โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. อรรถกร ศิริลัทธยากร

“รมช.อรรถกร”ตอบกระทู้“สส.จักรัตน์”อ่างเก็บน้ำห้วยสะดวงใหญ่ เตรียมก่อสร้างได้ในปี 70 มั่นใจช่วยเกษตรกรเก็บกักน้ำเพิ่มได้กว่า 9,700 ไร่“ลั่น กระทรวงเกษตรพร้อมทำทุกทางเพื่อแก้ปัญหาน้ำให้ชาวหล่มสัก

,

“รมช.อรรถกร”ตอบกระทู้“สส.จักรัตน์”อ่างเก็บน้ำห้วยสะดวงใหญ่ เตรียมก่อสร้างได้ในปี 70 มั่นใจช่วยเกษตรกรเก็บกักน้ำเพิ่มได้กว่า 9,700 ไร่“ลั่น กระทรวงเกษตรพร้อมทำทุกทางเพื่อแก้ปัญหาน้ำให้ชาวหล่มสัก

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่8 ส.ค. นายจักรัตน์ พั้วช่วย สส.เพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ได้ตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจาต่อ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่รัฐมนตรีติดภารกิจสำคัญ จึงมอบหมายให้ นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทน

โดยนายจักรัตน์ กล่าวว่า ตนทราบข้อมูลมาว่าประเทศไทยจะพบจะเกิดปรากฏการณ์ลานีญา ก็คือจะมีฝนตกมากกว่าปกติ พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีแม่น้ำสำคัญ เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนเพชรบูรณ์ก็คือ แม่น้ำป่าสัก จากเหนือสุดของจังหวัดก็คือที่อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก ไล่ลงมาถึงใต้สุดของจังหวัดก็คือ อำเภอศรีเทพ ความยาวของแม่น้ำป่าสัก ประมาณ 280 กิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ทางต้นน้ำ อำเภอหล่มสัก เกิดอุทกภัยทุกๆปี ปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะจากแม่น้ำป่าสัก ไม่มีอ่างเก็บน้ำที่ต้นน้ำเลย ก็คือ ไม่มีอ่างที่จะคอยชะลอน้ำ หรือว่าตัดยอดน้ำทางจังหวัด และกรมชลประทานมีความเห็นตรงกันก็คือ ต้องสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสะดวงใหญ่ ก็อยู่ในโครงการพระราชดำริด้วย

“ผมอยากทราบความก้าวหน้าของโครงการอ่างเก็บน้ำสะดวงใหญ่ เพราะในปี 2562 ได้รับเงินศึกษาสิ่งแวดล้อมไปแล้ว แต่จนถึงปี 2567 ก็ยังไม่ผ่านประเมินสิ่งแวดล้อม จึงอยากถามว่า ความก้าวหน้าเป็นอย่างไร และปัญหาความล่าช้าเกิดจากอะไร รวมถึงจะตั้งงบประมาณก่อสร้างอ่างเก็บน้ำสะดวงใหญ่ได้ ในปีไหน

นอกจากนี้ นายจักรัตน์ ยังถามถึงโครงการแนวทางผันน้ำเลี่ยงเมืองหล่มสัก ที่จะช่วยไม่ให้เกิดอุทกภัยในเขตพื้นที่เศรษฐกิจของอำเภอหล่มสักก็คือการทำบายพาสน้ำ เพื่อลดมวลน้ำที่จะไหลเข้าเมืองให้ไหลอ้อมเมืองออกไปลงที่แม่น้ำป่าสัก ในจุดที่ไกลเมืองออก ซึ่งทราบว่าทางกรมชลประทานได้ของบศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปแล้ว แต่ก็ยังได้รับเงินงบประมาณ จึงอยากทราบว่า เมื่อไหร่จะได้เงินงบประมาณในการศึกษาแผนงานนี้

ด้าน นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตอบกระทู้ของ สส.จักรัตน์ว่า เบื้องต้นที่รับฟังปัญหาจากประชาชนในเขตอำเภอหล่มสัก ทางกรมชลประทาน ก็พยายามที่จะดำเนินการในการแก้ไขปัญหาไปหลายเรื่อง โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งการแก้ไขปัญหาในเรื่องของน้ำแล้ง น้ำท่วมในเขตอำเภอหล่มสักยังมีอีกหลายจุด ที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน และทางกรมชลประทานก็ทราบดี และเป็นเป้าหมายที่ทางกรมชลประทานมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการต่อ

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสะดวงใหญ่ ที่อำเภอหล่มสัก เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งกรมชลประทานนั้นได้ให้ความสำคัญกับโครงการตามพระราชดำริอยู่แล้ว ซึ่งโครงการนี้หากสร้างเสร็จจะสามารถเพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำได้ประมาณ 13.75,000,000 ลูกบาศก์เมตร โดยอ่างเก็บน้ำห้วยสะดวงใหญ่จะอยู่ขึ้นอยู่ทางเหนือของอำเภอหล่มสัก อยู่ตอนบนของอ่างเก็บน้ำห้วยขอนแก่นที่เรามีโอกาสได้ลงพื้นที่ไปในคราวก่อน ซึ่งความคืบหน้าของโครงการนั้นได้รับการผ่านการตรวจสอบ EIA และจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการในการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในวันที่ 27 สิงหาคมนี้ และทางกรมชลประทานมีความเชื่อว่า ภายในเดือนนี้ รายงานฉบับนี้ก็จะผ่าน จากนั้นเราก็จะเร่งทำการสำรวจเพื่อที่จะวางแผนในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสะดวงใหญ่

”คาดว่าเราจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ใน 2570 โดยทางกรมชลประทานคาดการณ์ว่า จะต้องใช้เงินงบประมาณถึง 975 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 4 ปีแล้วเสร็จในปี 73 ซึ่งเราเชื่อว่าจะมีพื้นที่พี่น้องประชาชนโดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรจะได้รับประโยชน์กับการที่เราจะเก็บกักน้ำเพิ่มได้ประมาณ 9700 ไร่“นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า วานนี้ ร.อ.ธรรมนัส ,ปลัดกระทรวงเกษตรฯ พร้อมด้วยตน ได้เดินทางไปร่วมประชุมและสัมมนาที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และก็มีการได้ร่วมสัมมนาพูดคุยกับทางผู้บริหารของสำนักงาน กปร.ด้วย ซึ่งบทความสนทนา เมื่อวานก็คือการที่กระทรวงเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมารวมกัน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการไปแล้ว 4900 โครงการจาก 5000 กว่าโครงการ ก็สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งให้กับพี่น้องประชาชนในทั่วภูมิภาคได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกันกับโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสะดวงใหญ่

ในเขตพื้นที่ในอำเภอเมืองในเขตเทศบาลเมืองของพี่น้องชาวอำเภอหล่มสัก ก็มีปัญหาในเรื่องของน้ำเอ่อล้นทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตชุมชนได้รับความเดือดร้อน กระทรวงเกษตรฯ โดยเฉพาะกรมชลประทานเราได้วางแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำเอ่อล้นในเขตเทศบาลเมืองหล่มสักเป็น 2 รูปแบบ ซึ่งแบบแรกอาจจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร คือการก่อสร้างอ่างเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะกักเก็บน้ำที่จะไหลลงไปเอ่อล้นในเขตชุมชนของเทศบาลเมืองหล่มสัก โดยทางสำนักงานบริหารโครงการชลประทาน มีแผนการที่จะดำเนินการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่เทศบาลเมืองหล่มสัก หลายโครงการยกตัวอย่างเช่น อ่างเก็บน้ำห้วยหินโง่น อ่างเก็บน้ำห้วยผักกูด โครงการต่าง ๆ ทางกรมชลประทานวางแผนว่าจะลงมือทำในอนาคตอันใกล้นี้

ในส่วนของแนวทางที่ 2 น่าจะรวดเร็วกว่า โดยกรมชลประทานกำลังพิจารณาที่จะขยายความกว้างของคลองส่งน้ำสายใหม่ ฝั่งซ้ายของแม่น้ำป่าสัก โดยเรามีการสำรวจพื้นที่แล้ว และมีแผนที่จะขยายคลองเพิ่มให้เป็นความกว้างประมาณ 40 เมตรกรมชลประทานจะใส่แผนในการสำรวจศึกษาออกแบบในปี 69 ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะแบ่งเบาภาระการผันน้ำที่แม่น้ำป่าสักได้ประมาณ 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งนอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระในการผันน้ำแล้ว การขยายก็หมายความว่า จะเป็นการเพิ่มความจุเก็บกักน้ำไปในตัวด้วย

“ไม่ว่าจะเป็นแนวทางที่หนึ่งในการสร้างอ่างเก็บน้ำหลาย ๆ อ่างเก็บน้ำเพิ่ม บริเวณเหนืออำเภอหล่มสัก หรือว่าแนวทางที่ 2 ในการที่จะขยายคลอง เพื่อที่จะแบ่งเบาภาระการผันน้ำ ผมเชื่อว่า ขณะนี้อยู่ในการพิจารณาไม่ว่าโครงการไหนที่สามารถดำเนินการได้ก่อน เรายินดีที่จะดำเนินการก่อน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ ความพร้อมของเจ้าหน้าที่ รวมถึงทำความเข้าใจของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และที่สำคัญเราจะออกแบบสำรวจให้เสร็จรวดเร็วที่สุด“

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ขณะนี้ทางกรมชลประทานได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการที่จะทำช่องลัดน้ำ ซึ่งภูมิประเทศตรงนั้น แม่น้ำป่าสักมีลักษณะเป็นตัวซี มีฝายอยู่ด้านบน ถ้าเราจะไปทำการปรับปรุงจะต้องผ่านกระบวนการในการที่จะรับฟังความคิดเห็นในเรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะใช้เวลานาน จึงได้พูดคุยกับทางกรมชลประทานให้แยกทำเป็น 2 มิติ คือการปรับปรุงฝายทั้งด้านบนและด้านล่างของแม่น้ำสายนี้ก็ทำไป อีกส่วนหนึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องทำช่องลัดน้ำซึ่งจะแยกกับฝายทั้งสองตัวที่เราตั้งใจจะทำ พอเราทำทางลัดน้ำ ก็ไม่ต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์ ไม่ต้องผ่านขอความเห็นในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพราะว่าเราไม่ได้ไปทำเพิ่มในแหล่งน้ำ แต่เราใช้พื้นที่ ๆ เป็นที่ดินในการขุดทางลัดขึ้นมาเพิ่ม ดังนั้น การระบายน้ำหรือว่า การเดินทางของน้ำในพื้นที่บริเวณหมู่บ้านคลองสีฟันจะสามารถระบายน้ำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยทางกรมชลประทานได้วางแผนที่จะทำการศึกษาออกแบบให้แล้วเสร็จในปี 68 ใช้เวลาไม่นาน และจะเข้าแผนในปี 69 ซึ่งถ้าเราสามารถทำโครงการนี้สำเร็จลุล่วง จะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 4000 ไร่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 สิงหาคม 2567

