โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: สื่อออนไลน์

“อรรถกร” แจงหลังสภาผ่าน พ.ร.บ. กยศ. ชี้ ส.ส.พปชร. โหวตให้ความเห็น ม.17 ในร่าง พ.ร.บ.กยศ. ชี้เป็นเรื่องน่ายินดี ขณะสมาชิกถกประเด็นดอกเบี้ยอย่างกว้างขวาง ย้ำความจำเป็นต้องมี เพื่อรักษาสภาพคล่อง ให้กองทุนเดินต่อไปได้

, ,

“อรรถกร” แจงหลังสภาผ่าน พ.ร.บ. กยศ. ชี้ ส.ส.พปชร. โหวตให้ความเห็น ม.17 ในร่าง พ.ร.บ.กยศ. ชี้เป็นเรื่องน่ายินดี ขณะสมาชิกถกประเด็นดอกเบี้ยอย่างกว้างขวาง ย้ำความจำเป็นต้องมี เพื่อรักษาสภาพคล่อง ให้กองทุนเดินต่อไปได้

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) และทีมโฆษกพรรคพลังประชารัฐ ชี้แจงภายหลัง สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ว่าวันนี้ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ทำหน้าที่ในการเสนอความเห็นอย่างกว้างขวาง

โดยเฉพาะต่อมาตรา 17 ที่สาระสำคัญ อยู่ที่เรื่องของดอกเบี้ย ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และมีกรรมาธิการหลายท่าน ให้ความเห็นที่แตกต่างกันซึ่งมีทั้งไม่คิดดอกเบี้ยเลย หรือ 0% หรือสงวนอยู่ที่ 1% หรือแม้กระทั่งจากตัวแทนของ กยศ. ก็ให้คงดอกเบี้ยไว้ที่ 2% และกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่ที่เสนอร่างต่อสภา ก็เสนอที่ 0.25 % เช่นเดียวกับวิปรัฐบาลส่วนใหญ่ ซึ่งขอยืนยันว่าเป็นการหารือบนหลักเหตุและผล ไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด ดังนั้นการลงมติของสภาฯ วันนี้ เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ทุกฝ่ายเสนอความต้องการ และจุดยืนของตัวเอง ไม่ได้มองว่า ร่างที่กมธ เสียงข้างมากเสนอในมาตรา 17 ไม่ได้รับความเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่ในสภา จะเป็นปัญหา แต่นี่คือความต้องการของเสียงส่วนใหญ่ ว่าดอกเบี้ยเท่าไหร่ จะเป็นจุดที่ดีที่สุด ซึ่งทุกอย่างเป็นสิ่งที่ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด

นายอรรถกร ระบุว่า ในการประชุมพรรคพลังประชารัฐ
ประเด็นที่เราเป็นห่วง คือการปล่อยกู้กองทุน นั้น ควรมีดอกเบี้ยแม้จะเล็กน้อย เพื่อที่จะให้นักเรียน ลูกหลานคนรุ่นหลัง สามารถได้ใช้สิทธิ์ต่อไปด้วย และไม่อยากให้กองทุนนี้ หมดสภาพคล่องไป จึงเป็นเหตุผลหลัก ที่เรายืนยันที่ควรจะมีดอกเบี้ย ไม่ว่าจะมีมาก หรือน้อย และเชื่อว่าดอกเบี้ยที่ 0.25% ไม่ได้เป็นภาระมากเกินไป สำหรับผู้ที่กู้ยืม

รวมทั้งเราต้องพิจารณาให้รอบด้าน คำนึงถึงคนทุกกลุ่ม รวมทั้งคนที่เคยกู้ยืม ที่มีวินัยในการจ่ายหนี้ และเคยเสียดอกเบี้ยมา เพราะหากไม่คิดดอกเบี้ยหลังจากนี้ เขาจะรู้สึกอย่างไร ดังนั้นจุดยืนที่เราเลือกลงมติในวันนี้ ก็เพราะเป็นกองทุนที่มีประโยชน์สำหรับลูกหลาน จึงไม่อยากให้กองทุนนี้มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องในอนาคต

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 สิงหาคม 2565

พปชร. เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครฯ จ.กาฬสินธุ์ “จำลอง ภูนวนทา” มั่นใจปชช.อีสานตอบรับสร้างผลงานชนะคู่แข่งแน่นนอน

, ,

พปชร. เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครฯ จ.กาฬสินธุ์ “จำลอง ภูนวนทา”
มั่นใจปชช.อีสานตอบรับสร้างผลงานชนะคู่แข่งแน่นนอน

พปชร. เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครฯ จ.กาฬสินธุ์ “จำลอง ภูนวนทา”
มั่นใจปชช.อีสานตอบรับสร้างผลงานชนะคู่แข่งแน่นนอน

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า วันนี้พรรคได้เปิดตัว นายจำลอง ภูนวนทา ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย พบว่ากระแสของพรรคพลังประชารัฐในภาคอีสาน มีกระแสที่ดีขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมเอง มีนโยบายในการผลักดันให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ ให้คนทำงานใกล้บ้าน ไม่ต้องเดินทางมาทำงานในกรุงเทพฯ หรือในจังหวัดเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)

