โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

เดือน: ตุลาคม 2023

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางการเกษตร มุ่งส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มอบหมายกรมชลฯลอกคลองป้องกันวัชพืชกระทบระบบนิเวศนทะเล

,

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางการเกษตร มุ่งส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มอบหมายกรมชลฯลอกคลองป้องกันวัชพืชกระทบระบบนิเวศนทะเล

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยี่ยมชมการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย พื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก (Globally Important Agricultural Heritage System : GIAHS) แห่งแรกของประเทศไทย ณ จุดชมวิว (บ้านแฝด) ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ซึ่งการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” เป็นระบบการทำการเกษตร (ปศุสัตว์) ที่สืบทอดมายาวนานมากกว่า 250 ปี มีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่การอยู่ร่วมกันของชุมชนกับธรรมชาติ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ วิวัฒนาการของทำการเกษตรอย่างยั่งยืน และการอนุรักษ์ระบบนิเวศให้สมดุล โดยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) ได้ประกาศรับรองพื้นที่ดังกล่าวเป็นมรดกทางการเกษตรโลก

สำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบแบบลากูน เชื่อมลุ่มน้ำปากพนังและลุ่มน้ำสงขลาเข้าด้วยกัน ซึ่งภายในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยประกอบไปด้วยระบบนิเวศย่อยมากมาย อาทิ ป่าพรุ ทุ่งหญ้า เนินสูง และบึงน้ำ ส่งผลให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำมากกว่า 200 สายพันธุ์ และเป็นจุดพักของนกอพยพตามเส้นทางการบินของเอเชียตะวันออกถึงออสเตรเลีย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่มีสถานะอนุรักษ์และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ส่งผลให้พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าและพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งบทบาทสำคัญในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยยังทำหน้าที่นิเวศบริการหล่อเลี้ยงผู้คนกว่า 50,000 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 จังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ตำบลเคร็งและตำบลแหลม) จังหวัดพัทลุง (ตำบลทะเลน้อยและตำบลพนางตุง) จังหวัดสงขลา (ตำบลบ้านขาว) ที่พึ่งพิงอาศัยทรัพยากรจากพื้นที่ชุ่มน้ำโดยตรง ก่อให้เกิดวิถีการทำการเกษตรที่หลากหลายและมีอัตลักษณ์โดดเด่น เช่น วิถีการเลี้ยงควายปลัก การทำหัตถกรรมกระจูด การปลูกข้าว “นาริมเล” และการทำประมงโดยใช้ยอยักษ์เป็นเครื่องมือทำการประมง เป็นต้น

ทั้งนี้ การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย สะท้อนสมดุลระหว่างวิถีชีวิตคนกับระบบนิเวศและการปรับตัวเพื่อให้สามารถทำกินในพื้นที่อนุรักษ์ได้อย่างเหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร กระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ช่วยยกระดับการท่องเที่ยวของจังหวัดให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบเกษตรที่สำคัญของโลก และจะนำไปสู่การแผนจัดการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนที่สร้างสมดุลทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐานสากลต่อไปให้อนาคต โดยพื้นที่ดังกล่าว มีเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย 228 ราย จํานวนควาย 4,480 ตัว และมีกลุ่มผู้เลี้ยงควาย 17 กลุ่ม

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ในการจัดการทรัพยากรทางการเกษตร เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดความยั่งยืน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน นอกจากนี้ ยังมอบหมายกรมชลประทาน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเจ้าท่า โยธาธิการจังหวัด และหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ นำเครื่องจักรเครื่องมือมาดำเนินการขุดลอกคลอง เพื่อเก็บกักวัชพืชที่ทำลายระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี (Varni) ซึ่งเป็นหนึ่งในวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ สร้างความมั่นคงในอาชีพ ก่อตั้งขึ้นโดย นางวรรณี เซ่งฮวด ภายใต้การส่งเสริมของสำนักงานเกษตรอำเภอควนขนุน และสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น คือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระจูด ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ผสมผสานระหว่างภูมิปัญญา เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการนำวัสดุอื่น ๆ จนได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม แปลกใหม่ และมีคุณภาพ นำมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กระจูด และสร้างงานให้คนในชุมชนกว่า 200 คน นำรายได้เข้าสู่ชุมชนกว่าปีละ 4 ล้านบาท

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 ตุลาคม 2566

“องอาจ สส.สระบุรี” ขอ รมว.มหาดไทย ดูแลประปาภูมิภาคพระพุทธบาท ปชช.เดือดร้อน กลายเป็นปัญหาซ้ำซาก ไร้การแก้ไข

