โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรมพรรค

“พล.อ.ประวิตร”มอบ สปก. 4-01 หนุนที่ทำกินเกษตรกรบ้านช่องโคพัฒนา

,

“พล.อ.ประวิตร”มอบ สปก. 4-01หนุนที่ทำกินเกษตรกรบ้านช่องโคพัฒนาร่วมเปิดป้ายหมู่บ้าน“พิมายอุดมสุข”เมืองโคราชเน้นวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

“บิ๊กป้อม” นำคณะ พปชร. “ธรรมนัส-นฤมล” ลงพื้นที่โคราช พร้อมเปิดหมู่บ้าน “พิมายอุดมสุข” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมอบ สปก. 4-01 แก่ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรช่องโคพัฒนา อ.พิมาย ย้ำเร่งแก้ปัญหาช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน ให้มีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยครอบคลุมทั่วประเทศโดยเร็ว

วันที่ 27ธันวาคม 2564 เวลาประมาณ 9.30น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและในฐานะหัวหน้าพรรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) นำคณะตรวจราชการในพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา พร้อมกันนี้ยังมี พล.อ.วิชญ์ เทพหัสติน ณ อยุธยา ,พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ,ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพปชร.,ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรค นายอธิรัช รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม และ นายประสาน หวังรัตนปราณี ผช.รมต.ประจำนร.ร่วมลงพื้นที่ด้วย

โดยจุดแรก ได้เดินทางไป ณ บริเวณวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรฐานราก ช่องโคพัฒนา ต.รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา โดยมี พลตำรวจเอก เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ประธานกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมตัวแทนหน่วยงานราชการ และนายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรคพปชร.และส.ส.เอกราช ช่างเหลา ,ส.ส.เกษม ศุภรานนท์และคณะส.ส.ในพื้นที่คอยให้การต้อนรับภายใต้มาตรการป้องกันโควิด-19 เข้มงวด

ทั้งนี้ พลเอก ประวิตร ได้รับฟังรายงาน ความคืบหน้าและความสำเร็จ ของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (บจธ.) ที่ให้การช่วยเหลือประชาชนให้มีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของตนเอง และ โครงการแก้ปัญหาการสูญเสียสิทธิ์ในที่ดินทำกินของเกษตรกรและผู้ยากจน โดยสนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกร นำไปไถ่ถอนที่ดิน จากการจำนอง ขายฝาก เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรกลับมามีที่ดินทำกินและที่อาศัยของตนเองแล้ว 387 ราย การรช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาที่ดิน จากนโยบายรัฐโดยสนับสนุนสินเชื่อจัดซื้อที่ดินให้ผู้ได้รับผลกระทบในรูปแบบแปลงรวมถือกรรมสิทธิ์ร่วม ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่และ โครงการธนาคารที่ดินนำร่องในพื้นที่ 5 ชุมชน ให้เกษตรกรและผู้ยากจน มีที่ดินทำกินที่เหมาะสมตามรูปแบบที่กำหนดจำนวน 500 ครัวเรือน

ทั้งนี้ พลเอกประวิตร ทำพิธีเปิดป้ายหมู่บ้าน “พิมายอุดมสุข” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมอบสิทธิ์ในที่ดินทำกินแก่ ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานราก ช่องโคพัฒนา อำเภอพิมาย ให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน สปก. 4-01 จำนวน 3,250 ฉบับ และเยี่ยมชมตลาดนัดชุมชนผลผลิตของเกษตรกร ตามหลักทางเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่ความยั่งยืน

โดยพลเอกประวิตร กล่าวว่า ขอบคุณ บจธ.ที่เร่งขับเคลื่อนแก้ปัญหาช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนในการแก้ปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านเศรษฐกิจฐานรากที่ต้องการให้การบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม พร้อมย้ำว่า ยังมีเกษตรกรและผู้ยากจนอีกจำนวนมาก ที่ไร้ที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน ขอให้เร่งขยายผลความสำเร็จดังกล่าว ให้ครอบคลุมทั่วประเทศโดยเร็วและขอให้พี่น้องประชาชน นำที่ดินที่ได้รับไปทำประโยชน์จริง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินและเกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการที่ดินร่วมกันอย่างยั่งยืน

จากนั้นพลเอกประวิตร พร้อมคณะเดินทางไปเยี่ยมชมแปลงเกษตรตามแนวทางของเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกร กลุ่มประมงเลี้ยงปลา กลุ่มผลิตปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพ และกลุ่มผลิตผักปลอดสารพิษ ก่อนจะเดินทางต่อไปยังบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำมูล ต.ในเมือง อ.พิมาย นครราชสีมาเพื่อตรวจเยี่ยมพื้นที่เพื่อก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำมูล ตามลำดับ

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 27 ธันวาคม 2564

“พล.อ.ประวิตร” ควงเลขาฯธรรมนัส ดร.นฤมล ลงพื้นที่ จ.สมุทรสาคร

,

“พล.อ.ประวิตร” ควงเลขาฯธรรมนัส ดร.นฤมล ลงพื้นที่จ.สมุทรสาคร ติดตามสถานการณ์บริหารจัดการน้ำเพิ่มประสิทธิภาพช่วยประชาชน

