โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. อัครแสนคีรี โล่ห์วีระ

“อัครแสนคีรี”ขอ กรมชลประทานขยายระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำ สถานีสูบน้ำ แก้มลิง หลัง ชัยภูมิยังเผชิญน้ำท่วม น้ำแล้ง หนักทุกปี

,

“อัครแสนคีรี”ขอ กรมชลประทานขยายระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำ สถานีสูบน้ำ แก้มลิง หลัง ชัยภูมิยังเผชิญน้ำท่วม น้ำแล้ง หนักทุกปี

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า เขต 7 ชัยภูมิ ประกอบไปด้วย อำเภอแก้งคร้อ และอำเภอคอนสวรรค์ โดยอำเภอคอนสวรรค์ เป็นอำเภอที่ติดแม่น้ำชี แต่ปัจจุบันเผชิญกับสภาพปัญหาน้ำท่วมถือว่าหนักที่สุดของจังหวัดชัยภูมิ เพราะว่าเป็นอำเภอสุดท้ายที่น้ำของทุกอำเภอ ของจังหวัดชัยภูมิ จะไหลไปลงที่แม่น้ำชี ผ่านอำเภอคอนสวรรค์ ในส่วนของอำเภอแก้งคร้อนั้น เป็นอำเภอที่ถึงแม้จะอยู่ติดกับแหล่งเขา แต่เป็นพื้นที่ทางน้ำผ่าน ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ซึ่งในหลายตำบลยังมีปัญหาแห้งแล้งอยู่

“ผมจึงขอฝากไปยังกรมชลประทาน ขอให้ขยายระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำที่บ้านนาแก ระบบส่งน้ำ อ่างเก็บน้ำเหล่าใหญ่ ประตูระบายน้ำบ้านโนนแต้ ประตูระบายน้ำบ้านโนนสงเปลือย ประตูระบายน้ำบ้านโนนพันชาติสถานีสูบน้ำไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านเก่าย่าดี,บ้านนาหนองทุ่ม,บ้านหนองรวก สถานีสูบน้ำ บ้านโคกก่อง-โนนทอง,บ้านดอนไข่ผำ,บ้านยางหวาย,บ้านดอนหัน ,บ้านโนนทอง,บ้านหนองมะกรูด,บ้านโนนแต้ไปยัง โคกก่อง แก้มลิงหนองน้ำขุ่น,แก้มลิงหนองแสง,แก้มลิงหนองทอน,แก้มลิงหนองอ้อท่า และแก้มลิงโคกหนองแต้“

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 ตุลาคม 2566

“อัครแสนคีรี” รุดช่วยชาวชัยภูมิ เรียกร้องค่าเวนคืนสร้างเขื่อนลำปะทาว พร้อมยื่นหนังสือขอ รมว.พลังงานเร่งแก้ไขปัญหา

,

“อัครแสนคีรี” รุดช่วยชาวชัยภูมิ เรียกร้องค่าเวนคืนสร้างเขื่อนลำปะทาว พร้อมยื่นหนังสือขอ รมว.พลังงานเร่งแก้ไขปัญหา

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่าในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ชัยภูมิ ตนได้เดินทางไปพบปะกับพี่น้องประชาชนจังหวัดชัมภูมิ เพื่อสอบถามถึงปัญหาและข้อเรียกร้องของการเดินทางมาชุมนุมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องค่าเวนคืนที่ดินจากโครงการสร้างเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเพื่อการผลิตไฟฟ้าและเป็นเก็บกักน้ำป้อนระบบชลประทาน ในเขตอำเภอแก้งคร้อ

“ผมได้ทำหนังสือขอความช่วยเหลือเร่งด่วนไปยัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อเร่งดำเนินการจ่ายค่าเวนคืนที่ดินจากการสร้างเขื่อนลำปะทาว ให้กับกลุ่มชาวบ้านที่ยังไม่ได้รับเงินตามมติคณะรัฐมนตรี รวมถึงแจ้งเรื่องการทำหนังสือดังกล่าวกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมกับจะติดตามต่อไป“นายอัครแสนคีรี

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 กันยายน 2566

“อัครแสนคีรี” ชงสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า หวังได้ข้อสรุปจะรับมืออย่างไร หลังเป็นของผิดกม.แต่ลักลอบขายสูบกันทั่วเมือง

