โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 3 กุมภาพันธ์ 2023

‘ตรีนุช’ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์ PM 2.5 ให้อำนาจ ผอ.ตัดสินหากพบค่าฝุ่นพุ่ง สั่งหยุดเรียนออนไซต์ได้ทันที

, ,

‘ตรีนุช’ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์ PM 2.5 ให้อำนาจ ผอ.ตัดสินหากพบค่าฝุ่นพุ่ง สั่งหยุดเรียนออนไซต์ได้ทันที

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ที่โรงเรียนวัดอมรินทราราม กรุงเทพมหานคร น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ว่า เนื่องจากหลายจังหวัด โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคกลาง มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐานหลายแห่ง ศธ.มีความเป็นห่วงนักเรียนอย่างมาก และที่ผ่านมาได้เน้นย้ำให้สถานศึกษาเป็นสถานที่ปลอดภัยต่อนักเรียนในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติด้านสุขภาพ โดย PM 2.5 ส่งผลกระทบกับร่างกายของเด็ก และครูอย่างมาก เพราะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม พบว่าโรงเรียนอยู่ในเขตพื้นที่สีส้ม หรือ เป็นค่าฝุ่นที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ซึ่งทางโรงเรียนก็สามารถเตรียมการรับมือได้ดี เช่น ให้นักเรียนสวมหน้ากากอนามัยอยู่ตลอด กรณีที่พบเด็กมีอาการระคายเคือง ก็จะล้างจมูกให้เด็กทันที ประกอบโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลศิริราชที่ให้เครื่องฟอกอากาศมาติดในห้องเรียน ทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อเด็กอยู่ในห้องเรียนจะไม่ได้รับผลกระทบจาก PM 2.5

น.ส.ตรีนุชกล่าวต่อว่า ศธ.ได้ประกาศมาตรการป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งกำหนดมาตรการมาตรการเร่งด่วน และมาตรการระยะยาว เพื่อให้หน่วยงานและสถานศึกษาใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติเดียวกัน และตนที่จะกำชับให้แต่ละสถานศึกษาดูว่าในพื้นที่ของตนนั้น ค่าฝุ่นเป็นเช่นไร และขอให้แต่ละพื้นที่ดูแล เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนต่อได้ หากโรงเรียนอยู่ในพื้นที่สีแดง และสีส้ม ก็ขอให้งดกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อให้ไม่ส่งผลกระทบกับสุขภาพของนักเรียน

“แต่ละพื้นที่จะมีบริบทไม่เหมือนกัน มีความรุนแรงของ PM 2.5 ไม่เหมือนกัน ขอให้สถานศึกษาติดตามข่าวสาร และคอยอัพเดตข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ อยู่เสมอ ทั้งนี้ ศธ.ได้ให้อำนาจกับผู้อำนวยการโรงเรียน พิจารณาว่าควรจะปรับรูปแบบการเรียนการสอนหรือไม่ เช่น หากพบค่าฝุ่นอยู่ในระดับสีแดง หรือ สีส้ม ก็อาจจะสั่งหยุดเรียนออนไซต์ และให้นักเรียนไปเรียนออนไลน์ เป็นต้น แต่การพิจารณาหยุดเรียน หรือปรับการเรียนการสอนนั้น ขอให้ประสานและทำงานร่วมกับฝ่ายปกครองด้วย โดยให้ดูว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่ง และมีมาตรการรับมืออย่างไร และขณะนี้ ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีโรงเรียนไหนหยุดเรียนไปแล้วบ้าง” น.ส.ตรีนุช กล่าว.

