โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 21 ธันวาคม 2023

‘รมว.ธรรมนัส’ โชว์ผลงาน “เกษตรฯ 99 วันทำได้จริง! 6 โนบาย รุกช่วยเกษตรกรทั่วประเทศ ใช้‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม หารายได้’ ยกระดับราคายาพารา ข้าว ขับเคลื่อนภาคเกษตรไทย

,

‘รมว.ธรรมนัส’ โชว์ผลงาน “เกษตรฯ 99 วันทำได้จริง! 6 โนบาย รุกช่วยเกษตรกรทั่วประเทศ ใช้‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม หารายได้’ ยกระดับราคายาพารา ข้าว ขับเคลื่อนภาคเกษตรไทย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากนโยบายของ รัฐบาลด้านการเกษตร โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งกำหนดแนวทาง “ตลาด นำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินภารกิจเพื่อขับเคลื่อนนโยบายของ รัฐบาลให้บรรลุเป้าหมาย โดยกำหนดนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างครอบคลุม ทั้งนโยบายพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเน้นโครงการพระราชดำริ นโยบายระยะสั้น ในการ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ตลอดจนนโยบายระยะกลาง และ ระยะยาว เพื่อสร้างรายได้ สร้างโอกาส และสร้าง คุณภาพชีวิต โดยมีผลการดำเนินงานในโครงการสำคัญ ระยะเวลา 99 วัน (ตั้งแต่ 1 กันยายน – 8 ธันวาคม 2566) ดังนี้

นโยบายพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขับเคลื่อนโครงการพระราชดำริ ในโครงการจัดงานมหกรรมเพื่อเฉลิม พระเกียรติฯ และจัดงานนิทรรศการหมุนเวียน ประชาชนได้รับความรู้ ไม่น้อยกว่า 3,000 ราย ดำเนินการเผย แพร่ แนวพระราชดำริและสร้างความตระหนักเรื่องดิน ผ่านกิจกรรม วันดินโลก ผู้ร่วมงานทั้ง Onsite และ Online ประมาณ 118,594 ราย จัดโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารแล้ว 11 จังหวัด เกษตรกรในพื้นที่ห่างไกลได้เข้าใช้บริการไม่น้อยกว่า 1,100 ราย (เป้าหมายทั้งปี 77 จังหวัด 7,700 ราย) พร้อมจัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ถวายเป็นพระราชกุศล 13 ตุลาคม “วันนวมินทรมหาราช” จำนวน 700,000 ตัว ตลอดจนดำเนินโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อ เกษตรกร ตามพระราชดำริ (ธคก.) เกษตรกรได้รับการสนับสนุน โค-กระบือ จำนวน 2,120 ราย รวมโค- กระบือ จำนวน 2,368 ตัว คิดเป็นมูลค่า 66,348,000 บาท เกษตรกรได้รับมอบกรรมสิทธิ์ โค-กระบือ จำนวน 2,634 ราย โค-กระบือ จำนวน 3,517 ตัว คิดเป็นมูลค่า 71,928,850 บาท

2. นโยบายแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
เร่งเตรียมมาตรการรองรับภัยพิบัติ โรคระบาดพืช และสัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพการบริการจัดการน้ำในช่วงวิกฤติภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ 40,387 ล้านลูกบาศก์เมตร วางแผน จัดสรรน้ำฤดูแล้ง 21,810 ล้านลูกบาศก์เมตร (อุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ เกษตรฤดูแล้ง อุตสาหกรรม) พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง 5.8 ล้านไร่ สำรองน้ำต้นฤดูฝน 18,577 ล้านลูกบาศก์เมตร และเพิ่ม ปริมาณฝนในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ 22 ล้านลูกบาศก์เมตร กระจายน้ำจากแหล่งน้ำขนาดเล็กที่ได้ดำเนินการ ร่วมกับชุมชนเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง เกษตรกรพื้นที่สูงได้รับประโยชน์ 5,350 ราย พื้นที่ 8,142 ไร่ อำนวยการรองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดย ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร จำนวน 4,539 ราย จำนวนเงินช่วยเหลือ 25.630 ล้านบาท ตลอดจนให้การสนับสนุนเสบียงสัตว์ หญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน ช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัย จำนวน 675,820 กิโลกรัม เกษตรกรได้รับการช่วยเหลือ 6,675 ราย และสนับสนุนอาหาร สัตว์ช่วยเหลือทั่วไป จำนวน 49,440 กิโลกรัม แก่เกษตรกร 949 ราย

ประกาศปราบปรามสินค้าเกษตรเถื่อน ดำเนินการตรวจสอบห้องเย็นทั่วประเทศ โดยบูรณาการร่วมกัน ระหว่าง กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมส่งเสริมการเกษตร ทั้งหมด 107 จุด ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ แพร่ มุกดาหาร หนองคาย บึงกาฬ สุรินทร์ สระแก้ว ตราด จันทบุรี ระยอง ระนอง กาญจนบุรี และสมุทรปราการ สำหรับการตรวจสอบห้องเย็นด้านปศุสัตว์ 2,437 แห่ง และด้านประมง 2,062 แห่ง มีการบังคับใช้กฎหมาย ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 และ พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการ จำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559 จำนวน 159 ครั้ง ของกลางซากสัตว์ 4,573.25 ตัน มูลค่าของกลาง 472.29 ล้านบาท

