โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. จักรัตน์ พั้วช่วย

“สส.จักรัตน์”วอน กรมชลประทาน ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งเขตหล่มสักให้ยั่งยืน พร้อมเตรียมอนุมัติงบปี 69 ให้ 4 โครงการที่สำคัญ

,

“สส.จักรัตน์”วอน กรมชลประทาน ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งเขตหล่มสักให้ยั่งยืน พร้อมเตรียมอนุมัติงบปี 69 ให้ 4 โครงการที่สำคัญ

นายจักรัตน์ พั้วช่วย สส.เพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ช่วงเสาร์ อาทิตย์ที่ผ่านมานอกจากจะมีเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาของศาสนิกชนทั่วประเทศคือเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ในพื้นที่อำเภอหล่มสักก็มีเทศกาลประจำปี คือเทศกาลยกของขึ้นที่สูงหนีน้ำท่วม ปัญหาเกิดจากแม่น้ำป่าสัก ที่มีปริมาณน้ำมาก จนไหลล้นตลิ่ง ปัญหานี้แก้ไขได้ คือต้องสร้างอ่างเก็บน้ำ ชื่ออ่างเก็บน้ำสระดวงใหญ่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ ตำบลท่าอิบุญ อำเภอหล่มสัก ช่วยตัดยอดน้ำของแม่น้ำป่าสัก และช่วยกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง อ่างเก็บน้ำนี้ได้รับงบประมาณศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปีนี้ประมาณ 7 ปี ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติ โดยขอให้กรมชลประทานช่วยแก้ไขปัญหา น้ำท่วมน้ำแล้ง ให้ยั่งยืน

นายจักรัตน์ กล่าวต่อว่า ตนอยากฝากไปยังคณะกรรมการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ช่วยเร่งรัดอนุมัติให้ด้วย และฝากกรมชลประทาน ตั้งงบประมาณออกแบบก่อสร้างให้เสร็จภายในปี 2569 ให้ด้วย ส่วนในปี 2569 ขอให้กรมชลประทาน ตั้งงบประมาณโครงการศึกษาความเหมาะสม และประเมินผลกระทบของสิ่งแวดล้อม 4 โครงการที่สำคัญ ในเขตอำเภอหล่มสัก

1. โครงการบรรเทาอุทกภัยเขตเทศบาลเมืองหล่มสักและตำบลใกล้เคียง
2.โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง
3. โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำพาย ในตำบลบ้านกลาง
4.โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบุ่งน้ำเต้า ตำบลบุ่งน้ำเต้า
ซึ่งทั้ง 4 โครงการนี้ อยู่ในเขตอำเภอหล่มสักทั้งสิ้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 กรกฎาคม 2567

‘สส.จักรัตน์’ นำ กมธ.บริหารจัดการน้ำ สภาฯลงพื้นที่ เกาะพีพี เร่งประสาน 3 กระทรวงหลักแก้ปัญหาน้ำขาดแคลนช่วงหน้าแล้ง ย้ำ ยังรองรับภาคการท่องเที่ยวได้ นทท.ไม่ต้องกังวล

,

‘สส.จักรัตน์’ นำ กมธ.บริหารจัดการน้ำ สภาฯลงพื้นที่ เกาะพีพี เร่งประสาน 3 กระทรวงหลักแก้ปัญหาน้ำขาดแคลนช่วงหน้าแล้ง ย้ำ ยังรองรับภาคการท่องเที่ยวได้ นทท.ไม่ต้องกังวล

นายจักรัตน์ พั้วช่วย สส.เพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการบริหารจัดการน้ำ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยคณะ กมธ.ได้ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค จังหวัดกระบี่ โดยได้ประสานหน่วยงานฝ่ายบริหารภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรฯ, กระทรวงทรัพย์ฯ และ กระทรวงมหาดไทย ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่, อบจ.กระบี่, อบต.อ่าวนาง, นายอำเภอเมืองกระบี่, การประปาส่วนภูมิภาคสาขากระบี่, สนง.เขตชลประทานที่ 15, สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกระบี่ เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาและร่วมขับเคลื่อนแผนการบริหารจัดการทั้งระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาวอย่างจริงจัง

