โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า

“รมว.ธรรมนัส” ร่วมนายกฯลงพื้นที่ กาญจนบุรี แก้ปัญหาที่ดินทับซ้อนสร้างความมั่นคงในชีวิตปชช.

,

“รมว.ธรรมนัส” ร่วมนายกฯลงพื้นที่ กาญจนบุรี แก้ปัญหาที่ดินทับซ้อนสร้างความมั่นคงในชีวิตปชช.

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชน ณ จุดรวมพลอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะของพี่น้องประชาชนในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ยาเสพติด จัดสรรพื้นที่ทำกิน ค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงราคาสินค้าเกษตร ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้ความมั่นใจกับประชาชนว่ารัฐบาลจะทำงานแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่
จากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะ ได้เดินชมนิทรรศการสินค้า OTOP สินค้าวิสาหกิจชุมชน อาทิ น้ำอินทผลัมบาฮีผลสด เต่งเชียงปลายี่สก น้ำแกงส้มปรุงสำเร็จ ขนมกล้วยน้ำว้าแปรรูปบานาน่า ขนมทองโย๊ะหรือหมี่สิ รวมถึงคูหาจัดแสดงอัญมณีของจังหวัด (พลอย และนิล) ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมทั้งรับฟังการนำเสนอแนวทางแก้ไขสำหรับการพัฒนาจังหวัด อาทิ แก้ปัญหาที่ดินทับซ้อนโดยบูรณาการจากทุกภาคส่วนเพื่อจัดทำ One Map การเร่งรัดพิจารณาการจัดสรรที่ดินที่ไม่ได้ใช้งานให้เกษตรกร เร่งช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ เมื่อปี 2547 และขอผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก เป็นต้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นด้วยกับข้อเสนอของทางจังหวัด และมอบหมายให้ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจรจาความร่วมมือกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทับซ้อนและดำเนินการจัดทำ One Map ร่วมกับกรมแผนที่ทหาร
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและคณะได้เยี่ยมชมสะพานข้ามแม่น้ำแคว และได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนให้นักท่องเที่ยวสนใจเที่ยวเมืองรอง เนื่องจากกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 และมีศักยภาพหลายด้าน สามารถยกระดับเป็นเมืองถ่ายทำภาพยนตร์ระดับโลกได้อีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 ธันวาคม 2566

รมว.ธรรมนัส พร้อมยกระดับ “ไหมไทย” เพิ่มมูลค่า สู่ Soft Power ร่วมงาน กรมหม่อนไหม ครบรอบ 14 ปี สืบสานภูมิปัญญสู่ความยั่งยืน

,

รมว.ธรรมนัส พร้อมยกระดับ “ไหมไทย” เพิ่มมูลค่า สู่ Soft Power ร่วมงาน กรมหม่อนไหม ครบรอบ 14 ปี สืบสานภูมิปัญญสู่ความยั่งยืน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน
วันคล้ายวันสถาปนากรมหม่อนไหม เนื่องในโอกาสครบรอบ 14 ปี “14 ปี กรมหม่อนไหม สืบสานภูมิปัญญา พัฒนาสู่ความยั่งยืน” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 6 ธันวาคม 2566 โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่
ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ กรมหม่อนไหม ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมหม่อนไหม จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ด้วยพระองค์ทรงมีพระราชปณิธานที่จะส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร อันนำมาสู่การสถาปนา กรมหม่อนไหมขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านการส่งเสริม วิจัย และพัฒนาหม่อนไหมทั้งระบบ รวมถึงการอนุรักษ์สืบสานศิลปหัตถกรรม
ภูมิปัญญาไหม ให้คงอยู่คู่ประเทศไทย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการจัดงานวันคล้ายวันสถาปนากรมหม่อนไหม ครบรอบ 14 ปี ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ รวมถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและภารกิจสำคัญของกรมหม่อนไหมที่ดำเนินงานต่อไปในอนาคต ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมหม่อนไหมได้ดำเนินงานภายใต้ภารกิจสำคัญเพื่อทำให้เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมีอาชีพและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี และนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เสริมสร้างความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม โดยใช้การตลาดนำการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับมาตรฐานสินค้า เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาสินค้าผ้าไหมไทยให้เป็นที่ยอมรับมุ่งสู่ Soft Power ของไทย
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณแก่นักวิจัยด้านหม่อนไหม พร้อมแสดงความยินดีถึงต้นแบบในการดำเนินการพัฒนางานด้านหม่อนไหม รวมทั้งมีส่วนช่วยเหลืองานด้านหม่อนไหมทั้งในระดับดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศ

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานของกรมหม่อนไหม แนวทางการยกระดับ “หม่อนไหมพะเยา” สู่ความยั่งยืน การยกระดับผลิตภัณฑ์หม่อนไหมรองรับ BCG Model ผ้าอัตลักษณ์จังหวัดหนองบัวลำภู (ผ้าหมี่สลับขิด) การพัฒนาผ้าไหมยกดอกลำพูน ด้วยภูมิปัญญาโดยใช้เส้นไหมไทย เทคโนโลยีพันธุ์ไหมที่เหมาะสมแก่การผลิตผ้าห่มใยไหม
การผลิตเส้นไหมไทยสาวมือ มกษ.5900-2565 Buriram Model และการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตหม่อนไหมระบบแปลงใหญ่ เป็นต้น รวมถึงภายในงานมีการจัดจำหน่ายผ้าไหม ผลิตภัณฑ์หม่อนไหมจากเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และผู้ประกอบการ เพื่อเป็นช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกรอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 7 ธันวาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่บึงกาฬ มอบนโยบายส่งเสริมผลิตพันธุ์ข้าวคุณภาพ มุ่งเพิ่มผลผลิตสร้างราคาต่อไร่เพิ่มรายได้เกษตรยั่งยืน