พลเอกประวิตร นำคณะ”ธรรมนัส-นฤมล”ลงพื้นที่สมุทรสาคร พร้อมพบปะประชาชน และติดตามการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำท่าจีนตอนล่าง สู่การพัฒนาพัฒนาด้านอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การทำการเกษตรแบบผสมผสาน และการท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ แก้ไขปัญหาน้ำเค็ม ส่งเสริมการเกษตรผสมผสาน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ พร้อมแผนปรับปรุงซ่อมเขื่อนกันตลิ่งทรุด

วันที่ 24 ธันวาคม 2564 ที่ห้องประชุมเทศบาลนครอ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุมติดตามการบริหารจัดการน้ำและแนวทางการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำท่าจีนตอนล่าง ทั้งนี้ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)และ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรค ลงพื้นที่ด้วย โดยมีนายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กและนางจอมขัวญ กลับบ้านเกาะ ส.ส.เขต 3 พปชร.สมุทรสาคร นำคณะส.ส.พื้นที่และตัวแทนส่วนราชการต่างๆคอยให้การต้อนรับ ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด-19 เคร่งครัด

การลงพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ในวันนี้ เพื่อเร่งรัดติดตามการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำท่าจีนตอนล่าง การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การทำการเกษตรแบบผสมผสาน และการท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ เนื่องจากที่ลุ่มน้ำท่าจีนตอนล่างมักประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดสำหรับการเกษตร ปัญหาคุณภาพน้ำและการรุกตัวของน้ำเค็มบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลจากการทำอุตสาหกรรมประมงและโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐบาลได้เร่งให้ทุกภาคส่วนร่วมบูรณาการแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำในเชิงพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยมอบหมายให้ สทนช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ เสริมความมั่นคงของคันกั้นน้ำให้ได้ตามมาตรฐาน และให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเร่งจัดทำแผนการปรับปรุงซ่อมแซมเขื่อนป้องกันตลิ่งริมคลองอ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
รวมทั้งให้กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการภายใต้ 9 แผนหลักเจ้าพระยาให้เป็นรูปธรรม ควบคู่ไปกับการสร้างการรับรู้และปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในระดับท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ และนำไปสู่การแก้ไขในระดับประเทศต่อไป

นอกจากนี้ พลเอกประวิตร พร้อมคณะได้เดินทางจากเทศบาลนครอ้อมน้อย ไปยังประตูระบายน้ำคลองอ้อมน้อย เพื่อตรวจสอบแนวเขื่อนป้องกันตลิ่งริมคลองอ้อมน้อยที่ชำรุดเสียหายและเยี่ยมพบปะประชาชน พื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร รวมทั้งเดินทางไปตรวจระบายน้ำประตูระบายน้ำคลองอ้อมน้อย ไปยัง เพื่อดูความพร้อมของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพสถานีสูบน้ำภาษีเจริญ ต.ตลาดกระทุ่มแบน อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เพื่อเยี่ยมชมและตรวจติดตามความก้าวหน้าโครงการเพิ่มประสิทธิภาพสถานีสูบน้ำภาษีเจริญ ตามลำดับ

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 24 ธันวาคม 2564

“พล.อ.ประวิตร” มอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะ 15 แห่ง พัฒนาเมืองแห่งอนาคต

,

“พล.อ.ประวิตร” มอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะ 15 แห่ง พัฒนาเมืองแห่งอนาคตด้วยเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทยแก่ผู้พัฒนาเมืองที่ได้รับการประกาศรับรองเป็นพื้นที่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) จำนวน 15 เมือง โดยมี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ผู้แทนจากสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย และผู้เกี่ยวข้องร่วมในพิธีฯ ซึ่งทั้งหมดปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดและการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างเคร่งครัด

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ขอแสดงความยินดี และมอบนโยบายการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ โดยระบุว่า การขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทยจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยมี ดีป้า เป็นหัวเรือหลักในการบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเจ้าของพื้นที่ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการเมืองในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการใช้ชีวิตของประชาชน สอดคล้องกับเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีที่ต้องการให้เกิดการกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม ลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลฯ โดย ดีป้า ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในทุกภูมิภาคทั่วประเทศมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับ ทิศทางการพัฒนาประเทศตามแนวทางขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ ส่งผลให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม มีมติเห็นชอบแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จำนวน 5 เมือง และเห็นชอบเพิ่มอีก 10 เมืองในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 23 กันยายน ซึ่งทั้งหมดผ่านการพิจารณาการประกาศมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะจากที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่มี พลเอก ประวิตร เป็นประธาน