“ถ้ามีโรงงานในภาคอีสานพี่น้องไม่ต้องจากบ้านมาทำงานในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเป็นนโยบายที่ทำให้พี่น้องชาวภาคอีสานตอบรับเป็นอย่างมาก ทำให้เชื่อมั่นว่าการที่พรรคมีนโยบายแบบนี้ ก็จะทำให้ผู้สมัครในพื้นที่ภาคอีสาน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้มีว่าที่ผู้สมัครติดต่อมาหลายคน ก็ต้องบอกว่าหนักใจ ที่บอกเช่นนี้เพราะว่ามีผู้สมัครมาให้เลือกหลายคนไม่รู้จะเลือกใครดี ซึ่งมั่นใจว่าจะปักธง ส.ส.อีสาน มากกว่าของเดิมอย่างน้อย 3 เท่าแน่นอน”

นายจำลอง ภูนวนทา ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า การเลือกตั้งที่จะถึงนี้ขอลงที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เขต 3 ที่เดิม เนื่องจากรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ตอบโจทย์ประชาชนทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน การดูแลคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน การยับยั้งโรคระบาดโควิด-19 และเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ จากการลงพื้นที่และได้สัมผัสกับชาวบ้าน ชาวบ้านสะท้อนว่าไม่อยากให้หนีจากพลังประชารัฐ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงความชัดเจนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การดูแลพัฒนาคุณภาพชีวิต
“ ส่วนตัวมองว่าไปที่ไหนก็ไม่อบอุ่นเท่ากับที่พรรคพลังประชารัฐ เพราะท่านหัวหน้าพรรค พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ และรองหัวหน้าพรรค ให้การดูแลเป็นอย่างดี และให้เกียรติผู้สมัครทุกคน ฉะนั้นผมจึงตัดสินใจแล้วว่า เพราะผมอยู่ในพื้นที่ตลอด และมั่นใจว่าจังหวัดกาฬสินธุ์ไม่มีแลนด์สไลด์แน่นนอน และยังมั่นใจว่าจะชนะด้วย ส่วนตัวผมเองมั่นใจว่าผมไม่กลัวเพื่อไทย ถ้ากลัวก็ไปอยู่กับเขาแล้ว เพราะผมมั่นใจในผลงานของพรรคพลังประชารัฐ “


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 สิงหาคม 2565

“พลเอก ประวิตร” สั่งรับมือ 3 เดือน เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำภาคกลาง – อีสาน ปรับแผนขับเคลื่อนศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าดึงปชช.กลไกร่วมแก้วิกฤตน้ำท่วม

,

“พลเอก ประวิตร” สั่งรับมือ 3 เดือน เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำภาคกลาง – อีสาน
ปรับแผนขับเคลื่อนศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าดึงปชช.กลไกร่วมแก้วิกฤตน้ำท่วม

“พลเอก ประวิตร” ห่วงประชาชนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด รับมือฝน 3 เดือนที่เหลือ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำภาคกลาง – อีสาน อย่างใกล้ชิด ไฟเขียวปรับโครงสร้างและรูปแบบของศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าแก้วิกฤตน้ำท่วม เพิ่มกลไกภาคประชาชนร่วมจัดการน้ำหลาก เตือนภัย แก้ไขปัญหาและการช่วยเหลือได้รวดเร็วทันเหตุการณ์

วันนี้ (26 ส.ค.65) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุม กอนช.ครั้งที่ 1/2565 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เป็นต้น ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล โดยสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ในช่วงฤดูฝนในปีนี้ ที่มีปริมาณฝนมากและมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาอุทกภัยในบางพื้นที่ได้ พร้อมทั้งได้สั่งการให้ดำเนินงานตามมาตรการที่วางแผนไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างทั่วถึง
ที่ประชุม กอนช. เห็นชอบโครงสร้างและรูปแบบการดำเนินการของศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ และเห็นผลเป็นรูปธรรม โดยได้กำหนดกรอบโครงสร้างการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก คือ ส่วนอำนวยการ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประเมินสถานการณ์ และแจ้งเตือนภัย พร้อมทั้งรายงานและเสนอความเห็นต่อผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า กลุ่มที่ 2 ส่วนปฏิบัติการ/เผชิญเหตุ เพื่อประสานงานและบูรณาการข้อมูลในการเตรียมความพร้อมทั้งสรรพกำลัง เครื่องมืออุปกรณ์ แผนปฏิบัติการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และกลุ่มที่ 3 ส่วนสนับสนุน การปฏิบัติงานด้านการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การแจ้งเตือนและระบบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปัญหาอุทกภัย

พลเอก ประวิตร ยังเน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือตามกรอบโครงสร้างและรูปแบบการดำเนินการตั้งศูนย์ส่วนหน้าในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยเฉพาะในระยะนี้ต้องติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพิเศษ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัย ได้กำชับให้มีแผนเผชิญเหตุเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้ทันท่วงที พร้อมทั้งให้ปรับอำนาจหน้าที่ให้หน่วยงานและภาคเอกชน ที่ไม่ได้อยู่ในศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าฯ สามารถเข้ามาบูรณาการการทำงานร่วมกันได้ อย่างไรก็ตาม เกณฑ์การพิจารณาว่าจะตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในแต่ละพื้นที่หรือไม่นั้น ให้พิจารณาจากการคาดการณ์สภาพอากาศ การคาดการณ์ปริมาณน้ำฝน การคาดการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ และการคาดการณ์ปริมาณน้ำท่าในลำน้ำต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินล่วงหน้าว่ามวลน้ำที่เกิดผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 สิงหาคม 2565

