โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวกิจกรรม ส.ส. และสมาชิกพรรค

“กระแสร์ สส.หนองคาย”เร่งรัดกระทรวงคมนาคม จัดการสิ่งกีดขวางถนนมิตรภาพช่วงอุดรธานี – หนองคาย จากการก่อสร้าง อำนวยความสะดวกประชาชนเดินทางแห่ชมบั้งไฟพญานาคริมโขง ช่วงเทศกาลออกพรรษา

,

“กระแสร์ สส.หนองคาย”เร่งรัดกระทรวงคมนาคม จัดการสิ่งกีดขวางถนนมิตรภาพช่วงอุดรธานี – หนองคาย จากการก่อสร้าง อำนวยความสะดวกประชาชนเดินทางแห่ชมบั้งไฟพญานาคริมโขง ช่วงเทศกาลออกพรรษา

นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ สส.หนองคาย เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ช่วงจังหวัดอุดรธานี ถึงจังหวัดหนองคาย ว่าขณะนี้มีการก่อสร้างเพื่อขยายผิวจราจรโดยแล้วเสร็จไปกว่าร้อยละ 90 แต่ยังกังวลเรื่องความปลอดภัยสิ่งกีดขวางการจราจรต่าง ๆ จากการก่อสร้าง ขอให้กระทรวงคมนาคมสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้าเคลื่อนย้ายเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนด้วย โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 29 ตุลาคม 66 ซึ่งตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา นักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศจะหลั่งไหลเดินทางมายังจังหวัดหนองคายเพื่อชมปรากฏการณ์ธรรมชาติบั้งไฟพญานาคที่เกิดขึ้นตลอดแนวแม่น้ำโขง อาทิ ที่อำเภอโพนพิสัย และอำเภออ. รัตนวาปี อีกทั้งจากการลงพื้นที่พบว่าบางช่วงของถนน เช่น ช่วงถนนเลี่ยงเมือง ตำบลวัดธาตุ ตำบลหาดคำ ตำบลหินโงม อำเภอเมืองหนองคาย ไม่มีไฟส่องสว่างเพียงพอทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งดำเนินการแก้ไขโดยด่วนให้ทันก่อนวันที่ 29 ต.ค.

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 ตุลาคม 2566

“รมว.ธรรมนัส” ดูแลผู้เลี้ยงไก่ไข่อย่างต่อเนื่อง ประสานหน่วยงานดูแลต้นทุนสร้างราคาที่เป็นธรรม

,

“รมว.ธรรมนัส” ดูแลผู้เลี้ยงไก่ไข่อย่างต่อเนื่อง ประสานหน่วยงานดูแลต้นทุนสร้างราคาที่เป็นธรรม

ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้สมาคมกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ นำผู้แทนเกษตรกรเข้าพบ เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการนี้ สมาคมฯ ได้กล่าวขอบคุณที่ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยได้รับการดูแลจากกรมปศุสัตว์เป็นอย่างดี สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร รวมถึงมีการจัดสรรโควต้าอย่างเป็นธรรม ทำให้เกิดความสมดุลทั้งในด้านการผลิตและการตลาด ทำให้ปริมาณไข่ไก่ไม่ขาดและไม่ล้นตลาด จึงขอขอบคุณภาครัฐที่เป็นพี่เลี้ยง ทำให้คุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อยดีขึ้น และสำหรับการมาในวันนี้อยากจะขอให้ภาครัฐช่วยดูแลและปกป้องอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ รวมถึงช่วยดูแลในเรื่องต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่อยู่ได้

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมในเรื่องการปลูกพืชอาหารสัตว์ เพื่อช่วยให้ราคาต้นทุนถูกลง รวมถึงประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อดูแลในเรื่องราคาไข่ไก่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2566

“อัคร ทองใจสด” พปชร. เร่ง รบ.จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย พร้อมวอน กรมทางหลวง เร่งแก้ปัญหาสภาพถนนหลายเส้นชำรุด หวั่นเกิดอุบัติเหตุซ้ำ

