โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: พรรคพลังประชารัฐ

“สันติ” รมช.สธ.กำชับหน่วยบริการสาธารณสุขจ.เพชรบูรณ์ “เตรียมพร้อมบริการการแพทย์ฉุกเฉินรับฤดูกาลท่องเที่ยว”

,

“สันติ” รมช.สธ.กำชับหน่วยบริการสาธารณสุขจ.เพชรบูรณ์
“เตรียมพร้อมบริการการแพทย์ฉุกเฉินรับฤดูกาลท่องเที่ยว”

วันที่ 29 ตุลาคม 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ติดตามการดำเนินงานห้องฉุกเฉินคุณภาพ หน่วยบริการฟอกไต พร้อมมอบของเยี่ยมไข้ผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ ให้การต้อนรับ
นายสันติ กล่าวว่า ได้กำชับให้หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่เตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพประชาชนโดยเฉพาะในช่วงใกล้จะเข้าสู่ฤดูหนาวที่ประชาชนจะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศและโรคต่างๆที่อาจแพร่ระบาดได้มากขึ้น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม เป็นต้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีการบูรณาการกับเครือข่ายในพื้นที่เพื่อจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน รองรับให้เพียงพอกับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยือน จ.เพชรบูรณ์ที่คาดว่าจะปริมาณเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาวนี้
“ ฤดูหนาวของทุกปีเป็นช่วงที่ประชาชนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ภูเขาหรือยอดดอยมากขึ้น และ จ.เพชรบูรณ์เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญ เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเป็นจำนวนมาก จึงได้กำชับให้หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่เตรียมพร้อมดูแลประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวอย่างเข้มข้น”นายสันติกล่าว
สำหรับโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่าเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง ดูแลประชากรในพื้นที่ ประมาณ 54,000 คน ได้เตรียมการตามนโยบายนักท่องเที่ยวปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ โดยมีระบบห้องฉุกเฉินคุณภาพ Smart EMS ที่ได้รับการรับรองเป็นอำเภอที่ดำเนินการป้องกันการบาดเจ็บทางจราจรทางถนน (D-RTI) ระดับดีเยี่ยม (Advance) มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบบริการ พร้อมแพทย์ พยาบาล นักเวชปฏิบัติฉุกเฉิน ประจำตลอด 24 ชั่วโมง มีระบบคัดแยกผู้ป่วยทำให้ได้รับการตรวจรักษาอย่างรวดเร็วตามลำดับความเร่งด่วน และยังมีช่องทางด่วน (Fast Track) ในกลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงสูง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โดยมีโรงพยาบาลหล่มสัก และโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ เป็นเครือข่ายในระบบส่งรักษาต่อ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างไร้รอยต่อ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 ตุลาคม 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท” นั่งประธานกก.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติตั้งคณะกรรมการระดับชาติยกระดับ 30 มาตรการแก้ไขปัญหา PM. 2.5

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” นั่งประธานกก.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติตั้งคณะกรรมการระดับชาติยกระดับ 30 มาตรการแก้ไขปัญหา PM. 2.5

พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พร้อมด้วยนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่สการกระทรวงสาธารณสุข นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว

พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 ประกอบด้วย การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และ “มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567” พร้อมทั้งได้เสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควัน และฝุ่นละออง ให้เป็นกลไกการบริหารจัดการทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ เพื่อยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งการเผาในพื้นที่ป่า พื้นที่โล่ง และพื้นที่การเกษตร และหมอกควันข้ามแดน มีการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ปัญหาหมอกควันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน

รมว. ทส. กล่าวว่า คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ยังได้เห็นชอบรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 โดยพบว่า สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ดีขึ้น มีการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงเพิ่มขึ้น และอัตราพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากรในกรุงเทพฯ เมืองพัทยา และเทศบาลนครมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นต้น นอกจากนั้น ยังได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายระยะสั้น เช่น แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจากภาคเกษตร ที่ต้องขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการเป็นการเร่งด่วน

ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดดังกล่าว ยังได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายระยะยาว อาทิ การเพิ่มขีดความสามารถของภาคการเกษตรในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งได้เห็นชอบ (ร่าง) รายงานสถานการณ์ดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปี 2566 เพื่อใช้ในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลการประเมินดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อม (EPI) ของประเทศไทยใน 3 แนวทาง และเห็นชอบ (ร่าง) แผนการบริหารจัดการ EPI ของประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล

“ทส. ได้สนองนโยบายของนายกรัฐมนตรีเป็นการเร่งด่วน โดยจัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ณ ห้อง 301 ชั้น 3 อาคารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลสถานการณ์ฝุ่นแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีรายงานสถานการณ์ประจำวัน และการคาดการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในทุกวัน ช่วงเวลา 14.00 น. ผ่านช่องทาง Facebook live ของศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมพร้อมแนวทางการปฏิบัติตัว มีการรายงานสถานการณ์ประจำสัปดาห์ พยากรณ์สถานการณ์ฝุ่น 7 วันล่วงหน้า เพื่อให้ประชาชนสามารถวางแผนล่วงหน้าในการปฏิบัติตัวในช่วงอาทิตย์นั้น พร้อมทั้งจัดให้มีการรายงานกรณีพิเศษเมื่อมีเหตุการณ์วิกฤติ ในกรณีสถานการณ์ PM 2.5 เข้าขั้นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีเหตุการณ์ที่สำคัญ” พลตำรวจเอก พัชรวาท กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 ตุลาคม 2566

“คอซีย์ สส.ปัตตานี” ขอ รมว.กระทรวงทรัพย์ฯอนุมัติ เร่งแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ทำ ปชช. กลายเป็นคนไม่มีบ้าน ไม่มีที่ทำกิน

,

“คอซีย์ สส.ปัตตานี” ขอ รมว.กระทรวงทรัพย์ฯอนุมัติ เร่งแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ทำ ปชช. กลายเป็นคนไม่มีบ้าน ไม่มีที่ทำกิน

นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาของพี่น้องประชาชนที่อยู่ชายฝั่งทะเล ที่มีปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอหนองจิก อำเภอเมือง อำเภอปานาเระ อำเภอสายบุรีและอำเภอไม้แก่น จากข้อมูลที่ตนได้รับนายก อบต.ท่ากำชำ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งในระดับรุนแรง อัตราเฉลี่ยปีละประมาณ 5 เมตร และในอำเภออื่นๆที่เดือดร้อนไม่แพ้กัน

“สภาพปัญหากัดเซาะจะน้ำทะเลทำให้ประชาชนซึ่งเคยมีบ้านเรือนอาศัย วันนี้กลายเป็นคนไม่มีบ้าน ไม่มีที่ทำกิน ผมขอเรียนไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปถึงอธิบดีกรมทรัพยากรชายฝั่ง กรมเจ้าท่า และกรมประมง เพื่อลงไปในพื้นที่ ร่วมวางแผนแนวทางแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน”นายคอซีย์ กล่าว

นายคอซีย์ กล่าวต่อว่า ปัญหากระเซาะชายฝั่งเป็นเรื่องเร่งด่วน วันข้างหน้าประชาชนอาจจะไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีที่ทำกิน จึงเป็นปัญหาความเดือดร้อนที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้โปรดลงพื้นที่ตรวจสอบเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน พร้อมจัดวางงบประมาณเป็นการเร่งด่วน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ตุลาคม 2566

“อัครแสนคีรี” เสนอแนวทางแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำประปา-บาดาล ไม่พึ่งพิงงบรัฐ ขอเปิดโอกาสเอกชนเข้าลงทุนร่วมกับรัฐ รูปแบบ PPP สร้างรายได้ภาครัฐ และสามารถกำกับดูแลให้โปร่งใส เหมือนรัฐวิสาหกิจ

,

“อัครแสนคีรี” เสนอแนวทางแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำประปา-บาดาล ไม่พึ่งพิงงบรัฐ ขอเปิดโอกาสเอกชนเข้าลงทุนร่วมกับรัฐ รูปแบบ PPP สร้างรายได้ภาครัฐ และสามารถกำกับดูแลให้โปร่งใส เหมือนรัฐวิสาหกิจ

นายอัครแสนคีรี โลห์วีระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายญัตติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบาดาล และปัญหาน้ำบาดาลคุณภาพต่ำ โดยยกตัวอย่าง สภาพน้ำบาดาลใน จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งที่ผ่านมา ไม่ได้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ หลายหมู่บ้าน ยังไม่มีระบบกรองน้ำ ส่งผลให้เกิดปัญหาการควบคุมคุณภาพน้ำ

ทั้งนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ติดตั้งระบบหอถัง ระบบกระจายน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงการนำน้ำบาดาลมาใช้เป็นน้ำดื่ม แต่มีอุปสรรค เพราะภารกิจของกรม ผูกพันกับงบประมาณแผ่นดิน ที่แต่ละปีได้รับจัดสรร ประมาณ 2-3 พันล้านบาท เมื่อกรมใช้งบหมดตามแผน ส่งผลให้โครงการใหม่ต้องรอปีงบประมาณถัดไป ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาระบบน้ำบาดาลทั้งประเทศ รวมไปถึงการบริหารจัดการ การจัดเก็บค่าน้ำบาดาลจากชุมชนและเกษตรกร ที่ยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ท้องถิ่นบริหารจัดการกันเอง