”รมช.อรรถกร“ยืนยัน กระทรวงเกษตรฯเปิด 73 จุด รับซื้อปลาหมอคางดำ โลละ 15 บาท ครอบคลุมทั่วประเทศ ลั่น ไม่มีกระบวนการวุ่นวาย ชวน คนไทยช่วยกันแก้ปัญหา อย่าส่งมรดก“ปลาหมอคางดำ“ให้ลูกหลาน

,

”รมช.อรรถกร“ยืนยัน กระทรวงเกษตรฯเปิด 73 จุด รับซื้อปลาหมอคางดำ โลละ 15 บาท ครอบคลุมทั่วประเทศ ลั่น ไม่มีกระบวนการวุ่นวาย ชวน คนไทยช่วยกันแก้ปัญหา อย่าส่งมรดก“ปลาหมอคางดำ“ให้ลูกหลาน

วันที่ 3 ส.ค.67 เวลา 09.00 น. นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สส.ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ ลงพื้นที่ ตลาดคลองด่าน ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ เพื่อพบปะเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมง พร้อมมอบเครื่องมือประมงใช้จับปลาหมอคางดำ โดยได้พูดคุยกับเกษตรกรในพื้นที่ ว่า ได้มีการตรวจสอบไปหลายที่จากกรณีที่พี่น้องประชาชนบอกว่า มีขั้นตอนหลายอย่างในการที่จะเข้าร่วมโครงการกระทรวงเกษตรฯตั้งค่าหัวล่าปลาหมอคางดำกิโลกรัมละ 15 บาท ซึ่งตนยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง โดยกระทรวงเกษตรฯร่วมด้วยช่วยกันทั้ง 22 หน่วยงาน เราเปิดกว้างไม่ว่าคุณจะเป็นใครเป็นผู้ชายหรือเป็นผู้หญิง อายุเท่าไหร่ก็ตาม ถ้าคุณมีความสามารถจับปลาหมอคางดำได้มากเท่าไหร่ เรามีจุดรับซื้อทั่วประเทศ 73 จุด โดยไม่ต้องใช้เอกสาร ไม่ต้องผ่านกระบวนการมากมายอย่างที่เป็นข่าว

“ผมมาวันนี้เพื่อจะมาขอความร่วมมืออีกครั้ง และผมเชื่อว่าวันนี้จะไม่ใช่วันสุดท้าย ผมในฐานะตัวแทนของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาขอความร่วมมือกับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องที่เป็นชาวประมงมาร่วมจับปลาหมอคางดำกับพวกเรา เพราะปัญหาปลาหมอคางดำเป็นปัญหาของพวกเราทุกคน ถ้าเรายังปล่อยให้มีการระบาด นั่นหมายความว่า เราจะส่งต่อมรดกที่เรียกว่าปลาหมอคางดำสู้รุ่นลูกรุ่นหลานของเราต่อไป”นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยุคนี้ ไม่ว่าเป็นกรมประมง กรมส่งเสริมสหกรณ์ก็ดี กรมพัฒนาที่ดิน กรมการเกษตร การยาง หรือแม้กระทั่ง หน่วย
งานอื่นๆ เราทำงานร่วมกัน ในส่วนของกรมประมงจังหวัดสมุทรปราการ ตนขอเรียนว่า ท่านทำงาน ด้วยตัวคนเดียวไม่ได้ ท่านต้องประสานกับหน่วยงาน ในพื้นที่ ต้องขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัด และตนได้รับการยืนยันจากนายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หากพื้นที่ใดมีการชุกชุมของปลาหมอคางดำ ท่านประสานเข้าไปขอกำลังเขาทหารเพื่อมาช่วยจับได้ ทั้งนี้ ตนเชื่อว่าอีก 1-2 เดือน เมื่อเรามาประเมินสถานการณ์การปลาหมอคางดำจะต้องดีขึ้น ถ้าพวกเราช่วยกันก็จะแก้ไขปัญหาได้เร็วยิ่งขึ้น

ทั้งนี้นายอรรถกร ยังได้ร่วมกิจกรรมปฏิบัติการลงแขกลงคลอง เพื่อจับปลาหมอคางคำร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ โดยชี้ให้เห็นว่ายอมรับตรงๆว่าวันแรกของโครงการก็คือ วันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา อาจจะยังมีความไม่เข้าใจ หรืออาจจะเกิดความบกพร่องในเรื่องของการสื่อสารไปยังพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะชาวประมงทำให้พี่น้องยังไม่มีความมั่นใจว่า จับมาแล้วจะเอาไปแลกเป็นเงินค่าหัวที่ ร.อ.ธรรมนัส ประกาศไว้ว่า กิโลกรัมละ 15 บาท ได้หรือไม่ ซึ่งขอยืนยันว่า เรายินดี รับทุกกิโล เพื่อที่จะให้ทุกฝ่ายเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันในการที่จะนำปลาหมอคางดำออกจากระบบให้มากที่สุด โดยไม่มีกระบวนการยุ่งยาก เราโดยเปิดจุดรับซื้อปลาหมอคางดําทั้งหมดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 – 31
สิงหาคม 2567

สําหรับจุดรับซื้อแต่ละจังหวัด มีดังนี้ จังหวัดจันทบุรี มีจุดรับซื้อทั้งหมด 4 จุด จังหวัดระยอง 2 จุด จังหวัด
ฉะเชิงเทรา 3 จุด จังหวัดสมุทรปราการ 6 จุด จังหวัดนครปฐม 1 จุด จังหวัดนนทบุรี 1 จุด จังหวัดสมุทรสาคร 6 จุด จังหวัด สมุทรสงคราม 3 จุด จังหวัดราชบุรี 1 จุด จังหวัดเพชรบุรี 10 จุด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 13 จุด จังหวัดชุมพร 14 จุด จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 จุด จังหวัดนครศรีธรรมราช 5 จุด และจังหวัดสงขลา 1 จุด รวมทั้งสิ้น 73 จุดรับซื้อ

โดยผู้ขายรายย่อย (เกษตรกร ชาวประมง) ไม่มีหลักเกณฑ์กําหนดในการรับซื้อ สามารถนํามาขาย ณ จุดรับซื้อต่าง ๆ ได้ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท ไม่จํากัดจํานวน แต่หากเกษตรที่มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา (ทบ. 1) จับจากบ่อตนเอง ให้แจ้งข้อมูล ทบ.1 กับเจ้าหน้าที่ ณ จุดรับซื้อ เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลต่อไป

นายอรรถกร ยังกล่าวถึงงบประมาณที่จะนำไปใช้ในโครงการรับซื้อปลาหมอคาง เราได้รับความร่วมมือจากการยางแห่งประเทศไทย ในการที่จะใช้เงินทุน ที่ไม่ใช่เงินกองทุนที่เขาจะนำไปใช้ช่วยเหลือพี่น้อง ชาวสวนยาง แต่ตอนนี้เราใช้เงินทุนของการยาง เบื้องต้นจะใช้ 50 ล้าน ในการที่จะระดมนำปลาหมอคางดำออกจากระบบนิเวศให้มากที่สุด แล้วนำไปทำอย่างอื่น โดยเชื่อว่าการนำไปแปรรูปก็จะเป็นประโยชน์ต่อไป

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯได้ประกาศ 7 มาตรการ เพื่อแก้ปัญหาปลาหมอคางดำของกระทรวงเกษตรประกอบด้วย
1. จำเป็นต้องกำจัดและนำปลาหมอคางดำออกจากระบบนิเวศของไทยให้มากที่สุด
2. มาตรการรอการกำจัด โดยต้องรอให้ปลาหมอคางดำลดลง หลังจากนั้นจะใช้วิธีธรรมชาติบำบัดโดยการปล่อยปลานักล่าลงไป อาทิ ปลากะพง ปลาอีกง ที่เราเชื่อว่าในช่วงเวลาที่เหมาะและพื้นที่ที่เราศึกษามาแล้ว โดยแต่ละพื้นที่จะใช้ปลานักล่าไม่เหมือนกัน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณปลาหมอคางดำได้มากขึ้น
3. นำปลาหมอคางดำที่จับขึ้นมาได้ไปใช้เรื่องอื่นๆ โดยตั้งเป้าภายในปีนี้จนถึงกลางปีหน้าเราจะจับให้ได้ไม่ต่ำกว่า 4,000 ตัน หรือ 4 ล้านกิโลกรัม
4. มาตรการเฝ้าระวังไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปพื้นที่อื่น
5. ทำความเข้าใจเรื่องการแพร่ระบาดกับประชาชน โดยเฉพาะพื้นที่ 17 จังหวัดที่มีการแพร่ระบาด
6. ใช้การวิจัย นวัตกรรมเข้ามาช่วย เช่น การเหนี่ยวนำโครโมโซม จาก 2n เป็น 4n ซึ่งจะทำให้ปลาเป็นหมัน และเราจะใช้ฟีโรโมน หรือสารคัดหลั่งในการดึงดูดทางเพศ ในการนำแสงสีไปล่อให้ปลาหมอคางดำมารวมอยู่ในบริเวณเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการจับและกำจัด ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับการใช้แสงสีเขียวล่อหมึก
7. การฟื้นฟู กระทรวงเกษตรฯ จะต้องไปศึกษาแหล่งน้ำที่เราพบปลาหมอคางดำ ในปัจจุบันมีปลา ปู กุ้ง หอย อะไรบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลให้กรมประมงเตรียมเพาะพันธุ์สัตว์เพื่อคืนระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ให้กลับมา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 สิงหาคม 2567

“รมช.อรรถกร”แจง โครงการสถานีสูบน้ำและระบบส่งน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านไผ่สามเกาะ เริ่มก่อสร้างแล้ว คาดไม่เกินสิ้นปีได้ใช้ เผย เตรียมหาแนวทางใช้เงินกองทุนช่วยเหลือค่าไฟฟ้าให้กลุ่มผู้ใช้น้ำและเกษตรทั่วประเทศ

