โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 20 กุมภาพันธ์ 2023

ลุงป้อม’ ยืนยัน 2ปีไม่มีภัยแล้ง เดินหน้าช่วยชาวบ้านต่อเนื่อง สานต่อ”โครงการแก้มลิง” สร้างความมั่นคงน้ำ ประชาชนอยู่ดีกินดี

ลุงป้อม’ ยืนยัน 2ปีไม่มีภัยแล้ง เดินหน้าช่วยชาวบ้านต่อเนื่อง สานต่อ”โครงการแก้มลิง” สร้างความมั่นคงน้ำ ประชาชนอยู่ดีกินดี

พล.อ.ประวิตร ลงพื้นที่ จ.ตราด ติดตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ช่วยเหลือ ปชช./รองรับ EEC ชาวบ้านดีใจ ได้ใกล้ชิด รับรู้ลุงทุ่มเท จริงใจ ไม่ท้อดทิ้งปชช. อยากให้เป็น นายกฯ

เมื่อ 20 ก.พ.66, 14.30น. พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ในฐานะ ผอ.กอนช. พร้อมด้วย รมว.ดีอีเอส ,รมว.ศธ. ,รมช.คลัง ,รมช.กห. และคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่ต่อเนื่องจากช่วงเช้า (จ.จันทบุรี) เพื่อไปปฎิบัติราชการพื้นที่ จ.ตราดในช่วงบ่าย โดยเมื่อเดินทางถึง โครงการแก้มลิงหนองฉุงใหญ่ อ.เขาสมิง จ.ตราด มีนายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผวจ. ให้การต้อนรับจากนั้น ได้รับฟังการบรรยายสรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำ จาก เลขาฯ สทนช. ต่อด้วยอธิบดีกรมชลประทาน เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ และอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำได้รายงานผลการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำในพื้นที่ รวมทั้ง นายก อบต.ประณีต ได้รายงานผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในระดับชุมชน ที่สำคัญโดยสรุป จ.ตราด พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก มีลำน้ำสำคัญ คือแม่น้ำตราด และมีฝนตกชุกเกือบตลอดปี มีโครงการสำคัญ ที่รัฐบาลสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมและแก้ปัญหาภัยแล้ง ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ได้แก่โครงการแก้มลิงฉุงใหญ่ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ 1,000 ไร่ 1,244 ครัวเรือนและยังช่วยชะลอการไหลของน้ำ บรรเทาการเกิดอุทกภัยพื้นที่ตอนล่าง ,โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูคลอง ทรายขาว-หนองหวีด- คุ้งกะปาง ช่วยพื้นที่เกษตรได้ 6,000 ไร่ รวมถึง โครงการ”เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคุณภาพน้ำบริโภค” และโครงการ”งานปิดกั้นคันดินกั้นน้ำเค็มชั่วคราว คลองเวฬุ-ท่าเสมอ” เป็นต้น

จากนั้น พล.อ.ประวิตร ได้มอบนโยบายที่สำคัญให้ สทนช. ,กรมชลประทาน ,กรมทรัพยากรน้ำ ,จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งขับเคลื่อนโครงการน้ำ ให้แล้วเสร็จ ตามแผนงานโดยเร็ว รวมถึง เข้มงวด 10มาตรการ รองรับฤดูแล้ง เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำ อย่างยั่งยืน ตามแนวทางพระราชดำริ ร.9 และตรงกับความต้องการของประชาชน รวมทั้งเตรียมแหล่งน้ำสำรอง โดยเฉพาะให้เร่งรัดโครงการอ่างเก็บน้ำวังโตนด รองรับพื้นที่ EEC ซึ่งจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น และประเทศชาติ ต่อไป

