม 642,743 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.9 ของ GDP และในปีเดียวกันนี้ พบว่า มูลค่าความเสียหายต่อรายกรณีเสียชีวิต มีมูลค่าสูงได้ถึง 6.7ล้านบาทต่อราย และกรณีบาดเจ็บ 2 ล้านบาทต่อราย เป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ป้องกันได้ ซึ่งจากรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนขององค์การอนามัยโลกฉบับล่าสุดในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า ค่าเฉลี่ยของอัตราการตายจากการจราจรทั้งโลกอยู่ที่ 15 ต่อแสนประชากร โดยประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากการจราจร 25 ต่อแสนประชากร สูงเป็นอันดับที่ 21 ของโลก แต่ถ้านับจากผู้เสียชีวิตที่มีจำนวน 18,218 คน จะอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก ซึ่งดีขึ้นกว่าสถานการณ์ในรายงานฉบับก่อนหน้านี้”

“กระทรวงสาธารสุขเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การจราจรปฏิบัติงานในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชนให้มากขึ้น รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานคุณภาพของระบบการฝึกอบรม และการสนับสนุนให้มีจำนวนสถาบันฝึกอบรมเพิ่มมากขึ้น ครอบคลุมทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ทั่วประเทศ หรือทุกหน่วยงาน ทั้งจราจรทางหลวง ทางด่วน ทางหลวงชนบท เพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชน ให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและรวดเร็ว ที่สำคัญยังเป็นการป้องกันไม่ได้เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดอุบัติเหตุน้อยลง”

นายสันติ กล่าวอีกว่า หากมีการอบรมบุคลากรในชนบท ทั้งตำรวจ ฝ่ายปกครอง ให้มีความพร้อมทางเวชศาสตร์การจราจรก็จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะแนวคิดที่งานเวชศาสตร์การจราจรกระจายตัวไปยังภูมิภาคต่าง ก็จะเป็นการส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนให้กับนักท่องเที่ยวได้ และเมื่อเกิดอุบัติเหตุยังมีการเตรียมความพร้อม ความรวมเร็วในการรักษาชีวิตไว้ได้ เพราะการท่องเที่ยวต้องอาศัยการเดินทางเป็นหลัก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566