แบ่งเป็น (1) สินค้าปศุสัตว์ลักลอบนำเข้า 18 ครั้ง ของกลางซากสัตว์ 1,151.05 ตัน มูลค่าของ กลาง 159.11 ล้านบาท (2) การกระทำผิดกฎหมายภายในประเทศ 141 ครั้ง ของกลางซากสัตว์ 3,422.20 ตัน มูลค่าของกลาง 313.18 ล้านบาท ปราบปรามปัจจัยผลิตทางการเกษตรผิดกฎหมาย มูลค่า กว่า 34 ล้านบาท อาทิ ด่านท่าเรือกรุงเทพฯ การลักลอบนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรผิด กฎหมาย จำนวน 208,000 ลิตร มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท จ.กาญจนบุรี และ จ.พระนครศรีอยุธยา เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและอายัดปุ๋ยผิดกฎหมาย (ปุ๋ยอินทรีย์ (ยางพารา) และปุ๋ยเคมี) จำนวน 614.75 ตัน มูลค่ากว่า 9 ล้านบาท และ จ.เชียงใหม่ จ.กาญจนบุรี และ กรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่ เข้าตรวจสอบและอายัดวัตถุอันตรายทางการเกษตรผิดกฎหมาย จำนวน 540.5 ลิตร และ 13.8 กิโลกรัม มูลค่า 554,300 บาท ปราบปรามยางพาราผิดกฎหมาย 99 วัน ทำทันที โดยอายัดยางพาราต้องสงสัยผ่านพรมแดน 104 ตัน มูลค่า 5 ล้านบาท โดยทีมเฉพาะกิจร่วมกับหน่วยความมั่นคง ได้อายัดยางพาราที่ต้องสงสัยผ่านพรมแดน จ.กาญจนบุรี จำนวน 29 ตันมูลค่ากว่า 1.5 ล้านบาท และ จ.ระนอง จำนวน 75 ตัน มูลค่ากว่า 3.75 ล้าน บาท ทำให้ราคายางพารา มีแนวโน้มสูงขึ้น สร้างความเชื่อมั่น และเสถียรภาพให้กับเกษตรกร ชาวสวนยาง

รวมทั้งจัดตั้งทีมเฉพาะกิจพญานาคราชเพื่อปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายและร่วมสนับสนุนภารกิจของ สารวัตรปศุสัตว์และสารวัตรประมง พร้อมจัดตั้งทีมสายลับยางจากเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ เกี่ยวข้องในพื้นที่ สอดส่องการลักลอบนำเข้ายางพาราผิดกฎหมาย

จัดตั้งสารวัตรเกษตรไซเบอร์ ตรวจสอบ เฝ้าระวัง รับแจ้งเบาะแส และปราบปรามทางสื่อออนไลน์ การรวบรวมเอกสารเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความ ผิด รวมทั้งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรทำให้ได้ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ ส่งผลให้ราคาสินค้า เกษตรเพิ่มขึ้น และลดปัญหาการนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย

สร้างวิธีการทำงานสู่การปฏิบัติ จัดตั้งศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช 959 ศูนย์ทั่วประเทศ เพื่อรับเรื่องราว ร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกร เกษตรกรเข้ามาขอรับบริการจำนวน 2,566 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ 1,798 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 462 เรื่อง ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร โครงการยกระดับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสินค้าพืช
ด้วยระบบ GAP โดยตรวจสอบเพื่อรับรองมาตรฐาน GAP พืช ไม่น้อยกว่า 20,000 แปลง โครงการร้าน อาหารวัตถุดิบปลอดภัยเลือกใช้สินค้า Q (Q Restaurant) โดยตรวจรับรองร้านอาหาร Q Restaurant 8 ร้าน ยกระดับร้านอาหารระดับพรีเมี่ยม 4 ร้าน

3. นโยบายสร้างรายได้ สร้างโอกาส และสร้างคุณภาพชีวิต
การสร้างรายได้ภาคเกษตร ตามนโยบาย ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ของรัฐบาล โดยมุ่งลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยดำเนินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/2567 จำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงิน 34,437 ล้านบาท เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่ว ประเทศ ได้รับประโยชน์ 610,000 ราย โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบัน เกษตรกร ปี 2566/2567 วงเงิน 481.25 ล้านบาท สถาบันเกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับรวบรวมข้าว เปลือกเพื่อจำหน่าย/แปรรูป 1 ล้านตันข้าวเปลือก สถาบันเกษตรกรได้รับประโยชน์ 3.033 ล้านครัวเรือน โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพ ผลผลิตข้าว ปีการผลิต 2566/2567 เกษตรกรที่ขึ้น ทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร 4.68 ล้านครัวเรือน ได้รับการสนับสนุนไร่ละ 1,000 บาท/ครัวเรือน ครัว เรือนละไม่เกิน 20 ไร่

