โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: สื่อออนไลน์

“รมว.ตรีนุช”ตั้งเป้าสิ้นปีการศึกษา 2565 ดึงนักเรียนเข้าระบบ100% มอบครูต้องเข้าถึง-เข้าใจนักเรียนรายคนมุ่งลดปัญหาช่องว่างการศึกษา

,

“รมว.ตรีนุช”ตั้งเป้าสิ้นปีการศึกษา 2565 ดึงนักเรียนเข้าระบบ100%
มอบครูต้องเข้าถึง-เข้าใจนักเรียนรายคนมุ่งลดปัญหาช่องว่างการศึกษา

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวในการมอบนโยบายเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ให้แก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ ผู้อำนวยการโรงเรียนทั่วประเทศ ผ่าน OBEC Channel ว่า ขอบในโอกาสเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เรื่องที่สำคัญ จะต้องให้สำคัญในการดูแลพัฒนาการของนักเรียนแบบองค์รวม ตั้งแต่ ความปลอดภัยในสถานศึกษา การเดินทางไป-กลับของนักเรียน การจัดสภาพแวดล้อมสถานศึกษาให้มีความปลอดภัย การให้บริการดูแลด้านโภชนาการ และสุขภาพ การป้องกันภัยธรรมชาติ

“ที่สำคัญในยังไปรวมถึง การป้องกันภัยจากยาเสพติด และภัยจากอาวุธปืน ซึ่งต้องไม่เกิดขึ้นในสถานศึกษาอย่างเด็ดขาด และต้องปฏิบัติอย่างเข้มข้น ตามหลัก 3 ป. ได้แก่ ป้องกัน ปลูกฝัง และ ปราบปราม ภายใต้โครงการ MOE Safety Center เพื่อสร้างความปลอดภัยให้นักศึกษา ครู และบุคลากรทุกคน” นางสาวตรีนุชกล่าว

ทั้งนี้ในภาคเรียนที่ 2/2565 นี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มุ่งเน้นให้ครูกระชับความสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น เพื่อทำให้เข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งนิสัยและชีวิตความเป็นอยู่ ได้พูดคุยกับผู้ปกครองโดยตรง เพื่อร่วมกันหาแนวทางช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชนให้ช่วยกันเฝ้าระวัง และมีส่วนร่วมในการแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัย ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ปกครองไว้วางใจในการนำผู้เรียนมาอยู่ภายใต้การดูแลของเราผ่านการเยี่ยมบ้านนักเรียน

นางสาวตรีนุช กล่าวว่า การสร้างความเข้มแข็งให้แก่นักเรียน ผ่านระบบ “ Screening Learning Loss” ครอบคลุม 4 มิติ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย โดยการนำข้อมูลของนักเรียนมาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม และป้องกันนักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งโครงการพาน้องกลับมาเรียน ยังเป็นนโยบายสำคัญที่เดินหน้าต่อเนื่อง โดยติดตามเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาครบ 100% และ ทำให้การออกกลางคันเป็นศูนย์ (zero drop out ) ในปีการศึกษา 2565 นี้

นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม School Mental Health ระบบดูแลนักเรียนและครูในสถานศึกษา ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อตรวจสภาพจิตใจของเด็กและครู ซึ่งสถานศึกษาสามารถประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อขอรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือเกี่ยวกับสุขภาพจิตได้

รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า การยกระดับคุณภาพทางการศึกษา และการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย นั้น ให้โรงเรียนจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริม ชดเชย หรือ กิจกรรมเสริมทักษะเพิ่มเติมตามความถนัด ความสนใจ และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โดยนำการเรียนการสอนรูปแบบ Active Learning มาใช้ช่วยให้ผู้เรียน เรียนอย่างมีความสุข สนุก และมีทักษะการคิด ซึ่งจะทำให้เรียนรู้ได้เร็วและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ และขอให้เพิ่มความสำคัญในวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง เพื่อสร้างสำนึกของความเป็นไทย รักในการเป็นชาติของเรา โดยจัดการเรียนรู้ตามความพร้อม และเหมาะสมในแต่ละบริบทพื้นที่

สำหรับนักเรียนที่จะจบชั้น ม. 3 สถานศึกษาควรสำรวจความต้องการในการศึกษาต่อสายอาชีพ เพื่อเตรียมความพร้อม ให้คำแนะนำและส่งต่อเข้าสู่โครงการ “อาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” ในปีการศึกษา 2566โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ครอบครัวประสบปัญหาด้านค่าใช้จ่าย สำหรับหลักสูตรทวิศึกษา ซึ่งเป็นการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อสำเร็จการศึกษาผู้เรียนจะได้รับวุฒิการศึกษาทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) นั้น ตนได้มอบหมายให้ สพฐ. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ. )จัดทำแผนระดับจังหวัดว่า ควรจัดทวิศึกษารายวิชาใด ในโรงเรียนไหน โดยให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ทั้งแก้ไขปัญหา และข้อจำกัดจากการดำเนินงานในอดีต โดยเป้าหมายระยะสั้น เน้นการเรียนการสอนทวิศึกษาในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ,โรงเรียนตามโครงการพระราชดำริ และโรงเรียนที่มีความพร้อม

