โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: พรรคพลังประชารัฐ

“พล.อ.ประวิตร-ร.อ.ธรรมนัส” ร่วมมอบข้าวสารเป็นกำลังใจ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ชาวบ้านในบริเวณตลาดสดเทศบาลรัตนบุรี จ.สุรินทร์ ที่ประสบอัคคีภัย

,

“พล.อ.ประวิตร-ร.อ.ธรรมนัส” ร่วมมอบข้าวสารเป็นกำลังใจ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ชาวบ้านในบริเวณตลาดสดเทศบาลรัตนบุรี จ.สุรินทร์ ที่ประสบอัคคีภัย

ตามที่เกิดเหตุ เพลิงไหม้บริเวณตลาดสดเทศบาลรัตนบุรี ถนนศรีนคร อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา สร้างความเสียหายอาคาร และร้านค้าต่างๆของประชาชนในพื้นที่กว่า 60 คูหานั้น

ล่าสุด พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)และร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบข้าวสารจำนวน 5 ตัน เพื่อไปช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนผู้ประสบภัยดังกล่าว ผ่านทางนางชนมณี บุตรวงษ์ หรือ แม่ใหญ่จิ๋ว ในฐานะผู้ประสานงานช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่

“ท่านหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคฯมีความห่วงใยพี่น้องประชาชนชาวตลาดรัตนบุรีที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้จึงได้มอบข้าวสาร เพื่อเป็นกำลังใจมามอบให้บรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น พร้อมให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องประชาชนในพื้นที่ตามขั้นตอนต่อไป”นางชนมณี บุตรวงษ์ หรือ แม่ใหญ่จิ๋ว ผู้ประสานงานช่วยเหลือประชาชน กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 29 เมษายน 2567

“พล.อ.ประวิตร” นำพปชร.จัดประชุมใหญ่สามัญ ประกาศเป็นพรรคอนุรักษ์นิยมทันสมัย เปิดตัวสโลแกนใหม่ “ปกป้องสถาบัน ทันสมัยเศรษฐกิจ มีชีวิตที่สดใส

,

“พล.อ.ประวิตร” นำพปชร.จัดประชุมใหญ่สามัญ ประกาศเป็นพรรคอนุรักษ์นิยมทันสมัย เปิดตัวสโลแกนใหม่ “ปกป้องสถาบัน ทันสมัยเศรษฐกิจ มีชีวิตที่สดใส”

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 พรรคพลังประชารัฐ ได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2567 โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย คณะกรรมการบริหารพรรค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ตัวแทนภาค และตัวแทนสาขา และสมาชิกพรรค เข้าร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง อาทิ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ประธานที่ปรึกษาพปชร., ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรค, นายสันติ พร้อมพัฒน์ รองหัวหน้าพรรค,พล.อ. กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ นายทะเบียนพรรค, นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค,นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรค,นางสาวตรีนุช เทียนทอง รองหัวหน้าพรรค นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา,นายสกลธี ภัททิยกุล ,นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์,นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร

โดย พล.อ.ประวิตร กล่าวเปิดการประชุมว่า สวัสดี สมาชิกพรรคพลังประชารัฐทุกท่าน วันนี้เป็นการประชุมใหญ่สามัญของพรรคพลังประชารัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2560 มาตรา 43 กำหนดให้พรรคการเมืองต้องจัดทำรายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมา เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองเพื่ออนุมัติภายในเดือนเมษายนของทุกปี ขณะนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารพรรค ผู้แทนสาขา พรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการเมือง ประจำจังหวัด สมาชิกพรรค จำนวนทั้งหมด เกินกว่า 250 คนครบองค์ประชุม ตามที่กฎหมายกำหนด

พล.อ.ประวิตร กล่าวต่อว่า ช่วงเวลา 1 ปี ที่ผ่านมาคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมกับ คณะกรรมการยุทธศาสตร์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ขับเคลื่อนการทำงานให้เป็นไป ตามอุดมการณ์และเจตจำนงค์ของพรรค ทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน ให้มีสวัสดิการที่ดี มีรายได้ มีความสุข ทุกครอบครัว และเพื่อเร่ง พัฒนาประเทศ ให้เจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้พรรคฯ เป็นที่ศรัทธาของพี่น้องประชาชนเพิ่มมากขึ้น พรรคจึงได้ เตรียมปรับตัวเองให้สอดรับกับสถานการณ์ และเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นพรรคการเมืองที่เข้มแข็งและเป็นที่ยอมรับ ของพี่น้องประชาชน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่มอาชีพ ให้มากยิ่งขึ้น

”วันนี้พรรคพลังประชารัฐจึงขอประกาศตัวเองว่า เราขอเป็นพรรค “อนุรักษ์นิยมทันสมัย” ที่มีอุดมการณ์แน่วแน่ ในการปกป้องสถาบันและบริหารเศรษฐกิจ ที่ทันสมัยเพื่อสร้างชีวิตที่สดใส ให้กับคนไทย ทั้งประเทศ 66 ล้านคน ด้วยสโลแกนใหม่ ที่เห็นอยู่บนเวทีนี้ คือ”ปกป้องสถาบัน ทันสมัยเศรษฐกิจ มีชีวิตที่สดใส” โดยเมื่อถึงเวลา ที่เหมาะสมซึ่งอีกไม่นานนัก พรรคจะได้ประกาศรายละเอียดทั้งหมดอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง“

สำหรับการประชุมดังกล่าวเป็นไปตามข้อกำหนดให้พรรคการเมืองมีการจัดประชุมเพื่อรายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองในรอบปีและงบการเงินของพรรคการเมือง ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยมีวาระสำคัญในการพิจารณในหลายประเด็น โดยเฉพาะการแก้ไขข้อบังคับเรื่องระเบียบการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการขับเคลื่อนพรรคให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันตามแนวทาง “อนุรักษ์นิยมทันสมัย”

จากนั้น นายไพบูลย์ ได้แถลงผลการประชุม ซึ่งในการประชุมวันนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยมีวาระการพิจารณาที่สำคัญ เรื่องงการแก้ไขข้อบังคับพรรคให้เป็นไปตามกรอบกฎหมาย แก้ไขข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ พ.ศ.2566 มีการแก้ไข 9 ข้อ และจากการพิจารณาตรวจสอบงบการเงินประจำปี 2566 ผลการดำเนินงานได้ดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานการดำเนินงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ซึ่งพรรคพปชร.มีรายได้ทั้งสิ้น 321.875 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 328 ล้านบาท ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 60,970 ราย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ธันวาคม 2566

“พล.อ.ประวิตร” กำชับ สส.ลงพื้นที่ช่วงปิดสมัยประชุมสภาฯ ย้ำฟังเสียงสะท้อนปชช.นำเข้าสภาฯแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

,

“พล.อ.ประวิตร” กำชับ สส.ลงพื้นที่ช่วงปิดสมัยประชุมสภาฯ ย้ำฟังเสียงสะท้อนปชช.นำเข้าสภาฯแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

26 เม.ย. 2567 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วย แกนนำ สส.และสมาชิกพรรค อาทิ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานที่ปรึกษาพรรค ,ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรค,นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ในฐานะรองหัวหน้าพรรค ,นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรค ,นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค ได้พูดคุยและ รับประทาน อาหารกลางวันร่วมกัน ที่มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อฯ

โดย พล.อ.ประวิตร ได้กำชับและ มอบหมายให้ สส.ทุกคนลงพื้นที่ไปรับฟังปัญหาของประชาชนในทุกแง่มุม รวมทั้งรับฟังเสียงสะท้อนความต้องการของประชาชน ในช่วงปิดสมัยการประชุมสภา เพื่อที่จะนำปัญหาของประชาชนขับเคลื่อนสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านกลไกของรัฐสภาในการเปิดสมัยประชุมช่วงเดือน ก.ค.นี้

นอกจากนี้ พล.อ.ประวิตร ยังย้ำให้รัฐมนตรีในสัดส่วนของพรรคพลังประชารัฐ ตั้งใจทำหน้าที่เพื่อประชาชนและประเทศชาติต่อไป โดยขอให้เอาประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเป็นหลักในการทำงาน เนื่องจากที่ผ่านมา พปชร.ได้เดินหน้าทำตามนโยบายที่ได้ประกาศหาเสียงกับประชาชนได้ครบเกือบทุกเรื่องแล้ว จึงอยากจะให้ทุกคนในพรรคสานต่อสิ่งดี ๆ ที่พรรคของเราได้ตั้งใจและตั้งมั่นเอาไว้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ธันวาคม 2566

