โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: ข่าวกิจกรรม

งานประเพณีการทอดกฐินสามัคคีซึ่งเป็นงานบุญประจำทุกปี ณ วัดวังหอนพุธาราม

,

ด้วยความห่วงใยจึงมีน้ำใจร่วมเดินทางไปด้วยกันทุกที่

วันนี้ 13 พ.ย. 2564 ส.ส.นายอำเภออาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วยคณะทำงาน ลงพื้นที่ ร่วมงานประเพณีการทอดกฐินสามัคคีซึ่งเป็นงานบุญประจำทุกปี ณ.วัดวังหอนพุธาราม ตำบลวังอ่าง และวัดโคกทราง ตำบลนางหลง ซึ่งได้ร่วมเป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งได้รณณรงค์เรื่องโควิด-19 และมอบแมสให้กับผู้มาร่วมงาน และเจ้าหน้าที่ อ.ส.ม., หน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น เสร็จจากงานทอดกฐิน ได้เดินทางเยี่ยมชาวบ้าน ม.6 ตำบลท่าประจะ สำรวจเรื่องน้ำและระหว่างทางได้มอบแมสเพื่อรณรงค์เรื่องโรคโควิด-19 ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณผู้มีจิตศรัทธาและผู้สนับสนุนสิ่งของต่างๆ มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ

ด้วยความห่วงใยจากใจ ส.ส.อาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ พรรคพลังประชารัฐ

#มุ่งมั่น
#ตั้งใจ
#แก้ไขทุกปัญหาประชาชน

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 13 พฤศจิกายน 2564

“บิ๊กป้อม” ห่วงใย เกษตรกรผู้ปลูกลำไย ที่ได้รับผลกระทบของโรคโควิด-19

,

“บิ๊กป้อม” ห่วงใย เกษตรกรผู้ปลูกลำไย ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ราคาลำไยตกต่ำขณะที่ต้นทุนสูงขึ้น สั่งด่วน ‘ธรรมนัส’ ลงพื้นที่เชียงราย เพื่อนำข้อเรียกร้องขอเยียวยา
ไร่ละ 2,000 บาท เสนอรัฐบาลทันที

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.30 น. ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุมผู้นำเกษตรกรผู้ปลูกลำไยภาคเหนือ 8 จังหวัด โดยมี นายมานพ จินะนา ประธานสภาอาชีพเกษตรกร (สอก.) กล่าวรายงาน และนำคณะ รวมถึงตัวแทนเกษตรกรชาวสวนลำไยภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก

โดย ร้อยเอก ธรรมนัสฯ กล่าวว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่มีความห่วงใยพี่น้องชาวสวนลำไยภาคเหนือ 8 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ราคาลำไยตกต่ำ ขาดแคลนแรงงาน การส่งออกลำไยมีปัญหา ปุ๋ยยามีราคาแพง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น จึงมอบหมายให้ตนเอง มาพบปะพี่น้องเกษตรกรชาวสวน ซึ่งเปรียบเสมือน พี่น้องร่วมสายเลือด ‘คนเมืองลูกข้าวนึ่ง’ ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ซึ่งลำไย คือ ‘เส้นเลือดใหญ่’ ของชาวภาคเหนือ มายาวนาน ดังนั้นเส้นเลือดใหญ่นี้ จะต้องได้รับการดูแล ฟูมฟักและพัฒนาลำไยให้เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคเหนือ เราต้องทำให้ได้

โดยวันนี้ ยังได้รับหลักฐานประจักษ์ชัด คือการลงลายมือชื่อของสมาชิกสภาอาชีพเกษตรกร(สอก.) ภาคเหนือทั้ง 8 จังหวัด มากถึง 111,000 รายชื่อ เพื่อขอทราบผลการเยียวยาไร่ละ 2,000 บาท และการเสนอร่างกฎหมาย พ.ร.บ. ลำไย พ.ศ….อีกด้วย

ร้อยเอก ธรรมนัสฯ ยืนยันว่า จะเร่งนำข้อเสนอของสภาอาชีพเกษตรกร นำเสนอต่อพลเอก ประวิตรฯ โดยด่วนที่สุด เพื่อพิจารณาและประสานหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อเยียวยาพี่น้องเกษตรกรชาวสวนลำไย ไร่ละ 2,000 บาท เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการผลิตลำไยฤดูกาลใหม่นี้ โดยคาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2565 ให้แก่เกษตรกรชาวสวนลำไย และในฐานะเลขาธิการพรรค แกนนำรัฐบาล จะนำเสนอกฎหมาย พ.ร.บ.ลำไยให้รัฐสภาดำเนินการต่อไป

“ผมพร้อมเสมอที่จะรับฟังปัญหาทั้งด้านเกษตร ด้านเศรษฐกิจ และด้านอื่น ๆ ในทุกมิติ เพราะทุกข์ของเกษตรกรคือทุกข์ของแผ่นดิน ผมสำนึกเสมอว่าผมคือเลือดเนื้อเชื้อไขของลูกข้าวนึ่ง ผมและคณะพร้อมแก้ไขทุกปัญหาให้เกษตรกรพ้นทุกข์ และผมพร้อมจะนำพวกเราเดินทางร่วมกันก้าวไปข้างหน้า เพื่อชีวิตที่ดีกว่าต่อไป” ร้อยเอก ธรรมนัสฯ กล่าว

