โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: พรรคพลังประชารัฐ

“รองวิรัช” ปรับแผนปราศรัยใหม่ เปิดเวทีใหญ่ทั่วประเทศทั้ง 4 ภาค มีนาคมนี้

,

“รองวิรัช” ปรับแผนปราศรัยใหม่ เปิดเวทีใหญ่ทั่วประเทศทั้ง 4 ภาค มีนาคมนี้

10 มีนาคม 2566 นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ พรรคพลังประชารัฐได้หารือถึงช่วงเวลาในการเปิดเวทีปราศรัยทั้ง 4 ภาคให้มีความเหมาะสม โดยจะมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ร่วมขึ้นปราศรัย และเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ในทุกเวทีที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้

นายวิรัช กล่าวต่อว่า เริ่มจากเวทีที่ จ.เชียงราย ในวันที่ 12 มีนาคม 2566 นี้ และต่อด้วยการเปิดเวทีปราศรัยใหญ่ที่ จ.นราธิวาส ในวันที่ 17 มีนาคม 2566 และในวันที่18 มีนาคม 2566 ที่ลานคนเมือง กรุงเทพมหานคร และขึ้นเหนือ เปิดเวทีปราศรัยใหญ่ ที่จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 19 มีนาคม2566

“ในวันที่ 25 มีนาคม 2566 เป็นการเปิดเวทีใหญ่ ที่จ.ขอนแก่น หรือพิษณุโลก ซึ่งจะมีการกำหนดพื้นที่ออกมาอีกครั้ง ส่วนในวันที่ 26 มีนาคม 2566 ที่จ.นครราชสีมา เป็นการเปิดเวทีปิดท้ายในช่วงเดือน มีนาคม ซึ่งพรรคจะมีแผนเปิดเวทีในแต่ละภาคอีกครั้ง เพื่อนำนโยบายไปนำเสนอไปยังพี่น้องประชาชนแต่ละพื้นที่ รวมถึงนโยบายที่ตรงจุดให้สอดรับแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ว่าที่ผู้สมัครสามารถนำไปนำเสนอประชาชนในแต่ละเขตของตนเองต่อไป”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 มีนาคม 2566

“ดร.ศันสนะ” ติดตามการก่อสร้างทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาย่านชุมชนกุฎีจีน หลังล่าช้ากว่ากำหนด ส่งผลกระทบการท่องเที่ยว-รายได้ของประชาชนและชุมชน

,

“ดร.ศันสนะ” ติดตามการก่อสร้างทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาย่านชุมชนกุฎีจีน หลังล่าช้ากว่ากำหนด ส่งผลกระทบการท่องเที่ยว-รายได้ของประชาชนและชุมชน

ดร.ศันสนะ สุริยะโยธิน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และว่าที่ผู้สมัคร สส เขตธนบุรี-คลองสาน กล่าวว่า จากการที่ตนได้ลงพื้นที่ในเขตธนบุรี-คลองสาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีน ได้รับแจ้งจากประชาชนและผู้ประกอบการในชุมชน ว่าบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้มีมีการก่อสร้างทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งกำหนดการเดิมจะสร้างเสร็จปลายปี 2565 แต่ปัจจุบันการก่อสร้างก็ยังไม่แล้วเสร็จ ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาเดินและปั่นจักรยานท่องเที่ยวเยี่ยมชมย่านชุมชนกุฎีจีน และเป็นอุปสรรคในการสร้างรายได้สู่ชุมชน

ทั้งนี้ ตนจึงได้มีการเข้าพบ ว่าที่ร้อยตรี เดชาธร แสงอำนาจ ผู้อำนวยการเขตธนบุรี เพื่อสอบถามถึงความคืบหน้าของการก่อสร้างทางเดินดังกล่าว และได้รับแจ้งว่าที่ผ่านมาติดปัญหาการระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้รับเหมาไม่สามารถเข้ามาดำเนินการได้ตามปกติ แต่ได้มีการเร่งกำชับให้รีบดำเนินการก่อสร้าง และคาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนพฤษภาคม 2566 นี้

“ทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาดังกล่าวจะทำให้เกิดความสะดวกในการท่องเที่ยวโดยทางเท้าและจักรยานในย่านชุมชนกุฎีจีน ทำให้เกิดการสร้างอาชีพให้คนในชุมชน เช่น การผลิตสินค้าหรือการบริการ สร้างรายได้เข้าครอบครัวและชุมชนได้” ดร.ศันสนะ กล่าว

นอกจากนี้ ดร.ศันสนะ ยังได้มีการปรึกษากับผู้อำนวยการเขตธนบุรี ถึงเรื่องของความปลอดภัยและการจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ภายหลังการเปิดใช้ทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อาจจะเป็นแหล่งมั่วสุมและอาจจะมีรถเข็นขายของไม่มีระเบียบว่าทางสำนักงานเขตมีแนวทางป้องกันอย่างไร ซึ่งทางผู้อำนวยการเขตได้แจ้งว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการกำหนดแนวทางอย่างชัดเจน แต่คาดว่าจะมีการทำประตูเปิด-ปิด หรืออาจจะมีการจัดให้มีอาสาสมัครรักษาความปลอดภัย รวมถึงอุปกรณ์กีดขวาง ตรงบริเวณทางเข้า-ออก ทั้งสองด้าน และจะห้ามให้มีการนำรถเข็นขายของเข้ามาบนทางเดิน โดยหลังจากนี้จะมีการหารือเพื่อหาวิธีป้องกันที่เหมาะสมต่อไปเมื่อทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยามีการเปิดใช้จริง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 10 มีนาคม 2566

“สนธิรัตน์” ประกาศนโยบายพลิกโฉมเศรษฐกิจประเทศไทย// เร่งยกระดับเครื่องยนต์เศรษฐกิจเดิม เพิ่มเติมเครื่องยนต์เศรษฐกิจใหม่// ย้ำ ขอก้าวข้ามความขัดแย้ง จัดตั้งรัฐบาล นำทุกนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้สำเร็จ

,

“สนธิรัตน์” ประกาศนโยบายพลิกโฉมเศรษฐกิจประเทศไทย// เร่งยกระดับเครื่องยนต์เศรษฐกิจเดิม เพิ่มเติมเครื่องยนต์เศรษฐกิจใหม่// ย้ำ ขอก้าวข้ามความขัดแย้ง จัดตั้งรัฐบาล นำทุกนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้สำเร็จ

วันที่ 9 มี.ค. 2566 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานยุทธศาสตร์การเมือง พรรคพลังประชารัฐ ร่วมแสดงวิสัยทัศน์สู่สนามเลือกตั้งปี 2566 ในงาน IBusiness Forum 2023 “The Next Thailand’s Future : จุดเปลี่ยนประเทศไทยสู่ความยั่งยืน”

นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า หากพรรคพลังประชารัฐได้เข้าไปบริหารเศรษฐกิจของประเทศหลังการเลือกตั้ง ต้องนำ 4 เครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยกลับมาเน้นย้ำ ได้แก่ การท่องเที่ยวการส่งออก การลงทุน และการใช้จ่ายภาครัฐ โดยการท่องเที่ยว จะเป็นเครื่องจักรสำคัญในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งนโยบายของพรรคพลังประชารัฐคือจะใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วเติมเข้าไป ไม่ใช่เฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยว แต่ยังรวมถึงเรื่องคุณภาพของการท่องเที่ยว ทั้งนักท่องเที่ยวที่มีรายได้สูงหรือการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนกับการท่องเที่ยวเชิงมหภาคด้วย

นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า สำหรับการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ พรรคพลังประชารัฐเคยผลักดันมาแล้วตั้งแต่การก่อตั้ง EEC และการขับเคลื่อนโครงสร้างการส่งออกที่ไปอยู่ในเครื่องยนต์ใหม่ ๆ เพิ่มความสามารถของเศรษฐกิจใหม่ๆ ภายใต้การขับเคลื่อน 3 เรื่องเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ Innovation Economy, Digital Economy และ BCG ที่เรามีอยู่แล้ว โดย BCG ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะสอดรับกับจุดแข็งของประเทศไทยที่เป็นประเทศเกษตร ซึ่งการส่งออกต้องเปลี่ยนผ่านโครงสร้างของการส่งออกในประเทศไทยทั้งภาคเกษตร และอุตสาหกรรม รวมทั้งเตรียมพร้อมต่อการแข่งขันให้ได้