“ธีระชัย” จี้แจกเงินหมื่นหวังเกิดพายุหมุนทางเศรษฐกิจ แต่จะเป็นแค่ลมโชย

,

อดีต รมว.คลัง ชี้ รัฐบาลแจกเงินหมื่นผ่านดิจิทัลวอลเล็ต หวังกระตุ้นให้เกิดพายุหมุนทางเศรษฐกิจ สุดท้ายจะเป็นแค่ลมโชย เนื่องจากไม่ได้หาแหล่งเงินใหม่ แต่ไปดึงเงินจาก ธ.ก.ส.และงบประมาณปี 67-68 มาใช้ ทำให้จีดีพีที่จะเติบโตผ่านการใช้จ่ายตามปกติหายไป เปรียบร่างกายต้องการเลือด แต่ใช้วิธีสูบเลือดที่มีอยู่เดิมออกมาแล้วสูบเข้าไปใหม่

วันนี้ (22 เม.ย.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala – – ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ในหัวข้อ ไม่ใช่พายุหมุนแค่ลมโชย มีรายละเอียดดังนี้

รัฐบาลประกาศว่า การแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต จะสร้างพายุหมุน จะกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่
ถามว่า โฆษณาไว้อย่างไร?
ตอบว่า
1. รัฐบาลคุยว่า การแจกเงินดิจิทัล 560,000 ล้านบาท จะช่วยกระตุ้นจีดีพีปี 2567 ให้ขยายตัวได้ถึง 5% (จากครรลองปกติ 3%) จะเกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจหลายรอบ

ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงว่า จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 3-4%
เม็ดเงิน 560,000 ล้านบาท จะหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ 2-3 รอบ ก่อให้เกิดมูลค่าถึง 1.5 ล้านล้านบาท

2. คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย ประเมินว่า โครงการนี้จะสร้างพายุหมุนทางเศรษฐกิจ และกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในเวลาอันรวดเร็ว
คาดคะเนว่าเงินจากดิจิทัลวอลเล็ตจะเข้าไปหมุนในระบบเศรษฐกิจเฉลี่ย 3.7 รอบ หากคิดจากยอดเงินของโครงการที่ 5 แสนล้านบาท จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ถึง 2 ล้านล้านบาทเป็นอย่างน้อย

3. นักวิชาการผู้นำกลุ่มริเริ่มโครงการบอกว่า “การหมุน จะเกิดขึ้นหลายรอบ ผมคำนวณ 4-5 รอบ และจะเก็บภาษี แวต ได้ตามที่คำนวณในคลิป แต่ที่สำคัญคือ มันไม่ได้หยุดในไตรมาสเดียว มันจะเกิดการหมุนหลายรอบข้ามเวลามากกว่าสี่ไตรมาส Q4/67 ….Q4/68..”

ถามว่า แหล่งเงินสำหรับโครงการจะมาจากไหน?

ตอบว่า
เมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ทำเนียบรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, กฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, ลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง, ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, เผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ เฉลิมพล เพ็ญสูตร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ร่วมแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการเติมเงิน 10,000 บาทผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ต

ลวรณ ในฐานะปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวชี้แจงถึงรายละเอียดว่า รัฐบาลดำเนินตามกฎหมายทุกประการ โดยใช้แหล่งเงินที่มาจากงบประมาณทั้ง 500,000 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 และ 2568 แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1. เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 จำนวน 152,700 ล้านบาท ซึ่งได้มีการขยายงบประมาณในปี 2568 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

2. เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 จากการดำเนินการโครงการจากหน่วยงานของรัฐ 172,300 ล้านบาท โดยใช้มาตรา 28 และมอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. เป็นผู้ดูแลประชาชนในกลุ่มที่เป็นเกษตรกรจำนวน 27 ล้านคน

3. งบการบริหารจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 175,000 ล้านบาท

ผมขอบอกว่า ผลการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่จะเปลี่ยนจากพายุหมุน ไปเป็นลมโชย ก็เนื่องจากการใช้แหล่งเงินจาก ธ.ก.ส. และจากงบประมาณปี 2567

ถามว่า เหตุใดการใช้ 2 แหล่งเงินนี้จะเปลี่ยนจากพายุหมุน ไปเป็นลมโชย?

ตอบว่า บรรดาผู้ที่แถลงข่าวควรคำนึงถึงปัจจัยเศรษฐกิจต่อไปนี้

หนึ่ง วิธีก่อพายุหมุนจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อรัฐบาลกู้หนี้สาธารณะ เพราะเป็นการหาเงินใหม่เข้ามาเติมเข้าไปในเศรษฐกิจ แต่เงินจาก 2 แหล่งนี้ไม่ใช่เงินใหม่

สอง เมื่อรัฐบาลให้ ธ.ก.ส.ใช้เงินเพื่อดิจิทัลวอลเล็ต นอกจากผิดกฎหมายเพราะอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์แล้ว ยังเป็นเงินจำนวนสูงมาก จะเป็นอุปสรรคต่อการที่ ธ.ก.ส. จะให้กู้ตามครรลองปกติ

ตัวเลขจีดีพีปกติ ประมาณ 3% นั้น ส่วนหนึ่งหนุนจากการที่ ธ.ก.ส.ให้กู้ตามครรลองปกติ

ดังนั้น เมื่อรัฐบาลเบียดบังเงินนี้ เอาไปใช้เพื่อการอื่นซึ่งทำให้ ธ.ก.ส. ไม่สามารถให้กู้ได้ตามเดิม ตัวเลขจีดีพีย่อมจะต้องลดลง ต้องหักทอนออกจากพายุหมุน

พายุหมุนจึงกลายเป็นลมโชย

สาม การบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ให้ได้เงินจำนวน 175,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินจำนวนมหาศาลนั้น ย่อมต้องชะลอการใช้จ่ายด้านอื่น

รายจ่ายประจำปี 2567 ที่เป็นเงินเดือนและสวัสดิการข้าราชการ รวมถึงบรรดาค่าใช้จ่ายประจำ นั้น เดิมผู้รับเงินก็จะเอาไปใช้จ่าย ซึ่งจะหนุนจีดีพีตามแนวโน้มปกติ 3%

เมื่อรัฐบาลเบียดบังเอาไป ตัวเลขจีดีพีย่อมจะต้องลดลง ต้องหักทอนออกจากพายุหมุน

รายจ่ายประจำปี 2567 ที่เป็นโครงการลงทุน เดิมผู้รับเงินก็จะเอาไปใช้จ่าย ซึ่งจะหนุนจีดีพีตามแนวโน้มปกติ 3% แต่นอกเหนือจากนั้น การลงทุนจะเพิ่มความสามารถในการหารายได้ของประเทศในอนาคต

เมื่อรัฐบาลเบียดบังเอาไป ตัวเลขจีดีพีย่อมจะต้องลดลง ต้องหักทอนออกจากพายุหมุน แต่ที่สำคัญคือ จะกระทบความสามารถในการหารายได้ของประเทศไปในอนาคตอีกด้วย

พายุหมุนจึงกลายเป็นลมโชย

ทฤษฎีสูบออกสูบเข้า
ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ให้ตัวอย่างอธิบายแบบภาษาชาวบ้าน

รัฐบาลบอกว่าเศรษฐกิจไทยเหมือนคนไข้ขาดเลือด ต้องเอาเลือดสูบเข้าร่างกาย แต่เลือดที่จะสูบเข้านี้ ไม่ได้มาจากไหน

เป็นเลือดที่รัฐบาลสูบออกไปจากคนไข้นั้นเอง

สูบเข้าสูบออกนั้น ไม่สามารถเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่

วันที่ 22 เมษายน 2567

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ

ที่มา : https://mgronline.com/politics/detail/9670000034895
วันที่ : 22 เมษายน 2557

‘ไพบูลย์’ ยื่นผู้ตรวจฯชงศาล รธน.คว่ำ MOU 2544 ปกป้องทรัพยากรทะเล 20 ล้านล.