,

“อัคร ทองใจสด” พปชร. เร่ง รบ.จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย พร้อมวอน กรมทางหลวง เร่งแก้ปัญหาสภาพถนนหลายเส้นชำรุด หวั่นเกิดอุบัติเหตุซ้ำ

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผย ว่า ได้หารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย ที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดี เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ทางชาวไร่อ้อยจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ต่างรอคอยเงิน 120 บาทต่อ ไร่ ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้เคยจะจัดสรรให้จากการตัดอ้อยสด แล้วก็ยังมีอีกหนึ่งปัญหาก็คือ จากการที่ ครม .หรือทางกระทรวงอุตสาหกรรม จะตัดเงินที่อ้อยไฟไหม้ สำหรับใครที่ส่งอ้อยไปให้ทางโรงงานน้ำตาลแล้ว จะตัด 90 บาทต่อ 1 ตัน หรือการปนเปื้อนปัญหานี้

นายอัคร ยังกล่าวถึงปัญหาถนนสายบ้านหินด่าน ซึ่งมีระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตรทาง ทางหลวงหมายเลข 2068 เป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และถนนบ้านตึกหวายไปหนองบัว ตำบลท่าโรงหมู่ที่ 3 และ ตำบลหมูราง หมู่ที่ 19 มีระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร ซึ่งเกิดปัญหาบ่อยครั้ง เกิดอุบัติเหตุและสัญจรไม่สะดวก

นอกจากนี้ปัญหาความปลอดภัยของชุมชนบ้านโคกสะอาด ซึ่งเด็กนักเรียนจะต้องข้ามถนน 8 ช่องจราจร ซึ่งมีความอันตรายมาก และยังมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกรมทางหลวง กระทรวงอุตสาหกรรม และทางหลวงชนบทช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2566

“ส.ส.ไผ่ ลิกค์” เผย “รมว.ธรรมนัส” เตรียมลงพื้นที่ จ.กำแพงเพชร เร่งหาแนวทางซ่อมแซมฝ่ายวังบัว หลังพังเสียหายจากกระแสน้ำส่งผล ปชช. ริมตลิ่งเดือดร้อนหนัก

,

“ส.ส.ไผ่ ลิกค์” เผย “รมว.ธรรมนัส” เตรียมลงพื้นที่ จ.กำแพงเพชร เร่งหาแนวทางซ่อมแซมฝ่ายวังบัว หลังพังเสียหายจากกระแสน้ำส่งผล ปชช. ริมตลิ่งเดือดร้อนหนัก

นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า ตนได้มอบหมายให้ น.ส.ณัฐกฤตา เขียวฤทธิ์ พร้อมด้วย สจ.สิงห์โต วัฒนศิริ ลงพื้นที่บริเวณหน้าฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาวังบัว จุดเชื่อมต่อระหว่าง บ้านโขมงหัก ต.เทพนคร-บ้านวังยาง ต.นครชุม อ.เมือง กำแพงเพชร ที่เกิดการพังเสียหาย เมื่อเวลาประมาณ 02.00 น.วันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา ปริมาณที่สูงขึ้นของแม่น้ำปิงได้ไหลผ่านช่องทางน้ำอย่างรวดเร็วนั้น ส่งผลประชาชนทร่อาศัยบริเวณริมตลิ่งได้รับความเดือดร้อน

“ผมได้ประสานไปยัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้รับทราบข้อมูลและความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงจังหวัดข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบจากฝ่ายกั้นแม่น้ำพังเสียหายในครั้งนี้ โดย ร.อ.ธรรมนัส จะลงพื้นที่ด้วยตัวเองในวันที่ 7 ต.ค.นี้ เพื่อหาแนวทางซ่อมแซมฝ่ายวังบัวเป็นการเร่งด่วน”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2566

“วรโชติ สส.เพชรบูรณ์” เสนอกระทรวงมหาดไทย ผลักดันงบประมาณสร้างถนนใน จ. เพชรบูรณ์ ลดปัญหาความเดือดร้อนของ ปชช.

