โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 9 กุมภาพันธ์ 2023

“อุตตม” โชว์นโยบาย “พปชร.” ชูแนวคิด “ประชารัฐ” ลั่นไม่ใช่ประชานิยม แต่เป็นความร่วมมือ “รัฐ-เอกชน-ประชาชน” ชู แนวทางบริหาร 3 ส่วน “ทำเรื่องเร่งด่วน- เร่งรัดวางรากฐานการพัฒนา-ปฏิรูประบบราชการ”

,

“อุตตม” โชว์นโยบาย “พปชร.” ชูแนวคิด “ประชารัฐ” ลั่นไม่ใช่ประชานิยม แต่เป็นความร่วมมือ “รัฐ-เอกชน-ประชาชน” ชู แนวทางบริหาร 3 ส่วน “ทำเรื่องเร่งด่วน- เร่งรัดวางรากฐานการพัฒนา-ปฏิรูประบบราชการ”

วันที่ 9 ม.ค. 2566 ที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ ดร.อุตตม สาวนายน ที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบาย พรรคพลังประชารัฐ เป็นตัวแทนพรรคพลังประชารัฐ ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในหัวข้อ “Policy Push – Market Drives กำหนดนโยบายให้ตรงใจตลาดโลก” ในงาน “อนาคตประเทศไทย ECONOMIC DRIVES” ที่จัดขึ้นโดยโพสต์ทูเดย์ และบริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

โดยนายอุตตม แสดงวิสัยทัศน์ตอนหนึ่งว่า วันนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญจากสถานการณ์ทั้งในประเทศและจากนอกประเทศ ซึ่งถือเป็นทั้งความท้าทายและเป็นโอกาสได้เช่นเดียวกัน หากสามารถปรับตัวและมีความพร้อมต่อการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของเศรษฐกิจโลกที่ปีนี้มีโอกาสถดถอย และชะงักงัน รวมถึงเรื่องที่สำคัญอย่างเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ของโลก อย่างความตึงเครียดที่มีความไม่แน่นนอนของสถานการณ์โลก ที่ส่งผลให้เกิดความกังวล ทั้งประเทศมหาอำนาจ และประเทศไทย ที่อาจจะเกิดความแปลงที่คาดไม่ถึงได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี รวมถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ต่อสถานการณ์ดังกล่าว พรรคพลังประชารัฐวางแนวทางในการบริหารจัดการเป็น 3 ส่วนสำคัญ คือ 1. การทำเรื่องเร่งด่วน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ประเทศต้องเผชิญ และ 2. การเร่งรัดการวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนให้คนไทยทั้งประเทศ และ 3. การปฏิรูประบบราชการ

โดยเรื่องเร่งด่วนแรก นานอุตตม ยกเป็นตัวอย่างคือ เรื่องบาดแผลของประเทศจากสถานการณ์โควิด ที่วันนี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คนตัวเล็ก ยังคงเป็นแผลที่สาหัสอยู่ ปัญหาหนี้สินทั้งในและนอกระบบตรงนี้จะแก้อย่างไร

ซึ่งแนวทางของพรรคคือต้องแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ คือ แก้หนี้ เติมทุน และสร้างทักษะอาชีพ ถึงจะตอบโจทย์การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

ส่วนเรื่องที่ 2 ต้องเร่งรัดการพัฒนาในมิติต่าง ๆ ตั้งแต่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยเริ่มจากเศรษฐกิจฐานรากคู่ขนานกับเศรษฐกิจมหภาค เนื่องจากพิสูจน์แล้วว่าหากเศรษฐกิจฐานรากไม่เข้มแข็ง เมื่อเกิดวิกฤตจะกระทบระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ โดยการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก จะต้องผสมผสานอย่างครบวงจรทั้งเรื่องของการเกษตร การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจชุมชน เพื่อสร้างให้เกิดงานใหม่ ผลักดันชุมชนให้เข้มแข็งดูแลตัวเองได้มากที่สุด นอกจากนี้ ดร.อุตตม ยังมองว่าประเทศไทยต้องมีเครื่องยนต์เศรษฐกิจใหม่ ๆ เพราะเครื่องยนต์เศรษฐกิจประเทศไทยวันนี้เริ่มอ่อนแรง บางเครื่องล้าสมัยแล้ว อย่างเรื่องการส่งออกแม้จะเดินหน้าต่อไปได้ แต่ยังไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีความแข็งแรงได้

และเรื่องที่ 3. ซึ่งเป็นสิ่งสุดท้ายที่ขาดไม่ได้คือการปฏิรูปรัฐราชการ ไม่ให้เป็นคอขวด เพื่อให้การบริหารงานราชการเป็นไปอย่างมีระบบ และตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในสถานการณ์ปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ

“ที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องการพัฒนาคน เพราะสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมดจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการพัฒนาคน วันนี้การศึกษาต้องครบทุกวัย ผมมองว่าการลงทุนในเด็กช่วงปฐมวัย เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดที่เราจะทำเพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศได้ ที่สำคัญที่ต้องเป็นรัฐสวัสดิการที่เข้าถึงถ้วนหน้าและมีคุณภาพ” ดร.อุตตม กล่าว