“ส.ส.วีระกร” เสนอสภาพัฒน์ฯปรับปรุงแผนพัฒนาศก.ฉบับ13 เน้นพัฒนาตรงจุด สร้างแหล่งน้ำ-ผลิตปุ๋ยเพื่อส่งเสริมเกษตรให้แข็งแรง

, ,

“ส.ส.วีระกร” เสนอสภาพัฒน์ฯปรับปรุงแผนพัฒนาศก.ฉบับ13 เน้นพัฒนาตรงจุด สร้างแหล่งน้ำ-ผลิตปุ๋ยเพื่อส่งเสริมเกษตรให้แข็งแรง

เมื่อวันที่ 25 ส.ค. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายวีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวตอนหนึ่งในการให้เสนอข้อคิดเห็น (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ว่า ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยเฉพาะ เรื่องบริบทการพัฒนาประเทศในมติด้านเศรษฐกิจ แต่การพัฒนาหรือการจัดสรรงบประมาณในแผนพัฒนาเศรษฐกิจในฉบีบก่อนหน้าที่ผ่านมา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ไม่ได้มีการนำงบประมาณมาจัดสรรทรัพยากรของประเทศให้เกิดความเหมาะสม เห็นว่าควรพิจารณาบรรจุการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น โดยเฉพาะระบบชลประทานในระดับต้นๆ เพราะความต้องการใช้น้ำของประชากรยังมีอยู่มาก และหลายพื้นที่ขาดแคลน ทั้งที่มีระบบฐานข้อมูลที่ชี้ชัดอยู่แล้ว

นายวีระกร กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ระบบชลประทานที่มีข้อมูลอยู่แล้ว โดยเฉพาะในภาคกลางทั้งหมดเกิดการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปีละกว่า 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แม้จะมีระบบชลประทาน แต่ไม่มีน้ำต้นทุน ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีโครงการผันน้ำยวม เพื่อเติมน้ำต้นทุนได้ปีละกว่า 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยที่มีบริษัทรัฐบาลจีนเข้ามาลงทุนให้ ด้วยงบลงทุนกว่า 40,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังร่วมถึงปัญหาเรื่องปุ๋ยทางการเกษตร ที่มีความต้องการใช้ เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร แต่ประเทศไทยกลับไม่มีโรงงานปุ๋ย ทั้งที่ประเทศไทยมีทรัพยากรที่พร้อมทุกด้าน ทั้งโปแตสเซียม กว่า 4 แสนล้านตันที่มีผู้ได้รับสัมปทานอยู่ในจังหวัดอุดรธานี และชัยภูมิ แต่ประเทศกลับไม่มีความมั่นคงทางปุ๋ยเคมี จึงทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากราคาปุ๋ยราคาแพงในทุกปี

นายวีระกร กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ยังรวมถึงการลดงบประมาณด้านพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต่างๆ ที่ประเทศไทยมีกว่า 20,000 สายพันธุ์ ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาในระดับโลกได้ เห็นได้จากค่าจีดีพีไตรมาสที่ 1 โตเพียง 2.3 ไตมาสที่ 2 โต 2.5 ในขณะที่เวียดนาม ไตรมาสที่ 1 โต 5.1 และไตรมาส 2 7.7 % มาเลเซีย ไตรมาสที่ 1 8.9 นั่นเท่ากับว่าเราด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านทั้งที่เรามีทรัพยากรมากกว่าประเทศเหล่านี้ ดังนั้นจึงขอให้สภาพัฒน์ฯ มองปัญหาที่แท้จริงของประเทศ ไม่ใช่มองบนแค่พื้นฐานทั่วไป แต่ไม่ได้มองว่าประเทศไทยจะใช้ทรัพยากรอย่างไร

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565

ส.ส.พปชร.กทม. ขอบคุณ กทม. จัดสรรงบปรับปรุงท่อระบายน้ำ ซ.กรุงเทพกรีฑา-ถ.ลาดพร้าว หนุนจัดงบต่อเนื่องแก้ไขปัญหาย่านอื่น

, , ,

ส.ส.พปชร.กทม. ขอบคุณ กทม. จัดสรรงบปรับปรุงท่อระบายน้ำ ซ.กรุงเทพกรีฑา-ถ.ลาดพร้าว หนุนจัดงบต่อเนื่องแก้ไขปัญหาย่านอื่น