,

“องอาจ สส.สระบุรี” ขอ รมว.มหาดไทย ดูแลประปาภูมิภาคพระพุทธบาท ปชช.เดือดร้อน กลายเป็นปัญหาซ้ำซาก ไร้การแก้ไข

นายองอาจ วงษ์ประยูร สส.สระบุรี เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ปัญหาซ้ำซากที่เกิดขึ้นในอำเภอพระพุทธบาท คือปัญหาน้ำประปาไม่ไหล ไหลอ่อน ไหลเป็นบางเวลาหรือไหลเฉพาะช่วงดึก ประชาชนต้องตื่นขึ้นมาช่วงกลางดึก เพื่อมารองน้ำไว้ใช้ ซึ่งตนเคยหารือปัญหานี้มาแล้วเมื่อสมัยประชุมที่แล้ว แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้รับการดูแลแก้ไขจากการประปาภูมิภาคพระพุทธบาท โดยปัญหาเริ่มขยายวงกว้างเป็นวิกฤติเดือดร้อนกันในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นแถวบริเวณตลาดนิคม ตลาดใน หลังโรงพยาบาลบริเวณ หมู่ 6 หมู่ 7 หมู่ 8 ตำบลขุนโขน หมู่ 7 พระพุทธบาท หมู่ 9 ชะอม เดือดร้อนกันทั่ว

นายองอาจ กล่าวต่อว่า สาเหตุของปัญหาหลักๆ คือเนื่องจากประปาภูมิภาคขยายเขตไปยังอำเภออื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าเกินศักยภาพของตัวเอง จึงปล่อยประละเลย ขุดใช้ประปาเก่า ไม่มีการปรับปรุงซ่อมแซมของเก่า ปล่อยท่อประปาเก่าชำรุดเสียหาย น้ำประปารั่วไหลทิ้ง นอกจากนี้ เครื่องสูบ เครื่องส่งน้ำหลัง ๆ ก็ไม่พอส่งน้ำให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองพระพุทธบาท

“ผมเคยสิ้นหวังกับการหารือในการแก้ปัญหาของน้ำประปาให้ท่านรัฐมนตรีมหาดไทยเข้ามาช่วยเรื่องประปาตรับ และขอฝากความหวังเรื่องนี้ให้กับท่านรัฐมนตรีให้ช่วยดูแลปัญหาเดือดร้อนปัญหาของประปาของพระพุทธบาทด้วย”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 ตุลาคม 2566

“จักรัตน์ สส.เพชรบูรณ์”ขอ กรมชลประทาน เร่งรัดโครงการสนับสนุนงบ 4 โครงการแก้น้ำท่วมอย่างยั่งยืน เชื่ อนาคตชาวหล่มสัก ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักแน่

,

“จักรัตน์ สส.เพชรบูรณ์”ขอ กรมชลประทาน เร่งรัดโครงการสนับสนุนงบ 4 โครงการแก้น้ำท่วมอย่างยั่งยืน เชื่ อนาคตชาวหล่มสัก ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักแน่

นายจักรัตน์ พั้วช่วย สส.เพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า พื้นที่อำเภอหล่มสักในขณะนี้เกิดอุทกภัยหนักมาก เกือบทุกตำบลในอำเภอหล่มสักเผชิญกับภัยน้ำท่วม โดยมีสาเหตุหลักมาจาก น้ำในแม่น้ำป่าสักที่ไหลจากจังหวัดเลยมีปริมาณน้ำมากจนล้นตลิ่ง,น้ำในห้วยสะดึงใหญ่ ที่มาจากอำเภอน้ำหนาวก็ไหลมารวมที่อำเภอหล่มสัก,ลำน้ำพูก็ไหลมารวมที่ป่าหล่มสัก,น้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยขอนแก่นที่มีปริมาณน้ำมาก จนต้องปล่อยน้ำออกมา เพราะเกรงปัญหาเรื่องอ่างเก็บน้ำรับน้ำไม่ไหว และปริมาณน้ำฝนลงในพื้นที่

“ผมจึงอยากให้กรมชลประทานช่วยเร่งรัดโครงการและสนับสนุนงบประมาณทั้ง 4 โครงการที่สำคัญดังนี้
1.โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสะดวงใหญ่ ตำบลท่าวิบูลย์
2.โครงการเพิ่มความจุของปากห้วยขอนแก่น ตำบลห้วยไร่
3.โครงการผันน้ำพื้นที่ตำบลตาเดียว เพื่อลดปริมาณน้ำไม่ให้เข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจของหล่มสัก
และ 4.ขอฝากกรมเจ้าท่า ขุดลอกแม่น้ำป่าสัก เพราะว่าตื้นเขินมาก เพื่อเพิ่มความจุของลำน้ำ