“ ขณะนี้ยังมีสถานการณ์น้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ รวมถึงบางพื้นที่น้ำลดลงแล้ว ขอให้สำรวจความเสียหาย เพื่อจัดหางบประมาณสนับสนุน หากไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนได้ให้โรงเรียนออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม หรือ นำไปเรียนรวมกับโรงเรียนใกล้เคียง โดยให้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางของนักเรียน ” นางสาวตรีนุช กล่าวและว่า สำหรับเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ใหม่) หรือ เกณฑ์ PA นั้น ขณะนี้มี PA Support Team ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินแบบใหม่แล้ว ซึ่งหลายคนในที่นี้ ได้รับผิดชอบใน PA Support Team ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษา เป็นบุคลากรสำคัญในการเชื่อมโยงนโยบาย และสร้างความเข้าใจแก่ครู ไปสู่การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ตนขอให้ทุกฝ่ายเป็นพลังผลักดันขับเคลื่อนงาน รวมทั้งการประสานการทำงานแบบเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อเป้าหมายของการจัดการศึกษา คือ คุณภาพผู้เรียน. และหากสถานศึกษาใด มีความสำเร็จในการยกระดับคุณภาพศึกษา ตนจะถือโอกาสในการลงพื้นที่เพื่อขอไปเยี่ยมเยียนโรงเรียนของท่านด้วย.



ที่มา:
ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 พฤศจิกายน 2565

“รมช.อธิรัฐ”ลงพื้นที่รับฟังปัญหาปชช. ร่วมหาแนวทางฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม

,

“รมช.อธิรัฐ”ลงพื้นที่รับฟังปัญหาปชช. ร่วมหาแนวทางฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยคณะทำงาน ร่วมกันลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพี่น้องประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านยาง อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา หลังประสบปัญหาน้ำท่วมกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน พร้อมกันนี้ ยังได้เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ

ทั้งนี้ ยังได้ร่วมพูดคุย รับฟังปัญหา และข้อเสนอแนะจากชาวบ้าน เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยหลังน้ำลดในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ วัดหนองม่วง โรงเรียนบ้านหนองยาง วัดโสกดู่ วัดหินแร่ และวัดหนองดู่ โดยมีชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ ให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง

#พรรคพลังประชารัฐ #พลังประชารัฐ #พปชร #PPRP #อธิรัฐรัตนเศรษฐ
Twitter : https://twitter.com/PPRPofficial


ที่มา:
ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 ตุลาคม 2565

พล.อ.ประวิตร ขอเป็นตัวแทนคนไทย แสดงความเสียใจเหตุโศกนาฏกรรมอิแทวอน ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ เฝ้าระวังเข้มดูแลความปลอดภัยในเทศกาลฮาโลวีนในไทย

“พล.อ.ประวิตร”ขอเป็นตัวแทนคนไทย แสดงความเสียใจเหตุโศกนาฏกรรมอิแทวอน ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ เฝ้าระวังเข้มดูแลความปลอดภัยในเทศกาลฮาโลวีนในไทย

,

วันนี้ (30 ตุลาคม) พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงโศกนาฏกรรมเทศกาลฉลองวันฮาโลวีน ที่ย่านอิแทวอน กรุงโซล เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ตนขอเป็นตัวแทนประชาชนคนไทยทุกคนแสดงความเสียใจกับชาวเกาหลีใต้ทุกคน รวมถึงครอบครัวคนไทยที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ และขอส่งความห่วงใยไปยังทุกคนที่ได้รับผลกระทบ นับเป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง ประเทศไทยขออยู่เคียงข้างให้กำลังใจกับทุกครอบครัว

ในส่วนของการดูแลเรื่องความปลอดภัยในการจัดงานเทศกาลฉลองวันฮาโลวีนในประเทศไทยนั้นพล.อ.ประวิตร ระบุว่า ได้ขอให้หน่วยงานต่างๆ และขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการ ผู้จัดงานต่างๆ คำนึงถึงความปลอดภัย ประเมินสถานการณ์ผู้เข้าร่วมงานเป็นระยะ และตรวจสอบมาตรการรักษาความความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน หากเป็นสถานประกอบการแบบปิด ต้องตรวจตราระบบไฟ ประตู ทางหนีไฟให้พร้อมใช้งานได้ดีอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นซ้ำอีก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ชู”สังคมประชารัฐ สงบสุข เข้มแข็ง แบ่งปัน” สานต่อ”สังคมคุณภาพสูง”ยกระดับความเป็นอยู่แบบยั่งยืน

“พล.อ.ประวิตร” ชู”สังคมประชารัฐ สงบสุข เข้มแข็ง แบ่งปัน”
สานต่อ”สังคมคุณภาพสูง”ยกระดับความเป็นอยู่แบบยั่งยืน

