โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

วัน: 31 สิงหาคม 2023

‘สส.อรรถกร’ ยื่นญัตติด่วนขอสภาฯช่วยเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก หลังมีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ด้าน รอ.ธรรมนัส เลขาฯพปชร. ร่วมรับฟังข้อเสนอ เร่งแก้ปัญหา ก่อนสภาฯล่มไปต่อไม่ได้ ย้ำพร้อมเดินหน้าเร่งแก้ปัญหาให้เกษตรกรอย่างเร็วที่สุด

,

‘สส.อรรถกร’ ยื่นญัตติด่วนขอสภาฯช่วยเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก หลังมีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ด้าน รอ.ธรรมนัส เลขาฯพปชร. ร่วมรับฟังข้อเสนอ เร่งแก้ปัญหา ก่อนสภาฯล่มไปต่อไม่ได้ ย้ำพร้อมเดินหน้าเร่งแก้ปัญหาให้เกษตรกรอย่างเร็วที่สุด

ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้พิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ กำลังพิจารณาซึ่งมีญัตติทำนองเดียวกันอีก 11 ญัตติ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำมาพิจารณาพร้อมกัน จึงให้พิจารณารวมเป็น11ฉบับ ทั้งนี้ 1 ในญัตติที่เสรอต่อสภาเป็นของนายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.ฉะเชิงเทรา เขต2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)

นายอรรถกร ได้กล่าวเสนอญัตติด่วนในที่ประชุมเพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ เนื่องจากส่งผลกระทบกับผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้งขนาดกลาง และขนาดย่อยกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ซึ่งตนต้องขอขอบคุณประธานสภาที่ท่านกรุณาบรรจุ และเปิดโอกาสให้ตนและเพื่อนสมาชิกได้มีโอกาสนำเสนอญัตติ ซึ่งเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง วันนี้พรรคพลังประชารัฐเรามีเลขาธิการของพรรคพลังประชารัฐ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ก็อยู่กับพวกเราด้วย ซึ่งทราบว่าเมื่อเช้ามีตัวแทนของผู้เลี้ยงกุ้งที่ตั้งความหวังรอการแก้ไขมาร่วมยื่นหนังสือ และพูดคุยถึงปัญหา ราคากุ้งตกต่ำ นี่เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าญัตติของตนนั้นเป็นญัตติที่เร่งด่วนที่ต้องการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ยังมีเพื่อนสมาชิกที่ร่วมลงชื่อและยื่นญัตตินี้กับตนอีกหลายท่าน

ในขณะนี้ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรเลี้ยงกุ้งทั้งขนาดกลางและขนาดย่อย ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากราคากุ้งเลี้ยงตกต่ำอย่างรวดเร็ว สาเหตุส่วนหนึ่งที่ราคากุ้งตกต่ำเกิดจากคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโช่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) หรือบอร์ดกุ้งอนุมัติการนำเข้ากุ้งจากเอกวาดอร์และอินเดียอ้างว่าเกษตรกรไทยมีโครงการประกันราคากุ้งอยู่แล้ว

นอกจากนี้ยังมีปัญหาการขาดทุนจากการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร เกิดมาจากราคาน้ำมันเซื้อเพลิงมีราคาสูง และ มีโรคระบาดในกุ้ง ประกอบกับราคาประกันขั้นต่ำที่ห้องเย็นตั้งไว้นั้นเท่ากับราคาตันทุนการผลิตที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งเท่ากับเป็นการบังคับให้เกษตรกรขายในราคาขาดทุน ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาหนี้สินแม้ราคากุ้งจะถูกกำหนด โดยคณะบริหารจัดการ ห่วงโซ่ การผลิตกุ้งและผลิตภัณฑ์ก็ตาม ราคาของกุ้งก็ไม่ได้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึงขอให้รัฐบาลช่วยลดภาระของพวกเขา เช่น ค่าอาหาร ค่าปูน ค่าไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำไรของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งโดยตรง

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ขณะนี้ประเทศผู้นำเข้าอเมริกาญี่ปุ่นหรือประเทศทางยุโรปเริ่มชะลอการนำเข้าใช้กุ้งในสต๊อกของตนเอง นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคาตกต่ำอีกประเด็นปัญหาอำนาจในการต่อรองของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศไทยน้อยมาก เมื่อเช้าจังหวัดฉะเชิงเทรามีการขายกุ้งจำนวน 2.8 ตันขายหมด ไม่พอแม่ค้ารับซื้ออย่างรวดเร็ว แต่เป็นการขายในราคาที่พี่น้องเกษตรกรไม่ได้กำไร และพ่อค้าแม่ค้า คนกลางไปขายต่อ ทำให้เป็นอีกปัญหาหลักของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