ในอนาคตอันใกล้นี้ถ้า 4 โครงการนี้ไม่เกิดขึ้นก็จะทำให้อำเภอหล่มสักประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างนี้ซ้ำซากและทุกๆปี ก็จะมีความรุนแรงมากขึ้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 ตุลาคม 2566

กลุ่มเกษตรกร 3 จว.ยื่นหนังสือ“บุญยิ่ง”ปธ.กมธ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ ขอ ก.พาณิชย์ลดค่าปุ๋ยเคมี ไม่ครอบคลุมพืชสวน

,

กลุ่มเกษตรกร 3 จว.ยื่นหนังสือ“บุญยิ่ง”ปธ.กมธ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ ขอ ก.พาณิชย์ลดค่าปุ๋ยเคมี ไม่ครอบคลุมพืชสวน

ที่รัฐสภา นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)การคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยคณะ กมธ. และ นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ รับยื่นหนังสือจาก นายสุชัช สายกสิกร ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรพืชสวนใน 3 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพื่อขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาปุ๋ยมีราคาแพง จากกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับลดราคาปุ๋ยเคมีลง ร้อยละ 8 จากราคาขายปกตินั้น ปรากฏว่าปุ๋ยเคมีที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศลดราคาเป็นกลุ่มปุ๋ยเคมีที่ใช้กับพืชไร่ นาข้าว และไร่อ้อยเท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุมพืชสวน ได้แก่ มะพร้าว มะนาว ฝรั่ง ชมพู่ และองุ่น ส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรพืชสวนที่ใช้ปุยเคมีสูตร 12-12-17 17-17-17 8-24-24 25-7-7 21-5-10 และ 13-13-21 ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากปรับลดราคาปุ๋ยของกระทรวงพาณิชย์
โดยนางบุญยิ่ง กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า คณะ กมธ. จะพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าว โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องกลุ่มเกษตรกรพืชสวน รวมทั้งเสนอเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาลดราคาปุ๋ยเคมีที่ใช้สำหรับพืชสวนต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2566

“อามินทร์”หนุน สภาฯตั้ง กมธ.วิสามัญ แก้ปัญหาชายแดนใต้อย่างจริงจัง ชี้ ปัจจัยเหตุภาครัฐยังแก้ปัญหาไม่ตก เพราะขาดความจริงใจในการทำงาน

,

“อามินทร์”หนุน สภาฯตั้ง กมธ.วิสามัญ แก้ปัญหาชายแดนใต้อย่างจริงจัง ชี้ ปัจจัยเหตุภาครัฐยังแก้ปัญหาไม่ตก เพราะขาดความจริงใจในการทำงาน

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)กล่าวอภิปรายในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อสนับสนุนญัตติด่วน ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา ติดตามและส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ปัญหาหลัก ๆ ของชายแดนใต้คือ ความเหลื่อมล้ำที่ทุกรัฐบาลพยายามแก้ไข และใช้งบประมาณมากมายมหาศาล แต่ก็เหมือนยังงมเข็มอยู่ในทะเล เพราะขาดความจริงใจทำงาน คนละทิศคนละทาง ทำงานซ้ำซ้อนวนเวียนอยู่ที่เดิม เกิดเหตุทีนึง ก็ต้องกลับมาเริ่มใหม่ทุกครั้ง สิ่งที่ตนอยากจะสะท้อนปัญหาคือความไม่ต่อเนื่องในการแก้ปัญหา เช่น ผู้ปฏิบัติงานราชการระดับสูง ส่วนใหญ่ย้ายเข้ามาภาคใต้เพียงเพื่อเป็นทางผ่าน

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาข้าราชการท้องถิ่นย้ายมาเพื่อเอาอายุราชการทวีคูณ พอได้ดังใจก็ย้ายออกไป มันเลยเกิดความไม่ต่อเนื่องในการสานต่อแก้ไขปัญหา เพราะระยะเวลาสั้น ๆ จะไม่สามารถเข้าใจบริบทของคนในพื้นที่ได้อย่างถ่องแท้ ดังนั้นข้าราชการทุกคน ที่จะเข้ามาทำงานในสามจังหวัดใช้แดนภาคใต้ ควรจะมีระยะเวลาในการทำงานที่เหมาะสม มีกรอบการทำงานที่ชัดเจน ไม่เอาแล้วประเภทย้ายมาปีเดียว แล้วเกษียณ

“ความจริงใจในการแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัด นราธิวาส ที่เป็นพื้นที่ เศรษฐกิจพิเศษ เป็นพื้นที่ ๆ ถูกพัฒนาขึ้นมา ภายใต้กฎหมายและการบริหารจัดการที่มีลักษณะเฉพาะ เช่นออกกฏหมายที่ค่อนข้าง มีความเสรี การให้สิทธิพิเศษต่างๆ แกผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ แต่พี่น้องที่นี่กลับไม่ได้รู้สึกพิเศษแต่อย่างใด หรือมีเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้นที่มีความรู้สึกพิเศษ“นายอามินทร์ กล่าว

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า ก่อนที่เราจะเจอภัยโควิด พื้นที่ชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นด่านสุไหงโกลก ตากใบหรือแม้แต่เบตง เคยเป็นเมืองแห่งความสุข การค้าดี เศรษฐกิจดี และเห็นได้ชัดว่า เศรษฐกิจในพื้นที่จะดีหรือไม่ดี ล้วนขึ้นอยู่กับการค้าขายระหว่างประเทศ แต่หลังจากที่เราผ่านภัยโควิดมาได้ ภาครัฐได้ใช้วิธีการหักดิบ ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการควบคุมการเข้าออกของ นักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย ไม่ว่าจะเป็นส่วนของยานพาหนะ ตนขอให้กรมศุลกากร ตำรวจ ทหาร รวมกับท้องที่ ท้องถิ่น ผู้ประกอบการหรือพี่น้องประชาชน ร่วมกันหาทางออกอย่างจริงจัง และอย่าใช้ช่องว่างตรงนี้เอาเปรียบชาวบ้านตาดำๆ เรื่องนี้ต้องคุยกันยาว ดังนั้นตน เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพราะนี่จะเป็นครั้งแรกในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงๆจังๆเสียที

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” แจ้งข่าวดีสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ มีแนวโน้มสามารถสนับสนุนการทำการเกษตรได้ทุกกิจกรรมในช่วงฤดูแล้งนี้

,

“รมว.ธรรมนัส” แจ้งข่าวดีสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ มีแนวโน้มสามารถสนับสนุนการทำการเกษตรได้ทุกกิจกรรมในช่วงฤดูแล้งนี้

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ โดยมีนายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารกรมชลประทาน และสำนักงานชลประทานที่ 1 – 17 เข้าร่วม ณ ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน และผ่านระบบออนไลน์ (Video Conference) ซึ่งจากปริมาณฝนที่ตกในช่วงที่ผ่ามมา ส่งผลต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณเกินร้อยละ 80 ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เขื่อนกิ่วลม เขื่อนแม่มอก เขื่อนห้วยหลวง เขื่อนน้ำอูน เขื่อนน้ำพุง เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำปาว เขื่อนสิรินธร เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนประแสร์ และเขื่อนนฤบดินทรจินดา ซึ่งกรมชลประทานมั่นใจว่าสามารถบริหารจัดการและควบคุมสถานการณ์ได้ อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะสามารถสนับสนุนทุกกิจกรรมในช่วงฤดูแล้ง สำหรับอ่างเก็บน้ำอื่น ๆ กรมชลประทานมีการติดตามและวางแผนการบริหารจัดการในช่วงฤดูแล้ง มั่นใจไม่กระทบการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ กรมชลประทานยังได้รายงานสถานการณ์น้ำและแนวทางการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตามข้อห่วงใยของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด

รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า จากปริมาณน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันมีปริมาณน้ำมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากมีฝนตกจำนวนมาก ทำให้น้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้น จึงมีโอกาสในการทำนาปรังในพื้นที่เขตชลประทาน อย่างไรก็ตาม พื้นที่ในการทำนาปรังดังกล่าว จะต้องผ่านคณะทำงานวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ที่มีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นฝ่ายเลขานุการ หากมีมติเห็นชอบ กระทรวงเกษตรฯ จะนำเข้าคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ต่อไป

ทั้งนี้ ปัจจุบันปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จำนวน 8,524 ล้าน ลบ.ม. และคาดการณ์ว่า ในวันที่ 1 พ.ย. 66 จะมีจำนวน 9,673 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งน้อยกว่าปี 2565 จำนวน 4,401 ล้าน ลบ.ม.

