“อัครแสนคีรี”แนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขุดลอกเขื่อนลำปะทาว กำจัดตะกอนดิน เพิ่มความจุในเขื่อน ป้องกันน้ำท่วม จ.ชัยภูมิ
วันที่ 22 ส.ค.2566 ที่รัฐสภา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)มอบหมายให้ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการ พปชร.รับหนังสือจากสหพันธ์ครูแสะบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย โรงเรียนบ้านหันเชียงเทียน ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม ภายใต้การประสานงานโดยนายปรีดา บุญเพลิง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคครูไทยเพื่อประชาชน
สำหรับโดยหนังสือดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ ขอให้คณะกรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)พิจารณามติก.ค.ศ.ที่คลาดเคลื่อนเพื่อเยียวยาผู้ส่งผลงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการว13/2556 น้ำสู่การพิจารณารับรองคุณสมบัติข้ารับการประเมิน โดยการเปิดประชุม ก.ค.ศ.
ทั้งนี้ ในรายละเอียดหนังสือ ยังอ้างถึง
1. หนังสือที่ศธ 0206.3/ว(23 สิงหาคม 2566 )นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงโครงการขุดลอกเขื่อนลำปะทาวและขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า โดยเขื่อนลำปะทาวซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกรมพัฒนาพลังงานทดแทน สังกัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งปัจจุบันเขื่อนลำปะทาวประกอบไปด้วย เขื่อนบนและเขื่อนล่าง ตั้งอยู่บนเขาของจังหวัดชัยภูมิ เขื่อนด้านบนจะอยู่ทางซ้าย เขื่อนด้านล่างจะอยู่ด้านขวา เป็นตัวผลิตไฟฟ้า เป็นเครื่องที่ตั้งอยู่ตีนเขา กรณีผลิตไฟฟ้าจะต้องปล่อยน้ำลงมาจากบนเขา ส่งไปที่ตัวเครื่องเจนเพื่อผลิตไฟ แล้วก็ป้อนไฟเข้าระบบ ในส่วนของเครื่องเจนเองจะอยู่ตรงตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอแก่งคล้อ หลังจากที่มีการสร้างเขื่อนนี้ มีการผลิตไฟฟ้า มีการปล่อยน้ำลงมา ก็จะได้ประโยชน์สองเรื่องหลักๆ เรื่องแรกคือเรื่อง ไฟฟ้าที่ได้ใช้ เรื่องที่ 2 คือ เกษตรกรที่อยู่ในเขตนาหนองทุ่มจะได้ใช้น้ำในการปล่อยน้ำลงมา เพื่อผลิตไฟฟ้า
นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ขณะนี้เขื่อนลำปะทาว กำลังพบเจอปัญหาวิกฤติ หลักๆ คือการที่ไม่สามารถเก็บน้ำในเขื่อนได้ ปัจจุบันเขื่อนลำปะทาวเขื่อนบน ฃสามารถเก็บน้ำได้ 44 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนล่างกักเก็บน้ำได้ประมาณ 14 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่หลังจากสร้างใช้ระยะเวลานานยังไม่มีการขุดลอกในเขื่อน ทำให้เกิดปัญหา คือทำให้มีตะกอนดินสะสมมหาศาลจากการสำรวจพบว่ามีอยู่หลายล้านคิว ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมหรือเกิดเหตุ ช่วงพายุเข้ามาก็จะทำให้น้ำที่อยู่ในเขื่อนไหลทะลักและเข้าท่วมจังหวัดชัยภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศบาลเมือง
“ผมมีข้อเสนอ 2 ข้อ ข้อแรกคือ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการขุดลอกเขื่อนลำปะทาวทั้งเขื่อนบนและเขื่อนล่าง ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับคือ ได้กำจัดตะกอนดิน เพิ่มความจุในเขื่อน และสามารถขยายกำลังผลิตไฟฟ้าได้ เพราะมีน้ำไว้ผลิตไฟมากขึ้น
นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันปัญหาน้ำไหลไปท่วมในตัวจังหวัดชัยภูมิ เมื่อเราเก็บน้ำได้มากขึ้นแล้ว ปัญหาน้ำที่จะล้นก็จะน้อยลง”
ข้อ 2 เพิ่มกำลังการผลิตไฟ โดยการติดตั้งเครื่อง Generator ในพื้นที่ตำบลโคกกุงซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับ ตำบลนาหนองทุ่ม จุดผลิตไฟเดิม และโดยตำบลโคกกุงนั้นเป็นพื้นที่แห้งแล้ง ซึ่งเกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากน้ำที่ปล่อยลงมาเพื่อผลิตไฟ มีตัวอย่างให้เห็นที่ ตำบลนาหนองทุ่ม
ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 สิงหาคม 2566