นายจักรัตน์ กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงในพื้นที่จังหวัดกระบี่ โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมือง ที่มีการจ่ายน้ำวันเว้นวัน รวมทั้งปัญหาน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาบนเกาะพีพีไม่เพียงพอ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย เพราะฝนไม่ตกตั้งแต่เดือนมกราคม และน้ำบาดาลคุณภาพต่ำหรือ น้ำกร่อย เกิดผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการรายย่อย และประชาชน
ซึ่งสำหรับแผนการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งได้ข้อสรุปทั้งระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาวเป็นที่เรียบร้อย

โดยเฉพาะการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปา ด้วยการก่อสร้างระบบผลิต สถานีผลิต-จ่ายน้ำหนองทะเล ต.หนองทะเล อ.เมือง จ.กระบี่ งบประมาณ 174 ล้านบาท ตลอดจนวางท่อน้ำดิบความยาว 22 กม. จากอ่างเก็บน้ำคลองแห้งมายังสถานีผลิตน้ำตลาดเก่า งบประมาณ 400 ล้านบาท และแผนระยะยาว ในการขยายกำลังการผลิตจาก 1,500 คิว เป็น 2,250 คิว และ ก่อสร้างถังน้ำใสขนาด 6,000 ลบ.ม. ที่สถานีจ่ายน้ำนครธรรม’

“เราได้ค้นพบแหล่งน้ำดิบใหม่ของจังหวัด ได้แก่ สระคลองหวายเล็ก พื้นที่ประมาณ 264 ไร่ เป็นขุมเหมืองเดิม ซึ่งอาจจะมีความลึกถึง 1,500 เมตร คุณภาพน้ำดิบระดับผิวน้ำถึงระดับความลึก 15 เมตร สามารถนำมาใช้เป็นน้ำประปาได้ ได้รับการยืนยันว่าผ่านการทดสอบเมื่อวาน นับเป็นข่าวดีล่าสุดของพื้นที่กระบี่ในการเพิ่มปริมาณน้ำดิบทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร”

สำหรับพื้นที่บนเกาะพีพี รองนายกอบต.อ่าวนาง และ การประปาส่วนภูมิภาค กล่าวว่า พื้นที่เกาะพีพี มีสัดส่วนของแหล่งน้ำดิบมาจากน้ำบาดาล 60% และจัดซื้อจากเอกชน 40% แปลว่าพื้นที่ที่กระทบไม่ได้มากตามที่เป็นข่าว ยังสามารถรองรับภาคการท่องเที่ยวได้เต็มที่ โดยขณะนี้ให้ผู้ประกอบการเอกชนปรับเปลี่ยนการจ่ายน้ำโดยสูบจากบาดาลแทนการจ่ายน้ำจากอ่างเก็บน้ำที่แห้งเพราะฝนไม่ตก และยังมีการขนน้ำจากแพภูเก็ตมาเพิ่ม อีกทั้งยังได้เตรียมแผนระยะยาวในการทำน้ำอาร์โอ ระบบกรองน้ำเค็มเป็นน้ำจืด ซึ่งอยู่ระหว่างขอรับจัดสรรงบกลางปี 68 เพื่อการศึกษาวางระบบ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ข้อกฎหมาย, ผลกระทบสิ่งแวดล้อม, ระยะเวลาและการคุ้มทุน

“สำหรับภาคท่องเที่ยว ต้องขอขอบคุณทางฝ่ายบริหาร นายสมชาย หาญภักดีปฏิมา ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ยืนยันว่าการดูแลนักท่องเที่ยวไม่มีปัญหา เนื่องจากโรงแรมส่วนมากมีบ่อบาดาลของตนเอง ขอให้ผู้ที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดกระบี่และเกาะพีพีไม่ต้องกังวล และในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติก็จะช่วยพิจารณาผลักดันงบประมาณโครงการที่พื้นที่นำเสนอในวันนี้เพื่อมาแก้ไขในการบริหารจัดการน้ำ”นายจักรัตน์ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 พฤษภาคม 2567