ทั้งนี้เกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ใช่มีแต่ประเทศไทย ประเทศเดียวเท่านั้น ในตลาดโลกเรามีหลายประเทศที่น่ากลัว ไม่ว่าจะเป็นเอกวาดอร์ อินเดียเวียดนาม รวมถึงอินโดนีเซีย ที่สามารถผลิตกุ้งได้เป็นจำนวนมาก แต่มีข้อแตกต่างตรงที่ว่า สามารถลดต้นทุนได้มากกว่าประเทศไทยทำให้มีความได้เปรียบในการส่งออก

“ข้อเรียกร้องต่างๆของพวกเขาคือ อยากให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยสนับสนุนปัจจัยการผลิตกุ้งมีราคาลดลง รวมถึงชะลอการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศในทันท่วงทีโดยเฉพาะในช่วงราคากุ้งตกต่ำ และเงินชดเชยของเกษตรกรทุกคนต้องได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นบ่อใหญ่ บ่อกลาง และบอร์ดเล็ก สุดท้ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องแก้ไขปัญหาจริงจังในระยะสั้น กลาง ระยะยาว โดยเริ่มต้นตั้งแต่ วันนี้ผมขอเสนอญัตติด้วยความเป็นห่วงพี่น้องเกษตรกรให้มีการตั้งกรรมาธิการ แต่เมื่อดูจากระยะเวลา ถ้าเราทำเป็นรายงานส่งต่อให้กับนายกรัฐมนตรีคนใหม่แก้ไข คงจะเป็นทางออกรวดเร็วที่สุด”นายอรรถกร กล่าว

ต่อมาเมื่อนายอรรถกรเสนอญัตติจบ และกำลังจะ เข้าสู่การอภิปรายของผู้เสนอเหรอญัตติคนถัดไป ปรากฎว่า ส.ส.กทม.พรรคก้าวไกล ได้ลุกขึ้นเสนอญัตติให้มีการนับองค์ประชุม โดยมีผู้รับรองถูกต้อง ทำให้สส.พรรคร่วมรัฐบาล พยายามขอร้องให้พรรคก้าวไกลถอนญัตติดังกล่าวออกไป แต่ไม่เป็นผล ทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ รอสมาชิกแสดงตนพักใหญ่ แต่สมาชิกไม่ครบองค์ประชุม จึงทำให้องค์ประชุมไม่สามารถพิจารณาเรื่องดังกล่าวต่อได้

จากนั้น นายอรรถกร ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้นว่า วันนี้เพื่อน สส.พร้อมใจที่จะมาร่วมกันอภิปราย เดินหน้าการประชุมเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร โดยหวังว่า สภาฯจะได้ส่งปัญหาและความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรไปให้กับนายกรัฐมนตรีคนใหม่แก้ไขโดยเร็วที่สุด แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ตนก็ต้องแสดงความเสียใจจริง ๆ แต่ในการประชุมสภาครั้งต่อไปในสัปดาห์หน้า ตนก็จะเดินหน้าให้ที่ประชุมสภาฯพิจารณาญัตติดังกล่าวต่อ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรอย่างเร็วที่สุด

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2566

“พล.อ.ประวิตร” ร่วมหารือรองประธาน อลป.จีน ยกระดับด้านกีฬา กระชับความสัมพันธ์ ไทย-จีน เพิ่มศักยภาพนักกีฬาไทย

,

“พล.อ.ประวิตร” ร่วมหารือรองประธาน อลป.จีน ยกระดับด้านกีฬา
กระชับความสัมพันธ์ ไทย-จีน เพิ่มศักยภาพนักกีฬาไทย

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ ได้ให้การต้อนรับ นายหวัง รุ่ยเหลียน (Mr.Wang Ruilian) รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งสาธารณรัฐ ประชาชนจีน และคณะ ณ บ้านอัมพวัน คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในโอกาสที่เดินทางมาเข้าร่วมประชุม รัฐมนตรีอาเซียน – สาธารณรัฐประชาชนจีน ในด้านกีฬา