วันที่ 29 ตุลาคม 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า พปชร.มีนโยบายที่จะขับเคลื่อน “ สังคมประชารัฐ สงบสุข เข้มแข็ง แบ่งปัน” ซึ่งเป็น 1 ใน 3 พันธกิจหลักเพราะเชื่อว่าชุมชนแต่ละชุมชนในประเทศไทย มีศักยภาพที่จะพัฒนาประเทศไปพร้อมๆกันได้ ซึ่งนโยบายรัฐที่ตอบสนองและส่งเสริม ความสามารถของชุมชนจะนำมาซึ่ง สังคมคุณภาพ ที่สะท้อนความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทยทั้งประเทศ โดยโครงสร้างของสังคมประชารัฐ จะเป็นการกระจายอำนาจไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทย ไปพร้อมองค์ความรู้ และเงินลงทุนในการเริ่มต้นพัฒนาความเป็นอยู่ ตั้งแต่พื้นที่ทำกิน การสร้างอาชีพ รวมไปถึงการส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชน

สำหรับการสร้าง”สังคมประชารัฐ สงบสุข เข้มแข็ง แบ่งปัน” มีเป้าหมายใน 4 ด้าน โดยจะให้ความสำคัญในการพัฒนาตามบริบททางสังคม ของแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ประกอบด้วย
1. กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค สร้างเมืองน่าอยู่ใกล้บ้าน เป็นแหล่งสร้างงาน สร้างอาชีพด้วยแนวคิด “30เมืองน่าอยู่” โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการสร้างที่อยู่อาศัย พัฒนาย่านธุรกิจ ย่านนวัตกรรม
2. ชุมชนประชารัฐ ร่วมพัฒนาบ้านเกิด “ชุมชนเข้มแข็ง” เพื่อให้ทุกคนอยากกลับไปพัฒนาบ้านเกิด โดยจะมีกองทุนพัฒนาชุมชนประชารัฐจะมีแหล่งน้ำชุมชน โครงการป่าไม้มีค่า และสร้างวิสาหกิจชุมชน
3. เมืองอัจฉริยะสีเขียว เพื่อความสุขของทุกคน เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสําคัญ คนจะต้องอยู่กับสิ่งแวดล้อม เราจะปรับเป็นเมืองอัจฉริยะสีเขียวเพื่อความสุขของทุกคน โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคน เพื่อให้คนอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ดีอย่างมีความสุข
4. สังคมประชารัฐสีขาว สังคมจะสงบสุข เข้มแข็ง แบ่งปันได้ ต้องเป็นประชารัฐสีขาว ที่ “ปลอดภัย ปลอดโรค ปลอดยาเสพติด”

สำหรับการขับเคลื่อนมุ่งเน้นกลไกการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง ”กองทุนรวมเพื่อสังคม” ซึ่งจะเป็นกองทุน ที่เข้าไปพัฒนาศักยภาพให้ชุมชนและประชาชนโดยรัฐทำหน้าที่ออกมาตรการหรือกลไก ในการส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งกองทุน เพื่อเข้าไประดมทุนจากนักลงทุนในตลาดทุน ทั้งในและต่างประเทศ มีการกำกับดูแล โดยคณะกรรมการที่คัดเลือกจากนักลงทุนด้วยกันเอง ทำหน้าที่พิจารณาเข้าไปลงทุนในธุรกิจเพื่อสังคม พร้อมกับตัวชี้วัดความสำเร็จของการเข้าไปช่วยเหลือ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนด้วยผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ ที่สนใจในการทำโครงการแก้ไขปัญหาสังคมที่ยั่งยืน แนวทางเหล่านี้ ล้วนแล้วเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว

“จากนี้ไปสังคมไทยจะมีครบ ทั้งสวัสดิการที่ดี เศรษฐกิจที่ดี และพื้นที่ที่ดี ประชาชนมีอาชีพ และมีพื้นที่ทำกินที่รัฐจะเข้าไปส่งเสริม สามารถขยายสินค้าและบริการไปในวงกว้าง จนทำให้ชุมชนดูแลตัวเองได้ เมื่อเจ็บป่วยก็สามารถเข้าถึงสถานบริการสุขภาพได้อย่างสะดวก เยาวชนมีการศึกษาที่ดี เติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งเยาวชนเหล่านี้ก็จะกลับมาพัฒนาชุมชนต่อไป พรรคพลังประชารัฐจะสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับคนไทย เพื่อตอบสนองคนไทยทุกคน นับแต่วันแรกที่มีลมหายใจ จนถึงวันสุดท้ายของลมหายใจ ด้วยแนวคิด จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน
“พล.อ.ประวิตร กล่าว


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 29 ตุลาคม 2565

“ลุงป้อม” ห่วงคนกรุง ลงพื้นที่คลองโอ่งอ่าง ตรวจความพร้อมรับมือน้ำทะเลหนุนสูง สั่งการวางแผนช่วงเวลาระบายน้ำ ลดผลกระทบไม่ให้เกิดน้ำท่วมขัง พร้อมลงเรือ ตรวจเยี่ยมการปรับปรุงภูมิทัศน์ รอบคลองผดุงกรุงเกษม ชูเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ ของเมืองกรุง