“จักรัตน์”ปธ.กมธ.จัดการน้ำฯเร่งเดินหน้าพิจารณา“แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี”เชิญ หลายหน่วยงายที่เกี่ยวข้องชี้แจง ชี้ ควรมีแนวทางจัดการน้ำในสถานการณ์ต่าง ๆ

,

“จักรัตน์”ปธ.กมธ.จัดการน้ำฯเร่งเดินหน้าพิจารณา“แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี”เชิญ หลายหน่วยงายที่เกี่ยวข้องชี้แจง ชี้ ควรมีแนวทางจัดการน้ำในสถานการณ์ต่าง ๆ

นายจักรัตน์ พั้วช่วย สส.จังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ในฐานะประธานคณะกรรมมาธิการ(กมธ.)บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สภาผู้แทนราษฎร เปิดผยว่า ถึงแม้จะอยู่ในช่วงปิดสมัยการประชุมสภาผู้แทนราษฏร ทางคณะกรรมาธิการยังเดินหน้าทำงาน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำที่ถือเป็นเรื่องสำคัญให้กับประชาชน โดยได้พิจารณาแนวทางการบริหารจัดการน้ำในประเทศไทย และมีการเชิญกรมเจ้าท่า,กรมโยธาธิการและผังเมือง,กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น,การประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค มาให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2563 – 2580)และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โครงสร้าง หน้าที่ อำนาจ และงบประมาณของหน่วยงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สถานการณ์น้ำในปัจจุบันและการคาดการณ์สถานการณ์น้ำในปี 2567 ปัญหาและอุปสรรค

นายจักรัตน์ กล่าวต่อว่า จากการพิจารณาคณะกรรมาธิการเห็นว่า ควรมีแนวทางการขุดลอกคลองให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันถนนทรุด นอกจากนี้การกำจัดผักตบขวาในแม่น้ำลำคลองควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกันเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และควรจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเหมาะสม รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหาแนวทางป้องกันการสูญเสียน้ำในการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ

นอกจากนี้ กรรมาธิการยังได้เชิญสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ,กรมชลประทานกรมทรัพยากรน้ำ,กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)ซึ่งจาการประชุมร่วมกัน เห็นว่า การบริหารจัดการน้ำมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ควรกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำต่อสถานการณ์ต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งและอุทกภัย และในส่วนของการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ ควรให้ประชาชนในพื้นที่เกษตรกรรมมีส่วนร่วม นอกจากนี้ ยังพบว่ามีอีกหลายพื้นที่ที่ยังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภค กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นหน่วยงานหนึ่งที่สามารถจัดการปัญหาดังกล่าวได้ตามแนวภารกิจของหน่วยงาน ในส่วนพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีการปล่อยน้ำเสียนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีแนวทางการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 พฤศจิกายน 2566

“จักรัตน์ สส.พปชร.“เสนอญัตติแก้ไขปัญหายาสูบและยาเส้นราคาตกต่ำ ให้ กมธ. การเงิน การคลัง พิจารณาใน 90 วัน เร่งหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรยาสูบ

,

“จักรัตน์ สส.พปชร.“เสนอญัตติแก้ไขปัญหายาสูบและยาเส้นราคาตกต่ำ ให้ กมธ. การเงิน การคลัง พิจารณาใน 90 วัน เร่งหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรยาสูบ

ในที่ประชุมสภาผูัแทนราษฎร ได้มีการเสนอญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหายาสูบและยาเส้นราคาตกต่ำ โดยนายจักรัตน์ พั้วช่วย สส.เพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวอภิปรายในฐานะผู้เสนอญัตติว่า เหตุผลของญัตตินี้คือ ยาสูบเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญประเภทหนึ่งในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นิยมปลูกยาสูบกันเป็นจำนวนมาก เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตบุหรี่