,

‘ไพบูลย์’ ยื่นผู้ตรวจฯ ชงศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด ‘MOU 2544’ ทำขัดรัฐธรรมนูญ ใช้บังคับไม่ได้ เป็นโมฆะทั้งฉบับตั้งแต่แรก ยันต้องปกป้องอธิปไตยทะเลไทยกว่า 16 ล้านไร่ ผลประโยชน์ทรัพยากรพลังงานธรรมชาติกว่า 20 ล้านล้านบาท

เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2567 ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นนักกฏหมาย ยื่นคำร้องในฐานะบุคคลหนึ่งของปวงชนชาวไทยที่มีสิทธิในเขตอธิปไตยของไทยทางทะเลอ่าวไทยและผลประโยชน์ทรัพยากรพลังงานธรรมชาติของไทยในทะเลอ่าวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 3 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 25 และ มาตรา 43 (2) ซึ่งผู้ร้องได้ถูกละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญโดยตรงและอาจจะได้รับความเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการถูกละเมิดสิทธิ และการถูกละเมิดสิทธินั้นยังคงมีอยู่จากการกระทำของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ผู้ถูกร้องที่ 1 และ กระทรวงการต่างประเทศ ผู้ถูกร้องที่ 2 ในการนำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน

ต่อไปในคำร้องเรียกว่า “MOU 2544” ผู้ถูกร้องทั้งสองใช้เป็นเครื่องมือมาดำเนินการแบ่งเขตอธิปไตยของไทยทางทะเลอ่าวไทยในพื้นที่ 26,000 ตารางกิโลเมตร (16 ล้านไร่) และแบ่งผลประโยชน์ทรัพยากรพลังงานธรรมชาติในทะเลของไทยมูลค่า 20 ล้านล้านบาทให้แก่กัมพูชา ทั้งที่ พื้นที่ตาม “MOU 2544” เป็นเขตอธิปไตยของไทยทางทะเลและผลประโยชน์ทรัพยากรพลังงานธรรมชาติของไทยในทะเลทั้งหมดตามแผนที่แนวเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทยแนบท้ายประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทยที่กำหนดแนวเขตขึ้นตรงตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982

ผู้ร้องได้พบข้อกฎหมายว่า “MOU 2544” มีสถานะเป็นหนังสือสัญญามีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ตามบรรทัดฐานคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 11/2542 , คำวินิจฉัยที่ 33/2543 และคำวินิจฉัยที่ 6-7/2551 และปรากฎหลักฐานว่าผู้ถูกร้องทั้งสองได้ยอมรับว่า “MOU 2544” มีสถานะเป็นหนังสือสัญญาหรือสนธิสัญญา ที่ต้องเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

แต่ปรากฎว่า “MOU 2544” ได้กระทำขึ้นโดยไม่ได้ขอความเห็นชอบจากรัฐสภาไทย จึงมีผลให้“MOU 2544” เป็นบทบัญญัติใดหรือการกระทำใดที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับไม่ได้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 5 และมีผลให้ “MOU 2544” ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับตั้งแต่เริ่มแรก (void ab intio) และมีผลในทางกฎหมายไม่ผูกพันรัฐภาคีทั้งสอง ตามหลักการเรื่อง “ความไม่สมบูรณ์แห่งสนธิสัญญา” (Invalidity of Treaties) ซึ่งบัญญัติไว้ในอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฏหมายสนธิสัญญา ค.ศ.1969

ทั้งนี้ ผู้ร้องเห็นว่าหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า “MOU 2544” เป็นหนังสือสัญญาที่กระทำการโดยไม่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา จึงเป็นบทบัญญัติใดหรือการกระทำใดที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับตั้งแต่เริ่มแรก และไม่ผูกพันไทย จะเป็นประโยชน์ต่อไทย หากมีข้อพิพาทเรื่อง เขตอธิปไตยของไทยทางทะเลอ่าวไทยไปสู่ศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ เพราะทำให้ฝ่ายกัมพูชาไม่อาจกล่าวอ้าง “MOU 2544” เป็นหลักฐานว่าไทยยอมรับว่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา

และจะทำให้เขตอธิปไตยของไทยทางทะเลอ่าวไทยพื้นที่ 26,000 ตารางกิโลเมตร (16 ล้านไร่) และผลประโยชน์ทรัพยากรพลังงานธรรมชาติ มูลค่า 20 ล้านล้านบาทของไทยในทะเลอ่าวไทยเป็นของไทยทั้งหมดตามกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้นว่า อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หากฝ่ายกัมพูชาโต้แย้งเป็นข้อพิพาทในเรื่องเขตอธิปไตยทางทะเลของไทย ผู้ร้องเห็นว่าเพื่อให้ได้ข้อยุติระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีและรวดเร็ว และจะเป็นประโยชน์กับไทยมากกว่า

ผู้ร้องเห็นว่าไทยควรเป็นฝ่ายนำคดีข้อพิพาทในเขตอธิปไตยทางทะเลฟ้องต่อศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ (International Tribunal for the Law of the Sea: ITLOS) ตั้งอยู่ที่นครฮัมบรูกส์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็นกลไกตุลาการอิสระของสหประชาชาติ มีอำนาจตัดสินข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 ประกอบด้วยผู้พิพากษาจากประเทศต่าง ๆ ทั้งหมด 21 ท่าน ซึ่งปัจจุบันมีผู้พิพากษาที่เป็นชาวไทย 1 ท่าน

อาศัยเหตุดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้ต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 213 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 46 วรรคหนึ่ง มาตรา 47 และ มาตรา 48 และขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาส่งคำร้องของผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า “MOU 2544” มีสถานะเป็นหนังสือสัญญา เมื่อกระทำการโดยไม่ได้ขอความเห็นชอบจากรัฐสภาไทย “MOU 2544” จึงเป็นบทบัญญัติหรือการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มีผลตกเป็นโมฆะทั้งฉบับตั้งแต่เริ่มแรกไม่ผูกพันไทยแต่ประการใด แต่ผู้ถูกร้องทั้ง 2 กลับนำมาใช้เป็นเครื่องมือดำเนินการแบ่งเขตอธิปไตยของไทยทางทะเลและผลประโยชน์ทรัพยากรพลังงานธรรมชาติในทะเลของไทยให้แก่กัมพูชา

การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองจึงเป็นการกระทำละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญของผู้ร้อง จึงขอศาลรัฐธรรมนูญโปรดวินิจฉัยและมีคำสั่งให้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ค.ศ.2001 (พ.ศ.2544) หรือ MOU 2544 เป็นหนังสือสัญญาที่กระทำการโดยไม่ได้ขอความเห็นชอบของรัฐสภา จึงเป็นบทบัญญัติใดหรือการกระทำใดที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเป็นอันใช้บังคับไม่ได้ ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับตั้งแต่เริ่มแรก และ ขอศาลรัฐธรรมนูญโปรดมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำในการนำ “MOU 2544” มาใช้เป็นเครื่องมือดำเนินการแบ่งเขตอธิปไตยของไทยทางทะเลอ่าวไทยและแบ่งผลประโยชน์ทรัพยากรพลังงานธรรมชาติทางทะเลของไทยให้แก่กัมพูชา

ผู้ร้องขอเรียนว่า หากผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วมีมติยื่นคำร้องนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ร้องขอเป็นผู้ร้องที่ 2 ร่วมกับผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อผู้ร้องจะมีสิทธิในฐานะคู่ความนำเสนอพยานหลักฐานเพิ่มเติมต่อศาลรัฐธรรมนูญ แต่หากผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติไม่ยื่นคำร้องนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือไม่ยื่นคำร้องนี้ภายในเวลา 60 วันนับแต่วันที่รับคำร้อง ผู้ร้องขอใช้สิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 48 วรรคสอง

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/politics/1121660
วันที่ : 10 เมษายน 2557

พื้นที่ทับซ้อน-ทำให้ไม่ซับซ้อน (2)

,

พื้นที่ทับซ้อน-ทำให้ไม่ซับซ้อน (2)

ในรัชสมัยล้นเกล้า ร.10 นี้ คนไทยต้องช่วยกันระวังไม่ให้ประเทศต้องเสี่ยงจะเสียดินแดนในทะเล ดังที่เคยเสียดินแดนบนบกไปแล้วในรัชสมัยล้นเกล้า ร.9
🫡 ถามว่า มีบทเรียนจากการที่ไทยต้องเสียดินแดนเขาพระวิหารสองครั้ง อย่างไร?
***การเสียดินแดนครั้งที่หนึ่ง

