โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวกิจกรรม ส.ส. และสมาชิกพรรค

“นเรศ สส.เชียงใหม่”วอน กรมทางหลวงชนบท เร่งซ่อมแซมสะพานข้ามระหว่างจังหวัด พร้อมขอกรมชล เร่งดำเนินการแก้ปัญหาดินพังทลายบริเวณแม่น้ำแม่แจ่ม

,

“นเรศ สส.เชียงใหม่”วอน กรมทางหลวงชนบท เร่งซ่อมแซมสะพานข้ามระหว่างจังหวัด พร้อมขอกรมชล เร่งดำเนินการแก้ปัญหาดินพังทลายบริเวณแม่น้ำแม่แจ่ม

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สส.เชียงใหม่ เขต 9 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรไปยังกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม เพื่อขอเร่งรัดซ่อมแซมสะพานวังสะแก เพื่อข้ามลำน้ำปิง บนถนนสายทางที่ 302 ตัด108 ได้ทรุดพังลง จำนวน3 ช่วง ระยะทาง 60 เมตร ซึ่งจริงๆ แล้วสะพานตรงนี้ได้รับงบประมาณมาแล้ว และกำลังสรรหาบริษัทเข้ามาซ่อมแซมจำนวนเงิน 40 ล้าน แต่ได้เกิดพังทลายเสียก่อน และสะพานตรงนี้ เป็นสะพานที่ข้ามระหว่างจังหวัด จากตำบลหลวงเต่า ของจังหวัดเชียงใหม่ ไปอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งรัดด้วย เนื่องจากเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน

นายนเรศ กล่าวต่อว่า ตนขอหารือไปถึงกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงปัญหาการพังทลายของดินบริเวณแม่น้ำแม่แจ่ม ซึ่งได้เกิดการทรุดตัวแล้วพังทลายลง ทำให้น้ำในช่วงไหลหลากได้เข้าท่วมไร่นาของประชาชนเป็นจำนวนทั้งหมด 2000 กว่าไร่ เบื้องต้นตนได้ประสานไปยังกรมชลประทานแล้ว จึงขอให้กรมชลประทานเร่งดำเนินการ เนื่องจากขณะนี้พี่น้องประชาชนทำเกษตรกรรมไม่ได้เลย


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2566

“จตุพร สส.ราชบุรี”ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาน้ำป่าไหลกัดเซาะริมตลิ่งพังทลาย พร้อมแนะทำฝายกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

,

“จตุพร สส.ราชบุรี”ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาน้ำป่าไหลกัดเซาะริมตลิ่งพังทลาย พร้อมแนะทำฝายกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

นายจตุพร กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้นำชุมชนและพี่น้องประชาชนอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรีว่า แม่น้ำภาชี ที่มีแหล่งต้นน้ำมาจากเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งไหลผ่านตำบลท่าเคย ตำบลปลาหวาย ในเขตอำเภอสวนผึ้งและตำบลด่านทับตะโก ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึงจังหวัดราชบุรี ไหลไปลงแม่น้ำแควน้อย ที่ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี มีความยาวประมาณ 50 – 60 กิโลเมตร มีความกว้างโดยเฉลี่ย 60 – 70 เมตร ในบางช่วงมีการกัดเซาะตลิ่งทำให้บริเวณนั้นมีความกว้างถึง 100 เมตร

นายจตุพร กล่าวต่อว่า ทุกปีในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ฝนจะตกชุก น้ำป่าไหลอย่างรุนแรง และกัดเซาะริมตลิ่งพังทลาย ทำให้ที่ดินทำกินซึ่งเป็นไร่สวน พื้นที่เลี้ยงสัตว์ และบ้านเรือนของพี่น้องประชาชนได้รับความเสียหาย ถนนบางสายเสียหายน้ำท่วมตัดขาด ไม่สามารถสัญจรผ่านไปได้ ซึ่งบางครอบครัวต้องอพยพไปหาที่อยู่ที่ทำกินใหม่ พอถึงฤดูแล้งก็มีความแห้งแล้งเป็นอย่างมาก ไม่มีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค เนื่องจากน้ำได้ไหลผ่านไปลงแม่น้ำแควน้อย

“เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน โดยการสำรวจออกแบบทำฝายกักเก็บน้ำไว้ใช้เป็นระยะ ๆ และเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง พร้อมทั้งสร้างแนวเขื่อนกั้นตลิ่งบริเวณที่มีกระแสน้ำกัดเซาะเป็นประจำ”นายจตุพร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2566

“จักรัตน์ สส.พปชร.“เสนอญัตติแก้ไขปัญหายาสูบและยาเส้นราคาตกต่ำ ให้ กมธ. การเงิน การคลัง พิจารณาใน 90 วัน เร่งหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรยาสูบ

,

“จักรัตน์ สส.พปชร.“เสนอญัตติแก้ไขปัญหายาสูบและยาเส้นราคาตกต่ำ ให้ กมธ. การเงิน การคลัง พิจารณาใน 90 วัน เร่งหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรยาสูบ

ในที่ประชุมสภาผูัแทนราษฎร ได้มีการเสนอญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหายาสูบและยาเส้นราคาตกต่ำ โดยนายจักรัตน์ พั้วช่วย สส.เพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวอภิปรายในฐานะผู้เสนอญัตติว่า เหตุผลของญัตตินี้คือ ยาสูบเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญประเภทหนึ่งในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นิยมปลูกยาสูบกันเป็นจำนวนมาก เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตบุหรี่

นายจักรัตน์ กล่าวต่อว่า ในปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบกลับต้องประสบปัญหาราคายาสูบ และยาเส้นตกต่ำ เนื่องจากการลดปริมาณรับซื้อยาเป็นอย่างมาก และมาตรการด้านสุขภาพ รวมถึงการปรับโครงสร้าง ภาษีกรมสรรพสามิตยาสูบใหม่ และการปรับขึ้นภาษี อย่างต่อเนื่องซึ่ง มาตรการดังกล่าวส่งผลให้ ราคาบุหรี่ปรับตัวสูงขึ้น มีการลักลอบนำเข้าบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้แพร่หลายเป็นจำนวนมาก จากปัญหาราคายาสูบและยาเส้นตกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูก ที่ยึดถืออาชีพในการปลูกยาสูบมาอย่างยาวนาน ได้รับความเดือดร้อน มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และต้องแบกรับภาระหนี้สินอีกครั้ง

“เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ ดั้งเดิมยังไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น เพื่อทดแทนอาชีพเดิมได้ จึงเป็นปัญหาที่เกษตรกร ผู้ปลูกยาสูบต้องเผชิญ และมีแนวโน้มที่จะก่อปัญหาให้เกิด ดังนั้นหากมีการพิจารณาศึกษาปัญหาดังกล่าว เพื่อให้มีการแก้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น และแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน ครบถ้วนในทุกมิติ จะเป็นการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอในการดำรงชีวิตและมีแนวทางการประกอบอาชีพที่เหมาะสม และยั่งยืนต่อไปในอนาคต”

นายจักรัตน์ กล่าวต่อว่า ปัญหายาสูบและยาเส้นที่เกิดขึ้นปฎิเสธไม่ได้เลยว่า เกิดจากการปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ ตั้งแต่ปี 2560 ก็คือเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2560 กระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงกำหนด โครงสร้างภาษีบุหรี่ แบบผสมโดยคิดภาษีตามปริมาณ 1.20 บาทต่อมวล บวกกับภาษีมูลค่า 2 อัตราได้แก่ บุหรี่ที่มีราคาเกิน 60 บาทต่อซอง คิดอัตรา 20% และบุหรี่ที่มีราคาเกิน 60 บาท ต่อซองคิดอัตรา 40% พร้อมกันนั้น เริ่มเก็บภาษีเพิ่มมหาดไทย จากสินค้ายาสูบ ในอัตรา 10% ของภาษีกรมสรรพสามิต ทำให้ต้องปรับเพิ่มราคาของบุหรี่อย่างสูงมาก และไม่เคยมีปรากฏมาก่อน

ส่วนรอบที่ 2 ในการปรับโครงสร้างภาษี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 รัฐบาลได้ปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ 2 อัตราเช่นเดียวกัน แต่คิดภาษีตามปริมาณ 1.25 บาทต่อม้วน และภาษีตามมูลค่า ก็คือปรับเป็น บุหรี่ที่ราคาไม่เกิน 72 บาทต่อซอง คิดอัตราเพิ่มจาก 20% เป็น 25% และบุหรี่ที่เกิน 72 บาทต่อซอง คิดอัตรา จาก 40% เป็น 42% การปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ทั้ง 2 อัตรา ทำให้บุหรี่มีราคา ที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้การยาสูบมีกำไรลดลงอย่างน่าตกใจ ส่งผลให้กระทบต่อชาวไร่ยาสูบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโควต้าการปลูกยาสูบ และที่สำคัญก็คือ เรื่องของราคา