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2566

“กาญจนา สส.ชัยภูมิ” เร่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงถนนทางหลวงหมายเลข 2159 ให้กว้าง 12 เมตร เพิ่มความปลอดภัยให้ ปชช.ในการสัญจร

,

“กาญจนา สส.ชัยภูมิ” เร่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงถนนทางหลวงหมายเลข 2159 ให้กว้าง 12 เมตร เพิ่มความปลอดภัยให้ ปชช.ในการสัญจร

น.ส.กาญจนา จังหวะ สส.ชัยภูมิ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาถึงความเดือดร้อนของประชาชนว่า ตนได้ลงพื้นที่ด้วยตัวเองในถนนทางหลวงหมายเลข 2159 ช่วงชัยภูมิ หนองบัวแดง ระยะทาง 42 กิโลเมตร สภาพถนน
ทั้ง 8 เมตร โดยมีพื้นทางกว้าง 7เมตร ไหลทางกว้าง 0.5 เมตร ซึ่งถนนทางหลวงดังกล่าวไม่ได้รับการพัฒนายังคงสภาพเดิม ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างเมื่อครั้งแรก และปัจจุบันกลายเป็นถนนที่แคบ อีกทั้งจราจรเพิ่มขึ้นทุกปีไม่ว่าจะเป็นรถจักรยานยนต์ รถบรรทุกขนาดใหญ่ ที่บรรทุกพืชผลทางเกษตรไปยังจังหวัดจำนวนมากทำให้ เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

“ดิฉันจึงขอฝากไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ สายทางหลวงดังกล่าว ปรับปรุงให้เป็นมาตรฐานกว้าง 12 เมตร เพิ่มทางสะดวกและปลอดภัยให้แก่พี่น้องประชาชนในการสัญจรไปมาในเส้นทางหลวงดังกล่าวด้วย“น.ส.กาญจนา กล่าว

น.ส.กาญจนา กล่าวต่อถึงการก่อสร้างข้ามลำน้ำเจา เป็นหมู่บ้านที่ขาดการพัฒนา แต่เดิมสะพานนี้ ชาวบ้านบริจาคเงินสมทบในการสร้างสะพานเอง โดยไม่ได้รับ แบบมาตรฐาน ความเดือดร้อนอันยิ่งใหญ่ของพ่อแม่พี่น้องอำเภอภักดีชุมชน หมู่บ้านวังตระกูล ตำบล แหลมทอง ตนขอฝากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เร่งสร้างสะพานให้ได้แบบมาตรฐานอย่างเร่งด่วน เพราะสะพานดังกล่าวชำรุดมาก จึงขอให้ดำเนินการอย่างโดยเร็ว เพื่อความสะดวกและปลอดภัยแก่พี่น้องประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2566

สส.พปชร.ร่วมงานเลี้ยงรับรองสมาชิกสภาผู้แทนฯ รุ่นที่ 26 สานสัมพันธ์อันดีรัฐบาลไทย-สหรัฐฯ

,

สส.พปชร.ร่วมงานเลี้ยงรับรองสมาชิกสภาผู้แทนฯ รุ่นที่ 26 สานสัมพันธ์อันดีรัฐบาลไทย-สหรัฐฯ

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2566 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ได้ร่วมงานเลี้ยงรับรองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 ตามคำเชิญของสถานเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โดยมี สส.ในฐานะตัวแทนของพรรคเข้าร่วมงาน อาทิ นายวิริยะ ทองผา สส. มุกดาหาร เขต 1, นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 , นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 , นายชัยมงคล ไชยรบ สส. สกลนคร เขต 5 และนายอัคร ทองใจสด สส. เพชรบูรณ์ เขต 6 โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการสานสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันนิติบัญญัติไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ทั้งนี้ ภายในงานได้มีตัวแทนจากสถานฑูตต่างๆ สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) และนักวิชาการ เข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพียง ณ ทำเนียบเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 ตุลาคม 2566

“ส.ส.ไผ่ ลิกค์” รับรมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่กำแพงเพชรช่วยเหลือปชช.หลังได้รับผลกระทบ ฝายบางบัวเสียหาย มอบแนวทางฟื้นฟูแหล่งน้ำกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

,

“ส.ส.ไผ่ ลิกค์” รับรมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่กำแพงเพชรช่วยเหลือปชช.หลังได้รับผลกระทบ ฝายบางบัวเสียหาย มอบแนวทางฟื้นฟูแหล่งน้ำกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