“ลุงป้อม” ห่วงคนกรุง ลงพื้นที่คลองโอ่งอ่าง ตรวจความพร้อมรับมือน้ำทะเลหนุนสูง สั่งการวางแผนช่วงเวลาระบายน้ำ ลดผลกระทบไม่ให้เกิดน้ำท่วมขัง พร้อมลงเรือ ตรวจเยี่ยมการปรับปรุงภูมิทัศน์ รอบคลองผดุงกรุงเกษม ชูเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ ของเมืองกรุง

ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม.เขต2 และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะผอ.กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมด้วยนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลงพื้นที่ติดตามการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูง ณ คลองโอ่งอ่าง เขตพระนคร กรุงเทพฯ โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร รายงานการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูง และ นางสาวกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ ส.ส.กทม. เขต 1 ให้การต้อนรับ พร้อมพบปะประชาชนในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขัง ในห้วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ พลเอกประวิตร ยังได้ลงเรือตรวจเยี่ยมการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร

พลเอกประวิตร ระบุว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ รัฐบาลได้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และได้สั่งการให้เร่งระบายน้ำเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายโดยเร็ว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างเร่งด่วน ควบคู่ไปกับการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ตนโดยได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการวางแผนช่วงเวลาในการระบายน้ำ ให้สอดคล้องกับช่วงเวลาที่น้ำทะเลหนุนสูง เพื่อลดผลกระทบไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง และให้สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้โดยเร็ว

ทั้งนี้นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่ากอนช. ได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูง โดยข้อมูลจากกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ พบว่า ช่วงวันที่ 28-31 ต.ค.65 จะเป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูงสุดของเดือน ส่วนช่วงเวลาที่จะเกิด น้ำทะเลหนุนสูงจะเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า เวลา 06.00-10.00 น. และช่วงเย็นถึงค่ำ เวลา 16.00-20.00 น. โดยสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงจะยังคงมีอยู่ต่อไปจนถึงวันที่ 9 พ.ย.65 ทั้งนี้ สทนช. ได้ประสานกรุงเทพมหานคร ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ที่อาจส่งผลทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายกตัวขึ้นสูงได้ ซึ่งจะส่งผลให้ชุมชนต่างๆ ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำตามแนวริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อาจได้รับผลกระทบในช่วงน้ำหนุนในบางช่วงเวลาได้ จึงขอให้ประชาชนที่อยู่นอกคันกั้นน้ำ ให้ติดตามและเฝ้าระวังการขึ้น-ลงของระดับน้ำทะเลอย่างใกล้ชิด
สำหรับชุมชนนอกคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูง มี 16 ชุมชน ในพื้นที่ 7 เขต ได้แก่ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตบางกอกน้อย และเขตคลองสาน ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร ได้มีมาตรการเตรียมความพร้อมรับมือในการตรวจสอบความแข็งแรงและจุดรั่วซึมของแนวป้องกันน้ำท่วม และเสริมกระสอบทรายจุดเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และตรวจสอบความพร้อมของเครื่องสูบน้ำตามแนวริมแม่น้ำให้พร้อมใช้งาน รวมทั้งติดตามสถานการณ์น้ำเหนือและการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานเป็นประจำทุกวันด้วย


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 ตุลาคม 2565

“ตรีนุช”รวมพลังพันธมิตรจัดอาชีวะทวิภาคีสมรรถนะสูง

“พัชรินทร์” ปลื้มใจ หลังราชกิจฯเผยแพร่ กม.ป้องกันการกระทำผิดซ้ำ ในคดีทางเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง เชื่อจะเป็นเครื่องมือสำคัญ ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ในสังคมไทย

“ตรีนุช”รวมพลังพันธมิตรจัดอาชีวะทวิภาคีสมรรถนะสูง

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา ตน พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ประชุมหารือถึงแนวทางการพัฒนาความร่วมมือเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ซึ่งหน่วยงานภาคีเครือข่าย เห็นตรงกันว่า กำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีจะตอบโจทย์เรื่องนี้ได้เพราะเชื่อมโลกอาชีพกับโลกการศึกษา โดยหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้เสนอว่า การแก้ไขปัญหาในด้านการบริหารจัดการ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ควรกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของวิทยาลัยในสังกัด สอศ.อย่างชัดเจน ต่อเนื่องและยั่งยืน

รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับกลไกการขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้มากขึ้น ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงและให้มีคณะกรรมการร่วมที่ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง , มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก สร้างภาพลักษณ์ สร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้าร่วม และมีจำนวนผู้เรียนมาเรียนอาชีวะทวิภาคีมากขึ้น รวมถึงลดความยุ่งยากในการเข้าร่วมจัดทวิภาคีของภาคเอกชน , ด้านการพัฒนาครู ต้องกำหนดให้ครูได้รับการเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการชั้นนำ และได้รับการรับรอง สามารถนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะได้ ตลอดจนกำหนดมีการพัฒนานักเรียน นักศึกษา เพื่อให้เกิดอาชีวะทวิภาคีที่มีคุณภาพสูง เช่น ทักษะด้านวิชาชีพ ทักษะด้านภาษา และทักษะด้านดิจิทัลตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้จะมีการหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยด้วย และดิฉัน ได้มอบหมายให้ สอศ.นำข้อเสนอแนะของหน่วยงานภาคีเครือข่าย มาพิจารณาดำเนินการต่อไป.