,

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่บึงกาฬ มอบนโยบายส่งเสริมผลิตพันธุ์ข้าวคุณภาพ มุ่งเพิ่มผลผลิตสร้างราคาต่อไร่เพิ่มรายได้เกษตรยั่งยืน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตรวจเยี่ยมการดำเนินการของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวบึงกาฬ ณ ต.ดอนหญ้านาง อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ ซึ่งศูนย์ดังกล่าวเป็นศูนย์บริการประชาชนภาคการเกษตร โดยเป็นศูนย์บริการร่วมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและพี่น้องเกษตรกร เพื่อให้สามารถติดต่อสอบถามขอทราบข้อมูลด้านข้าว ดำเนินกิจกรรมในเรื่อง 1) การผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวสู่เกษตรกรในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างการผลิตข้าวคุณภาพดี สร้างความเข็มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวภายใต้โครงการและกิจกรรมของกรมการข้าว รวมถึงส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี และควบคุม กำกับการใช้และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพและไม่ผ่านการรับรอง โดยผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์ กข22 พันธุ์ กข6 และพันธุ์ขาวดอกมะลิ105 เป้าหมายการผลิตปี 2566 จำนวน 1,900,000 กิโลกรัม และ 2) เป็นโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ซึ่งสามารถกระจายเมล็ดพันธุ์ดีให้แก่กษตรกรในจังหวัดบึงกาฬได้ 3,814 ครัวเรือน พื้นที่ประมาณ 39,624 ไร่ จำนวนเมล็ดพันธุ์ 578,000 กิโลกรัม ทั้งนี้ ในอนาคตมีเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จากเดิม 1,900,000 กิโลกรัม เป็น 2,500,000 กิโลกรัม ภายในปี 2569 เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวและส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว พร้อมทั้งการผลิตข้าวคุณภาพดี และการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวของเกษตรกร

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมการข้าว มีแนวทางในการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้คุณภาพ โดยในพื้นที่จังหวัดหนองคายและบึงกาฬ มีศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย ได้วิจัยและปรับปรุงพันธุ์จนได้พันธุ์ข้าวคุณภาพดี จำนวนหลายพันธุ์ อาทิ ข่าวเหนียวพันธุ์ กข 22 ผลผลิตเฉลี่ย 684 กิโลกรัมต่อไร่ และข้าวเจ้าคุณภาพพิเศษ พันธุ์ กข83 (มะลิดำหนองคาย 62) ผลผลิตเฉลี่ย 640 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นต้น ซึ่งการปรับปรุงเมล็ดข้าวพันธุ์ดี จะทำให้ชาวนามีผลผลิตข้าวต่อไร่เพิ่มขึ้น และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ในราคาที่สูงขึ้นอีกด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 ธันวาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส“ เปิดปฏิบัติการ”พญานาคราช” ลุยตรวจป้องกันและปราบปรามสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย รักษาประโยชน์เกษตรกรไทย

,

“รมว.ธรรมนัส“ เปิดปฏิบัติการ”พญานาคราช” ลุยตรวจป้องกันและปราบปรามสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย รักษาประโยชน์เกษตรกรไทย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดปฏิบัติการพิเศษ “พญานาคราช” ป้องกันและปราบปรามสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย โดยมี นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ศูนย์เอกซเรย์และเทคโนโลยีศุลกากร สำนักงานศุลกากร ท่าเรือกรุงเทพฯ ซึ่งการจัดงานดังกล่าว กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมงจัดขึ้น เพื่อประกาศสงครามกับสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย โดยภายในงานมีการมอบธงและปล่อยขบวนชุดปฏิบัติการพิเศษ 4 ชุด ได้แก่ พญานาคราช (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ฉลามขาว (กรมประมง) พญาไท (กรมปศุสัตว์) สารวัตรเกษตร (กรมวิชาการเกษตร) ออกปฏิบัติการฯ พร้อมเปิดทุกกระบวนการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าประมง ตั้งแต่การ X-Ray ตู้สินค้าประมงนำเข้าเพื่อวิเคราะห์ตรวจสอบสินค้าภายในตู้ และการเปิดตู้คอนเทนเนอร์เพื่อตรวจสอบสินค้าประมงนำเข้า ตลอดจนนำเสนอนิทรรศการกระบวนการตรวจสินค้าเกษตรนำเข้า (พืช ประมง ปศุสัตว์) ให้ได้เรียนรู้และเข้าใจอย่างถูกต้อง
“ต่อจากนี้ ชุดปฏิบัติการพิเศษ “พญานาคราช” จะดำเนินการตรวจสอบสินค้าภาคการเกษตรทุกประเภทที่นำเข้าสู่ราชอาณาจักรแบบผิดกฎหมาย ที่ไม่ผ่านขั้นตอนของศุลกากร กรมประมง กรมปศุสัตว์ และกรมวิชาการเกษตร โดยจะใช้ชุดปฏิบัติการนี้ในการป้องกัน ปราบปราม ตรวจยึด และดำเนินคดี อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายผมและท่านไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเข้มข้น ซึ่งจะเห็นการปราบปรามอย่างจริงจังภายใต้การทำงานของทั้ง 4 หน่วยงาน ที่สามารถเข้าตรวจค้นได้ทุกที่โดยไม่ต้องขอหมายศาล” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว
ด้านนายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า หลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษป้องกันและปราบปรามสินค้าเกษตรผิดกฎหมายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ (พญานาคราช) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพไทย สำนักงานอัยการสูงสุด กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมวิชาการเกษตร จำนวนกว่า 70 นาย เพื่อร่วมบูรณาการปราบปรามการลักลอบนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย ทั้งด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ และกำหนดนโยบาย แนวทาง มาตรการในการขับเคลื่อนการปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เนื่องจากการลักลอบนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ถือเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยชุดปฏิบัติการพญานาคราช ภายใต้การกำกับดูแลและขึ้นตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะดำเนินการเร่งรัด ตรวจสอบ ติดตาม จับกุมผู้ลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย เสริมทัพความเข้มแข็งให้กับชุดปฏิบัติการพิเศษ (เดิม) ของกรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร และต้องมีการรายงานผลการทำงานให้รัฐมนตรีฯ ทราบทุก 15 วัน