ตน จึงมีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาเรื่องของน้ำ ให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด คือ ขอให้มีการเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนร่วมกับรัฐในรูปแบบ PPP (Public-Private-Partnership) ซึ่งเอกชนกับรัฐ สามารถจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle (SPV) และขายน้ำให้กับชุนชน และเกษตรกร ในอัตราที่เป็นธรรม เพื่อแก้ปัญหาการจัดเก็บค่าน้ำบาดาลสร้างรายได้ให้กับภาครัฐ และสามารถกำกับดูแลให้โปร่งใส เช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจ ที่สามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้เมื่อต้องการงบประมาณ เข้าลงทุนในโครงการใหม่ ๆ เอกชน สามารถเรียกเพิ่มทุน ได้เลย ไม่ต้องรอเข้าสู่ปีงบประมาณถัดไปของภาครัฐ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ตุลาคม 2566

“สันติ” รมช.สธ. คิกออฟ รณรงค์เพิ่มทักษะเด็กไทยว่ายน้ำ หนุนสร้างทีมผู้ก่อการดีครบคลุมทุกตำบลปกป้องเด็กเอาชีวิตรอด

,

“สันติ” รมช.สธ. คิกออฟ รณรงค์เพิ่มทักษะเด็กไทยว่ายน้ำ หนุนสร้างทีมผู้ก่อการดีครบคลุมทุกตำบลปกป้องเด็กเอาชีวิตรอด

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์ “Survival Swimming Skills เพื่อเด็กไทยไม่จมน้ำ” โดยมีเด็กที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 300 คน และ 3,000 คน จาก 15 จังหวัด ที่ร่วมกิจกรรมตลอดเดือนตุลาคม ได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติทักษะเบื้องต้นในการเอาชีวิตรอดทางน้ำ การช่วยเหลือคนตกน้ำ การที่ทำซีพีอาร์ช่วยคนจมน้ำ และจะขยายผลไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศในการร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับหน่วยงานในพื้นที่ และการเร่งดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการสร้างทีมผู้ก่อการดี ป้องกันการจมน้ำ ให้ครอบคลุมทุกตำบล เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยมี นายแพทย์ ธงชัย กีรติฟัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ บริเวณสระว่ายน้ำกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี

นายสันติ กล่าวว่า การจมน้ำเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ทั้งในระดับโลกและประเทศไทย จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5-14 ปี จมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 มากกว่าการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อ และมากกว่าไข้เลือดออกถึง 13 เท่าตัวองค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการจมน้ำจนเกิดเป็นฉันทามติร่วมกันครั้งแรกในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 โดยเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเร่งดำเนินการป้องกันการจมน้ำ และล่าสุดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 สมัชชาอนามัยโลกได้รับมติ Accelerating Action on Global Drowning Prevention

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันการจมน้ำเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำตามมติสหประชาชาติ ภายใต้คณะอนุกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การสอนให้เด็กทุกคนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการปฐมพยาบาล ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปทุกคน มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป สามารถทำซีพีอาร์ได้ รวมถึงการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน มีนโยบายในการเติมเต็มบริการสุขภาพเพื่อประชาชนในทุกมิติ ด้วยการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ภายใต้บริบทในปัจจุบันที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบกระทรวงสาธารณสุขจึงผลักดันนโยบายส่งเสริมการมีบุตร เพิ่มอัตราการเกิดของเด็กที่เกิดมามีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีชีวิตรอดปลอดภัย ซึ่งการปกป้องคุ้มครองเด็ก ไม่ให้เสียชีวิตจากการจมน้ำเป็นอีกหนึ่งงานสำคัญ ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อแก้ปัญหาการเสียชีวิตของเยาวชนก่อนวัยอันควร

“สถิติการเสียชีวิตของเด็กที่จมน้ำนั้นส่วนใหญ่อยู่ในชนบท เมื่อว่างจากการเรียนเด็กก็จะไปลงเล่นน้ำเป็นกลุ่มในพื้นที่บ่อน้ำสาธารณะ การจัดกิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้จึงเป็นการฝึกให้เด็กช่วยกันเอง ให้เกิดทักษะในการลอยน้ำ หรือใช้วิธีการง่ายๆ แบบบ้านๆ โดยการใช้อุปกรณ์ ซึ่งทำขึ้นจากท้องถิ่น เช่นกล่อง หรือวัสดุอะไรก็ตามที่สามารถลอยน้ำได้เพื่อช่วยพยุงตัวเอง ก็สามารถช่วยให้เด็กรอดจากการจมน้ำได้ ซึ่งถือเป็นทักษะที่มีความสำคัญในท้องถิ่นต่างจังหวัด ขณะเดียวกัน มีความเป็นไปได้ ในการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ให้เยาวชน มีการนำกิจกรรมดังกล่าว ไปฝึกฝนในการเรียนการสอน เพราะถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะดำเนินการเป็นนโยบายร่วมกัน” นายสันติ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ตุลาคม 2566