,

“อัครแสนคีรี” ชงสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า หวังได้ข้อสรุปจะรับมืออย่างไร หลังเป็นของผิดกม.แต่ลักลอบขายสูบกันทั่วเมือง

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ กล่าวนำเสนอญัตติในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาผลประโยชน์ของการมีกฎหมายควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทความเป็นจริงในประเทศไทย โดยเป็นญัตติที่นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)เป็นผู้เสนอ

โดย นายอัครแสนคีรี กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ สส.ไผ่ ลิกค์ ที่ได้ มอบหมายตนมานำเสนอในสภา บุหรี่ไฟฟ้า ปัจจุบันเป็นสินค้าที่มีการขายซื้อง่าย ทั้งช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ โดยทุกวันนี้บุหรี่ไฟฟ้าสามารถสั่งซื้อได้ผ่านเว็บไซต์ชื่อดัง รวมถึงโซเชียลมีเดียต่างๆ เนื่องจากเป็นที่แพร่นิยมของวัยรุ่น สาเหตุที่มีความนิยม ในกลุ่มผู้ใช้เป็นเพราะว่า มีรูปลักษณ์และกลิ่น ที่ทำให้เกิดความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นของผลไม้ หรือเป็นกลิ่นต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้มีความชื่นชอบและมีการใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีกฎหมายที่ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า หลักๆ มี 4 หน่วยงาน คือ หน่วยงานพาณิชย์ ,คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค,พรบ.ควบคุมยาสูบ และกรมศุลกากร ซึ่งจะดูในส่วนของการนำเข้า ทั้งนี้ถ้าหากหน่วยงานเหล่านี้ มีการ กำกับดูแล การออกกฏหมาย มีบทลงโทษที่ชัดเจน

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า จากผลสำรวจพบว่าตลาดบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 6,408 ล้านบาทต่อปี และมีการเติบโตที่ร้อยละ 100 ต่อปี โดยจากผลสำรวจยังพบว่า ปัจจุบันเยาวชนไทยมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 9 และที่สำคัญ มีการสูบตามเพื่อนฝูงถึง 92.2% พูดง่ายๆ เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่เห็นเพื่อนใช้กันแล้วก็อยากใช้ตาม และที่สำคัญคือ ไม่ทราบว่าด้านในมีสาร นิโคติน ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าทุกวันนี้เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ในประเทศไทย ดังนั้นการนำเข้ามาขาย รวมถึงการจัดจำหน่าย ก็เป็นการลักลอบเข้ามาจำหน่าย ส่วนประเทศทุกวันนี้ที่มี ฃการอนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ได้แล้วมี ประมาณ 60 ประเทศ ซึ่งจะมีบางประเทศที่สามารถจำหน่ายได้เฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่มีสารนิโคติน เช่นออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ศรีลังกา

“ผมได้ศึกษาเบื้องต้น จากตัวอย่างของประเทศที่มีการอนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า อย่างในประเทศจีน จะมีข้อกำหนด ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า เช่น การกำจัดอายุขั้นต่ำ,ห้ามขายใกล้สถานศึกษา,การห้ามจำหน่ายผ่านตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและอินเตอร์เน็ต รวมถึงการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง อย่างประเทศญี่ปุ่นบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคตินก็จะไม่สามารถขายได้ ส่วนเกาหลีเกาหลี อนุญาตให้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าแต่มีการเก็บภาษีที่สูง โดยสรุปในต่างประเทศก็จะมีกฎหมาย เพื่อเข้ามากำกับดูแลบุหรี่ไฟฟ้า ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ”นายอัครแสนคีรี กล่าว

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ทุกวันนี้ประเทศไทยมีกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ห้ามนำเข้าบารากุและบุหรี่ไฟฟ้า หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงกฎหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบปี 60 หากฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 5000 บาท และ พรบ.ศุลกากรปี 60 ซึ่งมีการห้ามลักลอบนำเข้ามีบทลงโทษชัดเจน