ด้าน นายมานพ จินะนา ประธานสภาอาชีพเกษตรกร(สอก.) กล่าวว่า เกษตรกรชาวสาวลำไยภาคเหนือ 8 จังหวัด มีเครือข่ายทั้งสิ้น 115 เครือข่าย ครอบคลุมทุกจังหวัด จำนวนสมาชิกมากกว่า 250, 000 ครอบครัว พื้นที่ปลูกรวมกันมากกว่า 1.2 ล้านไร่ มีผลผลิตรวมกันมากกว่า 1 ล้านตัน และในนาม สภาอาชีพเกษตรกร ของชาวสวนลำไยภาคเหนือได้ดำเนินการขอรับการช่วยเหลือเยียวยาภายหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม-กันยายน 2564 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด -19 ทำให้ราคาลำไยตกต่ำ ขาดแคลนแรงงาน การส่งออกลำไยมีปัญหา ปุ๋ยยามีราคาแพง ชาวสวนลำไยขาดทุนอย่างแสนสาหัส และได้นำปัญหาดังกล่าวเสนอต่อ คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรมสภาผู้แทนราษฎร พร้อมยื่นหนังสืขอความช่วยเหลือเยียวยาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดใน 8 จังหวัดภาคเหนือ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา และในวันนี้พวกเราผู้นำเกษตรกรผู้ปลูกลำไยได้รวบรวมรายชื่อ 111,000 รายชื่อ เพื่อนำเสนอต่อ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะพรรคแกนนำหลักของรัฐบาล เพื่อขอทราบคำตอบดังนี้
1. เรื่องการเยียวยาให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยไร่ละ 2,000 บาท ไม่เกิน 25 ไร่ ในฤดูกาล ปี 2564 นี้ จะได้รับการเยียวยาเมื่อใด เพื่อที่จะได้นำเงินไปเป็นตันทุนการผลิตลำไยคุณภาพในฤดูกาล ปี 2565 ต่อไป
2. พวกเราขอนำรายชื่อผู้นำ สมาชิกและครอบครัวจำนวน 111,000 รายชื่อ พร้อมกับ (ร่าง) พ.ร.บ.ลำไย พ.ศ….เสนอต่อพรรคการเมืองและรัฐบาล เพื่อพิจารณาดำเนินการในกระบวนการทางรัฐสภาโดยด่วนที่สุดต่อไป ให้สมกับคำว่า “ลำไยคือ พืชเศรษฐกิจของภาคเหนือ ข้าวภาคกลาง ยางภาคใต้ ลำไยภาคเหนือ”

“ทางสภาอาชีพเกษตรกร ขอขอบคุณ และขอส่งกำลังใจทั้งหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นดวงเป็นกำลังใจให้ท่านผ่านอุปสรรค์ทั้งปวง และให้ท่าน ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า “ลูกข้าวนึ่ง” ที่กล้าหาญและพร้อมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในทางก้าวหน้ามาสู่ภาคเหนือของเราอย่างเป็นรูปธรรม มีเอกภาพ มีผลงานที่จับต้องได้ โดยเฉพาะการเยียวยาชาวสวนลำไยไร่ละ 2,000 บาท ซึ่งในปีที่ผ่านมา ท่านได้ช่วยเหลือพวกเราในวงเงินสูงกว่า 3,400 ล้านบาท เราเชื่อมั่นใน สโลแกนของพรรค “ใจถึงพึ่งได้” และให้ความเชื่อมั่นในเลขาธิการพรรค ‘พูดคำไหน คำนั้น พร้อมกันนี้ขอขอบคุณท่านและคณะผ่านไปยังรัฐบาล ที่มองเห็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยภาคเหนือ และได้ให้การช่วยเหลือเป็นเบื้องต้นมาโดยลำดับ การเยียวยาเป็นการ “ต่อลมหายใจ และสร้างโอกาส” การตรากฎหมาย พ.ร.บ.ลำไย คือหัวใจของเกษตรกร” นายมานะ กล่าว

ที่มา : www.facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 13 พฤศจิกายน 2564

ส.ส. อรุณ พปชร.เขต 4 สงขลา ฝากเรื่องด่วนถึง กรมชลฯ ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย

, ,

ส.ส.อรุณ พปชร.เขต 4 สงขลา ฝากเรื่องด่วนถึง กรมชลฯ ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมพร้อมรับมือกับมรสุมคลื่นลมแรงฝนตกหนัก เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มประสิทธิภาพระบายน้ำออกทะเลอ่าวไทย สร้างเชื่อมั่นปชช.ชาวใต้ไม่เกิดน้ำท่วมซ้ำอีกเช่นทุกปี

เมื่อเร็วๆนี้ ร้อยตำรวจเอก อรุณ สวัสดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 4 จังหวัดสงขลา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ว่าเดือนพฤศจิกายน ถึงธันวาคม ของทุกปีภาคใต้ตอนล่างฝั่งตะวันออกฝั่งอ่าวไทยจะเกิด ลมพายุ มรสุมคลื่นลมแรงฝนตกหนักโดยเฉพาะพื้นที่ 4 อำเภอคาบสมุทรสทิงพระ ของจังหวัดสงขลา จะเกิดน้ำท่วมทุกปี และเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง
ดังนั้นตน ผู้นำท้องถิ่น และฝ่ายปกครอง นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้ลงพื้นที่รับฟังปัญหา และหาทางแก้ไข..นำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหา และรับทราบถึงปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากฝนที่ตกหนัก จนทำให้ได้รับผลกระทบจากการไหลผ่านของปริมาณน้ำที่มาจากจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช ลงสู่ทะเลสาบสงขลา และส่งผลให้การระบายน้ำอาจจะไม่ทัน ทำให้น้ำล้นเข้าท่วมคาบสมุทรสทิงพระที่ครอบคลุมทั้ง 4 อำเภอดังกล่าว