“อนุรัตน์ สส.พะเยา”ของบประมาณ ก.เกษตรฯสนับสนุนเครื่องสูบน้ำพลังงานไฟฟ้า หลังเกษตรกรปลูกข้าวหอมมะลิกว่า 20,000 ไร่ เดือดร้อนจากภัยแล้ง

,

“อนุรัตน์ สส.พะเยา”ของบประมาณ ก.เกษตรฯสนับสนุนเครื่องสูบน้ำพลังงานไฟฟ้า หลังเกษตรกรปลูกข้าวหอมมะลิกว่า 20,000 ไร่ เดือดร้อนจากภัยแล้ง

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง สส.พะเยา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า สจ.ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรในน้ำทุ่งรอ กลุ่มทุ่งรอนั้นประกอบไปด้วย 4 ตำบล 1.ตำบลทุ่งดวงทอง 2.ตำบลอ่างทอง 3.ตำบลน้ำแว 4.ตำบลเชียงมาร ทั้ง 4 ตำบลมีพื้นที่ในการปลูกข้าวมากกว่า 20,000 ไร่ เรียกว่าทุ่งรอเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิ จังหวัดพะเยา ซึ่งข้าวหอมมะลิของจังหวัดพะเยาเป็นซอร์ฟพาวเวอร์

“ปัญหาคือต้องการสูบน้ำจากแม่น้ำอิงเพื่อผันน้ำเข้าสู่ที่นา แต่เมื่อเกิดภัยแล้งในลำน้ำอิง ซึ่งตื้นเขินจึงไม่สามารถสูบน้ำเข้าที่นาของเกษตรกรได้ทั่วถึง เพราะมีที่นากว่า 20,000 ไร่ จึงขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณางบประมาณสนับสนุนเครื่องสูบน้ำพลังงานไฟฟ้า รวมถึงเรื่องการระบบวางท่อน้ำให้ครอบ คลุมที่นากว่า 20,000 ไร่ เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ได้รับการจัดสรรน้ำอย่างครบระบบ“

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 ตุลาคม 2566

“อรรถกร”ย้ำชัด พปชร.พร้อมแก้ รธน.ยกเว้น หมวด 1,2 ชี้ ญัตติประชามติจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ซ้ำซ้อนคณะทำงานของ รบ.วอน ให้เวลาทำงานก่อน ถ้าไม่คืบหน้า พร้อมเป็นคนทวงถามในรัฐสภา

,

“อรรถกร”ย้ำชัด พปชร.พร้อมแก้ รธน.ยกเว้น หมวด 1,2 ชี้ ญัตติประชามติจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ซ้ำซ้อนคณะทำงานของ รบ.วอน ให้เวลาทำงานก่อน ถ้าไม่คืบหน้า พร้อมเป็นคนทวงถามในรัฐสภา

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา เขต 2พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวอภิปรายญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบและแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ญัตตินี้เสนอให้รัฐบาล พิจารณาว่า จะตอบรับหรือไม่ตอบรับ ในการแก้ไข รัฐธรรมนูญผ่านกระบวนการของประชามติ ในปี 2566 ตนยังยืนยันคำเดิมว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่เราต้องคำนึงว่า การแก้ไขนั้นควรจะแก้ไขให้เหมาะสมกับเวลา และสถานการณ์ของปัจจุบันด้วย

“การเสนอญัตติในครั้งนี้ได้มีการเสนอให้แก้ไข รธน.ได้ทั้งฉบับ ซึ่งแน่นอนว่า รวมถึงหมวดที่1 และหมวดที่2 ซึ่งตนและพรรคพลังประชารัฐยืนยันมาตลอดตั้งแต่การก่อตั้งพรรคเมื่อปี 2561 ว่า ในการแก้ไขหมวดที่1 หมวดที่2 หรือหมวดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ พรรคพลังประชารัฐจะไม่ร่วมแก้ไขอย่างแน่นอน พรรคพลังประชารัฐมีจุดยืนเรื่องที่ชัดเจน โดยพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ บอกชัดเจนว่า จะทำพรรคให้เกิดความเข้มแข็งภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เราจะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดที่1 หมวดที่2“นายอรรถกร

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ตนเห็นถึงความจริงใจและความตั้งใจของรัฐบาลที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ในอนาคต อย่างจับต้องได้ และเป็นรูปธรรม ตนทราบมาว่า ท่านภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ลงนามในคำสั่งถึงอนุกรรมการ 2 คณะ คณะแรกเป็นอนุกรรมการรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชน และคณะอนุกรรมการ ศึกษาแนวทางประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ตนคิดว่า ขณะนี้เราในฐานะสมาชิกรัฐสภา ควรจะให้เวลากับรัฐบาลและอนุกรรมการทั้ง 2 คณะ เพื่อดูว่าเขาจะตั้งใจแก้ไขรัฐธรรมนูญมากน้อยขนาดไหน ถ้ากระบวนการไม่คืบหน้า ตนก็จะเป็นคนหนึ่งที่จะใช้กลไกรัฐสภาแห่งนี้ในการทวงถาม