รูป 1 เอกสารแนบสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ใน Section 1 ที่ข้อความช่วงต้นระบุใช้ยอดสูงสุดบนเกาะกูดสำหรับเล็งจุดเส้นแบ่งเขตแดนบนชายฝั่ง (หลักเขตเลขที่ 73)
มีข้อความช่วงท้ายว่า บริเวณ ‘ดงเร็ก’ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขาพระวิหาร นั้น ให้แบ่งเขตแดนตามสันปันน้ำ (watershed)

รูป 2 ในแผนที่ที่ผู้เชี่ยวชาญฝรั่งเศสจัดทำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 11 ระวาง และส่งให้ไทย นั้น สำหรับระวาง ‘ดงเร็ก’ ปรากฏว่าเส้นแบ่งเขต (เส้นประ ตามที่มีเส้นสีน้ำเงินชี้) ไม่ตามแนวสันปันน้ำ

รูป 3-4 จุดสีแดงคือตำแหน่งของตัวปราสาทบนชะง่อนเขาพระวิหาร ในรูป 4 ตัวปราสาทตั้งอยู่บนชะง่อนเขาซึ่งด้านลาดต่ำอยู่ในเขตไทย และลาดสูงขึ้นไปโดยตัวปราสาทตัังอยู่จุดสูงสุด
ดังนั้น โดยสภาพภูมิประเทศ แนวสันปันน้ำจึงเป็นเส้นสีแดงอันเป็นแนวที่แหลมสูงสุดของชะง่อนเขา ซึ่งตามหลักการที่ตกลงกันในสนธิสัญญา ตัวปราสาทจึงย่อมอยู่ในเขตไทย
ในรูปนี้ จึงเป็นที่ชัดเจนว่า เส้นแบ่งเขตที่ฝรั่งเศสจัดทำ (เส้นประที่ผมเติมสีน้ำเงิน) อยู่เหนือแนวสันปันน้ำ จึงไม่ถูกต้องตามสนธิสัญญา

รูป 5 นอกจากนี้ สนธิสัญญายังระบุด้วยว่า “รัฐบาลฝรั่งเศสจะมีประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงเส้นพรมแดนที่ได้ตกลงยินยอมกันไว้นี้แล้ว การที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงกันนี้ ถึงโดยว่าจะเกิดมีเหตุการณ์อย่างใดๆ ก็ดี จะต้องทำให้ไม่เป็นที่ล่วงล้ำเสียประโยชน์ของรัฐบาลสยามด้วย”
ดังนั้น การที่ผู้เชี่ยวชาญฝรั่งเศสจัดทำแผนที่กำหนดเส้นพรมแดนที่ไม่ใช่สันปันน้ำ จึงไม่เป็นไปตามสนธิสัญญา และไทยมีสิทธิไม่ยอมรับ
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2505 ศาลโลกตัดสิน 2 เงื่อนไข
เงื่อนไขที่หนึ่ง ให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
เงื่อนไขที่สอง ไทยมีพันธะต้องถอนทหารหรือตำรวจหรือผู้ดูแลอื่นใดออกจากปราสาทหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา
🫡 ถามว่า ในเมื่อเส้นพรมแดนในแผนที่ไม่ใช่สันปันน้ำ อันไม่เป็นไปตามสนธิสัญญา เหตุใดศาลโลกจึงตัดสินให้ไทยแพ้?

🧐 รูป 6 ศาลโลกใช้หลักกฏหมายสากล ที่เรียกว่า การยอมรับโดยปริยาย

รูป 7 กล่าวคือ ไทยมีโอกาสหลายครั้งที่จะโต้แย้งปฏิเสธแผนที่ระวาง ‘ดงเร็ก’ แต่ไม่ได้ทำ ศาลถือว่าการนิ่งเฉย เป็นการยอมรับ ทำให้ศาลไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าเส้นแบ่งเขตแดนในแผนที่เป็นสันปันน้ำจริงหรือไม่
แต่ศาลไม่ได้ระบุว่า อาณาบริเวณมากน้อยเพียงไรที่จะเป็นของกัมพูชา
สรุปแล้ว เสียดินแดนครั้งที่หนึ่งเพราะไทยไม่เคยใช้สิทธิประท้วง
***การเสียดินแดนครั้งที่สอง
เอกสารวิจัยในสถาบันพระปกเกล้าของ จุฬาพร เอื้อรักสกุล ระบุว่า
“ในส่วนการกำหนดเขตบริเวณปราสาทพระวิหาร คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ให้กำหนดเป็นรูปพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบปราสาทซึ่งเป็นเนื้อที่บริเวณปราสาท ¼ ตารางกิโลเมตร กับให้ทำป้ายไม้แสดงเขตไทย-กัมพูชาและทำรั้วลวดหนามในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2505”
ต่อมา กัมพูชายื่นขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ปรากฏว่ารัฐบาลไทยขณะนั้นไม่สามารถเจรจาให้เป็นสองรัฐบาลร่วมกัน แต่ได้ยินยอมให้กัมพูชายื่นขอฝ่ายเดียว
ในการยื่นขอมรดกโลกดังกล่าว กัมพูชาได้ยื่นแผนที่จัดการพื้นที่ในละแวกใกล้เคียง สำหรับกรณีนี้รัฐบาลไทยได้ประท้วงถูกต้อง แต่ภายหลังชาวกัมพูชารุกคืบในพื้นที่ทำให้เกิดการปะทะกันด้วยอาวุธ
ในปี 2554 กัมพูชาจึงได้ยื่นขอให้ศาลโลกวินิจฉัยว่า ตามคำพิพากษาเดิมปี 2505 นั้น กำหนดให้พื้นที่รอบปราสาทของกัมพูชาเป็นส่วนใด
ถึงแม้ไทยมีสิทธิ์ที่จะไม่รับคำตัดสินของศาลโลก แต่ไทยจะลาออกจากศาลโลกได้ก็ต่อเมื่อลาออกจากสมาชิกสหประชาชาติเท่านั้น และกัมพูชามีสิทธิ์ฝ่ายเดียวที่จะยื่นเรื่องต่อศาลโลกอยู่แล้ว ดังนั้น ไทยจึงไม่มีทางเลือก ต้องเข้าไปชี้แจงต่อสู้คดี
ในการต่อสู้คดี ไทยขอให้ศาลจำหน่ายคดีที่กัมพูชายื่นให้พิจารณาออกจากสารบบความของศาล แต่ศาลยกคำขอ
ศาลวินิจฉัยตีความพื้นที่บริเวณปราสาทโดยอ้างสภาพภูมิประเทศ สรุปไว้ใน pubilclaw.net ว่า
“98. จากการให้เหตุผลในคำพิพากษา ค.ศ. 1962 ซึ่งเห็นได้ในการพิจารณาในการให้การในกระบวนพิจารณาเดิม เห็นได้ชัดว่า
ขอบเขตของชะง่อนผาพระวิหารทางทิศใต้ของเส้นของแผนที่ภาคผนวก 1 ประกอบด้วยลักษณะทางธรรมชาติ
ทางทิศตะวันออก ใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ ชะง่อนผาลดต่ำลงเป็นหน้าผาที่ลาดชันไปยังที่ราบของกัมพูชา คู่กรณีได้เห็นพ้องกันใน ค.ศ. 1962 ว่าหน้าผานี้และพื้นดินที่ตีนของหน้าผาอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาในทุกกรณี
ทางทิศตะวันตก และตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นดินลดต่ำลงเป็นที่ลาดเอียงซึ่งลาดชันน้อยกว่าหน้าผา ไปยังหุบเขาซึ่งแยกพระวิหารออกจากภูมะเขือ (the hill of Phnom Trap) ที่อยู่ใกล้เคียง แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นหุบเขาซึ่งตัวมันเองลดต่ำลงไปในทิศใต้สู่พื้นที่ราบของกัมพูชา (ดูวรรค 89 ข้างบน) สำหรับเหตุผลที่ได้ให้ไว้แล้ว (ดูวรรค 92-97 ข้างบน)
ศาลเห็นว่าภูมะเขืออยู่นอกพื้นที่พิพาท และคำพิพากษา ค.ศ. 1962 ไม่ได้หยิบยกคำถามว่ามันอยู่ในอาณาเขตของไทยหรือกัมพูชา ดังนั้นศาลเห็นว่าชะง่อนผาพระวิหารสิ้นสุดลงที่ตีนภูมะเขือ ซึ่งพูดได้ว่า ที่ซึ่งพื้นดินเริ่มสูงขึ้นจากหุบเขา
ในทิศเหนือ ขอบเขตของชะง่อนผาเป็นตามเส้นของแผนที่ภาคผนวก 1 จากจุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทที่ซึ่งเส้นนั้นจดหน้าผา ไปยังจุดในทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่ซึ่งพื้นดินเริ่มสูงขึ้นจากหุบเขาที่ตีนภูมะเขือ
ศาลเห็นว่าวรรคที่สองของบทปฏิบัติการของคำพิพากษา ค.ศ. 1962 กำหนดให้ประเทศไทยถอนจากอาณาเขตทั้งหมดของชะง่อนผาพระวิหารดังที่ได้กำหนดไปยังอาณาเขตของไทย บรรดาเจ้าหน้าที่ของไทยซึ่งได้ประจำอยู่ที่ชะง่อนผานั้น”
และคำวินิจฉัยของศาลส่วนหนึ่งระบุว่า
“สำหรับวรรคที่สองของบทปฏิบัติการกำหนดให้ไทยต้องถอนกำลังเจ้าหน้าที่ซึ่งได้ส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา
ดังนั้นศาลเห็นว่าต้องเริ่มโดยการตรวจสอบหลักฐานต่อศาลในปี 2505 เกี่ยวกับตำแหน่งที่ซึ่งเจ้าหน้าที่ไทยประจำการอยู่
จากหลักฐานที่ให้โดยแอคเคอร์แมนน์ (Ackermann) ผู้เชี่ยวชาญและพยานของไทยซึ่งเคยไปยังปราสาทพระวิหารเป็นเวลาหลายวันในเดือนกรกฎาคม 2504
เขาได้ให้การว่า ระหว่างการไปที่นั้น ที่ชะง่อนผาพระวิหารเขาได้เห็นตำรวจตระเวนชายแดนและผู้เฝ้าปราสาทหนึ่งคน โดยตำรวจตระเวนชายแดนประจำการอยู่ที่ค่ายพักซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท ในขณะที่ผู้เฝ้าปราสาทอาศัยอยู่ในบ้านแยกกันในระยะทางสั้นๆ ไปทางตะวันตกของค่ายพักตำรวจตระเวนชายแดน
ทนายของไทยได้ยืนยันต่อมาว่าค่ายพักตำรวจอยู่ทางทิศใต้ของเส้นของแผนที่ภาคผนวก 1 แต่อยู่เหนือเส้นซึ่งกัมพูชากล่าวว่าเป็นเส้นสันปันน้ำในกระบวนการพิจารณาคดีปี 2505
ดังนั้น จึงปรากฏชัดเจนว่าตำรวจไทยได้ไปประจำการที่ตำแหน่งเหนือเส้นที่ต่อมาได้ถูกกำหนดโดยมติ ครม. ไทยเมื่อปี 2505 ซึ่งอยู่นอกเขตที่ไทยเห็นว่าเป็นบริเวณใกล้เคียงปราสาทบนอาณาเขตของกัมพูชา
*ดังนั้น บริเวณใกล้เคียงปราสาทบนอาณาเขตของกัมพูชาต้องถึงตีความออกไปอย่างน้อยไปยังพื้นที่ที่ตำรวจไทยได้ประจำการอยู่ในเวลานั้น*” รูป 8

