โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวกิจกรรม ส.ส. และสมาชิกพรรค

“สส.กาญจนา จ.ชัยภูมิ” หารือร่วมหน่วยงานรัฐเร่งหาแนวทางแก้ปัญหาน้ำในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบพี่น้องปชช.

,

“สส.กาญจนา จ.ชัยภูมิ” หารือร่วมหน่วยงานรัฐเร่งหาแนวทางแก้ปัญหาน้ำในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบพี่น้องปชช.

น.ส.กาญจนา จังหวะ สส.จ.ชัยภูมิ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้ร่วมประชุมกับ น.ส.อัจฉรา อาษาสู้ นายอำเภอภักดีชุมพล และนายสมบัติ มีลักษณะสม ผู้อำนวยการโครงการชลประทานชัยภูมิ ถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ ซึ่งรวมถึงปัญหาอุปสรรค ที่จะนำไปสู่การวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพ เนื่องจากในขณะนี้ในพื้นที่มีปริมาณฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมในพื้นที่ ประกอบกับภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดชัน เมื่อมีปริมาณฝนที่สะสมมาก จะก่อให้เกิดน้ำป่าไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนของพี่น้องประชาชนในบางพื้นที่สร้างความเสียหายเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามสถานการณ์น้ำฝนเป็นผลจากอิทธิพลของมรสุมที่พาดผ่าน และความผิดปกติของสภาวะอากาศในประเทศที่มาจากเอลนีโญ ซึ่งการบริหารจัดการจะมีความสำคัญมาก เนื่องจากในพื้นที่พี่น้องประชาชนมีความต้องการใช้น้ำทั้งเพื่อการเกษตร และอุปโภค บริโภคในช่วงฤดูแล้ง และในช่วงฤดูฝน เนื่องจากไม่สามารถเก็บกักน้ำส่วนเกินได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ตุลาคม 2566

“สส.นเรศ” ประสานหลายฝ่าย เร่งช่วย ปชช. หลังน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนริมลำน้ำแม่วาง ได้รับความเสียหาย เตรียมแผนระยะยาวแก้ปัญหา 7 จุด

,

“สส.นเรศ” ประสานหลายฝ่าย เร่งช่วย ปชช. หลังน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนริมลำน้ำแม่วาง ได้รับความเสียหาย เตรียมแผนระยะยาวแก้ปัญหา 7 จุด

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สส.เชียงใหม่ เขต 9 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวว่า ตนได้ประสานไปยังผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ ตนได้ลงพื้นที่ร่วมกับนายก อบต. ,กำนัน ต.ทุ่งรวงทอง,กำนัน ต.บ้านกาด อ.แม่วาง เพื่อสำรวจความเสียหายบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากน้ำไหลหลากล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย.66

นายนเรศ กล่าวว่า โดยหลังจากผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้รับเรื่องแล้ว จึงได้สั่งการให้หัวหน้าฝ่ายงานวิศวกรรม นายช่างชลประทาน หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 6 ลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด เลขนานุการนายกเทศมนตรีตำบลแม่วาง เพื่อสำรวจความเสียหายเบื้องต้น เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเร่งด่วน และแผนระยะยาวพื้นที่ 7 จุด ที่มีปัญหาในลำน้ำแม่วาง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ตุลาคม 2566

“อัครแสนคีรี” รุดช่วยชาวชัยภูมิ เรียกร้องค่าเวนคืนสร้างเขื่อนลำปะทาว พร้อมยื่นหนังสือขอ รมว.พลังงานเร่งแก้ไขปัญหา

,

“อัครแสนคีรี” รุดช่วยชาวชัยภูมิ เรียกร้องค่าเวนคืนสร้างเขื่อนลำปะทาว พร้อมยื่นหนังสือขอ รมว.พลังงานเร่งแก้ไขปัญหา