สำหรับในปี 2565 ประเทศไทยมีผลผลิตประมงที่ได้จากการจับจากธรรมชาติและจากการเพาะเลี้ยงทั้งหมด 2.39 ล้านตัน และมีการนำเข้าสินค้าประมงปริมาณ 2.19 ล้านตัน มูลค่า 158,431 ล้านบาท โดยสินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ ปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง ปริมาณ 808,539 ตัน ทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง 727,709 ตัน หมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง 182,049 ตัน เพื่อบริโภคภายในประเทศและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับส่งออกจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยมีปริมาณการส่งออกสินค้าประมงรวม 1.60 ล้านตัน มูลค่า 229,123 ล้านบาท ซึ่งสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง 76,633 ล้านบาท กุ้งและผลิตภัณฑ์ 52,623 ล้านบาท อาหารแมวและสุนัขกระป๋อง 18,063 ล้านบาท ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้มีการสุ่มเปิดตรวจสินค้า พบการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมจำนวนทั้งสิ้น 6 คดีในปี 2565 และพบการกระทำผิด 9 คดี ในปี 2566 (ข้อมูล ณ วันที่ 27 พ.ย. 66) โดยส่วนใหญ่เป็นคดีการลักลอบนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต
รองอธิบดีฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การปราบปรามสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย เป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทุกหน่วยงานพร้อมยกระดับการปฏิบัติการตรวจสอบสินค้าเกษตรอย่างเข้มแข็ง โดยในส่วนของสินค้าประมงได้สั่งการให้ทุกด่านตรวจประมงเพิ่มประสิทธิภาพมาตรการตรวจสอบนำเข้าสินค้าอย่างเข้มงวด เปิดตรวจสินค้าสัตว์น้ำแช่แข็งที่นำเข้าจากประเทศเสี่ยงสูง 100 % (จากเดิมจะเปิดตรวจ 30%) โดยได้กำหนดไว้ 2 แนวทาง คือ (1) การเปิดตรวจ ณ ด่าน หรือ ท่าเทียบเรือ และ (2) การตรวจสอบ ณ สถานประกอบการ (โรงงานหรือห้องเย็น) ด้วยการซีล (Seal) ตู้คอนเทนเนอร์ไปยังสถานประกอบการ เพื่อควบคุมและตรวจสอบคัดแยกชนิดและปริมาณที่นำเข้าจริงตรงตามที่สำแดงในเอกสารจนมั่นใจว่าสัตว์น้ำนั้นเป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต จึงจะอนุญาตให้เข้าสู่กระบวนการผลิตหรือจำหน่ายต่อไป รวมถึงจะมีการบูรณาการประสานกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และ ปปง. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล พร้อมสั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการตามกฎหมายและมาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็ง หากตรวจสอบพบเจ้าหน้าที่รายใดเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลักลอบนำสินค้าทุกชนิดเข้าสู่ประเทศอย่างผิดกฎหมาย กรมประมงจะดำเนินการลงโทษทางวินัยอย่างถึงที่สุด
นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าประมงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงสถานที่เก็บรักษา กรมประมงได้ออกประกาศ ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 แจ้งขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบกิจการห้องเย็นเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ยังไม่ได้แจ้งการประกอบกิจการต่อกรมประมง ให้มาแจ้งต่อกรมประมง ณ สำนักงานประมงจังหวัดหรือประมงอำเภอในพื้นที่ ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2566 เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าและส่งออกสินค้าประมงที่ผิดกฎหมาย
ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นการกระทำผิดขอความร่วมมือแจ้งเบาะแสได้ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรมประมง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ธันวาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ถก สภาอุตฯตั้งกรอ.เกษตร เดินสู่เป้าหมาย ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้เกษตรกรไทย