ทั้งนี้ยังได้รับการรายงานจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ว่าฝนตกหนักเป็นเวลา 3 วันแล้ว ตอนนี้น้ำในคลองเริ่มเต็มลำคลอง และเอ่อล้น ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลานายเจษฎา จิตรัตน์ ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันภัยฉุกเฉินอุทกภัยและวาตภัย

อีกทั้งตนยังได้เสนอแนะไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เร่งเข้ามาบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อย่างเร่งด่วน เพื่อลดผลกระทบให้กับพี่น้องประชาชนอย่างทันท่วงที โดยอยากให้กรมชลประทาน ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำเครื่องสูบน้ำ มาติดตั้งตามปากคลองต่างๆ ประมาณ 8-9 จุด ได้แก่ ปากคลองปากระวะ ตำบลคลองแดน วัดศาลาหลวงที่ตำบลท่าบอน คลองโคกทองเส้นโรงพยาบาลระโนด คลองปากแตระ คลองพังยาง คลองพังเค็ม ตำบลบ่อตรุ คลองช้าง ตำบลดีหลวง คลองสนามชัย คลองปะโอ เเละฝั่งทะเลสาบสงขลา ตรงปากครองระโนด ปากคลองเฉียงพง คลองโรง คลองกาหรำ คลองโคกพระ คลองเชิงแส คลองโหน คลองทุ่งบัว ซึ่งหากติดตั้งแล้วเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำออกสู่ทะเลอ่าวไทยลดผลกระทบน้ำท่วมขังในพื้นที่ได้อย่างแน่นอน

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 13 พฤศจิกายน 2564

“ส.ส.นิพันธ์” หารือผู้นำพื้นที่เมืองตรัง วางมาตรการคุมการระบาดโควิด-19

,

“ส.ส.นิพันธ์” หารือผู้นำพื้นที่เมืองตรัง วางมาตรการคุมการระบาดโควิด-19 พร้อมมอบถุงยังชีพส่งต่อความห่วยใยถึงปชช.

นายนิพันธ์ ศิริธร ส.ส.จังหวัดตรัง เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ

ให้การต้อนรับคณะกำนันผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ ต.นาพละ ต.นาโยงใต้ และ ต.น้ำผุด อ.เมือง เพื่อหารือถึงมาตรการควบคุมการระบาดของเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ จ.ตรัง ยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันอยู่ที่หลักร้อย กระจายในหลายตำบล พร้อมหาแนวทางการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกนี้ด้วย

“ได้มอบถุงยังชีพซึ่งบรรจุด้วยเครื่องใช้อุปโภค บริโภค และยาเวชภัณฑ์มอบให้กับตัวแทนในแต่ละตำบลนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในแต่ละครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักตัว ในโอกาสนี้ได้ให้กำลังใจผู้นำทุกท่านที่เสียสละตัวเองช่วยกันดูแลพี่น้องในประชาชนในพื้นที่ด้วย” นายนิพันธ์ กล่าว

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะหัวหน้าพรรค และร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ มีความห่วงใยประชาชนได้มอบหมายให้ ส.ส.ในพื้นที่อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเพื่อเข้าถึงการรักษาในระบบสาธารณสุข

ด้วยความห่วงใย นิพันธ์ ศิริธร ผู้แทนคนตรัง
ส.ส.ตรังเขต 1 พรรคพลังประชารัฐ

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 13 พฤศจิกายน 2564

“ส.ส.ทัศนาพร” แจกถุงยังชีพต่อเนื่อง บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยน้ำท่วม-โควิด-19

, ,

“ส.ส.ทัศนาพร” แจกถุงยังชีพต่อเนื่อง บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยน้ำท่วม-โควิด-19 ให้ชาวโคราช

นางทัศนาพร เกษเมธีการุณ ส.ส.จังหวัดนครราชสีมา เขต 8 พรรคพลังประชารัฐ ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม ใน ต.ทองหลาง (4 หมู่บ้าน) อ.จักราช จ.นครราชสีมา พร้อมนำถุงยังชีพไปมอบให้ จำนวน 800 ชุด เพื่อให้ความช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และได้รับความเดือดร้อนการแพร่ระบาดโควิด-19 พื้นที่ นอกจากนี้ได้มอบหมวก เพื่อเป็นของที่ระลึก ให้กับเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่

อย่างไรก็ตามจะเร่งมอบถุงยังชีพ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เพื่อสร้างกำลังใจให้ประชาชนในพื้นที่ให้ก้าวผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะหัวหน้าพรรค ได้เห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้ประสบภัยน้ำท่วมจึงมอบหมายให้ ส.ส.ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และนำถุงยังชีพที่พรรคสนับสนุนไปมอบให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 12 พฤศจิกายน 2564