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่าในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ชัยภูมิ ตนได้เดินทางไปพบปะกับพี่น้องประชาชนจังหวัดชัมภูมิ เพื่อสอบถามถึงปัญหาและข้อเรียกร้องของการเดินทางมาชุมนุมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องค่าเวนคืนที่ดินจากโครงการสร้างเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเพื่อการผลิตไฟฟ้าและเป็นเก็บกักน้ำป้อนระบบชลประทาน ในเขตอำเภอแก้งคร้อ

“ผมได้ทำหนังสือขอความช่วยเหลือเร่งด่วนไปยัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อเร่งดำเนินการจ่ายค่าเวนคืนที่ดินจากการสร้างเขื่อนลำปะทาว ให้กับกลุ่มชาวบ้านที่ยังไม่ได้รับเงินตามมติคณะรัฐมนตรี รวมถึงแจ้งเรื่องการทำหนังสือดังกล่าวกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมกับจะติดตามต่อไป“นายอัครแสนคีรี

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 กันยายน 2566

“รมช.สันติ” รมช.สธ. แนะพัฒนาพื้นที่บลูโซนแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพดี ปลอดโรค ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว

,

“รมช.สันติ” รมช.สธ. แนะพัฒนาพื้นที่บลูโซนแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพดี ปลอดโรค ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว

วันที่ 27 กันยายน 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 1 /2566 ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร ชั้น 2 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กับ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. ตลอดจนผู้บริหารของกระทรวงเข้าร่วม โดยมีการประชุมติดตามความก้าวหน้า 7 เรื่อง ซึ่งอยู่ในนโยบาย Quick Win ของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 1. โครงการพระราชดำริ / โครงการเฉลิมพระเกียรติและโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ 2. เศรษฐกิจสุขภาพ “น่าน โมเดล (NAN_MODELs)” 3. ด้านดิจิทัลสุขภาพ 4. โรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร 50 เขต 50 โรงพยาบาล และปริมณฑล 5. ด้านมะเร็งครบวงจร 6. การสร้างขวัญกำลังใจบุคลากร และ 7. ด้านสถานชีวาภิบาล

นายสันติ กล่าวถึงประเด็นเศรษฐกิจสุขภาพ บลูโซน (Blue Zone) หรือเมืองที่คนอยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี อายุยืน ทำให้ได้เขตสุขภาพละ 1 แห่ง นั้นมองว่า บลูโซนเป็นคำจำกัดความที่สื่อถึงพื้นที่ต่างๆที่เอื้อให้ผู้ที่อยู่อาศัยสามารถมีความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาว และมีความปลอดในทุกรูปแบบ จึงอยากฝากแนวคิดว่า ถ้าตำบลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีการพัฒนายกระดับให้เป็นบลูโซน เมื่อนักท่องเที่ยวทางเข้ามาก็จะเกิดความสบายใจได้ทันทีว่าสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ปลอดภัยในทุกๆด้าน ทั้งเรื่องอากาศ สาธารณสุข อาหาร แหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า หรือ ตลาดที่ถูกสุขอนามัย ซึ่งหากมีแนวคิดนี้ออกไปทำให้กระทรวงสาธารณสุขดูเข้มแข็งขึ้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

คอซีย์ มามุ วอนรัฐบาลเร่งเบิกค่าเสี่ยงภัย ให้กับผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น พื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเป็นกำลังใจเจ้าหน้าปฏิบัติงานเพื่อ ปชช.

,

คอซีย์ มามุ วอนรัฐบาลเร่งเบิกค่าเสี่ยงภัย ให้กับผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น พื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเป็นกำลังใจเจ้าหน้าปฏิบัติงานเพื่อ ปชช.

นายคอชีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 (อ.หนองจิก และ อ.โคกโพธิ์)พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หารือในที่ประชุมสภาไปยังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ถึงประเด็นในความล่าช้าการจ่ายค่าตอบแทนสมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่น เป็นเงินค่าเสี่ยงภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วย จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และ อีก4 อำเภอจังหวัดสงขลา

ในตอนที่ตนทำหน้าที่ประธานชมรมผู้บริหารท้องถิ่นจังหวัดชายแดนใต้ได้ยื่นข้อเสนอต่อภาครัฐให้นำเสนอสวัสดิการการปฎิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามกฤษฎีกาสวัสดิการปฏิบัติงานพื้นที่เสี่ยง พ.ศ. 2544 และแก้ไขปฏิบัติพื้นที่ 3 ปี 2560 ว่าด้วยบำเหน็จเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจังหวัดชายแดนภาคใต้

ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของชายแดนภาคใต้ ครั้งที่หนึ่งโดยมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานในการประชุม มีวาระเห็นชอบและสวัสดิการเบี้ยเสี่ยงภัยของผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกท้องถิ่น

“วันนี้เข้ามาเดือนกันยายน ยังไม่มีการจ่ายเงินเสี่ยงภัย ให้กับสมาชิกสภาท้องถิ่น การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ ผมจึงขอนำเรียนให้ท่านนายกเศรษฐา ได้มีบัญชาสั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรีบดำเนินการให้กับผู้บริหารท้องถิ่นในฐานะผู้ปฏิบัติงานพื้นที่เสี่ยงภัย ได้รับความเท่าเทียมได้รับเบี้ยเสี่ยงภัยเหมือนกับหน่วยงานราชการอื่นด้วย”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

”สส.จีรเดช“กรมโยธาธิการ ช่วยสำรวจบ้านเรือน ปชช.ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือน วอน รีบจัดสรรงบประมาณแก้ปัญหาด่วน

,

”สส.จีรเดช“กรมโยธาธิการ ช่วยสำรวจบ้านเรือน ปชช.ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือน วอน รีบจัดสรรงบประมาณแก้ปัญหาด่วน

นายจีรเดช ศรีวิราช สส.พะเยา เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาถึง ความล่าช้าในการอนุมัติโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง หมู่ที่ 4 ตำบลดอกคำใต้ ซึ่งได้เสนอไปยังกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย เนื่องจากประชาชนได้รับความเดือดร้อนและได้รับคำร้องเรียน จากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ซึ่งได้ร้องขอต่อกรมโยธาธิการ ไปนานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งหมู่บ้านนี้อยู่หลังสถานีประมง จังหวัดพะเยา ในช่วงฤดูฝน น้ำกว้านพะเยาเอ่อล้นก็ถูกระบายไปสู่แม่น้ำอิง ทำให้บริเวณบ้านฝั่งหมิ่น ซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับประตูน้ำ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เกิดปัญหาน้ำท่วมทะลักเข้าสู่บ้านเรือนที่พักอาศัย บางแห่งถูกน้ำกัดเซาะเข้าไปเกือบถึงตัวบ้าน ไม่รู้จะพังขึ้นมาเมื่อไหร่ ยิ่งอยู่ใกล้ประตูน้ำระบายด้วย ทีนี้ก็ลำบากก็ว้าวุ่นเลย ต้องหากระสอบทรายจำนวนมากนำมากั้นน้ำเป็นประจำทุกปี ขอฝากความเดือดร้อนนี้ไปยังกรมโยธาธิการ

นายจีรเดช กล่าวว่า อีกปัญหาที่ถูกเรียกร้องมามากก็คือ ปัญหาน้ำท่วมขังในเขตเทศบาลเมืองดอกคำใต้ บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำร่องช้าง และอยู่ช่วงปลายน้ำที่แคบคอขวด ที่สำคัญปลายน้ำยังไม่ทะลุเชื่อมต่อไปถึงแม่น้ำอิงที่ไหลลงไปสู่แม่น้ำโขง ในช่วงหน้าฝน เกิดน้ำป่าไหลหลาก ทำให้ไม่สามารถระบายได้ทันก็เอ่อล้นเข้าสู่บ้านเรือนพี่น้องชาวบ้าน ต้องขนเข้าของเครื่องใช้ ไปที่สูงเพื่อหนีน้ำ บางทีน้ำมาไว ก็ขนไม่ทัน สร้างความเสียหายอย่างหนัก และเกิดขึ้นซ้ำซาก ตั้งแต่ผมจำความได้