,

“รมว.ธรรมนัส” ถก สภาอุตฯตั้งกรอ.เกษตร เดินสู่เป้าหมาย ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้เกษตรกรไทย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมหารือร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นำโดยนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อหารือแนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือภาครัฐและเอกชนด้านการเกษตร (กรอ.กษ.) ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและยกระดับภาคการเกษตรไทยให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นกำลังสำคัญ จึงมีแนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือภาครัฐและเอกชนด้านการเกษตร (กรอ.กษ.) โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยถือเป็นกลไกที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปสินค้าเกษตร วันนี้จึงได้เชิญสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อหารือและเข้าร่วมในคณะ กรอ.กษ. โดยก่อนหน้านี้ ได้มีการประสานหารือร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ที่ผ่านมา
สำหรับประเด็นสำคัญที่ร่วมหารือกันในครั้งนี้ นอกจากแนวทางการจัดตั้งคณะ กรอ.กษ. ร่วมกันแล้ว กระทรวงเกษตรฯ ยังได้หารือร่วมในประเด็นการส่งเสริมอาชีพให้กับแรงงานเกษตรที่เดินทางกลับจากอิสราเอล ซึ่งได้มีการลงนาม MOU ร่วมกันเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงแรงงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรจากแรงงานอิสราเอล สู่การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ อันเป็นการพัฒนาแรงงานเกษตรให้พร้อมเข้าสู่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมเกษตร หรือมีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ยกระดับภาคการเกษตรด้วยความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญของแรงงานที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่จากรัฐอิสราเอล ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกหน่วยงานจะร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งในขณะนี้
“กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เชื่อมั่นว่าความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในคณะ กรอ.กษ. ชุดนี้ จะเป็นอีกพลังที่เข้มแข็งในการพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร ตลอดจนสนับสนุนนโยบายรัฐบาลให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้โดยใช้ ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้’ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้วางเป้าหมายเพื่อยกระดับภาคเกษตร และช่วยเหลือเกษตรกรไทย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือการแก้ไขปัญหา การพัฒนา ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้กับแรงงานเกษตรที่เดินทางกลับจากอิสราเอลในขณะนี้ ตลอดจนการเสริมศักยภาพเกษตรกรและยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูง เพื่อให้เกษตรกรกินดีอยู่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมั่นคง” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว
โอกาสนี้ ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีความพร้อมและยินดีให้ความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใน กรอ.กษ. นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยังได้เสนอ 4 แนวทางเพื่อยกระดับภาคการเกษตรไทยร่วมกัน ได้แก่ 1) ยกระดับวัตถุดิบการเกษตร ใช้มาตรฐานของไทย เช่น GAP และส่งเสริมการสร้างผู้ตรวจประเมินในระบบ Supplier Audit

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 พฤศจิกายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” สตาร์ทกิจกรรมการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา 17 จุดทั่วประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพลุ่มน้ำ เสริมศักยภาพส่งน้ำหนุนอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร ให้ปชช.

,

“รมว.ธรรมนัส” สตาร์ทกิจกรรมการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา 17 จุดทั่วประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพลุ่มน้ำ เสริมศักยภาพส่งน้ำหนุนอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร ให้ปชช.

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน Kick Off กิจกรรมการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา ในแม่น้ำลำคลองสายหลัก และกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ณ บริเวณคลองระพีพัฒน์แยกตก วัดลำพระยา ตำบลวังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอีก 16 จุดทั่วประเทศ ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร อุดรธานี ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี นครราชสีมา ชลบุรี ลพบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สงขลา และนราธิวาส โดยบูรณาการความร่วมมือจากทุกส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชนจิตอาสา รวมถึงกำลังพลจิตอาสาของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่ เพื่อพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และการส่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตรอย่างเต็มศักยภาพในพื้นที่
ทั้งนี้ ผักตบชวาเป็นพืชที่มีการแพร่พันธุ์และเติบโตอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งหมด 20 ลุ่มน้ำหลัก และ 359 ลุ่มน้ำสาขา ความยาวลำน้ำธรรมชาติประมาณ 522,455.73 กม. กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน มีคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำที่เชื่อมโยงกับลำน้ำธรรมชาติ รวมทั้งทางน้ำธรรมชาติที่ประกาศเป็นทางน้ำชลประทานตาม พรบ.ชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 5 และมาตรา 8 ซึ่งเป็นทางน้ำที่อยู่ในความดูแล รวมทั้งสิ้นจำนวน 10,004 สาย ความยาวประมาณ 59,412.03 กม. คิดเป็นร้อยละ 11.37 ของลำน้ำธรรมชาติทั้งหมด จึงได้เร่งดำเนินการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา โดยในระยะแรกนี้ จะดำเนินการพร้อมกัน 17 จุดทั่วประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 8,000 คน และมีเป้าหมายในการกำจัดผักตบชวาและวัชพืชในไตรมาสแรกรวมประมาณ 546,000 ตัน ทั้งนี้ ผลการปฏิบัติงานในปี 2566 ที่ผ่านมา กรมชลประทานได้ดำเนินการกำจัดวัชพืชกว่า 5,633,079 ตัน รวมพื้นที่กว่า 34,252 ไร่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ตามแนวพระราชดำริ “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” เพื่อให้ประชาชนมีความสมัครสมานสามัคคี มีความสุข และประเทศชาติมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน โดยเน้นการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของทุกภาคส่วน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เพื่อพัฒนาพื้นที่ด้านแหล่งน้ำในการใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรและความสุขต่อประชาชนและชุมชนส่วนรวมอย่างถาวร นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และตระหนักรู้เกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ถูกต้อง เกิดความรู้สึกเคารพ รัก เทิดทูน และร่วมปกป้องสถาบันหลักของประเทศชาติ อันประกอบด้วยสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้ดำรงอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 พฤศจิกายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่อุตรดิตถ์ติดตามความคืบหน้าโครงการเขื่อนผาจุก เร่งแก้ไขปัญหา สร้างความมั่นคงด้ายน้ำยั่งยืนให้พี่น้องประชาชน