พรรคพลังประชารัฐ โดย “ส.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ พปชร.กทม. เขต 13” หารือประธานสภาผู้แทนราษฎร์ ไปยังกรุงเทพมหานคร ที่จัดสรรงบประมาณปรับปรุงท่อระบายน้ำในซอยกรุงเทพกรีฑา 8 แยก 3 และถนนลาดพร้าว 101 แยก 42 (ชุมชนเทพทวี ซอย 8) แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ซึ่งก่อนหน้าเคยหยิบยกขึ้นหารือผ่านสภาผู้แทนราษฎรมา 2 ปี อย่างไรก็ตามทาง กทม. ได้จัดสรรงบประมาณให้แล้วในปีนี้ และดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหวังว่าในปีงบประมาณต่อไปจะได้รับการจัดสรรงบประมาณให้กับถนนเส้นอื่นๆ ทั้งนี้ ได้ขอเสนอให้ กทม. มีการตรวจสอบการจัดสรรงบประมาณปี 2566 ที่กระจายไปยังสำนักงานเขตต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อทำโครงการอบรมสัมนาให้กับพี่น้องประชาชน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส หรือเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มคนใดคนหนึ่ง เพราะเงินที่จะนำไปใช้เป็นเงินภาษีของประชาชน

นอกจากนี้ ยังหารือไปยังผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ เพื่อขอให้ปรับปรุงรั้วโครงการบ้านเอื้ออาทรหัวหมาก ที่ชำรุดทรุดโทรม เกรงว่าจะเกิดอันตรายกับผู้อยู่อาศัย รวมถึงการสร้างสนามเด็กเล่น ลานออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุ และท่อน้ำดี โดยหากผู้ว่าการเคหะฯ รับเรื่องแล้ว ก็ยินดีที่จะนำลงพื้นที่ไปตรวจสอบก่อนดำเนินการแก้ไข

พรรคพลังประชารัฐ เดินหน้าในการเข้าถึงดูแลประชาชนเป็นไปตามนโยบาย ที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้กินดีอยู่ดี พร้อมการเข้าไปรับฟังปัญหา ความเดือดร้อนนำมาสู่การแก้ไขต่อไป โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565

ส.ส.พปชร. เยียวยาปชช.ที่ได้รับผลกระทบเพลิงไหม้ รง.รีไซเคิลจ.ราชบุรี บูรณาการหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพน้ำสาธารณะ

, ,

ส.ส.พปชร. เยียวยาปชช.ที่ได้รับผลกระทบเพลิงไหม้ รง.รีไซเคิลจ.ราชบุรี บูรณาการหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพน้ำสาธารณะ

“ส.ส.บุญยิ่ง นิติกาญจนา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร. ) จ.ราชบุรี” ได้หารือประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการโรงงานรีไซเคิล ในพื้นที่ตำบลน้ำพุ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เร่งเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงาน พร้อมเข้าตรวจสอบคุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะที่อยู่ในพื้นที่ เนื่องจากโรงงานที่เกิดเพลิงไหม้มีโรงเก็บถังน้ำมัน และถังสารเคมี ที่มีการฉีดน้ำเพื่อสกัดเพลิงเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดควันและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่และน้ำที่ใช้ไหลลงแหล่งน้ำสาธารณะ ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความกังวลในเรื่องของคุณภาพน้ำและไม่ใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคหรือทำการเกษตร

พรรคพลังประชารัฐ เดินหน้าในการเข้าถึงดูแลประชาชนเป็นไปตามนโยบาย ที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้กินดีอยู่ดี พร้อมการเข้าไปรับฟังปัญหา ความเดือดร้อนนำมาสู่การแก้ไขต่อไป โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565

ส.ส.พปชร.นครศรีธรรมราช เสนอแขวงการทาง ปรับระบบจราจรสามแยกลาดนิคมเป็นสี่แยกเชื่อมทางหลวง ย่นระยะทางขนส่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์เพิ่มความสะดวกให้ประชาชน

, ,

ส.ส.พปชร.นครศรีธรรมราช เสนอแขวงการทาง ปรับระบบจราจรสามแยกลาดนิคมเป็นสี่แยกเชื่อมทางหลวง ย่นระยะทางขนส่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์เพิ่มความสะดวกให้ประชาชน

“ส.ส.รงค์” นครศรีธรรมราช เขต 1 พลังประชารัฐ ขอความร่วมมือหน่วยงานเกี่ยวข้อง แก้ไขเส้นทางสามแยกลาดนิคม เทศบาลนครศรีธรรมราช เป็นสี่แยก เชื่อมต่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 เพื่อย่นระยะทางจากตัวเมืองไปอีกหลายตำบล เพื่อรองรับการเดินทางด้านโลจิสติกส์

พรรคพลังประชารัฐ โดย “ส.ส.รงค์ บุญสวยขวัญ พปชร. จ.นครศรีธรรมราช” หารือประธานสภาผู้แทนราษฎร์ ไปยังแขวงการทางนครศรีธรรมราช เทศบาลนครศรีธรรมราช และผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีการบูรณาความร่วมมือเปลี่ยนถนนสามแยกลาดนิคม เทศบาลนครศรีธรรมราช ให้เป็นสี่แยกลาดนิคม ที่ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นอุปสรรคในการเดินทางเข้าออกเมือง เนื่องจากลักษณะของถนนที่เป็นแบบสามแยก คล้ายกับถนนถูกบล๊อกการเดินทาง จึงทำให้การเดินทางของประชาชนในพื้นที่ไม่สะดวก