พล.อ.ประวิตร ยังได้พบปะพี่น้องประชาชนที่มาให้การต้อนรับ อย่างอบอุ่น เป็นกันเอง สร้างความประทับใจให้กับประชาชน ข้าราชการ ท้องถิ่น แม้จะอยู่ห่างไกลก็เดินทางมาเยี่ยม โดยประชาชนรู้สึกดีใจที่ท่านไม่ถือตัว เข้าพบใกล้ชิดได้ง่าย ดูมีเมตตา จริงใจรักประชาชน แม้ชาวบ้านที่เดือดร้อนจะอยู่พื้นที่ห่างไกลก็ไม่เคยทอดทิ้ง จึงอยากให้ท่านเป็นนายกฯ คนต่อไป

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจ และยืนยันต่อพี่น้องประชาชน ถึงผลของการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ที่ผ่านมา ซึ่งตนได้ให้ความสำคัญเร่งด่วนต่อ การแก้ปัญหาเรื่องน้ำมาโดยตลอด ด้วยการมอบนโยบายกำหนดมาตรการรองรับฤดูแล้ง และเน้นปฏิบัติงานเชิงรุก มีการเตรียมความพร้อมก่อนถึงฤดูแล้ง เช่น การประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ทั้งน้ำอุปโภค-บริโภคและการเกษตร การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ซึ่งส่งผลทำให้ปี62-ปี65 มีพื้นที่ประกาศภัยแล้งลดลงตามลำดับ กระทั่งปี64-65 ไม่มีการประกาศจาก ปภ. ว่ามีพื้นที่ใดเลย ประสบภัยแล้งอีก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2566

“รมช.อธิรัฐ” ร่วมพิธีเปิดการตรวจสอบประเทศสมาชิก (IMO Member State Audit Scheme, IMSAS) ยกระดับมาตรฐานทางทะเลของไทย

“รมช.อธิรัฐ” ร่วมพิธีเปิดการตรวจสอบประเทศสมาชิก (IMO Member State Audit Scheme, IMSAS) ยกระดับมาตรฐานทางทะเลของไทย

วันจันทร์ที่ 20 ก.พ.66 ณ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด”การตรวจสอบประเทศสมาชิก (IMO Member State Audit Scheme, IMSAS)” โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานฯ และผู้บริหารกระทรวงคมนาคม ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมในพิธี

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก IMO ตั้งแต่ปี 2516 และเข้าเป็นภาคีอนุสัญญากว่า 15 ฉบับ ประเทศไทยเคยเข้าตรวจประเมินภาคสมัครใจ เมื่อปี 2550 พบข้อบกพร่องของการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด 6 รายการ และข้อสังเกตเพื่อการปรับปรุง 20 รายการ ต่อมา IMO ได้จัดทำโครงการตรวจประเมินประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลภาคบังคับ (IMSAS) เพื่อประเมินประเทศสมาชิกเกี่ยวกับการบริหารจัดการและการอนุวัติการตราสารขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศที่เป็นภาคบังคับต่าง ๆ โดย IMO จะเข้าตรวจประเมินภาคบังคับของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 20-27 ก.พ.66

นายอธิรัฐ กล่าวว่า ตนในฐานะที่กำกับดูแลกรมเจ้าท่า ได้มีการติดตามความก้าวหน้าและขับเคลื่อนการดำเนินการเตรียมความพร้อมรับการตรวจอย่างต่อเนื่อง โดยกรมเจ้าท่าได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปรับปรุงการปฏิบัติ และแก้ไขข้อบกพร่องและข้อสังเกตุที่พบจากการจำลองการตรวจสอบแบบเสมือนจริง เพื่อให้เป็นไปตามแผนและเป้าหมายที่กำหนด สอดคล้องกับพันธกรณีของอนุสัญญาระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ นายอธิรัฐ ได้แสดงความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยมีความพร้อมในรับการตรวจประเมินจาก IMO โดยมีเป้าหมายผลการตรวจในระดับดีเยี่ยม (Perfect) ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีมาตรฐานทางทะเลที่เป็นสากล สร้างความเชื่อมั่นเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ส่งเสริมและพัฒนาให้กิจการพาณิชยนาวีของไทยมีความเข้มแข็ง ขับเคลื่อนสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของไทยอย่างมั่นคงต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2566