,

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่อุตรดิตถ์ติดตามความคืบหน้าโครงการเขื่อนผาจุก เร่งแก้ไขปัญหา สร้างความมั่นคงด้ายน้ำยั่งยืนให้พี่น้องประชาชน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามความก้าวหน้าโครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำน่านตอนล่างให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ครอบคลุมพื้นที่อ.เมืองอุตรดิตถ์ อ.ลับแล อ.ตรอน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ อ.พรหมพิราม และอ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก เพื่อพัฒนาระบบชลประทาน ประมาณ 481,400 ไร่ (พัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝนที่มีศักยภาพให้เป็นพื้นที่ชลประทานประมาณ 304,000 ไร่ และส่งน้ำสนับสนุนและปรับเปลี่ยนระบบส่งน้ำจากเดิมโดยการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า เป็นระบบส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วงประมาณ 134,800ไร่ และพื้นที่โครงการชลประทานน้ำริด จังหวัดอุตรดิตถ์ ประมาณ 42,600 ไร่)

ทั้งนี้โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก ตั้งอยู่ในแม่น้ำน่าน บริเวณบ้านคลองนาพง หมู่ 7 ต.ผาจุก อ.เมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำน่านตอนล่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ปัจจุบันได้สร้างเขื่อนทดน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการก่อสร้างระบบส่งน้ำ พร้อมอาคารประกอบ หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถส่งน้ำได้ครอบคลุมพื้นที่อ.เมืองอุตรดิตถ์ อ.ลับแล อ.ตรอน และอ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ อ.พรหมพิราม และอ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก รวมพื้นที่กว่า 481,400 ไร่
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน จะเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำ และระบบระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบให้แล้วเสร็จ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้กับลุ่มน้ำน่าน เพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนให้กับพี่น้องชาวอุตรดิตถ์ ได้มีน้ำไว้ใช้ในการอุปโภค บริโภค และการเกษตร อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งนี้ จ.อุตรดิตถ์ มีพื้นที่ชลประทานประมาณ 447,618 ไร่ มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ คือ เขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสนับสนุนการใช้น้ำให้กับจังหวัดต่าง ๆ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา รวม 22 จังหวัด ปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างฯประมาณ 6,102 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) หรือร้อยละ 64 ของความจุอ่างฯ

“วันนี้ตั้งใจมารับฟังปัญหาของพี่น้องประชาชน และได้มอบหมายกรมชลประทานเร่งแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องอย่างเร่งด่วน ปัญหาใดที่สามารถแก้ไขได้ให้ทำทันที ปัญหาไหนที่ยังทำไม่ได้ จะต้องกลับไปศึกษาและหาแนวทางแก้ไข รวมถึงให้บรรจุแผนดำเนินการในปีงบประมาณต่อไป” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 พฤศจิกายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” เดินหน้า 3 นโยบาย ขับเคลื่อนการดำเนินงานของ กยท. มุ่งสร้างเสถียรภาพยาง ปราบปรามการนำเข้ายางผิดกฎหมาย ประสานภาคเอกชนร่วมลงทุน

,

“รมว.ธรรมนัส” เดินหน้า 3 นโยบาย ขับเคลื่อนการดำเนินงานของ กยท. มุ่งสร้างเสถียรภาพยาง ปราบปรามการนำเข้ายางผิดกฎหมาย ประสานภาคเอกชนร่วมลงทุน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายขับเคลื่อนการบริหารยางพารา โดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารระดับสูงของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำโดย นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย พนักงานในสังกัด ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกันตัง กยท. สำนักงานใหญ่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ต้องการมาพบปะและหาแนวทางการขับเคลื่อนงานร่วมกัน ซึ่งต้องการให้ทุกภาคส่วนร่วมบูรณาการการทำงานไปพร้อมกัน โดยมุ่งเน้น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
1) การปรับสมดุลปริมาณยางพาราในประเทศ ได้มอบหมายให้ กยท. ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ตรวจสอบสต็อกยางพาราให้ตรงกัน รวมถึงให้ตรวจสอบจำนวนสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและไม่ขึ้นทะเบียน เพื่อจัดทำเป็น Big data ใช้ในการบริหารจัดการยางให้เกิดเสถียรภาพ
2) การปราบปรามการนำเข้าสินค้าภาคการเกษตรมาสู่ราชอาณาจักรแบบผิดกฎหมาย จะต้องเอาจริงเอาจัง และมีบทลงโทษอย่างเด็ดขาดสำหรับผู้กระทำผิด และ
3) ดึงภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนกับ กยท. โดยมีแนวทางในการสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา เช่น ยางล้อรถยนต์ เป็นต้น เพื่อใช้ในส่วนราชการ และใช้ภายในประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรด้วย

“อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่าภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหาร กยท. จะสามารถเดินหน้าหามาตรการต่าง ๆ มาขับเคลื่อนให้ราคายางดีดีกว่านี้ เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางอยู่ดีกินดี และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวสวนยางให้ดียิ่งขึ้นต่อไป” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 พฤศจิกายน 2566

“รมว.ธรรมนัส” เดินหน้าสร้างกลไกตลาดเพิ่มรายได้เกษตรกรพื้นที่สูง ลดปัญหาความยากจนมุ่งแก้ฝุ่น PM2.5 ยั่งยืน

,

“รมว.ธรรมนัส” เดินหน้าสร้างกลไกตลาดเพิ่มรายได้เกษตรกรพื้นที่สูง ลดปัญหาความยากจนมุ่งแก้ฝุ่น PM2.5 ยั่งยืน

ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามการดำเนินงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. พร้อมมอบนโยบายและแนวทางการพัฒนาพื้นที่สูง เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจน และปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 อีกทั้งยังเยี่ยมชมจุดเรียนรู้ ได้แก่ พืชสวนและความหลากหลายทางชีวภาพ พระราชกรณียกิจและโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ และศิลปวัฒนธรรมล้านนา โดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่
สำหรับสถานการณ์การเผาและหมอกควันในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง และพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง เกิดจุดความร้อน (Hotspot) ช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม ใน ปี 2566 พื้นที่ดำเนินงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 39 แห่ง พื้นที่ 1,680,599.48 ไร่ พบจุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ป่าไม้ 1,220 จุด พื้นที่เกษตร 349 จุด และพื้นที่ดำเนินงานฯ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 44 แห่ง พื้นที่ 6,269,094.43 ไร่ พบจุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ป่าไม้ 6,042 จุด และพื้นที่เกษตร 1,726 จุด
กระทรวงเกษตรฯ โดย สวพส. มีแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 บนพื้นที่สูง โดยมีอำเภอแม่แจ่ม เป็นพื้นที่ต้นแบบในการแก้ไขปัญหาความยากจนและการเผาพื้นที่สูง ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ 1) จัดทำแผนที่ดินของเกษตรกรรายแปลงเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน แบ่งแยกพื้นที่ป่าและที่ทำกิน วางแผนพัฒนาชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ ระเบียบ และกฎหมาย แก้ไขปัญหาอย่างพุ่งเป้า ตรงตามบริบทพื้นที่ ปัญหาและความต้องการของชุมชน 2) การสนับสนุนชุมชนป้องกันไฟป่า ส่งเสริมและสนับสนุนสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการป้องกันไฟป่า อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร 3) การจัดการเศษวัสดุการเกษตร (ชีวมวลอัดแท่ง/ปุ๋ยอินทรีย์) สนับสนุนชุมชนโดยการรับซื้อเศษวัสดุการเกษตรภายใต้ข้อตกลงและราคาที่เหมาะสมเพื่อนำไปผลิตชีวมวลอัดเม็ด 4) การส่งเสริมด้านอาชีพ ด้วยเกษตรมูลค่าสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง และตลาดนำการผลิต
5) การพัฒนามาตรฐาน GAP PM2.5 Free และ 6) การเพิ่มช่องทางการตลาดผลผลิต (green product)

นอกจากนี้ ยังได้มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานใรสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งกรมวิชาการเกษตร ได้เตรียมดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดการเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 สำหรับภาคเกษตรอย่างยั่งยืน ภายใต้มาตรฐานการผลิตพืช มีแนวทางการขับเคลื่อนของกรมวิชาการเกษตร ในการเพิ่มมูลค่า เพิ่มแรงจูงใจ (เกษตรพันธะสัญญา) และเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพด โดยใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ มุ่งดำเนินการทั้งในเรื่อง มาตรฐานการผลิตพืช GAP PM 2.5 FREE การปรับเปลี่ยนพื้นที่สูง โดยการเปลี่ยนพืชปลูก (กาแฟ มะคาเดเมีย อะโวกาโด) และการเปลี่ยนพฤติกรรม กรณีปลูกพืชเดิม (ข้าวโพด) และการปรับเปลี่ยนบนพื้นราบ โดยการปลูกข้าวโพดทดแทนพื้นที่สูง บนพื้นที่นอกเขตชลประทาน/ไม่เหมาะสมสำหรับนาปรัง
“การลงพื้นที่ในวันนี้ ต้องการมาศึกษารูปแบบการจัดงานพืชสวนโลกของจังหวัดเชียงใหม่ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับภาคการท่องเที่ยวอย่างมหาศาล และกลายเป็นมรดกของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะนำมาเป็นแนวทางในการจัดงานพืชสวนโลกของจังหวัดอุดรธานีต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องการมาติดตามการขับเคลื่อนงานของ สวพส. โดยมุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่สูง ต้องการให้เค้ามีงาน มีอาชีพ โดยใช้ตลาดนำ จึงได้มอบหมายทุกหน่วยงานในสังกัดร่วมบูรณาการทำงาน ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องความมั่นคงและแก้ไขปัญหา PM 2.5 ได้” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 พฤศจิกายน 2566

“รมว.ธรรมนัส”ร่วมหารือ ก.มหาดไทย – ก.ทรัพยากรธรรชาติฯ เร่งแก้ปัญหาสมัชชาคนจน พร้อมพบปะกลุ่มพีมูฟ ก่อนยุติการชุมชุมหน้าทำเนียบ