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2566

รมว. ดีอีเอส คาด 30 เมืองอัจฉริยะ สร้างโอกาสการลงทุน 6 หมื่นล้านบาท พร้อมลงพื้นที่ จ.ประจวบฯ ผลักดันหัวหินสู่เมืองอัจฉริยะ

,

รมว. ดีอีเอส คาด 30 เมืองอัจฉริยะ สร้างโอกาสการลงทุน 6 หมื่นล้านบาท
พร้อมลงพื้นที่ จ.ประจวบฯ ผลักดันหัวหินสู่เมืองอัจฉริยะ

ดีอีเอส เผยเมืองอัจฉริยะ สร้างโอกาสการลงทุนกว่า 60,000 ล้านบาท ลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชูหัวหินสู่เมืองอัจฉริยะ Smart City Hua Hin พร้อมติดตามผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน กศน. อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อยกระดับศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนสู่ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2564 – 2567

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พร้อมด้วย ศ.พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงฯ และ ดร. เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงฯ นำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อร่วมทำข่าวความพร้อมโครงการ Smart city Hua Hin โดยมีประเด็นหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกเทศมนตรีเทศบาลหัวหิน พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน โรงเรียน ตชด.บ้านย่านซื่อ อำเภอกุยบุรี และเป็นประธานเปิดโครงการ Digital infinity ดิจิทัลไม่มีที่สิ้นสุดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในหน่วยงานและองค์กรภาครัฐและมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาเมืองและพื้นที่ต่างๆ สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง ปัจจุบันมีเมืองที่ได้รับการประกาศเป็นเมืองอัจฉริยะแล้ว 30 เมืองทั่วประเทศโดยมีการประเมินว่าการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจะช่วยให้เกิดโอกาสการลงทุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนรวมมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท รวมถึงจะมีการสร้างมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในปัจจุบันและอนาคต

กระทรวงดิจิทัลฯ โดย ดีป้า ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน ลงพื้นที่ครั้งนี้ ก็ได้หารือและประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมการพัฒนาหัวหินสู่เมืองอัจฉริยะ Smart City Hua Hin
ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง เท่าเทียม พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมศูนย์ CCTV และห้องควบคุม เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อบริหารจัดการพื้นที่ ตรวจสอบเมืองให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัย ไร้อาชญากรรม

ขณะเดียวกัน ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านย่านซื่อ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นตัวแทนสถานศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ให้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบนิเวศศูนย์ดิจิทัลชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้แผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ที่ 5 ของแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564) (แผนปฏิบัติการฯ) จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 จัดให้มีศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (ศูนย์ดิจิทัลชุมชน) และ กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาระบบจัดการศูนย์ดิจิทัลชุมชนและงานบำรุงรักษา ระยะเวลาดำเนินการทั้งโครงการอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2566 – 2570 โดยมีพื้นที่ดำเนินการตามเป้าหมายเป็นสถานศึกษาจำนวน 1,722 ศูนย์ ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ

“การตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน กศน. อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ห้องสมุดประชาชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชนที่ดำเนินการตามโครงการยกระดับศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน สู่ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2564 – 2567 ซึ่งได้จัดตั้งในพื้นที่ของโรงเรียน กศน. อบต. เทศบาล วัด มัสยิด และพื้นที่ชุมชน ที่มีความพร้อม จำนวน 500 แห่ง ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ” นายชัยวุฒิ กล่าว

ด้านนายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ได้จัดตั้งขึ้นตามนโยบายและแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีบทบาทในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง อุปกรณ์ดิจิทัล บุคลากรสนับสนุนและส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับท้องถิ่น เพื่อลดช่องว่างทางด้านดิจิทัลให้กับชุมชน ให้สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา และด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมชนบท ในกลุ่มคนทุกกลุ่มที่อยู่ในท้องถิ่น เช่น ผู้ประกอบการชุมชน วิสาหกิจชุมชน เด็กและเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ คนพิการ เป็นต้น นอกจากนี้ ศูนย์ดิจิทัลชุมชนยังทำหน้าที่ในการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงข่าวสาร บริการดิจิทัล ให้กลุ่มเป้าหมายในระดับชุมชนได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัล พร้อมที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนคุณภาพชีวิต ต่อยอดสู่การสร้างโอกาสและรายได้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับฐานรากในอนาคต

ขณะที่ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับท้องถิ่นดำเนินการในหลากหลายมิติ ตั้งแต่การสนับสนุนพื้นที่ให้พัฒนาแผนเมืองอัจฉริยะของตนเอง สามารถระบุพื้นที่พัฒนาเมืองโดยมีขอบเขตชัดเจน มองเห็นศักยภาพและปัญหา อีกทั้งสามารถเตรียมความพร้อมเรื่องระบบบริการทั้ง 7 Smarts ได้ตรงตามบริบทของพื้นที่ และวางโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางกายภาพและด้านดิจิทัล รองรับระบบบริการเมือง รวมถึงบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความยั่งยืน และเกิดประโยชน์สูงสุดกับภาคประชาชน

นอกจากนี้ ดีป้า ยังมีการส่งเสริมคนรุ่นใหม่ที่มีใจต้องการพัฒนาภูมิลำเนามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองน่าอยู่ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ผ่านโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ (The Smart City Ambassadors) ซึ่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เข้าร่วมโครงการ 2 พื้นที่ มีเจ้าหน้าที่ร่วมฝึกอบรม 2 ราย และมี Ambassadors ปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนงานพัฒนาเมือง 2 ราย โดยปัจจุบัน เทศบาลเมืองหัวหิน เป็นหนึ่งในเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ

นายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า วิสัยทัศน์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ “เมืองท่องเที่ยวทรงคุณค่าระดับนานาชาติ เกษตรปลอดภัย ด่านสิงขรระเบียงเศรษฐกิจแห่งอนาคต สังคมผาสุกภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งจังหวัดมีความโดดเด่นด้านการท่องเที่ยวและการเกษตรที่ถือเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด โดยทางจังหวัดพร้อมสนับสนุนท้องถิ่นในการพัฒนาพื้นที่ตามศักยภาพ และส่งเสริมการบูรณาการการทำงาน รวมถึงการบูรณาการข้อมูลที่จะนำไปสู่การพัฒนาด้านต่าง ๆ เพื่อประโยชน์และคุณภาพชีวิตของประชาชน และเทศบาลหัวหินถือเป็นหนึ่งพื้นที่สำคัญของจังหวัดในการนำร่องการพัฒนา Smart City ของจังหวัด

ส่วนนายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน กล่าวว่า เทศบาลเมืองหัวหินตั้งเป้าหมายที่จะเป็นเมืองท่องเที่ยวปลอดภัย สะอาด น้ำใส ไร้ PM 2.5 โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยบริหารจัดการ และตรวจสอบเมืองให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัย ไม่มีอาชญากรรม โดยมีแผนที่จะดำเนินการพัฒนาระบบ Smart ต่าง ๆ ส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น การติดตั้งระบบ CCTV สอดส่องความปลอดภัยสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ตั้งเป้าลดอาชญากรรม 50% ติดตั้ง Smart Pole ระบบติดตามคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพคนหัวหินและนักท่องเที่ยว Wired Network ที่ครอบคลุมอำนวยความสะดวกผู้มาเยือนส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่ พร้อมรับมือปัญหาขยะจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นด้วยระบบ GPS Tracking ช่วยบริหารจัดการขยะ ตั้งเป้าลดขยะตกค้างในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 80% รวมถึงระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูลของเมือง (City Data Platform: CDP) รวมศูนย์ข้อมูลเพื่อการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานในพื้นที่และระหว่างท้องถิ่น เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2566

พล.อ.ประวิตร’ น้อมนำ”หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” แก้ความยากจน อนุมัติแผน ปี66 ผ่านระบบTPMAP เน้นช่วยกลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน -เปราะบาง ให้ได้สิทธิบัตรสวัสดิการฯ ครบถ้วน ทั่วถึง

,

พล.อ.ประวิตร’ น้อมนำ”หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” แก้ความยากจน
อนุมัติแผน ปี66 ผ่านระบบTPMAP เน้นช่วยกลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน-เปราะบาง ให้ได้สิทธิบัตรสวัสดิการฯ ครบถ้วน ทั่วถึง