ทั้งนี้ หากเปลี่ยนมาสามแยกมาเป็นสี่แยก เพื่อเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 สายแยกโคกเคียน – นครศรีธรรมราช จะช่วยลดอุบัติเหตุและย่นระยะทางการเดินทางของชาวบ้านในตัวเมืองและในพื้นที่ตำบลนาวง, ท่าซัก, ปากพูน และท่าแพ โดยไม่ต้องมีถนนบล๊อกกันเหมือนที่ผ่านมา และยังรองรับระบบขนส่งโลจิสติกส์ในอนาคต อย่างไรก็ดี มองว่าโครงการดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการร่วมมือกันทุกภาคส่วน ซึ่งหากทำได้ก็จะเป็นตัวอย่างของการบูรณาการในเชิงพื้นที่ท้องถิ่น เพื่อให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

พรรคพลังประชารัฐ เดินหน้าในการเข้าถึงดูแลประชาชนเป็นไปตามนโยบาย ที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้กินดีอยู่ดี พร้อมการเข้าไปรับฟังปัญหา ความเดือดร้อนนำมาสู่การแก้ไขต่อไป โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565

ส.ส.พปชร.ชลบุรี เสนอหน่วยงานเพิ่มความปลอดภัยตรวจจุดเสี่ยง-ล่อแหลม สร้างความปลอดภัย ปชช.

, ,

ส.ส.พปชร.ชลบุรี เสนอหน่วยงานเพิ่มความปลอดภัยตรวจจุดเสี่ยง-ล่อแหลม สร้างความปลอดภัย ปชช.

“ส.ส.จองชัย วงศ์ทรายทอง พปชร.จ.ชลบุรี” หารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร์ กรณีความไม่ปลอดภัยของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดใกล้เคียง จึงขอให้สถานีตำรวจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดอื่นๆ รวมถึงแขวงทางหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เน้นย้ำดูแลในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่จุดล่อแหลม หรือสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเหตุร้าย เช่น บริเวณสะพานลอยคนข้าม ตามตรอกซอกซอย และถนนหลักต่างๆ พบว่ามีไฟฟ้าดับและแสงสว่างไม่เพียงพอหลายจุด รวมถึงกล้องวงจรปิดเสีย คนเร่รอนอาศัยหลับนอน กลุ่มวัยร่นมั่วสุม แข่งขันรถ เปิดเพลงส่งเสียงดังในพื้นที่สาธารณะ สร้างความรำคาญให้กับผู้คนบริเวณนั้นรวมถึงผู้ที่สัญจรไปมา โดยเฉพาะทำให้เด็กนักเรียนและสุภาพสตรีเกิดความหวาดกลัวรู้สึกไม่ปลอดภัย จึงอยากให้หน่วยงานที่ดังกล่าวออกตรวจตราในจุดเสี่ยงต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการป้องปรามเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น และสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชน

นอกจากนี้ ยังได้หารือเรื่องการแก้ไขเรื่องราคาน้ำมันแพง จึงของให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เร่งรัดและพิจารณาเรื่องการที่ ปตท. สนับสนุนเรื่องเงินงบประมาณ 3,000 ล้านบาท เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ว่าจะมีช่องทางรับเงินสนับสนุนโดยมีระเบียบใด หรือต้องทำอย่างไร เพื่อประชาชนจะได้ใช้น้ำมันราคาที่ถูกลง ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการที่รัฐของความร่วมมือกลุ่มโรงงานกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซธรรมชาตินำส่งกำไรส่วนหนึ่งจากค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลและเบนซินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงวิกฤตราคาน้ำมันแพง เพื่อนำมาใช้ในการบริหารราคาน้ำมันดีเซลในประเทศ จึงขอให้กรมบัญชีกลางเร่งพิจารณาเรื่องการรับเงินให้ถูกระเบียบโดยด่วน

พรรคพลังประชารัฐ เดินหน้าในการเข้าถึงดูแลประชาชนเป็นไปตามนโยบาย ที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้กินดีอยู่ดี พร้อมการเข้าไปรับฟังปัญหา ความเดือดร้อนนำมาสู่การแก้ไขต่อไป โดยมี
เป้าหมายชัดเจนในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” เดินหน้าแผนบริหารภัยพิบัติฉบับใหม่ เร่งบูรณาการณ์ตั้งระบบแจ้งเตือนภัยส่งตรงถึงประชาชน

, ,

“พล.อ.ประวิตร” เดินหน้าแผนบริหารภัยพิบัติฉบับใหม่ เร่งบูรณาการณ์ตั้งระบบแจ้งเตือนภัยส่งตรงถึงประชาชน

วันที่ 25 ส.ค.65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุม คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กภช.) ครั้งที่1/2565 ที่ประชุมได้เห็นชอบ (ร่าง)แผนยุทธศาสตร์การบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570 ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านการบริหารการเตือนภัย ด้วยดิจิทัลแบบบูรณาการที่มีมาตรฐานสากล” ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก และสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี รวมถึงการเห็นชอบการดำเนินการแจ้งเตือนภัยโดยใช้ระบบ Cell Broadcast ที่มีการแจ้งเตือนภัยไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่สามารถระบุพิกัดของพื้นที่แจ้งเตือนได้และยังกระจายข้อมูลไปยังอุปกรณ์สื่อสารจำนวนมากในการส่งเพียงครั้งเดียว ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเตือนภัยให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ กิจการกระจายเสียง, กิจการโทรทัศน์, กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, กรมอุตุนิยมวิทยา, กรมชลประทาน, สทนช. และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อีกด้วย