ดร.อุตตม กล่าวต่อว่า ภาพรวมการขับเคลื่อนนโยบายจากที่กล่าวมาทั้งหมด พรรคพลังประชารัฐจะขับเคลื่อนภายใต้แนวความคิดประชารัฐ ซึ่งตนขอย้ำว่า ประชารัฐไม่ใช่ประชานิยม เพราะแนวคิดประชารัฐ คือความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน ที่ร่วมขับเคลื่อนเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน สร้างการพัฒนาที่คุ้มค่า มั่งคั่ง ยั่งยืน สามารถแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ และความยากจนด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมในทุกมิติ ซึ่งแนวทางดังกล่าวตนได้ร่วมขับเคลื่อนมาแล้วทั้งสิ้น ตั้งแต่การทำโครงสร้างพื้นฐานดิจิตัล โครงการเน็ตประชารัฐ การต่อยอดโครงการพร้อมเพย์ แอพพลิเคชั่นเป๋าตังค์ เป็นต้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566

ส.ส.ชลบุรี พปชร. ร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เร่งสำรวจออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ตำบลหนองปรือ

,

ส.ส.ชลบุรี พปชร. ร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เร่งสำรวจออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ตำบลหนองปรือ

นายรณเทพ อนุวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเนื่องมาจากปี 2543 พื้นที่ป่าไม้ในเขตพื้นที่ของตำบลสระสี่เหลี่ยม หัวถนน หนองปรือ หนองเหียง นาวังหิน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และที่ดินในตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี ของถนนทางหลวงหมายเลข 331 ชลบุรีไปจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เป็นพื้นที่ปฏิรูปทั้งผืน ก็คือสปก 4-01 เนื่องจากทุกตำบลนั้นเรียงชิดติดกัน เป็นระยะทางที่ยาว และก็พร้อมที่จะออกเอกสารสิทธิ์ให้กับผู้เข้าครอบครองทำประโยชน์

นายรณเทพ กล่าวต่อว่า คณะกรรมการปฏิรูปในเวลานั้นเข้าใจผิดคิดว่า พื้นที่ของหมู่ที่ 8 ตำบลหนองปรือ อำเภอพนัสนิคม เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตของตำบลหนองเหียง จึงไม่ได้เดินสำรวจออกเอกสารสิทธิ์ ทำให้ที่ดินที่ตำบลหนองปรือ นั้นเป็นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ตนขอเรียกร้องไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เดินสำรวจออกเอกสารสิทธิ์ เนื่องจากว่าสภาพป่านั้นได้หมดสิ้นไปแล้ว

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #รณเทพอนุวัฒน์
Twitter :
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566

“สส. อรรถกร” เสนอกรมชลประทาน เร่งอนุมัติงบซ่อมสายยางคลองท่าลาด หลังมีอายุการใช้งานหนักกว่า 27 ปี

,

“สส. อรรถกร” เสนอกรมชลประทาน เร่งอนุมัติงบซ่อมสายยางคลองท่าลาด หลังมีอายุการใช้งานหนักกว่า 27 ปี

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาสายยางระเบิดที่คลองท่าลาด ในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะมีอายุการใช้งานหนักกว่า 27 ปีแล้ว โดยตนทราบมาว่า สายยางปกติจะมีระยะอายุการใช้งานประมาณ 10 ปีเท่านั้น

“เบื้องต้นผมทราบมาว่า เจ้าหน้าที่ของชลประทาน ผมขอไม่เอ่ยนาม ซึ่งวิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้น คือนำถุงทรายมาแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน ซึ่งมันไม่เพียงพอ ผมขอฝากไปยังกรมชลประทาน ขอให้อนุมัติเร่งด่วนงบเหลือจ่ายในการซ่อมสายยางที่คลองท่าลาดด้วย”

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #อรรถกรศิริลัทธยากร
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566

“อาดิลัน” ขอบคุณ “พลเอกประวิตร” หลังจัดสรรงบ อุดหนุนอาหารกลางวันแก่เด็ก ตั้งแต่ปี 66-70

,

“อาดิลัน” ขอบคุณ “พลเอกประวิตร” หลังจัดสรรงบ อุดหนุนอาหารกลางวันแก่เด็ก ตั้งแต่ปี 66-70

นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงฝ่ายบริหารของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำจังหวัดว่า ต้องขอขอบพระคุณท่านพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะประธานคณะ กรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เห็นชอบเป็นหลักการจัดสรรงบอุดหนุนสำหรับอาหารกลางวันแก่เด็ก ตั้งแต่ปี 2566-2570 รวมเป็นเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท และคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบอนุมัติในหลักการดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561

“ผมยังหวังผู้ที่จะได้เข้าเป็นรัฐบาลในครั้งต่อไป จะจัดสรรงบประมาณสำหรับนมเด็กแรกเกิด และอาหารแก่เด็กทุกคนก่อนเข้าไปเรียน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตเป็นให้เด็กไทยทุกคน”