ดร.ณัฐพล กล่าวว่า เมืองอัจฉริยะทั้งหมดจะก่อให้เกิดโอกาสการลงทุนเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่จากภาคเอกชน มูลค่ารวมกว่า 40,000 ล้านบาท สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนไทยได้มากกว่า 16 ล้านคน ซึ่ง ดีป้า พร้อมที่จะดำเนินการร่วมกับเจ้าของพื้นที่ในการให้คำปรึกษา ขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วประเทศ ผ่านเกณฑ์การพิจารณา ประกอบด้วย การกำหนดพื้นที่และเป้าหมายที่ชัดเจน มีแนวทางพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมือง มีระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูลเมืองที่ปลอดภัย มีบริการเมืองอัจฉริยะตามลักษณะ 7 ด้าน คือ Smart Environment, Smart Living, Smart People, Smart Mobility, Smart Governance, Smart Living และ Smart Energy นอกจากนี้ ยังมีการคัดเลือกตัวแทนคนรุ่นใหม่ 30 คนจากทั่วประเทศเป็น ‘นักส่งเสริมดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ (The Smart City Ambassadors)’ เพื่อร่วมพัฒนาเมืองอัจฉริยะในบ้านเกิด อีกทั้งมุ่งให้เกิดการขับเคลื่อนภาคประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 24 ธันวาคม 2564

‘บิ๊กป้อม’ คุมเข้มค้ามนุษย์ ดันไทยขึ้น เทียร์ 2 ในปี 65 ยกระดับความปลอดภัย

,

‘บิ๊กป้อม’ คุมเข้มค้ามนุษย์ ดันไทยขึ้น เทียร์ 2 ในปี 65 ยกระดับความปลอดภัยหนุนธุรกิจท่องเที่ยวคุ้มครองเด็ก

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) ครั้งที่ 4/2564 และคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.) ครั้งที่ 6/2564

โดยที่ประชุม ปคม. ได้รับทราบความคืบหน้าและแนวทางจัดตั้งศูนย์คัดแยกผู้เสียหายดอนเมือง เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ตามข้อเสนอแนะในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา (TIP Report) นำเทคโนโลยีและระบบฐานข้อมูลมาช่วยในกระบวนการคัดกรอง คัดแยกเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือ คุ้มครอง และฟื้นฟูเยียวยาสภาพจิตใจโดยยึดผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง ให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล รับทราบแผนการดำเนินงานภายใต้โครงการ ASEAN-ACT ประจำปี 2565 และรายงานสถานะการเงิน การบริหารการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การประชุมฯ ครั้งนี้ เห็นชอบร่างรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ปี 2564 เพื่อเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งให้สหรัฐฯ ใช้ประเมินจัดระดับประเทศไทยในรายงาน TIP Report ปี 2565 เห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เพื่อยึดทรัพย์อันได้มาจากการกระทำผิด เข้ากองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์และให้สามารถนำเงินไปช่วยเหลือ เยียวยา และชดใช้ให้กับผู้เสียหายได้ รวมทั้ง หลักการให้พิจารณาแนวทางปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน ให้สอดคล้องกับข้อเสนอใน TIP Report และพันธกรณีระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับเด็ก (Child Safe Friendly Tourism Project) โดยมี พล.ต.อ.ดร.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นประธาน มีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นเจ้าภาพหลัก กรมการท่องเที่ยว และกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว เป็นเลขานุการร่วม เพื่อบูรณาการภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และ NGOs ที่เกี่ยวข้อง สร้างมาตรการเชิงรุกด้านการท่องเที่ยวที่ปกป้องและคุ้มครองเด็กจากการค้ามนุษย์ และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กทุกรูปแบบ กำหนดมาตรการจูงใจด้านภาษีแก่ภาคธุรกิจ และยกระดับจากโครงการนำร่องในภูมิภาคเป็นโครงการระดับประเทศ ลบภาพลักษณ์ SEX Tourism ผลักดันการท่องเที่ยวไทยเชิงคุณภาพสู่มาตรฐานสากล รองรับการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของประเทศ

สำหรับที่ประชุม ปกค.ได้รับทราบรายงานของสำนักคดีค้ามนุษย์ สำนักงานอัยการสูงสุด โครงการนำข้อมูลหรือสถิติคดีค้ามนุษย์มาวิเคราะห์ในการป้องกันและปราบปรามดำเนินคดีค้ามนุษย์ เพื่อใช้ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ รับทราบผลงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์ผ่านช่องทางออนไลน์ของขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ที่หลอกคนไทยไปบังคับใช้แรงงานและค้าประเวณีในประเทศปลายทางเพื่อย้ำเตือนให้ประชาชนระมัดระวังมิให้ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ หรือหลงเชื่อการชักชวนให้เข้าร่วมในการกระทำความผิดซ้ำเติมคนไทยด้วยกันเอง นอกจากนี้ เห็นชอบร่างหลักสูตรการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ระยะเร่งด่วน โดยมอบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าภาพจัดอบรม ร่วมกับโครงการ ASEAN-ACT และมูลนิธิ IJM และกำชับให้หน่วยงานส่งเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และประสบการณ์เข้ามาฝึกอบรม เพื่อพัฒนาให้เป็นผู้ชำนาญการ/ เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ให้การสนับสนุนการปฏิบัติในพื้นที่ต่อไป