นอกจากนี้ นายสนธิรัตน์ ยังได้กล่าวถึง 5 นโยบายเร่งด่วนที่สำคัญที่พรรคพลังประชารัฐจะทำประกอบด้วย 1. แก้หนี้ เติมทุน เพิ่มทักษะ สร้างโอกาส 2. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มวงเงินบัตรประชารัฐ ทำให้เกิดประโยชน์ให้ประชาชนมากขึ้น ยืนยันเดินหน้าต่อยอด เป็นนโยบายหลักของพรรค 3. สิทธิที่ดินทำกิน 4. การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และป้องกันน้ำท่วม และ 5. การดูแลคนไทยทุกช่วงวัย

“พรรคพลังประชารัฐ ได้ประกาศเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาให้เอสเอ็มอีคือเรื่องกองทุนประชารัฐ SMEs Wallet และศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจ SMEs ครบวงจร รวมถึงการเปลี่ยนบทบาทของรัฐในการส่งเสริมเอสเอ็มอี โดยเฉพาะสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.) ที่ต้องปรับบทบาทครั้งใหญ่ หากกลไกของรัฐใน สสว. และกระทรวงต่าง ๆ ไม่ปรับบทบาทจะไม่สามารถขับเคลื่อนได้ สสว. ควรเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เชิงนโยบบาย ทำหน้าที่ดูแลงบประมาณ และประเมินผล” นายสนธิรัตน์ กล่าว

ในเรื่องพลังงาน นายสนธิรัตน์ ระบุว่า มี 3 เรื่องใหญ่ๆ ที่ต้องเปลี่ยนแปลง 1. เรื่องน้ำมัน พรรคพลังประชารัฐมีนโยบายชัดเจนคือปฏิรูปโครงสร้างน้ำมัน ทำให้ได้ราคาที่เป็นธรรม รวมถึงลดการใช้น้ำมัน โดยจะใช้นโยบายการเปลี่ยนผ่านสู่อีวีเต็มรูปแบบ เปลี่ยนรถเก่าเป็นรถพลังงานอีวี 2. เรื่องไฟฟ้า มีนโยบายชัดเจนคือจะลดค่าใช้จ่ายให้พี่น้องประชาชน เน้นการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาเรือน รวมถึง Net Metering หากทำเรื่องนี้ได้จะเพิ่มรายได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนและ 3. โรงไฟฟ้าชุมชน จะเป็นอีกนโยบายหลักของพรรคพลังประชารัฐด้วย ทั้งหมดคือสิ่งที่เราต้องเร่งยกระดับเครื่องยนต์เดิม เพิ่มศักยภาพเครื่องยนต์ใหม่ ทั้งเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์ ท่องเที่ยว เกษตรและเทคโนโลยี เรื่องการเกษตร นโยบายของพรรคเราต้องเปลี่ยนผ่านเกษตรสู่เกษตรพลังงาน ไบโอเจ็ท หรือน้ำมันเครื่องบินจากพืชพลังงาน

“ผมขอเน้นย้ำว่า ไม่ว่านโยบายใดจะดีแค่ไหนอย่างไร หากประเทศมีการเมืองที่ไม่มั่นคง มีการเมืองเชิงความขัดแย้ง สิ่งที่เป็นนโยบายทั้งหลายนั้นก็เป็นเพียงนโยบายในการหาเสียง แต่ไม่สามารถขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติได้ วันนี้ พรรคพลังประชารัฐจึงได้ประกาศแล้วว่า จะก้าวข้ามความขัดแย้ง และพร้อมนำพาประเทศไทยให้มีความสมดุลทางการเมือง และนำทุกนโยบายที่เราได้หาเสียง ไปสู่การปฏิบัติให้สำเร็จ” นายสนธิรัตน์ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 มีนาคม 2566

“ศ.ดร.นฤมล”เผย 18 มี.ค.เปิดเวทีกลางกรุงพบประชาชน เปิดโฉม 33 ว่าที่ผู้สมัครเคาะประตูชูนโยบายเข้าถึงทุกพื้นที่