นอกจากนี้ ได้ผลักดันไหมอุตสาหกรรมรังเหลืองในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา สนับสนุนปัจจัยการผลิต 200 ราย เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ย 20,000 บาท/เดือน รวมทั้งส่ง เสริมให้เกษตรกรในพื้นที่แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ นำนวัตกรรมมาใช้ในการปลูกถั่วเหลือง ทำให้ผลผลิตเพิ่ม จากเดิม 395 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 492 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิเพิ่มขึ้น 2,500 บาท/ไร่ ตลอดจนแก้ไข ปัญหาประมง โดยปรับปรุง แก้ไข และออกใหม่กฎหมายฉบับรอง 18 ฉบับ ทำให้การบังคับกฎหมาย สอดคล้องกับบริบทการทำประมงและลดภาระให้กับชาวประมง ตลอดจนเพิ่มวันทำการประมงเพื่อเปิดโอกาส ให้เกษตรกรสร้างรายได้เพิ่มการสร้างและขยายโอกาส

บริหารจัดการที่ดินทำกินแก่เกษตรกร โดยประกาศใช้ ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 2 ฉบับ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เพื่อยกระดับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ให้เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร และมอบเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 จำนวน 9,820 ราย 11,060 แปลง เนื้อที่จำนวน 107,284 ไร่

สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ โดย รมว.กษ. กับผู้แทนระดับรัฐมนตรี คณะทูตานุทูต และผู้นำภาครัฐและเอกชนของประเทศญี่ปุ่น จีน นอร์เวย์ มาเลเซีย และผู้แทน FAOการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี สนับสนุนการขายคาร์บอนเครดิต และลดการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และบำบัดน้ำเสียเพื่อกำจัดผักตบชวาในแหล่งน้ำ เกษตรกรมีปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการนำผักตบชวาหมักด้วยสารเร่ง พด.1 รวม 34,744 ตัน คิดเป็นมูลค่า 104.23 ล้านบาท ส่งเสริมการทำคาร์บอนเครดิต ในสวนยาง นำร่อง 45,000 ไร่ ใน จ.จันทบุรี จ.เลย และ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อขอยื่นรับรองมาตรฐาน T-VER

การอำนวยความสะดวกด้านการเกษตร เป็นตัวแทนรัฐบาลในการเจรจาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ ประชาชน เจรจา 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) กลุ่มสมัชชาคนจน (สคจ.) 2) กลุ่มสมัชชาเกษตรกรภาคอีสาน (สกอ.) และกลุ่มสมาพันธ์เกษตรกรอีสาน (สพอ.) 3) กลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย และ 4) กลุ่มขบวนการ ประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม นอกจากนี้ ยังจัดทำปฏิทินผลผลิตสินค้าเกษตรรายเดือนระดับจังหวัด จำนวน 66 จังหวัด และดำเนินโครงการตรวจประเมินการควบคุมภายในเพื่อป้องกันความเสี่ยงการทุจริตด้านดิจิทัลใน สหกรณ์ เพื่อป้องปรามปัญหาการทุจริต ในสหกรณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สหกรณ์ภาคการเกษตรดำเนินการแล้ว 1,500 แห่ง

สำหรับงานสำคัญที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งดำเนินการในระยะต่อไป จะยังคงมุ่งเน้นตามนโยบาย อย่างครอบคลุม อีกมากกว่า 30 โครงการ ประกอบด้วย นโยบายแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้แก่ เร่งเตรียม มาตรการรองรับภัยแล้งรวมถึงภัยพิบัติ ในโครงการประกันภัยภาคการเกษตร มุ่งสร้างรายได้ เสริมอาชีพ ระหว่างการพักหนี้ ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน โครงการพัฒนาสมรรถนะและยก ระดับความเข้มแข็งสถาบันเกษตรกรและบุคลากร รวมทั้งส่งเสริมการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ ประโยชน์ และสนับสนุน BCG Economy Model ด้วยโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โครงการส่งเสริมการจัดตั้งและบริหารจัดการ วิสาหกิจเกษตรฐานชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงการศึกษา แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า เกษตรชีวภาพ ตลอดจนยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตร ในโครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐาน สินค้าเกษตรนโยบายระยะกลาง และระยะยาว“สร้างรายได้ สร้างโอกาส และสร้างคุณภาพชีวิต” ได้แก่ การสร้างรายได้ภาคเกษตร มุ่งลดต้นทุน เพิ่มรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยดำเนินโครงการสร้างผู้ประกอบการ เพื่อให้บริการทางการเกษตรอัจฉริยะ โครงการยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (ASP) โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการเกษตร โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้าน ประมง โครงการศูนย์แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรคุณภาพสูง โครงการส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรเมืองร้อน มูลค่าสูง สู่ตลาดโลก รวมถึงส่งเสริมการบริหารจัดการแบบแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ ด้วยโครงการยก

ระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด โครงการ 1 อำเภอ 1 แปลงเกษตรอัจฉริยะ โครงการ พัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ โครงการส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ในสถาบันเกษตรกร โครงการ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“พัชรวาท” ร่วมส่ง “โนบิตะ – ชิซุกะ- ไบรอัล” 3 อุรังอุตัง กลับบ้านเกิดอินโดนีเซีย หลังจบคดีค้าสัตว์ป่าข้ามชาติ กระชับสัมพันธ์ไทย – อิเหนา รอบ 73 ปี แสดงควาวมมุ่งมั่นในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่า

