โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวกิจกรรม ส.ส. และสมาชิกพรรค

“สส.บุญชัย”ฝาก “กระทรวงคมนาคม-กรมเจ้าท่า”อนุมัติงบซ่อมแซมถนน พร้อมขุดลอกแม่น้ำป่าสัก บรรเทาน้ำท่วม น้ำแล้ง ให้ ปชช.

,

“สส.บุญชัย”ฝาก “กระทรวงคมนาคม-กรมเจ้าท่า”อนุมัติงบซ่อมแซมถนน พร้อมขุดลอกแม่น้ำป่าสัก บรรเทาน้ำท่วม น้ำแล้ง ให้ ปชช.

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาฯถึงความเดือนร้อนของพี่น้องในเขตพื้นที่ โดยตนได้รับการร้องเรียนจากผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านแก่งเสี้ยว ต.นาซำ อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ที่ได้รับความเดือนร้อนจากการสร้างฝาย กันลำน้ำพุง ของกรมทรัพยากรน้ำที่ 2 ผ่านมา 4 -5 ปีแล้ว ประตูฝายได้ชำรุดเปิด-ปิดไม่ได้ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการกักเก็บน้ำ และการระบายน้ำ จึงขอให้กรมทรัพยากรน้ำที่ 2 จังหวัดสระบุรี ช่วยจัดสรรงบประมาณซ่อมแซม นอกจากนี้ ยังมีความเดือดร้อนในการใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 12 กม.ที่ 286 ถึง 289 ระยะทาง 3 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่แคบและมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

“ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้อนุมัติงบขยายผิวทาง4 เลน ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร ยังเหลืออีก 1.8 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่อันตรายและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอให้ทางกระทรวงกรมคมนาคมจัดสรรงบประมาณก่อสร้างให้แล้วเสร็จ” นายบุญชัย กล่าว

นายบุญชัย กล่าวต่อว่า พื้นที่ตำบลศิลาและตำบลตาดกลอย อำเภอหล่มเก่า ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี จากแม่น้ำป่าสักที่ตื้นเขิน หลายสิบปีแล้ว แม่น้ำป่าสักสายนี้ไม่ได้ถูกการดูแล และการขุดลอกเลย น้ำมาปีไหนท่วมปีนั้น ถ้าแล้งก็แล้งหนัก พี่น้องประชาชนได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

ทั้งนี้ นายบุญชัยยังกล่าวขอบคุณกรมเจ้าท่าที่มาขุดลอกแม่น้ำป่าสัก ในตำบลสักหลง อำเภอหล่มสัก ระยะทาง 15 กิโลเมตร ในปีนี้ ซึ่งขุดไปแล้ว 10 กิโลเมตร ยังเหลืออีก 5 กิโลเมตร ทางพี่น้อง ตำบลสักหลง อำเภอสักหล่ม และขอฝากกรมเจ้าท่าช่วยจัดหางบประมาณ มาขุดลอกแม่น้ำป่าสักในตำบลสักหลงให้แล้วเสร็จ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กรกฎาคม 2567

“สส.องอาจ”ขอหน่วยงานราชการลดขั้นตอนขอใช้พื้นที่แก้ปัญหา“ถนนพังเสียหาย-ไฟฟ้าส่องสว่าง ให้ ปชช. ชี้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาท้องถิ่น

,

“สส.องอาจ”ขอหน่วยงานราชการลดขั้นตอนขอใช้พื้นที่แก้ปัญหา“ถนนพังเสียหาย-ไฟฟ้าส่องสว่าง ให้ ปชช. ชี้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาท้องถิ่น

นายองอาจ วงษ์ประยูร สส.สระบุรี เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาฯว่า ตนได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องอำเภอพระพุทธบาท นายอำเภอ สจ.ในพื้นที่ นายกเทศบาลตำบลห้วยป่าหวาย และกำนันตำบลห้วยป่าหวาย รวมถึงผู้นำชุมชน ร่วมกันลงพื้นที่แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ถนนพังเสียหายชำรุดอย่างหนักตลอดสายก็คือ ถนนเลียบคลองชลประทานฝั่งซ้าย เชื่อมระหว่างถนนทางหลวง 3034 สายหน้าพระลาน บ้านควน เชื่อมกับสาย 3250 สันประดู่ โดยถนนสายนี้เป็นถนนสายหลัก มีรถเล็ก รถบรรทุกวิ่งตลอดทั้งวัน ถนนแยกเกิดอุบัติเหตุรายวัน

นายองอาจ กล่าวต่อว่า ล่าสุดเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว แพทย์ประจำตำบล เกิดอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำก็สลบคาที่บนถนนเส้นนี้ ปัญหาก็คือ ท้องถิ่น อบจ.ตั้งใจที่จะมาซ่อมแซม ปรับปรุง สร้างใหม่ให้ก็ต้องใช้เวลานาน ทั้งๆที่มีงบประมาณ แต่ติดขัดเรื่องพิธีกรรมและระเบียบต่างๆ ในการขออนุญาตเจ้าของพื้นที่ อย่างกรมชลประทาน ทางหลวงชนบท จึงขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ช่วยเร่งรัด ซ่อมแซม ปรับปรุงถนนเส้นนี้โดยด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขระเบียบขั้นตอน เพื่อลดอุปสรรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดความล่าช้าในระบบราชการ อย่างเช่น เรื่องของขออนุญาตซึ่งเป็นอุปสรรคการพัฒนาท้องถิ่นมาเป็นเวลานาน

นายองอาจ ยังกล่าวต่อถึงปัญหาถนนขาดไฟฟ้าส่องสว่าง มืดมิดยามค่ำคืน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้รถใช้ถนน ผู้สัญจรไปมา และเสี่ยงอันตรายในชีวิตและทรัพย์สินกับลูกหลานของเราเวลาเดินทางกลับบ้านช่วงกลางคืน อย่างเช่น ถนนบริเวณเลียบคลองตำบลห้วยป่าหวาย ถนนเส้นนี้ก็ขาดไฟฟ้าส่องสว่างตลอดสาย รวมถึงถนนสายหนองโดนน้อยหมู่ 9 ถึงประดู่หมู่ 5 ถนนสายนี้มีเสาไฟฟ้าโซล่าเซลล์ครบทุกอย่าง ขาดอย่างเดียว ขาดความสว่าง เพราะว่าไฟดับตลอดทั้งสายมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว

นอกจากนี้ เสาไฟฟ้าบริเวณหลังวัดสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ ถูกรถยนต์ชนหัก ทำให้ไฟฟ้าบริเวณนี้ดับมาเป็นเวลาหลายเดือน โดยติดขัดเรื่องระเบียบเช่นกันเพราะถ้าจะติดตั้งใหม่ต้องมีขั้นตอนต่างๆ เรื่องของการแจ้งความ หาผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายเพื่อจะชดใช้ ถ้ารอก็คงใช้เวลาอีกนาน ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กรกฎาคม 2567

“สส.อามินทร์” ขอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการปัญหาไฟไหม้ป่าพรุโต๊ะแดง ทำลายพืชผลเกษตรของชาวบ้านให้ดีกว่านี้ พร้อมขอเพิ่มเที่ยวบิน นราธิวาส – กรุงเทพฯ ให้พอต่อความต้องการของ ปชช.

,

“สส.อามินทร์” ขอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการปัญหาไฟไหม้ป่าพรุโต๊ะแดง ทำลายพืชผลเกษตรของชาวบ้านให้ดีกว่านี้ พร้อมขอเพิ่มเที่ยวบิน นราธิวาส – กรุงเทพฯ ให้พอต่อความต้องการของ ปชช.

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาฯถึงปัญหาเรื่องไฟป่า ปัจจุบันป่าพรุที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย คือศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร หรือ ป่าพรุโต๊ะแดง ที่อยู่ในจังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่กว่า 120,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงโก-ลก และอำเภอสุไหงปาดี มีพื้นที่ติดกับพื้นที่เพาะปลูก ฃของเกษตรกรชาวสวน ชาวไร่ ไม่ว่าจะเป็นสวนยาง สวนปาล์ม และนาข้าวนับ 10,000 ไร่

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า ปัญหาซ้ำซากที่เกิดขึ้นทุก ๆ ปี และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นก็คือ ไฟไหม้ป่าพรุ ที่ไม่ว่าจะเกิดจากภัยธรรมชาติ หรือน้ำมือมนุษย์ ล้วนสร้างความเสียหาย ทั้งพื้นที่ป่าพรุและพื้นที่ทางการเกษตร ช่วงปิดสมัยประชุมที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุไฟป่าบริเวณป่าพรุลุกลามเป็นบริเวณกว้าง ตนได้มีโอกาสลงพื้นที่พร้อมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้เห็นและทราบถึงปัญหาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแผนการรับมือ เครื่องไม้ เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ที่ไม่เพียงพอของหน่วยบรรเทาสาธารณภัย การขุดลอกคลองทำแนวกันไฟของกรมชลประทาน เพราะพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ ขนาดนี้การลากสายยาว 2 กิโลเมตร การใช้กำลังคนฝ่าดงใบไม้ทับถมกว่า 1 เมตร เสี่ยงต่อการภารกิจดับไฟ

“ผมขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบบริหารจัดการกรณีเกิดไฟไหม้ป่าพรุที่สร้างความเสียหาย และสูญเสียงบประมาณแผ่นดินไปไม่ใช่น้อย ในแต่ละปี ยังสร้างความเดือดร้อนด้านพืชผลทางการเกษตร ขอให้มีการบริหารจัดการที่ดีกว่านี้ให้พี่น้องเกษตรกร และเพื่อรักษาไว้ซึ่งป่าพรุผืนสุดท้ายของแผ่นดินนี้”นายอามินทร์ กล่าว

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า อีกเรื่องหนึ่งคือ ขอให้มีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการโดยสารด้วยสายการบินของพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ให้เร่งแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน นราธิวาส – กรุงเทพฯ ให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ปัจจุบัน วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ เหลือเพียงวันละเที่ยว สร้างความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชนอย่างมาก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 กรกฎาคม 2567

“สส. อนันต์”นำชาวคลองลานร่วมถก ‘ร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์’ จัดงาน“วิถีถิ่นชาติพันธุ์คลองลาน”สร้างจิตสำนึกคนในท้องถิ่นชูอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

,

“สส. อนันต์”นำชาวคลองลานร่วมถก ‘ร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์’ จัดงาน“วิถีถิ่นชาติพันธุ์คลองลาน”สร้างจิตสำนึกคนในท้องถิ่นชูอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

นายอนันต์ ผลอำนวย สส.กำแพงเพชร เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวว่า ตนในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. …. ได้ร่วมกับนางยุวดี คงอินทร์ ประธานสภา อบจ.กำแพงเพชร,ดร. วิทยา ทัศนไพบูลย์ นายกเทศมนตรีตำบลคลองลานพัฒนา , นายสุทธิพงษ์ หนูเนตร ปลัดอำเภอคลองลาน คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร และคณะกรรมการชาติพันธุ์ตำบลคลองลานพัฒนา ศึกษาแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตการต่อร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ……ในด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ทรัพยากร และผลิตภัณฑ์ต่างๆ สู่การจัดการทุนทางวัฒนธรรม 6 ชนเผ่า เพื่อนำไปสู่การพิจารณาศึกษาและติดตามความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง

นายอนันต์ กล่าวต่อว่า ตำบลคลองลานพัฒนา ถือเป็นตำบลที่มีชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่มากที่สุดในจังหวัดถึง 6 ชาติพันธุ์ไม่ว่าจะเป็น ปกาเกอะญอ ม้ง ลาหู่ อิ้วเมี่ยน ลัวะ และลีซู ซึ่งมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง มีความหลากหลายและความแตกต่างในด้านภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ที่จะขับเคลื่อนการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมฟื้นฟูอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้คงอยู่รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน

นายอนันต์ ยังกล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 5-7 ก.ค.ที่ผ่านมา ชาวตำบลคลองลานพัฒนา ยังได้จัดกิจกรรมถนนสายวัฒนธรรม วิถีถิ่นชาติพันธุ์คลองลาน ประจำปี พ.ศ. 2567 เพื่อเน้นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างจิตสำนึกของคนในท้องถิ่น ให้เห็นในคุณค่าความสำคัญของอัตลักษณ์ วิถีถิ่น ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ให้กับชุมชนในท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กรกฎาคม 2567

“สส.คอซีย์”จับมือเครือข่ายในท้องถิ่นจัดแข่งขันฟุตซอล ปี67 หนุนกลไกกีฬาเชื่อมความสามัคคีสู่การพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน

,

“สส.คอซีย์”จับมือเครือข่ายในท้องถิ่นจัดแข่งขันฟุตซอล ปี67
หนุนกลไกกีฬาเชื่อมความสามัคคีสู่การพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน

นายคอซีย์ มามุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วย นายอับดุลการิม ยีดำ นายอำเภอโคกโพธิ์ นายจอน สุกป่าน ปลัดอาวุโสอำเภอหนองจิก นายอุดมเกียรติ พูลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโคกโพธิ์ และเครือข่ายองค์กรภาครัฐและเอกชน ร่วมกันแถลงข่าวจัดการการแข่งขันฟุตซอล “กลุ่มเพื่อน สส.KORSEE CUP 1”ประจำปี 2567 เพื่อส่งเสริมความสามัคคี และสุขภาพของคนในชุมชน ในนาม”กลุ่มเพื่อน สส.คอซีย์ มามุ” ซึ่งการแข่งกีฬา จะนำไปสู่การมีความรัก สอนให้คนมีน้ำใจ อาศัยกลไกกีฬาในการสร้างพลังในท้องถิ่นให้เกิดขึ้น และก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมการพัฒนาบ้านเมือง

ทั้งนี้การแข่งขันกีฬาจะเป็นเครื่องมือในการประสานพลังให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยการแข่งขันจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2567 – 18 สิงหาคม 2567 ทุกๆ วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ตลอด 5 สัปดาห์ โดยมีทีมที่เข้าร่วมกันแข่งขันจำนวน 64 ทีม จาก 9 หน่วยราชการ จากอำเภอหนองจิกและอำเภอโคกโพธิ์

การแข่งขันฟุตซอล “กลุ่มเพื่อน สส.KORSEE CUP 1 ประจำปี 2567” ผู้ชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจาก ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รมต.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท ผู้ชนะเลิศอันดับ 2 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจาก นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท ผู้ชนะเลิศอันดับ 3 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจาก นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท ผู้ชนะเลิศอันดับ 4 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจาก นายอับดุลการิม ยีดำ นายอำเภอโคกโพธิ์ พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท รางวัลชมเชยอันดับที่ 5-8 รางวัลละ 2,000 บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศ

“การแข่งฟุตซอลในครั้งนี้จะผลักดันให้บุคลากรในหน่วยงานทั้งสองอำเภอได้สานสัมพันธ์ทางมิตรภาพผ่านกลไกการแข่งขันกีฬา และจะเป็นพลังร่วมกันในการมีส่วนร่วมพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ต่อไป “สส.คอซีย์ กล่าว”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กรกฎาคม 2567

“สส.จีรเดช”เผยข่าวดี โครงการก่อสร้างสนามบินพะเยาถูกบรรจุในงบปี 68 แล้ว ขอบคุณ“นายกฯรมต.คมนาคม-เกษตรฯ”ช่วยสานฝันให้ชาวพะเยา หนุนเศรษฐกิจจังหวัดเติบโต

,

“สส.จีรเดช”เผยข่าวดี โครงการก่อสร้างสนามบินพะเยาถูกบรรจุในงบปี 68 แล้ว ขอบคุณ“นายกฯรมต.คมนาคม-เกษตรฯ”ช่วยสานฝันให้ชาวพะเยา หนุนเศรษฐกิจจังหวัดเติบโต

นายจีรเดช ศรีวิราช สส.พะเยา เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี2568 ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการงบประมาณนั้น ได้มีงบในส่วนของโครงการสนามบินพะเยา ที่ตนเฝ้าติดตามและสอบถา ความคืบหน้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงคมนาคมได้ตั้งงบประมาณเป็นค่าจ้างออกแบบ รวมทั้งค่าจ้างศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)ด้วยกรอบวงเงินงบประมาณกว่า 42 ล้านบาท นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความฝันที่พี่น้องชาวพะเยา ต่างรอคอยกันมาอย่างยาวนาน หลังจากที่โครงการรถไฟได้สำเร็จเสร็จสิ้นไปก่อนหน้านี้

“ผมต้องขอขอบคุณนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ,ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ติดตามและประสานงานมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพลังมวลชนทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และพี่น้องประชาชนที่ร่วมด้วยช่วยกันผลักดันตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา”นายจีรเดช กล่าว

นายจีรเดช กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนหวังว่าหากโครงการนี้สำเร็จก็จะสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับจังหวัดพะเยาให้เท่าเทียมกับจังหวัดอื่น ๆ เพราะสนามบินถือเป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น การสัญจร การขนส่งสินค้า ตลอดจนการท่องเที่ยว ซึ่งสร้างเม็ดเงินให้กับประเทศอย่างมากมายมหาศาล รวมถึงจะสามารถเชื่อมโยงไปยังต่างจังหวัดต่างๆ และประเทศเพื่อนบ้านได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 กรกฎาคม 2567

“สส. กระแสร์” เผย น้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรมหนัก หลัง จ.หนองคายฝนตกต่อเนื่อง ต้องเร่งระบายน้ำลงแม่น้ำโขง บรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกร พร้อมเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง

,

“สส. กระแสร์” เผย น้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรมหนัก หลัง จ.หนองคายฝนตกต่อเนื่อง ต้องเร่งระบายน้ำลงแม่น้ำโขง บรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกร พร้อมเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง

นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ สส.หนองคาย เขต1 พรรคพลังประารัฐ(พปชร.)ลงพื้นที่ต.หินโงม ต.ศรีกาย ต.บ้านเดื่อ จังหวัดหนองคาย เนื่องจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนัก ต่อเนื่องติดต่อกันทำให้เกิดน้ำท่วมเข้าบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ชาวบ้านได้และเกษตรกรรับความเดือดร้อนอย่างหนัก โดยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกปี เนื่องจากพื้นที่ ต.สีกาย และ ต.หินโงม จะมีลำน้ำสวย ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาที่สำคัญไหลจากจังหวัดอุดรธานี มายังจังหวัดหนองคาย โดยผ่านพื้นที่ของ 2 ตำบลนี้ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ดังนั้นในแต่ละปีเมื่อฤดูฝน น้ำหลาก ปริมาณน้ำจะมีมากจนถึงขั้นไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่ทางการเกษตร แต่พอฤดูแล้ง ระดับน้ำลดต่ำลงจนเกิดปัญหาปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร

นายกระแสร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ประชาชนกำลังได้รับความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง อย่างเช่น เทศบาลตำบลบ้านเดื่อ อ.เมือง ได้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่เกษตรกรกว่า 2,000 ไร่แล้ว โดยสถานการณ์ในตอนนี้ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษ ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและเครื่องยนต์ขัดข้อง

“ผมได้ประสานกับท่านยุทธนา ศรีตะบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่เกษตรกรรม พร้อมทั้งหาทางระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงต่อไป เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกรและประชาชน รวมถึงมีการตรวจเช็คความเรียบร้อยขอวเครื่องสูบน้ำประจำจุดสูบน้ำภายในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย ให้พร้อมใช้งานทันที” นายกระแสร์ กล่าว

ทั้งนี้ ทาง อบจ.หนองคายได้เตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน แก้ไขปัญหาอุทกภัย ซึ่งประชาชนสามารถขอรับการช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 088-686 9259,083-147 6329 และ 042-422 798

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 กรกฎาคม 2567

“สส.สุธรรม” เผย กมธ.เกษตร สภาฯ ดูงานเวียดนาม แลกเปลี่ยนข้อมูล พร้อมสร้างโอกาสส่งเสริมสินค้าทางการเกษตรของทั้ง 2 ประเทศ

,

“สส.สุธรรม” เผย กมธ.เกษตร สภาฯ ดูงานเวียดนาม แลกเปลี่ยนข้อมูล พร้อมสร้างโอกาสส่งเสริมสินค้าทางการเกษตรของทั้ง 2 ประเทศ

นายสุธรรม จริตงาม สส.นครศรีธรรมราช เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรฯ สภาผู้แทนราษฏร เปิดเผยว่า คณะ กมธ.เกษตรฯ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศเวียดนาม โดยได้ไปเยี่ยมชมศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวที่เมืองเกิ่นเทอชื่อว่า “CUU LONG DELTA RICE RESEARCH INSTITUTE” ที่ก่อตั้งปี ค.ศ. 1977 มีพื้นที่ทั้งหมด 360 เฮกต้า หรือ 2,250 ไร่ ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 134 คน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล 50% ส่วนที่เหลือศูนย์วิจัยหารายได้เอง

นายสุธรรม กล่าวต่อว่า ประเทศเวียดนามให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนามาก ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวของเวียดนามมีแนวทางการวิจัยที่ชัดเจนตามเป้าหมายของรัฐบาลเช่น พัฒนาพันธุ์ที่ต้านทานโรคได้ดี ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าไทยถึง 3 เท่า พัฒนาให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น พัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะกับพื้นที่น้ำท่วมหรือน้ำเค็ม ใช้งานวิจัยเป็นการแก้ปัญหา เช่น ทำอย่างไรจะปลูกข้าวได้ปีละ 3 ครั้ง ก็พัฒนาสายพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวได้ภายใน 85 วันขึ้นมา การพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีวิตามิน A สูง เป็นต้น และตอนนี้เวียดนามกำลังคิดว่า การปลูกข้าวมีรายได้ต่ำกว่าผลไม้ จะเปลี่ยนจากการปลูกข้าวมาปลูกผลไม้แทน ซึ่งในอนาคตเวียดนามก็อาจชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากไทยเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ คณะ กมธ.เกษตรฯยังเข้าเยี่ยมชม GO! Mall สาขา An Lac เพื่อศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่องทางการนำเข้า, หลักเกณฑ์และมาตรฐานในการพิจารณาคัดเลือกสินค้าประเภทสินค้าการเกษตรที่ต้องการจะนำเข้าเพื่อจัดจำหน่ายในธุรกิจค้าปลีกของเวียดนาม ตลอดจนถึงได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างโอกาสในการนำเสนอและส่งเสริมสินค้าทางการเกษตรให้แก่ลูกค้าของทั้งสองประเทศอย่างยั่งยืน

“การดูงานที่ประเทศเวียดนามในครั้งนี้ กมธ.มีโอกาสประชุมกับส่วนราชการที่รับผิดชอบด้านการเกษตรของประเทศเวียดนามถึง 2 ครั้ง และได้ไปดูงานของภาคเอกชนเวียดนาม 4 ครั้ง ถือว่าคุ้มค่า และได้ประสบการณ์ ความรู้ กลับมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทภาคเกษตรของประเทศไทย” นายสุธรรม กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กรกฎาคม 2567

“สส.อามินทร์”เผย กมธ.การมั่นคงแห่งรัฐฯ เยือนโปแลนด์ ศึกษาแนวทางการรับมือผู้ลี้ภัย ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมวิธีการรับมือต่อเหตุความไม่สงบในประเทศเพื่อนบ้าน

,

“สส.อามินทร์”เผย กมธ.การมั่นคงแห่งรัฐฯ เยือนโปแลนด์ ศึกษาแนวทางการรับมือผู้ลี้ภัย ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมวิธีการรับมือต่อเหตุความไม่สงบในประเทศเพื่อนบ้าน