“ดร.นฤมล” ผนึกทีม ส.ส.กรณิศ เดินหน้าช่วยเหลือชาวคลองเตย-วัฒนา

, ,

“ดร.นฤมล” ผนึกทีม ส.ส.กรณิศเดินหน้าช่วยเหลือชาวคลองเตย-วัฒนา เปิดโฉมว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. พร้อมทำงานเข้าพื้นที่แก้ปัญหาชุมชนตรงจุด

“ดร.นฤมล” พร้อมทีมงาน ลงพื้นที่ฟังเสียงสะท้อนประชาชนเขตคลองเตย-วัฒนา เพื่อแก้ปัญหาปากท้องให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวบรวมข้อมูลทุกประเด็น สู่การวางนโยบาย ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน พร้อมฝากตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. เข้ามาทำงาน ดูแลประชาชนในพื้นที่

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะตัวแทนของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ,ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วยนางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ส.ส.กรุงเทพฯ เขตคลองเตย-วัฒนา พรรคพลังประชารัฐ ได้ลงพื้นที่พร้อมกับนายต่อศักดิ์ ใหลสุวรรณ ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตคลองเตย และ นาย พลศักดิ์ แดงบัว ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.)เขตวัฒนาพบปะประชาชนพูดคุย และรับฟังปัญหาความเดือดร้อนเรื่องปากท้องประชาชนซึ่งส่วนใหญ่ในพื้นที่ดังกล่าว เป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย หาเช้ากินค่ำ และผู้ด้อยโอกาส ที่ต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุนด้านระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ซึ่งจำเป็นต้องแก้ปัญหาแบบบูรณาการทุกภาคส่วน ด้วยการผลักดันให้เป็นนโยบายเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างตรงตามเป้าหมายที่ชาวชุมชนต้องการ

ทั้งนี้ที่ผ่านมา ส.ส.ในพื้นที่ได้ดำเนินการด้านการส่งเสริมอาชีพ ควบคู่ไปกับการสร้างงานและการสร้างรายได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับโควิด 19 และยังดูแลด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จึงเข้าไปดำเนินการติดตั้งไฟส่องสว่าง ใช้ระบบโซล่าร์เซลล์ตามตรอกซอกซอยต่างๆ และ ยังช่วยเหลือการเข้าถึงระบบด้านสาธารณสุขในช่วงการแพร่ระบาด ด้วยการจัดหารถวีลแชร์ และบริการรถฉุกเฉินรับส่งผู้ป่วย เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น

ศ.ดร.นฤมล กล่าวด้วยว่า ในอนาคตเชื่อว่าพรรคพลังประชารัฐจะสามารถเข้าถึงปัญหา และรับใช้ประชาชนได้มากขึ้นเพราะ ขณะนี้ พรรคอยู่ระหว่างการจัดทัพ เพื่อที่จะมีการวางตัว ส.ก. โดยผู้สมัครทุกเขต พรรคล้วนแต่คัดสรรบุคลากร ที่มีทั้งความรู้ ความสามารถ และมีความตั้งใจจริงที่จะเข้ามาดูแลประชาชนและพัฒนาชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ ในพรรคได้มีการหารือ ร่วมกับ สส ทั้ง 12 คน ที่ต้องการให้มีการสนับสนุนผู้สมัคร สก และคนรุ่นใหม่ ที่มีความประสงค์จะเข้ามาทำงาน โดยจะเสนอไปยังพล.อ ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพปชร เพื่อนำไปสู่แผนการจัดทีมผู้สมัครในทุกเขต ผ่านการสนับสนุนของสส.และว่าที่สส. เพื่อจัดทีมการทำงานให้กับพี่น้องประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม และมั่นใจว่า ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. จะได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในพื้นที่

นอกจากนี้ยังได้มอบถุงยังชีพ “เราจะไม่ทิ้งกัน” ให้กับชุมชนในพื้นที่ ประกอบด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ซึ่งแทนความห่วงใยจาก พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่มอบหมายให้ตนเองและคณะทีมงานเป็นตัวแทนในการมอบให้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

นางกรณิศ งามสุคณธ์รัตนา ส.ส. เขตคลองเตย -วัฒนา พปชร. กล่าวว่า ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. ทั้งสองคนพร้อมที่จะเข้ามาดูแลประชาชนทั้งสองเขต ไม่ว่าจะเป็นความเดือดร้อนในเรื่องต่างๆ ทั้งด้านความเป็นอยู่ และ ด้านสุขอนามัย ซึ่งพร้อมทำงานเป็นทีม เพื่อดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง

ทั้งนี้ เห็นว่าการทำงานระดับชาติ และท้องถิ่นควรเป็นทีมเดียวกัน เวลาประชาชนร้องเรียนขอความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆจะได้มีการประสานในทีมเดียว จากท้องถิ่นไปสู่ระดับชาติ เพราะรู้ว่า ชุมชน ใน 2 เขต นี้ต้องการอะไร มีเรื่องเดือดร้อน พร้อม แก้ไขปัญหาและสนับสนุนให้ชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

“ขอขอบคุณหัวหน้าพรรคในการสนับสนุนถุงยังชีพ ถุงปันสุข ให้กับชุมชนเทพประทาน 1,000 ชุด ในครั้งนี้ เป็นการแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งชุมชนดังกล่าวมีทั้งผู้ติดเชื้อ และ ผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งเรายังทำงานอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่สมัย เป็น สก. มา 2 สมัย”