,

“พัชรวาท” ร่วมส่ง “โนบิตะ – ชิซุกะ- ไบรอัล” 3 อุรังอุตัง กลับบ้านเกิดอินโดนีเซีย หลังจบคดีค้าสัตว์ป่าข้ามชาติ กระชับสัมพันธ์ไทย – อิเหนา รอบ 73 ปี แสดงควาวมมุ่งมั่นในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่า

ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายระห์หมัด บูดีมัน เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันส่งลิงอุรังอุตังของกลางที่สิ้นสุดทางคดีแล้วจำนวน 3 ตัว กลับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

โดยลิงอุรังอุตังทั้ง 3 ตัว เป็นของกลางที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ยึดได้จากขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้ดูแลและตรวจสุขภาพลิงอุรังอุตัง ซึ่งเป็นสายพันธุ์สุมาตราทั้ง 3 ตัว ไว้ ณ ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 (ประทับช้าง) จังหวัดราชบุรี ได้แก่ 1.ลิงอุรังอุตัง ชื่อ ไบรอัล เพศผู้ ปัจจุบันอายุ 5 ปี 2.ลิงอุรังอุตัง ชื่อโนบิตะ (Nobita) เพศผู้ และ3. ลิงอุรังอุตัง ชื่อชิซุกะ (Shisuka) เพศเมีย ปัจจุบันอายุ 7 ปี

ก่อนหน้านี้วันที่ 2 มี.ค.2566 นายระห์หมัด พร้อมคณะ ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับนายอรรถพล ในเรื่องนี้ จากนั้นกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินแก่สัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และที่ประชุมมีมติเห็นควรให้ส่งลิงอุรังอุตัง จำนวน 3 ตัว ดังกล่าว กลับถิ่นกำเนิด สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ทั้งนี้ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้ประสานงานกับสายการบิน Garuda Indonesia Airline เที่ยวบิน GA867 ในการขนส่งและขอความร่วมมือทางกรมอุทยานแห่งชาติฯ ช่วยดำเนินการตรวจสุขภาพของลิงอุรังอุตัง โดยทางสาธารณรัฐอินโดนีเซีย รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

การส่งลิงอุรังอุตัง กลับถิ่นกำเนิด ในครั้งนี้ เป็นการสนับสนุนต่อผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ครั้ง 9 ซึ่งฝ่ายอินโดนีเซียและฝ่ายไทย ได้ประชุมร่วมกันระหว่างวันที่ 5-6 ก.ค. 2561 ณ เมืองยอกจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งการประชุมดังกล่าว ได้มีการทบทวนความคืบหน้าการดำเนินการตามผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ครั้งที่ 8 ในหัวข้อที่ 30 ระบุไว้ว่าที่ประชุมสนับสนุนต่อความมุ่งมั่นของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายและการดำเนินงานตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาไซเตส

ทั้งนี้ การส่งลิงอุรังอุตัง จำนวน 3 ตัว คืนประเทศถิ่นกำเนิดในครั้งนี้ ถือเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ ในโอกาสครบรอบ 73 ปี ความสัมพันธ์ไทย – อินโดนีเซีย เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระดับนานาชาติในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า รวมถึงแสดงให้เห็นความมุ่งมั่นของประเทศไทย ในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ ภายใต้การสนับสนุนของ พล.ต.อ. พัชรวาท ที่ให้ความเห็นชอบส่งลิงอุรังอุตัง ไปยังสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ตามระยะเวลาที่กำหนด
อย่างไรก็ตาม ระหว่างปี 2556 – 2560 ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือในการส่งลิงอุรังอุตัง ที่ตกเป็นเหยื่อการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย จำนวน 14 ตัว กลับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งการส่งมอบลิงอุรังอุตังกลับถิ่นกำเนิด ถูกดำเนินการมาแล้วรวม 5 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 2549 รวมทั้งสิ้น 71 ตัว ถือเป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย และการดำเนินงานตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาไซเตส เช่นเดียวกับความร่วมมือทวิภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการอยู่ การส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า และการต่อต้านอาชญากรรมสัตว์ป่าผ่านความพยายามร่วมกัน รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ และการร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า ให้เกิดความยั่งยืนในระดับสากล

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“สส.จำลอง”ขอไฟแดงที่สี่แยกตัดถนนสาย 2321 กับ 4059 ให้ ปชช.หลังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง พร้อมขอ สทนช.ขยายระบบการลงทะเบียน Thai Water Plan

,

“สส.จำลอง”ขอไฟแดงที่สี่แยกตัดถนนสาย 2321 กับ 4059 ให้ ปชช.หลังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
พร้อมขอ สทนช.ขยายระบบการลงทะเบียน Thai Water Plan

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับการร้องเรียนจากนายกเทศบาลตำบลกุดจิกว่า สี่แยกตัดถนนสาย 2321 กับ 4059 ช่วงบ้านกุด ขอนแก่น เป็นสี่แยกวัดใจ อันเกิดจากการสัญจร ของประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุ มีการล้มตายบ่อย ถนนเส้นนี้เป็นทางลัดจากอีสานกลางไปสู่อีสานเหนือ ไปลุ่มน้ำโขงได้ คนสัญจรจากกรุงเทพก็ชอบใช้เส้นทางนี้ ทำให้มีปริมาณรถเยอะมาก และไม่มีไฟแดง จึงขอให้ทางหลวง แขวงการทางไปติดตั้งไฟแดง ณ สี่แยกตรงนี้ด้วย