ทั้งนี้พล.อ.ประวิตร จึงได้กำชับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย รวมทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน อย่างมีเอกภาพ เพื่อยกระดับการแจ้งเตือนสู่ระดับที่สูงขึ้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและปฏิบัติงานได้จริง เพื่อลดความเสี่ยง ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างมหาศาล จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว อาทิ น้ำท่วมฉับพลัน ไฟป่า แผ่นดินไหวหรือ
สึนามิ เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบถึงความคืบหน้าการถ่ายโอนศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จาก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)ไปสังกัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ 15 ก.ย.59 เป็นต้นมา ซึ่งจะทำหน้าที่ เป็นศูนย์เตือนภัยโดยจะปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในภาวะปกติ ภาวะที่มีความเสี่ยง และภาวะที่มีการเกิดภัยพิบัติ โดยการเฝ้าระวังที่มีช่องทางการแจ้งเตือนต่างๆ ทั้งนี้ในการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า ทั้งในด้านเพื่อการรับมือและอพยพปรเชาชน จะส่งผ่านไปยังอุปกรณ์การเตือนภัยประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หอเตือนภัยจำนวน 338 หอ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม จำนวน 163 แห่งารที่มีกติดตั้ง ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเขตทั้ง 18 เขต 70 จังหวัดและสถานีวิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัด จำนวน 285 แห่ง รับข้อมูลผ่านสัญญาณดาวเทียมและกระจายการแจ้งเตือนด้วยระบบคลื่นวิทยุไปยังหอเตือนภัยขนาดเล็กจำนวน 674 แห่ง และส่งถึงหอกระจายข่าวภายในชุมชน และหมู่บ้าน ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” โชว์ผลปิดเว็ปภัยคุกคามปชช.138 เว็ป เพิ่มระดับความปลอดภัยปิดช่องหลอกลวงในโลกไซเบอร์

, ,

“พล.อ.ประวิตร” โชว์ผลปิดเว็ปภัยคุกคามปชช.138 เว็ป เพิ่มระดับความปลอดภัยปิดช่องหลอกลวงในโลกไซเบอร์

24 สิงหาคม 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยพล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษกรอง นายกรัฐมนตรี ได้รายงาน เหตุการณ์ภัยคุกคามที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระหว่างวันที่ 1 เม.ย.-31ก.ค.65 พบว่ามี จำนวน 138 เหตุการณ์ ส่วนใหญ่ เป็นเว็บการพนัน และการหลอกลวงประชาชน ซึ่งได้ดำเนินการปิดเว็บดังกล่าวแล้ว พร้อมมีการเฝ้าระวัง อย่างต่อเนื่อง และรับทราบรายงานผลการลงนามบันทึกความเข้าใจของ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กับองค์กรภายในประเทศและต่างประเทศแล้ว ได้แก่ กองบัญชาการกองทัพไทย ,คณะอธิการบดีแห่งประเทศไทย ,สาธารณรัฐประชาชนจีน ,ประเทศอิสราเอล และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ขอชื่นชม กระทรวง ดีอีเอส ,กมช. และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้ขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการที่มีความก้าวหน้าไปมาก อย่างน่าพอใจ พร้อมกำชับให้ เลขาธิการ กมช.และผู้บริหารที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ เร่งผลักดัน สานต่อบันทึกความร่วมมือไปสู่กิจกรรม ให้เป็นรูปธรรม มุ่งยกระดับขีดความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ของหน่วยงานต่างๆและของประเทศ ให้สามารถรองรับภัยคุกคามไซเบอร์ ในอนาคต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ อย่างแน่นแฟ้นเพื่อปิดช่องว่างการคุกคามฯ และให้มีความปลอดภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นการบริการให้กับประชาชน และประเทศชาติ ต่อไป

ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเห็นชอบ แต่งตั้ง พล.อ.ต.อมร ชมเชย รองเลขาฯขึ้นเป็นเลขาธิการ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ แทนคนเก่า ซึ่งครบวาระ(4ปี) ตั้งแต่ 1 ต.ค.65 เป็นต้นไป พร้อม แต่งตั้งผู้บริหาร ตามที่กฎหมายกำหนด และเห็นชอบ(ร่าง)บันทึกความเข้าใจด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระหว่าง สกมช. กับศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติประเทศอินเดีย และร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมทั้ง ร่วมกับศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN – Japan Cybersecurity Capacity Building Centre) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างกัน ทั้งด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ ,การผลิตกำลังคนเฉพาะด้าน ,การสนับสนุนการศึกษา วิจัย และร่วมกันเฝ้าระวังความเสี่ยง จากการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทั้งนี้ เพื่อยกระดับการเสริมสร้างศักยภาพ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการบริการดิจิทัลที่เชื่อถือได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 สิงหาคม 2565

“พัชรินทร์” ขอบคุณสภาฯ คลอดกฎหมายป้องกันทำผิดซ้ำฯ ย้ำ มาตรการ “ฉีดไข่ฝ่อ” เป็นแค่ 1 ใน 13 มาตรการ ป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ เท่านั้น