”ผมขอฝาก 2 เรื่องนี้ ไปยังกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย ได้ช่วยไปสำรวจตรวจสอบ หาแนวทางแก้ไข รวมทั้งรีบจัดสรรงบประมาณ มาดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน“นายจีรเดช กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

“อัครแสนคีรี” ชงสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า หวังได้ข้อสรุปจะรับมืออย่างไร หลังเป็นของผิดกม.แต่ลักลอบขายสูบกันทั่วเมือง

,

“อัครแสนคีรี” ชงสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า หวังได้ข้อสรุปจะรับมืออย่างไร หลังเป็นของผิดกม.แต่ลักลอบขายสูบกันทั่วเมือง

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ กล่าวนำเสนอญัตติในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาผลประโยชน์ของการมีกฎหมายควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทความเป็นจริงในประเทศไทย โดยเป็นญัตติที่นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)เป็นผู้เสนอ

โดย นายอัครแสนคีรี กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ สส.ไผ่ ลิกค์ ที่ได้ มอบหมายตนมานำเสนอในสภา บุหรี่ไฟฟ้า ปัจจุบันเป็นสินค้าที่มีการขายซื้อง่าย ทั้งช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ โดยทุกวันนี้บุหรี่ไฟฟ้าสามารถสั่งซื้อได้ผ่านเว็บไซต์ชื่อดัง รวมถึงโซเชียลมีเดียต่างๆ เนื่องจากเป็นที่แพร่นิยมของวัยรุ่น สาเหตุที่มีความนิยม ในกลุ่มผู้ใช้เป็นเพราะว่า มีรูปลักษณ์และกลิ่น ที่ทำให้เกิดความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นของผลไม้ หรือเป็นกลิ่นต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้มีความชื่นชอบและมีการใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีกฎหมายที่ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า หลักๆ มี 4 หน่วยงาน คือ หน่วยงานพาณิชย์ ,คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค,พรบ.ควบคุมยาสูบ และกรมศุลกากร ซึ่งจะดูในส่วนของการนำเข้า ทั้งนี้ถ้าหากหน่วยงานเหล่านี้ มีการ กำกับดูแล การออกกฏหมาย มีบทลงโทษที่ชัดเจน

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า จากผลสำรวจพบว่าตลาดบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 6,408 ล้านบาทต่อปี และมีการเติบโตที่ร้อยละ 100 ต่อปี โดยจากผลสำรวจยังพบว่า ปัจจุบันเยาวชนไทยมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 9 และที่สำคัญ มีการสูบตามเพื่อนฝูงถึง 92.2% พูดง่ายๆ เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่เห็นเพื่อนใช้กันแล้วก็อยากใช้ตาม และที่สำคัญคือ ไม่ทราบว่าด้านในมีสาร นิโคติน ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าทุกวันนี้เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ในประเทศไทย ดังนั้นการนำเข้ามาขาย รวมถึงการจัดจำหน่าย ก็เป็นการลักลอบเข้ามาจำหน่าย ส่วนประเทศทุกวันนี้ที่มี ฃการอนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ได้แล้วมี ประมาณ 60 ประเทศ ซึ่งจะมีบางประเทศที่สามารถจำหน่ายได้เฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่มีสารนิโคติน เช่นออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ศรีลังกา

“ผมได้ศึกษาเบื้องต้น จากตัวอย่างของประเทศที่มีการอนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า อย่างในประเทศจีน จะมีข้อกำหนด ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า เช่น การกำจัดอายุขั้นต่ำ,ห้ามขายใกล้สถานศึกษา,การห้ามจำหน่ายผ่านตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและอินเตอร์เน็ต รวมถึงการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง อย่างประเทศญี่ปุ่นบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคตินก็จะไม่สามารถขายได้ ส่วนเกาหลีเกาหลี อนุญาตให้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าแต่มีการเก็บภาษีที่สูง โดยสรุปในต่างประเทศก็จะมีกฎหมาย เพื่อเข้ามากำกับดูแลบุหรี่ไฟฟ้า ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ”นายอัครแสนคีรี กล่าว