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 8 พฤศจิกายน 2564

ศ.ดร. นฤมล ลงพื้นที่บางพลัดฟังปัญหาน้ำท่วม หนุน ส.ส. จักรพันธ์ บูรณาการแผนฯ

, ,

“ศ.ดร.นฤมล” รวมพลังทีม ส.ส. และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ฝั่งธนบุรี รุดดูแลพบปะชุมชนย่านบางพลัด หลังเผชิญปัญหาน้ำท่วมฉับพลันจากน้ำทะเลหนุนสูงเข้าท่วมบ้านเรือน เร่งแผนบูรณาการประสานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก แนะบางพื้นที่ต้องเสริมแนวเขื่อนลดช่องโหว่น้ำทะลักเข้าพื้นที่

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ, นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กรุงเทพฯ เขตบางพลัด-บางกอกน้อย พรรคพลังประชารัฐ พร้อมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ประกอบด้วย พ.ต.ท.วันชัย ฟักเอี้ยง, นายศันสนะ สุริยะโยธิน, นายสิริณรินทร์ วินิจฉายะจินดา, นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา, นายอิทธิพัทธ์ เศรษฐยุกานนท์ และนายศุภวัฑฒ์ วัฒนมงคล ลงพื้นที่พบปะและตรวจเยี่ยมชุมชนในเขตบางพลัด โดยเฉพาะในชุมชนเจ้าพระสยาม, ชุมชนศาลเจ้าปุงเถ่ากง, ชุมชนจรัญฯ 66/1 และชุมชนวังเจ้าพร้อม ที่ประสบภัยน้ำท่วมจากภาวะน้ำทะเลหนุนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการประสานงานไปยังกรุงเทพมหานครและกรมชลประทาน ในการแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้าในการรับมือกับมวลน้ำที่เกิดขึ้นให้

ทั้งนี้ พปชร. เรามีความพร้อมในเรื่องของ ส.ส. และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ในการเข้ามาดูแลและช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งกลุ่ม ส.ส.ที่ทำหน้าที่ในปัจจุบัน และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่จะเข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการทำงานของพรรคฯ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำซาก จำเป็นที่จะต้องเข้าบูรณาการแก้ไขปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในฐานะที่ พปชร. เป็นแกนนำของรัฐบาล จะนำปัญหาต่างๆ เข้าสู่กระบวนการหาแนวทางช่วยเหลือในการวางแผนบริการจัดการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในระยะยาวกับประชาชน

นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กรุงเทพฯ เขตบางพลัด-บางกอกน้อย พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ในพื้นที่เขตบางพลัดและพื้นที่อื่นๆ ที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการทำโครงการสร้างเขื่อนกั้นน้ำ แต่ยังไม่สามารถทำได้ครบ 90 กิโลเมตร เนื่องจากมีบางพื้นที่เป็นของภาคเอกชน ดังนั้นอยากให้หน่วยงานรัฐโดยเฉพาะ กทม. ประสานขอความร่วมมือ เพื่อก่อสร้างเขื่อนปิดช่องว่างซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันทำได้เพียงแค่การกั้นกระสอบทรายเป็นเขื่อนชั่วคราว ซึ่งทำให้บางครั้งเกิดกระแสน้ำและคลื่นจากการสัญจรทางน้ำของเรือทำให้กระสอบทรายได้รับความเสียหาย ทำให้น้ำทะลักเข้าสู่บ้านเรือนประชาชน

ดังนั้น ส.ส. และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. จะนำปัญหาเหล่านี้ไปสู่การเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในกรุงเทพฯ และฝั่งธนบุรี เพราะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้จัดถุงยังชีพในโครงการ “เราจะไม่ทิ้งกัน” ที่พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคฯ ที่มีความห่วงใยประชาชน และเน้นย้ำถึงปฏิบัติการการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนที่ประชาชนได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นในครั้งนี้

ที่มา : www.dailynews.co.th
เมื่อวันที่ : 9 พฤศจิกายน 2564

“ตรีนุช” สนับสนุนยุทธศาสตร์ยูเนสโก ว่าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

,

“ตรีนุช” สนับสนุนยุทธศาสตร์ยูเนสโก

รัฐมนตรีศึกษาฯ ร่วมประชุมสมัยสามัญยูเนสโก ที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส สนับสนุนยุทธศาสตร์ฯ ว่าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ปี 2565 – 2568 สร้างสังคมยุติธรรม-เสมอภาค-สงบสุข-ยั่งยืน ลั่นปี 2565 ประเทศไทย พร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีศึกษาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เมื่อวันที่ 10 พ.ย. ที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก ครั้งที่ 41 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-24 พฤศจิกายน 2564 ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส ตอนหนึ่งว่า ขอแสดงความยินดีกับ Madam Audrey Azoulay ผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก ที่ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกอีกวาระหนึ่ง และขอชื่นชมยูเนสโกที่ปรับวิธีการทำงานได้ดีในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งส่งผลให้การดำเนินงานของยูเนสโกเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

