โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 16 พฤศจิกายน 2023

“รมว.ธรรมนัส” ถก สภาอุตฯตั้งกรอ.เกษตร เดินสู่เป้าหมาย ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้เกษตรกรไทย

,

“รมว.ธรรมนัส” ถก สภาอุตฯตั้งกรอ.เกษตร เดินสู่เป้าหมาย ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้เกษตรกรไทย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมหารือร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นำโดยนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อหารือแนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือภาครัฐและเอกชนด้านการเกษตร (กรอ.กษ.) ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและยกระดับภาคการเกษตรไทยให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นกำลังสำคัญ จึงมีแนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือภาครัฐและเอกชนด้านการเกษตร (กรอ.กษ.) โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยถือเป็นกลไกที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปสินค้าเกษตร วันนี้จึงได้เชิญสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อหารือและเข้าร่วมในคณะ กรอ.กษ. โดยก่อนหน้านี้ ได้มีการประสานหารือร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ที่ผ่านมา
สำหรับประเด็นสำคัญที่ร่วมหารือกันในครั้งนี้ นอกจากแนวทางการจัดตั้งคณะ กรอ.กษ. ร่วมกันแล้ว กระทรวงเกษตรฯ ยังได้หารือร่วมในประเด็นการส่งเสริมอาชีพให้กับแรงงานเกษตรที่เดินทางกลับจากอิสราเอล ซึ่งได้มีการลงนาม MOU ร่วมกันเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงแรงงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรจากแรงงานอิสราเอล สู่การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ อันเป็นการพัฒนาแรงงานเกษตรให้พร้อมเข้าสู่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมเกษตร หรือมีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ยกระดับภาคการเกษตรด้วยความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญของแรงงานที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่จากรัฐอิสราเอล ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกหน่วยงานจะร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งในขณะนี้
“กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เชื่อมั่นว่าความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในคณะ กรอ.กษ. ชุดนี้ จะเป็นอีกพลังที่เข้มแข็งในการพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร ตลอดจนสนับสนุนนโยบายรัฐบาลให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้โดยใช้ ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้’ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้วางเป้าหมายเพื่อยกระดับภาคเกษตร และช่วยเหลือเกษตรกรไทย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือการแก้ไขปัญหา การพัฒนา ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้กับแรงงานเกษตรที่เดินทางกลับจากอิสราเอลในขณะนี้ ตลอดจนการเสริมศักยภาพเกษตรกรและยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูง เพื่อให้เกษตรกรกินดีอยู่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมั่นคง” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว
โอกาสนี้ ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีความพร้อมและยินดีให้ความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใน กรอ.กษ. นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยังได้เสนอ 4 แนวทางเพื่อยกระดับภาคการเกษตรไทยร่วมกัน ได้แก่ 1) ยกระดับวัตถุดิบการเกษตร ใช้มาตรฐานของไทย เช่น GAP และส่งเสริมการสร้างผู้ตรวจประเมินในระบบ Supplier Audit

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 พฤศจิกายน 2566

“จักรัตน์”ปธ.กมธ.จัดการน้ำฯเร่งเดินหน้าพิจารณา“แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี”เชิญ หลายหน่วยงายที่เกี่ยวข้องชี้แจง ชี้ ควรมีแนวทางจัดการน้ำในสถานการณ์ต่าง ๆ

,

“จักรัตน์”ปธ.กมธ.จัดการน้ำฯเร่งเดินหน้าพิจารณา“แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี”เชิญ หลายหน่วยงายที่เกี่ยวข้องชี้แจง ชี้ ควรมีแนวทางจัดการน้ำในสถานการณ์ต่าง ๆ