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 ตุลาคม 2565

“พัชรินทร์” ปลื้มใจ หลังราชกิจฯเผยแพร่ กม.ป้องกันการกระทำผิดซ้ำ ในคดีทางเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง เชื่อจะเป็นเครื่องมือสำคัญ ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ในสังคมไทย

“พัชรินทร์” ปลื้มใจ หลังราชกิจฯเผยแพร่ กม.ป้องกันการกระทำผิดซ้ำ ในคดีทางเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง เชื่อจะเป็นเครื่องมือสำคัญ ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ในสังคมไทย

ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม.เขต2 ปทุมวัน บางรัก สาทร และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะผู้เสนอร่างกฎหมาย เปิดเผยภายหลังราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พ.ร.บ. มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 โดยให้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ว่าตนรู้สึกปลื้มใจ ที่เราจะมีกฎหมาย ที่มุ่งคุ้มครองกลุ่มเป้าหมายเปราะบาง ทั้งเด็ก เยาวชน ผู้หญิง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับคดีทางเพศ และคดีที่มีความรุนแรงเป็นการเฉพาะ ซึ่งที่จะสร้างความปลอดภัยให้กับสังคม เป็นเรื่องลดการกระทำความผิดซ้ำ และเชื่อว่ากฎหมายดังกล่าว จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสังคมไทย โดยที่ผ่านมาตนได้พยายามผลักดันกระบวนการในสภาฯ ตั้งแต่ต้นน้ำ จนสำเร็จเป็นกฎหมายฉบับนี้ออกมา และต้องขอขอบคุณนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เจ้าภาพหลักที่ผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง และเห็นผลเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าว มีสาระสำคัญ คือการดำเนินการกับผู้กระทำผิดในคดีทางเพศ และคดีที่มีความรุนแรง พร้อมมาตรการการป้องกันภัยคุกคามทางเพศ และความรุนแรง ซึ่งพร้อมกับพลวัตรสังคม ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการใช้หลักทางจิตวิทยา และมาตรการทางการแพทย์ เพื่อเข้ามามีส่วนในการป้องกันในผู้ต้องหาที่ได้กระทำผิดซ้ำ เช่น การใช้ยา, การฉีดฮอร์โมนลดความต้องการทางเพศ หรือฉีดให้ฝ่อ โดยมาตรการทางการแพทย์โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างน้อย 2 คน มีความเห็นพ้องต้องกันและจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้กระทำความผิดด้วย ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย เช่น ให้พักอาศัยในสถานที่ที่ศาลกำหนด, ห้ามออกนอกประเทศ, ต้องแจ้งเมื่อมีการเปลี่ยนสถานที่ทำงาน, ห้ามทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด, ใส่อุปกรณ์ติดตามตัว เป็นต้น เพื่อไม่ให้มีการกระทำผิดซ้ำขึ้นอีก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ผลักดันไทยเข้าสู่การพัฒนา 5G หนุนไทยเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยี-ดิจิตัลภูมิภาค

“พล.อ.ประวิตร” มอบนโยบาย สนทช.เดินแผนยุทธศาสตร์มือภัยพิบัติน้ำ ระดมทุกภาคส่วนร่วมยกระดับความมั่นคงแหล่งน้ำทั่วประเทศ

“พล.อ.ประวิตร” ผลักดันไทยเข้าสู่การพัฒนา 5G
หนุนไทยเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยี-ดิจิตัลภูมิภาค

วันที่ 26 ต.ค.65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เปิดงานประชุมสัมมนา และนิทรรศการ “Global Mobile Broadband Forum 2022” ครั้งที่ 13 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยพล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. กล่าวว่าจากนโยบายของรัฐบาลไทย ที่กำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุค ไทยแลนด์ 4.0 โดยสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน 5G ให้ทุกภาคส่วนเข้าถึงการใช้ประโยชน์ สร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ดึงดูดการลงทุน พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ของภูมิภาค ซึ่งบริษัท หัวเวย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และเครือข่ายพันธมิตร (GSMA) ได้ขานรับนโยบายของรัฐบาลไทย เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ในอนาคต