“ที่ผ่านมาก่อนปี 60 การยาสูบไม่เคยขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเลย แต่หลังจากปี 60 ที่มีการปรับภาษี รัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับเกษตรกรไร่ยาสูบ ต้องขอบคุณ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งตอนนั้นท่านเป็นรองนายก ที่ได้ช่วยเหลือผลักดันมาตรการนี้ให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวไร่ยาสูบทั่วประเทศ ทั้งนี้ก็ขอให้กรรมาธิการที่เรากำลังช่วยกันพิจารณา ช่วยปรับตัวเลขให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่จริง เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตยาเส้นรายย่อยตามที่อยู่ต่างจังหวัดที่มีกำลังเงินกำลังทุนน้อยให้อยู่ได้ ก็คือ ปรับเป็นไม่เกิน 50,000 กิโลกรัมเสียภาษี 0.025 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนที่เกิน 50,000 กิโลกรัมเสียภาษี 0.1 บาทต่อกิโลกรัม เป็นเหตุผลที่วันนี้ผมยื่นญัตติเพื่อให้ท่านกรรมการสามัญเพื่อทำการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหายาสูบ”

ทั้งนี้ เนื่องจากญัตติดังกล่าวนั้น เริ่มต้นเป็นการเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ แต่นายจักรัตน์ผู้เสนอญัตติเห็นสมควรให้ส่งไปยังคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน ซึ่งการอภิปรายของสมาชิกต่างมีความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้น ประธานฯ ในที่ประชุมจึงอาศัยอำนาจตามข้อบังคับการประชุมฯ ข้อ 88 ในการถามมติว่าจะส่งญัตตินี้ไปให้คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาตามที่ผู้เสนอญัตติได้เสนอ ซึ่งไม่มีสมาชิกฯ ท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่น 
จึงถือว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ส่งญัตติไปยังคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน พิจารณา กำหนดระยะเวลาในการพิจารณา 90 วัน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2566

“สันติ” รมช.สธ. ตรวจเยี่ยม อย. เข้มป้องกันสินค้าออนไลน์ ยา-ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ได้มาตรฐาน

,

“สันติ” รมช.สธ. ตรวจเยี่ยม อย. เข้มป้องกันสินค้าออนไลน์ ยา-ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ได้มาตรฐาน

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมตรวจเยี่ยมสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กับนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยมี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข คณะผู้บริหาร ตลอดจนพนักงานและเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ พร้อมเยี่ยมชมบูทนิทรรศการก่อนรับฟังบรรยายสรุป ที่ห้องประชุมชั้น 9 อาคาร OSSC อย.กระทรวงสาธารณสุข

นายสันติ กล่าวว่า มีความชื่นชมการทำงานของ อย. ที่มีมาตรฐานสูง ทำให้ได้ยาที่มีคุณภาพ และกำกับดูแลร้านขายยาทุกแห่งอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ไปไกลและรวดเร็ว เรื่องการค้าออนไลน์จึงมีปัญหาค่อนข้างมาก มีการสั่งซื้อและจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์ ทั้ง อาหาร ยา และผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งสินค้าเหล่านี้มีผู้ร้องเรียนว่าการตรวจสอบจะไม่ทัน บางชิ้นส่งจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรวจสอบยาก โดยเฉพาะการค้าออนไลน์ในเรื่องสุขภาพ ความสวยความงาม มีสัดส่วนสูงมากและเป็นปัญหามาก เช่น หลายเดือนที่ผ่านมาส่งสารไซยาไนด์ ได้มีการพูดถึง อย.ว่ามีการตรวจสอบอย่างไร หากมีการส่งสินค้าทางไปรษณีย์หรือบริษัทของเอกชนต่างๆ

“ปัญหาอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ไม่ตรงปก หากมีไม่กี่ชิ้นไปทำอะไรคงยาก การที่ของเหล่านี้ส่งเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมากทำให้ประชาชนเสียเงินกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การดำเนินการสกัดกั้นก็มีความสำคัญ ฉะนั้นถ้าเป็นอาหารและยา ต้องดูว่าเป็นอะไร เช่น ยาลดความอ้วน ต้องดูเรื่องกฎระเบียบ ถ้าไม่มีก็ต้องออก เพื่อให้บุคคลที่สั่งซื้อสินค้าไม่ได้มาตรฐานสามารถแจ้งความดำเนินคดีได้”

ทั้งนี้มองว่า การค้าออนไลน์มีความสะดวก อยู่บ้านก็ค้าขายได้ แต่ก็ทำลายระบบเศรษฐกิจในระดับมหาภาค ร้านค้าในชนบทก็สามารถค้าขายได้ แต่ปัจจุบันปิดไป 80% เพราะมีการค้าออนไลน์ซึ่งทำลายระบบเศรษฐกิจร้านค้าชุมชน ฉะนั้นสินค้าที่แปลกปลอมก็ออกระเบียบ ถ้าเข้าได้แล้วไม่มีมาตรฐานก็กำหนดโทษทางคดีอาญา เพราะตอนอยู่กรมศุลกากร ก็มีปัญหาดังกล่าว ซึ่งไม่สามารถแก้ได้เพราะสินค้าที่ส่งต่ำกว่า 1,500 บาท ต่ำกว่า 3,000 บาท ไม่สามารถเก็บได้ เพราะเป็นเรื่องการค้าโลก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 ตุลาคม 2566