“ผมคิดว่า ถ้าผมเห็นชอบญัตติในวันนี้ หมายความว่าความเห็นชอบในสภาแห่งนี้ มันจะข้ามหัวรัฐบาล มันจะข้ามหัวอนุกรรมการทั้ง 2 คณะที่เขากำลังทำอยู่ ข้ามหัวแล้วไปไหน ก็ไม่ทราบที่วุฒิสภาจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ผมก็ไม่รู้ได้ ถ้าผ่านวุฒิสภา ก็ไปที่ ครม.ซึ่งผมก็ไม่สามารถคาดเดาคำตอบได้ แต่สิ่งที่ชัดเจนคือ มีกระบวนการที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ ผมขอย้ำว่า เราให้เวลารัฐบาลได้ทำงานด้านการเมือง พิจารณาการทำประชามติ พร้อมทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาปากท้องให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งผมได้ทราบความรู้สึกพี่น้องประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ว่า ผลลัพธ์ของการตั้งใจทำงาน เริ่มออกดอกออกผล“นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร ยังกล่าวต่อว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าของโครงการเงินดิจิทัล ถึงแม้ว่าจะมีคนเห็นด้วยเป็นจำนวนมาก และจะมีคนไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่วันนี้เราก็ทราบดีว่ากระบวนการในการผลักดันโครงการเงินดิจิทัลก็คืบหน้าไปมากพอสมควร ในส่วนของค่าไฟฟ้า โดยเฉพาะในเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลก็มีมาตรการลดค่าไฟฟ้า ค่าครองชีพ อย่างจับต้องได้ เห็นได้ชัดเจน รวมถึงการ ผลักดันในเรื่องของรถไฟฟ้า 20 บาท ข้อนี้ก็ได้นำไปใช้แล้ว หรือแม้แต่การจัดการผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ขณะนี้ก็เข้าใจว่ากระบวนการในการบริหารจัดการเรื่องนี้ก็เริ่มต้นทำมาอย่างต่อเนื่อง

”สำหรับพรรคพลังประชารัฐ ร้อยเอกธรรมัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านก็เดินหน้าในเรื่องของการเปลี่ยนที่ดิน สปก.เป็นการยกระดับเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดิน เพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งจากที่ได้ติดตามการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เบื้องต้นก็มีมติเห็นชอบหลักการในการปรับปรุงเอกสารสิทธิ์ สปก.4-01 เพื่อจะเป็นประโยชน์แก่พี่น้องเกษตรกรต่อไป ไม่ใช่เพื่อนายทุน“นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนยืนยันว่า เชื่อมั่นและยังให้เวลากับรัฐบาลทำงานแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้อง คู่กับเรื่องการเมือง และตนเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้กฎหมายรัฐธรรมนูญจะถูกแก้ไขอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการ และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการ แก้ไขรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลได้ทำอยู่ การรับมติที่เสนอมานี้เหมือนกับว่า เป็นการทำงานซ้ำซ้อน ตนจึงคิดว่าญัตติในวันนี้อาจจะยังไม่ถึงเวลา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 ตุลาคม 2566

“อัครแสนคีรี”ขอ กรมชลประทานขยายระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำ สถานีสูบน้ำ แก้มลิง หลัง ชัยภูมิยังเผชิญน้ำท่วม น้ำแล้ง หนักทุกปี

,

“อัครแสนคีรี”ขอ กรมชลประทานขยายระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำ สถานีสูบน้ำ แก้มลิง หลัง ชัยภูมิยังเผชิญน้ำท่วม น้ำแล้ง หนักทุกปี

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า เขต 7 ชัยภูมิ ประกอบไปด้วย อำเภอแก้งคร้อ และอำเภอคอนสวรรค์ โดยอำเภอคอนสวรรค์ เป็นอำเภอที่ติดแม่น้ำชี แต่ปัจจุบันเผชิญกับสภาพปัญหาน้ำท่วมถือว่าหนักที่สุดของจังหวัดชัยภูมิ เพราะว่าเป็นอำเภอสุดท้ายที่น้ำของทุกอำเภอ ของจังหวัดชัยภูมิ จะไหลไปลงที่แม่น้ำชี ผ่านอำเภอคอนสวรรค์ ในส่วนของอำเภอแก้งคร้อนั้น เป็นอำเภอที่ถึงแม้จะอยู่ติดกับแหล่งเขา แต่เป็นพื้นที่ทางน้ำผ่าน ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ซึ่งในหลายตำบลยังมีปัญหาแห้งแล้งอยู่