,

“รมว.ธรรมนัส”ร่วมหารือ ก.มหาดไทย – ก.ทรัพยากรธรรชาติฯ
เร่งแก้ปัญหาสมัชชาคนจน พร้อมพบปะกลุ่มพีมูฟ ก่อนยุติการชุมชุมหน้าทำเนียบ

วันนี้ (16 ต.ค.66) เวลา 13.30 น. ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายมงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หารือร่วมกับแกนนำสมัชชาคนจน (สคจ.) และ พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานจากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารสำนักงาน ก.พ. (เดิม) เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองกระทรวงซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของที่ดินที่เป็นปัญหาค้างคาเดิมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม แบ่งเป็น กระทรวงมหาดไทย 14 กรณีประเด็นปัญหา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7 กรณี ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบกรอบการทำงานจากนี้ร่วมกันระหว่างสมัชชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรายละเอียดตามข้อร้องเรียนในแต่ละประเด็น เสนอต่อสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งเบื้องต้นได้ผลเป็นน่าพอใจ และเมื่อมีกรอบแนวทางออกในการดำเนินงานในความเดือนร้อนที่พี่น้องสมัชชาคนจนเสนอมา และมีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน คาดว่าการปักหลักชุมนุมก็จะไม่ยืดเยื้อแน่นอน
อย่างไรก็ตาม หลังจากการหารือร่วมกับกลุ่มสมัชชาคนจนเรียบร้อยแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้เดินทางต่อไปยังบริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล พบปะตัวแทนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ พีมูฟ เพื่อหารือการขับเคลื่อนการทำงานของคณะอนุกรรมการที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรรมการลงนามแต่งตั้งทั้งหมด 7 คณะอนุกรรมการ ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินทั้งระบบ 2.คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม 3.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการของรัฐ 4.คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ 5.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาสิทธิสถานะ และบุคคล 6.คณะอนุกรรมการสิทธิที่อยู่อาศัยและการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และ 7.คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาใน 10 ประเด็นข้อเสนอเชิงนโยบาย และปัญหารายกรณีทั้งสิ้น 266 กรณี ร่วมกันตามที่กลุ่มพีมูฟได้ยื่นข้อเสนอการแก้ไขปัญหาของกลุ่มพีมูฟ ซึ่งสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะฝ่ายเลขานุการ จะประสานงานฝ่ายเลขาฯ ของคณะกรรมการและอนุกรรมการทุกชุดมาประชุมร่วมกับผู้แทนพีมูฟโดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ กลุ่มพีมูฟได้ปักหลักชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลมาตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา และจะยุติการชุมชุมและทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนาในวันนี้ (16 ต.ค.66).

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางการเกษตร มุ่งส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มอบหมายกรมชลฯลอกคลองป้องกันวัชพืชกระทบระบบนิเวศนทะเล

,

‘ธรรมนัส’นำทีม สส.พปชร.ลุยแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งคาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา พร้อมประกาศ ดีเดย์แจกโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฉบับแรก 15 ม.ค. 67 แน่นอน

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด กระแสสินธุ์ และพบปะเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ณ ต.บ้านตาขาว อ.ระโนด จ.สงขลา ร่วมกับ สส. ภาคใต้ของพรรคพลังประชารัฐ อาทิ นายชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว สส.สงขลา เขต 4 ,นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.จังหวัดนราธิวาส เขต2 , นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ สส.จังหวัดนราธิวาส เขต 3 และนายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2

โดย ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ปัญหาของคาบสมุทรสทิงพระ คือเริ่มตั้งแต่เมื่อวานที่ตนไปลงพื้นที่ทะเลน้อย ซึ่งเป็นพื้นที่ของจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา รวมถึงนครศรีธรรมราช แล้วก็คาบสมุทรทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องขับเคลื่อนพร้อม ๆ กัน โดยช่วงเช้าตนได้สั่งการไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาว่า จะนำเรื่องที่มาตรวจราชการ 2 วัน โดยเป็นเรื่องของคนพัทลุง คนสงขลา และคนนครศรีธรรมราช เสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้รับทราบ เพื่อหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในเรื่องของการพัฒนาทะเลสาบสงขลา อย่าง ทะเลน้อย

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวต่อว่า เมื่อเช้าตนอยู่กับพี่น้องชาวอำเภอระโนด ถือว่าเป็นจุดสำคัญที่พี่น้องได้รับผลกระทบ เวลาหน้าน้ำหลากก็ท่วมคาบสมุทรสทิงพระ ทำให้พี่น้องชาวอำเภอสทิงพระเดือดร้อน แนวทางในการแก้ปัญหาในส่วนของกรมชลประทาน ตนได้สั่งการกรมชลประทานแล้วว่า ให้หาแนวทางในการแก้ไขปัญหา อย่างเช่น ในช่วงหน้าแล้ง ก็มีปัญหาเรื่องน้ำของภาคการเกษตรเป็นปัญหามาก เราจะทำการกระจายน้ำ โดย ใช้เป็นประตูสูบน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละจุดของคลองอาทิตย์ เพื่อระบายไปยังแปลงเกษตรให้กับพี่น้องเกษตรกรทั้ง 4 อำเภอ ส่วนคณะกรรมการในการบริหารจัดการทะเลน้อย ทะเลสาบสงขลา ตนก็จะอาสาเป็นประธานในการขับเคลื่อน