พล.อ.ประวิตร ได้ให้การต้อนรับพร้อมกล่าวขอบคุณ นายหวัง รุ่ยเหลียน และคณะทุกท่าน ที่ให้เกียรติมาเข้าพบในวันนี้ ซึ่งประเทศไทยกับจีนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน มาอย่างยาวนาน ในทุกระดับ รวมทั้งประชาชนของทั้ง 2 ประเทศ ที่มีความรักความผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น ทั้งด้านการค้า วัฒนธรรม ประเพณี และอื่นๆรวมถึงด้านการกีฬาด้วย ซึ่งในโอกาสที่จีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 ณ นครหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่าง 23 ก.ย.- 8 ต.ค.66 โดยมีนักกีฬาของไทยหลายประเภท เข้าร่วมการแข่งขันด้วย ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวอวยพรขอให้จีนประสบความสำเร็จ ในการจัดการแข่งขันด้วยดี

นายหวัง รุ่ยเหลียน ได้กล่าวขอบคุณ พล.อ.ประวิตร ที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ในวันนี้ และยืนยันความสัมพันธ์อันดีที่มีมาอย่างมั่นคงของทั้ง 2 ประเทศ ที่ผ่านมา พร้อมทั้งได้กล่าวเรียนเชิญ พล.อ.ประวิตร และคณะ เพื่อเป็นเกียรติเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 ณ นครหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย ต่อจากนั้นทั้งสองฝ่าย ยังได้หารือความร่วมมือทางด้านกีฬา เพื่อส่งเสริมการกีฬาของทั้ง 2 ประเทศ ให้มีการพัฒนาร่วมกัน และนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศให้มากยิ่งขึ้นต่อไปด้วย พร้อมกล่าวยินดีต้อนรับ และสนับสนุนนักกีฬา และเจ้าหน้าที่ของไทยอย่างเต็มที่ ในการเข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ ทั้ง2ฝ่ายได้มอบของที่ระลึกระหว่างกัน ก่อน รองประธาน คณะกรรมการโอลิมปิกฯของจีน พร้อมคณะจะเดินทางกลับ สำหรับ พล.อ.ประวิตร ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิคฯของไทย ต่อเนื่องทันที

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2566

“จักรัตน์ พั้วช่วย”วอนกรมชลประทาน สร้างฝายกั้นน้ำในแม่น้ำป่าสัก เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้เป็นช่วงๆ พร้อม เร่งสร้างถนนเชื่อม 2 อำเภอ ช่วยนักท่องเที่ยวเดินทางได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น

,

“จักรัตน์ พั้วช่วย”วอนกรมชลประทาน สร้างฝายกั้นน้ำในแม่น้ำป่าสัก เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้เป็นช่วงๆ พร้อม เร่งสร้างถนนเชื่อม 2 อำเภอ ช่วยนักท่องเที่ยวเดินทางได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น

นายจักรัตน์ พั้วช่วย ส.ส.เพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ขณะนี้ประเทศไทย กำลังเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้พื้นที่เขค 2 ประสบปัญหาภัยแล้งหนักมากในช่วงเวลาปกติ ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนปกติแล้ว อำเภอหล่มสัก บ้านผมน้ำตรงท่วม 2 รอบแต่ ปีนี้น้ำในแม่น้ำป่าสักยังมีจำนวนน้อยอยู่เลย จึงข้องกรมชลประทานให้สำรวจออกแบบก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง นะครับ แห่งแรก อ่างเก็บน้ำปากช่องอำเภอปากช่อง ตำบลแหลมสัก 2 อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำพาย ตำบลบ้านกลางอำเภอหล่มสัก 3 อ่างเก็บน้ำตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 4 อ่างเก็บน้ำหนาว อำเภอน้ำหนาวเพื่อช่วยเรื่องการบริหารจัดการน้ำ แก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งได้อย่างยั่งยืน

นายจักรัตน์ กล่าวต่อว่า จากแผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์จะเห็นได้ว่า แม่น้ำป่าสัก ถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ ไหลจากอำเภอเหนือสุดของจังหวัด ก็คืออำเภอหล่มเก่า ไปสู่อำเภอใต้สุดของจังหวัดก็คือ อำเภอศรีเทพ จึงอยากให้กรมชลประทานก่อสร้างฝายกั้นน้ำในแม่น้ำป่าสักจุดประสงค์เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้เป็นช่วงๆ เพราะว่าแม่น้ำป่าสักมีความลาดชันสูง น้ำจะมาไวและไปไว ถ้ามีฝายเป็นช่วงๆจะช่วยชะลอน้ำไว้ใช้ได้ และช่วยในด้านการเกษตรด้วย โดยได้มีทั้งหมด 4 จุดที่สำคัญ จุดแรกบ้านวังบนเหนือตำบลไพบูลย์อำเภอหล่มสัก จุดที่ 2 ก็คือ ในเขตเทศบาลหล่มสัก จุดที่ 3 บ้านพปุยขอนแก่น ตำบลตาลเดียวอำเภอหล่มสัก และ จุดที่ 4 บ้านวังคลอง ตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์