นายจักรัตน์ พั้วช่วย สส.จังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ในฐานะประธานคณะกรรมมาธิการ(กมธ.)บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สภาผู้แทนราษฎร เปิดผยว่า ถึงแม้จะอยู่ในช่วงปิดสมัยการประชุมสภาผู้แทนราษฏร ทางคณะกรรมาธิการยังเดินหน้าทำงาน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำที่ถือเป็นเรื่องสำคัญให้กับประชาชน โดยได้พิจารณาแนวทางการบริหารจัดการน้ำในประเทศไทย และมีการเชิญกรมเจ้าท่า,กรมโยธาธิการและผังเมือง,กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น,การประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค มาให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2563 – 2580)และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โครงสร้าง หน้าที่ อำนาจ และงบประมาณของหน่วยงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สถานการณ์น้ำในปัจจุบันและการคาดการณ์สถานการณ์น้ำในปี 2567 ปัญหาและอุปสรรค

นายจักรัตน์ กล่าวต่อว่า จากการพิจารณาคณะกรรมาธิการเห็นว่า ควรมีแนวทางการขุดลอกคลองให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันถนนทรุด นอกจากนี้การกำจัดผักตบขวาในแม่น้ำลำคลองควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกันเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และควรจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเหมาะสม รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหาแนวทางป้องกันการสูญเสียน้ำในการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ

นอกจากนี้ กรรมาธิการยังได้เชิญสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ,กรมชลประทานกรมทรัพยากรน้ำ,กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)ซึ่งจาการประชุมร่วมกัน เห็นว่า การบริหารจัดการน้ำมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ควรกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำต่อสถานการณ์ต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งและอุทกภัย และในส่วนของการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ ควรให้ประชาชนในพื้นที่เกษตรกรรมมีส่วนร่วม นอกจากนี้ ยังพบว่ามีอีกหลายพื้นที่ที่ยังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภค กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นหน่วยงานหนึ่งที่สามารถจัดการปัญหาดังกล่าวได้ตามแนวภารกิจของหน่วยงาน ในส่วนพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีการปล่อยน้ำเสียนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีแนวทางการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 พฤศจิกายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” สตาร์ทกิจกรรมการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา 17 จุดทั่วประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพลุ่มน้ำ เสริมศักยภาพส่งน้ำหนุนอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร ให้ปชช.

,

“รมว.ธรรมนัส” สตาร์ทกิจกรรมการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา 17 จุดทั่วประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพลุ่มน้ำ เสริมศักยภาพส่งน้ำหนุนอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร ให้ปชช.

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน Kick Off กิจกรรมการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา ในแม่น้ำลำคลองสายหลัก และกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ณ บริเวณคลองระพีพัฒน์แยกตก วัดลำพระยา ตำบลวังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอีก 16 จุดทั่วประเทศ ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร อุดรธานี ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี นครราชสีมา ชลบุรี ลพบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สงขลา และนราธิวาส โดยบูรณาการความร่วมมือจากทุกส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชนจิตอาสา รวมถึงกำลังพลจิตอาสาของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่ เพื่อพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และการส่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตรอย่างเต็มศักยภาพในพื้นที่
ทั้งนี้ ผักตบชวาเป็นพืชที่มีการแพร่พันธุ์และเติบโตอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งหมด 20 ลุ่มน้ำหลัก และ 359 ลุ่มน้ำสาขา ความยาวลำน้ำธรรมชาติประมาณ 522,455.73 กม. กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน มีคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำที่เชื่อมโยงกับลำน้ำธรรมชาติ รวมทั้งทางน้ำธรรมชาติที่ประกาศเป็นทางน้ำชลประทานตาม พรบ.ชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 5 และมาตรา 8 ซึ่งเป็นทางน้ำที่อยู่ในความดูแล รวมทั้งสิ้นจำนวน 10,004 สาย ความยาวประมาณ 59,412.03 กม. คิดเป็นร้อยละ 11.37 ของลำน้ำธรรมชาติทั้งหมด จึงได้เร่งดำเนินการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา โดยในระยะแรกนี้ จะดำเนินการพร้อมกัน 17 จุดทั่วประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 8,000 คน และมีเป้าหมายในการกำจัดผักตบชวาและวัชพืชในไตรมาสแรกรวมประมาณ 546,000 ตัน ทั้งนี้ ผลการปฏิบัติงานในปี 2566 ที่ผ่านมา กรมชลประทานได้ดำเนินการกำจัดวัชพืชกว่า 5,633,079 ตัน รวมพื้นที่กว่า 34,252 ไร่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ตามแนวพระราชดำริ “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” เพื่อให้ประชาชนมีความสมัครสมานสามัคคี มีความสุข และประเทศชาติมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน โดยเน้นการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของทุกภาคส่วน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เพื่อพัฒนาพื้นที่ด้านแหล่งน้ำในการใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรและความสุขต่อประชาชนและชุมชนส่วนรวมอย่างถาวร นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และตระหนักรู้เกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ถูกต้อง เกิดความรู้สึกเคารพ รัก เทิดทูน และร่วมปกป้องสถาบันหลักของประเทศชาติ อันประกอบด้วยสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้ดำรงอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 พฤศจิกายน 2566