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ทุกวันนี้ประเทศไทยมีกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ห้ามนำเข้าบารากุและบุหรี่ไฟฟ้า หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงกฎหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบปี 60 หากฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 5000 บาท และ พรบ.ศุลกากรปี 60 ซึ่งมีการห้ามลักลอบนำเข้ามีบทลงโทษชัดเจน

“เราต่างทราบกันดีว่าข้อเท็จจริง แล้วสถานการณ์ในปัจจุบันนั้นกับไม่สอดคล้องกับเจตนาของกฎหมายที่มี ในปัจจุบัน นั่นก็คือยังมีการนำเข้า มีการจำหน่ายมีการสูบกันอย่างเปิดเผยในพื้นที่สาธารณะ ทั้งที่กฎหมายได้ห้ามเอาไว้ จึงทำให้เกิดช่องทางในการเก็บส่วย ไม่ว่าจะเป็น การตั้งด่าน หรือการจ่ายส่วย เพื่อจัดจำหน่ายหน้าร้าน รวมถึงการเรียกเก็บเงินจากผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 60 พบว่า รายได้ภาษีกรมสรรพสามิต ยาสูบมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ตลาดบุหรี่ไฟฟ้า มีมูลค่ามากขึ้น แต่กลับไม่สามารถเรียกเก็บภาษีได้“นายอัครแสนคีรี กล่าว

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ถ้าบุหรี่ไฟฟ้ายังผิดกฎหมายอยู่แบบนี้ รัฐย่อมไม่สามารถใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลไกราคา ไม่สามารถควบคุมการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงอยากเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อหาข้อสรุปว่า ข้อดีและข้อเสีย และผลกระทบของการออกกฏหมายมาควบคุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในการควบคุมคุณภาพ มาตรฐานที่ก่อให้เกิดอันตรายในบุหรี่ไฟฟ้า หรือกฎหมายควบคุมผู้บริโภค การกำหนดอายุของผู้บริโภค ที่ชัดเจนรวมถึง การจัดเก็บภาษีจากบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง เพื่อการลดปัญหาในปัจจุบันและป้องกันปัญหาที่ตามมาในอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 กันยายน 2566

“สส.อรรถกร”วอน กระทรวงที่เกี่ยวข้องเร่งแก้หลายปัญหาในพื้นที่ จ. ฉะเชิงเทรา พร้อมแนะ กรมฝนหลวง เร่งทำฝนเก็บสำรองในอ่างเก็บน้ำคลองสียัด รองรับการเกษตร และบริโภคโดยด่วน หวั่นเผชิญภัยแล้ง

,

“สส.อรรถกร”วอน กระทรวงที่เกี่ยวข้องเร่งแก้หลายปัญหาในพื้นที่ จ. ฉะเชิงเทรา พร้อมแนะ กรมฝนหลวง เร่งทำฝนเก็บสำรองในอ่างเก็บน้ำคลองสียัด รองรับการเกษตร และบริโภคโดยด่วน หวั่นเผชิญภัยแล้ง

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 เรื่อง คือ ขณะนี้พี่น้องเกษตรกร ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม และพี่น้องเกษตรกรในอำเภอบางคล้า อำเภอราชสาน กำลังประสบปัญหาต้องใช้น้ำอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะพี่น้องที่ทำการเกษตร ทำนา ปลูกข้าว ซึ่งขณะนี้ดินฟ้าอากาศเป็นใจ จึงขอให้กรมฝนหลวง ทำฝนหลวงเพื่อเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำคลองสียัดโดยด่วน เพื่อรองรับการทำเกษตร เพราะในอนาคต ข้างหน้า อาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง จากเอลนีโญได้