,

“รมช.อรรถกร”แจง โครงการสถานีสูบน้ำและระบบส่งน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านไผ่สามเกาะ เริ่มก่อสร้างแล้ว คาดไม่เกินสิ้นปีได้ใช้ เผย เตรียมหาแนวทางใช้เงินกองทุนช่วยเหลือค่าไฟฟ้าให้กลุ่มผู้ใช้น้ำและเกษตรทั่วประเทศ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ตอบกระทู้ถามสดด้วยวาจาของนายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส. ราชบุรี เขต 4 พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่สอบถามถึงปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ที่ประสบกับปัญหาภัยแล้ง ไม่สามารถทำการเพาะปลูกข้าวนาปีและสินค้าเกษตรอื่นได้ จึงอยากทราบว่าจะสามารถจัดงบประมาณโครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำและการก่อสร้างอาคารถังพักน้ำเพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำในการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตในพื้นที่ได้หรือไม่

นายอรรถกร กล่าวชี้แจงว่า โครงการสถานีสูบน้ำและระบบส่งน้ำด้วยไฟฟ้า บ้านไผ่สามเกาะ ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้มีความก้าวหน้าก็อยู่เกือบจะ 20% แล้ว ทางกรมชลประทานคาดว่า จะเร่งทำการก่อสร้างโครงการนี้ให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งก็คือประมาณเดือนธันวาคม โดยโครงการดังกล่าวได้รับงบประมาณก่อสร้างทั้งหมด 85 ล้านบาท โดยมีองค์ประกอบของโครงการ 3 ส่วน คือ 1.สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 2.วางระบบท่อส่งน้ำ ที่มีความยาวอย่างน้อย 7 กิโลเมตร 3.เราจะขุดสระเพื่อเก็บน้ำเพิ่มที่เราดึงมาจากเขื่อนแม่กลองอีก 2 สระ เราจะสามารถสนับสนุนน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคเพื่อพี่น้องเกษตรกรไม่ต่ำกว่า 500 ครัวเรือนในตำบลเขาขลุง โดยเฉพาะในหมู่ที่ 10 หมู่ที่ 13 หมู่ที่ 14 อำเภอบ้านโป่ง

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ตนเชื่อว่าโครงการนี้ จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทางภาครัฐ กรมชลประทาน หรือการผลักดันจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกร รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ช่วยกันหาทางออก ตนต้องขอบพระคุณ สส.อัครเดช ที่ท่านถือว่าเป็นคนที่พยายามหาแนวทาง หาข้อมูลร่วมกับพี่น้องในพื้นที่ จนทำให้เกิดโครงการที่เป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนในวันนี้ขึ้นมา

นายอรรถกร ยังกล่าวต่อถึง แนวทางการหาค่าไฟ ที่ต้องบอกว่า ถึงแม้ว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการเครื่องสูบน้ำระบบไฟฟ้า ซึ่งจริงๆแล้วเรื่องค่าไฟเป็นปัญหาในทุกพื้นที่ แต่เรามีเอกสารที่เป็นข้อตกลงเบื้องต้นร่วมกันระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ กรมชลประทานที่มีภาระหน้าที่ชัดเจนว่า พอท่านก่อสร้างโครงการสถานีสูบน้ำบ้านไผ่สามเกาะเสร็จ ภายในหนึ่งปีจะต้องทำการส่งมอบไปยังองค์การองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อบต.และหลังจากนั้นจะต้องคอยให้คำแนะนำกับกลุ่มที่จะมารับผิดชอบต่อ

นอกจากนี้ ต้องขอบคุณพี่น้องเกษตรกร ซึ่งในเอกสารข้อตกลงร่วมกัน ราษฎรจะมารวมกลุ่มกันเพื่อจัดตั้งเป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำภายในระยะเวลาหนึ่งปี หลังจากที่มีการก่อสร้างเสร็จ และยังจะมาร่วมกันรับภาระค่ากระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการสูบน้ำ และจะช่วยเหลือในการรักษาบำรุง ซ่อมแซมคลองส่งน้ำ ทั้งนี้ ต้องขอบคุณองค์การส่วนตำบล ซึ่งขณะนี้เนี่ยมีลายเซ็นของท่านนายก อบต.เขาขลุง อยู่ในข้อตกลงร่วม ซึ่งจะทำหน้าที่ในการที่จะรับมอบสถานนีสูบน้ำ ภายในระยะเวลาหนึ่งปีหนึ่ง หลังจากก่อสร้างเสร็จ และจะช่วยบริหารจัดการร่วมกับกลุ่มผู้ใช้น้ำ ในเรื่องของระยะเวลา หรือว่าการจัดการสูบน้ำไปยังพื้นที่ให้กับพี่น้องเกษตรกร รวมถึงให้สนับสนุนในด้านงบประมาณค่าใช้จ่าย ภายหลังการรับมอบสถานีสูบน้ำไปบริหารงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง พนักงานการซ่อมแซมบำรุงรักษา หรือว่าสมทบค่ากระแสไฟฟ้า

“ผมได้ประสานกับทางกรมชลประธานให้ไปวิธี ก่อนที่จะถึงสิ้นปีนี้ที่เราจะสร้างสถานีสูบน้ำ พร้อมด้วยระบบสูบน้ำแห่งนี้เสร็จ ทางกรมชลประทานจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างไร ไปคุยในพื้นที่ ไปคุยกับทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่า ในการที่จะลด บรรเทาภาระที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางหน่วยงานภาครัฐช่วยเหลืออย่างไร”นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ปัญหาที่ สส.อัครเดช กล่าวมาต้องยอมรับว่าเกิดขึ้นจริงว่า การถ่ายโอนภารกิจของสถานีสูบน้ำโดยไฟฟ้า ไปให้ทางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในช่วงที่พี่น้องเกษตรกรมีรายได้ดีก็ไม่ได้มีปัญหา แต่ในช่วงที่สินค้าทางการเกษตรบางตัวรายได้ไม่ดี ก็จะเกิดปัญหา ซึ่งตนนำเรียนตามตรงว่า ตนไม่ได้กำกับดูแลกรมชลประทาน แต่ได้ร่วมงานกับกรมชล ซึ่งข้อแนะนำ 2 ข้อของท่านอัครเดช เป็นสิ่งที่ตนเชื่อว่าทางกระทรวงเกษตรฯสามารถนำไปต่อยอดได้ เช่นการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการที่จะเพิ่มฟังก์ชันที่เป็นโซลาร์เซลล์ให้สถานนีสูบน้ำ เพื่อให้ค่าไฟฟ้าที่เป็นภาระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพี่น้องเกษตรกร และกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่นั้นให้ลดลงได้ ซึ่งตนเข้าใจว่าขณะนี้มีการพูดกัน โดยยืนยันว่า แนวทางการทำงานของกระทรวงเกษตรกร เราเห็นตรงกันกับ สส.อัครเดช

“กองทุนที่กระทรวงเกษตรฯ ดูแลอยู่นั้นมี 14 กองทุนตนจะนำไปหารือกับทางกองทุนต่างๆว่า จะมีกองทุนไหนที่จะสามารถนำมาใช้ เพื่อแบ่งเบาภาระของเกษตรกรได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม การนำเงินของกองทุนมาใช้ก็ขึ้นอยู่กับตัวบทกฎหมายด้วย แต่ว่าผมจะหาทาง เพราะเชื่อว่า หากสามารถทำได้จะเกิดประโยชน์กับพี่น้องกลุ่มผู้ใช้น้ำและเกษตรกรทั่วประเทศ”นายอรรถกร กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 กรกฎาคม 2567

“รมช.อรรถกร”เผย ปริมาณน้ำฝนปีนี้น้อยกว่าปีที่แล้ว อ่างเก็บน้ำยังดีอยู่ มั่นใจ กรมชล มีความพร้อมบริหารจัดการน้ำรับมือช่วงหน้าฝน

,

“รมช.อรรถกร”เผย ปริมาณน้ำฝนปีนี้น้อยกว่าปีที่แล้ว อ่างเก็บน้ำยังดีอยู่
มั่นใจ กรมชล มีความพร้อมบริหารจัดการน้ำรับมือช่วงหน้าฝน

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ตอบกระทู้ถามสดด้วยวาจาของนายปรเมษฐ์ จินา สส.สุราษฎร์ธานี เขต 5 พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ถามถึงการบริหารจัดการน้ำในช่วยฤดูฝนที่จะมีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วม และกระทบกับความเป็นอยู่ของประชาชน

นายอรรถกร กล่าวชี้แจงว่า สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน ถ้าเราดูค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ปริมาณน้ำฝนทุกวันนี้มีค่าเฉลี่ยที่น้อยกว่าปีที่แล้วอยู่ประมาณ 9% เฉลี่ยอยู่ที่ 710 มิลลิเมตร ซึ่งอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลางของประเทศไทย มีปริมาตรความจุรวม 76,337,000,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งขณะมีน้ำอยู่ประมาณ 39,279,000,000 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 51% เครื่องมือของรัฐบาลยังสามารถรับน้ำได้อีกถึง 37,058,000,000 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นเกือบจะ 50% โดยการเตรียมความพร้อมในการรับมือน้ำเยอะในช่วงฤดูฝน เรามี 10 มาตรการที่ทำงานผ่านคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ โดยหน่วยงานเราจะใช้แนวทางในการปฏิบัติในการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบที่ไปในทิศทางเดียวกัน

นอกจากนี้ ยังได้เตรียมความพร้อมในการจัดสรรทรัพยากร ที่เป็นเครื่องมือสำคัญของกรมชลประทาน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกลต่างๆ รถขุดหรือรถแทร็กเตอร์ ซึ่งทางกรมชลประทานมีเครื่องมือทั่วประเทศอยู่ที่ 5,382 หน่วย แบ่งเป็นเครื่องสูบน้ำ 1,289 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 617 เครื่อง และเครื่องจักรสนับสนุนอื่นๆ อีก 2,476 เครื่อง จึงเชื่อว่าเรามีความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำ

ในส่วนช่วงภาคเหนือตอนบน เราก็มีเขื่อนที่สำคัญอยู่ 4 เขื่อนไม่ว่าจะเป็นเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแคน้อย เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยขณะนี้ความจุของเขื่อนทั้ง 4 เขื่อนอยู่ที่ประมาณ 39% ซึ่งมีประมาณน้อยกว่าปีที่แล้วอยู่นิดหน่อย ดังนั้น การบริหารจัดการน้ำในส่วนนี้ เราจะใช้หลักในการบริหารที่เรียกว่า Rule Cure หมายความว่า ในช่วงหน้าแล้ง เราต้องเก็บกักน้ำไม่ให้ต่ำกว่าเส้นที่ทางกรมชลประทานได้กำหนดไว้ ในส่วนช่วงเวลาที่อยู่ในหน้าฝนเราบริหารอย่าง Upper Rule Curve คือต้องบริหารจัดการน้ำไม่ให้สูงกว่าเส้นที่ได้กำหนดเอาไว้

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า การบริหารจัดการน้ำในภาคอีสานทั้งตอนบนและตอนล่าง ในยุคสมัยของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประสานงานกับในพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่มาโดยตลอด ดังนั้น การบริหารน้ำต้องรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกร ซึ่งมีนโยบายของเราตอนนี้ คือการทำงานทุกวัน ไม่มีวันหยุด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นโดยในอนาคตอันใกล้ กรมชลประทานมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น

ในส่วนของแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ซึ่งอยู่ในภาคอีสาน โดยทั้งสองสายน้ำจะไหลมารวมกันที่อ่างเก็บน้ำจังหวัดอุบลราชธานี ที่เรียกว่า M7 โดยนโยบายและมาตรการของกรมชลประทาน จะทำการยกประตู หมายความว่าเราจะเร่งระบายน้ำไปเรื่อย ๆ ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้วันที่น้ำฝนมามากกว่า จะต้องทำการเร่งระบายน้ำจนเกินกำลัง ต้องเรียนว่า กรมชลประทาน ทำงานร่วมกับการประปา การไฟฟ้า ในการจัดการน้ำในพื้นที่ถึงโยบายปล่อยน้ำของกรมกลชลประทาน เราจะทำในระยะไหน ระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะเร่งด่วน ซึ่งตอนนี้จากการตรวจสอบพบว่า การบริหารจัดการน้ำในลุ่มแม่น้ำชีและแม่น้ำมูล เราสามารถรับมือได้ดียิ่งขึ้น และเชื่อว่าผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนและเกษตรกร จะมีน้อยลงมากมากกว่าปีก่อน

นายอรรถกร กล่าวต่อถึงการบริหารจัดการน้ำในจังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้น มีโครงการต่างๆที่กรมชลประทานพยายามจะเร่งรัดให้สำเร็จ ซึ่งมีอย่างน้อย 2 โครงการใหญ่ที่ ขณะนี้ได้ออกแบบเสร็จแล้ว เหลือ รองบประมาณแล้วก็ถ้าเราได้งบประมาณเมื่อไหร่ เราก็จะทำการก่อสร้าง ซึ่งผมเชื่อว่า จะเป็นประโยชน์กับพี่น้องจังหวัดสุราษฎร์ธานีแน่นอน

“ผมไม่ได้อยู่บนบัลลังก์นี้ตลอด เวลาปกติผมก็ลงไปทำหน้าที่ข้างล่างในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่งดังนั้น ผมเชื่อว่ากระทรวงเกษตรฯ กรมชลประทาน หรือแม้แต่หน่วยงานอื่นๆอีก 21 หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรฯ เรายินดีที่จะรับฟังความเห็นและข้อแนะนำจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในทุกๆจังหวัดอยู่แล้ว และพร้อมจะทำงานร่วมกับทุกท่านที่สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 กรกฎาคม 2567

“สส.อรรถกร”เผย กระทรวงเกษตรฯทำงานแบบบูรณาการ เปิดรับทุกภาคส่วนร่วมมือกำจัด“ปลาหมอคางดำ”เตรียมนำข้อเสนอของ สส.ไปทำงานต่อ เชื่อ ทุกคนหวังดีกับประเทศ

,

“สส.อรรถกร”เผย กระทรวงเกษตรฯทำงานแบบบูรณาการ เปิดรับทุกภาคส่วนร่วมมือกำจัด“ปลาหมอคางดำ”เตรียมนำข้อเสนอของ สส.ไปทำงานต่อ เชื่อ ทุกคนหวังดีกับประเทศ

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการพิจารณาญัตติด่วนด้วยวาจาขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำและการจัดการสายพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานเพื่อส่งให้รัฐบาลพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยนายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวอภิปรายว่า ตนเห็นด้วยกับทุกแนวทางการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ เรื่องที่เกิดขึ้น การขออนุญาตครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ในปี 2549 และในปี 2553 ก็มีการนำเข้ามา 2,000 ตัว ตามหลักฐานที่กรมประมง กระทรวงเกษตรฯมี พอมาในปี 54 มีการชี้แจงว่า ทำลายทิ้งหมดแล้ว ต่อมาปี 60 จึงมีการไปพบหลักฐานอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนแนวทางการแก้ปัญหา ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ไม่ได้ไว้วางใจ ตั้งแต่ที่เข้ามารับตำแหน่ง ท่านก็ได้ดำเนินการเรื่องนี้อยู่ วันนี้เราพิสูจน์แล้วว่า การขับเคลื่อนโดยกรมประมง กรมเดียวไม่สามารถที่จะทำลายปลาหมอคางดำทันกว่าปริมาณที่มันออกลูกเพิ่มขึ้นมา เพราะว่าปลาชนิดออกลูกทุก 22 วัน ครั้งละ 300-500 ฟอง โดยตนได้รับการมอบหมายจากเจ้ากระทรวงเกษตรฯให้เป็นประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาปลาหมอดำ

“แนวทางการทำงาน คือ เราต้องลงพื้นที่ไปคุย ไปพูดจาไปรับฟังจากผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อม หลายครั้งที่เราไปรับฟังปัญหาจากชาวประมง ที่เป็นตัวแทนสมาคมต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง แม้แต่กระทั่งเรายินดีที่จะร่วมงานกับทุกฝ่าย ไม่ว่าท่านจะสังกัดพรรคอะไรก็ตาม เราไม่ได้ติดใจ เพราะเชื่อว่า การแก้ไขปัญหายิ่งมีคนมาช่วย ยิ่งเป็นเรื่องที่ดี ดังนั้นหลังจากที่ผมได้รับมอบหมาย ผมได้เรียกประชุมหารือ ณ วันนั้นมีการพบเจอการแพร่ระบาดในประเทศไทย 16 จังหวัด จึงได้มอบหมายให้กรมประมงแต่ละจังหวัดไปตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ ในการนำเสนอร่างมาตรการในการแก้ไขปัญหาต่างๆ“นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า มาตรการทางกรมประมงมี5 มาตรการ 1 ควบคุมกำจัด 2.ปล่อยปลาผู้ล่า 3.นำปลาหมอออกจากระบบนิเวศไปใช้อย่างอื่น 4. สำรวจเฝ้าระวัง 5.สร้างความรู้และการตระหนักรู้ของประชาชนหลังจากนั้นในวันที่ 22 ที่ผ่านมา ร.อ.ธรรมนัสและตนได้ลงพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ก่อนที่กระทรวงเกษตรฯจะดำเนินการต่อ เราได้รับข้อเสนอที่น่าสนใจจากสมาคมประมงแห่งประเทศไทย สมาคมประมงพื้นบ้าน คือการเสนอให้ยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ กาาผ่อนผันเครื่องมือ ซึ่งกรมประมงได้ผ่อนผันไปตั้งนานแล้ว นอกจากนั้นเราได้มอบหมายไปยังแต่ละจังหวัดให้ทำงาน เพราะแต่ละจังหวัดมันมีความแตกต่างกันในเรื่องของเครื่องมือ และความถนัด และจากร่างของกรมประมงที่เรารวบรวมจาก 16 จังหวัด ลองเอามาเทียบกับข้อเสนอจากสมาคมแห่งประเทศไทย จะเห็นได้ว่าข้อเสนอต่างๆใกล้เคียงกัน ตนจึงให้กรมประมงนำร่างข้อเสนอทั้ง 2 ร่างมารวมกัน เพื่อที่จะนำเสนอไปยังนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านให้ความสำคัญกับเรื่องนี้พร้อมสั่งการว่าให้กระทรวงเกษตรฯพยายามแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนให้เร็วที่สุด

“ผมยืนยันว่าทำงานของกระทรวงเกษตรฯเราไม่ได้ทำคนเดียว แต่เราทำพร้อมกับคนในพื้นที่ เพราะพิสูจน์แล้วว่าจับแบบธรรมดา มันไม่สามารถลดปริมาณลงได้เพียงพอกับการเกิด สิ่งที่จะทำให้สัมฤทธิ์ผลเรื่องนี้ก็คือ การตั้งค่าหัวกิโลกรัมละ 15 บาท ต่อมาตนได้ข่าวว่าบริษัทยักษ์ใหญ่บางรายก็ขยับจะรับซื้อ 15 บาทตามมาตรการของ ร.อ.ธรรมนัส กระทรวงเกษตรกรเนี่ยพร้อมที่จะทำตรงนี้ แต่เราไม่ได้บอกว่า งบประมาณ 50 ล้านบาทของการยางที่เราจะนำไปใช้มันจะเป็นทั้งหมดแล้ว เราก็มีความจำเป็นที่ต้องวางแผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวของกระทรวงเกษตรฯพร้อมด้วยรัฐบาล ซึ่งเป็นรัฐบาลของพี่น้องประชาชนคนไทย ในการที่จะต้องอนุมัติงบประมาณลงมาก้อนหนึ่งในการไล่ล่าก่อนที่เราจะทำอย่างอื่น”นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า อีกหนึ่งแนวทางที่มีความจำเป็นก็คือ การปล่อยปลาที่ถูกเหนี่ยวนำโครโมโซมไปเรียบร้อยแล้ว คือ ทุกวันนี้ปลาหมอดำในในแหล่งน้ำมีโครโมโซม 2N ถ้าเราสามารถเหนี่ยวนำเป็น 4N ได้ มันจะเป็นหมันรวมถึงเพื่อนมันด้วย ระหว่างที่เราไล่ล่า เราก็จะประเมินเป็นระยะว่ามาตรการใดที่สามารถทำได้แล้วสอดคล้องกัน