นางสาวตรีนุช กล่าวต่อไปว่า การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นในห้วงเวลาครบรอบทศวรรษ เพื่อทบทวนการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของแห่งสหประชาชาติ (SDGs) ซึ่งยูเนสโกได้นำมาเป็นเป็นพื้นฐานสำหรับจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนงานและงบประมาณฉบับใหม่ของยูเนสโก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 – 2566 ประเทศไทยเชื่อมั่นว่า แผนงานที่ประเทศสมาชิกร่วมกันจัดทำขึ้นมาในครั้งนี้ จะช่วยผลักดันความร่วมมือภายในองค์กร ตลอดจนพันธมิตรอื่นๆ ในการแก้ไขปัญหาระดับโลก

“ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทยได้พยายามเปิดเรียนตามปกติ โดยสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านสุขภาพของนักเรียนและครูเป็นหลัก ดังนั้น การฉีดวัคซีนให้แก่นักเรียนและครูจึงเป็นเรื่องเร่งด่วน ขณะเดียวกัน ได้คำนึงถึงการให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่ครอบคลุมเพื่อลดจำนวนเด็กตกหล่น โดยบุคลากรทางการศึกษาได้ทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเข้าถึงการศึกษาตามสิทธิพื้นฐาน อย่างเท่าเทียม และทั่วถึงของทุกคน “ รมว.ศธ. กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามแม้จะมีการนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้มากมาย แต่ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาก็เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนเช่นกัน ประเทศไทยจึงสนับสนุนยุทธศาสตร์ของยูเนสโกว่าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ปีพ.ศ.2565 -2568 เพื่อสร้างสังคมที่ยุติธรรม เสมอภาค สงบสุข และยั่งยืน นอกจากนี้ ยังให้การสนับสนุน Recommendation on Open Science ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเอาชนะความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและยังไม่พัฒนา

รมว.ศธ. กล่าวด้วยว่า ในปี 2565 ประเทศไทยโดยความร่วมมือกับสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีศึกษาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Education Ministers Conference) ซึ่งการประชุมดังกล่าวจะเป็นโอกาสดีในการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDG4 และประเทศไทยก็มีความเข้มแข็งที่จะส่งเสริมการศึกษาที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ ซึ่งเป็นการสานต่อที่ประเทศไทยได้ริเริ่มปฏิญญาจอมเทียน ขณะเดียวกันประเทศไทยก็ได้สนับสนุนโครงการริเริ่มต่าง ๆ ของยูเนสโก ที่ส่งเสริมแนวคิดในการเผชิญหน้ากับปัญหาท้าทายของโลกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการมองอนาคตไปข้างหน้า และข้อเสนอแนะด้านจริยธรรมของ AI (Recommendation on the Ethics of Artificial Intelligence) เป็นต้น และขอขอบคุณสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ ที่ให้การสนับสนุนประเทศไทยและประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกอย่างเข้มแข็งมาโดยตลอด ยืนยันว่าจะให้ความร่วมมือเต็มกำลังเพื่อส่งเสริมให้ยูเนสโกบรรลุความสำเร็จตามพันธกิจ

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 12 พฤศจิกายน 2564

“พล.อ.ประวิตร” สั่งปรับแผนแม่บทฯ น้ำ 20 ปี เพิ่มแหล่งเก็บน้ำชุมชน

,

“พล.อ.ประวิตร” สั่งปรับแผนแม่บทฯ น้ำ 20 ปี เพิ่มแหล่งเก็บน้ำชุมชน แก้น้ำท่วม-แล้งอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ที่ทำเนียบรัฐบาล เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Video Conference) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 2/2564 โดยมี
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค เป็นต้น เข้าร่วมประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ทั้ง 6 ด้าน ให้บรรลุผลตามเป้าหมาย เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำ ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยผลการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ตามแผนแม่บทฯ น้ำ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน มีแผนงานโครงการที่มีความก้าวหน้าการดำเนินงานเกิน 80% ของแผน อาทิ การพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ชะลอน้ำ 13 แห่ง คิดเป็น 100%

พล.อ.ประวิตรกล่าวว่าการเพิ่มประสิทธิภาพประปาหมู่บ้าน 4,675 แห่ง คิดเป็น 85% และมีแผนงานโครงการที่มีความก้าวหน้าเกิน 30% อาทิ การพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร 118 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 64% การพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ อาคารบังคับน้ำ ระบบส่งน้ำใหม่ 393 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 34% และลดการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ 80,308 ไร่ คิดเป็น 33% และในพื้นที่เกษตรนอกพื้นที่อนุรักษ์ 367,900 ไร่ คิดเป็น 37%
พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า การดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่ามีแผนงานที่ยังมีความล่าช้า เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพแหล่งน้ำ ระบบส่งน้ำเดิม การอนุรักษ์ฟื้นฟูพัฒนาแหล่งน้ำพื้นที่เกษตรน้ำฝน ระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง เป็นต้น โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางในการปรับปรุงขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ น้ำ 20 ปี และให้ สทนช. ดำเนินการผ่านคณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ น้ำ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาและทบทวน ปรับปรุงแนวทางการดำเนินงาน เป้าหมาย ตัวชี้วัดที่จะดำเนินการในระยะต่อไป รวมถึงใช้ระบบติดตามประเมินผลด้านน้ำของประเทศไทย (Thai Water Assessment :TWA) เป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผลโครงการด้านทรัพยากรน้ำ โดยให้หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มรายงานผลการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ของโครงการด้านแหล่งน้ำผ่านระบบตั้งแต่เดือน ธ.ค. 64 เป็นต้นไป

พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับปรุงกรอบแนวทางแผนแม่บทฯ น้ำ 20 ปี ช่วงปี 2566-2580 โดยเฉพาะแหล่งน้ำตามครัวเรือน เพื่อสำรองน้ำใช้ในฤดูแล้ง บูรณาการการพัฒนาแหล่งน้ำกับแผนที่เกษตร (Agri-Map) พัฒนาโคกหนองนาโมเดล เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรอง และใช้กักเก็บน้ำเพื่อลดปัญหาอุทกภัย รวมถึงเร่งศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อประกอบการปรับปรุงแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยที่ประชุมมอบหมายให้หน่วยงานรายงานปัญหาอุปสรรคการดำเนินการขับเคลื่อนที่ผ่านมาให้ สทนช. ทราบ ภายในเดือน ธ.ค. 64 รวมทั้งให้ทุกหน่วยงานสนับสนุนข้อมูลในการปรับปรุงแผนแม่บทฯ น้ำ 20 ปี เพื่อให้มีความครบถ้วน และครอบคลุมทุกมิติ

ด้าน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมยังได้ติดตามการดำเนินงานตามข้อสั่งการของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชน และการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน การดำเนินการเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำเสีย และการสำรวจพื้นที่แหล่งน้ำบาดาลสะอาดที่มีศักยภาพ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายแผนแม่บทฯ น้ำ 20 ปี โดยเร็วด้วย โดยรองนายกฯ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินการตามข้อสั่งการมายัง สทนช. และรายงานต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ต่อไป

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 12 พฤศจิกายน 2564

“ตรีนุช” เตรียมนำ 2 รมช. ศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคใต้

, ,

“ตรีนุช” เตรียมนำ 2 รมช.ศึกษาธิการ แบ่ง 3 สาย ลงพื้นที่ตรวจการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ก่อนการประชุม ครม.สัญจร ที่ จ.กระบี่ กำชับตรวจราชการเรียบง่าย

​นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลกำหนดการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 ณ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล) ระหว่างวันที่ 15 – 16 พฤศจิกายน 2564 นั้น กระทรวงศึกษาได้แบ่งสายการตรวจราชการ ซึ่งสายแรกนำโดยตน ช่วงเช้าวันที่ 15 พ.ย.จะประชุมหัวหน้าส่วนราชการทางการศึกษาจังหวัดกระบี่ เพื่อติดตามนโยบายรัฐบาล และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ และการให้บริการช่วยเหลือประชาชน โดยศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) ณ วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ อำเภอเมืองกระบี่ จากนั้นช่วงบ่ายจะเยี่ยมบ้านนักเรียน ตามโครงการปรับบ้านเป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู ของสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และตรวจติดตามการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และรับฟังปัญหาจากชุมชนโดยรอบโรงเรียนบ้านคลองม่วง อำเภอเมืองกระบี่

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า สายที่ 2 นำโดย คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศธ.ช่วงเช้าจะลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ และศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) สาขาวิชาพาณิชยกรรมและบริการฐานวิทยาศาสตร์ สาขางานเทคโนโลยีการท่องเที่ยว เยี่ยมชมห้องเรียน ห้องสปา และห้องฟิตเนส ที่วิทยาลัยเทคนิคพังงา ส่วนช่วงบ่ายร่วมติดตามภารกิจกับนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นางสาวตรีนุช กล่าวอีกว่า สายที่ 3 นำโดยนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศธ. จะลงพื้นที่ 2 วัน คือวันที่ 14 พ.ย.จะติดตามผลการขับเคลื่อนโครงการ NFE Data Map : ปักหมุดสร้างโอกาสทางการศึกษาของผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสของพื้นที่จังหวัดระนอง และติดตามผลการดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.)จังหวัดระนอง ที่ กศน.อำเภอกะเปอร์ จากนั้นไปเยี่ยมบ้านผู้พิการที่จะเข้าสู่ระบบการศึกษาของ กศน.ในอำเภอสุขสำราญ จากนั้นจะไปเยี่ยมบ้านผู้พิการที่จะเข้าสู่ระบบการศึกษาของ กศน. ในจังหวัดพังงา รวมทั้งตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนประจำภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ณ โรงเรียนประกอบธรรมอิสลาม อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ส่วนวันที่ 15 พ.ย. ช่วงเช้าจะติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย และการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาสใน 5 จังหวัดกลุ่มอันดามัน ณ สำนักงาน กศน.จังหวัดกระบี่ และประชุมติดตามการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชน ณ โรงเรียนสังข์ทองวิทยา รวมถึงเปิดศูนย์การเรียนรู้ทุกช่วงวัยตำบลเหนือคลอง และห้องสมุดเคลื่อนที่สำหรับชาวตลาด ตามโครงการพระราชดำริฯ ณ ศูนย์การเรียนรู้ทุกช่วงวัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