,

“ศ.ดร.นฤมล”เผย 18 มี.ค.เปิดเวทีกลางกรุงพบประชาชน เปิดโฉม 33 ว่าที่ผู้สมัครเคาะประตูชูนโยบายเข้าถึงทุกพื้นที่

วันที่ 9 มี.ค. ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรค พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงการเปิดปราศรัยใหญ่ใน กทม. ของพรรคพลังประชารัฐ ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ เวลา 17.00น. ลานคนเมือง กทม. ว่า เป็นการเปิดตัว ผู้สมัคร ส.ส.กทม. ทั้ง 33 เขต โดยมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณรองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ มาร่วมสร้างขวัญและกำลังใจ พร้อมด้วยการนำเสนอนโยบายของพรรคสำหรับ คนกทม. ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวกทม.แต่ละเขต เพราะด้วยความปัญหาและความแตกต่างของบริบทพื้นที่ ซึ่งพรรคพร้อม รับฟังปัญหาของพี่น้องประชาชน ผ่าน 33 ว่าที่ผู้สมัครพปชร.ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ มีประสบการณ์ในพื้นที่จริง และพร้อมทำด้วยหัวใจ

ทั้งนี้ หลังจากจัดเวทีปราศรัยใหญ่ในกทม. จะจัดมีการจัดเวทีปราศรัยย่อยในแต่ละพื้นที่ใน กทม. ทั้งในกทม.ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก เพื่อที่จะนำเสนอนโยบายให้สอดรับกับพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ได้วางตัวผู้สมัคร ส.ส.ของพรรค เกือบครบทุกเขตแล้ว ซึ่งยังมีเพียงบางพื้นที่ที่ทาง กกต.มีการแบ่งเขตใหม่ คือลด 4จังหวัดและเพิ่ม 4 จังหวัดรวมถึงในกทม. อย่างไรก็ตามพรรคตั้งเป้าจะได้ส.ส.กทม.มากว่าเดิม หลังจากรอบที่แล้วได้ ส.ส.มา 12 คน เพราะเชื่อมั่น ผู้สมัคร ส.ส.กทม.ของพรรคที่มี มีของดีอยู่ในตัว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 มีนาคม 2566

พปชร.ดันนโยบาย”บ้านประชารัฐ 360 องศา” ลดปัญหาเหลื่อมล้ำคนเมือง ส่งว่าที่ผู้สมัครทุกเขตสแกนความต้องการปชช. สร้างความมั่นคงที่อยู่อาศัย

,

พปชร.ดันนโยบาย”บ้านประชารัฐ 360 องศา” ลดปัญหาเหลื่อมล้ำคนเมือง ส่งว่าที่ผู้สมัครทุกเขตสแกนความต้องการปชช. สร้างความมั่นคงที่อยู่อาศัย

วันที่ 9 มีนาคม พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) จัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของว่าที่ผู้สมัครและตัวแทนชุมชนเพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบาย พปชร. ภายใต้หัวข้อ “บ้านประชารัฐ 360 องศา เข้าใจ เข้าถึง ทำได้จริง” โดยมีศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยว่าที่ผู้สมัครกทม. พปชร. นักวิชาการ และตัวแทนชุมชน ประกอบด้วย นางสาวชญาภา ปรีฎาพากย์ ว่าที่ผู้สมัครสส.เขตบางคอแหลม ยานนาวา นายภูวกร ปรางภรพิทักษ์ นายระพีพัฒน์ สุเมธโชติเมธา นายตรีสิทธิ์ ศิริวรรณ ว่าที่ผู้สมัครสส.กรุงเทพ อ.สุนีย์ ไชยรส รองคณบดีฝ่ายพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ นายศุ บุญเยี่ยม เลขาชุมชนเชื้อเพลิง 2 ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนำเสนอมุมมองและปัญหาที่ของคนกรุงเทพที่เกิดขึ้น ที่จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน โดยในเวทีครั้งนี้ได้นำเสนอประเด็นปัญหาเรื่องของที่อยู่อาศัย ซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่พรรคมีความเข้าใจปัญหาเมืองในทุกมิติ จากการเข้าถึงข้อมูล ด้วยการศึกษา วิจัย และ สามารถทำได้ จริงทั้งด้านการเงิน และให้อยู่ได้ภายใต้กรอบของ กฎหมาย ผ่านว่าที่ผู้สมัครทั้ง 33 เขต ที่ได้ลงพื้นที่มาอย่างยาวนาน เพื่อรวบรวมข้อมูล และสะท้อนปัญหาที่แท้จริงของประชาชน สู่นโยบายของกทม. ให้สอดรับกับนโยบายกลางของพรรคในนโยบาย “มีเรา มีที่ทำกิน มีที่ดินไม่มีจน”