การจัดงานในครั้งนี้ บริษัท หัวเว่ยฯ ได้ร่วมกับองค์กรกำกับดูแลมาตรฐานผู้ให้บริการการสื่อสาร (GSMA) และGTI ซึ่งเป็นองค์กรพันธมิตรทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม โดยร่วมกันจัดงานขึ้นเป็นประจำทุกปี และครั้งนี้จัดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก จึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ทางอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม และเทคโนโลยี นวัตกรรมดิจิทัล ให้สามารถเชื่อมต่อองค์ความรู้ และเทคโนโลยีร่วมกัน เพื่อยกระดับภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
พล.อ.ประวิตรฯ กล่าวว่า นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในประเทศไทย ที่มีการจัดเวทีให้ภาคเอกชน และภาครัฐ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็น ที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนประเทศไทย และภาคอุตสาหกรรม พร้อมได้กล่าวขอบคุณ บริษัท หัวเว่ยฯ ที่ช่วยสนับสนุน ขับเคลื่อน ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลไทย ในการพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในเรื่องการส่งเสริมการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และการเตรียมความพร้อม เรื่องกำลังคนด้านดิจิทัล เพื่อยกระดับการเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทย กับภูมิภาคต่างๆ ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” มอบนโยบาย สนทช.เดินแผนยุทธศาสตร์มือภัยพิบัติน้ำ ระดมทุกภาคส่วนร่วมยกระดับความมั่นคงแหล่งน้ำทั่วประเทศ

“พล.อ.ประวิตร” มอบนโยบาย สนทช.เดินแผนยุทธศาสตร์มือภัยพิบัติน้ำ ระดมทุกภาคส่วนร่วมยกระดับความมั่นคงแหล่งน้ำทั่วประเทศ

เมื่อ 25 ต.ค.65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดงาน เสวนาวิชาการ และมอบนโยบาย ” 5 ปีที่ผ่าน ย่างก้าวสู่ปีที่ 6 ของ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ ” ณ โรงแรม รามาการ์เด้นส์ ถ.วิภาวดีรังสิต กทม. โดย พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รอง นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า
ในโอกาส ที่สทนช. จัดต้ังหน่วยงานครบรอบ 5ปีเต็มในวันนี้ ได้มีหน่วยงานเข้ามาร่วมเสวนา เพื่อจะให้มีการแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ เพื่อให้มีความต่อเนื่อง ประกอบด้วย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, กรมอุตุนิยมวิทยา, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน), กรมชลประทาน, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, กรมทรัพยากรน้ำ, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) ,กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำ

ทั้งนี้ในการเสวนาในวันนี้มีความมุ่งหวังในการแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ทั้งระบบ ทั่วประเทศ และให้เกิดประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน และประเทศชาติ เป็นสำคัญสูงสุด

พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวขอบคุณ สทนช. และทุกหน่วยงานที่ได้ปฏิบัติงานด้วยดี มาโดยตลอด5ปีที่ผ่านมา และย้ำว่า สทนช. ต้องเป็นหน่วยงานหลักในการนำนโยบายด้านน้ำ และผลจากการเสวนาในครั้งนี้ ไปสู่การปรับปรุงแผนและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์น้ำ 20 ปี โดยบูรณาการการทำงาน จากทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคประชาชน อย่างใกล้ชิด ให้มีเอกภาพเพื่อยกระดับ ความมั่นคงด้านน้ำ ของประเทศ และสามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำให้กับประชาชนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน พร้อมทั้งให้มีการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจควบคู่ ไปกับการสร้างความร่วมมือของประชาชนต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 ตุลาคม 2565

รมว.สุชาติ เผยทิศทางแรงงานพร้อมขับเคลื่อนระบบศก. เปิด4 ภารกิจหนุนจ้างงานพัฒนาทักษะรับการเปลี่ยนแปลง

รมว.สุชาติ เผยทิศทางแรงงานพร้อมขับเคลื่อนระบบศก.
เปิด4 ภารกิจหนุนจ้างงานพัฒนาทักษะรับการเปลี่ยนแปลง

วันนี้ (23 ตุลาคม 2565) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “บทบาทและนโยบายที่สำคัญของกระทรวงแรงงานในการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับผู้ใช้แรงงาน” ในงานสัมมนากรรมการบริหารและสมาชิกสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย โดยมี นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์ฯ ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมที่สวนนงนุช พัทยา จ.ชลบุรี

นายสุชาติกล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ สังคม สร้างการเคลื่อนย้ายของภาคแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กระทั่งถึงวันนี้ ประเทศได้ประกาศโควิด-19 อยู่ในระดับเฝ้าระวัง ซึ่งการดำเนินการดูแลภาคแรงงานในช่วงดังกล่าว ถือว่าอยู่ในระดับดีมาก ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มองเห็นความสำคัญของภาคธุรกิจและภาคแรงงาน ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงได้ให้การสนับสนุนผ่านมาตรการต่างๆ จนสามารถนำพาประเทศก้าวข้ามวิกฤต จนหลายอย่างของประเทศในวันนี้เริ่มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น แรงงานสามารถทำงานได้ ธุรกิจไม่ต้องปิดตัว ทำให้ประเทศมีสินค้าสำหรับการส่งออก เป็นการช่วยพยุงและขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าได้