,

“วรโชติ สส.เพชรบูรณ์” เสนอกระทรวงมหาดไทย ผลักดันงบประมาณสร้างถนนใน จ. เพชรบูรณ์ ลดปัญหาความเดือดร้อนของ ปชช.

นายวรโชติ สุคนธ์ขจร สส.เพชรบูรณ์ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาถึงปัญหาความล่าช้า ของการสร้างถนนเส้นอำเภอวังโป่ง อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าถนนเส้นนี้ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ มีแบบเรียบร้อยแล้ว จากที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มีการของบประมาณไปยังกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในระยะทางก่อสร้างประมาณ 5400 เมตร เป็นถนนที่จะใช้สัญจรไปมาระหว่างอำเภอวังโป่ง และอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถย่นระยะทางได้ประมาณ 30 กิโลเมตร

“ผมขอให้กระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ช่วยผลักดันงบประมาณให้กับถนนเส้นรวมถึงโครงการต่างๆที่ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ติดปัญหา เรื่องการถ่ายโอนของถนน วันนี้อุทกภัยน้ำพัดผ่าน ถนนขาดหลายสาย ขอให้ช่วยเร่งและเห็นความสำคัญกับความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในเขตชนบทด้วย เพราะถนนที่ขอมาเป็นเส้นทางสร้างคุณภาพชีวิต การประกอบอาชีพ ที่ประชาชนต้องใช้เดินทุกวัน แต่วันนี้ถนนหลายสายในอำเภอชนแดน อำเภอโป่ง อำเภอหนองไผ่ และทั้งจังหวัด ผมคิดว่าทั้งประเทศก็เป็นเหมือนกัน ที่ยังไม่ได้รับการดูแล ”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2566

“สส.กาญจนา จ.ชัยภูมิ” หารือร่วมหน่วยงานรัฐเร่งหาแนวทางแก้ปัญหาน้ำในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบพี่น้องปชช.

,

“สส.กาญจนา จ.ชัยภูมิ” หารือร่วมหน่วยงานรัฐเร่งหาแนวทางแก้ปัญหาน้ำในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบพี่น้องปชช.

น.ส.กาญจนา จังหวะ สส.จ.ชัยภูมิ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้ร่วมประชุมกับ น.ส.อัจฉรา อาษาสู้ นายอำเภอภักดีชุมพล และนายสมบัติ มีลักษณะสม ผู้อำนวยการโครงการชลประทานชัยภูมิ ถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ ซึ่งรวมถึงปัญหาอุปสรรค ที่จะนำไปสู่การวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพ เนื่องจากในขณะนี้ในพื้นที่มีปริมาณฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมในพื้นที่ ประกอบกับภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดชัน เมื่อมีปริมาณฝนที่สะสมมาก จะก่อให้เกิดน้ำป่าไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนของพี่น้องประชาชนในบางพื้นที่สร้างความเสียหายเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามสถานการณ์น้ำฝนเป็นผลจากอิทธิพลของมรสุมที่พาดผ่าน และความผิดปกติของสภาวะอากาศในประเทศที่มาจากเอลนีโญ ซึ่งการบริหารจัดการจะมีความสำคัญมาก เนื่องจากในพื้นที่พี่น้องประชาชนมีความต้องการใช้น้ำทั้งเพื่อการเกษตร และอุปโภค บริโภคในช่วงฤดูแล้ง และในช่วงฤดูฝน เนื่องจากไม่สามารถเก็บกักน้ำส่วนเกินได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ตุลาคม 2566

“สส.นเรศ” ประสานหลายฝ่าย เร่งช่วย ปชช. หลังน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนริมลำน้ำแม่วาง ได้รับความเสียหาย เตรียมแผนระยะยาวแก้ปัญหา 7 จุด

,

“สส.นเรศ” ประสานหลายฝ่าย เร่งช่วย ปชช. หลังน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนริมลำน้ำแม่วาง ได้รับความเสียหาย เตรียมแผนระยะยาวแก้ปัญหา 7 จุด