🧐 ผมอธิบายแบบชาวบ้านว่า ในการปฎิบัติตามเงื่อนไขที่สองนั้น ถึงแม้มติ ครม. เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 กำหนดขอบเขตพื้นที่แค่เพียงตัวอาคารปราสาท
แต่สำหรับทิศเหนือ รัฐบาลไทยขณะนั้นไม่ได้ขยับเขยื้อนให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำเข้าไปอยู่ประชิดปราสาท กลับตั้งมั่นอยู่ในตำแหน่งที่ไกลเกินกว่าขอบเขตที่ ครม. กำหนด
ดังนั้น ผมเห็นว่า ข้อเท็จจริงนี้จึงน่าจะเป็นสาเหตุที่ศาลตีความให้พื้นที่บริเวณของปราสาทกว้างออกไปจนถึงจุดตำแหน่ง ที่ตั้งของตำรวจไทยประจำการอยู่ในเวลานั้น
สรุปแล้ว ปัจจัยส่วนหนึ่งที่เสียดินแดนครั้งที่สอง น่าจะเพราะไทยไม่ได้เตรียมการเผื่อไว้ว่า ในอนาคตอันไกลอาจจะมีการฟ้องกันในเรื่องพื้นที่บริเวณใกล้เคียงของปราสาทเป็นครั้งที่สอง
🧐 ผมจึงเห็นว่า ถ้ารัฐบาลของท่านนายกเศรษฐาไม่ประท้วงเรื่องสันเขื่อน ในอนาคตก็จะเข้าหลัก นิ่งเฉยเป็นการยอมรับ
และกรณีถ้าหากในอนาคตมีการวาดเส้นแบ่งครึ่งระหว่างสองประเทศตามกติกาสหประชาชาติปี 1982 กัมพูชาก็อาจจะได้ดินแดนในทะเลเพิ่มเนื่องจากสันเขื่อนดังกล่าว
รัฐบาลปัจจุบันต้องเตรียมรับมือทุกประเด็น เสมือนหนึ่งในอนาคตจะเกิดการฟ้องร้องกันอย่างแน่นอน
คนไทยต้องช่วยกันเตือนรัฐบาลให้ระแวดระวัง ไม่ให้ประเทศต้องเสี่ยงจะเสียดินแดนอีกในรัชสมัยล้นเกล้า ร.10
วันที่ 6 เมษายน 2567
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์
วันที่: 8 เมษายน 2567

พื้นที่ทับซ้อน-ทำให้ไม่ซับซ้อน (1)

,

พื้นที่ทับซ้อน-ทำให้ไม่ซับซ้อน (1)

😳 เรื่องพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย ระหว่างไทยกับกัมพูชา มีหลายประเด็นที่ควรเตือนรัฐบาลเพื่อระวังไม่ให้ไทยต้องเสียดินแดนในทะเล
พลเรือเอก พัลลภ ตมิศานนท์ สว.ได้อภิปรายนำเสนอแง่มุมสำคัญในเรื่องนี้ แต่น่าเสียดายที่สื่อมวลชนและประชาชนชาวไทยยังให้ความสนใจน้อย
ผมจึงขอนำมาขยายความ ดังนี้


รูป 1 ท่านแจ้งว่า ถ้าคนไทยยืนที่หลักเขตเลขที่ 73 ซึ่งเป็นจุดแบ่งเขตแดนบนบกระหว่างไทยกับกัมพูชา ล่าสุดจะเห็นมีสิ่งก่อสร้างยื่นยาวลงไปในทะเล (ลูกศรสีแดง)


รูป 2 สิ่งก่อสร้างดังกล่าวยื่นออกไปจากชายฝั่งของกัมพูชา รูปนี้มองจากฝั่งไทยจะเห็นว่ามีลักษณะเป็นสันเขื่อน
⛵️ ทั้งนี้ ถ้าสร้างสันเขื่อนเพื่อกันคลื่นไม่ให้กระทบชายฝั่ง โดยปกติแนวของสันเขื่อนจะต้องวางขนานกับชายฝั่ง
แต่สันเขื่อนนี้วางแนวจากชายฝั่งมุ่งออกไปยังทะเลอ่าวไทย จึงย่อมไม่ค่อยจะมีประสิทธิผลในการป้องกันชายฝั่ง


รูป 3 ด้านซ้ายมือ เป็นแผนที่ที่แสดงตำแหน่งหลักเขตเลขที่ 73 โดยขยายแผนที่ในสี่เหลี่ยมแดงไปเป็นรูปด้านขวามือ
จะเห็นได้ว่า แนวสันเขื่อนยื่นตั้งฉากออกไปจากชายฝั่ง


🔬 รูป 4 ผู้อ่านสามารถดูแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมใน Google maps ได้เอง จะเห็นได้ว่าเขื่อนนี้ตั้งอยู่แทบจะติดกับด่านพรมแดนคลองใหญ่ของไทย
🫡 ถามว่า ทำไมพลเรือเอก พัลลภ จึงเอาภาพนี้ออกมาเตือนแก่รัฐบาลท่านนายกเศรษฐา?
🧐 ตอบว่า เพราะเสี่ยงจะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนทางทะเลไปให้แก่กัมพูชา


รูป 5 พลเรือเอก พัลลภ เปิดเผยว่า ต้นตอของปัญหาอยู่ที่กติกาเขตทะเลของสหประชาชาติปี 1982 ข้อ 11 ซึ่งระบุว่า
สิ่งก่อสร้างถาวรตอนนอกสุดของเขตท่า ซึ่งประกอบเป็นส่วนอันแยกออกมิได้ของระบบการท่านั้น ให้ถือว่าประกอบเป็นส่วนของฝั่งทะเล
อธิบายแบบง่ายก็คือ การมีสันเขื่อนนี้จะทำให้กัมพูชาสามารถอ้างเขตทะเลได้กว้างขึ้น
🫡 ถามว่า ไทยและกัมพูชาประกาศเขตทะเลอย่างไร?