, ,

“พัชรินทร์” ขอบคุณสภาฯ คลอดกฎหมายป้องกันทำผิดซ้ำฯ ย้ำ มาตรการ “ฉีดไข่ฝ่อ” เป็นแค่ 1 ใน 13 มาตรการ ป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ เท่านั้น

ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม. เขต2 และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะผู้เสนอร่างกฏหมายป้องกันกระทำผิดซ้ำฯ ควบคู่กับกระทรวงยุติธรรมกล่าวขอบคุณสภาฯ ที่ร่วมกันผ่านกฎหมายฉบับนี้ ด้วยมติเป็นเอกฉันท์ เห็นด้วย 292 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง และไม่ลงคะแนนเสียง 3 เสียง ซึ่งจะได้บังคับใช้ ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน อย่างแท้จริง โดยเฉพาะในมิติของความปลอดภัย ที่กฎหมายนี้ จะเป็นกลไกสร้างความเชื่อมั่นในชีวิต ของประชาชนทุกกลุ่มในสังคม รวมทั้งพัฒนาระบบการบำบัดฟื้นฟู ของกลุ่มนักโทษที่มีความรุนแรง

โดยก่อนหน้านี้ ดร.พัชรินทร์ ได้อภิปรายสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ว่า กฎหมายดังกล่าว มีขึ้นเพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์ ที่มีความรุนแรงใน 3 ความผิด

  1. ความผิดเกี่ยวกับเพศ เช่น การข่มขืนกระทำชำเราและอนาจาร
  2. ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เช่น ฆ่าคนตาย ทำร้ายร่างกายจนอันตรายสาหัส
  3. ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เช่น การเรียกค่าไถ่ โดยที่ผ่านมาการกระทำความผิดซ้ำประเทศไทย ยังไม่มีกลไกที่จะป้องกัน และแก้ไขปัญหาเหล่านี้ จึงเป็นที่มาต่อการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้

สำหรับการแก้ไขของวุฒิสภาทั้ง 12 มาตรา เมื่อพิจารณารายละเอียดแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงหลักๆ คือ ในมาตราที่ 21 มาตรการทางการแพทย์ ในประเด็นฉีดไข่ฝ่อ ที่สังคมและสื่อมวลชนให้ความสนใจ ซึ่งยังมีอีกหลายมาตรการนอกเหนือจากมาตรการทางการแพทย์ เช่น การเฝ้าระวังไม่เกิน 10 ปี / การติดกำไร EM / มาตรการคุมขังหลังพ้นโทษไม่เกิน 3 ปี หรือ การคุมขังไม่เกิน 7 วัน ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะมีคณะกรรมการพิจารณาว่าจะต้องบำบัดฟื้นฟูอย่างไร รวมถึงหลังการปล่อยตัวว่าจะเข้ามาตรการใด พร้อมยืนยันว่ามาตรการทางการแพทย์ เป็นเพียง 1 ใน 13 มาตรการที่จะนำมาป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ซึ่งในกฎหมายมาตราที่ 21 เป็นเรื่องการใช้มาตรการทางการแพทย์ให้ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างน้อย 2 คน โดยวุฒิสภาได้เพิ่มข้อความว่าจะต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาจิตเวชและสาขาอายุรศาสตร์ อย่างน้อยสาขาละ 1 คน หากมีความเห็นว่าจำเป็นต้องใช้ยา หรือโดยวิธีการรูปแบบอื่นให้กระทำได้เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอม

“ตนรู้สึกปลื้มปริ่มใจ ที่สามารถผลักดันกฎหมายฉบับนี้ออกมาได้ เพื่อเป็นประโยชน์ ต่อพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง แม้ตนจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยแรก และจะตั้งใจ ใช้ความรู้ ความสามารถ ที่มี ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติอย่างเต็มที่ เต็มกำลัง” ดร.พัชรินทร์ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 สิงหาคม 2565

“รมว.ตรีนุช” หนุนพัฒนาอาชีพด้านสมุนไพรจ.สระแก้ว จัดสรรงบ 350 ลบ.เปิดร.ร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์

, , ,

“รมว.ตรีนุช”หนุนพัฒนาอาชีพด้านสมุนไพรจ.สระแก้ว จัดสรรงบ 350 ลบ.เปิดร.ร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์

‘รมว.ตรีนุช’ เปิดโครงการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ให้ปชช. ดันสระแก้วเป็นเมืองสมุนไพร พร้อมทุ่ม 350 ล้าน สร้าง ร.ร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ฯ จ.สระแก้ว เพิ่มคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสหนุน ”สระแก้วโมเดล” พัฒนาโรงเรียนคุณภาพ 58 แห่ง