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวต่อว่า เมื่อวันพุธที่ผ่านมาตนมีการประชุมของคณะกรรมการปฎิรูปที่ดิน อนุมัติกรอบในการเปลี่ยนที่ดินจาก ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนด ภายใต้ใช้กฎหมายข้อบังคับประกาศ 4 ฉบับ พรบ.ส.ป.ก. ปี 18 ประกอบกับปีที่ปรับปรุงแล้ว ถ้าถามว่า ก่อนวันที่ 15 มกราคม 2567 จะเริ่มแจก ส.ป.ก.ทั่วประเทศหรือไม่ ตน ยืนยันว่า ทำ ขอฝากไปยังพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศว่า เราจะเปลี่ยนที่ดินที่เป็นที่ดินของรัฐประเภท สปก.ให้เป็นโฉนด เพื่อการเกษตรให้กับของท่าน อย่างในพื้นที่จังหวัดสงขลาก็มีที่ดิน ส.ป.ก.จำนวนมาก

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางการเกษตร มุ่งส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มอบหมายกรมชลฯลอกคลองป้องกันวัชพืชกระทบระบบนิเวศนทะเล

,

“รมว.ธรรมนัส” ลงพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางการเกษตร มุ่งส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มอบหมายกรมชลฯลอกคลองป้องกันวัชพืชกระทบระบบนิเวศนทะเล

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยี่ยมชมการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย พื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก (Globally Important Agricultural Heritage System : GIAHS) แห่งแรกของประเทศไทย ณ จุดชมวิว (บ้านแฝด) ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ซึ่งการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” เป็นระบบการทำการเกษตร (ปศุสัตว์) ที่สืบทอดมายาวนานมากกว่า 250 ปี มีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่การอยู่ร่วมกันของชุมชนกับธรรมชาติ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ วิวัฒนาการของทำการเกษตรอย่างยั่งยืน และการอนุรักษ์ระบบนิเวศให้สมดุล โดยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) ได้ประกาศรับรองพื้นที่ดังกล่าวเป็นมรดกทางการเกษตรโลก

สำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบแบบลากูน เชื่อมลุ่มน้ำปากพนังและลุ่มน้ำสงขลาเข้าด้วยกัน ซึ่งภายในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยประกอบไปด้วยระบบนิเวศย่อยมากมาย อาทิ ป่าพรุ ทุ่งหญ้า เนินสูง และบึงน้ำ ส่งผลให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำมากกว่า 200 สายพันธุ์ และเป็นจุดพักของนกอพยพตามเส้นทางการบินของเอเชียตะวันออกถึงออสเตรเลีย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่มีสถานะอนุรักษ์และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ส่งผลให้พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าและพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งบทบาทสำคัญในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยยังทำหน้าที่นิเวศบริการหล่อเลี้ยงผู้คนกว่า 50,000 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 จังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ตำบลเคร็งและตำบลแหลม) จังหวัดพัทลุง (ตำบลทะเลน้อยและตำบลพนางตุง) จังหวัดสงขลา (ตำบลบ้านขาว) ที่พึ่งพิงอาศัยทรัพยากรจากพื้นที่ชุ่มน้ำโดยตรง ก่อให้เกิดวิถีการทำการเกษตรที่หลากหลายและมีอัตลักษณ์โดดเด่น เช่น วิถีการเลี้ยงควายปลัก การทำหัตถกรรมกระจูด การปลูกข้าว “นาริมเล” และการทำประมงโดยใช้ยอยักษ์เป็นเครื่องมือทำการประมง เป็นต้น

ทั้งนี้ การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย สะท้อนสมดุลระหว่างวิถีชีวิตคนกับระบบนิเวศและการปรับตัวเพื่อให้สามารถทำกินในพื้นที่อนุรักษ์ได้อย่างเหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร กระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ช่วยยกระดับการท่องเที่ยวของจังหวัดให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบเกษตรที่สำคัญของโลก และจะนำไปสู่การแผนจัดการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนที่สร้างสมดุลทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐานสากลต่อไปให้อนาคต โดยพื้นที่ดังกล่าว มีเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย 228 ราย จํานวนควาย 4,480 ตัว และมีกลุ่มผู้เลี้ยงควาย 17 กลุ่ม

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ในการจัดการทรัพยากรทางการเกษตร เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดความยั่งยืน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน นอกจากนี้ ยังมอบหมายกรมชลประทาน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเจ้าท่า โยธาธิการจังหวัด และหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ นำเครื่องจักรเครื่องมือมาดำเนินการขุดลอกคลอง เพื่อเก็บกักวัชพืชที่ทำลายระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี (Varni) ซึ่งเป็นหนึ่งในวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ สร้างความมั่นคงในอาชีพ ก่อตั้งขึ้นโดย นางวรรณี เซ่งฮวด ภายใต้การส่งเสริมของสำนักงานเกษตรอำเภอควนขนุน และสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น คือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระจูด ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ผสมผสานระหว่างภูมิปัญญา เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการนำวัสดุอื่น ๆ จนได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม แปลกใหม่ และมีคุณภาพ นำมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กระจูด และสร้างงานให้คนในชุมชนกว่า 200 คน นำรายได้เข้าสู่ชุมชนกว่าปีละ 4 ล้านบาท

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 ตุลาคม 2566