🧐 ตอบว่า ในรูป 6
-ไทยประกาศตามเส้นสีน้ำเงิน โดยยึดตามหลักกติกาเขตทะเลของสหประชาชาติ ค.ศ. 1958 ซึ่งกำหนดให้ใช้เส้นแบ่งครึ่งระหว่างสองประเทศ ที่ลากออกมาจากจุดเส้นแบ่งเขตบนชายฝั่งออกไปยังทะเล
-กัมพูชาประกาศตามเส้นสีแดงที่พาดผ่านเกาะกูด โดยอ้างว่ายึดตามหลักฐานประวัติศาสตร์ในเอกสารที่แนบอยู่ในสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1907
แต่เส้นสีแดงนี้ผิดอย่างชัดเจน เพราะข้อความในเอกสารแนบดังกล่าวประกอบแผนที่สังเขปที่แนบนั้นมีวัตถุประสงค์ชัดแจ้งเพื่อกำหนดจุดเส้นแบ่งเขตบนชายฝั่งเท่านั้น มิใช่เพื่อกำหนดเส้นแบ่งเขตในทะเล
ดังนั้น ในอนาคตถ้ารัฐบาลกัมพูชาจะทำให้ประชาชนชาวไทยยอมรับเส้นแบ่งเขตในทะเล กัมพูชาจะต้องยกเลิกเส้นสีแดง และจัดทำเส้นขึ้นใหม่
ทั้งนี้ ภายหลัง ค.ศ. 1958 หลักกติกาเขตทะเลของสหประชาชาติ ได้มีการเพิ่มฉบับ ค.ศ. 1982 ข้อ 11 อันจะทำให้ถ้าหากมีการลากเส้นแบ่งเขตใหม่ตามกติกาใหม่ดังกล่าว องศาจะเบี่ยงเข้าไปในอ่าวไทย
อันนี้จะทำให้ไทยเสียเขตแดนในทะเล!

🫡 ถามว่า รัฐบาลไทยควรปฏิบัติอย่างไร?
🧐 ตอบว่า ขอแนะนำให้รัฐบาลของท่านนายกเศรษฐามีหนังสือประท้วงรัฐบาลกัมพูชาทันที โดยเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาทำลายสันเขื่อน พร้อมแจ้งว่ารัฐบาลไทยจะไม่ยอมรับเส้นแบ่งครึ่งระหว่างสองประเทศตามกติกาสหประชาชาติกรณีที่จะถูกเบี่ยงเบนไปเนื่องจากสันเขื่อนดังกล่าว
ผมขอย้ำว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ประเทศไทยที่เสียพื้นที่บนบกไปให้แก่กัมพูชาในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ก็สืบเนื่องจากปัญหาทำนองนี้ (ซึ่งจะบรรยายในบทความต่อไป)
คนไทยทุกคนในรัชสมัยรัชกาลที่ 10 จึงจะต้องยึดบทเรียนประวัติศาสตร์ร่วมกันปกป้องมิให้มีการเสียพื้นที่ในทะเล
วันที่ 5 เมษายน 2567
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์
วันที่: 8 เมษายน 2567

ไทยเสี่ยงเสียดินแดนทางทะเล “ธีระชัย” แนะรัฐบาลประท้วงกัมพูชาด่วน

,

“ธีระชัย” หวั่นไทยเสียดินแดน แนะรัฐบาลยื่นประท้วงรัฐบาลกัมพูชาทันที ให้ทำลายสันเขื่อนที่สร้างยื่นลงไปในทะเลใกล้หลักเขตที่ 73 ติดต่านคลองใหญ่ และแจ้งว่าไทยจะไม่ยอมรับเส้นแบ่งครึ่ง หากกัมพูชาใช้สันเขื่อนดังกล่าวอ้างอิงตามกติกาเขตทะเลของสหประชาชาติ

วันที่ 5 เมษายน 2567 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุก๊ หัวข้อเรื่อง พื้นที่ทับซ้อน-ทำให้ไม่ซับซ้อน (1) มีรายละเอียดดังนี้

เรื่องพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย ระหว่างไทยกับกัมพูชา มีหลายประเด็นที่ควรเตือนรัฐบาลเพื่อระวังไม่ให้ไทยต้องเสียดินแดนในทะเล

พลเรือเอก พัลลภ ตมิศานนท์ ส.ว.ได้อภิปรายนำเสนอแง่มุมสำคัญในเรื่องนี้ แต่น่าเสียดายที่สื่อมวลชนและประชาชนชาวไทยยังให้ความสนใจน้อย

ผมจึงขอนำมาขยายความ ดังนี้

รูป 1 ท่านแจ้งว่า ถ้าคนไทยยืนที่หลักเขตเลขที่ 73 ซึ่งเป็นจุดแบ่งเขตแดนบนบกระหว่างไทยกับกัมพูชา ล่าสุด จะเห็นมีสิ่งก่อสร้างยื่นยาวลงไปในทะเล (ลูกศรสีแดง)

รูป 2 สิ่งก่อสร้างดังกล่าวยื่นออกไปจากชายฝั่งของกัมพูชา รูปนี้มองจากฝั่งไทยจะเห็นว่ามีลักษณะเป็นสันเขื่อน

ทั้งนี้ ถ้าสร้างสันเขื่อนเพื่อกันคลื่นไม่ให้กระทบชายฝั่ง โดยปกติแนวของสันเขื่อนจะต้องวางขนานกับชายฝั่ง

แต่สันเขื่อนนี้วางแนวจากชายฝั่งมุ่งออกไปยังทะเลอ่าวไทย จึงย่อมไม่ค่อยจะมีประสิทธิผลในการป้องกันชายฝั่ง

รูป 3 ด้านซ้ายมือ เป็นแผนที่ที่แสดงตำแหน่งหลักเขตเลขที่ 73 โดยขยายแผนที่ในสี่เหลี่ยมแดงไปเป็นรูปด้านขวามือ

จะเห็นได้ว่า แนวสันเขื่อนยื่นตั้งฉากออกไปจากชายฝั่ง

รูป 4 ผู้อ่านสามารถดูแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมใน Google maps ได้เอง จะเห็นได้ว่าเขื่อนนี้ตั้งอยู่แทบจะติดกับด่านพรมแดนคลองใหญ่ของไทย

ถามว่า ทำไม พลเรือเอก พัลลภ จึงเอาภาพนี้ออกมาเตือนแก่รัฐบาลท่านนายกฯ เศรษฐา?

ตอบว่า เพราะเสี่ยงจะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนทางทะเลไปให้แก่กัมพูชา

รูป 5 พลเรือเอก พัลลภ เปิดเผยว่า ต้นตอของปัญหาอยู่ที่กติกาเขตทะเลของสหประชาชาติ ปี 1982 ข้อ 11 ซึ่งระบุว่า

สิ่งก่อสร้างถาวรตอนนอกสุดของเขตท่า ซึ่งประกอบเป็นส่วนอันแยกออกมิได้ของระบบการท่านั้น ให้ถือว่าประกอบเป็นส่วนของฝั่งทะเล

อธิบายแบบง่ายก็คือ การมีสันเขื่อนนี้จะทำให้กัมพูชาสามารถอ้างเขตทะเลได้กว้างขึ้น

ถามว่า ไทยและกัมพูชาประกาศเขตทะเลอย่างไร?