ด้าน พล.ต.อ.ดร.ธรรมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ภาพรวมในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ตามข้อเสนอแนะใน TIP Report มีความก้าวหน้าทั้ง 15 ข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยกระดับมาตรฐานปฏิบัติงาน (SOP) ในการคัดแยก ประเมินความช่วยเหลือ และออกใบรับรองผลกระทบทางจิตใจของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ซึ่งได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดียิ่ง ถือว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญในปี 2564 และจะเห็นผลชัดเจนในห้วงเวลาประเมินจัดลำดับเทียร์ค้ามนุษย์ในปี 2565

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ขอกำชับให้คณะอนุกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม และบังคับใช้กฎหมายให้เด็ดขาด รวมทั้งเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ เพื่อแสดงความจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป และผลักดันให้ประเทศไทยขยับขึ้นเทียร์ 2 ตามเป้าหมายในปี 2565

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 23 ธันวาคม 2564

“พล.อ.ประวิตร”ถกคณะกรรมการผังเมืองแห่งชาติผ่านร่างธรรมนูญผังเมืองฉบับแรก

,

“พล.อ.ประวิตร”ถกคณะกรรมการผังเมืองแห่งชาติผ่านร่างธรรมนูญผังเมืองฉบับแรก กำหนดทิศทางทำผังเมืองสอดรับบริบทผังเมืองประเทศยึดประชาชนได้ประโยชน์

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 โดยมีพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะรองประธานกรรมการ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะกรรมการและเลขานุการ และนายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เข้าร่วมประชุม

ทั้งนี้การประชุมคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ ครั้งนี้ มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านการผังเมืองของประเทศไทยอย่างยิ่ง เนื่องจากคณะกรรมการฯได้เห็นชอบ (ร่าง) ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ตามที่คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติได้มอบหมายให้ กระทรวงมหาดไทยโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการ ซึ่งกรมฯจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมโดยได้รับความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนกับงานผังเมืองผ่านการประชุม เชิงปฎิบัติการในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ รายภาคครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ จากนั้นจึงได้สอบถามความคิดเห็นจากหน่วยงาน/บุคคลที่เกี่ยวข้อง จำนวนกว่า 500 หน่วยงาน/บุคคล และได้นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดมาวิเคราะห์กลั่นกรอง เพื่อให้เป็นธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ที่สอดคล้องกับบริบทด้านการผังเมืองของประเทศไทยมากที่สุด โดย (ร่าง) ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองฉบับนี้ ประกอบด้วยหลักการเชิงนโยบาย 7 ข้อ หลักการพื้นฐาน 14 ข้อ และหลักการเชิงพื้นที่ 5 ข้อ รวมทั้งหมด 26 ข้อ เพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองพึงปฏิบัติ ซึ่งจะได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วจะมีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามหน้าที่และอำนาจของตน ทั้งนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองจะได้จัดทำคู่มือประกอบธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการตามธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองนี้ ต่อไป

นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ยังได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ในเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผังเมืองอีกสองเรื่อง คือ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการผังเมือง เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังความคิดเห็น การปรึกษาหารือและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการวางและจัดทำผังเมืองรวม พ.ศ. … ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบด้วยวิธีการที่หลากหลาย และสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งได้เห็นชอบ (ร่าง) รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ที่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดทำเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบถึงสภาวการณ์และผลการดำเนินการด้านการผังเมืองของประเทศที่เกิดขึ้นในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 อีกด้วย

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ถึงแม้ว่าในขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะยังไม่คลี่คลายลง แต่ภารกิจด้านอื่น ๆ ของประเทศ ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ เพื่อให้ประเทศ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสำหรับข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตต่างๆ ที่กรรมการได้ให้ไว้ในวันนี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ขอให้ฝ่ายเลขาฯ นำข้อเสนอแนะดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการ และรายงานความคืบหน้าต่อคณะกรรมการฯ ในโอกาสที่เหมาะสม ต่อไป

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 22 ธันวาคม 2564

“พล.อ.ประวิตร” เร่งแก้กฏหมายสารกระตุ้น เร่งปลดล็อกวาด้าแบนเชิญธงชาติไทย

,

“พล.อ.ประวิตร” เร่งแก้กฏหมายสารกระตุ้น เร่งปลดล็อกวาด้าแบนเชิญธงชาติไทยขึ้นเสา

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมชูปถัมภ์ ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงเสียงวิจารณ์การแก้ปัญหากรณีที่องค์กรต่อต้านสารต้องห้ามโลกหรือ (วาด้า) ลงโทษไทย ให้ระงับใช้ธงชาติไทย ในเวทีแข่งขันนานาชาติ โดยให้มีการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาให้เรียบร้อยก่อน ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งทำเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบ คาดว่าจะเรียบร้อยในเร็วๆ นี้ โดยจะแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามที่วาดาต้องการ เชื่อว่าคงไม่มีอะไร ซึ่งกรอบเวลาก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสภาฯว่าจะออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)หรือออกเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)ซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณาอยู่