นายไผ่ ลิกค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จ.กำแพงเพชร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจติดตามความเสียหายของฝายวังบัว บ้านโขมงหัก ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ที่ไก้นับผลกระทบจากพายุฝนและมีฝนตกอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วที่มีความรุนแรงในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม ​ที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายกับฝายวังบัวมีการแตกและชำรุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอแผนขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการซ่อมแซมทันที ซึ่งถ้าหากฝายวังบัวได้รับการซ่อมแซมได้ดีปกติแล้ว ก็จะสามารถทำให้พี่น้องเกษตรกรทั้งจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดพิจิตร จะสามารถนำน้ำมาใช้เพื่อทำการเกษตรได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตามขอขอบพระคุณท่าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ให้เกียรติลงพื้นที่มาช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน พร้อมกับ มอบแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งตนและทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยกันเร่งแก้ไข่ปัญหา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องชาวเกษตกรจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดใกล้เคียงสามารถกลับมาใล้ชีวิตและประกอบอาชีพได้ตามปกติได้และสามารถใช้ประโยชน์นำน้ำจากฝายวังบัวเพื่อการอุปโภคและบริโภคต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 ตุลาคม 2566

“พัชรวาท” มอบโล่ผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ปิดเวที TCAC 2023 ปลื้มทุกภาคส่วนตอบรับร่วมขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

,

“พัชรวาท” มอบโล่ผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ปิดเวที TCAC 2023 ปลื้มทุกภาคส่วนตอบรับร่วมขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

วันนี้ (7 ตุลาคม 2566) เวลา 11.00 น. พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เป็นประธานมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก (Climate Action Leading Organization: CALO) จำนวน 15 องค์กร และ ผู้นำเยาวชนและภาคประชาสังคม จำนวน 5 ราย ในการปิดเวทีการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 หรือ Thailand Climate Action Conference: TCAC 2023 ภายใต้แนวคิด “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยมี นายนพดล พลเสน เลขานุการ รมว.ทส. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ผู้แทนภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เยาวชน และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

การจัดประชุม TCAC 2023 ตลอด 2 วันที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 3,700 คน จาก 48 ประเทศ โดยการประชุมในวันที่ 2 นี้ เปิดเวทีด้วยการเสวนาในหัวข้อ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Long Term Climate Resilience) โดย ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย นายศุภกร ชินวรรโณ นักวิชาการอิสระ และนายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการรับฟังเสียงสะท้อน เพื่ออนาคตไทย (Climate Action We Want) จากภาคประชาชนและเยาวชน ได้แก่ นายจิระภัทร ศรีทะวงษ์ ผู้แทนเยาวชน Net – Zero Thailand: ACE Youth Ideathon Camp นางสาวโทโมโกะ อิคุตะ ผู้แทนเยาวชนไทยที่เข้าร่วมการประชุม COP27 นายณัฐชนน ไตรธรรม ผู้แทนเครือข่ายเยาวชนระดับโลกเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพประจำประเทศไทย (Global Youth Biodiversity Network: GYBN Thailand) นางสาวประไพ เรืองฤทธิ์ กรรมการและเลขานุการเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จ.ระนอง และนายสาคร สงมา ประธานสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

นอกจากนี้ ยังมีการแถลงข่าวสรุปผลการจัดประชุม TCAC 2023 โดยมีการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดงานระหว่างวันที่ 6 – 7 ตุลาคม 2566 ซึ่งคำนวณจากข้อมูลการเดินทางเข้าร่วมงาน การใช้พลังงานไฟฟ้าในการจัดงาน ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น และการจัดเลี้ยงอาหารว่างและเครื่องดื่ม พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวม 3,200 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และได้มีการนำคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VER ประเภทการผลิตพลังงานทดแทนจากเชื้อเพลิงชีวมวลมาชดเชย เพื่อให้เวทีการประชุม TCAC 2023 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutral Event และผลจากการประชุมในครั้งนี้ จะถูกนำไปเสนอในช่วงสมัยประชุมสมัชชารัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 28 (COP28)​ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน -​12 ธันวาคม 2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังและความมุ่งมั่นของทุกภาคส่วนที่จะนำพาประเทศไทยให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ติดตามสถานการณ์การนำเข้า – ส่งออกสินค้าเกษตรด่านพรมแดนถาวร อ.แม่สอด จ.ตาก เข้มเดินหน้าปราบสินค้าเกษตรเถื่อนลักลอบ รักษาผลประโยชน์ปชช.

,

“รมว.ธรรมนัส” ติดตามสถานการณ์การนำเข้า – ส่งออกสินค้าเกษตรด่านพรมแดนถาวร อ.แม่สอด จ.ตาก เข้มเดินหน้าปราบสินค้าเกษตรเถื่อนลักลอบ รักษาผลประโยชน์ปชช.