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ตนได้รับข่าวสารจากเพจแปดริ้วเดลิเวอรี่ ซึ่งเป็นสื่อที่คอยช่วยเหลือคอยตรวจตรา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน โดยตอนนี้ศาลาบนทางหลวงถนน จังหวัดฉะเชิงเทรา บางน้ำเปรี้ยว บริเวณหน้าปากทางเข้าวัดวิเวกวนาราม ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดความเสียหาย พี่น้องประชาชนที่ผ่านไป ผ่านมาไม่สบายใจ จึงขอให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ช่วยเร่งแก้ไขจะเอาไว้หรือไม่เอาไว้ ยังไงก็ได้

นอกจากนี้ โรงเรียนบ้านหนองโสน บ้านคล้า ขณะนี้ถูกถ่ายโอนไปอยู่ในการดูแลขององค์การส่วนตำบล สมัยใต้ อำเภอบ้านคล้า ซึ่งปัจจุบันขาดแคลนบุคลากรทางด้านการศึกษา โดยในโรงเรียนมีบุคลากรแค่ 2 ท่าน จึงอยากฝากให้กระทรวงมหาดไทย หรือกระทรวงศึกษาธิการ เข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อผลประโยชน์ของลูกๆ หลานๆ ของพวกเรา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 กันยายน 2566

“สส.บุญชัย”ร่วมหารือปัญหาการขาดแคลนน้ำในจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อวางแนวทางแก้ปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

,

”สส.อนุรัตน์ ส.ส.พะเยา“ เตรียมเชิญ รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่ แก้ปัญหาภัยแล้ง อ.เชียงคำ หลังแก้ไขปัญหาเร่งด่วนติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยปชช.

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ร่วมประชุมติดตามรับฟัง เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยได้ร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.)ในเขตพื้นที่เพชรบูรณ์ เพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

โดยมีนายชัชวาล เบญจสิริวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในการประชุม ,นายสุชาติ กาญจนวิลัย ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบูรณ์ ,นายเจษฎา โทศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 10 พร้อมด้วยข้าราชการโครงการชลประทานเพชรบูรณ์ ณ โครงการชลประทานเพชรบูรณ์ ตำบลป่าเลา อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 กันยายน 2566

”สส.อนุรัตน์ ส.ส.พะเยา“ เตรียมเชิญ รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่ แก้ปัญหาภัยแล้ง อ.เชียงคำ หลังแก้ไขปัญหาเร่งด่วนติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยปชช.

,

”สส.อนุรัตน์ ส.ส.พะเยา“ เตรียมเชิญ รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่ แก้ปัญหาภัยแล้ง อ.เชียงคำ หลังแก้ไขปัญหาเร่งด่วนติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยปชช.

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง สส.พะเยา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พผชร.) เปิดเผยว่า ตนได้ทำหนังสือเชิญ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ อ.เชียงคำ จ.พะเยา เพื่อรับฟังปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ให้กับประชาชน หลังจากที่ได้ร่วมหารือกับกลุ่มเกษตรกร 3 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลอ่างทอง ตำบลน้ำแวน ตำบลเชียงบาน อ.เชียงคำ เพื่อหาแนวทางการผันน้ำและการบริหารจัดการน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร

“โดยระหว่างนี้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้กับพี่น้องเกษตร ผมจึงได้จัดเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนให้พี่น้องประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และ ไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรในพื้นที่ ส่งผลให้ต้นข้าวกำลังยืนต้นตาย“นายอนุรัตน์ กล่าว

นายอนุรัตน์ กล่าวต่อว่า ตนยังได้ลงพื้นที่ ต.หงส์หิน อ.จุน เพื่อมอบข้าวสารให้แก่ประชาชน พร้อมรายงานความคืบหน้าการตั้งเครื่องสูบน้ำพลังงานไฟฟ้าให้กับทุกคนในพื้นที่ได้รับทราบถึงการแก้ไขปัญหา การติดตั้งเครื่องสูญน้ำในพื้นที่ เนื่องจากปัญหาการใช้สถานที่ในการติดตั้งอยู่ในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ จึงจะมีการเจรจาหาทางออกร่วมกันอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 กันยายน 2566

