โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 26 ตุลาคม 2023

“รัชนี สส.ร้อยเอ็ด” วอน กรมทางหลวงชนบท สร้างสะพานข้ามลำน้ำยัง จุดนายายบุญชู ดวงแก้ว ย่นระยะทางให้ชาวบ้านสัญจรสะดวกขึ้น พร้อมเร่งให้ซ่อมแซมและก่อสร้างถนนลาดยาง 6 เส้นหลัก ลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ

,

“รัชนี สส.ร้อยเอ็ด” วอน กรมทางหลวงชนบท สร้างสะพานข้ามลำน้ำยัง จุดนายายบุญชู ดวงแก้ว ย่นระยะทางให้ชาวบ้านสัญจรสะดวกขึ้น พร้อมเร่งให้ซ่อมแซมและก่อสร้างถนนลาดยาง 6 เส้นหลัก ลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ

นางรัชนี พลซื่อ สส.ร้อยเอ็ด เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่าตนได้รับแจ้งจากประชาชนบ้านดงดิบ ตำบลหนองใหญ่อำเภอโพนทอง และบ้านชุมพร อำเภอเมยวดี โดยเกษตรกรที่อาศัยอยู่ใกล้ลำน้ำยัง ได้รับความเดือดร้อนในการสัญจรไปมา ขนส่งผลผลิตทางการเกษตรเข้าหมู่บ้านและเข้าตลาดในตัวอำเภอเป็นไปด้วยความลำบาก ต้องใช้เส้นทางที่มีระยะทางมากเกินไป เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายมาก เพราะมีไร่นาและญาติพี่น้องอยู่คนละฝั่งลำน้ำ

นางรัชนี กล่าวต่อว่า หากมีการก่อสร้างสะพานข้ามลำน้ำ จุดนายายบุญชู ดวงแก้ว ความกว้างประมาณ 100 เมตร จะทำให้สะดวกในการเดินทาง ย่นระยะทาง กว่า 20 กิโลเมตร และถ้าจะให้การสัญจรไปมาสะดวก ขอให้ก่อสร้างทางลาดยางเชื่อมสองฝั่ง ด้วยระยะทางจากบ้านดงดิบ ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จุดก่อสร้างสะพานประมาณ 1.5 กิโลเมตร และจากจุดก่อสร้างสะพานไปบ้านชุมพร อำเภอเมยวดี ประมาณ 2.3 กิโลเมตร ตนขอให้กรมทางหลวงชนบทให้จัดงบประมาณก่อสร้างลาดยาง และสะพานคอนกรีตข้ามลำน้ำยัง ดังกล่าวด้วย

นางรัชนี กล่าวต่อว่า ตนได้รับแจ้งจากผู้รับบริการสำนักงานที่ดิน สาขาโพนทองว่า มีผู้มารับบริการแต่ละวันจำนวนมาก ทำให้เสียเวลา บางครั้งไม่สามารถให้บริการเสร็จภายในวันเดียว เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งสำนักงานที่ดินสาขาโพนทองนั้นมีพื้นที่รับผิดชอบ 4 อำเภอ คืออำเภอโพนทอง อำเภอหนองพอก อำเภอเมยวดี อำเภอโพธิ์ชัย จากข้อมูลอำเภอโพธิ์ชัยมีพื้นที่ห่างไกลจากอำเภอโพนทอง และที่ดินมากกว่าที่อื่น เพื่อลดปัญหาความแออัดให้กับประชาชน ขอให้ก่อสร้างงบประมาณในการตั้งสำนักงานที่ดินอำเภอโพธิ์ชัย

นอกจากนี้ นางรัชนี ยังกล่าวว่า ตนได้รับแจ้งจากผู้นำท้องที่ท้องถิ่นว่า ประชาชนมีปัญหาในการสัญจรไปมา เนื่องจากสภาพถนนชำรุดเสียหาย เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอให้กรมทางหลวงชนบทจัดงบประมาณ ก่อสร้างถนนลาดยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต จำนวน 6 สาย ดังนี้
1. ขอให้ก่อสร้างถนนลาดยางเส้นบ้านกุดแห่ ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง ไปบ้านหนองโน อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นถนนลูกรังเส้นทางลัด ระยะทาง 7 กิโลเมตร
2. ขอให้ก่อสร้างถนนลาดยางเส้นบ้านดงบัง ม.4 ไปบ้านดงทรายงาม ม.9 ตำบลหนองขุ่นใหญ่ เชื่อมถนนทางหลวงชนบทสายหนองพอก – ตำบลท่าสีดา อำเภอหนองพอก จังหวัตร้อยเอ็ด ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
3. ขอให้ก่อสร้างถนนลาดยางเส้นทางจากบ้านคำแข้ ตำบลแวง – บ้านบะเค ตำบลโพธิ์ทอง – บ้านหนองขอนแก่น ตำบลคำนาดี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทาง 5 กิโลเมตร และขอให้ก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามลำห้วยบง ซึ่งถูกกระแสน้ำพัดชำรุด
4. ขอให้ก่อสร้างถนนลาดยางบ้านสว่างอารมณ์ ตำบลพรมสวรรค์ ถนนเชื่อมอำเภอ โพนทอง – บ้านโพนงาม ตำบลหนองขุ่นใหญ่ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นถนนลูกรังเส้นทางลัด ระยะทางประมาณ 9.5 กิโลเมตร
5. ขอให้ก่อสร้างถนนลาดยางเส้นบ้านหนองแสงทุ่ง และ บ้านทุ่งแสงทอง ตำบลแวง – บ้านดงดิบ และ บ้านกุดแห่ ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทองจังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร
6. ขอให้ซ่อมสร้างถนนลาดยางของกรมทางหลวงชนบท หมายเลข รอ.4007 เส้นบ้านวังยาว อำเภอโพนทอง – บ้านหนองกุง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงบ้านสว่าง ตำบลสว่าง – บ้านคำพระ ตำบลสว่าง อำเภอโพนทอง ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร และช่วงบ้านพรหมจรรย์ ตำบลโคกกกม่วง อำเภอโพนทอง – บ้านสีเสียด ตำบลศรีวิลัย อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ตุลาคม 2566