“กรณีที่ระบุว่าเกิดกระแสวิจารณ์ถึงการแก้ปัญหาเพราะเมื่อนักกีฬาแข่งขันชนะในระดับนานาชาติ แต่กลับไม่ได้ชักธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสา อาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกคนไทย เรื่องนี้เคยบอกไปแล้วว่าเป็นกติกาของวาด้าซึ่งเป็นเรื่องกฎหมาย” พล.อ.ประวิตรกล่าว

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 21 ธันวาคม 2564

“พล.อ.ประวิตร” มอบหมายผู้ว่าฯทั่วประเทศแก้ปัญหาเร่งด่วนของประชาชนอยู่ดี กินดี

,

“พล.อ.ประวิตร” มอบหมายผู้ว่าฯทั่วประเทศแก้ปัญหาเร่งด่วนของประชาชนอยู่ดี กินดี บูรณาการแผนหน่วยงานรับมือผลกระทบจากภัยพิบัตทางธรรมชาติ-การแพร่ระบาดโควิด 19

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับเขตตรวจราชการที่ 1, 7, 13 และ 16 โดยมี พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ หัวหน้าคณะทำงานส่วนอำนวยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย(มท.) และเจ้าหน้าที่หน่ายงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ทั้งนี้ที่ประชุมมีเรื่องเพื่อทราบ ผลการอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ซึ่งสำนักงบประมาณได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณแล้ว และที่ประชุมรับทราบนโยบาย มาตรการและแนวทางการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้แก่ 1) มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) 2) ปัญหาสำคัญในแต่ละพื้นที่ตามที่รองนายกรัฐมนตรีเห็นสมควร เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจน (TPMAP) การบุกรุกที่สาธารณะการเตรียมการรับภัยแล้งหรือการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยราคาสินค้าเกษตรตกต่ำการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายการแก้ไขหาแรงงาน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ ปัญหาหมอกควันชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ขอให้จังหวัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ ให้จังหวัดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการ และประสานงานเพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ให้กับประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยต่างๆ และจากปัญหาการแพร่ระบาด ของโควิด19 สร้างความรับรู้ให้ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งรับฟังปัญหาข้อขัดข้องและข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่ เพื่อกำหนดแนวทาง การแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้ตรงตามความต้องการต่อไป แนวทางการสนับสนุนงบประมาณในปีนี้ ขอให้เน้นย้ำการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนให้กับประชาชนโดยน้อมนำแนวทาง ตามพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรม ให้หัวหน้าคณะทำงานกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค รวมทั้งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตรวจติดตามผลการดำเนินโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ พร้อมทั้งให้ทุกจังหวัดรายงานผลความก้าวหน้าและการเบิกจ่ายงบประมาณ ที่ได้รับการสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง ใกล้ชิด และจริงจัง ให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ศึกษารูปแบบการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการสำหรับผู้บริหารเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลดิจิทัลในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สามารถติดตามข้อสั่งการและการรายงานผลข้อมูลได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“การมอบนโยบายในครั้งนี้ จะทำให้เข้าใจถึงความห่วงใยของรัฐบาลที่มีต่อประชาชน และทำให้การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี กินดีมีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้นต่อไป”พล.อ.ประวิตรกล่าว

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 20 ธันวาคม 2564

พปชร. เตรียมยื่นร่างพ.ร.บ.อากาศสะอาดเข้าสู่สภา พร้อมเปิดตัวผู้สมัคร ต้นปี’65

,

พปชร.”เตรียมยื่นร่างพ.ร.บ.อากาศสะอาดเข้าสู่สภา พร้อมเปิดตัวผู้สมัคร ส.ก.ครบ50เขตต้นปี’65

พปชร. ภาคกทม. ประชุมว่าที่ผู้สมัครสภากรุงเทพมหานคร(ส.ก.) วันนี้ เผยคืบหน้าคัดเลือกผู้สมัคร”ส.ก.”แล้ว 90% เตรียมเปิดตัวครบทั้ง 50 เขตต้นปี 2565 ด้านส.ส. กทม. เตรียมยื่นร่างพ.ร.บ.อากาศสะอาดเพื่อประชาชน พ.ศ……ยกระดับสิ่งแวดล้อมเพื่อคนกรุงฯและประชาชนทั้งประเทศ