“พล.อ.ประวิตร” ลุยแก้ปัญหาน้ำที่ดินทำกินภาคตะวันออก ขยายผลความสำเร็จเกษตรกรรุ่นใหม่ทั่วประเทศ

,

“พล.อ.ประวิตร” ลุยแก้ปัญหาน้ำที่ดินทำกินภาคตะวันออก
ขยายผลความสำเร็จเกษตรกรรุ่นใหม่ทั่วประเทศ

20 กุมภาพันธ์ 2566 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางลงพื้นที่ จ.จันทบุรี และ จ.ตราด ติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหาที่ดินทำกิน และการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ภาคตะวันออก โดยได้รับทราบความคืบหน้า การแก้ปัญหาที่ดินทำกิน ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการแก้ปัญหาความยากจนลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยเฉพาะการกระจายการถือครองที่ดินทำกินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนให้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองและมีที่อยู่อาศัย พร้อมทั้งได้มอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และตัวแทนเกษตรกร พร้อมทั้งเยี่ยมชมแปลงเกษตรวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรุ่นใหม่พัฒนาและพบปะรับทราบปัญหาจากประชาชนในพื้นที่ อ.โป่งน้ำร้อน

พล.อ.ประวิตร ได้แสดงความขอบคุณ สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. ที่ขับเคลื่อนแก้ปัญหาที่ดินทำกินอย่างมีพัฒนาการและก้าวหน้าในทุกด้าน โดยได้มอบสิทธิที่ดินทำกินแล้วในหลายพื้นที่ เช่น เชียงใหม่ นครราชสีมา และตาก โดยย้ำ ส่วนราชการในพื้นที่ และ บธจ. ขอให้ความสำคัญ ในการป้องกันการสูญเสียสิทธิที่ดินทำกินให้เกษตรกรจากการจำนองและการขายฝาก เพื่อให้เกษตรกรยังคงสิทธิในที่ดินทำกินของตนเอง ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการใข้ประโยชน์ที่ดินให้เต็มศักยภาพ รวมทั้งการแก้ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนไปพร้อมกัน พร้อมทั้งชื่นชมและขอบคุณ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรุ่นใหม่ ต.ทับไทร อ.โป่งน้ำร้อน ที่ประสบความสำเร็จเป็นต้นแบบในการพัฒนาศักยภาพ เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ( Young Smart Farmer ) ที่ทำเกษตรอินทรีย์ปลอดภัยแบบครบวงจร ตั้งแต่การผลิต แปรรูป การตลาดและจำหน่าย โดยร่วมกับสถาบันการศึกษา ภาครัฐและเอกชน ชุมชน มีส่วนร่วมพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มศักยภาพและยั่งยืนร่วมกัน

พล.อ.ประวิตร ยังได้กล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินและน้ำ ที่จะรุนแรงมากขึ้น หากไม่ร่วมมือกันปกป้องรักษาไว้ โดยขอให้หน่วยงานในพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนส่งเสริมพี่น้องเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อรักษาที่ดินให้สามารถส่งต่อลูกหลาน โดยเฉพาะพื้นที่ที่ประชาชนขอความช่วยเหลือ และขอให้ขยายผลความสำเร็จของต้นแบบ เกษตรกรรุ่นใหม่ ( Young Smart Farmer ) อ.โป่งน้ำร้อน ไปยังพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ เพื่อการพัฒนาที่เข้มแข็งยั่งยืนไปด้วยกัน พร้อมยืนยันว่า เราจะมุ่งมั่นเดินหน้าแก้ปัญหาที่ดินทำกินและน้ำ โดยกระจายการใช้ประโยชน์ให้ทั่วถึงเป็นธรรมกับทุกกลุ่ม ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน เพื่อให้เราสามารถหลุดพ้นกับดักความยากจนให้ได้ในที่สุด

จากนั้น บ่ายวันเดียวกัน พล.อ.ประวิตร ได้เดินทางต่อไปจ.ตราด เพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออกในภาพรวม โดยเฉพาะการเตรียมการรับภัยแล้ง


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2566