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม จังหวัดสระแก้ว น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาการศึกษาด้านอาชีพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการขับเคลื่อนการดำเนินงานระหว่างสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ละภาคีเครือข่าย ว่า เป็นหนึ่งในโครงการที่ กศน. จัดเพื่อพัฒนาการศึกษาด้านอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ มีหลักการ คือ การตลาดนำการผลิต โดยจะลงพื้นที่รับฟังความต้องการและดูความพร้อมของชุมชน และสถานประกอบการ อย่างในจังหวัดสระแก้ว มีจุดแข็ง คือ สามารถเพาะปลูกขมิ้นชันที่มีคุณภาพ เพราะขมิ้นชันของจังหวัดสระแก้ว มีสารที่มีคุณค่าสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ ทำให้เห็นว่าจังหวัดสระแก้วมีจุดแข็งเรื่องของพื้นที่ สภาพอากาศเหมาะกับการปลูกสมุนไพร สามารถผลักดันให้สระแก้วเป็นเมืองสมุนไพรได้ ถือเป็นทางเลือกหนึ่งให้ประชาชนมาสร้างรายได้ พัฒนาทักษะการปลูกพืชสมุนไพร เพิ่มมากขึ้น

น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อว่า โครงการนี้ จะเป็นการสร้างทางเลือกให้ประชาชน มีรายได้ และพัฒนาทักษะอาชีพ โดยจะจับคู่สถานประกอบการ ทำให้ผลผลิตมีตลาดรองรับทันที ซึ่งการพัฒนาทักษะ จะเริ่มตั้งแต่พัฒนาต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และภาคเอกชน มาบูรณาการพัฒนาทักษะให้ประชาชนร่วมกัน โครงการนี้จะเริ่มนำร่องที่จังหวัดสระแก้วก่อน อย่างไรก็ตาม ตนพบว่าในหลายพื้นที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาได้ จึงมอบหมายให้นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. และนายวัลลภ สงวนนาม เลขาธิการ กศน.ไปขยายผลไปจังหวัดอื่นๆ ต่อไป

“เมื่อพูดถึงเรื่องการศึกษา ในฐานะลูกหลานชาวสระแก้วและมีโอกาสได้เข้าไปทำงานในศธ. ที่ดูแลการศึกษาในทุกมิติ ทำให้เห็นถึงข้อจำกัดในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณที่ถึงแม้ศธ.จะได้งบประมาณเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ แต่งบฯ ที่ได้มาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของบุคลากร ทำให้งบฯพัฒนาน้อย เมื่อมีโอกาสดูเรื่องการศึกษาก็พยายามมองว่าจะสามารถพัฒนาด้านการศึกษาอะไรให้กับประเทศบนข้อจำกัดที่มีอยู่ โดย ศธ.พยายามจะมองว่าเราสามารถพัฒนาอะไรให้กับ ประเทศ และจังหวัดสระแก้วให้ได้ทุกมิติบ้าง ทั้งมิติด้านคุณภาพ มิติการลดความเหลื่อมล้ำ และมิติการสร้างโอกาส จึงเกิดเป็น”สระแก้วโมเดล” โดยการสร้างคุณภาพนั้น จะพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ 58 โรง ในจังหวัดสระแก้ว เพื่อให้โรงเรียนเหล่านี้เป็นโรงเรียนคุณภาพอย่างแท้จริง ไม่ใช่คุณภาพแค่ชื่อ มีการจัดสื่อดิจิทัล เข้าไปในโรงเรียน ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้เด็ก ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลและสื่อต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียม แม้จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกลก็จะไม่ทอดทิ้ง แต่จะสร้างเสริมให้เข้าถึงคุณภาพให้ได้ รวมถึงได้มีการจัดครู ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ เข้าไปเสริมให้ เพราะถือว่าภาษาก็เป็นเรื่องสำคัญ” น.ส.ตรีนุช กล่าว

รัฐมนตรีว่าการ ศธ. กล่าวต่อว่า จังหวัดสระแก้ว เป็นจังหวัดที่อยู่ติดชายแดน ตนได้ปรึกษากับผู้ว่าราชการจังหวัด ถึงการสร้างโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัด ซึ่งขณะนี้ สพฐ. เตรียมงบประมาณไว้แล้ว ขณะนี้ สพฐ.อยู่ระหว่างเร่งหาสถานที่ เพื่อจัดสร้างโรงเรียนด้วย พร้อมกับทำการสำรวจเด็กว่าจะมาเรียนกี่คน เมื่อสำรวจเสร็จแล้ว จะยื่นให้ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) อนุมัติสร้างโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ต่อไป การสร้างโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กฐานะยากลำบากกลับเข้าสู่การศึกษาเพิ่มขึ้น

“ส่วนการสร้างโอกาสทางการศึกษา ดิฉัน เป็น ส.ส.มาหลายสมัย ประชาชนสะท้อนมาว่าอยากมีโรงเรียนดีๆ ดังๆ ในจังหวัดสระแก้ว ซึ่งหลายคนนึกถึงโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนนี้เน้นสร้างเด็กมีความเก่งด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ขณะนี้ ศธ.อยู่ระหว่างผลักดัน โดย สพฐ.เตรียมงบประมาณ และที่ดินสำหรับโรงเรียนนี้ไว้แล้ว คาดว่าจะเริ่มดำเนินการสร้างโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดสระแก้ว ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ โดยใช้งบประมาณ 350 ล้านบาท ต่อไปลูกหลานในจังหวัดสระแก้ว มีโรงเรียนคุณภาพใกล้บ้านผู้ปกครองก็ไม่ต้องส่งลูกไปเรียนในโรงเรียนไกลๆ อีกต่อไป” น.ส.ตรีนุช กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 22 สิงหาคม 2565