“จำลอง สส.กาฬสินธุ์”วอน รัฐเยียวยาความเสียหายให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้ง มันสำปะหลัง อ้อย หลังเกิดน้ำท่วมเสียหายจากกรมชลบริหารจัดการน้ำไม่ดี

,

“จำลอง สส.กาฬสินธุ์”วอน รัฐเยียวยาความเสียหายให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้ง มันสำปะหลัง อ้อย หลังเกิดน้ำท่วมเสียหายจากกรมชลบริหารจัดการน้ำไม่ดี

นายจำลอง ภูนวนทา สส.เขต 3 จ.กาฬสินธุ์ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงราษฎรที่เช่าที่ราชพัสดุ ประกอบอาชีพไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชและเลี้ยงกุ้ง ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากนายกอบต.หัวหินว่า พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อน ต้องการให้รัฐเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากการเลี้ยงกุ้ง และเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังและปลูกอ้อย ที่ต้องประสบภัยน้ำท่วม เกิดจากการบริหารจัดการน้ำไม่ดีพอของกรมชลประทาน

นายจำลอง กล่าวต่อว่า ตนอยากทวงถามถึงเรื่องที่เคยหารือไว้เกี่ยวกับ การสร้างถนนสายโค่กเครือเชื่อมกับตำบลดงบูรณ์ กับบ้านนางาม กับบ้านคำขาม และถนนสายบ้านหนองบัวเชื่อม ตำบลหนองสัว เทศบาล หนองบัวเชื่อม เทศบาลหนองสัว ซึ่งถนนทรุดโทรม อย่างมาก โดยตนเคยหารือแล้วก็เงียบไป ทางชาวบ้านฝากมาให้ทวงถามกรมส่งเสริม เพราะว่าได้ของบประมาณไปหลายปีแล้ว แต่เรื่องยังไม่ได้รับการตอบรับ ตนขอให้ผู้มีอำนาจรับผิดชอบช่วยดูแลเรื่องนี้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 ตุลาคม 2566

“อามินทร์ สส.นราธิวาส”ชงแก้ปัญหา Overstay ของชาวมาเลเซีย เผย ชายแดนใต้กำลังเสียโอกาสในการต้อนรับนักท่องเที่ยว

,

“สส.อรรถกร” ขอบคุณส.ส. ได้ร่วมกันลงมติเป็นเอกฉันท์ แก้ไขข้องบังคับสภา เปลี่ยนชื่อ-ภาระกิจ กรรมาธิการสามัญ เพื่อแก้ทุกข์ให้ปชช.

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)กล่าวถึงกฎหมายกวาดล้างต่างชาติอยู่ Overstay หรือปัญหาการอยู่เกินกำหนดตามระยะอนุญาตของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ซึ่งในช่วง สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ทำให้พื้นที่ชายแดนภาคใต้เผชิญกับเศรษฐกิจที่ซบเซามายาวนาน มาถึงวันนี้สถานการณ์คลี่คลายไปแล้ว ความหวังของพี่น้องประชาชนที่จะได้ทำมาหากิน หารายได้จากนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็มีมากขึ้น

“เนื่องด้วยปัญหาการอยู่ Overstay ของคนมาเล จึงทำให้ขณะนี้ชายแดนกำลังใต้เสียโอกาสจากการต้อนรับนักท่องเที่ยว จากการถูกห้ามเข้าประเทศ หลังจากเข้ามาเสียค่าปรับแล้ว ตามข้อกฎหมายที่ต้องโดนห้ามกลับเข้าประเทศไทยอีก ซึ่งเข้าใจในความจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายในข้อนี้บังคับใช้ก็เพื่อป้องกันแรงงานต่างด้าว แต่ชายแดนทางใต้เป็นชายแดนทางการค้า ไม่ใช่ชายแดนสำหรับแรงงานต่างด้าว ผมต้องขอฝากกระทรวงการต่างประเทศให้พิจารณาแก้ปัญหาในเรื่องนี้ด้วย”