20 ธ.ค.64 ที่ทำการใหญ่พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กทม.เขต30 ในฐานะหัวหน้าภาคกทม. พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า วันนี้ในการประชุมว่าที่ผู้สมัครสภากรุงเทพมหานคร(ส.ก.) จะแจ้งมติคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมาในการที่พรรคจะส่งว่าที่ผู้สมัครส.ก. ในนามพรรคพลังประชารัฐทั้ง 50 เขต โดยขณะนี้การคัดเลือกบุคคลเพื่อลงสมัครได้ดำเนินการไปแล้วกว่า 90% คาดว่าจะมีรายชื่อครบทั้งหมดและสามารถแถลงเปิดตัวอย่างเป็นทางการได้ในช่วงต้นปี2565

นอกจากนี้ คณะทำงานภาค กทม.ยังได้ให้ส.ส.กทม.ของพรรคเตรียมยื่นร่างพ.ร.บ.อากาศสะอาดเพื่อประชาชนพ.ศ…… เข้าสู่การพิจารณาของสภา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานด้านนโยบายเพื่อคนกทม.และคนไทยทั้งประเทศ ในการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนหรือ PM 2.5 ซึ่งหัวใจของร่างกฎหมายดังกล่าวถือว่าอากาศสะอาดเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนต้องเข้าถึงได้ และจะให้อำนาจจังหวัดรวมถึง กทม.ในการแก้ปัญหาอากาศพิษที่เกิดจากแหล่งก่อมลพิษทั้งหลาย และมีบทลงโทษที่ชัดเจนกับผู้ที่เป็นสาเหตุของปัญหา

“ผมได้ย้ำกับว่าที่ผู้สมัคร ส.ก.ทุกท่าน ว่าการทำงานของภาคกทม.จะเน้นการผลิตนโยบายสำคัญเพื่อคนกรุงเทพฯ และว่าที่ส.ก.ทุกคนต้องลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชนกทม.อย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าหากถึงเวลาคัดสรรผู้สมัครผู้ว่าราชการกทม. จะหาคนที่มีแนวคิดและนโยบายที่ใกล้เคียงกับนโบบายที่ภาคกทม.ได้จัดเตรียมไว้” นายจักรพันธ์กล่าว

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 20 ธันวาคม 2564

รมว.ตรีนุช ย้ำโรงเรียนคุณภาพสร้างเครือข่ายพัฒนานักเรียน สานต่อโรงเรียนคุณภาพ

,

รมว.ตรีนุช ย้ำโรงเรียนคุณภาพสร้างเครือข่ายพัฒนานักเรียน

“ตรีนุช”เดินหน้าสานต่อโรงเรียนคุณภาพ ย้ำการจัดการศึกษามีผู้เรียนเป็นเป้าหมายแห่งการพัฒนา ต้องสร้างเครือข่ายให้ทุกภาคส่วน ร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้หลักความปลอดภัย

วันนี้(18 ธ.ค.) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.ที่ผ่านมาตนได้ไปเป็นประธานเปิดงาน “ TUB-UBON : มิติใหม่โรงเรียนคุณภาพมัธยมศึกษา ” ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี ได้ชมการแสดงโปงลางของนักเรียน และ นิทรรศการหลักสูตรที่หลากหลาย อาทิ ห้องเรียนพิเศษ ห้องเรียน E-Sport, ห้องเรียนภาษาต่างประเทศ, ห้องเรียนฟุตบอล, ห้องเรียนศิลปะ ทำให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลายของนักเรียน รวมถึงห้องเรียนทวิศึกษา ที่จัดการเรียนการสอบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) บวกกับ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งทำให้นักเรียนสายสามัญศึกษา ได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสการเรียนในสายอาชีพ ซึ่งเป็นการช่วยเสริมจุดแข็งให้ผู้เรียน ได้มีทั้งองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานและการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21

“ดิฉันขอชื่นชมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ได้ผลักดันเรื่องการสร้างความเชื่อมั่น ไว้วางใจให้กับสังคม หรือ TRUST ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คือ เรื่อง “โรงเรียนคุณภาพ” โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี หรือ TUP-UBON เป็นตัวอย่างของโรงเรียนมัธยมคุณภาพประจำจังหวัดที่มีความน่าเชื่อถือ โดยเห็นได้จากการออกแบบหลักสูตรที่มีความหลากหลาย เพื่อรองรับศักยภาพและความต้องการของผู้เรียนที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามดิฉันฝากให้เน้นย้ำถึงหลักใหญ่ ของการพัฒนาโรงเรียนมัธยมคุณภาพประจำจังหวัด คือ ทำอย่างไรให้โรงเรียนมีคุณภาพ และได้มาตรฐานตามบริบทของตนเอง ลดความเหลื่อมล้ำให้เกิดความเท่าเทียม มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เน้นผู้บริหารและครูที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้เรียน ซึ่งการสร้างเครือข่ายของโรงเรียนเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ ” รมว.ศธ.กล่าว