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สส.เชียงใหม่ เขต 9 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวว่า ตนได้ประสานไปยังผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ ตนได้ลงพื้นที่ร่วมกับนายก อบต. ,กำนัน ต.ทุ่งรวงทอง,กำนัน ต.บ้านกาด อ.แม่วาง เพื่อสำรวจความเสียหายบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากน้ำไหลหลากล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย.66

นายนเรศ กล่าวว่า โดยหลังจากผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้รับเรื่องแล้ว จึงได้สั่งการให้หัวหน้าฝ่ายงานวิศวกรรม นายช่างชลประทาน หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 6 ลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด เลขนานุการนายกเทศมนตรีตำบลแม่วาง เพื่อสำรวจความเสียหายเบื้องต้น เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเร่งด่วน และแผนระยะยาวพื้นที่ 7 จุด ที่มีปัญหาในลำน้ำแม่วาง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 1 ตุลาคม 2566

“อัครแสนคีรี” รุดช่วยชาวชัยภูมิ เรียกร้องค่าเวนคืนสร้างเขื่อนลำปะทาว พร้อมยื่นหนังสือขอ รมว.พลังงานเร่งแก้ไขปัญหา

,

“อัครแสนคีรี” รุดช่วยชาวชัยภูมิ เรียกร้องค่าเวนคืนสร้างเขื่อนลำปะทาว พร้อมยื่นหนังสือขอ รมว.พลังงานเร่งแก้ไขปัญหา

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่าในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ชัยภูมิ ตนได้เดินทางไปพบปะกับพี่น้องประชาชนจังหวัดชัมภูมิ เพื่อสอบถามถึงปัญหาและข้อเรียกร้องของการเดินทางมาชุมนุมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องค่าเวนคืนที่ดินจากโครงการสร้างเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเพื่อการผลิตไฟฟ้าและเป็นเก็บกักน้ำป้อนระบบชลประทาน ในเขตอำเภอแก้งคร้อ

“ผมได้ทำหนังสือขอความช่วยเหลือเร่งด่วนไปยัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อเร่งดำเนินการจ่ายค่าเวนคืนที่ดินจากการสร้างเขื่อนลำปะทาว ให้กับกลุ่มชาวบ้านที่ยังไม่ได้รับเงินตามมติคณะรัฐมนตรี รวมถึงแจ้งเรื่องการทำหนังสือดังกล่าวกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมกับจะติดตามต่อไป“นายอัครแสนคีรี

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 กันยายน 2566

“รมช.สันติ” รมช.สธ. แนะพัฒนาพื้นที่บลูโซนแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพดี ปลอดโรค ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว

,

“รมช.สันติ” รมช.สธ. แนะพัฒนาพื้นที่บลูโซนแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพดี ปลอดโรค ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว

วันที่ 27 กันยายน 2566 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 1 /2566 ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร ชั้น 2 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กับ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. ตลอดจนผู้บริหารของกระทรวงเข้าร่วม โดยมีการประชุมติดตามความก้าวหน้า 7 เรื่อง ซึ่งอยู่ในนโยบาย Quick Win ของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 1. โครงการพระราชดำริ / โครงการเฉลิมพระเกียรติและโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ 2. เศรษฐกิจสุขภาพ “น่าน โมเดล (NAN_MODELs)” 3. ด้านดิจิทัลสุขภาพ 4. โรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร 50 เขต 50 โรงพยาบาล และปริมณฑล 5. ด้านมะเร็งครบวงจร 6. การสร้างขวัญกำลังใจบุคลากร และ 7. ด้านสถานชีวาภิบาล