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ในฐานะรองประธานกรรมาธิการ ความมั่นคงแห่งรัฐกิจการชายแดน ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่าตนได้เดินทางมาร่วมศึกษาดูงานกับคณะกรรมาธิการที่โปแลนด์-ยูเครน โดยได้เข้าพบกับสถานทูต และเข้าชมรัฐสภาของที่นี่ ซึ่งเป้าหมายหลักของการมาครั้งนี้คือต้องการศึกษาเรื่องการบริหารจัดการชายแดนของโปแลนด์ ซึ่งถือเป็นขอบแดนของ EU ที่ประชิดยูเครน ซึ่งกำลังอยู่ในภาวะสงครามและต้องรับผู้อพยพจำนวนมาก ถ้ารวมหลายๆด่านมีนับล้านคนที่ผ่านด่านในระยะเวลาสั้นๆ

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูงานครั้งนี้คือ เรื่องกิจการชายแดนที่ติดกับบริเวณการสู้รบ โดยที่นี่ได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างมาก ระบบ Ai ระบบ ไบโอเมทริก ภายในด่านเจ้าหน้าที่ไม่มีการพกพาอาวุธ มั่นใจในระบบป้องกันด้านความมั่นคง การเดินทางเข้าออก ตรวจค้นอย่างละเอียด แต่ใช้เวลาต่อคันเพียง 2 นาทีเท่านั้น ก็จะเสร็จสิ้นพิธีการทางศุลกากร สภาวะความไม่สงบของยูเครน ซึ่งติดกับโปแลนด์ยังคงต้องมีการเฝ้าระวังต่อเนื่อง เหมือนเช่นกันกับประเทศเราที่ติดกับชายแดนเมียนมาร์ การที่ได้มาดูงานถึงที่ทำให้เราได้เข้าใจหลายส่วนได้ลึกขึ้น และสามารถนำกลับไปพัฒนากิจการชายแดนของเราต้องเสริมหรือปรับอะไร เพื่อให้ความมั่นคงของประเทศอยู่ในจุดที่ปลอดภัยที่สุด

นายอามินทร์ ยังกล่าวต่อว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ กมธ.ยังได้ไปเยี่ยมเยียนกระทรวงกลาโหม และกระทรวงการต่างประเทศ และกองกำลังพิทักษ์ชายแดนของโปแลนด์ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระบบผู้แทนสภา ทั้งในมิติของการเตรียมความพร้อมทางการทหาร การพัฒนาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ โดยคณะกรรมาธิการเห็นว่า ทั้ง 2 ประเทศสามารถนำประสบการณ์นี้มาปรับใช้กับประเทศไทยได้ และการเดินทางครั้งนี้สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ และพัฒนาความร่วมมือกันของทั้งสองประเทศได้เป็นอย่างดี

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 กรกฎาคม 2567

“สส.กาญจนา”ขอบคุณ“ พล.ต.อ.พัชรวาท”ไม่เคยลืมชาวชัยภูมิ หลังลงพื้นที่ อ. หนองบัวแดง ติดตามโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 500 ไร่ ช่วยเกษตรกรมีน้ำต้นทุนทำเกษตรตลอดทั้งปี

,

“สส.กาญจนา”ขอบคุณ“ พล.ต.อ.พัชรวาท”ไม่เคยลืมชาวชัยภูมิ หลังลงพื้นที่
อ. หนองบัวแดง ติดตามโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 500 ไร่ ช่วยเกษตรกรมีน้ำต้นทุนทำเกษตรตลอดทั้งปี

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้มาตอบกระทู้ของนายกฤช ศิลปชัย สส.ระยอง พรรคก้าวไกล ที่สอบถามความคืบหน้าข้อเสนอนโยบายประมงทะเล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวประมงพื้นบ้านไทย ว่า ร.อ.ธรรมนัส ได้ฝากมาขอโทษที่ท่านไม่ได้มาตอบกระทู้ด้วยตัวเอง เนื่องจากติดภารกิจ แต่ท่านเล็งเห็นถึงความตั้งใจและให้ความสำคัญในการที่จะแก้ไขปัญหาให้กับชาวประมง โดยเฉพาะพี่น้องประมงพื้นบ้าน และได้กำชับให้มาตอบกระทู้ของท่าน สส.

ทั้งนี้ต้องขอบคุณ สส.พรรคก้าวไกลที่มีความห่วงใยให้กับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน และท่านก็มีความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่ประมงพื้นบ้านอย่างแท้จริง ซึ่งปัญหาอุปสรรคในการประกอบอาชีพของชาวประมงขณะนี้มีต้นทุนมากกว่า 50% โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ซึ่งกระทรวงเกษตร ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาประมงทะเล และได้ทำการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 1ชุด เพื่อที่จะพิจารณาข้อเสนอตามนโยบายการประมงและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประมงพื้นบ้าน ซึ่งทางกรมประมงได้เสนอช่วยเหลือค่าน้ำมันสำหรับพี่น้องที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านจำนวน 1,275 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือน

อย่างไรก็ตามในที่ประชุม ยังมีข้อกังวลในการสนับสนุนค่าน้ำมันสำหรับการดำเนินโครงการนี้ ที่มีผู้เข้าร่วมประมาณ 45,000 ราย ใช้งบประมาณประมาณ 350 ล้านบาท จะมั่นใจได้อย่างไรว่า การใช้งบประมาณจะเกิดความยั่งยืน ขณะเดียวกัน พี่น้องชาวประมงที่รับเงินอุดหนุนแล้วจะนำไปซื้อน้ำมันจริง หากไม่ได้นำเงินไปซื้อน้ำมันตามวัตถุประสงค์ของการอนุมัติโครงการนี้ ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่า ควรจะให้ชาวประมงพื้นบ้านได้รับการสนับสนุนอย่างแท้จริง ดังนั้นทางกรมประมง จึงผลักดันแนวทางในการที่จะสนับสนุนน้ำมันผ่านทางการเติมเงิน ผ่านสมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือ เราจะสามารถมั่นใจได้ว่าทุกบาททุกสตางค์ที่อุดหนุนช่วยเหลือพี่น้องประมงพื้นบ้าน จะถูกนำไปซื้อน้ำมันตรงตามวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้น