“ผมจึงขอฝากไปยังกรมชลประทาน ขอให้ขยายระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำที่บ้านนาแก ระบบส่งน้ำ อ่างเก็บน้ำเหล่าใหญ่ ประตูระบายน้ำบ้านโนนแต้ ประตูระบายน้ำบ้านโนนสงเปลือย ประตูระบายน้ำบ้านโนนพันชาติสถานีสูบน้ำไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านเก่าย่าดี,บ้านนาหนองทุ่ม,บ้านหนองรวก สถานีสูบน้ำ บ้านโคกก่อง-โนนทอง,บ้านดอนไข่ผำ,บ้านยางหวาย,บ้านดอนหัน ,บ้านโนนทอง,บ้านหนองมะกรูด,บ้านโนนแต้ไปยัง โคกก่อง แก้มลิงหนองน้ำขุ่น,แก้มลิงหนองแสง,แก้มลิงหนองทอน,แก้มลิงหนองอ้อท่า และแก้มลิงโคกหนองแต้“

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 ตุลาคม 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท” ห่วงประชาชน เร่งรัด ยกระดับ การปฏิบัติงาน ศูนย์แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เน้นแจ้งเตือนล่วงหน้า ชงตั้งคณะกรรมการชาติจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” ห่วงประชาชน เร่งรัด ยกระดับ การปฏิบัติงาน ศูนย์แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เน้นแจ้งเตือนล่วงหน้า ชงตั้งคณะกรรมการชาติจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ

วันนี้ (25 ตุลาคม 2566) พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตรวจติดตามความพร้อมการปฏิบัติงานของศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ตามที่นายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) ได้มีข้อห่วงใยต่อสถานการณ์ฝุ่นละอองที่เริ่มเข้าสู่ช่วงเฝ้าระวังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พร้อมมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งดำเนินการเตรียมการรับมือกับปัญหาฝุ่น PM2.5 ในทุกมิติ พร้อมยกระดับการสื่อสารแจ้งเตือนไปสู่ประชาชน

ทั้งนี้พล.ต.อ.พัชรวาท ได้ตรวจเยี่ยมห้องปฏิบัติการศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ พร้อมรับฟังแนวทางการปฏิบัติงานของศูนย์ฯ การคาดการณ์พยากรณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กล่วงหน้า การแสดงค่าผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก และการเป็นศูนย์สื่อสารเพื่อยกระดับการแจ้งเตือนไปสู่ประชาชน และได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์ฯ เพิ่มความคล่องตัว ในสื่อสาเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ให้ประชาชนเข้าใจง่าย เพื่อให้ข้อมูลถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังสถานการณ์ พร้อมทั้งมีการประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดเอกภาพในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ได้รับข้อสั่งการจากท่านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เร่งยกระดับการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฝุ่นในทันที หลังเริ่มพบปรากฎการณ์ฝุ่นแล้วในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามที่ได้รับมอบหมายจากท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งกระทรวงฯ ได้เตรียมความพร้อมกำหนดมาตรการเพื่อรับมือกับสถานการณ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2567 นี้ ที่มีการปรับค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 ให้มีความเข้มขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ท่านรองนายกรัฐมนตรีฯ จึงได้กำชับให้ยกระดับการสื่อสารแจ้งเตือนไปสู่ประชาชน และยกระดับกลไกการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ทั้งในระดับชาติ และระดับจังหวัด โดยจะเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ (26 ตุลาคม 2566) นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังได้มีมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน เพื่อเป็นกลไกเร่งรัดการจัดทำแผนและการดำเนินมาตรการเพื่อลดหมอกควันและฝุ่นละอองทั้งระบบ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน

นายจตุพร กล่าวต่อว่า ในการยกระดับการสื่อสารแจ้งเตือนไปสู่ประชาชน นับจากวันนี้ไป ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลสถานการณ์ฝุ่นแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
ระดับที่ 1 การรายงานสถานการณ์ประจำวัน และการคาดการณ์ฝุ่น PM2.5 ในทุกวัน ช่วงเวลา 14.00 น. ผ่านช่องทาง Facebook live ของศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมพร้อมแนวทางการปฏิบัติตัว
ระดับที่ 2 การรายงานสถานการณ์ประจำสัปดาห์ พยากรณ์สถานการณ์ฝุ่น 7 วันล่วงหน้า เพื่อให้ประชาชนสามารถวางแผนล่วงหน้าในการปฏิบัติตัวในช่วงอาทิตย์นั้น โดยจะเป็นการรายงานร่วมกัน 4 หน่วยงาน ได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงสาธารณสุข และ ผู้ว่าราชการจังหวัด
ระดับที่ 3 การรายงานกรณีพิเศษเมื่อมีเหตุการณ์วิกฤติ ในกรณีสถานการณ์ PM2.5 เข้าขั้นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีเหตุการณ์ที่สำคัญ เช่น ปัญหาหมอกควันข้ามแดนเข้ามามีผลกระทบต่อประเทศไทย จะให้ ศกพ. รายงานสถานการณ์ต่อประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งแนวทางการปฏิบัติตน
ระดับที่ 4 กรณีมีประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ จะจัดให้มีการสื่อสาร เสวนา โดย ศกพ. เชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มาให้ความรู้ และความเข้าใจต่อประชาชนผ่านช่องทางต่างๆ
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน และประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 ตุลาคม 2566