นายสันติ กล่าวถึงประเด็นเศรษฐกิจสุขภาพ บลูโซน (Blue Zone) หรือเมืองที่คนอยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี อายุยืน ทำให้ได้เขตสุขภาพละ 1 แห่ง นั้นมองว่า บลูโซนเป็นคำจำกัดความที่สื่อถึงพื้นที่ต่างๆที่เอื้อให้ผู้ที่อยู่อาศัยสามารถมีความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาว และมีความปลอดในทุกรูปแบบ จึงอยากฝากแนวคิดว่า ถ้าตำบลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีการพัฒนายกระดับให้เป็นบลูโซน เมื่อนักท่องเที่ยวทางเข้ามาก็จะเกิดความสบายใจได้ทันทีว่าสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ปลอดภัยในทุกๆด้าน ทั้งเรื่องอากาศ สาธารณสุข อาหาร แหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า หรือ ตลาดที่ถูกสุขอนามัย ซึ่งหากมีแนวคิดนี้ออกไปทำให้กระทรวงสาธารณสุขดูเข้มแข็งขึ้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

คอซีย์ มามุ วอนรัฐบาลเร่งเบิกค่าเสี่ยงภัย ให้กับผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น พื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเป็นกำลังใจเจ้าหน้าปฏิบัติงานเพื่อ ปชช.

,

คอซีย์ มามุ วอนรัฐบาลเร่งเบิกค่าเสี่ยงภัย ให้กับผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น พื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเป็นกำลังใจเจ้าหน้าปฏิบัติงานเพื่อ ปชช.

นายคอชีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 (อ.หนองจิก และ อ.โคกโพธิ์)พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หารือในที่ประชุมสภาไปยังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ถึงประเด็นในความล่าช้าการจ่ายค่าตอบแทนสมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่น เป็นเงินค่าเสี่ยงภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วย จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และ อีก4 อำเภอจังหวัดสงขลา

ในตอนที่ตนทำหน้าที่ประธานชมรมผู้บริหารท้องถิ่นจังหวัดชายแดนใต้ได้ยื่นข้อเสนอต่อภาครัฐให้นำเสนอสวัสดิการการปฎิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามกฤษฎีกาสวัสดิการปฏิบัติงานพื้นที่เสี่ยง พ.ศ. 2544 และแก้ไขปฏิบัติพื้นที่ 3 ปี 2560 ว่าด้วยบำเหน็จเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจังหวัดชายแดนภาคใต้

ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของชายแดนภาคใต้ ครั้งที่หนึ่งโดยมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานในการประชุม มีวาระเห็นชอบและสวัสดิการเบี้ยเสี่ยงภัยของผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกท้องถิ่น

“วันนี้เข้ามาเดือนกันยายน ยังไม่มีการจ่ายเงินเสี่ยงภัย ให้กับสมาชิกสภาท้องถิ่น การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ ผมจึงขอนำเรียนให้ท่านนายกเศรษฐา ได้มีบัญชาสั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรีบดำเนินการให้กับผู้บริหารท้องถิ่นในฐานะผู้ปฏิบัติงานพื้นที่เสี่ยงภัย ได้รับความเท่าเทียมได้รับเบี้ยเสี่ยงภัยเหมือนกับหน่วยงานราชการอื่นด้วย”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

”สส.จีรเดช“กรมโยธาธิการ ช่วยสำรวจบ้านเรือน ปชช.ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือน วอน รีบจัดสรรงบประมาณแก้ปัญหาด่วน

,

”สส.จีรเดช“กรมโยธาธิการ ช่วยสำรวจบ้านเรือน ปชช.ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือน วอน รีบจัดสรรงบประมาณแก้ปัญหาด่วน