นายจำลอง ยังกล่าวต่อถึงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง โดยตอนนี้โครงการที่เสนอเกี่ยวกับน้ำ ที่จะลงทะเบียนใช้ระบบบริหารจัดการแผนงานโครงการและฐานข้อมูล
สำหรับบูรณาการแผนเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ หรือ Thai Water Plan โดยเมื่อมีเปิดการลงทะเบียนกลับลงไม่ทัน จึงอยากฝากให้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช.ขยายระบบการลงทะเบียน Thai Water Plan

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“สส.วันเพ็ญ”เร่งรัด“กรมชลฯ”แจงแผนสร้างฝาย 3 โครงการพื้นที่เพชรบูรณ์ สร้างความมั่นใจมีแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มเพื่ออุปโภคบริโภคให้ประชาชน

,

“สส.วันเพ็ญ”เร่งรัด“กรมชลฯ”แจงแผนสร้างฝาย 3 โครงการพื้นที่เพชรบูรณ์
สร้างความมั่นใจมีแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มเพื่ออุปโภคบริโภคให้ประชาชน

นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 5 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับการประสานจากผู้บริหารของ อบต. ท่าแดง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยขอให้ประสานงานไปยังกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเร่งรัดขอทราบความคืบหน้า ในการทำโครงการ 3 โครงการ คือ
1.ฝ่ายคลองลำกง -บ้านท่าเยียม ตำบลท่าแดง
2.ฝ่ายบ้านท่าสวาย ตำบลท่าแดง
3.แก้มลิงบึงไผ่ขวาง – บ้านเนินคนธา พร้อมอาคารประกอบอำเภอท่าแดง อำเภอหนองไผ่

“โดยทั้ง 3 โครงการนี้ กรมชลประทานได้ออกสำรวจ ออกแบบ เพื่อจะพิจารณาในการก่อสร้างต่อไป แต่ว่าพี่น้องประชาชนไม่ทราบว่า ความคืบหน้าในการดำเนิน งานนี้จะได้งบประมาณมาแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้เมื่อใด จึงฝากให้ดิฉันมาเรียนถามว่า ทั้ง 3 โครงการนี้ยังดำเนินการที่จะก่อสร้างให้หรือไม่”นางวันเพ็ญ

นางวันเพ็ญ กล่าวต่อว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเดือดร้อนในปัจจุบันก็คือ ฝายบ้านท่าสวาย ตอนนี้การประปาหนองไผ่ ซึ่งใช้เป็นแหล่งน้ำดิบในการทำผลิตเป็นน้ำประปาหล่อเลี้ยงพี่น้องชาวอำเภอหนองไผ่ จึงขอเร่งรัดการดำเนินโครงการทั้ง3 นี้ไปถึงกรมชลประทานด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“สส.คอซีย์”ขอ “รมว.คมนาคม”สั่งการกรมทางหลวง เร่งก่อสร้างถนนทางหลวงเส้นหลัก 3 จุดหลัก หลัง ปชช.ได้รับความเดือดร้อน

,

“สส.คอซีย์”ขอ “รมว.คมนาคม”สั่งการกรมทางหลวง เร่งก่อสร้างถนนทางหลวงเส้นหลัก 3 จุดหลัก หลัง ปชช.ได้รับความเดือดร้อน

นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึง ความเดือดร้อนในการใช้เส้นทางคมนาคม ในเขตอำเภอโคกโพธิ์ หนองจิก จังหวัดปัตตานี ทั้ง 3 จุด โดยขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้กรมทางหลวง ดำเนินการก่อสร้างเป็นกรณีเร่งด่วน เนื่องจากที่ผ่านมา ได้มีข้อเสนอจากพื้นที่แล้ว

จุดที่1 ขอให้เร่งรัดการก่อสร้าง ทางแยกต่างระดับ บริเวณทางหลวง หมายเลข 42 และ 43 สี่แยกตัดกัน หรือที่เรียกกันว่าสี่แยกดอนยาง ตำบลบ่อทองอำเภอ หนองจิก ที่ผ่านมาสี่แยกดังกล่าวมี อุบัติเหตุในปี 64 ถึงปี 66 จำนวน 29 ครั้ง ท่านนายกเทศมนตรีตำบล บ่อทอง พันจ่าเอกมาหามุ หวังจิ ได้เคยหารือ ร่วมกับหน่วยงานระดับพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยก่อสร้างทางแยกต่างระดับ ขณะนี้รอเพียงการจัดสรรงบประมาณ จึงขอให้มีการเร่งรัดเป็นกรณีเร่งด่วน

จุดที่ 2 ขอให้เร่งรัดการขยายผิวจราจร ตอนนาจวก ถึงดอนยาง ช่วงบริเวณ แยกนาเกตุ ถึงศูนย์วิจัยข้าว ปัตตานี อำเภอโคกโพธิ์ กรมทางหลวง ได้มีการขยายช่องทางหลวง ถนนเดิมจาก 2 ช่องทางจราจร เป็น4 ช่องจราจรแล้ว บริเวณหน้าสนามบินบ่อทอง แต่ช่วงดังกล่าวยังไม่มีการดำเนินการ