นอกจากนี้ นายจักรัตน์ยังขอให้กรมทางหลวง สำรวจออกแบบก่อสร้างทางหลวง เชื่อมระหว่าง 2 อำเภอระหว่างอำเภอหล่มสักและอำเภอน้ำหนาว ระหว่างทางหลวงหมายเลข 2343 ตำบลชัยบุณอำเภอหล่มสักกลับทางหลวงหมายเลข 2216 ตำบลหลักด่านอำเภอน้ำหนาว เพราะถ้าทำสำเร็จจะช่วยให้พี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้นโดยปัจจุบันทั้งสองอำเภอนี้ เวลาจะเดินทางไปหากันจะต้องขับอ้อมไปที่จังหวัดชัยภูมิ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2566

“สัมพันธ์”แนะ ด่านศุลกากรชายแดนใต้ ควรเป็นบริการสต็อปเซอร์วิสให้จบในที่เดียว พร้อมวอน หน่วยงานรัฐ เร่งทำไหล่ทางพร้อมติดตั้งไฟส่องสว่างบนถนนทางหลวง

,

“สัมพันธ์”แนะ ด่านศุลกากรชายแดนใต้ ควรเป็นบริการสต็อปเซอร์วิสให้จบในที่เดียว พร้อมวอน หน่วยงานรัฐ เร่งทำไหล่ทางพร้อมติดตั้งไฟส่องสว่างบนถนนทางหลวง

นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวตำบลบูกิต อำเภอเจาะโอร้อง จากการสัญจรถนนสายมะโต๊อีร้อง ทางหลวงชนบทที่ 5002 นราธิวาสจากอำเภอเจาะโอร้อง ซึ่งเส้นทางนี้ เป็นเส้นทางที่ประชาชนใช้สัญจรเลียบทางรถไฟช่วย ร่นระยะทางในการเดินทางจากบ้านบูกิต อำเภอศูนย์ละปาดี ระยะทางกว่าหลาย 10 กิโลเมตร แต่ในปัจจุบันประสบปัญหาเรื่องของเส้นทางที่แคบ ถูกตัดขาด และชำรุดเสียหาย

นายสัมพันธ์ กล่าวต่อว่า ในบริเวณคลองไอร์บอง เกิดปัญหาขาดไฟฟ้าสองสว่าง ซึ่งตอนนี้ทาง อบต.คิดบรรเทาปัญหาของพี่น้องประชาชน แต่ทำได้เพียงทำทางผ่านชั่วคราว โดยการฝังท่อระบายน้ำบริเวณคลองดังกล่าว และส่วนของภาคใต้นั้นมีน้ำท่วมไหลลงมาจาก เทือกเขาสร้างปัญหาความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชนจนแทบไม่สามารถสัญจรผ่านไปได้ เนื่องจากยังไม่มีสะพานที่ได้มาตรฐาน ถนนดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของทางหลวงชนบทในการซ่อมแซมก่อสร้างเป็นถนนที อยู่ในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

“ผมจึงขอเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการสร้างถนนทำไหล่ทางพร้อมติดตั้งไฟส่องสว่าง ตลอดเส้นทางคือทางหลวงชนบทที่ 5002 นราธิวาส ซ่อมแซมสะพานข้ามตัดขาดข้ามไปพร้อมขยายสะพานในบางช่วงให้กว้างขึ้นจากเดิมด้วย”

นายสัมพันธ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของเรื่องด่านศุลกากรอำเภอแว้ง ตำบลบูเก๊ะตา จังหวัดนราธิวาส เนื่องจากด่านศุลกากร ตำบล บูเก๊ะตา มองเห็นได้ว่าเป็นด่านมั่นคงถาวรมีเพียงตู้คอนเทนเนอร์อยู่ในการตรวจสอบคนเข้าออกระหว่างประเทศ มองดูแล้วเหมือนไม่ใช่ด่านศุลกากร แต่เป็นเพียงเป็นด่านธรรมดา ในขณะเดียวกันฝั่งประเทศมาเลเซียมีด่านศุลกากร มีมาตรฐานและความพร้อม สำหรับการต้อนรับนักท่องเที่ยวและสินค้าต่างๆ ตนได้ไปสำรวจพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวพบว่า ด่านศุลกากร มีอาคารสร้างเป็นที่เรียบร้อย แต่ไม่ได้มีการเข้าทำการ ใด ๆ ตนได้สอบถามเจ้าหน้าที่ ได้รับคำตอบว่าด่านศุลกากร ณ เวลานี้เป็นเพียงแค่ด่านธรรมดาในการเข้าออกของชาวบ้าน และสำรวจรถสินค้าทางการเกษตรและบรรทุกอาหารทะเลจะต้องไปตรวจ เนื่องจากทุกอย่างจะอยู่ที่ด่านแล้ว ทำไมไม่ให้บริการสต็อปเซอร์วิสให้จบไปในที่เดียวกัน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2566