ตอบว่า ในรูป 6

– ไทยประกาศตามเส้นสีน้ำเงิน โดยยึดตามหลักกติกาเขตทะเลของสหประชาชาติ ค.ศ. 1958 ซึ่งกำหนดให้ใช้เส้นแบ่งครึ่งระหว่างสองประเทศ ที่ลากออกมาจากจุดเส้นแบ่งเขตบนชายฝั่งออกไปยังทะเล

– กัมพูชาประกาศตามเส้นสีแดงที่พาดผ่านเกาะกูด โดยอ้างว่ายึดตามหลักฐานประวัติศาสตร์ในเอกสารที่แนบอยู่ในสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1907

แต่เส้นสีแดงนี้ผิดอย่างชัดเจน เพราะข้อความในเอกสารแนบดังกล่าวประกอบแผนที่สังเขปที่แนบนั้น มีวัตถุประสงค์ชัดแจ้งเพื่อกำหนดจุดเส้นแบ่งเขตบนชายฝั่งเท่านั้น มิใช่เพื่อกำหนดเส้นแบ่งเขตในทะเล

ดังนั้น ในอนาคตถ้ารัฐบาลกัมพูชาจะทำให้ประชาชนชาวไทยยอมรับเส้นแบ่งเขตในทะเล กัมพูชาจะต้องยกเลิกเส้นสีแดง และจัดทำเส้นขึ้นใหม่

ทั้งนี้ ภายหลัง ค.ศ. 1958 หลักกติกาเขตทะเลของสหประชาชาติ ได้มีการเพิ่มฉบับ ค.ศ. 1982 ข้อ 11 อันจะทำให้ถ้าหากมีการลากเส้นแบ่งเขตใหม่ตามกติกาใหม่ดังกล่าว องศาจะเบี่ยงเข้าไปในอ่าวไทย

อันนี้จะทำให้ไทยเสียเขตแดนในทะเล!

ถามว่า รัฐบาลไทยควรปฏิบัติอย่างไร?

ตอบว่า ขอแนะนำให้รัฐบาลของท่านนายกฯ เศรษฐา มีหนังสือประท้วงรัฐบาลกัมพูชาทันที โดยเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาทำลายสันเขื่อน พร้อมแจ้งว่า รัฐบาลไทยจะไม่ยอมรับเส้นแบ่งครึ่งระหว่างสองประเทศตามกติกาสหประชาชาติกรณีที่จะถูกเบี่ยงเบนไปเนื่องจากสันเขื่อนดังกล่าว

ผมขอย้ำว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก

ประเทศไทยที่เสียพื้นที่บนบกไปให้แก่กัมพูชาในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ก็สืบเนื่องจากปัญหาทำนองนี้ (ซึ่งจะบรรยายในบทความต่อไป)

คนไทยทุกคนในรัชสมัยรัชกาลที่ 10 จึงจะต้องยึดบทเรียนประวัติศาสตร์ร่วมกันปกป้องมิให้มีการเสียพื้นที่ในทะเล

วันที่ 5 เมษายน 2567
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์
วันที่: 8 เมษายน 2567

‘บิ๊กป้อม’ รับคณะทูต สปป.ลาว เยี่ยมคารวะในเทศกาลสงกรานต์ – จับมือแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

,

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 5 เม.ย.67 ที่ทำการพรรคพลังประชารัฐ  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมคณะผู้บริหาร ประกอบด้วย นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค พล.อ.กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ เหรัญญิกพรรค นายคณิศ แสงสุพรรณ กรรมการยุทธศาสตร์พรรค และที่ปรึกษา รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ สส. ได้แก่  นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์  สส.หนองคาย  น.ส.กาญจนา จังหวะ ส.ส.ชัยภูมิ นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์  นายชัยมงคล ไชยรบ  ส.ส.สกลนคร นางรัชนี พลซื่อ สส.ร้อยเอ็ด นายวิริยะ ทองผา สส.มุกดาหาร  ให้การต้อนรับ นายคำพัน อั่นลาวัน เอกอัครราชทูต สปป.ลาวประจำประเทศไทย นายคำหล้า ชัยสมบัติเลขานุการเอก และนายวันนะพา คำมะนีวง เลขานุการตรี ในโอกาสเข้าเยี่ยมเข้าคารวะในเทศกาลสงกรานต์ 2567 วันปีใหม่ที่จะมาถึง รวมทั้งเพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ตลอดการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากที่พล.อ.ประวิตร หัวหน้าพรรค พปชร.ได้เดินทางไปเข้าเยี่ยมคารวะ นาย สอนไช สีพันดอน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว  เมื่อต้นเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประเด็นการหารือในครั้งนี้  ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือกับ สปป.ลาว ที่จะเป็น ประโยชน์ ให้กับทุกภาคส่วนร่วมกันในด้านต่างๆ ทั้งการพัฒนา และส่งเสริมด้านเกษตรกรรม การสาธารณสุข การท่องเที่ยว การค้าในภูมิภาค รวมถึงการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องมีแผนร่วมกันในการขับเคลื่อน ไปสู่แนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนที่เกิดจากการเผาวัชพืชทางเกษตร  ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมบูรณาการความร่วมมือมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลประชาชนของทั้ง 2 ประเทศให้มีสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศร่วมกัน

ทั้งนี้พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล ได้ให้ความสำคัญในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ถือเป็นภารกิจสำคัญที่พรรคได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่รัฐบาลก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการน้ำ การดูแล รักษาป่าไม้ การจัดพื้นที่ทำกินให้กับเกษตรกร เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่สำคัญ และมีความเกี่ยวโยงกับพี่น้องประชาชนโดยตรง ด้วยความมุ่งหวัง ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิต ให้ประชาชนได้อยู่ดี กินดี อย่างถ้วนหน้า

นายคำพัน อั่นลาวัน เอกอัครราชทูต ประเทศไทย กล่าวว่า  การพบปะในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสสำคัญของสองประเทศ โดยสปป.ลาว มีความเชื่อมั่นที่ประเทศไทยได้ร่วมมือกันที่จะเดินหน้าการพัฒนาและแก้ปัญหาต่าง ๆมาอย่างต่อเนื่อง และพร้อมสนับสนุนการแก้ปัญหาชายแดนระหว่างกันต่อไป โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อม ในทุกมิติ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือในการยกระดับการพัฒนาอย่างเข้มข้น ทั้งนี้ยังได้ชื่นชมการที่ประเทศไทยให้ความสำคัญในการนำหลักปรัชญาเศษฐกิจพอเพียง ของรัชกาลที่ 9 มาพัฒนาประเทศ  ซึ่งสปป.ลาวก็มีการนำไปใช้ในการดำเนินโครงการต่างๆ ในสปป.ลาวเช่นเดียวกัน  ถือเป็นแนวทางที่ดี และประชาชน สปป.ลาวได้รับประโยชน์อย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน  พร้อมทั้งยังได้เรียนเชิญ พล.อ.ประวิตร และคณะผู้บริหาร พปชร. เข้างานประเพณีวันสงกรานต์ ที่จัดขึ้นประจำทุกปี  ณ สถานทูตลาว ประจำประเทศไทย ในวันที่ 24 เม.ย.67 นี้ ด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/3319423/
วันที่: 5 เมษายน 2567

รมว.ธรรมนัส หารือร่วมกับ RSPO มุ่งยกระดับผลิตปาล์มน้ำมัน พร้อมผลักดันสินค้าจากปาล์มน้ำมันสู่การแข่งขันในตลาดโลก

, ,

รมว.ธรรมนัส หารือร่วมกับ RSPO มุ่งยกระดับผลิตปาล์มน้ำมัน พร้อมผลักดันสินค้าจากปาล์มน้ำมันสู่การแข่งขันในตลาดโลก

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือร่วมกับ นาย โจเซฟ เดอ ครูซ ประธานบริหารของ Roundtable on Sustainable Palm Oil : RSPO โดยมี นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธนสาร ธรรมสอน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องรับรองพิเศษ 201 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า น้ำมันปาล์มเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันปาล์มได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการปลูกปาล์มน้ำมันยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Sustainable and Climate – friendly Palm Oil Production and Procurement in Thailand : SCPOPP) โดยกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในการผลิตน้ำมันปาล์ม เพิ่มความยั่งยืนในการผลิตน้ำมันปาล์มทั้งทางสิ่งแวดล้อมและสังคม และสนับสนุนเกษตรกรในการจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมองค์ความรู้ให้เกษตรกร พร้อมเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก

นอกจากนี้ RSPO มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการปลูกปาล์มน้ำมันที่สอดคล้องกับโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะยกระดับมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในประเทศไทยอย่างยั่งยืน กระทรวงเกษตรฯ พร้อมที่จะสนับสนันและยินดีร่วมมือกับ RSPO เพื่อประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกร และเป็นแนวทางในการเปิดตลาดใหม่สำหรับน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์แปรรูป โดยเฉพาะในกลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นต่อไป