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า ในปีนี้มีนักท่องเที่ยวอย่างน้อย 2 ล้านคนเดินทางมาเยือน จ.สงขลา สูงกว่าปีที่แล้วที่ 8-9 แสนคน ซึ่งยอดนักท่องเที่ยวสะสมมาเลเซียแซงหน้าชาวจีนไปแล้ว โดยผลสำรวจจากสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคใต้ ระบุว่า ทางใต้ของไทยเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่ต้องการประสบการณ์เกี่ยวกับอาหาร และเป็นจุดหมายปลายทางในวันหยุดสุดสัปดาห์

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 ตุลาคม 2566

“สส.อรรถกร” ขอบคุณส.ส. ได้ร่วมกันลงมติเป็นเอกฉันท์ แก้ไขข้องบังคับสภา เปลี่ยนชื่อ-ภาระกิจ กรรมาธิการสามัญ เพื่อแก้ทุกข์ให้ปชช.

,

“สส.อรรถกร” ขอบคุณส.ส. ได้ร่วมกันลงมติเป็นเอกฉันท์ แก้ไขข้องบังคับสภา เปลี่ยนชื่อ-ภาระกิจ กรรมาธิการสามัญ เพื่อแก้ทุกข์ให้ปชช.

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ฉะเชิงเทรา ในฐานะ
ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ…. เปิดเผยว่า ขอขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทุกท่าน ได้ลงมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมาธิการได้เสนอให้ สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแก้ไขข้อบังคับสภาฯ เพื่อแก้ชื่อและภาระกิจของคณะกรรมาธิการ 3 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สิน คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะกรรมาธิการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

“ การแก้ไขข้อบังคับครั้งนี้ เพื่อให้สภาสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชาชนได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งสส.ถือเป็นกลไกสำคัญที่สามารถนำปัญหาและข้อเท็จจริงในความเดือดร้อน และความต้องการของประชาชน นำมาสู่การผลักดันช่วยเหลือได้อย่างมีประสิมธิภาพมากขึ้น” นายอรรถกร กล่าว

ทั้งนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญ ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามพิจารณาตามมติที่ประชุมสภา เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ได้รับหลักการร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ…. ตั้งกรรมาธิการจำนวน 20 คน เพื่อพิจารณา กำหนดการแปรญัตติ ซึ่งคณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างข้อบังคับดังกล่าวเสร็จแล้วปรากฏผลตามรายงานของคณะกรรมาธิการตามที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการจึงเรียนมาเพื่อที่ประชุมในวันนี้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส”ร่วมหารือ ก.มหาดไทย – ก.ทรัพยากรธรรชาติฯ เร่งแก้ปัญหาสมัชชาคนจน พร้อมพบปะกลุ่มพีมูฟ ก่อนยุติการชุมชุมหน้าทำเนียบ

,

“รมว.ธรรมนัส”ร่วมหารือ ก.มหาดไทย – ก.ทรัพยากรธรรชาติฯ
เร่งแก้ปัญหาสมัชชาคนจน พร้อมพบปะกลุ่มพีมูฟ ก่อนยุติการชุมชุมหน้าทำเนียบ

วันนี้ (16 ต.ค.66) เวลา 13.30 น. ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายมงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หารือร่วมกับแกนนำสมัชชาคนจน (สคจ.) และ พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานจากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารสำนักงาน ก.พ. (เดิม) เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองกระทรวงซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของที่ดินที่เป็นปัญหาค้างคาเดิมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม แบ่งเป็น กระทรวงมหาดไทย 14 กรณีประเด็นปัญหา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7 กรณี ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบกรอบการทำงานจากนี้ร่วมกันระหว่างสมัชชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรายละเอียดตามข้อร้องเรียนในแต่ละประเด็น เสนอต่อสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งเบื้องต้นได้ผลเป็นน่าพอใจ และเมื่อมีกรอบแนวทางออกในการดำเนินงานในความเดือนร้อนที่พี่น้องสมัชชาคนจนเสนอมา และมีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน คาดว่าการปักหลักชุมนุมก็จะไม่ยืดเยื้อแน่นอน
อย่างไรก็ตาม หลังจากการหารือร่วมกับกลุ่มสมัชชาคนจนเรียบร้อยแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้เดินทางต่อไปยังบริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล พบปะตัวแทนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ พีมูฟ เพื่อหารือการขับเคลื่อนการทำงานของคณะอนุกรรมการที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรรมการลงนามแต่งตั้งทั้งหมด 7 คณะอนุกรรมการ ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินทั้งระบบ 2.คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม 3.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการของรัฐ 4.คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ 5.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาสิทธิสถานะ และบุคคล 6.คณะอนุกรรมการสิทธิที่อยู่อาศัยและการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และ 7.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาใน 10 ประเด็นข้อเสนอเชิงนโยบาย และปัญหารายกรณีทั้งสิ้น 266 กรณี ร่วมกันตามที่กลุ่มพีมูฟได้ยื่นข้อเสนอการแก้ไขปัญหาของกลุ่มพีมูฟ ซึ่งสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะฝ่ายเลขานุการ จะประสานงานฝ่ายเลขาฯ ของคณะกรรมการและอนุกรรมการทุกชุดมาประชุมร่วมกับผู้แทนพีมูฟโดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ กลุ่มพีมูฟได้ปักหลักชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลมาตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา และจะยุติการชุมชุมและทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนาในวันนี้ (16 ต.ค.66).