“ในเรื่องนี้ ร.อ.ธรรมนัส ท่านมีความกังวล และห่วงใย เนื่องจากที่ผ่านมา ภาครัฐเรามีการช่วยเหลือน้ำมันเขียว หรือว่าน้ำมันต่างๆที่มีราราคาถูกกว่าโดยเฉพาะให้กับผู้ประกอบการประมงที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ความช่วยเหลือดัวกล่าว ถ้าเทียบกับพี่น้องประมงพื้นบ้านแล้วความช่วยเหลือต่างๆมีความเหลื่อมล้ำพอสมควร ดังนั้นแนวทางการทำงานของกรมประมง จะเปิดโอกาสให้พี่น้องประมงพื้นบ้านได้รับความช่วยเหลืออย่างแท้จริง โดยกรมประมงจะนำประเด็นนี้ไปหารือกับคณะทำงานเพื่อดำเนิน โครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซล สำหรับชาวประมงพื้นบ้านในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร โดยมีตัวแทน จากกรมประมงเข้าไปเป็นในคณะทำงานนี้ด้วย

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ จะนำไปหารือ สมาคม สมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อไปรับฟังความเห็นจาก ถ้ามีความคิดเห็นที่ตรงกัน ก็สามารถเดินหน้าต่อได้เต็มที่ เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนที่ทำประมงพื้นบ้านด้วย รวมทั้งกระทรวงได้ตั้งงบประมาณที่จะสนับสนุนการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรมาอย่างต่อเนื่อง โดยจุดประสงค์เพื่อจะอุดหนุนไปยังองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมประมง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มการผลิตด้านประมง ซึ่งโครงการต่างๆ องค์กรชุมชน จะได้รับอุดหนุนไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 ส่วนปี 2568 จะได้รับจัดสรรงบประมาณมาประมาณ 200 กองทุน ดังนั้นองค์กรชุมชนท้องถิ่นจะสามารถนำงบประมาณตรงนี้ไปใช้ในเรื่องของการเพิ่มผลผลิตให้กับสัตว์น้ำ เรื่องของธนาคารสัตว์น้ำ การพัฒนาอาชีพทางด้านการประมง หรือการเปลี่ยนและซ่อมแซมเครื่องมือประมงได้

“ในส่วนความห่วงใยของเพื่อนสมาชิกในส่วนของกองทุนประกันภัยแก่ประมงพื้นบ้าน เพื่อช่วยเหลือในกรณีอุบัติเหตุหรือในกรณีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ต้องยอมรับว่า เงื่อนไขในกรมธรรม์อาจจะยังไม่เป็นที่พอใจสำหรับพี่น้องที่เป็นชาวประมงพื้นบ้านมากนัก เพราะว่ามีอุปสรรคหลายอย่าง เช่น การชดเชยความสูญเสียจากธรรมชาติหรือว่าภัยพิบัติ จะต้องดูในเรื่องของระเบียบทางราชการ ซึ่งต้องเป็นการประกาศภัยพิบัติระดับจังหวัดเท่านั้น ถ้าเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเฉพาะพื้นที่ผมเชื่อว่าทางจังหวัดก็ไม่สามารถประกาศเป็นภัยพิบัติได้ ทำให้ไม่สามารถรับค่าสินไหมทดแทนได้ แต่ขณะนี้กรมประมงอยู่ระหว่างการเจรจาในเรื่องนี้ เพื่อจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้สามารถครอบคลุม หรือว่าดูแลเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น“

นายอรรถกร กล่าวต่อด้วยว่า กรมประมงกำลังทำร่างใหม่ เพื่อเสนอไปที่กรมบัญชีกลาง เช่น ชดเชยเวลาเกิดความเสียหาย ก็ชดเชยตามความยาวของเรือ แต่ที่เรากำลังจะนำเสนอเป็นการชดเชยตามปริมาตรความจุของเรือ หรือแม้แต่เรื่องของอัตราการช่วยเหลือในกรณีที่เสียหาย จะจ่ายไม่เกิน 20,000 บาท แต่เราจะเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 การช่วยเหลือเยียวยาประมาณ 10,000 แล้วก็ปรับขึ้นเป็น 15,000 บาท หรือแม้แต่ในกรณีที่เรือจมนะที่สามารถจ่ายได้ไม่เกิน 66,000 บาท แต่ร่างใหม่สามารถเพิ่มขึ้นมาเป็นจ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท

ส่วนการจ่ายเงินเยียวยาให้กับชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดระยองนั้น กรมประมงมีนโยบายในการที่จะดำเนินการช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านมาตลอด โดยมีกิจกรรมต่างๆที่ช่วยเหลือดำเนินการในพื้นที่ ๆ จะร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนแล้วก็พัฒนาให้พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงซ่อมแซมธนาคารปูม้า สนับสนุนการจัดหาเครื่องมือประมง สนับสนุนอุปกรณ์ซ่อมเรือ หรือแม้แต่กิจกรรมในการผลิตลูกพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ เราจะต้องลงไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการหาทางออก ที่ทำให้ทุกฝ่ายพึงพอใจ โดยไม่ผิดกฎหมาย

“ร.อ.ธรรมนัส ให้ความสำคัญและลงไปประชุมกับพี่น้องชาวประมงพาณิชย์ที่ต้องการที่จะขายเรืออยู่เรื่อยๆ ตอนนี้ผมเชื่อว่า อยู่ในกระบวนการในการที่จะหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายพึงพอใจ ก็คงจะใช้เวลาสักนิดนึง แต่ผมเรียนด้วยความเคารพว่า พวกผมก็ต้องต่อสู้ในฐานะเป็นนักการเมือง ร.อ.ธรรมนัส ก็เป็นนักการเมือง เราก็ต่อสู้เพื่อที่ประชาชนจะได้รับสิ่งที่เขาสามารถได้รับกลับมาให้เหมาะสม ท่านไม่ต้องกังวลใจ เราในฐานะกระทรวงเกษตรฯ เราจะทำตรงนี้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและรอบคอบที่สุด” นายอรรถกร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 กรกฎาคม 2567