“ เราอยากทำให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยจะมีโมเดล บ้านประชารัฐ ที่เราจะทำเพิ่มเติม ในแต่ละเขต ซึ่งจะหาเขตที่เหมาะสม โดยเริ่มต้นจากเขตเอกมัย 19 ซึ่งการทำโมเดล พัฒนาบนพื้นฐาน ทำแบบเข้าใจ เข้าถึงและทำได้จริง มีความเป็นไปได้ทางการเงิน กฎหมาย จะทำอย่างไร เพื่อให้คนกทม.มีบ้าน มีหลักค้ำประกันชีวิต สำหรับครอบครัว ทำให้สังคมมีชีวิตความเป็นอยู่ในกทม.ที่ดีขึ้น โดยเริ่มต้นจากเวทีนี้เป็นเวทีแรก และเวทีต่อไปวันที่ 16 มีนาคม 2566 ที่จะมีประเด็นทางด้านมิติสังคม ตามสโลแกนของพรรค “ก้าวข้ามความขัดแย้ง ขจัดทุกปัญหา พัฒนาทุกพื้นที่” โดยเฉพาะในเรื่องคำว่าก้าวข้าม เป็นก้าวข้ามในมิติด้านใดบ้าง ที่ต้องการแก้ไขปัญหากับประชาชน สังคม และประเทศ”

นางสาวชญาภา กล่าวว่า ภายหลังจากการได้ลงพื้นที่เป็นระยะเวลาหลายเดือน พบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยของคนฐานรากที่เรื้อรังมานาน โดยในปัจจุบันที่ดินในเขตยานนาวามีมูลค่าที่แพงขึ้นมาก ทำให้คนฐานรากซึ่งเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนแรงงาน รับจ้าง หาบเร่แผงลอย ไปจนถึงกลุ่มคัดแยกขยะ ที่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ใกล้แหล่งงานได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยในเขตยานนาวามีชุมชน 23 ชุมชน ถูกขับไล่ 6 ชุมชน ชาวบ้านต้องไร้ที่อยู่ และบางกลุ่มที่เคยเช่าอยู่ในราคาถูกเมื่อหมดสัญญาก็ไม่ได้รับการต่อสัญญาอีก และมีแนวโน้มอาจถูกขับไล่ ซึ่งปัญหานี้รัฐและเอกชนต้องเข้ามาช่วยเหลือ เพราะหากประชาชนยังไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย ปัญหาจะตามมาอีกมาก ทั้งที่ประชาชนเหล่านี้ก็คือส่วนหนึ่งที่จะช่วยดูแลบ้านเมือง
“พรรคพลังประชารัฐได้ให้ความสำคัญกับเรื่องที่อยู่อาศัยอย่างมาก หากประชาชนมีที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน โอกาสด้านต่างๆ จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา คุณภาพชีวิตต่างๆ ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและทำให้คุณภาพชีวิตของเขาดีขึ้น และสังคมที่ดีขึ้นตามมา”

นายภูวกร กล่าวว่า จาการสำรวจพื้นที่อยู่อาศัยของแต่ละชุมชน ในเขตวัฒนาหลายแห่งมีปัญหาถูกไล่รื้อ จากการลงพื้นที่ริมคลอง และ ริมทางรถไฟ มองว่าสามารถนำโมเดลบ้านประชารัฐมาต่อยอดได้ แต่เราต้องใช้การออกแบบยูนิเวอร์แซล ดีไซน์ คือ ต้องสำรวจสมาชิกในชุมชนว่าเป็นกลุ่มใดบ้าง ทั้งเด็ก และ ผู้สูงอายุ เพื่อการออกแบบบ้านให้ทุกคนในสังคมอยู่กันอย่างเท่าเทียม และต้องออกแบบให้เหมาะสมกับท้องถิ่นเข้ากับบริบทชุมชนและสังคม โดยมีการระดมสมองจากทุกภาคส่วน อาจมีการจัดประกวดออกแบบบ้านจากนักศึกษา นักศึกษาต้องไปทำการบ้านกับชุมชน โดยเน้นย้ำการ “อัพเกรดคุณภาพชีวิต” ของประชาชนในชุมชนเมือง รวมถึงการทำสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้น เช่น การบำบัดน้ำสีย เราเชื่อว่าถ้าบ้านดี สังคมจะดีตามมา