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามงาน และพบพี่น้องเกษตรกร ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดตาก ณ ห้องประชุมเพชรน้ำหนึ่ง ชั้น 6 สำนักงานเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ว่า จากนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้กำหนดมาตรการประกาศสงครามกับสินค้าเกษตรเถื่อน มุ่งปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ที่ผิดกฎหมายอย่างจริงจัง จึงก่อให้เกิดปัญหาการลักลอบขนส่งสินค้า ซึ่งพื้นที่จังหวัดตากนั้น เป็นพื้นที่ตะเข็บขายแดนระหว่างไทย – เมียนมา ระยะทางประมาณ 533 กิโลเมตร จึงทำให้มีการลักลอบนำเข้าสินค้าทางช่องทางธรรมชาติได้ง่าย ซึ่งเป็นวิถีชาวบ้านที่มีการปลูกพืชในฝั่งพม่า เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจึงมีการลักลอบมาฝั่งไทย การขนส่งสินค้าทางการเกษตรผ่านด่านพรมแดนถาวร จังหวัดตาก มีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบการปฏิบัติงาน จำนวน 3 ด่าน ประกอบด้วย ด่านกักกันสัตว์ตาก ด่านตรวจพืชแม่สอด และด่านตรวจประมงตาก ดำเนินการตรวจสอบควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าเกษตร การออกใบอนุญาตต่างๆ รวมถึงการป้องกันการลักลอบนำเข้า – ส่งออกสินค้า ทั้งทำการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารของทางราชการให้เกษตรกรและผู้ประกอบการได้ทราบ ให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโรคระบาด และความเสียหายเนื่องจากการเกิดโรคระบาด เนื่องจากกรมปศุสัตว์ได้ห้ามนำเข้าโค กระบือ แพะ และแกะ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ จึงก่อให้เกิดปัญหาการลักลอบขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านช่องทางธรรมชาติ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด
รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า จากการหารือในวันนี้ ได้มอบนโยบายให้ทางกรมปศุสัตว์ เตรียมปลดล็อคคำสั่งชะลอการนำเข้าโค – กระบือ และสัตว์ต่างๆเข้าสู่ราชอาณาจักรไทย พร้อมให้ทางกรมปศุสัตว์ หาแนวทางร่วมกับผู้ประกอบการเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์ สร้างความร่วมมือระหว่างไทยและเมียนมา ด้านความรู้การผลิต และพัฒนาสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน มีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปตามกฎหมายการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรในเงื่อนไขเดียวกัน
ทั้งนี้ การนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตรผ่านด่านชายแดน (ด่านตรวจพืชแม่สอด ด่านกักกันสัตว์ตาก และด่านตรวจประมงตาก) ดังนี้ 1) ด่านตรวจพืชแม่สอด (1 ต.ค. 65 – 25 ก.ย. 66) มีสินค้าเกษตรนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เมล็ดข้าวโพด 539,926 ตัน มูลค่า 6,334 ล้านบาท แป้งข้าวข้าวจ้าว 162,438 ตัน มูลค่า 657 ล้านบาท และแป้งข้าวกล้อง 39,981 ตัน มูลต่า 619 ล้านบาท ด้านสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด 4,888 ตัน มูลค่า 521 ล้านบาท กากถั่วเหลือง 5,392 ตัน มูลค่า 120 ล้านบาท และแอปเปิ้ล 780 ตัน มูลค่า 23 ล้านบาท 2) ด่านกักกันสัตว์ตาก ในปี 2566 สินค้าปศุสัตว์นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ โค 78,722 ตัว มูลค่า 2,361 ล้านบาท กระบือ 5,876 ตัว มูลค่า 176 ล้านบาท และแพะ 90,562 ตัว มูลค่า 135 ล้านบาท สินค้าซากสัตว์นำเข้า ได้แก่ หนังโค-กระบือหมักเกลือ 482 ตัน มูลค่า 14 ล้านบาท ส่วนสินค้าปศุสัตว์ส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ไก่ไข่ปลดระวาง 2,063,683 ตัว มูลค่า 82 ล้านบาท สุกรขุน 15,020 ตัว มูลค่า 60 ล้านบาท และสุกรพันธุ์ 4,428 ตัว มูลค่า 17 ล้านบาท สินค้าซากสัตว์ส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อไก่ 4,627 ตัน มูลค่า 323 ล้านบาท ไส้กรอกไก่ 3,587 ตัน มูลค่า 179 ล้านบาท และไส้กรอกหมู 2,013 ตัน มูลค่า 100 ล้านบาท 3) ด่านตรวจประมงตาก ปี 2566 สินค้าสัตว์น้ำนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ปลายี่สกเทศ 750 ตัน มูลค่า 59 ล้านบาท หอยแครง 837 ตัน มูลค่า 42 ล้านบาท และกุ้งเคย 1,319 ตัน มูลค่า 20 ล้านบาท สำหรับสินค้าสัตว์น้ำส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ปลาทรายแดง (ลูกชิ้น) 1,673 ตัน มูลค่า 175 ล้านบาท หอยนางรม (ซอส) 2,668 ตัน มูลค่า 122 ล้านบาท และปลากะตัก (น้ำปลา) 3,022 ตัน มูลค่า 93 ล้านบาท