เมื่อ 3 ก.พ.66 ,10.00น. พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ที่ประชุมได้รับทราบ ผลการดำเนินงานในภาพรวม ทั้ง 76 จังหวัด จากเป้าหมายครัวเรือนยากจนในระบบ TPMAP (Thai People Map and Analytics Platform) ปี65 พบว่า ศูนย์อำนวยการฯจังหวัด และ ศูนย์อำนวยการฯอำเภอ พร้อมทีมปฏิบัติการฯ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมบูรณาการ ให้ความช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหาครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 653,524 ครัวเรือน คิดเป็น 100% และพบปัญหาในแต่ละมิติ ดังนี้ 1) มิติสุขภาพ ส่วนใหญ่ประสบปัญหา คนอายุ 6ปีขึ้นไป ไม่ออกกำลังกายเนื่องจากไม่เห็นความสำคัญของการมีสุขภาพดี 2) มิติความเป็นอยู่ ส่วนใหญ่ประสบปัญหา ครัวเรือนไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและบ้านมีสภาพไม่คงทนถาวร 3) มิติการศึกษา ส่วนใหญ่ประสบปัญหาคนอายุ 15-59 ปี อ่าน เขียนภาษาไทยและคิดเลขอย่างง่ายไม่ได้ รวมทั้งเด็กอายุ 6-14 ปี ไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับหรือออกจากการเรียนกลางคัน เนื่องจากสถานะทางเศรษฐกิจ และ 4) มิติรายได้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ประสพปัญหาการปลูกพืชได้เพียงปีละครั้ง ไม่มีปัจจัยการผลิต ขาดเงินทุน และขาดความรู้ด้านทักษะอาชีพ 5) มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้พิการ ไม่ได้รับการบริการจากภาครัฐ เนื่องจากเข้าไม่ถึง หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ

จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ แนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย บนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ ในปีงบประมาณ 2566 ประกอบด้วย 4 แนวทางที่สำคัญ ได้แก่ แนวทางที่ 1 การเติมเต็ม ข้อมูลในระบบ TPMAP แนวทางที่ 2 ร่วมแก้ไขปัญหาในระดับบุคคล/ครอบครัว แนวทางที่ 3 ร่วมแก้ไขและพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และแนวทางที่ 4 ร่วมติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้มอบหมายให้ สภาพัฒน์ฯการ ประกาศตัวเลขกลุ่มคนเป้าหมายเร่งด่วน และมอบให้ ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนฯ ทุกระดับและทีมปฏิบัติการ ร่วมกับหน่วยงานของรัฐ ดำเนินการช่วยเหลือและพัฒนากลุ่มเป้าหมาย โดยใช้ข้อมูลจาก ระบบ TPMAP เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินงาน เน้นการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน กลุ่มเปราะบาง และกล่มที่ต้องดูแลใกล้ชิด เพื่อได้รับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้ครบถ้วน ทั่วถึง ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2566

“เกณิกา” ทีมโฆษกพรรคพลังประชารัฐ ปลื้ม กระแสลุงป้อมฟีเวอร์ ดัน พปชร. มาแรง ประชาชนเชียร์เป็นนายกคนที่ 30// มั่นใจ ประชาชน ถูกใจ “ป้อม 700”- เปิดนโยบายที่เหลือ ทำคะแนนท่วมท้น

, ,

“เกณิกา” ทีมโฆษกพรรคพลังประชารัฐ ปลื้ม กระแสลุงป้อมฟีเวอร์ ดัน พปชร. มาแรง ประชาชนเชียร์เป็นนายกคนที่ 30// มั่นใจ ประชาชน ถูกใจ “ป้อม 700”- เปิดนโยบายที่เหลือ ทำคะแนนท่วมท้น

3 กุมภาพันธ์ 66 – ดร.เกณิกา อุ่นจิตร์ ทีมโฆษกพรรคพลังประชารัฐและว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. กล่าวถึงกระแสตอบรับ หลังจาก พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เดินสายลงพื้นที่ในทุกภูมิภาคของประเทศ และได้เปิดนโยบาย “บัตรประชารัฐ 700 บาท ต่อเดือน” หรือ “ป้อม 700” ทำให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่แสดงความชื่นชมและบางคนถึงกับไปถามว่าที่ผู้สมัครในเขตของตนเองว่าต้องทำอย่างไร อยากให้ลุงป้อมเป็นนายกให้ได้ เพื่อจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