“สส.ไผ่ ลิกค์” ทำโครงนำร่องอบรมอาสาสมัครสัตวแพทย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เร่งทำหมันหมาแมว ตามแนวทางรมว.เกษตรเตรียมขยายผลทั่วประเทศ

,

“สส.ไผ่ ลิกค์” ทำโครงนำร่องอบรมอาสาสมัครสัตวแพทย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เร่งทำหมันหมาแมว ตามแนวทางรมว.เกษตรเตรียมขยายผลทั่วประเทศ

นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ตนและนายชัยวัฒน์ ศุภอรรถพานิช นายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร ได้เปิดโครงการอบรมอาสาสมัครสัตวแพทย์และรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พร้อมผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว ในชุมชนเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง ตามแนวทางของร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การจัดโครงการในครั้งนี้ เนื่องจากได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ถึงปัญหาค่าใช้จ่ายในการทำหมันสัตว์ รวมทั้งเป็นการป้องกันการระบาดจากโรคที่มากับสัตว์ พร้อมเตรียมจะนำต้นแบบในจ.กำแพงเพชร ขยายผลไปยังจังหวัดอื่นๆทั่วประเทศต่อไป

อย่างไรก็ตามโครงการฉีดวัคซีนทางเทศบาลได้มีโครงการบริการแก่ประชาชนเป็นประจำอยู่แล้ว จึงได้นำเรื่องนี้ไปหารือกับ รัฐมนตรีทั้ง 2 เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงประสานไปยังสำนักงานปศุสัตว์เขต 6 และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกำแพงเพชร รวมถึงหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้บูรณาการกับหน่วยงานท้องถิ่น และภาคสังคม แก้ปัญหาให้กับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม

“สำนักงานปศุสัตร์เขต 6 และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกำแพงเพชร ได้ดำเนินการจัดอบรมอาสาสมัครสัตวแพทย์และรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พร้อมผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว ซึ่งจัดกิจกรรมปศุสัตว์เคลื่อนที่ออกหน่วยให้บริการประชาชนในพื้นที่ ให้บริการผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์กลุ่มเสี่ยง รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้ากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์เลี้ยง”นายไผ่ กล่าว

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการจากหน่วยงาน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร ประมงจังหวัด สำนักงานปฏิรูปที่ดิน ศูนย์เมล็ดพันธุ์พืช และสำนักงานพัฒนาที่ดิน และนายไผ่ ยังได้มอบถุงยังชีพให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม มอบพันธุ์หญ้า (เนเปียร์รูซี่) ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ และมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมให้ความรู้และการให้บริการด้านปศุสัตว์แก่ประชาชน จากสำนักงานปศุสัตร์เขต 6 ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 กรกฎาคม 2567

“รมช.อรรถกร” ตอบกระทู้ยัน กระทรวงเกษตรฯมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาให้ประมงพื้นบ้าน

,

“รมช.อรรถกร” ตอบกระทู้ยัน กระทรวงเกษตรฯมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาให้ประมงพื้นบ้าน เตรียมดันมาตรการสนับสนุนน้ำมันผ่านการเติมเงิน ย้ำพร้อมต่อสู้เพื่อ ปชช.เต็มที่

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้มาตอบกระทู้ของนายกฤช ศิลปชัย สส.ระยอง พรรคก้าวไกล ที่สอบถามความคืบหน้าข้อเสนอนโยบายประมงทะเล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวประมงพื้นบ้านไทย ว่า ร.อ.ธรรมนัส ได้ฝากมาขอโทษที่ท่านไม่ได้มาตอบกระทู้ด้วยตัวเอง เนื่องจากติดภารกิจ แต่ท่านเล็งเห็นถึงความตั้งใจและให้ความสำคัญในการที่จะแก้ไขปัญหาให้กับชาวประมง โดยเฉพาะพี่น้องประมงพื้นบ้าน และได้กำชับให้มาตอบกระทู้ของท่าน สส.

ทั้งนี้ต้องขอบคุณ สส.พรรคก้าวไกลที่มีความห่วงใยให้กับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน และท่านก็มีความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่ประมงพื้นบ้านอย่างแท้จริง ซึ่งปัญหาอุปสรรคในการประกอบอาชีพของชาวประมงขณะนี้มีต้นทุนมากกว่า 50% โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ซึ่งกระทรวงเกษตร ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาประมงทะเล และได้ทำการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 1ชุด เพื่อที่จะพิจารณาข้อเสนอตามนโยบายการประมงและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประมงพื้นบ้าน ซึ่งทางกรมประมงได้เสนอช่วยเหลือค่าน้ำมันสำหรับพี่น้องที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านจำนวน 1,275 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือน

อย่างไรก็ตามในที่ประชุม ยังมีข้อกังวลในการสนับสนุนค่าน้ำมันสำหรับการดำเนินโครงการนี้ ที่มีผู้เข้าร่วมประมาณ 45,000 ราย ใช้งบประมาณประมาณ 350 ล้านบาท จะมั่นใจได้อย่างไรว่า การใช้งบประมาณจะเกิดความยั่งยืน ขณะเดียวกัน พี่น้องชาวประมงที่รับเงินอุดหนุนแล้วจะนำไปซื้อน้ำมันจริง หากไม่ได้นำเงินไปซื้อน้ำมันตามวัตถุประสงค์ของการอนุมัติโครงการนี้ ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่า ควรจะให้ชาวประมงพื้นบ้านได้รับการสนับสนุนอย่างแท้จริง ดังนั้นทางกรมประมง จึงผลักดันแนวทางในการที่จะสนับสนุนน้ำมันผ่านทางการเติมเงิน ผ่านสมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือ เราจะสามารถมั่นใจได้ว่าทุกบาททุกสตางค์ที่อุดหนุนช่วยเหลือพี่น้องประมงพื้นบ้าน จะถูกนำไปซื้อน้ำมันตรงตามวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้น