ทั้งนี้ RSPO เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหากำไร ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการปลูกและใช้ผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันที่ยั่งยืนผ่านมาตรฐานการรับรองที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย และยังมีสำนักงานตัวแทนอยู่ในอินโดนีเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ จีน และโคลัมเบีย ปัจจุบัน สมาชิกของ RSPO มากกว่า 5,000 ราย มาจากหลายภาคส่วนทั้งบริษัทผู้ปลูก ผู้ค้าและผู้ผลิตสินค้าแปรรูป สถาบันการเงินและ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจากประเทศผู้ผลิตหรือใช้น้ำมันปาล์ม RSPO

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 เมษายน 2567

พัชรวาท ตรวจฝุ่น ภาคอุตสาหกรรม-เกษตรกรรม ชมผู้ว่าฯปทุมธานี จัดการปัญหาแบบเอาอยู่

,

“พัชรวาท” ตรวจฝุ่น PM2.5 ภาคอุตสาหกรรม-เกษตรกรรม ปทุมธานี ชื่นชมผู้ว่าฯ จัดการปัญหาแบบเอาอยู่ ยกสวนอุตสาหกรรมบางกะดี ต้นแบบจัดการสิ่งแวดล้อม ขอบคุณชาวนาตื่นตัวลดการเผา

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย ร.อ.รชฏ พิสิษฐบรรณกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัดกระทรวง น.ส.ปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เดินทางลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่จังหวัดปทุมธานี พร้อมเยี่ยมชมการดำเนินงานของโครงการสวนอุตสาหกรรมบางกะดี มีนายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัทสวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารจังหวัดปทุมธานี ให้การต้อนรับ ภายหลังเยี่ยมชมสวนอุตสากรรมบางกะดีแล้วเสร็จ ได้เดินทางไปเยี่ยมชม โรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด ของบริษัท วีอาร์พี ดีเวลลอปเม้นท์ โฮลดิ้ง จำกัด และแปลงนาสาธิตการทำนาปลอดการเผา

พล.ต.อ.พัชรวาท เปิดเผยว่า วันนี้ได้มาตรวจเยี่ยมและติดตามปัญหาปัญหาฝุ่น PM2.5 ของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งบริหารจัดการได้ดีมาก ภายใต้การดูแลของผู้ว่าฯปทุมธานี โดยที่ปทุมธานีมีพื้นที่การทำนาถึง 67 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด อีกทั้งมีโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 3,400 แห่ง แต่ยังสามารถบริหารจัดการคุณภาพอากาศให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะสวนอุตสาหกรรมที่มี 38 โรงงาน แต่สามารถบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม มีระบบบำบัดอากาศทำให้ไม่ส่งผลกระทบด้านฝุ่น สามารถอยู่ร่วมกับชุมชน และยังเป็นต้นแบบโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ส่วนการดูงานโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดที่กรมควบคุมมลพิษ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท วีอาร์พี ดีเวลลอปเม้นท์ โฮลดิ้ง จำกัด สนับสนุนให้มีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันและลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยนำเศษวัสดุการเกษตร ได้แก่ ฟางข้าว ใบอ้อย ไม้ไผ่ต้นและซังข้าวโพด เปลือก มะพร้าว และ เศษต้นไม้อื่นๆ มาอัดเม็ด ทำให้สามารถลดปริมาณฝุ่นและส่งขายให้กับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ส่วนแปลงนาปลอดการเผานับเป็นความร่วมมือที่ดีจากชาวนาปทุมธานี เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ให้กับกรุงเทพฯ และปริมณฑล

“กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ พยายามบูรณาการแก้ปัญหากับทุกภาคส่วนเพื่อลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ควบคู่กับการส่งเสริมภาคเกษตรกรรมปลอดการเผาอย่างเป็นอย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมนำเศษวัสดุเหลือใช้มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด เป็นแนวทาวช่วยลดการเผา ขณะเดียวกันปัญหานี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกฝ่ายด้วย”

ที่มา : https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4501142
วันที่ 30 มีนาคม 2567

“อัคร” โชว์ แนวทางขับเคลื่อนไทย สู่ลดก๊าซเรือนกระจก ใช้กลไกสภา ดันกฎหมาย

,

“อัคร” โชว์ แนวทางขับเคลื่อนไทย สู่ลดก๊าซเรือนกระจก ใช้กลไกสภา ดันกฎหมาย

“สส.อัคร” พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถ้อยแถลง ประชุมยุวสหภาพรัฐสภา โชว์ แนวทางขับเคลื่อนไทย สู่การลดก๊าซเรือนกระจก พร้อมใช้กลไกรัฐสภา ผลักดันกฎหมายสร้างกลไกมีส่วนร่วม สู่เป้าหมายเน็ตซีโร่

วันที่ 26 มี.ค. 67 นายอัคร ทองใจสด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะสมาชิกรัฐสภา ได้ขึ้นกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมยุวสหภาพรัฐสภา ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ว่า การดำเนินนโยบายของไทย สู่เป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และเป็นไปตามร่างข้อมติเรื่องความร่วมมือเพื่อการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ และการส่งเสริมการเข้าถึงพลังงานสีเขียวในราคาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการผสมผสานและเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด และการสนับสนุนไปสู่การเปลี่ยนผ่านสีเขียวเพื่อรองรับ การดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเรื่องนี้ Bio-Circular-Green Economy หรือ BCG ให้สอดรับกับสถานการณ์ของประเทศและ ความต้องการใช้พลังงาน ทุกระดับโดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาประเทศควบคู่ไปกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย ได้มีแนวทางในด้านการบริหารจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ ผ่านการดำเนินการโดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุกภาคส่วน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการลดก๊าซเรือนกระจก

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยให้ความสำคัญกับปฏิญญาของการประชุมประเทศภาคีว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ (UN Climate Change Conference) หรือ COP และเพิ่มความเข้มข้น และแสวงหาความร่วมมือในระดับพหุภาคี ที่จะนำไปสู่การจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยมุ่งเน้นภารกิจที่ชัดเจนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติได้มีการตั้ง “กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ และมุ่งบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและองค์กรระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งยังใช้กลไกทางรัฐสภา โดยสมาชิกรัฐสภาผู้แทนราษฎร มีบทบาทสำคัญในการผลักดันกฎหมาย รวมถึงประสานงานกับฝ่ายบริหารเพื่อจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อและมีการจัดสรรทรัพยากรให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกำกับดูแลการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ การดำเนินการของรัฐสภา ทุกฝ่ายได้ให้ความสำคัญ ในการแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างกว้างขวางเพื่อที่จะออกกฎหมายและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นไปตามข้อตกลงปารีส และเป้าหมายลดการเพิ่มอุณหภูมิของโลก เราหวังว่ารัฐสภาไทยจะประสบความสำเร็จในการออกกฎหมายนี้ จะนำไปสู่สิทธิขั้นพื้นฐานของอากาศบริสุทธิ์ให้กับประชาชนทุกกลุ่มอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ในการผลักดันของสมาชิกรัฐสภารุ่นเยาว์ ปัญหาที่เกิดขึ้น จำเป็นต้องเปิดกว้างในการรับความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของเยาวชนอย่างสร้างสรรค์ เพราะในโลกใบนี้เยาวชนจะเป็นและจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติสภาพภูมิอากาศในอนาคตเพื่อให้เยาวชนเป็นหัวใจสำคัญของทุกสภาพอากาศ นโยบายและเสียงของคนรุ่นอนาคตไม่ควรละเลย กระบวนการตัดสินใจด้านสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขา
ความคืบหน้าอีกประการหนึ่งที่เราอยากแบ่งปันก็คือสภาผู้แทนราษฎร ของไทยมีมติเป็นเอกฉันท์ยอมรับในหลักการ “ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด” ในเดือนมกราคมปีนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขมลพิษทางอากาศด้วยแนวทางที่ยั่งยืนและระยะยาว เราหวังว่า รัฐสภาไทยจะประสบความสำเร็จในการออกกฎหมายนี้ เราภูมิใจในสิทธิขั้นพื้นฐานในการสูดอากาศบริสุทธิ์ให้กับประชาชนทุกกลุ่มและยุคสมัย

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/politics/1119279
วันที่ : 27 มีนาคม 2567