“วันนี้ผมมายืนอยู่ตรงนี้ในฐานะ สส.แต่ผมจะไปขอรายงานที่ท่านประธานจะรวบรวมความคิดเห็นจากเพื่อนสมาชิกทุกคนในค่ำคืนนี้ไปทำงานต่อ เพราะผมเชื่อว่า ทุกคนเสนอญัตตินี้ด้วยความหวังดี ผมในฐานะสส.ก็อยากจะเห็นการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลในเรื่องของการกำจัดปลาหมอคางดำให้ดีที่สุด”

 

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 กรกฎาคม 2567

”รมช.อรรถกร“ย้ำ ”รมว.ธรรมนัส ประกาศห้ามเลี้ยงปลาหมอคางดำ เผย กรมประมง ตัดราก ถอนโคน เตรียม เหนี่ยวนำชุดโครโมโซมเป็น 4n ทำหมัน หยุดการแพร่พันธุ์ แก้ปัญหาการระบาดที่ต้นตอ

,

”รมช.อรรถกร“ย้ำ ”รมว.ธรรมนัส ประกาศห้ามเลี้ยงปลาหมอคางดำ เผย กรมประมง ตัดราก ถอนโคน เตรียม เหนี่ยวนำชุดโครโมโซมเป็น 4n ทำหมัน หยุดการแพร่พันธุ์ แก้ปัญหาการระบาดที่ต้นตอ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ตอบกระทู้ถามสดด้วยวาจาของ นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.กทม.พรรคก้าวไกล ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่สอบถามถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤตปลาหมอคางดำ เนื่องจากสถานการณ์ตอนนี้หนักมาก ถือเป็นมหันตภัยร้ายที่สามารถทำลายมูลค่าทางเศรษฐกิจสัตว์น้ำไปปีหนึ่งหลาย 1,000 ล้านบาท

โดยนายอรรถกร กล่าวว่า เมื่อในวันที่ 6 พ.ค. ร.อ.ธรรมนัส ในฐานะเจ้ากระทรวงเกษตรฯ ตน และ สส.ณัฐชา ได้ลงพื้นที่ไปรับฟังปัญหาจากพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ แนวทางการทำงานของกระทรวงเกษตรฯเราจะไม่สนับสนุนให้ประชาชนมีในการเลี้ยงเพิ่ม ต้องกำจัดอย่างเดียวเท่านั้น นั่นคือสิ่งที่ตนยืนยันได้ โดยต้นตอปัญหามาจากเมื่อปี 2553 มีการขออนุญาตนำเข้าปลาหมอคางดำ สายพันธุ์เอเลี่ยน ซึ่งก็เป็นระยะเวลา 14 ปีก่อน โดยจากข้อมูลที่ตนได้รับจากกรมประมงว่า มีการนำเข้าปลาชนิดนี้อยู่ที่ 2000 ตัว จากบริษัทที่ตนเชื่อว่า พี่น้องคนไทยเคยได้ยินชื่อเป็นอย่างดี เราไม่สามารถปฏิเสธได้

นายอรรถกร กล่าวต่อด้วยว่า วัตถุประสงค์ในการนำเข้า ตนเชื่อว่าเป็นวัตถุประสงค์ที่ดี ในการนำเข้ามาเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ให้เจ้าตัวปลาสามารถทนน้ำได้ดีกว่าเดิม ซึ่งกระบวนการเท่าที่ตนศึกษามาก็คงจะเป็นการไขว้สายพันธุ์ต่างๆ เพื่อให้มันมีความคงทนยิ่งขึ้น เพื่อให้มันเกิดผลทางเศรษฐกิจ เราปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่า ณ เวลานั้นในวันที่มีการนำเข้ามาทุกอย่างนั้นเป็นไปตามตัวบทกฎหมาย มีการขออนุญาตถูกกฎหมายตาม พ.ร.บ.ประมงปี 2490 ซึ่งขณะนั้น ระบุไว้แต่เพียงว่า จะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ในการนำสัตว์น้ำจากต่างประเทศเข้ามา ซึ่งมันมีเอกสารมติในที่ประชุมในระบุเลยว่า อนุญาตให้นำเข้า เนื่องจากเป็นเรื่องเดิมที่เคยขออนุญาตแล้ว ซึ่งก่อนปี 53 คงจะมีการขอนำเข้าประมาณ 5000 ตัว แต่นำเข้าจริง 2,000 ตัว ภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ คือ ให้กรมประมงเก็บตัวอย่างครีบโดยไม่ทำให้ตาย อย่างน้อย 3 ตัว เมื่อสิ้นสุดการทดลองให้ผู้ขอนำเข้า แจ้งผลการทดลองแก่กรมประมงและควรมีการป้องกันไม่ให้สัตว์ทดลองหลุดรอดไปในธรรมชาติ ในกรณีที่การทดลองได้ผลไม่ดีผู้ขอนำเข้าไม่ประสงค์จะใช้ปลาต่อไป ขอให้ทำลายและเก็บซากไว้ให้กรมประมงตรวจสอบ

“จากการตรวจสอบการระบาดของปลาสายพันธุ์นี้ในช่วงปี 2560 และหลังจากนั้นผมก็เชื่อได้ว่า มันเป็นปัญหาที่ลามมาจนถึงทุกวันนี้ ผมได้ให้กรมประมงตรวจสอบย้อนหลังว่า ผมและกรมประมงยืนยันว่า กรมประมงไม่พบหลักฐานของการนำส่งตัวอย่างของปลาสายพันธุ์นี้เข้ามา ซึ่งจริงๆแล้วมันก็คือเป็นน่าเสียดาย เพราะถ้าเรามีหลักฐานที่เคยเก็บไว้ ณ เวลานั้น การตรวจสอบย้อนกลับก็จะสามารถทำได้ จริงๆมองตาท่านผมก็รู้ว่าท่านคิดอย่างไร ท่านมองตาผม ท่านก็รู้ว่าผมคิดคล้ายกับท่าน แต่ด้วยเอกสารที่ขณะนี้กรมประมงมีค่อนข้างจำกัด ซึ่งเป็นเอกสารที่ต้องอ้างอิงไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมไม่สามารถระบุได้ว่า ในปี 60 การส่งมอบตัวอย่างเกิดขึ้นจริงหรือไม่ อาจจะเกิดขึ้นจริงแล้วไม่ได้มีหลักฐาน หรืออาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงก็ได้ ผมในฐานะที่อยู่ตรงนี้ เบื้องต้นผมก็ต้องเชื่อว่า กรมประมงไปค้นแล้วแต่ไม่มีหลักฐานในการรับตัวอย่างจริงๆ”นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ตนเจ็บแค้นแทนพี่น้องประชาชนที่เขาได้รับความเดือดร้อน ตนมาอยู่ตรงนี้ก็รู้สึกอึดอัดเหมือนกัน แต่การที่จะตรวจสอบหาต้นทางเราขาดแค่ตัวหลักฐานที่เป็นปลาตาย หรือว่าปลาอาจจะป่วย ที่ตามกฎหมายหรือเงื่อนไขนำเข้าจะต้องส่ง ณ เวลานั้น แต่วันนี้เราหาต้นตอไม่เจอ มีข่าวว่า มีคนลักลอบนำเข้าก่อนปี 49 หรือ 53 โดยเป็นการลักลอบนำเข้า ที่จะเลี้ยงเพื่อความสวยงาม ตรงนี้เป็นเพียงหลักฐานที่เป็นพยานบุคคล เป็นเรื่องที่เล่าต่อกันมา แต่ว่ามีคนพบเห็น เราจึงไม่สามารถสรุปได้ว่า ต้นตอจริงๆ แล้วที่มันเกิดโรคระบาดมาจากไหน แต่ตนก็พยายามหาต้นตอ เพราะถ้าเราสามารถพิสูจน์ได้จริง ๆ คนที่ทำผิดก็ควรจะรับผิดชอบต่อความเสียหายระดับประเทศ

นายอรรถกร ยังกล่าวต่อว่า ตนขออ้างอิงการศึกษาการวิจัยที่ตอกย้ำว่า ระยะห่างทางพันธุศาสตร์ของประชากรปลาหมอคางดำทั้งหมดมีค่าที่ต่ำ แสดงให้เห็นว่าแต่ละประชากรย่อยไม่มีความแตกต่างกันมากนัก หมายความว่า การแพร่ระบาดน่าจะมาจากแหล่งประชากรเดียวกัน แต่ตนก็ไม่สามารถฟันธงได้ 100 เปอร์เซ็นต์ คือถ้าเราไม่มีหลักฐานที่มันชี้เฉพาะเจาะจงว่า การระบาดมันเกิดมาจากใคร เกิดมาจากบริษัทไหน มันเกิดมาจากที่ใด เราก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการต่อได้ แต่โชคดีที่ สส.ณัฐชา มีเอกสารอีกฉบับหนึ่งที่จะมาค้านกับสิ่งที่ตนรับรู้ รับทราบ มาจากกรมประมง ตนยินดีที่จะเอาเอกสารของ สส.ณัฐชา ไปพิจารณาร่วมกับสิ่งที่กรมประมงมี แล้วเราจะดำเนินการต่อไป เรื่องนี้การที่เราจะไปถึงจุดที่ต้องการได้ เราต้องอาศัยความร่วมมือในการทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่เราจะมาหาทางออกนี้ร่วมกัน

ในส่วนของมาตรการของกรมประมงหลายมาตรการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกประกาศห้ามเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ เลี้ยงในบ่อ รณรงค์ให้ช่วยกันจับการประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ ผมเชื่อว่า กรมประมงทำอย่างเดียวไม่ได้ สส.ทุกท่าน ก็สามารถช่วยแนวทางการทำงานของกระทรวงเกษตรกร ที่ ร.อ.ธรรมนัส ได้ประกาศว่า ห้ามส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์นี้เพราะว่าปลาหมอคางดำเป็นสัตว์ที่ทำลายระบบนิเวศไปอย่างย่อยยับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

“ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาทำแบบเดิมๆ แต่วันนี้ผมสามารถยืนยันได้ว่า ร่างของแผนปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ จะนำไปประชุมใครคณะกรรมการการแก้ไขปัญหาหมอปลาคางดำในอาทิตย์หน้า ขณะนี้เราจะมี 5 มาตรการ 13 กิจกรรมย่อย หนึ่งในนั้นที่กรมประมงได้เร่งทำอยู่ก็คือ การเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4n ในปลาหมอคางดำ ซึ่งเราเชื่อว่า การทำให้โครโมโซมจาก 2n เปลี่ยนเป็น 4n จะทำให้โครโมโซมในปลาชนิดนี้เปลี่ยน จากนั้นเราก็ปล่อยลงแหล่งน้ำ ทะเล พอมันไปผสมพันธุ์กัน นอกจากตัวมันที่จะเป็นหมันแล้ว ก็จะทำให้เพื่อนของมันเป็นหมันตามไปด้วย นี่คือการทำงานของผู้เชี่ยวชาญของกรมประมง และเราคาดว่า ปลาที่จะผ่านการเหนียวนำชุดโครโมโซมเป็น 4n จะกระโดดลงน้ำครั้งแรกภายในสิ้นปีนี้“นายอรรถกร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 11 กรกฎาคม 2567

“รมช.อรรถกร” ตอบกระทู้ยัน กระทรวงเกษตรฯมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาให้ประมงพื้นบ้าน

,

“รมช.อรรถกร” ตอบกระทู้ยัน กระทรวงเกษตรฯมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาให้ประมงพื้นบ้าน เตรียมดันมาตรการสนับสนุนน้ำมันผ่านการเติมเงิน ย้ำพร้อมต่อสู้เพื่อ ปชช.เต็มที่

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้มาตอบกระทู้ของนายกฤช ศิลปชัย สส.ระยอง พรรคก้าวไกล ที่สอบถามความคืบหน้าข้อเสนอนโยบายประมงทะเล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวประมงพื้นบ้านไทย ว่า ร.อ.ธรรมนัส ได้ฝากมาขอโทษที่ท่านไม่ได้มาตอบกระทู้ด้วยตัวเอง เนื่องจากติดภารกิจ แต่ท่านเล็งเห็นถึงความตั้งใจและให้ความสำคัญในการที่จะแก้ไขปัญหาให้กับชาวประมง โดยเฉพาะพี่น้องประมงพื้นบ้าน และได้กำชับให้มาตอบกระทู้ของท่าน สส.

ทั้งนี้ต้องขอบคุณ สส.พรรคก้าวไกลที่มีความห่วงใยให้กับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน และท่านก็มีความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่ประมงพื้นบ้านอย่างแท้จริง ซึ่งปัญหาอุปสรรคในการประกอบอาชีพของชาวประมงขณะนี้มีต้นทุนมากกว่า 50% โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ซึ่งกระทรวงเกษตร ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาประมงทะเล และได้ทำการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 1ชุด เพื่อที่จะพิจารณาข้อเสนอตามนโยบายการประมงและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประมงพื้นบ้าน ซึ่งทางกรมประมงได้เสนอช่วยเหลือค่าน้ำมันสำหรับพี่น้องที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านจำนวน 1,275 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือน

อย่างไรก็ตามในที่ประชุม ยังมีข้อกังวลในการสนับสนุนค่าน้ำมันสำหรับการดำเนินโครงการนี้ ที่มีผู้เข้าร่วมประมาณ 45,000 ราย ใช้งบประมาณประมาณ 350 ล้านบาท จะมั่นใจได้อย่างไรว่า การใช้งบประมาณจะเกิดความยั่งยืน ขณะเดียวกัน พี่น้องชาวประมงที่รับเงินอุดหนุนแล้วจะนำไปซื้อน้ำมันจริง หากไม่ได้นำเงินไปซื้อน้ำมันตามวัตถุประสงค์ของการอนุมัติโครงการนี้ ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่า ควรจะให้ชาวประมงพื้นบ้านได้รับการสนับสนุนอย่างแท้จริง ดังนั้นทางกรมประมง จึงผลักดันแนวทางในการที่จะสนับสนุนน้ำมันผ่านทางการเติมเงิน ผ่านสมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือ เราจะสามารถมั่นใจได้ว่าทุกบาททุกสตางค์ที่อุดหนุนช่วยเหลือพี่น้องประมงพื้นบ้าน จะถูกนำไปซื้อน้ำมันตรงตามวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้น

“ในเรื่องนี้ ร.อ.ธรรมนัส ท่านมีความกังวล และห่วงใย เนื่องจากที่ผ่านมา ภาครัฐเรามีการช่วยเหลือน้ำมันเขียว หรือว่าน้ำมันต่างๆที่มีราราคาถูกกว่าโดยเฉพาะให้กับผู้ประกอบการประมงที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ความช่วยเหลือดัวกล่าว ถ้าเทียบกับพี่น้องประมงพื้นบ้านแล้วความช่วยเหลือต่างๆมีความเหลื่อมล้ำพอสมควร ดังนั้นแนวทางการทำงานของกรมประมง จะเปิดโอกาสให้พี่น้องประมงพื้นบ้านได้รับความช่วยเหลืออย่างแท้จริง โดยกรมประมงจะนำประเด็นนี้ไปหารือกับคณะทำงานเพื่อดำเนิน โครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซล สำหรับชาวประมงพื้นบ้านในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร โดยมีตัวแทน จากกรมประมงเข้าไปเป็นในคณะทำงานนี้ด้วย

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ จะนำไปหารือ สมาคม สมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อไปรับฟังความเห็นจาก ถ้ามีความคิดเห็นที่ตรงกัน ก็สามารถเดินหน้าต่อได้เต็มที่ เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนที่ทำประมงพื้นบ้านด้วย รวมทั้งกระทรวงได้ตั้งงบประมาณที่จะสนับสนุนการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรมาอย่างต่อเนื่อง โดยจุดประสงค์เพื่อจะอุดหนุนไปยังองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมประมง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มการผลิตด้านประมง ซึ่งโครงการต่างๆ องค์กรชุมชน จะได้รับอุดหนุนไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 ส่วนปี 2568 จะได้รับจัดสรรงบประมาณมาประมาณ 200 กองทุน ดังนั้นองค์กรชุมชนท้องถิ่นจะสามารถนำงบประมาณตรงนี้ไปใช้ในเรื่องของการเพิ่มผลผลิตให้กับสัตว์น้ำ เรื่องของธนาคารสัตว์น้ำ การพัฒนาอาชีพทางด้านการประมง หรือการเปลี่ยนและซ่อมแซมเครื่องมือประมงได้

“ในส่วนความห่วงใยของเพื่อนสมาชิกในส่วนของกองทุนประกันภัยแก่ประมงพื้นบ้าน เพื่อช่วยเหลือในกรณีอุบัติเหตุหรือในกรณีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ต้องยอมรับว่า เงื่อนไขในกรมธรรม์อาจจะยังไม่เป็นที่พอใจสำหรับพี่น้องที่เป็นชาวประมงพื้นบ้านมากนัก เพราะว่ามีอุปสรรคหลายอย่าง เช่น การชดเชยความสูญเสียจากธรรมชาติหรือว่าภัยพิบัติ จะต้องดูในเรื่องของระเบียบทางราชการ ซึ่งต้องเป็นการประกาศภัยพิบัติระดับจังหวัดเท่านั้น ถ้าเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเฉพาะพื้นที่ผมเชื่อว่าทางจังหวัดก็ไม่สามารถประกาศเป็นภัยพิบัติได้ ทำให้ไม่สามารถรับค่าสินไหมทดแทนได้ แต่ขณะนี้กรมประมงอยู่ระหว่างการเจรจาในเรื่องนี้ เพื่อจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้สามารถครอบคลุม หรือว่าดูแลเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น“

นายอรรถกร กล่าวต่อด้วยว่า กรมประมงกำลังทำร่างใหม่ เพื่อเสนอไปที่กรมบัญชีกลาง เช่น ชดเชยเวลาเกิดความเสียหาย ก็ชดเชยตามความยาวของเรือ แต่ที่เรากำลังจะนำเสนอเป็นการชดเชยตามปริมาตรความจุของเรือ หรือแม้แต่เรื่องของอัตราการช่วยเหลือในกรณีที่เสียหาย จะจ่ายไม่เกิน 20,000 บาท แต่เราจะเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 การช่วยเหลือเยียวยาประมาณ 10,000 แล้วก็ปรับขึ้นเป็น 15,000 บาท หรือแม้แต่ในกรณีที่เรือจมนะที่สามารถจ่ายได้ไม่เกิน 66,000 บาท แต่ร่างใหม่สามารถเพิ่มขึ้นมาเป็นจ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท

ส่วนการจ่ายเงินเยียวยาให้กับชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดระยองนั้น กรมประมงมีนโยบายในการที่จะดำเนินการช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านมาตลอด โดยมีกิจกรรมต่างๆที่ช่วยเหลือดำเนินการในพื้นที่ ๆ จะร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนแล้วก็พัฒนาให้พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงซ่อมแซมธนาคารปูม้า สนับสนุนการจัดหาเครื่องมือประมง สนับสนุนอุปกรณ์ซ่อมเรือ หรือแม้แต่กิจกรรมในการผลิตลูกพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ เราจะต้องลงไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการหาทางออก ที่ทำให้ทุกฝ่ายพึงพอใจ โดยไม่ผิดกฎหมาย

“ร.อ.ธรรมนัส ให้ความสำคัญและลงไปประชุมกับพี่น้องชาวประมงพาณิชย์ที่ต้องการที่จะขายเรืออยู่เรื่อยๆ ตอนนี้ผมเชื่อว่า อยู่ในกระบวนการในการที่จะหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายพึงพอใจ ก็คงจะใช้เวลาสักนิดนึง แต่ผมเรียนด้วยความเคารพว่า พวกผมก็ต้องต่อสู้ในฐานะเป็นนักการเมือง ร.อ.ธรรมนัส ก็เป็นนักการเมือง เราก็ต่อสู้เพื่อที่ประชาชนจะได้รับสิ่งที่เขาสามารถได้รับกลับมาให้เหมาะสม ท่านไม่ต้องกังวลใจ เราในฐานะกระทรวงเกษตรฯ เราจะทำตรงนี้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและรอบคอบที่สุด” นายอรรถกร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 กรกฎาคม 2567

“รมว.ธรรมนัส” มอบหมาย “รมช.อรรถกร” เร่งกรมพัฒนาที่ดินตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินรับโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง หนุนชาวนาเข้าถึงข้อมูลวางแผนเพาะปลูกแม่นยำเพิ่มรายได้-ลดต้นทุนตามนโยบายรัฐ