“พิมพ์พร”สส. เพชรบูรณ์ ลุยยกระดับคุณภาพชีวิต ปชช.เดินหน้าโครงการฝึกอาชีพสานตะกร้าหวาย หวังชุมชนเข้มแข็ง ชาวบ้านมีรายได้ พร้อมวอนภาครัฐ เร่งแก้ปัญหาความเท่าเทียมทางการศึกษา

,

“พิมพ์พร”สส. เพชรบูรณ์ ลุยยกระดับคุณภาพชีวิต ปชช.เดินหน้าโครงการฝึกอาชีพสานตะกร้าหวาย หวังชุมชนเข้มแข็ง ชาวบ้านมีรายได้ พร้อมวอนภาครัฐ เร่งแก้ปัญหาความเท่าเทียมทางการศึกษา

น.ส.พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.)จ.เพชรบูรณ์ เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยถึงภารกิจระหว่างช่วงปิดสมัยประชุมสภาฯ ตนได้ลงพื้นที่ตำบลห้วยใหญ่ เพื่อรับฟังปัญหาเรื่องกลุ่มผุู้ด้อยโอกาสทางสังคม โดยได้มีโอกาสร่วมมอบข้าวสาร และยาสามัญประจำบ้าน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือร่วมกับอบต.ห้วยใหญ่ อสม. และผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในชุมชนยังต้องแก้ไขในเรื่องการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และการศึกษาให้ทั่วถึงมากขึ้น

น.ส.พิมพ์พร กล่าวต่อว่า ปัญหาผู้ด้อยโอกาสในสังคมไทยตอนนี้ ต้นเหตุของปัญหาล้วนมาจากเรื่องการศึกษา ดังนั้นการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการแก้ไข เพราะวันนี้ปัญหาส่วนหนึ่งของเด็กที่ไม่ได้เข้าเรียนตามปกติ มักจะมีเหตุมาจากผู้ปกครองมีข้อจำกัด หรือมีความจำเป็น หรือไม่สามารถเข้าเรียนได้ เช่น อาจเป็นกลุ่มเปราะบาง ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาสที่มีฐานะยากจน

น.ส.พิมพ์พร ยังกล่าวถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ว่า ตนได้ร่วมทำโครงการพัฒนาศักยภาพสตรี ตำบลสะเดียง ซึ่งเป็นการฝึกอาชีพสานตะกร้าหวายเทียม ร่วมกับประธานกรรมการพัฒนาสตรี ทั้ง 13 หมู่บ้าน และชาวบ้านผู้ให้ความสนใจในการฝึกอาชีพสานตะกร้าหวายเทียม ซึ่งถือว่าเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานราก ยกระดับคุณภาพชีวิตชาวบ้านและชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้

“โครงการที่ดูเหมือนจะมีขนาดเล็ก ๆ แต่จะก่อนให้เกิดการพัฒนานวัตกรที่เป็นผู้รู้ภายในชุมชน ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นโครงการชาวบ้านชุมชนจะสามารถพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ และชุมชนสามารถเรียนรู้ที่จะคิดต่อยอดและพัฒนาได้ด้วยตนเอง”น.ส.พิมพ์พร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 พฤศจิกายน 2566