นายจีรเดช ศรีวิราช สส.พะเยา เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาถึง ความล่าช้าในการอนุมัติโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง หมู่ที่ 4 ตำบลดอกคำใต้ ซึ่งได้เสนอไปยังกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย เนื่องจากประชาชนได้รับความเดือดร้อนและได้รับคำร้องเรียน จากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ซึ่งได้ร้องขอต่อกรมโยธาธิการ ไปนานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งหมู่บ้านนี้อยู่หลังสถานีประมง จังหวัดพะเยา ในช่วงฤดูฝน น้ำกว้านพะเยาเอ่อล้นก็ถูกระบายไปสู่แม่น้ำอิง ทำให้บริเวณบ้านฝั่งหมิ่น ซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับประตูน้ำ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เกิดปัญหาน้ำท่วมทะลักเข้าสู่บ้านเรือนที่พักอาศัย บางแห่งถูกน้ำกัดเซาะเข้าไปเกือบถึงตัวบ้าน ไม่รู้จะพังขึ้นมาเมื่อไหร่ ยิ่งอยู่ใกล้ประตูน้ำระบายด้วย ทีนี้ก็ลำบากก็ว้าวุ่นเลย ต้องหากระสอบทรายจำนวนมากนำมากั้นน้ำเป็นประจำทุกปี ขอฝากความเดือดร้อนนี้ไปยังกรมโยธาธิการ

นายจีรเดช กล่าวว่า อีกปัญหาที่ถูกเรียกร้องมามากก็คือ ปัญหาน้ำท่วมขังในเขตเทศบาลเมืองดอกคำใต้ บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำร่องช้าง และอยู่ช่วงปลายน้ำที่แคบคอขวด ที่สำคัญปลายน้ำยังไม่ทะลุเชื่อมต่อไปถึงแม่น้ำอิงที่ไหลลงไปสู่แม่น้ำโขง ในช่วงหน้าฝน เกิดน้ำป่าไหลหลาก ทำให้ไม่สามารถระบายได้ทันก็เอ่อล้นเข้าสู่บ้านเรือนพี่น้องชาวบ้าน ต้องขนเข้าของเครื่องใช้ ไปที่สูงเพื่อหนีน้ำ บางทีน้ำมาไว ก็ขนไม่ทัน สร้างความเสียหายอย่างหนัก และเกิดขึ้นซ้ำซาก ตั้งแต่ผมจำความได้

”ผมขอฝาก 2 เรื่องนี้ ไปยังกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย ได้ช่วยไปสำรวจตรวจสอบ หาแนวทางแก้ไข รวมทั้งรีบจัดสรรงบประมาณ มาดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน“นายจีรเดช กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 กันยายน 2566

“อัครแสนคีรี” ชงสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า หวังได้ข้อสรุปจะรับมืออย่างไร หลังเป็นของผิดกม.แต่ลักลอบขายสูบกันทั่วเมือง

,

“อัครแสนคีรี” ชงสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า หวังได้ข้อสรุปจะรับมืออย่างไร หลังเป็นของผิดกม.แต่ลักลอบขายสูบกันทั่วเมือง

นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ กล่าวนำเสนอญัตติในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาผลประโยชน์ของการมีกฎหมายควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทความเป็นจริงในประเทศไทย โดยเป็นญัตติที่นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)เป็นผู้เสนอ

โดย นายอัครแสนคีรี กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ สส.ไผ่ ลิกค์ ที่ได้ มอบหมายตนมานำเสนอในสภา บุหรี่ไฟฟ้า ปัจจุบันเป็นสินค้าที่มีการขายซื้อง่าย ทั้งช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ โดยทุกวันนี้บุหรี่ไฟฟ้าสามารถสั่งซื้อได้ผ่านเว็บไซต์ชื่อดัง รวมถึงโซเชียลมีเดียต่างๆ เนื่องจากเป็นที่แพร่นิยมของวัยรุ่น สาเหตุที่มีความนิยม ในกลุ่มผู้ใช้เป็นเพราะว่า มีรูปลักษณ์และกลิ่น ที่ทำให้เกิดความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นของผลไม้ หรือเป็นกลิ่นต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้มีความชื่นชอบและมีการใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีกฎหมายที่ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า หลักๆ มี 4 หน่วยงาน คือ หน่วยงานพาณิชย์ ,คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค,พรบ.ควบคุมยาสูบ และกรมศุลกากร ซึ่งจะดูในส่วนของการนำเข้า ทั้งนี้ถ้าหากหน่วยงานเหล่านี้ มีการ กำกับดูแล การออกกฏหมาย มีบทลงโทษที่ชัดเจน