,

“รมว.ธรรมนัส” มอบหมาย “รมช.อรรถกร” เร่งกรมพัฒนาที่ดินตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินรับโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง
หนุนชาวนาเข้าถึงข้อมูลวางแผนเพาะปลูกแม่นยำเพิ่มรายได้-ลดต้นทุนตามนโยบายรัฐ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้จัดประชุม vdo conference ร่วมกับ จนท กรมพัฒนาที่ดินทั่วประเทศให้เตรียมตัวสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ทั่วประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้สูงขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม ในโครงการสนับสนุนเกษตรกรใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยได้เร่งรัดให้กรมพัฒนาที่ดิน จัดเก็บผลวิเคราะห์ดินทั่วประเทศ ใช้กลไกของอาสาหมอดินที่มีอยู่ใน 77 จังหวัด ทำการรวบรวมฐานข้อมูลคุณภาพดินในการเพาะปลูกของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั้งหมด ที่จะนำไปสู่การวางแผนการเพาะปลูกที่เหมาะสม กับชนิดปุ๋ยในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้สามารถวางแผนต้นทุนการเพาะปลูกข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนมาตรการ”ปุ๋ยคนละครึ่ง” ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อเร็วๆนี้

“การจัดทำฐานข้อมูลคุณภาพดินทั่วประเทศเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อให้ใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับคุณภาพดินในแต่ละพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาพบว่าการใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็น สร้างภาระต้นทุนให้กับพี่น้องเกตรกรมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะขณะนี้ราคาปุ๋ยที่ปรับตัวสูงขึ้น หากยิ่งใช้เกินความจำเป็นทำให้เกษตรกรขาดทุนในการเพาะปลูก ดังนั้นโครงการดังกล่าว ถือเป็นภาระกิจหลักตามนโยบายของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกะทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีแผนการพัฒนาภาคเกษตร มีการวางแผนการเพาะปลูกแบบแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร 3 เท่า ภายในระยะเวลา 4 ปี เป็นแนวทางของการสร้างความมั่นคงในอาชีพ ที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 มิถุนายน 2567

“รมช. อรรถกร” ยอมรับงบกระทรวงเกษตรฯ 1.2 แสนล้านบาทไม่เพียงต่อปัญหาพี่น้องเกษตรกร เผยงบ 70% เป็นงบลงทุนพัฒนาโครงการ ย้ำต้องเร่งทำงานในพื้นที่ รับฟังปัญหาเกษตรกรมากขึ้น

,

“รมช. อรรถกร” ยอมรับงบกระทรวงเกษตรฯ 1.2 แสนล้านบาทไม่เพียงต่อปัญหาพี่น้องเกษตรกร
เผยงบ 70% เป็นงบลงทุนพัฒนาโครงการ ย้ำต้องเร่งทำงานในพื้นที่ รับฟังปัญหาเกษตรกรมากขึ้น

วันนี้ (21 มิ.ย. 67) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง สมัยวิสามัญเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ในวาระแรก นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา พลังประชารัฐ(พปชร.)ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวชี้แจงงบประมาณของกระทรวงเกษตรฯว่า เราได้เงินงบประมาณมากกว่า 120,000 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณของกระทรวงเกษตรนั้น กว่า 70% จะเป็นงบลงทุนเป็นส่วนใหญ่

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า เรามีโอกาสได้ไปลงพื้นที่ในทั่วภูมิภาคในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จะเห็นว่าเงินจำนวนนี้มันไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกร เมื่อกลับมาประชุมที่สภา ในวาระพิจารณางบประมาณในครั้งนี้ยิ่งเด่นชัด เนื่องจากตนได้พบเพื่อนสมาชิกจากจังหวัดต่างๆก็มาพูดคุยถึงความต้องการงบประมาณในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่มากมาย

“การจัดสรรงบประมาณอาจจะยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งระบบในการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร แต่ว่าเราในฐานะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เราจะทำงานให้ละเอียดขึ้น จะต้องทำงานให้ถึงลูกถึงคนยิ่งขึ้น เราจะต้องลงพื้นที่เพื่อไปคลุกคลีกับพี่น้องประชาชน พี่น้องเกษตรกร เพื่อรับฟังปัญหาจากพี่น้องเกษตรกร ด้วยสองตา สองหู และสมองของพวกเรา เพื่อที่จะชดเชยในเรื่องของการได้รับงบประมาณที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งระบบ” นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ในเรื่องของพื้นที่เผาไหม้ ที่มาจากพื้นที่ทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาอยู่ก็ตาม แต่ข้อมูลอ้างอิงจากข้อมูลดาวเทียมของจิสด้าระบุชัดเจนว่า ความร้อนในปีนี้ลดลง ถ้าเทียบกับปีที่แล้ว 10% ซึ่งนโยบายเป้าหมายในการลดจุดความร้อนของกระทรวงเกษตรฯเรามีแนวทางในการทำงานชัดเจน โดยกระทรวงเกษตรฯได้ประกาศไว้ใน IGNITE THAILAND ว่า เราจะใช้แนวทาง 3R Model ลดปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร คือ

1.Re-Habit : เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช เป็นการปลูกแบบไม่เผา ภายใต้มาตรฐาน GAP PM 2.5 Free โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยว
2.Replace with High value crops : เปลี่ยนชนิดพืช ปรับเปลี่ยนชนิดและวิถีการปลูกพืชบนพื้นที่สูง จากพืชไร่เป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจแบบผสมผสานที่มีมูลค่าสูง
3.Replace with Alternate crop : เปลี่ยนเป็นพืชทางเลือก ปรับเปลี่ยนชนิดและวิธีการปลูกพืชบนพื้นราบ โดยเน้นการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจแและเป็นประโยชน์ต่อดิน

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า กระทรวงเกษตรฯกำลังร่างมาตรฐานใหม่ขึ้นมาให้ครอบคลุมถึงเรื่องของการลดการเผาลงไปด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงของการรับฟังความคิดเห็นจากพี่น้องประชาชน และเชื่อว่าหลังจากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากพี่น้องประชาชนแล้วจะนำเข้าสู่คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าทางการเกษตรต่อไป

ในส่วนประเด็นที่เพื่อน สส.มีความห่วงใยถึงปัญหาที่ว่ามีการถ่ายโอนภารกิจต่าง ๆ จากกระทรวงเกษตรกรไปยังท้องถิ่น ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้ทราบปัญหาเป็นอย่างดี และเมื่อ 2 อาทิตย์ก่อน กระทรวงเกษตรกรฯได้เรียกหัวหน้าหน่วยราชการทั้ง 22 หน่วยงานของกระทรวงเกษตรกรฯเข้ามาพูดคุยเรื่องนี้ โดยเน้นไปที่กรมชลประทาน และกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งมีภารกิจที่ถ่ายโอนไปเยอะ ให้ไปทำข้อมูลในในส่วนของโครงการที่มีความจำเป็นที่จะต้องซ่อมแซมแก้ไขอย่างเร่งด่วนเข้ามา และเราก็จะทำงานร่วมกับท้องถิ่น ในการที่จะเป็นคล้ายๆกับผู้แนะนำให้ท้องถิ่นที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการซ่อมแซม หรือว่าไม่มีงบประมาณทำการขอเงินจากรัฐบาลต่อไป

นายอรรถกร กล่าวต่อถึง โครงการก่อสร้างแหล่งน้ำในนอกเขตชลประทาน หรือ บ่อจิ๋ว จำนวน 23,000 บ่อ โดยมีการกำหนดความลึกไว้ที่ 2.1 เมตร ตนต้องนำเรียนว่าจริงๆ แล้ว กำหนดความลึกของกรมพัฒนาที่ดินอยู่ที่ 3-5 5 เมตรแต่ตรงนี้ถ้ากรมพัฒนาที่ดินลงไปช่วยเหลือในการสนับสนุนการขุดบ่อจิ๋ว ต่ำกว่า 3 เมตรก็ได้ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของเกษตรกรแต่มาตรฐานที่ปริมาตรของความจุอยู่ที่ 1,260 ลูกบาศก์เมตร และขอเรียนเพิ่มเติมว่า 20 ปีที่ผ่านมา กรมพัฒนาที่ดินได้ทำการปฏิบัติการขุดบ่อไปแล้ว 723,380 บ่อ ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำได้ 911,459 ลูกบาศก์เมตร โดยต้องยอมรับเนื่องจากบ่อมีขนาดไม่ใหญ่มาก หากนำไปเทียบกับอ่างเก็บน้ำใหญ่ ๆ มันมีโอกาสที่บ่อเก็บน้ำเหล่านี้จะตื้นเขินอยู่แล้ว แต่กระทรวงเกษตรฯ จะลงไปดูในเรื่องของบ่อที่ขุดมานาน เพื่อที่จะพัฒนาระบบเก็บน้ำของเกษตรกรต่อไป

นายอรรถกร ยังกล่าวต่อถึงเหตุน้ำท่วมที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งปัจจุบันกระทรวงเกษตรฯร่วมกับรัฐบาลได้เดินหน้าเยียวยาพี่น้องเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของด้านพืชผล เราได้เยียวยาเกษตรกรไปทั้งหมด 764 ราย เป็นเงินมูลค่า 5.47 ล้านบาท ด้านประมง 419 ราย 1.74 ล้านบาท ด้านปศุสัตว์ 447 ราย มีการประสานหน่วยงานเพื่อที่จะเยียวยา คิดเป็นเงินเกือบ 30 ล้านบาท ในเรื่องของประเด็นทุเรียนไม่ออกดอกนั้น ปัญหาหลักของทุเรียนในการที่จะออกดอกออกผลเยอะ ๆ ก็คือ ทุเรียนเป็นพืชที่ต้องการน้ำ ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นน้ำต้นทุน หรือว่าน้ำสำรอง เป็นสิ่งที่กระทรวงเกษตรฯ โดยเฉพาะกรมชลประทานให้ความสำคัญเป็นอย่างดี

“ผมยกตัวอย่างในปี 2568 งบประมาณของกรมชลประทาน จะมีโครงการอ่างเก็บน้ำคลองพระวาใหญ่ จังหวัดจันทบุรี หลักๆก็คือจะเป็นสถานีสูบน้ำพร้อมระบบสูบน้ำ ท่านก็สามารถใช้ระบบน้ำตรงนี้ ส่งน้ำไปยังสวนทุเรียนในบริเวณใกล้เคียงได้ นี่คือสิ่งที่กระทรวงเกษตรฯให้ความสำคัญในการเพิ่มมูลค่าทางการเกษตรให้กับพี่น้องเกษตรกร“นายอรรถกร กล่าว