จุดที่3 ขอให้เร่งรัดการขยายผิวจราจร ถนนสายทางหลวงหมายเลข 409 เป็น4 ช่องจราจร แยกนาเกตุถึง นาประดู่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ถนนสายดังกล่าว มีประชาชนใช้สัญจร จำนวนมากเพราะเป็น เส้นทางไปวัด ช้างให้น้ำตกทรายขาว มัสยิด 300 ปี และเป็นเส้นทาง สายเก่าไปยังจังหวัดยะลา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

พปชร.หนุนใช้มาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ผ่านกลไก2 รมว.เข้มสกัดเผาพื้นที่เพาะปลูก ลดควันดำบนถนน

,

พปชร.หนุนใช้มาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5
ผ่านกลไก2 รมว.เข้มสกัดเผาพื้นที่เพาะปลูก ลดควันดำบนถนน

21 ธันวาคม 2566 นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.) เขต 2 จ.ฉะเชิงเทรา ในฐานะโฆษกพรรค เปิดเผยว่า พรรคพลังประชารัฐให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชน ถือเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ก่อน พรบ. อากาศสะอาด จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

นายอรรถกรกล่าวว่า พปชร.ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล ได้ร่วมขับเคลื่อนการบริหารงาน เพื่อผลักดันการทำงานผ่านกลไกของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์วรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ ได้รับมอบหมายให้เป็นประธานคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน ร่วมกับร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งทั้ง 2 กระทรวงได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อหามาตรการต่างๆ เร่งแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันยังมีข้อเสนอให้ช่วยเหลือเกษตรกรเรื่องเครื่องมืออุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอย่างถูกวิธี โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปปรับให้เหมาะสม นอกจากนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท ในฐานะประธานการประชุมควบคุมฝุ่นละอองจากภาคจราจร ได้ขอความร่วมมือให้เข้มงวดกวดขันเรื่องรถควันดำ และควรมีการจัดชุดปฏิบัติการตรวจให้มีความถี่ขึ้นและควรเพิ่มชุดตรวจให้มากยิ่งขึ้น เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จากการจราจรให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นปัญหาหลัก ในการก่อฝุ่นมลพิษ ที่พรรค จะมีการติดตามความก้าวหน้าในการแก้ปัญหามาโดยตลอด จากนโยบายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพปชร. ที่ให้ความสำคัญในด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“สส.อรรถกร” ฝาก ผู้ว่าฯฉะเชิงเทรา-กรมชลฯ เร่งรับมือปัญหาค่าน้ำเค็มแม่น้ำบางปะกง จี้ กรมทางหลวง-คมนาคม เร่ง แก้ปัญหาถนนมืด หลังคน ขโมยสายไฟ

,

“สส.อรรถกร” ฝาก ผู้ว่าฯฉะเชิงเทรา-กรมชลฯ เร่งรับมือปัญหาค่าน้ำเค็มแม่น้ำบางปะกง จี้ กรมทางหลวง-คมนาคม เร่ง แก้ปัญหาถนนมืด หลังคน ขโมยสายไฟ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาฯว่า ค่าความเค็มในแม่น้ำบางประกงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตนจึงขอฝากไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และกรมชลประทาน ให้ช่วยเตรียมรับมือกับค่าความเค็มในแม่น้ำบางปะกง นอกจากนี้ ตนยังได้รับการประสานงาน เรื่องถนนในหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ต.ศาลาแดง และช่วงคลอง 18 คลอง 19 ไฟถนนดับ เนื่องจากมีคนมาขโมยอุปกรณ์สายไฟ ซึ่งเรื่องนี้เกิดมานานแล้ว จึงขอฝากไปยังกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงชนบทฉะเชิงเทรา ให้ส่งคนเข้าไปแก้ไขโดยด่วน

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ตนได้รับการร้องเรียน ให้เร่งสร้างประตูระบายน้ำหลังวัดจระเข้ตาย ที่อ. ราชสาส์น เนื่องจากเรื่องนี้มีการอนุมัติงบประมาณไปนานแล้วแต่มีความล่าช้า หลังจากอนุมัติงบประมาณแล้วมีการเปลี่ยนจุด ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนชุดก็ต้องเปลี่ยนแบบ และเมื่อมีการเปลี่ยนแบบแล้วก็ต้องหาผู้รับเหมา แม้ขนาดนี้จะได้ผู้รับเหมาแล้วแต่ ยังไม่ได้ลงมือทำ โดยเรื่องดังกล่าวค้างคามานานถึง 10 ปี หากเร่งสร้างประตูระบายน้ำในพื้นที่ดังกล่าวได้ จ่ายสามารถช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“พัชรวาท” ฟิต ถกแก้ฝุ่นพิษ 2 ชุดรวด จับมือ “ธรรมนัส” ประกาศสงคราม PM 2.5 และการเผา กำชับขนส่ง-จราจร คุมเข้มตั้งจุดตรวจรถควันดำ แนะเพิ่มความถี่ ขยายวงกว้าง

,

“พัชรวาท” ฟิต ถกแก้ฝุ่นพิษ 2 ชุดรวด จับมือ “ธรรมนัส” ประกาศสงคราม PM 2.5 และการเผา กำชับขนส่ง-จราจร คุมเข้มตั้งจุดตรวจรถควันดำ แนะเพิ่มความถี่ ขยายวงกว้าง

ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน เป็นประธานการประชุมหารือมาตรการจัดการไฟในพื้นที่เกษตรกรรม โดยชุดแรกได้เชิญ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องมาหารือร่วมกัน พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า เนื่องจากปัญหาฝุ่น PM 2.5 มีระดับเข้มข้นขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน จึงเชิญหน่วยที่เกี่ยวข้องมาหารือเพื่อหาแนวทางรับมือร่วมกัน โดยเฉพาะภาคเกษตรที่จะเข้าสู่ฤดูกาลของการเผา

ในที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันว่า มาตรการที่เคยดำเนินการมาอาจจะไม่ได้ผล เพราะปริมาณฝุ่นไม่ลดลง
จึงเห็นควรประกาศสงครามกับ PM 2.5 และการเผา และควรมีการสื่อสารกับประชาชน ว่าการเผาผิดกฏหมายอาญาเข้าข่ายการวางเพลิงมีโทษสูง ทั้งถูกจับถูกปรับ และหากพบว่าในที่ดิน สปก.มีการเผาอาจจะมีการยกเลิกสิทธิ์ในการออกเป็นโฉนด รวมทั้งที่ดินจากคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติอาจจะถูกยึดคืน ขณะเดียวกันยังมีข้อเสนอให้มีการล็อกเป้าตรึงพื้นที่เกษตร ในช่วง 2-3 เดือนจากนี้ ไม่ควรมีการเผา เพราะเป็นช่วงวิกฤติ หรือให้มีการเผาน้อยที่สุด ควรมีมาตรการลดเผาตอซังข้าว โดยเสนอให้ช่วยเหลือเกษตรกรเรื่องเครื่องมืออุปกรณ์ เช่น น้ำยาอีเอ็มช่วยย่อยสลาย หรืออาจร่วมมือกับเอกชนรับซื้อใบอ้อย ใบข้าวโพดมาอัดเป็นพลังงานชีวมวล การไม่รับซื้ออ้อยที่เผาไฟ เป็นต้น ซึ่งมาตรการทั้งหมดจะนำไปปรับแก้แล้วนำกลับเสนอให้คณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืนพิจารณาในวันที่ 21 ธ.ค.ต่อไป

หลังจากประชุมชุดแรกแล้วเสร็จ พล.ต.อ.พัชรวาท ได้เป็นประธานการประชุมควบคุมฝุ่นละอองจากภาคจราจร โดยมีตัวแทนจากกรมการขนส่งทางบก รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. และผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กทม.

พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า วันนี้ที่เชิญทุกหน่วยงานมา เพื่อขอความร่วมมือให้เข้มงวดกวดขันเรื่องรถควันดำ และควรมีการจัดชุดปฏิบัติการตรวจให้มีความถี่ขึ้นและควรเพิ่มชุดตรวจให้มากยิ่งขึ้น ในช่วงที่มีปัญหาฝุ่น PM 2.5 ซึ่งต้องประสานความร่วมมือกันระหว่างกรมการขนส่งทางบก กับตำรวจจราจร ในการทำงานจะได้ไม่ซ้ำซ้อนในด้านพื้นที่ตรวจสอบรถควันดำ ขณะเดียวกันขอฝากผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจังหวัดปริมณฑลช่วยตรวจตราการเผาในพื้นที่เกษตรกรด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“รมช.สันติ” หนุนผลิตผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การจราจร เพิ่มประสิทธิภาพช่วยเหลือปชช.ทั่วถึง

,

“รมช.สันติ” หนุนผลิตผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การจราจร เพิ่มประสิทธิภาพช่วยเหลือปชช.ทั่วถึง
นำเทคโนโลยีพัฒนาระบบ ยกระดับด้านความปลอดภัยลดการสูญเสียชีวิต-ทรัพย์สินบนท้องถนนทุกเส้นทาง

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2566 สมาคมเวชศาสตร์การจราจร หัวข้อ “ภาพใหม่เชิงระบบสู่งานเวชศาสตร์การจราจร เทคโนโลยี การจัดการ และเวชปฏิบัติ” (New Ecology of Traffic Medicine: Technology, Management & Clinical practice) เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาความรู้และทักษะงานเวชศาสตร์การจราจร ทั้งด้านเทคโนโลยียานยนต์และการขนส่ง รูปแบบการจัดการจราจรยุคใหม่ นวัตกรรมด้านความปลอดภัย วิทยาการทางการแพทย์ด้านการป้องกันและการรักษาเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดจากการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรของประเทศไทย โดยมี นพ.อำนวย กาจีนะ นายกสมาคมเวชศาสตร์การจราจร กรรมการบริหารสมาคม คณะผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับอุบัติเหตุและความปลอดภัยทางถนน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ที่โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จ.นนทบุรี

