โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 20 พฤศจิกายน 2023

“สันติ” รมช.สธ. ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร

,

“สันติ” รมช.สธ. ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ให้กับวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กทม. นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราขทานผ้าพระกฐินในปีนี้ โดยมีข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ (สส.) จ.เพชรบูรณ์ ประกอบด้วย นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ น.ส.พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ นายวรโชติ สุคนธ์ขจร นายอัคร ทองใจสด ตลอดจนประชาชนเข้าร่วมพิธี

ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้บวงสรวงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด ถวายภัตตาหารอพลแด่พระสงฆ์-สามเณร ทั้งพระอาราม จากนั้นประกอบพิธีถวายผ้ากฐินพระราชทาน เสร็จพิธีได้มอบทุนการศึกษาแก่โรงเรียนวัดหงส์รัตนาราม และเยี่ยมพบปะประชาชน ก่อนเดินทางกลับ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 พฤศจิกายน 2566

”วรโชติ“สส.เพชรบูรณ์ ลงพื้นที่ร่วม สส.วันเพ็ญ สำรวจอ่างเก็บน้ำห้วยจั๊กจั่น เตรียมขยายอ่างบรรจุน้ำ ชงเข้างบปี 68 เพื่อให้เกษตรกรมน้ำใช้ โดยไม่ต้องพึ่งแต่น้ำฝน

,

”วรโชติ“สส.เพชรบูรณ์ ลงพื้นที่ร่วม สส.วันเพ็ญ สำรวจอ่างเก็บน้ำห้วยจั๊กจั่น เตรียมขยายอ่างบรรจุน้ำ ชงเข้างบปี 68 เพื่อให้เกษตรกรมน้ำใช้ โดยไม่ต้องพึ่งแต่น้ำฝน

นายวรโชติ สุคนธ์ขจร สส.เพชรบูรณ์ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวว่า ตนและ ท่านวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 5 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) พร้อมด้วย นายธนาวุฒิ สินประเสริฐ สมาชิกสภาจังหวัด(สจ.),ผอ.กรมชลประทานที่ 10 ลพบุรี ลงพื้นที่ตำบลบ่อไทย อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อสำรวจอ่างเก็บน้ำห้วยจั๊กจั่น เพื่อนำโครงการเพิ่มความจุน้ำเข้าแผนปีงบประมาณ 2568 และโครงการขุดลอกคลองปู่เจ้าพร้อมสะพาน​ ฝายกั้นน้ำ และฝายระบายน้ำให้เชื่อมโยงกับโครงฝายกุดขนวน เพื่อให้เกิดประโยชน์ ​และแก้ปัญหา​น้ำท่วมให้กับ​พี่น้อง​เกษตรกร​

นายวรโชติ กล่าวต่อว่า จังหวัดเพชรบูรณ์มีพื้นที่อยู่ในลุ่มน้ำถึง 5 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำโขง แต่จะมีส่วนที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักมากที่สุดถึงร้อยละ 70 ของจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีแม่น้ำป่าสักที่ไหลผ่านพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ยาวประมาณ 350 กิโลเมตร ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดเพชรบูรณ์ เผชิญทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม โดยพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม จะอยู่สองฝั่งของแม่น้ำป่าสัก แบ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมปานกลาง และเสี่ยงสูง ส่วนพื้นที่เผชิญภัยแล้ง มักพื้นที่ลาดชัน และภูเขาสูง โดยร้อยละ 60 ของพื้นที่ ถือว่ามีปัญหาภัยแล้งระดับต่ำ และอีกร้อยละ 35 มีปัญหาภัยแล้งระดับปานกลาง ที่เหลือเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งระดับสูง

“ประชาชนในพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำทั้งเพื่ออุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตร ซึ่งถ้าสามารถขยายอ่างเก็บน้ำห้วยจั๊กจั่นได้สำเร็จ จะช่วยให้ราษฎรในตำบลนี้และใกล้เคียงมีน้ำทำการเกษตรและน้ำอุปโภคบริโภคด้วย จะได้ไม่ต้องเสี่ยงทำสวน ทำไร่ โดยอาศัยน้ำฝนเพียงพออย่างเดียว“

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 พฤศจิกายน 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท”ชวนลอยกระทงรักษ์โลก ใช้วัสดุธรรมชาติร่วมสืบสานประเพณีไทย

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท”ชวนลอยกระทงรักษ์โลก
ใช้วัสดุธรรมชาติร่วมสืบสานประเพณีไทย

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า สำหรับเทศกาลลอยกระทงที่จะมาถึงนี้ อยากเชิญชวนพี่น้องชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มาร่วมสืบสานประเพณีไทยในแบบรักษ์โลก รักประเพณีไทย ร่วมการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยการประดิษฐ์กระทงจากวัสดุธรรมชาติ ย่อยสลายได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ใบตอง กาบกล้วย กระทงขนมปัง เป็นต้น ไม่ตกแต่งกระทงด้วยวัสดุที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ เช่น ลวดเย็บกระดาษ ตะปู กากเพชร เป็นต้น
นอกจากนี้อยากเชิญชวนให้ลอยกระทงร่วมกัน 1 ครอบครัว 1 กระทง หรือไปกับเพื่อนเป็นกลุ่มก็สามารถลอยร่วมกันได้ หรือจะร่วมลอยกระทงออนไลน์ ถือเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณขยะกระทง ลดโลกเดือด อีกทั้งประหยัดเงินในกระเป๋า
นอกจากนี้อยากขอความร่วมมือพ่อค้าแม่ค้าที่ทำกระทงจำหน่าย ขอให้งดใช้โฟม และหันมาทำกระทงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย ซึ่งที่ผ่านมา ถือว่ามีความตื่นตัวในเรื่องอนุรักษ์ธรรมชาติและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ปีนี้ก็อยากให้ยึดหลักการเดียวกัน
การลอยกระทง ถือเป็นประเพณีที่คนไทยมีขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณค่าของสายน้ำ และขอขมาต่อพระแม่คงคา จึงต้องร่วมกันรักษาประเพณีดั้งเดิมนี้ไว้ ควบคู่ไปกับการร่วมกันรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำ ทั้งแม่น้ำ คู คลอง หนอง บึง โดยในแต่ละปีพบว่าภายหลังจากวันลอยกระทงจะพบขยะกระทงตกค้างตามแหล่งน้ำสาธารณะต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้พลังงานและทรัพยากรเพื่อจัดการ

ดังนั้นหากเป็นไปได้อยากเชิญชวนประชาชนร่วมกันลอยในจุดที่เป็นบึง หรือบ่อน้ำแทนแม่น้ำขนาดใหญ่เพื่อง่ายต่อการจัดเก็บกระทง อย่างไรก็ตาม คาดหวังปีนี้ประชาชนจะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในลดจำนวนขยะจากกระทงให้ลดน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 พฤศจิกายน 2566