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า จากผลสำรวจพบว่าตลาดบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 6,408 ล้านบาทต่อปี และมีการเติบโตที่ร้อยละ 100 ต่อปี โดยจากผลสำรวจยังพบว่า ปัจจุบันเยาวชนไทยมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 9 และที่สำคัญ มีการสูบตามเพื่อนฝูงถึง 92.2% พูดง่ายๆ เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่เห็นเพื่อนใช้กันแล้วก็อยากใช้ตาม และที่สำคัญคือ ไม่ทราบว่าด้านในมีสาร นิโคติน ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าทุกวันนี้เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ในประเทศไทย ดังนั้นการนำเข้ามาขาย รวมถึงการจัดจำหน่าย ก็เป็นการลักลอบเข้ามาจำหน่าย ส่วนประเทศทุกวันนี้ที่มี ฃการอนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ได้แล้วมี ประมาณ 60 ประเทศ ซึ่งจะมีบางประเทศที่สามารถจำหน่ายได้เฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่มีสารนิโคติน เช่นออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ศรีลังกา

“ผมได้ศึกษาเบื้องต้น จากตัวอย่างของประเทศที่มีการอนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า อย่างในประเทศจีน จะมีข้อกำหนด ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า เช่น การกำจัดอายุขั้นต่ำ,ห้ามขายใกล้สถานศึกษา,การห้ามจำหน่ายผ่านตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและอินเตอร์เน็ต รวมถึงการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง อย่างประเทศญี่ปุ่นบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคตินก็จะไม่สามารถขายได้ ส่วนเกาหลีเกาหลี อนุญาตให้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าแต่มีการเก็บภาษีที่สูง โดยสรุปในต่างประเทศก็จะมีกฎหมาย เพื่อเข้ามากำกับดูแลบุหรี่ไฟฟ้า ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ”นายอัครแสนคีรี กล่าว

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ทุกวันนี้ประเทศไทยมีกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ห้ามนำเข้าบารากุและบุหรี่ไฟฟ้า หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงกฎหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบปี 60 หากฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 5000 บาท และ พรบ.ศุลกากรปี 60 ซึ่งมีการห้ามลักลอบนำเข้ามีบทลงโทษชัดเจน

“เราต่างทราบกันดีว่าข้อเท็จจริง แล้วสถานการณ์ในปัจจุบันนั้นกับไม่สอดคล้องกับเจตนาของกฎหมายที่มี ในปัจจุบัน นั่นก็คือยังมีการนำเข้า มีการจำหน่ายมีการสูบกันอย่างเปิดเผยในพื้นที่สาธารณะ ทั้งที่กฎหมายได้ห้ามเอาไว้ จึงทำให้เกิดช่องทางในการเก็บส่วย ไม่ว่าจะเป็น การตั้งด่าน หรือการจ่ายส่วย เพื่อจัดจำหน่ายหน้าร้าน รวมถึงการเรียกเก็บเงินจากผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 60 พบว่า รายได้ภาษีกรมสรรพสามิต ยาสูบมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ตลาดบุหรี่ไฟฟ้า มีมูลค่ามากขึ้น แต่กลับไม่สามารถเรียกเก็บภาษีได้“นายอัครแสนคีรี กล่าว

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ถ้าบุหรี่ไฟฟ้ายังผิดกฎหมายอยู่แบบนี้ รัฐย่อมไม่สามารถใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลไกราคา ไม่สามารถควบคุมการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงอยากเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อหาข้อสรุปว่า ข้อดีและข้อเสีย และผลกระทบของการออกกฏหมายมาควบคุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในการควบคุมคุณภาพ มาตรฐานที่ก่อให้เกิดอันตรายในบุหรี่ไฟฟ้า หรือกฎหมายควบคุมผู้บริโภค การกำหนดอายุของผู้บริโภค ที่ชัดเจนรวมถึง การจัดเก็บภาษีจากบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง เพื่อการลดปัญหาในปัจจุบันและป้องกันปัญหาที่ตามมาในอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 กันยายน 2566