“ขอเรียนว่า ที่ผ่านมาพรรคพลังประชารัฐในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ได้มีผลงานที่เป็นรูปธรรม ในเรื่องการสร้างสวัสดิการประชารัฐ ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การบริหารจัดการน้ำ การจัดที่ดินทำกิน การปราบปรามการค้ามนุษย์ อุตสาหกรรมประมงและอื่นๆ อีกมากมาย และสำหรับนโยบาย “ป้อม 700” ที่เราพึ่งเปิดตัวไป ถือเป็นนโยบายแรกเท่านั้น โดยเป็นการอัพเกรดจากนโยบายเดิมที่เคยทำสำเร็จแล้วแต่จะทำให้ดีกว่าเดิม หลังจากนี้ยังมีนโยบายอื่นๆ อีกที่รอเปิดตัว ซึ่งทุกนโยบายของพรรคเกิดจากการลงพื้นที่ฟังเสียงประชาชน จึงมั่นใจว่าทุกนโยบายจะถูกใจประชาชนอย่างแน่นอน” ดร.เกณิกา อุ่นจิตร์ กล่าวย้ำ

ทีมโฆษกพรรค พปชร. ย้ำอีกว่า “ตนเองได้ติดตามลงพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นถึงกระแสลุงป้อมฟีเวอร์ในช่วงนี้ ไปไหนมีแต่คนมาขอถ่ายรูป มากอด มาหอม ชวนไปฟ้อน ไปรำ มาส่งแรงเชียร์อยากให้เป็นนายกคนที่ 30 ของประเทศไทย ประชาชนบอกยิ่งได้เจอตัวจริงยิ่งรู้ว่าลุงป้อมเป็นคนใจดี เข้าถึงประชาชน และทำงานอย่างหนักเพื่อประชาชนจริงๆ โดยเฉพาะผลงานที่ผ่านมาที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ อีกทั้งยังเป็นผู้นำที่พร้อมสานสัมพันธ์กับทุกฝ่าย เพื่อก้าวข้ามความขัดแย้ง เดินหน้าสร้างพลังแห่งความปรองดองและสามัคคีให้กับประเทศ”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2566

“ชวน ชูจันทร์” ส.ส.พปชร. ยืนยันพรรคชูก้าวข้ามความขัดแย้งหาเสียงศึกเลือกตั้งใหญ่ ไม่ใช่แค่วาทกรรม

, ,

“ชวน ชูจันทร์” ส.ส.พปชร. ยืนยันพรรคชูก้าวข้ามความขัดแย้งหาเสียงศึกเลือกตั้งใหญ่ ไม่ใช่แค่วาทกรรม

นายชวน ชูจันทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงสโลแกนก้าวข้ามความขัดแย้งของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรค พปชร. ว่า ไม่ใช่วาทกรรมที่ยกขึ้นมาเพื่อหาเสียง แต่อยากให้มองลงลึกไปว่าก่อนที่จะมีการปฏิวัติปี 2557 ประเทศไทยมีการขัดแย้งทางการเมืองอย่างหนักถึงขั้นจะแบ่งประเทศ โดยเฉพาะการเลือกตั้งในปี 2562 หลายคนคิดตรงกันว่า ถ้ายังมีการขัดแย้งทางความคิดทางการเมืองแบบเดิมอยู่อีก ประเทศไทยคงพัฒนาไม่ได้ ตนเองและเพื่อนอีกหลายคน จึงได้จัดตั้งพรรค พปชร.ขึ้นมา ชื่อมีความหมายคือทั้งประชาชนและภาครัฐ ต้องร่วมกันให้เป็นพลังเพื่อพัฒนาประเทศ