“คอซีย์ สส.ปัตตานี” ขอ รมว.กระทรวงทรัพย์ฯอนุมัติ เร่งแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ทำ ปชช. กลายเป็นคนไม่มีบ้าน ไม่มีที่ทำกิน

,

“คอซีย์ สส.ปัตตานี” ขอ รมว.กระทรวงทรัพย์ฯอนุมัติ เร่งแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ทำ ปชช. กลายเป็นคนไม่มีบ้าน ไม่มีที่ทำกิน

นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาของพี่น้องประชาชนที่อยู่ชายฝั่งทะเล ที่มีปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอหนองจิก อำเภอเมือง อำเภอปานาเระ อำเภอสายบุรีและอำเภอไม้แก่น จากข้อมูลที่ตนได้รับนายก อบต.ท่ากำชำ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งในระดับรุนแรง อัตราเฉลี่ยปีละประมาณ 5 เมตร และในอำเภออื่นๆที่เดือดร้อนไม่แพ้กัน

“สภาพปัญหากัดเซาะจะน้ำทะเลทำให้ประชาชนซึ่งเคยมีบ้านเรือนอาศัย วันนี้กลายเป็นคนไม่มีบ้าน ไม่มีที่ทำกิน ผมขอเรียนไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปถึงอธิบดีกรมทรัพยากรชายฝั่ง กรมเจ้าท่า และกรมประมง เพื่อลงไปในพื้นที่ ร่วมวางแผนแนวทางแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน”นายคอซีย์ กล่าว

นายคอซีย์ กล่าวต่อว่า ปัญหากระเซาะชายฝั่งเป็นเรื่องเร่งด่วน วันข้างหน้าประชาชนอาจจะไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีที่ทำกิน จึงเป็นปัญหาความเดือดร้อนที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้โปรดลงพื้นที่ตรวจสอบเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน พร้อมจัดวางงบประมาณเป็นการเร่งด่วน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ตุลาคม 2566

“อัครแสนคีรี” เสนอแนวทางแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำประปา-บาดาล ไม่พึ่งพิงงบรัฐ ขอเปิดโอกาสเอกชนเข้าลงทุนร่วมกับรัฐ รูปแบบ PPP สร้างรายได้ภาครัฐ และสามารถกำกับดูแลให้โปร่งใส เหมือนรัฐวิสาหกิจ

,

“อัครแสนคีรี” เสนอแนวทางแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำประปา-บาดาล ไม่พึ่งพิงงบรัฐ ขอเปิดโอกาสเอกชนเข้าลงทุนร่วมกับรัฐ รูปแบบ PPP สร้างรายได้ภาครัฐ และสามารถกำกับดูแลให้โปร่งใส เหมือนรัฐวิสาหกิจ

นายอัครแสนคีรี โลห์วีระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายญัตติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบาดาล และปัญหาน้ำบาดาลคุณภาพต่ำ โดยยกตัวอย่าง สภาพน้ำบาดาลใน จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งที่ผ่านมา ไม่ได้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ หลายหมู่บ้าน ยังไม่มีระบบกรองน้ำ ส่งผลให้เกิดปัญหาการควบคุมคุณภาพน้ำ

ทั้งนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ติดตั้งระบบหอถัง ระบบกระจายน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงการนำน้ำบาดาลมาใช้เป็นน้ำดื่ม แต่มีอุปสรรค เพราะภารกิจของกรม ผูกพันกับงบประมาณแผ่นดิน ที่แต่ละปีได้รับจัดสรร ประมาณ 2-3 พันล้านบาท เมื่อกรมใช้งบหมดตามแผน ส่งผลให้โครงการใหม่ต้องรอปีงบประมาณถัดไป ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาระบบน้ำบาดาลทั้งประเทศ รวมไปถึงการบริหารจัดการ การจัดเก็บค่าน้ำบาดาลจากชุมชนและเกษตรกร ที่ยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ท้องถิ่นบริหารจัดการกันเอง