“รมว.ธรรมนัส”สำรวจสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา พร้อมมอบหมายกรมชลประทานเร่งเก็บกักน้ำ เตรียมรับมือเอลนีโญ ก่อนเข้าฤดูแล้ง

,

“รมว.ธรรมนัส”สำรวจสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา พร้อมมอบหมายกรมชลประทานเร่งเก็บกักน้ำ เตรียมรับมือเอลนีโญ ก่อนเข้าฤดูแล้ง

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน และดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มเจ้าพระยา พร้อมเตรียมแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในช่วงที่ฝนตกหนัก ควบคู่ไปกับการรับมือปรากฎการณ์เอลนีโญ ณ เขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

รมว.ธรรมนัส กล่าวว่า จากการที่ฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ตอนบนของประเทศ ส่งผลดีต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำท่าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับขณะนี้เข้าสู่ช่วงปลายฤดูฝนของพื้นที่ตอนบน จึงได้สั่งการให้กรมชลประทานจัดหาแหล่งน้ำสำรอง และเร่งเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาที่มีปริมาณการใช้น้ำสูง เพื่อรองรับปรากฏการณ์เอลนีโญ และ
การใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง ป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้ได้มากที่สุด และในวันที่ 1 พฤสจิกายน 2566 ที่จะถึงนี้ จะมีการประชุมหารือการบริหารจัดการน้ำกันอีกรอบ เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเรงด่วน จึงอยากจะขอความร่วมมือจากพี่น้อง
ชาวนา ในการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการปลูกพืชอายุสั้น/งดทำนาปรังรอบที่ 2
ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ก.ย. 66) ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,166 ลบ .ม./วินาที แนโน้มลดลง กรมชลประทาน ได้ใช้ระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาในการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ระดับ 16.80 เมตร (รทก.) สูงกว่าระดับปกติประมาณ 0.30
เมตร เพื่อยกระดับน้ำเข้าสูคลองต่างๆที่อยู่ด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้ได้มากที่สุด โดยไม่กระ ทบต่อพื้นที่ริมคลอง และสามารถรองรับฝนที่อาจตกลงมาในพื้นที่ได้อีกด้วย พร้อมกันนี้ ยังได้ผันน้ำเข้าระบบชลประทาน ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่คลองชัยนาท-
ป่าสัก และ คลองชัยนาท-อยุธยา และผันน้ำบางส่วนไปลงคลองพระองค์ไซยยานุชิต เพื่อสูบผันน้ำไปเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตก จะผันเข้าทางแม่น้ำท่จีน แม่น้ำน้อย และคลองมะขามเฒ่า อู่ทองไปกักเก็บไว้ในแหล่งน้ำต่างๆ รวมไปถึง
คลองส่งน้ำในพื้นที่ชลประทาน เพื่อสำรองไว้ใช้อุปโภคบริโภค ในช่วงฤดูแล้ง การเพาะปลูกพืชใข้น้ำน้อย ตลอดจนไม้ยินต้น และรักษาระบบนิเวศน์ เป็นหลัก

สำหรับปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ที่คงเหลือจากการส่งน้ำเข้าระบบชลประทานเพื่อสำรองไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ในช่วงฤดูแล้งนั้น ได้วางแผนการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อรักษาสมดุลของปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา และเพื่อความมั่นคงของตัวเขื่อน โดยจะควบคุมการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาไม่ให้เกิน 1,000 ลบ.ม/วินาที ปัจจุบัน (25 ก.ย. 66) มีการระบายน้ำสูงสุดอยู่ที่ 802 ลบ.ม./วินาที มีแนวโน้มลดลง โดยปริมาณน้ำที่ระบายท้ายเขื่อนนี้ บางส่วนจะถูกนำไปเก็บกักไว้ในแหล่งน้ำและพื้นที่แก้มลิง ในเขตจังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยุธยา จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี รวมทั้งสนับสนุการผลิตประปาของการประปานครหลวง และการรักษาคุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ได้มีการเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือกรณีภัยพิบัติด้านเกษตร ได้แก่ 1) เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลกว่า 1 13 รายการ ประกอบด้วย เครื่องสูบน้ำ จำนวน 38 เครื่อง รถขุด จำนวน 6 คัน เรือกำจัดวัชพีช จำนวน 25 ลำ รถแทรกเตอร์ จำนวน 2 คัน รถทรลเลอร์ จำนวน 3 คัน รถบรรทุกและยานพาหนะจำนวน 20 คัน และรถบรรทุกน้ำ จำนวน 19 คัน 2) เตรียมจัดตั้งคลังสำรองทรัพยากร ได้แก่ การสำรองเสบียงอาหารสัตว์ (หญ้าแห้งอัดฟ่อน) ตามศูนย์/สถานี จำนวน 30 ตัน ซึ่งเกษตรกรขอรับได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ชัยนาทและศูนย์ดงเกณฑ์หลวง อ.วัดสิงห์สำรองเวชภัณฑ์ยา และวัดนสำหรับสัตว์ต่าง ๆ 3) ด้านการผลิตทางการเกษตร แบ่งออกเป็น ด้านพืช จะจัดทำการประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งปี 2564/2565 โดยการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการปลูกพืชอายุสั้น/งดทำนาปรังรอบที่ 2ส่งเสริมการปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย และให้ปลูกพืซหลากหลายตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกษตรกรรับทราบสถานการณ์แนวโน้มการระบาดศัตรูพืชในช่วงฤดูแล้ง สำรวจข้อมูลพื้นที่ที่ประสบปัญหาภาวะแห้งแล้ง และเร่งรัดจัดทำข้อมูลสถานการณ์เนื้อที่เพาะปลูก และเนื้อที่เสียหายผ่านระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร (รต) เป็นประ จำทุกเดือน 2) ด้านประมง มีการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยการบริหารจัดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายเกษตรกร อาสาเฝ้าระวังภัยแล้งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำใน 8 อำเภอ ทยอยจับสัตว์น้ำที่มีขนาดโต หรือได้ขนาดขึ้นมาจำหน่าย/บริโภคเพื่อลดความเสี่ยง และ 3) ด้านปสุสัตว์
สนับสนุนหญ้าแห้งเพื่อนำไปช่วยเหลือเกษตรกร 30 ตัน และเวชภัณฑ์สัตว์ต่าง ๆ ทำการผลิตสำรองเสบียงอาหารสัตว์ตามศูนย์/สถานีอาหารสัตว์ 30,000 กิโลกรัม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 กันยายน 2566

“สส.จำลอง”ลุยมอบถุงยังชีพช่วยประชาชนบรรเทาความเดือดร้อน จากเหตุอุทกภัยในพื้นที่เป็นวงกว้าง

,

“สส.จำลอง”ลุยมอบถุงยังชีพช่วยประชาชนบรรเทาความเดือดร้อน จากเหตุอุทกภัยในพื้นที่เป็นวงกว้าง

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ตนได้ส่งทีมงานกระจายลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม 2 อำเภอ 4 หมู่บ้าน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ส่งผลให้ในพื้นที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง จนเกิดภาวะน้ำท่วมไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน กินพื้นที่เป็นวงกว้าง

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ทีมงานของตนได้ไปพบปะพี่น้องประชาชนอาทิ บ้านคำศรี หมู่13 ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี และมอบถุงยังชีพให้จำนวน 30 ครัวเรือน, บ้านทับปลา ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี มอบถุงยังชีพให้จำนวน 32 ครัวเรือน,บ้านนาตาล ตำบลนาตาล อำเภอท่าคันโท จำนวน 40 ครัวเรือน และบ้านคำบอน หมู่5 ตำบลยางอู้ม อำเภอท่าคันโท จำนวน 30 ครัวเรือน ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งเพื่อช่วยเหลือฃบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนทุกคน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 กันยายน 2566