“เราต่างทราบกันดีว่าข้อเท็จจริง แล้วสถานการณ์ในปัจจุบันนั้นกับไม่สอดคล้องกับเจตนาของกฎหมายที่มี ในปัจจุบัน นั่นก็คือยังมีการนำเข้า มีการจำหน่ายมีการสูบกันอย่างเปิดเผยในพื้นที่สาธารณะ ทั้งที่กฎหมายได้ห้ามเอาไว้ จึงทำให้เกิดช่องทางในการเก็บส่วย ไม่ว่าจะเป็น การตั้งด่าน หรือการจ่ายส่วย เพื่อจัดจำหน่ายหน้าร้าน รวมถึงการเรียกเก็บเงินจากผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 60 พบว่า รายได้ภาษีกรมสรรพสามิต ยาสูบมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ตลาดบุหรี่ไฟฟ้า มีมูลค่ามากขึ้น แต่กลับไม่สามารถเรียกเก็บภาษีได้“นายอัครแสนคีรี กล่าว

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ถ้าบุหรี่ไฟฟ้ายังผิดกฎหมายอยู่แบบนี้ รัฐย่อมไม่สามารถใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลไกราคา ไม่สามารถควบคุมการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงอยากเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อหาข้อสรุปว่า ข้อดีและข้อเสีย และผลกระทบของการออกกฏหมายมาควบคุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในการควบคุมคุณภาพ มาตรฐานที่ก่อให้เกิดอันตรายในบุหรี่ไฟฟ้า หรือกฎหมายควบคุมผู้บริโภค การกำหนดอายุของผู้บริโภค ที่ชัดเจนรวมถึง การจัดเก็บภาษีจากบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง เพื่อการลดปัญหาในปัจจุบันและป้องกันปัญหาที่ตามมาในอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 กันยายน 2566

สส.อัครแสนคีรี อภิปรายญัตติ ผลกระทบเอลนีโญ จี้รัฐเร่งรับมือภัยแล้ง-บริหารจัดการน้ำ ขอหลายกระทรวง แก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง จ.ชัยภูมิ แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อย่าให้ประชาชนว้าวุ่น

,

สส.อัครแสนคีรี อภิปรายญัตติ ผลกระทบเอลนีโญ จี้รัฐเร่งรับมือภัยแล้ง-บริหารจัดการน้ำ ขอหลายกระทรวง แก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง จ.ชัยภูมิ แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อย่าให้ประชาชนว้าวุ่น

นายอัครแสนคีรี โลห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายญัตติผลกระทบเอลนีโญ โดยมีร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมฟังการอภิปรายด้วยตัวเอง เพื่อนำสิ่งที่สมาชิกสะท้อน ไปเป็นนโยบายและแผนแก้ไขปัญหากับพี่น้องเกษตรกร ทั้งภัยแล้ง น้ำท่วม และพายุรุนแรง ส่งผลให้เกิด สภาวะการขาดแคนอาหารและน้ำ ความมั่นคงด้านอาหาร การเกษตร ซึ่งส่งกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

นายอัครแสนคีรี เสนอแนวทางบริหารจัดการ ด้านภัยแล้ง และผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน จากงบประมาณปี 2567 มีแนวโน้มจะล่าช้า ขอนายกรัฐมนตรีใช้งบกลาง เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วน ระดมสรรพกำลัง ของทุกหน่วยงานเข้าไปแก้ปัญหาภัยแล้ง และมีระบบติดตามตรวจสอบ กระทรวงมหาดไทย ควรส่งเสริมอนุมัติให้ท้องถิ่น มีเครื่องมือที่เพียงพอ เพราะหากรองบอุดหนุนจากรัฐบาลจะไม่ทันการ ขณะเดียวกัน กรมชลประทานควรเร่งศึกษาการบริหารจัดการน้ำ อย่างเป็นระบบ
แก้ปัญหาเรื่องน้ำอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตามที่ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีแนวคิดดังกล่าวแล้ว รวมถึงด้านน้ำบาดาล เป็นเรื่องที่ พลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถนำน้ำบาดาลขึ้นมาผ่านโครงการต่าง ๆ ทั้ง น้ำดื่มริมทาง น้ำดื่มชุมชน และกระจายน้ำระยะไกล นอกจากนี้เรื่องของการบริหารจัดการน้ำ ควรให้เอกชนมีส่วนร่วม ทางในการขุด ผลิต และจำหน่ายน้ำประปา เพื่อลดงบประมาณการลงทุนจากภาครัฐ

ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม นายอัครแสนคีรี เสนอว่า ผลกระทบที่เกิดจากไฟป่า รัฐควรจัดหาเครื่องกรองฝุ่น ให้กับสถานที่ต่าง ๆ ทั้งโรงเรียนและโรงพยาบาล อย่างเร่งด่วน และจัดตั้งศูนย์ฉุกเฉินเพื่อดับไฟป่าร่วมกับท้องถิ่น อย่าปล่อยให้เป็นภาระท้องถิ่นฝ่ายเดียวเพราะงบประมาณไม่เพียงพอ ควรจัดสรรเครื่องมือให้เพียงพอ ควรออกกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.อากาศสะอาด การจัดเก็บภาษี การปลดปล่อยคาร์บอนที่เป็นธรรม รวมถึงยกระดับตลาดคาร์บอนเครดิตให้มีมาตรฐานที่สูงครึ่ง ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดเช่นโซล่าเซลล์ ระดับครัวเรือน ผ่านมาตรการภาษีและเงินอุดหนุน และควร ส่งเสริมเอกชนลงทุนในนวัตกรรมการจัดเก็บพลังงาน เช่นดักจับกักเก็บคาร์บอน

นายอัครแสนคีรี ยังได้ฝากถึง การแก้ปัญหาจังหวัดชัยภูมิ ที่เจอแต่ พบเจอแต่สภาวะน้ำท่วมน้ำแล้งซ้ำซาก ในช่วงน้ำหลากไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ส่วนฤดูแล้งต้องวิ่งขนน้ำจนประชาชนว้าวุ่นกันหมด จึงฝากผ่านไปยังรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ช่วยเข้ามาแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ที่จังหวัดชัยภูมิ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 21 กันยายน 2566

“อัครแสนคีรี” อภิปรายต้นทุนผลิตไฟฟ้า ถามต้นทุนลดลงเท่าปี 64 แล้ว เมื่อไหร่ค่าไฟฟ้าจะลด จี้เปิดสัญญาจัดซื้อ LNG ไทยเสียเปรียบหรือไม่ เทียบจัดซื้ออาวุธ ยังต้องเปิดเผย ตรวจสอบเข้มงวด

,

“อัครแสนคีรี” อภิปรายต้นทุนผลิตไฟฟ้า ถามต้นทุนลดลงเท่าปี 64 แล้ว เมื่อไหร่ค่าไฟฟ้าจะลด จี้เปิดสัญญาจัดซื้อ LNG ไทยเสียเปรียบหรือไม่ เทียบจัดซื้ออาวุธ ยังต้องเปิดเผย ตรวจสอบเข้มงวด

นายอัครแสนคีรี โลห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) อภิปรายถึงการรับทราบงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2564 ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) โดยพบว่าสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย กว่า 55% เป็นการผลิตโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลักและพบว่าต้นทุนก๊าซฯมาจาก 3 แหล่ง คือ อ่าวไทย เมียนมา และการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวหรือ LNG จากต่างประเทศ
นายอัครแสนคีรี ระบุที่ผ่านมาโครงสร้างการคิดค่าไฟฟ้าในประเทศไทย โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ FT ที่จะมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงให้สะท้อนต้นทุนทุก 4 เดือน ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ว่า รัฐบาลปรับค่า FT ขึ้นกว่า 4 รอบ จนทำให้ค่าไฟฟ้าปรับเพิ่มถึง 30% สวนทางกับรายได้ของประชาชนทั้งประเทศ ที่ขณะนี้กำลังกุมขมับ
ตนจึงมีคำถามว่าเมื่อราคาก๊าซ LNG ปรับลดลงมาแล้ว แต่เหตุใดค่าไฟฟ้าปรับเพิ่มจาก 3.61 บาทต่อหน่วยเมื่อปี 2564 ไปจนถึง 4.70 บาทต่อหน่วยในปัจจุบันปี 2566 ขณะที่ราคาก๊าซ LNG นั้น ปรับลดลงแทบจะเท่าปี 2564 แล้ว คำถามคือ เมื่อไหร่รัฐบาล หรือคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จะพิจารณาปรับค่าไฟ ให้ลงเทียบเท่ากับปี 2564
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างบริษัทเอกชน กับกระทรวงพลังงาน ในเรื่องสัมปทานก๊าซอ่าวไทยในแหล่งเอราวัณที่บริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตของแปลงสำรวจดังกล่าวไม่สามารถเข้าแท่นขุดเจาะได้ในช่วงการเปลี่ยนผ่านทำให้การผลิตก๊าซเพื่อป้อนโรงไฟฟ้าต้องหยุดชงัก และในที่สุดประเทศจึงต้องนำเข้า LNG ในราคาที่แพงขึ้น ดังนั้นเมื่อต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าแพงขึ้น รัฐบาลชุดที่แล้วจึงต้องปรับค่า FT ขึ้น ทำให้ค่าไฟขึ้นไปถึง 4.72 บาทต่อหน่วย
นายอัครแสนคีรี ยังระบุถึงกรณี ที่ บอร์ด ปตท. ไฟเขียว ซื้อก๊าซ LNG สหรัฐ 20 ปี พร้อมตั้งคำถามว่า ขนาดการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ เรายังมีการตรวจสอบกันอย่างเข้มงวด ดังนั้นตนจึงอยากฝากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ให้เร่งตรวจสอบหน่วยงานหรือบริษัทใดเป็นผู้จำหน่าย LNG ให้กับบมจ. ปตท. และควรนำสัญญามาเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนและตัวแทนของประชาชนได้ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างว่ามีการได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไรบ้างมีเงื่อนไขในการลงนามในสัญญาอย่างไรบ้าง และมีเงื่อนไขพิเศษอื่นใดที่ประชาชนควรทราบหรือไม่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2566