“อัครแสนคีรี” อภิปรายต้นทุนผลิตไฟฟ้า ถามต้นทุนลดลงเท่าปี 64 แล้ว เมื่อไหร่ค่าไฟฟ้าจะลด จี้เปิดสัญญาจัดซื้อ LNG ไทยเสียเปรียบหรือไม่ เทียบจัดซื้ออาวุธ ยังต้องเปิดเผย ตรวจสอบเข้มงวด

,

“อัครแสนคีรี” อภิปรายต้นทุนผลิตไฟฟ้า ถามต้นทุนลดลงเท่าปี 64 แล้ว เมื่อไหร่ค่าไฟฟ้าจะลด จี้เปิดสัญญาจัดซื้อ LNG ไทยเสียเปรียบหรือไม่ เทียบจัดซื้ออาวุธ ยังต้องเปิดเผย ตรวจสอบเข้มงวด

นายอัครแสนคีรี โลห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) อภิปรายถึงการรับทราบงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2564 ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) โดยพบว่าสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย กว่า 55% เป็นการผลิตโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลักและพบว่าต้นทุนก๊าซฯมาจาก 3 แหล่ง คือ อ่าวไทย เมียนมา และการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวหรือ LNG จากต่างประเทศ
นายอัครแสนคีรี ระบุที่ผ่านมาโครงสร้างการคิดค่าไฟฟ้าในประเทศไทย โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ FT ที่จะมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงให้สะท้อนต้นทุนทุก 4 เดือน ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ว่า รัฐบาลปรับค่า FT ขึ้นกว่า 4 รอบ จนทำให้ค่าไฟฟ้าปรับเพิ่มถึง 30% สวนทางกับรายได้ของประชาชนทั้งประเทศ ที่ขณะนี้กำลังกุมขมับ
ตนจึงมีคำถามว่าเมื่อราคาก๊าซ LNG ปรับลดลงมาแล้ว แต่เหตุใดค่าไฟฟ้าปรับเพิ่มจาก 3.61 บาทต่อหน่วยเมื่อปี 2564 ไปจนถึง 4.70 บาทต่อหน่วยในปัจจุบันปี 2566 ขณะที่ราคาก๊าซ LNG นั้น ปรับลดลงแทบจะเท่าปี 2564 แล้ว คำถามคือ เมื่อไหร่รัฐบาล หรือคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จะพิจารณาปรับค่าไฟ ให้ลงเทียบเท่ากับปี 2564
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างบริษัทเอกชน กับกระทรวงพลังงาน ในเรื่องสัมปทานก๊าซอ่าวไทยในแหล่งเอราวัณที่บริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตของแปลงสำรวจดังกล่าวไม่สามารถเข้าแท่นขุดเจาะได้ในช่วงการเปลี่ยนผ่านทำให้การผลิตก๊าซเพื่อป้อนโรงไฟฟ้าต้องหยุดชงัก และในที่สุดประเทศจึงต้องนำเข้า LNG ในราคาที่แพงขึ้น ดังนั้นเมื่อต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าแพงขึ้น รัฐบาลชุดที่แล้วจึงต้องปรับค่า FT ขึ้น ทำให้ค่าไฟขึ้นไปถึง 4.72 บาทต่อหน่วย
นายอัครแสนคีรี ยังระบุถึงกรณี ที่ บอร์ด ปตท. ไฟเขียว ซื้อก๊าซ LNG สหรัฐ 20 ปี พร้อมตั้งคำถามว่า ขนาดการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ เรายังมีการตรวจสอบกันอย่างเข้มงวด ดังนั้นตนจึงอยากฝากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ให้เร่งตรวจสอบหน่วยงานหรือบริษัทใดเป็นผู้จำหน่าย LNG ให้กับบมจ. ปตท. และควรนำสัญญามาเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนและตัวแทนของประชาชนได้ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างว่ามีการได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไรบ้างมีเงื่อนไขในการลงนามในสัญญาอย่างไรบ้าง และมีเงื่อนไขพิเศษอื่นใดที่ประชาชนควรทราบหรือไม่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2566