นายอาดิลัน ยังกล่าวถึง คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยพลเอกประวิตร เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบเป็นหลักการให้เยียวยาแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับผลบาดเจ็บ ทุกกลภาพ และพิการ จากสถานการณ์ความไม่สะดวกเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนทั้งสิ้น 11 รายรวมเป็นเงินประมาณ 3 พัน 3 ล้านบาทแล้ว จึงขอให้รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการจัดสรรงบกลางเพื่อจ่ายเยียวยาแก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับ เพราะตกค้างมาตั้งแต่ปี 2547-2556 หรือ10-19 ปีแล้ว

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #อาดิลันอาลีอิสเฮาะ
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566

“สส.อรรถกร” แนะหาแหล่งต้นทุนเพิ่ม เดินหน้าแก้ไขปัญหาแล้งอย่างยั่งยืน

,

“สส.อรรถกร” แนะหาแหล่งต้นทุนเพิ่ม เดินหน้าแก้ไขปัญหาแล้งอย่างยั่งยืน

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ถึงการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งในประเทศไทย เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมา พอถึงหน้าน้ำแล้งก็จะรณรงค์ให้ใช้น้ำน้อยๆ แต่นั่นคือการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน จะต้องหาแหล่งต้นทุนน้ำเพิ่มเติม ถึงจะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้อย่างยั่งยืน

นายอรรถกร กล่าวถึงปัญหาในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีความต้องการการใช้น้ำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องใช้น้ำจืดไล่น้ำเค็ม ใช้น้ำเค็ม ไล่น้ำจืด หรือว่าปัญหาประปาเป็นสีส้ม สีน้ำตาล ตนจึงขอเสนอคำว่า เราควรหาแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มเติม เพื่อรองรับปริมาณการใช้น้ำในกลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา

“อีกหนึ่งวิธี ก็คือ การผลักดันโครงการผลักน้ำจากอ่างเก็บน้ำพระสะทึง จังหวัดสระแก้ว มายังอ่างเก็บน้ำคลอง 4 ยักษ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยจังหวัดสระแก้วมีปริมาณน้ำฝนตก มากกว่าปริมาณความจุของอ่างเก็บน้ำ ดังนั้นถ้าเราสามารถวางท่อ และนำน้ำจากที่พักสะทึงสระแก้วมาเก็บไว้ที่ 4 ยักษ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จะช่วยพี่น้องประชาชนมากกว่า 1 ล้านคน”

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #อรรถกรศิริลัทธยากร
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566

‘พล.อ.ประวิตร’ สั่ง ปภ.เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติทุกรูปแบบ เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม สร้างสังคมปลอดภัย ยั่งยืน

,

‘พล.อ.ประวิตร’ สั่ง ปภ.เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติทุกรูปแบบ เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม สร้างสังคมปลอดภัย ยั่งยืน

09 ก.พ.2566 – ที่ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5จังหวัด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) ครั้งที่ 1/2566 โดยที่ประชุมรับทราบการเปิดตัวแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติปี 64-70 ภายใต้โครงการสัมมนาเชิงวิชาการลดความเสี่ยงเดิม ป้องกันความเสี่ยงใหม่ สู่สังคมเท่าทันภัย ด้วยแผน ปภ.ชาติแล้ว เมื่อวันที่ 9 ม.ค.2566 เพื่อสื่อสารให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีความรู้และความเข้าใจในนโยบาย และยุทธศาสตร์ภายใต้แผน ปภ.ชาติ และรับทราบแนวความคิด การจัดตั้งกองทุนการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และลดภาระงบประมาณของภาครัฐ

จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการภายใต้กรอบ กปภ.ช.จำนวน 5คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัย วาตภัย โคนถล่มและภัยแล้ง ,การจัดการความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวและสึนามิ ,การประชาสัมพันธ์ด้านการจัดการสาธารณภัย ,เทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสารเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย และการพัฒนาระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินตามแผน ปภ.ปี58 ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านวิชาการ ปภ.และลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการจัดการความเสี่ยง จากสาธารณภัย โดยให้มีความรุนแรงและผลกระทบความเสียหายลดลง นอกจากนั้นยังได้พิจารณาเห็นชอบกำหนดสัปดาห์แห่งการฝึกซ้อม เพื่อรับมือภัยพิบัติในปลายเดือน พ.ค.ของทุกปี เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ในการเตรียมความพร้อม และมีกลไกในชุมชนเพื่อร่วมวางแผนรับมือด้วย และเห็นชอบ แผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านอัคคีภัยแห่งชาติ ปี66-70 เพื่อเพิ่มมาตรการรับมือ อัคคีภัย ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ต่อไป

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับมหาดไทย โดย ปภ.เร่งรัด ขับเคลื่อนแผนงานที่ได้ผ่านความเห็นชอบแล้ว นำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว คำนึงถึงการเตรียมความพร้อมในทุกๆด้าน ควบคู่การซักซ้อมอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ที่จะต้องปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนอย่างดีที่สุด จากภัยพิบัติต่างๆทุกรูปแบบ และจะต้องสร้างการรับรู้ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงรวดเร็ว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2566