นายสุชาติกล่าวว่า ขณะเดียวกัน สถานการณ์ด้านแรงงานมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีจำนวนผู้ว่างงานเดือนสิงหาคม 2565 ลดลงมาก เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

“ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ คือ พี่น้องผู้ใช้แรงงานเป็นเสมือนคนในครอบครัว ประกอบกับไตรภาคีของกระทรวงแรงงาน ทั้งภาครัฐ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง คอยสนับสนุนให้การดำเนินงานของกระทรวงแรงงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี” นายสุชาติกล่าว

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยังกล่าวถึงผลการดำเนินงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ว่า ยกตัวอย่างมาตรการที่สำคัญๆ อาทิ มาตรการให้ความช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จากโครงการแฟคทอรี แซนด์บ็อกซ์ (Factory Sandbox) สามารถสนับสนุนการผลิตสินค้า รักษาการส่งออกของประเทศได้ในขณะที่บางประเทศทำไม่ได้ ทำให้การส่งออกเติบโตสูงสุดในรอบ 11 ปี การช่วยเหลือเยียวยาลดเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน โครงการเยียวยาภายใต้ พ.ร.ก.เงินกู้ฯ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 การส่งเสริมการมีงานทำ การส่งเสริมแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศ การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว การช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการที่กู้เงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานช่วงโควิด-19 การช่วยเหลือการยกระดับทักษะฝีมือให้มีอาชีพ การใช้มาตรา 75 เพื่อรักษาการจ้างงาน โครงการแรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง การจ่ายเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง การผลักดันร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ การประกาศการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้น

นายสุชาติ กล่าวถึงภารกิจที่กระทรวงแรงงานจะดำเนินการในอนาคต ว่า ในโลกปัจจุบันเป็นโลกยุคดิจิทัล โครงสร้างการประกอบธุรกิจและการทำงานมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การส่งเสริมการจ้างงานและพัฒนาทักษะต้องเป็นไปอย่างมีระบบปรับเปลี่ยนให้ทันต่อรูปแบบการทำงานและอาชีพใหม่ๆ

“การทำงานในระยะต่อไป ผมยังมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือดูแลพี่น้องแรงงานและผู้ประกอบการ โดยมีนโยบาย 1.ส่งเสริมการมีงานทำและการจ้างงาน โดยผลักดันการขยายตลาดแรงงานไปต่างประเทศ กระตุ้น ส่งเสริม รักษาการจ้างงาน รวมถึงบริการจัดหางานออนไลน์ สนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่งเสริมการใช้ระบบประกันสังคมเป็นแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งปัจจุบันสำนักงานประกันสังคม (สปส.) อยู่ระหว่างดำเนินการให้มีสถาบันทางการแพทย์เพื่อผู้ประกันตน และการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้ประกันตน รวมถึงบ้านพักคนชราตามมาตรา 33 2.ยกระดับฝีมือและพัฒนาทักษะแรงงาน ให้ความสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อรองรับเศรษฐกิจใหม่ เร่งรัดมาตรการยกระดับผลิตภาพแรงงาน เร่งสนับสนุนการพัฒนาแรงงานที่มีสมรรถนะสูง ยกระดับและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเศรษฐกิจระดับชุมชน 3.เร่งรัดการดูแลแรงงานนอกระบบ แรงงานสูงอายุ และแรงงานคนพิการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น 4.เร่งรัดการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน” นายสุชาติกล่า


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ลงพื้นที่ติดตามปัญหาแรงงานชายแดนใต้ มอบศอ.บต.เน้นส่งเสริมทักษะเยาวชนสร้างตลาดแรงงานเพิ่ม

“พล.อ.ประวิตร” ลงพื้นที่ติดตามปัญหาแรงงานชายแดนใต้
มอบศอ.บต.เน้นส่งเสริมทักษะเยาวชนสร้างตลาดแรงงานเพิ่ม

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พล.อ. ชัยชาญ ช้างมงคลและคณะ ได้เดินทางลงใต้ จ.ยะลา และจ.ปัตตานี เพื่อ ติดตามขับเคลื่อนงานพัฒนาและความมั่นคงในพื้นที่ จังหวัดชายแดนใต้ หรือ จชต .โดยมี เลขา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอบต.) ผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ให้การต้อนรับ พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกประจำรอง นายกรัฐมนตรี กล่าว่า พล.อ.ประวิตร’และคณะ ได้เข้าเยี่ยมชม นิทรรศการท้องฟ้าจำลอง จากการจัดตั้ง “หอเฉลิมพระเกียรติรายอกีตอ” ตามพระราชดำริ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ และได้ติดตามการช่วยเหลือแรงงานไทยจากสถานการณ์โควิด-19 และการเตรียมการจัดแรงงานไทยจาก จัวหวัดชายแดนใต้ไปทำงานประเทศซาอุดิอาระเบีย โดย ศูนย์ราชการ จังหวัดชายแดนใต้