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางการเกษตร มุ่งส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มอบหมายกรมชลฯลอกคลองป้องกันวัชพืชกระทบระบบนิเวศนทะเล

,

‘ธรรมนัส’นำทีม สส.พปชร.ลุยแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งคาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา พร้อมประกาศ ดีเดย์แจกโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฉบับแรก 15 ม.ค. 67 แน่นอน

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด กระแสสินธุ์ และพบปะเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ณ ต.บ้านตาขาว อ.ระโนด จ.สงขลา ร่วมกับ สส. ภาคใต้ของพรรคพลังประชารัฐ อาทิ นายชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว สส.สงขลา เขต 4 ,นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.จังหวัดนราธิวาส เขต2 , นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ สส.จังหวัดนราธิวาส เขต 3 และนายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2

โดย ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ปัญหาของคาบสมุทรสทิงพระ คือเริ่มตั้งแต่เมื่อวานที่ตนไปลงพื้นที่ทะเลน้อย ซึ่งเป็นพื้นที่ของจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา รวมถึงนครศรีธรรมราช แล้วก็คาบสมุทรทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องขับเคลื่อนพร้อม ๆ กัน โดยช่วงเช้าตนได้สั่งการไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาว่า จะนำเรื่องที่มาตรวจราชการ 2 วัน โดยเป็นเรื่องของคนพัทลุง คนสงขลา และคนนครศรีธรรมราช เสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้รับทราบ เพื่อหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในเรื่องของการพัฒนาทะเลสาบสงขลา อย่าง ทะเลน้อย

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวต่อว่า เมื่อเช้าตนอยู่กับพี่น้องชาวอำเภอระโนด ถือว่าเป็นจุดสำคัญที่พี่น้องได้รับผลกระทบ เวลาหน้าน้ำหลากก็ท่วมคาบสมุทรสทิงพระ ทำให้พี่น้องชาวอำเภอสทิงพระเดือดร้อน แนวทางในการแก้ปัญหาในส่วนของกรมชลประทาน ตนได้สั่งการกรมชลประทานแล้วว่า ให้หาแนวทางในการแก้ไขปัญหา อย่างเช่น ในช่วงหน้าแล้ง ก็มีปัญหาเรื่องน้ำของภาคการเกษตรเป็นปัญหามาก เราจะทำการกระจายน้ำ โดย ใช้เป็นประตูสูบน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละจุดของคลองอาทิตย์ เพื่อระบายไปยังแปลงเกษตรให้กับพี่น้องเกษตรกรทั้ง 4 อำเภอ ส่วนคณะกรรมการในการบริหารจัดการทะเลน้อย ทะเลสาบสงขลา ตนก็จะอาสาเป็นประธานในการขับเคลื่อน

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวต่อว่า เมื่อวันพุธที่ผ่านมาตนมีการประชุมของคณะกรรมการปฎิรูปที่ดิน อนุมัติกรอบในการเปลี่ยนที่ดินจาก ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนด ภายใต้ใช้กฎหมายข้อบังคับประกาศ 4 ฉบับ พรบ.ส.ป.ก. ปี 18 ประกอบกับปีที่ปรับปรุงแล้ว ถ้าถามว่า ก่อนวันที่ 15 มกราคม 2567 จะเริ่มแจก ส.ป.ก.ทั่วประเทศหรือไม่ ตน ยืนยันว่า ทำ ขอฝากไปยังพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศว่า เราจะเปลี่ยนที่ดินที่เป็นที่ดินของรัฐประเภท สปก.ให้เป็นโฉนด เพื่อการเกษตรให้กับของท่าน อย่างในพื้นที่จังหวัดสงขลาก็มีที่ดิน ส.ป.ก.จำนวนมาก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางการเกษตร มุ่งส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มอบหมายกรมชลฯลอกคลองป้องกันวัชพืชกระทบระบบนิเวศนทะเล

,

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางการเกษตร มุ่งส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มอบหมายกรมชลฯลอกคลองป้องกันวัชพืชกระทบระบบนิเวศนทะเล