ตน จึงมีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาเรื่องของน้ำ ให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด คือ ขอให้มีการเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนร่วมกับรัฐในรูปแบบ PPP (Public-Private-Partnership) ซึ่งเอกชนกับรัฐ สามารถจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle (SPV) และขายน้ำให้กับชุนชน และเกษตรกร ในอัตราที่เป็นธรรม เพื่อแก้ปัญหาการจัดเก็บค่าน้ำบาดาลสร้างรายได้ให้กับภาครัฐ และสามารถกำกับดูแลให้โปร่งใส เช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจ ที่สามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้เมื่อต้องการงบประมาณ เข้าลงทุนในโครงการใหม่ ๆ เอกชน สามารถเรียกเพิ่มทุน ได้เลย ไม่ต้องรอเข้าสู่ปีงบประมาณถัดไปของภาครัฐ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ตุลาคม 2566

“สันติ” รมช.สธ. คิกออฟ รณรงค์เพิ่มทักษะเด็กไทยว่ายน้ำ หนุนสร้างทีมผู้ก่อการดีครบคลุมทุกตำบลปกป้องเด็กเอาชีวิตรอด

,

“สันติ” รมช.สธ. คิกออฟ รณรงค์เพิ่มทักษะเด็กไทยว่ายน้ำ หนุนสร้างทีมผู้ก่อการดีครบคลุมทุกตำบลปกป้องเด็กเอาชีวิตรอด

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์ “Survival Swimming Skills เพื่อเด็กไทยไม่จมน้ำ” โดยมีเด็กที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 300 คน และ 3,000 คน จาก 15 จังหวัด ที่ร่วมกิจกรรมตลอดเดือนตุลาคม ได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติทักษะเบื้องต้นในการเอาชีวิตรอดทางน้ำ การช่วยเหลือคนตกน้ำ การที่ทำซีพีอาร์ช่วยคนจมน้ำ และจะขยายผลไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศในการร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับหน่วยงานในพื้นที่ และการเร่งดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการสร้างทีมผู้ก่อการดี ป้องกันการจมน้ำ ให้ครอบคลุมทุกตำบล เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยมี นายแพทย์ ธงชัย กีรติฟัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ บริเวณสระว่ายน้ำกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี

นายสันติ กล่าวว่า การจมน้ำเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ทั้งในระดับโลกและประเทศไทย จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5-14 ปี จมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 มากกว่าการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อ และมากกว่าไข้เลือดออกถึง 13 เท่าตัวองค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการจมน้ำจนเกิดเป็นฉันทามติร่วมกันครั้งแรกในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 โดยเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเร่งดำเนินการป้องกันการจมน้ำ และล่าสุดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 สมัชชาอนามัยโลกได้รับมติ Accelerating Action on Global Drowning Prevention

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันการจมน้ำเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำตามมติสหประชาชาติ ภายใต้คณะอนุกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การสอนให้เด็กทุกคนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการปฐมพยาบาล ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปทุกคน มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป สามารถทำซีพีอาร์ได้ รวมถึงการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน มีนโยบายในการเติมเต็มบริการสุขภาพเพื่อประชาชนในทุกมิติ ด้วยการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ภายใต้บริบทในปัจจุบันที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบกระทรวงสาธารณสุขจึงผลักดันนโยบายส่งเสริมการมีบุตร เพิ่มอัตราการเกิดของเด็กที่เกิดมามีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีชีวิตรอดปลอดภัย ซึ่งการปกป้องคุ้มครองเด็ก ไม่ให้เสียชีวิตจากการจมน้ำเป็นอีกหนึ่งงานสำคัญ ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อแก้ปัญหาการเสียชีวิตของเยาวชนก่อนวัยอันควร

“สถิติการเสียชีวิตของเด็กที่จมน้ำนั้นส่วนใหญ่อยู่ในชนบท เมื่อว่างจากการเรียนเด็กก็จะไปลงเล่นน้ำเป็นกลุ่มในพื้นที่บ่อน้ำสาธารณะ การจัดกิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้จึงเป็นการฝึกให้เด็กช่วยกันเอง ให้เกิดทักษะในการลอยน้ำ หรือใช้วิธีการง่ายๆ แบบบ้านๆ โดยการใช้อุปกรณ์ ซึ่งทำขึ้นจากท้องถิ่น เช่นกล่อง หรือวัสดุอะไรก็ตามที่สามารถลอยน้ำได้เพื่อช่วยพยุงตัวเอง ก็สามารถช่วยให้เด็กรอดจากการจมน้ำได้ ซึ่งถือเป็นทักษะที่มีความสำคัญในท้องถิ่นต่างจังหวัด ขณะเดียวกัน มีความเป็นไปได้ ในการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ให้เยาวชน มีการนำกิจกรรมดังกล่าว ไปฝึกฝนในการเรียนการสอน เพราะถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะดำเนินการเป็นนโยบายร่วมกัน” นายสันติ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ตุลาคม 2566