นายจักรัตน์ กล่าวต่อว่า ในปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบกลับต้องประสบปัญหาราคายาสูบ และยาเส้นตกต่ำ เนื่องจากการลดปริมาณรับซื้อยาเป็นอย่างมาก และมาตรการด้านสุขภาพ รวมถึงการปรับโครงสร้าง ภาษีกรมสรรพสามิตยาสูบใหม่ และการปรับขึ้นภาษี อย่างต่อเนื่องซึ่ง มาตรการดังกล่าวส่งผลให้ ราคาบุหรี่ปรับตัวสูงขึ้น มีการลักลอบนำเข้าบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้แพร่หลายเป็นจำนวนมาก จากปัญหาราคายาสูบและยาเส้นตกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูก ที่ยึดถืออาชีพในการปลูกยาสูบมาอย่างยาวนาน ได้รับความเดือดร้อน มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และต้องแบกรับภาระหนี้สินอีกครั้ง

“เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ ดั้งเดิมยังไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น เพื่อทดแทนอาชีพเดิมได้ จึงเป็นปัญหาที่เกษตรกร ผู้ปลูกยาสูบต้องเผชิญ และมีแนวโน้มที่จะก่อปัญหาให้เกิด ดังนั้นหากมีการพิจารณาศึกษาปัญหาดังกล่าว เพื่อให้มีการแก้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น และแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน ครบถ้วนในทุกมิติ จะเป็นการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอในการดำรงชีวิตและมีแนวทางการประกอบอาชีพที่เหมาะสม และยั่งยืนต่อไปในอนาคต”

นายจักรัตน์ กล่าวต่อว่า ปัญหายาสูบและยาเส้นที่เกิดขึ้นปฎิเสธไม่ได้เลยว่า เกิดจากการปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ ตั้งแต่ปี 2560 ก็คือเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2560 กระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงกำหนด โครงสร้างภาษีบุหรี่ แบบผสมโดยคิดภาษีตามปริมาณ 1.20 บาทต่อมวล บวกกับภาษีมูลค่า 2 อัตราได้แก่ บุหรี่ที่มีราคาเกิน 60 บาทต่อซอง คิดอัตรา 20% และบุหรี่ที่มีราคาเกิน 60 บาท ต่อซองคิดอัตรา 40% พร้อมกันนั้น เริ่มเก็บภาษีเพิ่มมหาดไทย จากสินค้ายาสูบ ในอัตรา 10% ของภาษีกรมสรรพสามิต ทำให้ต้องปรับเพิ่มราคาของบุหรี่อย่างสูงมาก และไม่เคยมีปรากฏมาก่อน

ส่วนรอบที่ 2 ในการปรับโครงสร้างภาษี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 รัฐบาลได้ปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ 2 อัตราเช่นเดียวกัน แต่คิดภาษีตามปริมาณ 1.25 บาทต่อม้วน และภาษีตามมูลค่า ก็คือปรับเป็น บุหรี่ที่ราคาไม่เกิน 72 บาทต่อซอง คิดอัตราเพิ่มจาก 20% เป็น 25% และบุหรี่ที่เกิน 72 บาทต่อซอง คิดอัตรา จาก 40% เป็น 42% การปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ทั้ง 2 อัตรา ทำให้บุหรี่มีราคา ที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้การยาสูบมีกำไรลดลงอย่างน่าตกใจ ส่งผลให้กระทบต่อชาวไร่ยาสูบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโควต้าการปลูกยาสูบ และที่สำคัญก็คือ เรื่องของราคา