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยี่ยมชมการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย พื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก (Globally Important Agricultural Heritage System : GIAHS) แห่งแรกของประเทศไทย ณ จุดชมวิว (บ้านแฝด) ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ซึ่งการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” เป็นระบบการทำการเกษตร (ปศุสัตว์) ที่สืบทอดมายาวนานมากกว่า 250 ปี มีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่การอยู่ร่วมกันของชุมชนกับธรรมชาติ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ วิวัฒนาการของทำการเกษตรอย่างยั่งยืน และการอนุรักษ์ระบบนิเวศให้สมดุล โดยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) ได้ประกาศรับรองพื้นที่ดังกล่าวเป็นมรดกทางการเกษตรโลก

สำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบแบบลากูน เชื่อมลุ่มน้ำปากพนังและลุ่มน้ำสงขลาเข้าด้วยกัน ซึ่งภายในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยประกอบไปด้วยระบบนิเวศย่อยมากมาย อาทิ ป่าพรุ ทุ่งหญ้า เนินสูง และบึงน้ำ ส่งผลให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำมากกว่า 200 สายพันธุ์ และเป็นจุดพักของนกอพยพตามเส้นทางการบินของเอเชียตะวันออกถึงออสเตรเลีย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่มีสถานะอนุรักษ์และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ส่งผลให้พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าและพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งบทบาทสำคัญในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยยังทำหน้าที่นิเวศบริการหล่อเลี้ยงผู้คนกว่า 50,000 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 จังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ตำบลเคร็งและตำบลแหลม) จังหวัดพัทลุง (ตำบลทะเลน้อยและตำบลพนางตุง) จังหวัดสงขลา (ตำบลบ้านขาว) ที่พึ่งพิงอาศัยทรัพยากรจากพื้นที่ชุ่มน้ำโดยตรง ก่อให้เกิดวิถีการทำการเกษตรที่หลากหลายและมีอัตลักษณ์โดดเด่น เช่น วิถีการเลี้ยงควายปลัก การทำหัตถกรรมกระจูด การปลูกข้าว “นาริมเล” และการทำประมงโดยใช้ยอยักษ์เป็นเครื่องมือทำการประมง เป็นต้น

ทั้งนี้ การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย สะท้อนสมดุลระหว่างวิถีชีวิตคนกับระบบนิเวศและการปรับตัวเพื่อให้สามารถทำกินในพื้นที่อนุรักษ์ได้อย่างเหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร กระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ช่วยยกระดับการท่องเที่ยวของจังหวัดให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบเกษตรที่สำคัญของโลก และจะนำไปสู่การแผนจัดการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนที่สร้างสมดุลทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐานสากลต่อไปให้อนาคต โดยพื้นที่ดังกล่าว มีเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย 228 ราย จํานวนควาย 4,480 ตัว และมีกลุ่มผู้เลี้ยงควาย 17 กลุ่ม

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ในการจัดการทรัพยากรทางการเกษตร เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดความยั่งยืน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน นอกจากนี้ ยังมอบหมายกรมชลประทาน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเจ้าท่า โยธาธิการจังหวัด และหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ นำเครื่องจักรเครื่องมือมาดำเนินการขุดลอกคลอง เพื่อเก็บกักวัชพืชที่ทำลายระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี (Varni) ซึ่งเป็นหนึ่งในวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ สร้างความมั่นคงในอาชีพ ก่อตั้งขึ้นโดย นางวรรณี เซ่งฮวด ภายใต้การส่งเสริมของสำนักงานเกษตรอำเภอควนขนุน และสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น คือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระจูด ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ผสมผสานระหว่างภูมิปัญญา เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการนำวัสดุอื่น ๆ จนได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม แปลกใหม่ และมีคุณภาพ นำมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กระจูด และสร้างงานให้คนในชุมชนกว่า 200 คน นำรายได้เข้าสู่ชุมชนกว่าปีละ 4 ล้านบาท

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 ตุลาคม 2566

“องอาจ สส.สระบุรี” ขอ รมว.มหาดไทย ดูแลประปาภูมิภาคพระพุทธบาท ปชช.เดือดร้อน กลายเป็นปัญหาซ้ำซาก ไร้การแก้ไข

,

“องอาจ สส.สระบุรี” ขอ รมว.มหาดไทย ดูแลประปาภูมิภาคพระพุทธบาท ปชช.เดือดร้อน กลายเป็นปัญหาซ้ำซาก ไร้การแก้ไข