“ในเรื่องนี้ ร.อ.ธรรมนัส ท่านมีความกังวล และห่วงใย เนื่องจากที่ผ่านมา ภาครัฐเรามีการช่วยเหลือน้ำมันเขียว หรือว่าน้ำมันต่างๆที่มีราราคาถูกกว่าโดยเฉพาะให้กับผู้ประกอบการประมงที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ความช่วยเหลือดัวกล่าว ถ้าเทียบกับพี่น้องประมงพื้นบ้านแล้วความช่วยเหลือต่างๆมีความเหลื่อมล้ำพอสมควร ดังนั้นแนวทางการทำงานของกรมประมง จะเปิดโอกาสให้พี่น้องประมงพื้นบ้านได้รับความช่วยเหลืออย่างแท้จริง โดยกรมประมงจะนำประเด็นนี้ไปหารือกับคณะทำงานเพื่อดำเนิน โครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซล สำหรับชาวประมงพื้นบ้านในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร โดยมีตัวแทน จากกรมประมงเข้าไปเป็นในคณะทำงานนี้ด้วย

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ จะนำไปหารือ สมาคม สมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อไปรับฟังความเห็นจาก ถ้ามีความคิดเห็นที่ตรงกัน ก็สามารถเดินหน้าต่อได้เต็มที่ เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนที่ทำประมงพื้นบ้านด้วย รวมทั้งกระทรวงได้ตั้งงบประมาณที่จะสนับสนุนการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรมาอย่างต่อเนื่อง โดยจุดประสงค์เพื่อจะอุดหนุนไปยังองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมประมง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มการผลิตด้านประมง ซึ่งโครงการต่างๆ องค์กรชุมชน จะได้รับอุดหนุนไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 ส่วนปี 2568 จะได้รับจัดสรรงบประมาณมาประมาณ 200 กองทุน ดังนั้นองค์กรชุมชนท้องถิ่นจะสามารถนำงบประมาณตรงนี้ไปใช้ในเรื่องของการเพิ่มผลผลิตให้กับสัตว์น้ำ เรื่องของธนาคารสัตว์น้ำ การพัฒนาอาชีพทางด้านการประมง หรือการเปลี่ยนและซ่อมแซมเครื่องมือประมงได้

“ในส่วนความห่วงใยของเพื่อนสมาชิกในส่วนของกองทุนประกันภัยแก่ประมงพื้นบ้าน เพื่อช่วยเหลือในกรณีอุบัติเหตุหรือในกรณีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ต้องยอมรับว่า เงื่อนไขในกรมธรรม์อาจจะยังไม่เป็นที่พอใจสำหรับพี่น้องที่เป็นชาวประมงพื้นบ้านมากนัก เพราะว่ามีอุปสรรคหลายอย่าง เช่น การชดเชยความสูญเสียจากธรรมชาติหรือว่าภัยพิบัติ จะต้องดูในเรื่องของระเบียบทางราชการ ซึ่งต้องเป็นการประกาศภัยพิบัติระดับจังหวัดเท่านั้น ถ้าเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเฉพาะพื้นที่ผมเชื่อว่าทางจังหวัดก็ไม่สามารถประกาศเป็นภัยพิบัติได้ ทำให้ไม่สามารถรับค่าสินไหมทดแทนได้ แต่ขณะนี้กรมประมงอยู่ระหว่างการเจรจาในเรื่องนี้ เพื่อจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้สามารถครอบคลุม หรือว่าดูแลเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น“

นายอรรถกร กล่าวต่อด้วยว่า กรมประมงกำลังทำร่างใหม่ เพื่อเสนอไปที่กรมบัญชีกลาง เช่น ชดเชยเวลาเกิดความเสียหาย ก็ชดเชยตามความยาวของเรือ แต่ที่เรากำลังจะนำเสนอเป็นการชดเชยตามปริมาตรความจุของเรือ หรือแม้แต่เรื่องของอัตราการช่วยเหลือในกรณีที่เสียหาย จะจ่ายไม่เกิน 20,000 บาท แต่เราจะเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 การช่วยเหลือเยียวยาประมาณ 10,000 แล้วก็ปรับขึ้นเป็น 15,000 บาท หรือแม้แต่ในกรณีที่เรือจมนะที่สามารถจ่ายได้ไม่เกิน 66,000 บาท แต่ร่างใหม่สามารถเพิ่มขึ้นมาเป็นจ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท

ส่วนการจ่ายเงินเยียวยาให้กับชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดระยองนั้น กรมประมงมีนโยบายในการที่จะดำเนินการช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านมาตลอด โดยมีกิจกรรมต่างๆที่ช่วยเหลือดำเนินการในพื้นที่ ๆ จะร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนแล้วก็พัฒนาให้พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงซ่อมแซมธนาคารปูม้า สนับสนุนการจัดหาเครื่องมือประมง สนับสนุนอุปกรณ์ซ่อมเรือ หรือแม้แต่กิจกรรมในการผลิตลูกพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ เราจะต้องลงไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการหาทางออก ที่ทำให้ทุกฝ่ายพึงพอใจ โดยไม่ผิดกฎหมาย

“ร.อ.ธรรมนัส ให้ความสำคัญและลงไปประชุมกับพี่น้องชาวประมงพาณิชย์ที่ต้องการที่จะขายเรืออยู่เรื่อยๆ ตอนนี้ผมเชื่อว่า อยู่ในกระบวนการในการที่จะหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายพึงพอใจ ก็คงจะใช้เวลาสักนิดนึง แต่ผมเรียนด้วยความเคารพว่า พวกผมก็ต้องต่อสู้ในฐานะเป็นนักการเมือง ร.อ.ธรรมนัส ก็เป็นนักการเมือง เราก็ต่อสู้เพื่อที่ประชาชนจะได้รับสิ่งที่เขาสามารถได้รับกลับมาให้เหมาะสม ท่านไม่ต้องกังวลใจ เราในฐานะกระทรวงเกษตรฯ เราจะทำตรงนี้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและรอบคอบที่สุด” นายอรรถกร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 กรกฎาคม 2567