“ที่ผ่านมาก่อนปี 60 การยาสูบไม่เคยขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเลย แต่หลังจากปี 60 ที่มีการปรับภาษี รัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับเกษตรกรไร่ยาสูบ ต้องขอบคุณ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งตอนนั้นท่านเป็นรองนายก ที่ได้ช่วยเหลือผลักดันมาตรการนี้ให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวไร่ยาสูบทั่วประเทศ ทั้งนี้ก็ขอให้กรรมาธิการที่เรากำลังช่วยกันพิจารณา ช่วยปรับตัวเลขให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่จริง เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตยาเส้นรายย่อยตามที่อยู่ต่างจังหวัดที่มีกำลังเงินกำลังทุนน้อยให้อยู่ได้ ก็คือ ปรับเป็นไม่เกิน 50,000 กิโลกรัมเสียภาษี 0.025 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนที่เกิน 50,000 กิโลกรัมเสียภาษี 0.1 บาทต่อกิโลกรัม เป็นเหตุผลที่วันนี้ผมยื่นญัตติเพื่อให้ท่านกรรมการสามัญเพื่อทำการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหายาสูบ”

ทั้งนี้ เนื่องจากญัตติดังกล่าวนั้น เริ่มต้นเป็นการเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ แต่นายจักรัตน์ผู้เสนอญัตติเห็นสมควรให้ส่งไปยังคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน ซึ่งการอภิปรายของสมาชิกต่างมีความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้น ประธานฯ ในที่ประชุมจึงอาศัยอำนาจตามข้อบังคับการประชุมฯ ข้อ 88 ในการถามมติว่าจะส่งญัตตินี้ไปให้คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาตามที่ผู้เสนอญัตติได้เสนอ ซึ่งไม่มีสมาชิกฯ ท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่น 
จึงถือว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ส่งญัตติไปยังคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน พิจารณา กำหนดระยะเวลาในการพิจารณา 90 วัน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2566

“จักรัตน์ สส.เพชรบูรณ์”ขอ กรมชลประทาน เร่งรัดโครงการสนับสนุนงบ 4 โครงการแก้น้ำท่วมอย่างยั่งยืน เชื่ อนาคตชาวหล่มสัก ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักแน่

,

“จักรัตน์ สส.เพชรบูรณ์”ขอ กรมชลประทาน เร่งรัดโครงการสนับสนุนงบ 4 โครงการแก้น้ำท่วมอย่างยั่งยืน เชื่ อนาคตชาวหล่มสัก ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักแน่

นายจักรัตน์ พั้วช่วย สส.เพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า พื้นที่อำเภอหล่มสักในขณะนี้เกิดอุทกภัยหนักมาก เกือบทุกตำบลในอำเภอหล่มสักเผชิญกับภัยน้ำท่วม โดยมีสาเหตุหลักมาจาก น้ำในแม่น้ำป่าสักที่ไหลจากจังหวัดเลยมีปริมาณน้ำมากจนล้นตลิ่ง,น้ำในห้วยสะดึงใหญ่ ที่มาจากอำเภอน้ำหนาวก็ไหลมารวมที่อำเภอหล่มสัก,ลำน้ำพูก็ไหลมารวมที่ป่าหล่มสัก,น้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยขอนแก่นที่มีปริมาณน้ำมาก จนต้องปล่อยน้ำออกมา เพราะเกรงปัญหาเรื่องอ่างเก็บน้ำรับน้ำไม่ไหว และปริมาณน้ำฝนลงในพื้นที่

“ผมจึงอยากให้กรมชลประทานช่วยเร่งรัดโครงการและสนับสนุนงบประมาณทั้ง 4 โครงการที่สำคัญดังนี้
1.โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสะดวงใหญ่ ตำบลท่าวิบูลย์
2.โครงการเพิ่มความจุของปากห้วยขอนแก่น ตำบลห้วยไร่
3.โครงการผันน้ำพื้นที่ตำบลตาเดียว เพื่อลดปริมาณน้ำไม่ให้เข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจของหล่มสัก
และ 4.ขอฝากกรมเจ้าท่า ขุดลอกแม่น้ำป่าสัก เพราะว่าตื้นเขินมาก เพื่อเพิ่มความจุของลำน้ำ