นายองอาจ วงษ์ประยูร สส.สระบุรี เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ปัญหาซ้ำซากที่เกิดขึ้นในอำเภอพระพุทธบาท คือปัญหาน้ำประปาไม่ไหล ไหลอ่อน ไหลเป็นบางเวลาหรือไหลเฉพาะช่วงดึก ประชาชนต้องตื่นขึ้นมาช่วงกลางดึก เพื่อมารองน้ำไว้ใช้ ซึ่งตนเคยหารือปัญหานี้มาแล้วเมื่อสมัยประชุมที่แล้ว แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้รับการดูแลแก้ไขจากการประปาภูมิภาคพระพุทธบาท โดยปัญหาเริ่มขยายวงกว้างเป็นวิกฤติเดือดร้อนกันในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นแถวบริเวณตลาดนิคม ตลาดใน หลังโรงพยาบาลบริเวณ หมู่ 6 หมู่ 7 หมู่ 8 ตำบลขุนโขน หมู่ 7 พระพุทธบาท หมู่ 9 ชะอม เดือดร้อนกันทั่ว

นายองอาจ กล่าวต่อว่า สาเหตุของปัญหาหลักๆ คือเนื่องจากประปาภูมิภาคขยายเขตไปยังอำเภออื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าเกินศักยภาพของตัวเอง จึงปล่อยประละเลย ขุดใช้ประปาเก่า ไม่มีการปรับปรุงซ่อมแซมของเก่า ปล่อยท่อประปาเก่าชำรุดเสียหาย น้ำประปารั่วไหลทิ้ง นอกจากนี้ เครื่องสูบ เครื่องส่งน้ำหลัง ๆ ก็ไม่พอส่งน้ำให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองพระพุทธบาท

“ผมเคยสิ้นหวังกับการหารือในการแก้ปัญหาของน้ำประปาให้ท่านรัฐมนตรีมหาดไทยเข้ามาช่วยเรื่องประปาตรับ และขอฝากความหวังเรื่องนี้ให้กับท่านรัฐมนตรีให้ช่วยดูแลปัญหาเดือดร้อนปัญหาของประปาของพระพุทธบาทด้วย”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 ตุลาคม 2566

“จักรัตน์ สส.เพชรบูรณ์”ขอ กรมชลประทาน เร่งรัดโครงการสนับสนุนงบ 4 โครงการแก้น้ำท่วมอย่างยั่งยืน เชื่ อนาคตชาวหล่มสัก ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักแน่

,

“จักรัตน์ สส.เพชรบูรณ์”ขอ กรมชลประทาน เร่งรัดโครงการสนับสนุนงบ 4 โครงการแก้น้ำท่วมอย่างยั่งยืน เชื่ อนาคตชาวหล่มสัก ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักแน่

นายจักรัตน์ พั้วช่วย สส.เพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า พื้นที่อำเภอหล่มสักในขณะนี้เกิดอุทกภัยหนักมาก เกือบทุกตำบลในอำเภอหล่มสักเผชิญกับภัยน้ำท่วม โดยมีสาเหตุหลักมาจาก น้ำในแม่น้ำป่าสักที่ไหลจากจังหวัดเลยมีปริมาณน้ำมากจนล้นตลิ่ง,น้ำในห้วยสะดึงใหญ่ ที่มาจากอำเภอน้ำหนาวก็ไหลมารวมที่อำเภอหล่มสัก,ลำน้ำพูก็ไหลมารวมที่ป่าหล่มสัก,น้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยขอนแก่นที่มีปริมาณน้ำมาก จนต้องปล่อยน้ำออกมา เพราะเกรงปัญหาเรื่องอ่างเก็บน้ำรับน้ำไม่ไหว และปริมาณน้ำฝนลงในพื้นที่

“ผมจึงอยากให้กรมชลประทานช่วยเร่งรัดโครงการและสนับสนุนงบประมาณทั้ง 4 โครงการที่สำคัญดังนี้
1.โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสะดวงใหญ่ ตำบลท่าวิบูลย์
2.โครงการเพิ่มความจุของปากห้วยขอนแก่น ตำบลห้วยไร่
3.โครงการผันน้ำพื้นที่ตำบลตาเดียว เพื่อลดปริมาณน้ำไม่ให้เข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจของหล่มสัก
และ 4.ขอฝากกรมเจ้าท่า ขุดลอกแม่น้ำป่าสัก เพราะว่าตื้นเขินมาก เพื่อเพิ่มความจุของลำน้ำ

ในอนาคตอันใกล้นี้ถ้า 4 โครงการนี้ไม่เกิดขึ้นก็จะทำให้อำเภอหล่มสักประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างนี้ซ้ำซากและทุกๆปี ก็จะมีความรุนแรงมากขึ้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 ตุลาคม 2566