นางสาวตรีนุช กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ตนยังได้เป็นประธานเปิดงาน “การเปิดตลาดน้ำซับ@UBN4 เวทีคนอวดดี อวดเก่ง อวดรู้ สู่อาชีพ”ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) อุบลราชธานี เขต 4 ด้วย ซึ่งพบว่า สพป.4 ได้นำนโยบายของ ศธ. และที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มอบไว้มาปฏิบัติเป็นรูปธรรม ทั้งรูปแบบการทำงาน TRUST 12 นโยบายการจัดการศึกษา 7 วาระเร่งด่วน รวมถึง สพฐ.วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ การใช้พื้นที่เป็นฐาน ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน โดยทาง สพป.เขต 4 ได้นำแนวนโยบายดังกล่าวมาพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PARA MODEL หรือ การเรียนรู้แบบคู่ขนาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา ทั้ง 5 ON โดยเน้นความปลอดภัยของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งช่วยพลิกวิกฤตในการจัดการศึกษา ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ผู้เรียนไม่พลาดโอกาสที่จะเรียนรู้ และยังได้สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์

ทั้งนี้ การจัดการศึกษามีผู้เรียนเป็นเป้าหมายแห่งการพัฒนา เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และเป็นโจทย์สำหรับทุกเขตพื้นที่ฯ ที่จะต้องแสวงหาวิธีการ ที่จะทำให้ผู้เรียนของเรามีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้หลักความปลอดภัย วันนี้นอกเหนือไปจากการเรียนรู้แล้วจะต้องคิดถึงการต่อยอดองค์ความรู้ ออกมาเป็นทักษะ ออกมาเป็นผลงาน ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ หรือสร้างรายได้ให้กับผู้เรียน เพื่อให้การพัฒนาทักษะอาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อสร้างอาชีพอย่างแท้จริง

นางสาวตรีนุช กล่าวด้วยว่า วันนี้เรากำลังอยู่ระหว่างการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ซึ่งตนได้ติดตามข้อมูลการแพร่ระบาดในสถานศึกษาของแต่ละจังหวัดมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินความพร้อม รวมถึงกำหนดมาตรการที่จำเป็น เพื่อช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ซึ่งทราบว่า จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวนโรงเรียนที่เปิดเรียนเแบบ On-site ถึง 238 โรงเรียน มากเป็นอันดับ 6 ของประเทศ แต่หากมองเป็นเปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับจำนวนโรงเรียนทั้งจังหวัดที่มีอยู่ทั้งหมด 1,268 โรงเรียนแล้ว ก็คิดเป็น 19% เท่านั้น ซึ่งนับว่ายังต้องช่วยกันสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ปกครอง และประชาชนให้มากขึ้น ซึ่งการเข้ารับวัคซีน ก็เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยให้ทุกคนผ่านพ้นสถานการณ์ในครั้งนี้ไปด้วยกัน

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 18 ธันวาคม 2564

“พล.อ.ประวิตร”ลงพื้นที่จ.สุราษฎร์ธานี-ชุมพร เร่งเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม

,

“พล.อ.ประวิตร”ลงพื้นที่จ.สุราษฎร์ธานี-ชุมพร เร่งบูรณาการหน่วยงานเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี และจ.ชุมพร ที่ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคใต้ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีกล่าวต้อนรับ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติรายงานสถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ ผู้แทนสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) รายงานการคาดการณ์สภาพอากาศในพื้นที่ภาคใต้ ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสรุปการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ก่อนเดินทางไปตรวจเยี่ยมพบปะให้กำลังใจประชาชนที่รับผลกระทบจากน้ำท่วมพร้อมมอบถุงยังชีพ ในพื้นที่ตลาดท่าชนะ ต.สมอทอง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี จากนั้นรองนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะได้เดินทางต่อไปยังศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดชุมพร (ส่วนหน้า) ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร โดย ผวจ.ชุมพร กล่าวต้อนรับและรายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) รายงานการปฏิบัติหน้าที่เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดชุมพร พร้อมเยี่ยมประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและมอบถุงยังชีพ ณ ที่ว่าการอำเภอทุ่งตะโก ต.ทุ่งตะไคร อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร ตามลำดับ

พล.อ.ประวิตร กล่าวมอบนโยบายแก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและเน้นย้ำในโอกาสตรวจเยี่ยมให้กำลังใจประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.ชุมพร ว่า ขณะนี้ภาคใต้ของประเทศไทยยังได้รับอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง ทำให้มีฝนตกหนัก ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่หลายจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งรัฐบาลมีความห่วงใยและตระหนักถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัย จึงได้ตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และที่ ศอ.บต. จังหวัดยะลา เพื่อคาดการณ์และแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำได้อย่างทันท่วงที และรัฐบาลจะเร่งขับเคลื่อนแผนแม่บทน้ำฯ 20 ปี เพื่อให้แก้ไขปัญหาน้ำในทุกพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน

จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องบูรณาการความร่วมมือดำเนินการ 3 ส่วนหลัก คือ 1.เร่งรัดบูรณาการให้ความช่วยเหลือ ซ่อมแซมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของผู้ประสบภัย รวมทั้งเร่งสำรวจความเสียหาย ฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ 2.ให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ วางแผนการระบายน้ำพื้นที่ชุมชน ควบคู่กับการวางแผนเก็บน้ำสำรองไว้รองรับในช่วงฤดูแล้งด้วย และ 3. เร่งรัดโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับงบประมาณให้เสร็จโดยเร็ว โดยเฉพาะโครงการที่ได้รับงบกลางจากรัฐบาลไปให้สามารถช่วยเหลือ และลดผลกระทบให้กับประชาชนให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด

ทั้งนี้สถานการณ์น้ำท่วมและพื้นที่ประสบภัยพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันพบว่า ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่ 1 จังหวัด ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี รวม 2 อำเภอ ได้แก่ อ.พุนพิน และ อ.บ้านนาเดิม ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งให้การให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการเร่งระบายน้ำเพื่อลดผลกระทบโดยเร็ว รวมถึงการมอบถุงยังชีพ รถผลิตน้ำดื่มเพื่อบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กอนช.ยังคงติดตามสถานการณ์ คาดการณ์พื้นที่เสี่ยง เพื่อประสาน กำกับติดตาม หน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 14 ธันวาคม 2564

รมช. อธิรัฐ ร่วมเปิด ระบบ EMV Contactless แตะ-จ่ายค่าทางด่วน แบบ New Normal

,

“รมช. อธิรัฐ ร่วมเปิด ระบบ EMV Contactless แตะ-จ่ายค่าทางด่วน แบบ New Normal”

วันที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 14.00 น. ณ ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษสะพานพระราม 7 ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ดร. อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการระบบชำระค่าผ่านทางด้วยเทคโนโลยี EMV Contactless (Europay Mastercard and Visa) โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานฯ และผู้บริหารกระทรวงคมนาคมร่วมในพิธี

EMV ทำให้ผู้ใช้ทางด่วน ชำระค่าผ่านทางด้วยบัตรใบเดียว จ่ายได้ทั้งบัตรเดบิตและบัตรเครดิตทุกธนาคาร เลี่ยงการใช้เงินสดที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ร่วมกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ร่วมพัฒนาระบบฯ โดย ->ขับรถเข้าช่องเงินสด->ลดกระจก ->แตะบัตร ตรงสัญลักษณ์ “Contactless” ระบบได้ติดตั้งเครื่องอ่านข้อมูล EDC มีความแม่นยำสูง อนาคตจะพัฒนาเป็นระบบไม่มีไม้กั้น (M –Flow) และระบบตั๋วร่วม ต่อไป

ปัจจุบันได้เปิดให้บริการ 5 สายทางพิเศษแล้ว ได้แก่ เฉลิมมหานคร(ด่วนขั้น 1) ศรีรัช(ด่วนขั้น 2) ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ อุดรรัถยา(บางปะอิน – ปากเกร็ด) และกาญจนาภิเษก (วงแหวนใต้) ได้รับผลตอบรับจากผู้ใช้บริการฯ เป็นอย่างดี

ความร่วมมือ 3 องค์กร ได้รองรับสถานการณ์แบบ New Normal ตามนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรี ให้มีความพร้อมทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ประชาชนมีการเดินทางที่สะดวกสบาย และปลอดภัยคมนาคมเชื่อมโยง ประชาชนเชื่อมใจ เชื่อมต่อทั่วไทย ใกล้ไกลถึงกัน

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 13 ธันวาคม 2564

รมช.อธิรัฐ ร่วมผลักดันประเทศไทยได้รับเลือกคณะมนตรี IMO สมัยที่ 9

,

“รมช.อธิรัฐ ร่วมผลักดันประเทศไทยได้รับเลือกคณะมนตรี IMO สมัยที่ 9”เดินหน้าปฎิบัติการความปลอดภัยการเดินเรือ คุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564 ที่ประชุมสมัชชา สมัยสามัญ ครั้งที่ 32 ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) ได้เลือกตั้งคณะมนตรี IMO วาระปี พ.ศ.2565-2566 ที่สำนักงานใหญ่ IMO ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งประเทศไทยได้รับเลือกจากประเทศสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งคณะมนตรี IMO กลุ่ม C ด้วยคะแนนเสียง 107 เสียง เป็นอันดับที่ 19 ของประเทศที่ได้รับเลือกตั้งทั้งหมด 20 ประเทศ จากรัฐสมาชิกที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงทั้งหมด 160 ประเทศ ส่งผลให้ไทยได้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องเป็นวาระที่ 9 สำหรับประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ นอกจากเข้าไปทำหน้าที่ตรวจสอบ กำกับดูแล และติดตามงานของ IMO แล้วยังมีส่วนในการกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ คนประจำเรือ และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมถึงการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก และในโอกาสนี้ผมต้องขอขอบคุณทุกๆฝ่าย ได้ร่วมมือกันผลักดันจนประเทศสมาชิกให้ความเชื่อมั่นและไว้วางใจเลือกประเทศไทยเป็นสมาชิกคณะมนตรี IMO อีกสมัย

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 11 ธันวาคม 2564