นอกจากนี้ยังได้ทำพิธีเปิด “มหกรรมแรงงานไทยจาก จชต. สู่ตลาดแรงงานที่มีทักษะโลกมุสลิม” และพบปะแรงงานที่ประสงค์เดินทางไปต่างประเทศ จากนั้น ได้ติดตามการขับเคลื่อนงานพัฒนาและความมั่นคงในพื้นที่ จชต. โดยรับทราบการเปิดสถาบันภาษานานาชาติ เน้นการเรียนรู้ ทั้งภาษาไทย มลายู อาหรับ ตุรเคีย มลายู จีนและอังกฤษ พร้อมทั้งเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนภาษา 4 ภาษา

พล.อ.ประวิตร’ ได้แสดงความขอบคุณ ศอ.บต.และ โรงงานที่ร่วมแก้ปัญหาการว่างงานของประชาชนในพื้นที่ ระหว่างสถานการณ์โควิด-19 ได้กว่า 14,500 ราย และขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงาน ไทย-ซาอุดิอาระเบีย และประเทศมาเลเซีย ได้กว่า 30,000 ตำแหน่งงาน โดยสั่งการ ศอ.บต.ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเรียนรู้และการพัฒนาตามช่วงวัยของเด็กเล็ก ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ที่ไม่มีงานทำและขาดรายได้ ทั้งการส่งเสริมอาชีพและจัดหางาน การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อให้สามารถดำรงชีพและช่วยเหลือครอบครัวได้อย่างมั่นคง
โดยได้ประสานกับ กระทรวงอุตสาหกรรม พัฒนางานระดับหมู่บ้านชุมชนที่เปิดให้เอกชนมีส่วนร่วมสนับสนุน และให้เร่งพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจนราธิวาสและเมืองต้นแบบให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเร็วขึ้น โดยต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตประชาชน เช่น อุตสาหกรรมฮาลาล และ BCG และให้มีการเชื่อมต่อกับต่างประเทศ ภายใต้ศักยภาพทุนมนุษย์และทรัพยากรในพื้นที่ที่มีอยู่ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ในลักษณะมีส่วนร่วมไปพร้อมกัน


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” รุกสานต่อนโยบายเศรษฐกิจประชารัฐ วาง 5 แนวทางเพิ่มรายได้ให้ปชช.ดึงเอกชนร่วมขับเคลื่อน

“พล.อ.ประวิตร” รุกสานต่อนโยบายเศรษฐกิจประชารัฐ
วาง 5 แนวทางเพิ่มรายได้ให้ปชช.ดึงเอกชนร่วมขับเคลื่อน

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร. ) เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนนโยบาย 3 พันธกิจหลัก ของพรรคพลังประชารัฐ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้เกิดความยั่งยืน “เศรษฐกิจประชารัฐ” จึงเป็นอีกหนึ่งเสาหลักที่มีเป้าหมายในการกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่นทั่วประเทศให้สอดรับกับบริบทของแต่ละพื้นที่ รองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งเทคโนโลยี และสังคม โดยขับเคลื่อนนโยบายควบคู่ไปกับการสร้างสวัสดิการประชารัฐ ผ่านกลไกความร่วมมือกับภาคเอกชน ในการเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศทั้งในรูปแบบกองทุนรวม และการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน( PPP) โดยรัฐทำหน้าที่ให้การส่งเสริมอย่างเป็นระบบในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย

“นโยบายเศรษฐกิจของพปชร.มีเป้าหมายในการทำให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีศักยภาพในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ผ่านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตร สินค้าท้องถิ่น ด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนชุมชน ใช้การตลาดนำการผลิต เพิ่มช่องทางกระจายสินค้าสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนได้มีบทบาทสนับสนุน ทั้งการพัฒนาสินค้าและหาตลาด หรือพื้นที่กระจายสินค้า เป็นต้น”พล.อ.ประวิตรกล่าว

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประชารัฐ 5 มิติ ประกอบด้วย
1. เกษตรประชารัฐ ที่มุ่งลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยการแปรรูป
2. เศรษฐกิจฐานราก เน้นกระจายรายได้ สร้างโอกาสด้วยการท่องเที่ยวในชุมชน และส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็ง
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สนับสนุนธุรกิจฐานนวัตกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างอาชีพสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
4. เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว( BCG) ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน
5. ส่งเสริม SME Startup และ Social Enterprise เพื่อสร้างโอกาสการริเริ่มธุรกิจ ที่สอดรับกับบริบทของพื้นที่

“ ไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพ มีคนรุ่นใหม่ที่มีพลังในความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตสินค้า และบริการ แต่ยังขาดพื้นที่และโอกาส เศรษฐกิจประชารัฐ มีเป้าหมายระยะยาวในการสร้างความสามารถ และโอกาสที่เท่าเทียม นำไปสู่พลังที่เข้มแข็งของเศรษฐกิจไทยที่จะช่วยให้ประชาชน กินดีอยู่ดี “พล.อ.ประวิตร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ตุลาคม 2565