“จีรเดช สส.พะเยา”ฝาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เยียวยา ปชช.ประสบเหตุน้ำป่าไหลหลากพัดบ้านเรือนเสียหาย พร้อม พร้อม เร่งเดินหน้าโครงการถนนเลี่ยงเมืองพะเยา

,

“จีรเดช สส.พะเยา”ฝาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เยียวยา ปชช.ประสบเหตุน้ำป่าไหลหลากพัดบ้านเรือนเสียหาย พร้อม พร้อม เร่งเดินหน้าโครงการถนนเลี่ยงเมืองพะเยา

นายจีรเดช ศรีวิราช สส.พะเยา เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึง เหตุการณ์ภัยพิบัติ เมื่อคืนวันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมาได้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าพัดบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ในหมู่บ้านห้วยก้างปลา ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 4 รายสูญหาย 1 ราย เป็นเด็กหญิงอายุ 10 ปีทั้งเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครกู้ภัยรวมกำลังค้นหาอย่างหนัก ขณะนี้ก็ยังไม่พบ ที่อยู่อาศัย ข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งสัตว์เลี้ยงและพืชผลผลทางการเกษตร ได้รับความเสียหายจำนวนมาก และได้สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเป็นอย่างมาก

นายจีรเดช กล่าวต่อว่า ตนขอฝากไปยังกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เนื่องจากถนนเลี่ยงเมืองพะเยา ตัดแยกเกษตรสุข ตำบลแม่กา อำเภอเมือง เชื่อมกับเส้นทางหลวงหมายเลข 1021 บ้านซักผ้าเป้า อำเภอดอกคำใต้ ชื่อว่าถนนอุบาลี ซึ่งแล้วเสร็จมาแล้วเกือบ3 ปี แต่ช่วงที่สองต่อจากเส้นทางนี้ไปทางอำเภอปลุกกำยาว เข้าไปยังถนนพหลโยธิน หรือถ้าหลวงแผ่นดินหมายเลขหนึ่ง บริเวณตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร

“ผมทราบว่าได้ทำการศึกษาสำรวจออกแบบมานานแล้ว เมื่อสอบถามไปก็ได้รับคำตอบว่า มีคนคัดค้าน พูดคนละทิศ คิดกันคนละทาง เพราะแบบนี้บ้านเมืองถึงได้พัฒนาล่าช้า วันนี้โครงการไหนมีความพร้อมก็ทำไปก่อน วันหน้าจะเป็นยังไงก็ว่ากันใหม่ จะทำอะไรก็รีบทำให้มันแล้วเสร็จ เพราะอีกไม่กี่ปี รถไฟสายเชียงรายก็จะสำเร็จเสร็จสิ้น หากเริ่มได้ไว เส้นทางควบคู่ไปกับรถไฟสายใหม่ ก็จะสร้างความสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชน จึงขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบเร่งดำเนินการทั้งสองเรื่องนี้ด้วย”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 ตุลาคม 2566

“พล.ต.อ.พัชรวาท” นำทีมพปชร.รวมพลังสามัคคี รุกสานต่อนโยบายช่วยเหลือประชาชนกินดีอยู่ดี

,

“พล.ต.อ.พัชรวาท” นำทีมพปชร.รวมพลังสามัคคี
รุกสานต่อนโยบายช่วยเหลือประชาชนกินดีอยู่ดี

วันที่ 21 ตุลาคม 2566 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ภูเก็ต รีสอร์ท จ.ภูเก็ต – พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้จัดสัมมนาพรรคในหัวข้อ “รวมพลังสามัคคี” โดยมีพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่ประธานที่ปรึกษาพรรคพลังประชารัฐ ได้รับมอบหมาย จากพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ทำหน้าที่ เป็นประธานในการเปิดสัมมนา พร้อมด้วยผู้บริหารพรรค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สส. และกรรมการยุทธศาสตร์พรรค ทั้ง 8 ด้านของพรรค ร่วมสัมมนาอย่างพร้อมเพรียง