“ในวันที่ 16 พ.ย.2564 ดิฉันพร้อมด้วย 2 รมช.ศธ.จะเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 ณ โรงแรมโซฟิเทล กระบี่ โภคีธรากอล์ฟ แอนด์ สปา รีสอร์ท จังหวัดกระบี่ ทั้งนี้ในการลงพื้นที่ดิฉันขอให้คำนึงถึงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด และได้กำชับให้ส่วนราชการปฏิบัติตามนโยบายในการลงพื้นที่ตรวจราชการ 6 ข้อ คือ
1. จัดบุคลากรเข้าร่วมโดยให้มีผลกระทบต่อการเรียนการสอนน้อยที่สุด
2. การลงพื้นที่ต้องไม่เป็นภาระของหน่วยงานในการต้อนรับ
3. ดำเนินการโดยประหยัดเท่าที่จำเป็นและเรียบง่าย
4. งดแผ่นป้ายที่ไม่จำเป็นในการต้อนรับ
5. การรายงานข้อมูล/การนำเสนอข้อมูลให้กระชับและตรงประเด็น
6. ไม่ต้องจัดให้มีของฝากหรือของที่ระลึก ”
รมว.ศธ.กล่าว

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 11 พฤศจิกายน 2564

อธิรัฐ สั่งการเจ้าท่าคุมความเร็วเรือ และท่าเรือโดยสาร ลดผลกระทบช่วงน้ำทะเลหนุน

,

อธิรัฐ สั่งการเจ้าท่าคุมความเร็วเรือ และท่าเรือโดยสาร ลดผลกระทบช่วงน้ำทะเลหนุนสูง

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากเหตุน้ำทะเลหนุนสูงประกอบกับน้ำเหนือไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในระยะนี้ ส่งผลให้หลายพื้นที่ตลอดริมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ จ.นนทบุรี กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรปราการ และในลำคลองต่างๆ ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำล้นตลิ่ง เอ่อเข้าท่วมพื้นที่อยู่อาศัย บ้านเรือน และถนนหลายสาย ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชน ตนได้สั่งการให้กรมเจ้าท่าเร่งดำเนินการ

1. กำหนด ควบคุม และลดความเร็วในการเดินเรือโดยเฉพาะพื้นที่ที่ระดับน้ำสูง เพื่อป้องกันคลื่นจากเรือกระทบบ้านเรือนประชาชนหรือกำแพงกระสอบทรายที่ใช้ในการป้องกันน้ำ ไม่ให้ได้รับผลกระทบหรือเกิดความเสียหาย
2. จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ออกตรวจ พื้นที่ท่าเทียบเรือโดยสารให้มีความปลอดภัย และไม่กระทบต่อการให้บริการประชาชน แต่หากท่าเรือใดได้รับผลกระทบจากระดับน้ำขึ้นสูง บริเวณอาคารที่พักผู้โดยสาร ทางเดิน เพื่อขึ้นลงเรือ ทั้งท่าเรือเอกชนและท่าเรือสาธารณะ ให้จัดทำทางเดินชั่วคราวที่สะดวกและปลอดภัยในการขึ้นลงเรือ
3. ประสานกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรืออย่างใกล้ชิดเพื่อทราบข้อมูลระดับน้ำขึ้นน้ำลงล่วงหน้า สำหรับใช้ในการวางแผนเพื่อการป้องกันหรือลดผลกระทบต่อประชาชน

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 11 พฤศจิกายน 2564

“ส.ส.ทัศนียา รัตนเศรษฐ” เดินหน้าให้กำลังใจพี่น้อง อ.พิมาย รับการฉีดวัคซีนโควิด-19

, ,

“ส.ส. ทัศนียา รัตนเศรษฐ” เดินหน้าให้กำลังใจพี่น้องอำเภอพิมาย รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมทั้งมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

เมื่อวันอังคาร ที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ณ โรงพยาบาลพิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ส.ส. ทัศนียา
รัตนเศรษฐ เขต7 จังหวัดนครราชสีมา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วย นายตติรัฐ รัตนเศรษฐ
ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมให้กำลังใจผู้มารับวัคซีนและบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานให้บริการฉีดวัคซีนโควิด19 แก่ประชาชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในพื้นที่ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการ จำนวน 1,200 ราย

นอกจากนี้ ส.ส. ทัศนียา พร้อมคณะดังกล่าว ยังได้ลงพื้นที่ ต.รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เพื่อไปมอบถุงยังชีพให้ผู้นำในพื้นที่มอบให้ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพื่อช่วยในการดำรงชีพและบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น จำนวน 1,200 ชุด ตามจุดต่างๆ ดังนี้ วัดฉกาจช่องโค จำนวน 164 ชุด, วัดรังกาใหญ่ จำนวน 118 ชุด, วัดวิปัสนารังกาใหญ่ จำนวน 200 ชุด, ศาลาบ้านตะปัน (ม.5) จำนวน 196 ชุด, ศาลาบ้านตะปัน (ม.13) จำนวน 143 ชุด, วัดบ้านพุทรา จำนวน 161 ชุด, ศาลาบ้านหนองไทร จำนวน 128 ชุด และวัดนิคมสามัคคี จำนวน 90 ชุด

“เรายังจะทุ่มเททำงานต่อไป เราจะไม่ทิ้งพี่น้องชาวโคราช ด้วยความห่วงใยจากครอบครัวรัตนเศรษฐและทีมงาน”

ที่มา : www.facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 10 พฤศจิกายน 2564