นายชวน กล่าวว่า ในเวลา 4 ปีที่บริหารในนามพรรคการเมือง ยังไม่ได้เกิดแนวทางที่จะร่วมกันพัฒนาประเทศอย่างที่คิดไว้ ทั้งในส่วนของสถาบันการเมือง หรือในภาคประชาชน และหลายคนก็เห็นปัญหาเหมือนกัน จึงต้องหยิบยกประเด็นเรื่องการก้าวพ้นความขัดแย้งขึ้นมาให้ช่วยกันตัดสินใจหรือพิจารณาอีกครั้ง และพยายามจะทำให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้น โดยเริ่มต้นจากการเป็นสถาบันการเมืองก่อน หากผู้ที่รับอาสาเข้ามาทำงานการเมืองยังไม่เข้มแข็ง ไม่สามารถรวมพลังกันเพื่อเป้าหมายในการนำพาประเทศให้พัฒนาได้แล้ว เรื่องอื่นคงไม่ต้องหวัง ซึ่งพล.อ.ประวิตร เข้าใจดี จึงได้นำเรื่องการก้าวข้ามความขัดแย้งขึ้นมาให้ช่วยกันตัดสินใจ เลือกสมาชิกสภาผู้แทนในปีนี้

การขจัดทุกปัญหาพัฒนาทุกพื้นที่ ข้อความนี้แยกได้เป็น 2 เรื่องคือ 1 ขจัดทุกปัญหาหมายถึงว่าเมื่อเป็นผู้แทนแล้วปัญหาของชาวบ้านไม่ว่าเรื่องอะไรอยู่ในพื้นที่ไหนก็ต้องรับเข้ามาช่วยแนะนำแก้ไขได้หรือไม่ได้อย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งสร้างความเข้าใจกันให้ได้ไม่หนีปัญหานั่นเองข้อความนี้เข้าใจไม่ยาก ส่วนพัฒนาทุกพื้นที่เราคงจำความกันได้ในอดีตที่ผ่านมานักการเมืองบางท่านได้พูดขึ้นว่าพื้นที่ใดที่ไม่ได้เลือกคนของพรรคเราเป็นผู้แทน การพัฒนาพื้นที่นั้นจะต้องเอาไว้ทีหลัง จะต้องไปพัฒนาในพื้นที่ที่เรามีผู้แทนก่อน ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจกันพอสมควร ความจริงหลักคิดอย่างนี้ไม่ถูกต้อง เมื่อเป็นผู้แทนแล้ว จะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม จะต้องพัฒนาในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่ทั้งประเทศจะมีผู้แทนของพรรคเดียวอยู่เป็นฝ่ายรัฐบาลทั้งหมดไม่มีฝ่ายตรวจสอบหรือฝ่ายค้านเราจึงนำ ข้อความนี้มาบอกกล่าวให้ประชาชนได้ทราบว่า พรรคพลังประชารัฐไม่ได้มีความคิดอย่างนี้เมื่อได้เป็นรัฐบาลต้องดูแลทุกพื้นที่ แก้ไขปัญหาพัฒนาให้ทั่วประเทศให้ได้ตามลำดับความจำเป็นก่อนหลัง ยิ่งเป็นพื้นที่ที่มีความลำบาก ประชาชนเดือดร้อนมากจะต้องไปแก้ปัญหาก่อน

งานหลักของเราซึ่งต้องเริ่มกันตั้งแต่วันนี้ก็คือการแก้ปัญหาความยากจน เรารู้ว่าใครคือคนจนและจนเพราะอะไร จะต้องเริ่มต้นอย่างไร จะต้องสั่งหรือชักชวนให้ใครหน่วยงานไหนมาช่วยกันแก้ปัญหานี้บ้าง เราศึกษามาพอสมควรแล้วว่าประเทศต่างๆ เขาแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนของเขาอย่างไรประเทศจีน เป็นตัวอย่างที่น่าคิดเขามีคน 1,400 ล้านทำได้ไม่กี่ปีของเราประมาณ 60 ล้านเท่านั้น หรือแม้แต่ทฤษฎีการพัฒนาประเทศในแนวเศรษฐกิจพอเพียง เราก็ถอดบทเรียนมาหมดแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ลงมือทำ ยังไม่ได้มีชุดคาราวาน แก้ปัญหาความยากจนอย่างจริงจัง เพราะฉะนั้นนับแต่วันนี้และอีก 4 ปีถ้าได้เป็นรัฐบาล จะต้องแก้ปัญหาหรือเห็นแนวทางที่ถูกต้อง เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนขึ้น ลงมือทำคือคำตอบ ด้วยความขอบคุณครับ

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #ชวนชูจันทร์
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2566