ในอนาคตอันใกล้นี้ถ้า 4 โครงการนี้ไม่เกิดขึ้นก็จะทำให้อำเภอหล่มสักประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างนี้ซ้ำซากและทุกๆปี ก็จะมีความรุนแรงมากขึ้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 ตุลาคม 2566

“จักรัตน์ พั้วช่วย”วอนกรมชลประทาน สร้างฝายกั้นน้ำในแม่น้ำป่าสัก เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้เป็นช่วงๆ พร้อม เร่งสร้างถนนเชื่อม 2 อำเภอ ช่วยนักท่องเที่ยวเดินทางได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น

,

“จักรัตน์ พั้วช่วย”วอนกรมชลประทาน สร้างฝายกั้นน้ำในแม่น้ำป่าสัก เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้เป็นช่วงๆ พร้อม เร่งสร้างถนนเชื่อม 2 อำเภอ ช่วยนักท่องเที่ยวเดินทางได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น

นายจักรัตน์ พั้วช่วย ส.ส.เพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ขณะนี้ประเทศไทย กำลังเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้พื้นที่เขค 2 ประสบปัญหาภัยแล้งหนักมากในช่วงเวลาปกติ ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนปกติแล้ว อำเภอหล่มสัก บ้านผมน้ำตรงท่วม 2 รอบแต่ ปีนี้น้ำในแม่น้ำป่าสักยังมีจำนวนน้อยอยู่เลย จึงข้องกรมชลประทานให้สำรวจออกแบบก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง นะครับ แห่งแรก อ่างเก็บน้ำปากช่องอำเภอปากช่อง ตำบลแหลมสัก 2 อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำพาย ตำบลบ้านกลางอำเภอหล่มสัก 3 อ่างเก็บน้ำตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 4 อ่างเก็บน้ำหนาว อำเภอน้ำหนาวเพื่อช่วยเรื่องการบริหารจัดการน้ำ แก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งได้อย่างยั่งยืน

นายจักรัตน์ กล่าวต่อว่า จากแผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์จะเห็นได้ว่า แม่น้ำป่าสัก ถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ ไหลจากอำเภอเหนือสุดของจังหวัด ก็คืออำเภอหล่มเก่า ไปสู่อำเภอใต้สุดของจังหวัดก็คือ อำเภอศรีเทพ จึงอยากให้กรมชลประทานก่อสร้างฝายกั้นน้ำในแม่น้ำป่าสักจุดประสงค์เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้เป็นช่วงๆ เพราะว่าแม่น้ำป่าสักมีความลาดชันสูง น้ำจะมาไวและไปไว ถ้ามีฝายเป็นช่วงๆจะช่วยชะลอน้ำไว้ใช้ได้ และช่วยในด้านการเกษตรด้วย โดยได้มีทั้งหมด 4 จุดที่สำคัญ จุดแรกบ้านวังบนเหนือตำบลไพบูลย์อำเภอหล่มสัก จุดที่ 2 ก็คือ ในเขตเทศบาลหล่มสัก จุดที่ 3 บ้านพปุยขอนแก่น ตำบลตาลเดียวอำเภอหล่มสัก และ จุดที่ 4 บ้านวังคลอง ตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์

นอกจากนี้ นายจักรัตน์ยังขอให้กรมทางหลวง สำรวจออกแบบก่อสร้างทางหลวง เชื่อมระหว่าง 2 อำเภอระหว่างอำเภอหล่มสักและอำเภอน้ำหนาว ระหว่างทางหลวงหมายเลข 2343 ตำบลชัยบุณอำเภอหล่มสักกลับทางหลวงหมายเลข 2216 ตำบลหลักด่านอำเภอน้ำหนาว เพราะถ้าทำสำเร็จจะช่วยให้พี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้นโดยปัจจุบันทั้งสองอำเภอนี้ เวลาจะเดินทางไปหากันจะต้องขับอ้อมไปที่จังหวัดชัยภูมิ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2566