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 ตุลาคม 2566

“นายกเศรษฐา” ควงคู่ “พัชรวาท” เปิดประชุม TCAC 2023 ตั้งเป้าประสานความร่วมมือ เร่งแก้โลกร้อน-ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นรูปธรรม

,

“นายกเศรษฐา” ควงคู่ “พัชรวาท” เปิดประชุม TCAC 2023 ตั้งเป้าประสานความร่วมมือ เร่งแก้โลกร้อน-ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นรูปธรรม

วันนี้ (6 ตุลาคม 2566) พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงฯ และคณะผู้บริหารกระทรวงฯ ให้การต้อนรับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในโอกาสให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 (Thailand Climate Action Conference: TCAC 2023) ภายใต้แนวคิด “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยมีคณะรัฐมนตรี เอกอัครราชทูต องค์กรระหว่างประเทศ ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าร่วมการประชุม ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-7 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ในช่วงพิธีเปิดการประชุม พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.ทส. ได้กล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีว่า ในนามของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงาน TCAC 2023 ซึ่งถือเป็นเวทีสำคัญในการสร้างพลังขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ในทุกระดับและทุกภาคส่วน ในการมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 และการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามที่ได้แสดงเจตจำนงไว้ต่อประชาคมโลก รวมถึงเผยแพร่ความก้าวหน้าการดำเนินงาน การถ่ายทอดเป้าหมายระดับโลก มาสู่ทิศทางการดำเนินงานในประเทศไทย เพื่อให้รู้เท่าทันสถานการณ์และร่วมกันสร้างความพร้อมในการนำไปสู่การปฏิบัติในทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม

“การจัดประชุม TCAC 2023 เป็นหนึ่งในเวทีสำคัญของประเทศไทย ที่จะมีการนำเสนอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความคาดหวัง เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานที่ชัดเจน สามารถจับต้องได้ โดยผลจากการประชุมครั้งนี้จะนำไปรายงานในช่วงสมัยประชุมสมัชชารัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 28 (COP28) ซึ่งมีกำหนดจัดในระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม 2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะผลักดันประเด็นการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy transition) และการยกระดับเศรษฐกิจไปสู่การค้าการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ (Climate’s capital) ต่อไป” พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าว

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวในช่วงพิธีเปิดตอนหนึ่งว่า สำหรับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ หากปราศจากความร่วมมือจากทุกคนในสังคม ดังนั้นจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นทุกภาคส่วนมาร่วมงานในวันนี้ หวังว่าการประชุมในวันนี้จะเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิด เสริมสร้างความร่วมมือ และดำเนินงานร่วมกัน เพราะเชื่อว่าถ้าเราร่วมมือกัน เราสามารถบรรลุสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังถือเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยและภาคธุรกิจที่จะขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืน ผ่านการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ในภาคการผลิตและบริการ ซึ่งปัจจุบันองค์กรชั้นนำส่วนใหญ่มีการส่งเสริมการใช้มาตรการเพื่อความยั่งยืนด้วยแล้ว และหวังให้การประชุมในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ โดยรัฐบาลยินดีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมในครั้งนี้ด้วย” นายกรัฐมนตรีกล่าว

หลังพิธีเปิด รองนายกฯ และรมว.ทส. ยังได้นำ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยผู้นำในภาครัฐ ภาคธุรกิจ เยี่ยมชมการจัดนิทรรศการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนิทรรศการทั้งจากภาครัฐและเอกชนในงาน Sustainability Expo 2023 (SX2023) ภายใต้แนวคิด “สมดุลที่ดี เพื่อโลกทีดีกว่า” Good Balance, Better World ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรม และสาระมากมายให้ร่วมสนุก และเพลิดเพลินไปกับความรู้รอบตัว ทั้งเรื่่องอาหาร สุขภาพ การใช้ชีวิตประจำวัน ไปจนถึง ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พลังงาน ความหลากหลายทางชีวภาพ บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ฯลฯ และโมเดลต้นแบบด้านความยั่งยืนมิติต่างๆ ของภาคธุรกิจ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 ตุลาคม 2566