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐได้กล่าวเปิดสัมมนาในครั้งนี้ว่า ขอต้อนรับสส. ทุกคน คณะกรรมการบริหารพรรค กรรมการยุทธศาสตร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ตนในฐานะตัวแทนพลเอกประวิตร มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาพบกับทุกท่านในการสัมมนาอุดมการณ์ผ่านผลงานของพรรคพลังประชารัฐ ในวันนี้ถือเป็นการสัมมนาเป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนได้สร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกัน รวมหัวใจพลังประชารัฐให้เป็นหนึ่งเดียว

ทั้งนี้ในยุทธศาสตร์ของพรรคในผลงานที่ผ่านมาโดยพรรคพลังประชารัฐก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2561 และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล มีนโยบายที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มุ่งเน้นในการสร้างความสามัคคีปรองดองให้เป็นประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ ไร้ความขัดแย้งและมุ่งเน้นในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชนที่ถือเป็นเจตนารมย์อันดีที่ดำรงไว้ในข้อบังคับของพรรคด้วย

ในช่วงที่พรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลที่ผ่านมา ก็ได้สร้างผลงานเพื่อเป็นประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการน้ำ การดูแลประชาชนให้กินดีอยู่ดี จัดการที่ดินทำกิน และยังได้มีโยบายใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ทางพรรคตระหนักถึงความท้าทายที่จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของพรรคที่ได้เสนอเอาไว้ ซึ่งพรรคก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเชิงยุทธศาสตร์ในการเข้ามาปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ ตนขอให้บุคลากรของพรรคทุกท่านร่วมแรง ร่วมใจกันทำงานเพื่อประชาชน ไปด้วยกันสุดท้ายนี้ผมขอให้การสัมมนาในครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและลุล่วงทุกประการ

อย่างไรก็ตาม การสัมมนาในวันนี้ มีคณะกรรมการบริหารพรรค และ สส.ของพรรรพลังประชารัฐ เข้าร่วมอย่างคับคั่ง ประกอบด้วย รองหัวหน้าพรรค 5 คน ได้แก่ นายสันติ พร้อมพัฒน์,นายวิรัช รัตนเศรษฐ,นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์,นายไพบูลย์ นิติตะวัน,น.ส.ตรีนุช เทียนทอง และนายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรค นอกจากนี้ ยังมีทีมยุทธศาสตร์ของพรรคทั้ง 8 คณะ ประกอบด้วย นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานกรรมการด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์,นายอุตตม สาวนายน ประธานกรรมการด้านนโยบายและการปฏิรูปเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน,นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานกรรมการด้านวิชาการ,นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ประธานกรรมการด้านความสัมพันธ์องค์กรและการต่างประเทศ,พล.ต.อ. ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ ประธานกรรมการด้านประสานงานและอำนวยการ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 ตุลาคม 2566

“นเรศ สส.เชียงใหม่”วอน กรมทางหลวงชนบท เร่งซ่อมแซมสะพานข้ามระหว่างจังหวัด พร้อมขอกรมชล เร่งดำเนินการแก้ปัญหาดินพังทลายบริเวณแม่น้ำแม่แจ่ม

,

“นเรศ สส.เชียงใหม่”วอน กรมทางหลวงชนบท เร่งซ่อมแซมสะพานข้ามระหว่างจังหวัด พร้อมขอกรมชล เร่งดำเนินการแก้ปัญหาดินพังทลายบริเวณแม่น้ำแม่แจ่ม

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สส.เชียงใหม่ เขต 9 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรไปยังกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม เพื่อขอเร่งรัดซ่อมแซมสะพานวังสะแก เพื่อข้ามลำน้ำปิง บนถนนสายทางที่ 302 ตัด108 ได้ทรุดพังลง จำนวน3 ช่วง ระยะทาง 60 เมตร ซึ่งจริงๆ แล้วสะพานตรงนี้ได้รับงบประมาณมาแล้ว และกำลังสรรหาบริษัทเข้ามาซ่อมแซมจำนวนเงิน 40 ล้าน แต่ได้เกิดพังทลายเสียก่อน และสะพานตรงนี้ เป็นสะพานที่ข้ามระหว่างจังหวัด จากตำบลหลวงเต่า ของจังหวัดเชียงใหม่ ไปอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งรัดด้วย เนื่องจากเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน

นายนเรศ กล่าวต่อว่า ตนขอหารือไปถึงกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงปัญหาการพังทลายของดินบริเวณแม่น้ำแม่แจ่ม ซึ่งได้เกิดการทรุดตัวแล้วพังทลายลง ทำให้น้ำในช่วงไหลหลากได้เข้าท่วมไร่นาของประชาชนเป็นจำนวนทั้งหมด 2000 กว่าไร่ เบื้องต้นตนได้ประสานไปยังกรมชลประทานแล้ว จึงขอให้กรมชลประทานเร่งดำเนินการ เนื่องจากขณะนี้พี่น้องประชาชนทำเกษตรกรรมไม่ได้เลย


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 19 ตุลาคม 2566