นายสันติ กล่าวว่า เวชศาสตร์การจราจรเป็นวิทยาการทางการแพทย์เน้นการศึกษาวิเคราะห์ ระบบการป้องกันความเสี่ยงภัยจากความปลอดภัยทางการจราจรและการตรวจประเมินสมรรถนะทางร่างกาย เพื่อวินิจฉัยโรคและภาวะที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการขับขี่ยานยนต์ ก่อนให้การรับรองทางการแพทย์หรือให้คำแนะนำ เพื่อการรักษาหรือป้องกันอย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นแขนงความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ ที่ท้าทายการพัฒนาให้เท่าทันกับยุคสมัยที่ระบบการจราจรมีปริมาณและความชับซ้อนมากขึ้น ตามความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม การมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การจราจรที่มีความรู้ความสามารถ และมีจำนวนที่เพียงพอทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ที่จะมีส่วนสำคัญต่อการลดปัญหาการบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการจราจรได้

“การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจร สร้างความสูญเสียทางสังคมและเศรษฐกิจให้กับประเทศเป็นอย่างมาก จากการศึกษาของ TDRI ในปี 2562 พบว่า มีมูลค่าความสูญเสียรวม 642,743 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.9 ของ GDP และในปีเดียวกันนี้ พบว่า มูลค่าความเสียหายต่อรายกรณีเสียชีวิต มีมูลค่าสูงได้ถึง 6.7ล้านบาทต่อราย และกรณีบาดเจ็บ 2 ล้านบาทต่อราย เป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ป้องกันได้ ซึ่งจากรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนขององค์การอนามัยโลกฉบับล่าสุดในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า ค่าเฉลี่ยของอัตราการตายจากการจราจรทั้งโลกอยู่ที่ 15 ต่อแสนประชากร โดยประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากการจราจร 25 ต่อแสนประชากร สูงเป็นอันดับที่ 21 ของโลก แต่ถ้านับจากผู้เสียชีวิตที่มีจำนวน 18,218 คน จะอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก ซึ่งดีขึ้นกว่าสถานการณ์ในรายงานฉบับก่อนหน้านี้”

“กระทรวงสาธารสุขเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การจราจรปฏิบัติงานในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชนให้มากขึ้น รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานคุณภาพของระบบการฝึกอบรม และการสนับสนุนให้มีจำนวนสถาบันฝึกอบรมเพิ่มมากขึ้น ครอบคลุมทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ทั่วประเทศ หรือทุกหน่วยงาน ทั้งจราจรทางหลวง ทางด่วน ทางหลวงชนบท เพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชน ให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและรวดเร็ว ที่สำคัญยังเป็นการป้องกันไม่ได้เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดอุบัติเหตุน้อยลง”

นายสันติ กล่าวอีกว่า หากมีการอบรมบุคลากรในชนบท ทั้งตำรวจ ฝ่ายปกครอง ให้มีความพร้อมทางเวชศาสตร์การจราจรก็จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะแนวคิดที่งานเวชศาสตร์การจราจรกระจายตัวไปยังภูมิภาคต่าง ก็จะเป็นการส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนให้กับนักท่องเที่ยวได้ และเมื่อเกิดอุบัติเหตุยังมีการเตรียมความพร้อม ความรวมเร็วในการรักษาชีวิตไว้ได้ เพราะการท่องเที่ยวต้องอาศัยการเดินทางเป็นหลัก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“สส. อัครแสนคีรี” จี้ รัฐ เปิดเผยต้นทุนนำเข้าก๊าซผลิตไฟฟ้า พร้อม ถาม เกษตร-คนหาเช้ากินค่ำ เป็นกลุ่มคนเปราะบางหรือไม่ หลัง ครม.เคาะตรึงราคาค่าไฟ

,

“สส. อัครแสนคีรี” จี้ รัฐ เปิดเผยต้นทุนนำเข้าก๊าซผลิตไฟฟ้า พร้อม ถาม เกษตร-คนหาเช้ากินค่ำ เป็นกลุ่มคนเปราะบางหรือไม่ หลัง ครม.เคาะตรึงราคาค่าไฟ

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาว่า ขณะนี้ ประเทศไทยมีการปรับขึ้นค่าไฟหลายรอบ ซึ่งเคยขึ้นสูงสุดแตะที่ 4.78 บาท/หน่วย และล่าสุดทางคณะรัฐมนตรีได้ เรื่องค่าไฟไม่เกิน 4.20 บาท/หน่วย รวมถึงตรึงราคาค่าไฟสำหรับกลุ่มเปราะบางที่ 3.99 บาท/หน่วย ตนมีข้อสงสัยและข้อเสนอแนะว่า เรื่องราคาก๊าซที่ประเทศไทยจัดหาที่มีบริษัท ปตท.จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อนำมาจำหน่ายให้โรงไฟฟ้า ซึ่งโรงไฟฟ้ากว่า 55 % เป็นโรงไฟฟ้าประเภทก๊าซ ดังนั้น คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ ได้สั่งให้ ปตท. ปรับลดค่าก๊าซธรรมชาติจากการผลิตไฟฟ้าจาก 323 บาท/หน่วย เหลือไม่เกิน 304 บาทต่อล้านบีทียู

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ดังนั้น จึงควรเปิดเผยรายละเอียดการนำเข้าต้นทุนก๊าซ เพื่อให้ประชาชนทราบว่ายังสามารถปรับลดค่าก๊าซได้อีกหรือไม่ และสำหรับกลุ่มเปราะบางที่ ครม.ได้ตรึงค่าไฟนั้น อยากทราบว่ากลุ่มเกษตรกรและคนหาเช้ากินค่ำมีสิทธิ์หรือไม่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566