เดินหน้าทำงานไม่ต้องรอ กกต.!”อัครแสนคีรี ว่าที่ ส.ส.ชัยภูมิ”ลงพื้นที่ประสานเครื่องจักรฟื้นฟูแหล่งน้ำ รับมือหน้าฝน ลั่น เกษตรกรชัยภูมิต้องก้าวสู่ตลาดโลก

,

เดินหน้าทำงานไม่ต้องรอ กกต.!”อัครแสนคีรี ว่าที่ ส.ส.ชัยภูมิ”ลงพื้นที่ประสานเครื่องจักรฟื้นฟูแหล่งน้ำ รับมือหน้าฝน ลั่น เกษตรกรชัยภูมิต้องก้าวสู่ตลาดโลก

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จ.ชัยภูมิ เขต 7 กล่าวว่า ในช่วงระหว่างรอการรับรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ตนก็ได้ลงพื่นที่หนองซ่อ ม.3 บ้านโคกสง่า ตำบลห้วยไร่ ซึ่งปัจจุบันมีสภาพปกคลุมไปด้วยวัชพืชจำนวนมาก ทำให้กักเก็บน้ำไม่ได้ และยังเป็นด่านรับน้ำด่านหน้าของอำเภอคอนสวรรค์ โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนที่น้ำจากบนเขาภูแลนคาจะไหลมาตรงนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องรีบเอาวัชพืชออก เพื่อให้กักเก็บน้ำได้มากขึ้นทั้งหน้าแล้งและหน้าฝน ตนจึงได้เร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รีบเข้ามาดูเพื่อประสานเครื่องจักรฟื้นฟูแหล่งน้ำ โดยเบื้องต้นทราบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะสามารถย้ายรถแบคโฮเข้ามาขุดลอกได้ภายในอาทิตย์หน้า

“การผลักดันโครงการเพิ่มพื้นที่ในการกักเก็บน้ำในระดับหมู่บ้าน ผลักดันโครงการกักเก็บน้ำ ป้องกันน้ำท่วมแล้งซ้ำซาก เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องช่วยเหลือเกษตรกร รวมไปถึงแนวทางการลดต้นทุนรายจ่าย เช่น ราคาปุ๋ยแพง อาหารสัตว์แพงด้วย ไฟฟ้าแพง”

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า การเกษตรจะพัฒนาได้ก็จะตัองมีความร่วมมือระหว่างจังหวัด และระหว่างประเทศ เพื่อเป็นช่องทางในการช่วยซื้อขายสินค้าเกษตร เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ให้กับพี่น้องชาวชัยภูมิ
และจะเป็นการยกระดับรายได้เกษตกรชัยภูมิ ตนมีความตั้งใจที่จะทำให้จังหวัดชัยภูมิก้าวออกไปสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดจีน ซึ่งมีความต้องการกินการใช้มหาศาล

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 มิถุนายน 2566