ส่วนความเป็นห่วงในเรื่องของการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ในปี 2567 เกษตรกรได้เข้าร่วมโครงการนี้ผ่านกรมการข้าว และกรมส่งเสริมเกษตรกรมากกว่า 10,000 ครัวเรือน แต่ส่วนใหญ่พื้นที่จะอยู่ในเขตตะวันตก เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาทสิงห์บุรี ราชบุรี และกาญจนบุรีในบางส่วน แต่ว่าในปีจ 68 ก็มีแผนที่จะขยายไปในพื้นที่ต่างๆมากขึ้น อย่างน้อยให้ครบ 400,000 ไร่ เพื่อที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรได้รับเงินจากการทำคาร์บอนเครดิตด้วย

ด้านนายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ที่ให้ความเป็นห่วงประชาชนที่ต้องการได้รับเงินชดเชยจากโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี ตนยืนยันว่ากระทรวงเกษตรฯจะทำเรื่องนี้ให้เสร็จภายในปี 69 ที่อ่างเก็บน้ำลำน้ำชี หมายความว่าปลายปี 68 รัฐบาลสามารถชดเชยในส่วนที่พี่น้องจะต้องย้ายออกได้แล้ว

นายอรรถกร ยังกล่าวถึงปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำที่ สส.หลายคนพูดถึงนั้น ตนยืนยันว่า ราคาสินค้าทางการเกษตรเกือบทุกตัวปรับตัวสูงขึ้นในปีที่ผ่านมา และเรายังเชื่อมั่นแนวทางการทำเกษตรที่มีความแม่นยำ และทำเกษตรที่สามารถได้ในราคาสูง ๆ เราจะดำเนินการต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 มิถุนายน 2567

“รมช.อรรถกร” ลงพื้นที่ตลาดอาหารทะเลอ่างศิลา แก้ปัญหาแผงร้านค้าผิดระเบียบ สั่ง อสป.หามาตรการพัฒนาตลาด เพิ่มความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดึงทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

,

“รมช.อรรถกร” ลงพื้นที่ตลาดอาหารทะเลอ่างศิลา แก้ปัญหาแผงร้านค้าผิดระเบียบ
สั่ง อสป.หามาตรการพัฒนาตลาด เพิ่มความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดึงทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

(วันที่ 17 พ.ค.) นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตลาดประมงพื้นบ้าน อ่างศิลา บริเวณริมทะเล ต.อ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี ในความรับผิดชอบขององค์การสะพานปลา (อสป.) เพื่อแก้ไขปัญหาร้านค้า ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ เนื่องจากพบว่าผู้ค้ามีการต่อเติมหลังคาและแบ่งพื้นที่เพื่อการเช่าช่วง พร้อมทั้งการตรวจความเรียบร้อยด้านความสะอาด ความปลอดภัย คุณภาพของอาหารทะเล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเป็นธรรมกับผู้ค้าที่นำไปสู่การยกระดับมาตรฐานตลาดอาหารทะเลให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้ให้กับทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน

นายอรรถกร กล่าวว่า การลงพื้นที่วันนี้ ทำให้ได้เห็นสภาพจริงของปัญหาและอุปสรรคในการจัดการและบริหารตลาดอาหารทะเลสด และแปรรูปตลาดประมงพื้นบ้าน อ่างศิลา เพื่อจะได้นำไปสู่การปรับปรุงและยกระดับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชน ตามนโยบายของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการประกอบอาชีพของกลุ่มเกษตรกร ควบคู่ไปกับการขจัดปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องบูรณาการ ในการพัฒนาร่วมกัน ที่ให้เป็นไปตามข้อกฎหมายและสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับทุกฝ่าย

ทั้งนี้ที่ผ่านมา ตนได้รับแจ้งว่า เรื่องของร้านค้าในตลาด มีความขัดแย้งระหว่าง ผู้ค้าที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ส่งผลให้ อสป.เสียประโยชน์ จำเป็นต้องมีกลไก มาตรวจสอบข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้สั่งการให้ อสป.เร่งหามาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาตลาดแห่งนี้ให้มีมาตรฐานด้านสุขอนามัยความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นกับผู้บริโภค และผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้า ควบคู่ไปกับการรักษาชื่อเสียงแหล่งอาหารทะเลที่ได้รับความนิยมทั้งจากคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศต่อไป

“จากการพบปะพ่อค้าแม่ค้ายังพบว่า มีปัญหาเรื่องของระบบสาธารณูปโภค เพื่อให้บริการกับประชาชนและนักท่องเที่ยว รวมถึงปัญหาของพ่อค้าแม่ค้าบางรายมีรายได้น้อย ทำให้ไม่สามารถชำระค่าเช่าได้ตรงตามเวลา แม้ตลาดจะมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการกู้ยืมเงินนอกระบบมาชำระแทน ซึ่งเรื่องดังกล่าว ได้มอบหมายให้ผู้จัดการองค์การสะพานปลา ไปหาแนวทางร่วมกันกับทุกฝ่าย เพื่อให้ตลาดฯ มีระเบียบ และมาตรฐานการให้บริการที่สูงขึ้น และเน้นย้ำในเรื่องการดูแลด้านความสะอาด โดยเฉพาะห้องน้ำ หลังคาที่การต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้เร่งดำเนินการโดยด่วน และมารายงานให้ทราบโดยเร็ว ซึ่งจะมีการติดตามในพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง”นายอรรถกร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 พฤษภาคม 2567

“สส.อรรถกร” ฝาก ผู้ว่าฯฉะเชิงเทรา-กรมชลฯ เร่งรับมือปัญหาค่าน้ำเค็มแม่น้ำบางปะกง จี้ กรมทางหลวง-คมนาคม เร่ง แก้ปัญหาถนนมืด หลังคน ขโมยสายไฟ

,

“สส.อรรถกร” ฝาก ผู้ว่าฯฉะเชิงเทรา-กรมชลฯ เร่งรับมือปัญหาค่าน้ำเค็มแม่น้ำบางปะกง จี้ กรมทางหลวง-คมนาคม เร่ง แก้ปัญหาถนนมืด หลังคน ขโมยสายไฟ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาฯว่า ค่าความเค็มในแม่น้ำบางประกงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตนจึงขอฝากไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และกรมชลประทาน ให้ช่วยเตรียมรับมือกับค่าความเค็มในแม่น้ำบางปะกง นอกจากนี้ ตนยังได้รับการประสานงาน เรื่องถนนในหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ต.ศาลาแดง และช่วงคลอง 18 คลอง 19 ไฟถนนดับ เนื่องจากมีคนมาขโมยอุปกรณ์สายไฟ ซึ่งเรื่องนี้เกิดมานานแล้ว จึงขอฝากไปยังกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงชนบทฉะเชิงเทรา ให้ส่งคนเข้าไปแก้ไขโดยด่วน

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ตนได้รับการร้องเรียน ให้เร่งสร้างประตูระบายน้ำหลังวัดจระเข้ตาย ที่อ. ราชสาส์น เนื่องจากเรื่องนี้มีการอนุมัติงบประมาณไปนานแล้วแต่มีความล่าช้า หลังจากอนุมัติงบประมาณแล้วมีการเปลี่ยนจุด ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนชุดก็ต้องเปลี่ยนแบบ และเมื่อมีการเปลี่ยนแบบแล้วก็ต้องหาผู้รับเหมา แม้ขนาดนี้จะได้ผู้รับเหมาแล้วแต่ ยังไม่ได้ลงมือทำ โดยเรื่องดังกล่าวค้างคามานานถึง 10 ปี หากเร่งสร้างประตูระบายน้ำในพื้นที่ดังกล่าวได้ จ่ายสามารถช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 ธันวาคม 2566

“อรรถกร”เผย‘รอ.ธรรมนัส’ลงพื้นที่ จ. ฉะเชิงเทรา สั่งหน่วยงานเร่งแก้ปัญหา ‘ปลากะพงขาว’ ราคาตกต่ำ พร้อมขับเคลื่อนงานจัดที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ให้เกษตรกร

,

“อรรถกร”เผย‘รอ.ธรรมนัส’ลงพื้นที่ จ. ฉะเชิงเทรา สั่งหน่วยงานเร่งแก้ปัญหา ‘ปลากะพงขาว’ ราคาตกต่ำ พร้อมขับเคลื่อนงานจัดที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ให้เกษตรกร

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จ.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)เปิดเผยว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อตรวจราชการและเป็นประธานมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ให้แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 70 ราย พร้อมทั้งรับฟังข้อเรียกร้องของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาว นำโดย นายสุทธิ มะหะเลา นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเลไทย ณ ห้องประชุมมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า ร.อ.ธรรมนัส ได้รับข้อร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาว ถึงปัญหาราคาตกต่ำ ซึ่งสาเหตุจากมีการนำสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลากะพงขาวจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมาก ซึ่งมีการนำเข้าทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ทำให้สัตว์น้ำของเกษตรกรที่เลี้ยงมีราคาตกต่ำ ประกอบกับมีต้นทุนการผลิตสูง ทำให้ผู้เพาะเลี้ยงปลากะพงขาวได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณการทำงานร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

โดย ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาว ได้กล่าวขอบคุณ รมว.เกษตรฯ ที่ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเร่งรัดแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ซึ่งภายหลังจากที่กลุ่มได้ยื่นเรื่องร้องเรียนดังกล่าวต่อศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์จากเกษตรกร ทำให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการช่วยเหลือและผลักดันให้เกิดแนวทางแก้ไขร่วมกัน สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจังหวัดฉะเชิงเทรา มีกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งทะเล 5,754 ราย 5,829 ฟาร์ม พื้นที่ 64,550 ไร่ กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด 4,011 ราย 4,017 ฟาร์ม พื้นที่ 42,268 ไร่ กลุ่มผู้เลี้ยงปลาทะเล 503 ราย 503 ฟาร์ม พื้นที่ 9,467 ไร่ ในส่วนของปริมาณผลผลิตปลากะพงขาว ปี 2565 มีจำนวน 6,624.32 ตัน และในปี 2566 ประมาณการผลผลิต จำนวน 6,713.00 ตัน

ทั้งนี้ ร.อ.ธรรมนัส ได้มอบ ส.ป.ก. 4-01 ให้แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 70 รายด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 12 พฤศจิกายน 2566