นายระพีพัฒน์ กล่าวว่า เรื่องที่อยู่อาศัยมีหลายมิติ สิ่งสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ ต้องมีพื้นที่สันทนาการ สิ่งแวดล้อม และ สาธารณูปโภค เรามองว่าในส่วนของบ้านประชารัฐ คือ แผนระยะสั้น ส่วนแผนระยะยาวเราอยากปฏิรูปที่ดิน จัดสรรใหม่ โดยนำที่ดินธนารักษ์มาช่วยให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยที่ทำกิน สำหรับบ้านประชารัฐอาจมีการปฏิรูปใหม่โดยสร้างเป็นตึกและต้องตอบโจทย์การทำกิน มีที่จอดรถซึ่งเป็นเครื่องมือที่เขาใช้ทำมาหากิน นอกจากนี้เราจะทำที่พักผ่อนหย่อนใจพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้กลายเป็นแหล่งทำกินของชาวบ้าน ทำให้เป็นพื้นที่ที่ทำคนในสังคมเมืองใช้ร่วมกัน โดยมองว่าปัจจุบันนี้มีกฎหมายการลงทุนของรัฐกับเอกชนแล้ว เราสามารถเอาที่ดินของรัฐมาปฏิรูปให้เอกชนมาลงทุนแล้วจัดพื้นที่ทำกิน จัดให้เป็นพื้นที่กิจกรรมงานศิลปะเพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาเกิดการค้าขายให้เงินไหลเวียน โดยจะต้องหา 1 พื้นที่ 1 เขต จะผลักดันให้โมเดลนี้เกิดขึ้นกระจายทุกเขต เพื่อเป็นต้นทุนชีวิตให้เราทุกคน

นายตรีสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องที่อยู่อาศัยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 15 ฉบับ ทำให้หลายครั้งนโยบายเรื่องที่อยู่อาศัยเกิดการติดขัด และไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง สิ่งที่พรรคพลังประชารัฐจะทำหากได้รับเลือกเข้าไปในสภา คือ เราจะรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แล้วไปผลักดันนโยบายต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหา ทั้งกลุ่มที่มีที่อยู่อาศัยอยู่แล้วแต่สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม และ กลุ่มที่ไม่มีที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะการอุดหนุนงบประมาณผ่านกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยของกทม. โดยจากเดิมที่กทม.ได้งบประมาณเพียง 1 หมื่นล้านบาท ก็จะอุดหนุนเพิ่มอีก 1 หมื่นล้านบาท พร้อมกับนำที่ดินธนารักษ์ที่คาดว่ามีอยู่ในกทม.ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านไร่ มาพัฒนาเพื่อให้คนเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และวันนี้พลังประชารัฐก้าวข้ามความขัดแย้ง ไม่ว่า ผู้ว่าฯกทม.จะเป็นใคร เราสามารถทำงานโดยก้าวข้ามความขัดแย้งอย่างแน่นอน
ด้าน อ.สุนีย์ ไชยรส รองคณบดีฝ่ายพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต มาร่วมให้ความคิดเห็นในเวทีนี้ด้วย กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าปัญหาคนไม่มีที่ทำกิน ส่วนมากเกี่ยวข้องกับที่ของรัฐ และ ปัญหาก็คือกฎหมายการไล่รื้อจับ มองว่าการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต้องเร่งสำรวจภาพรวมว่าใครอยู่ในสถานการณ์อะไร ข้อมูลต้องชัด การวางแผนพื้นที่ทั้งหมดว่าสถานการณ์ ออกแบบการแก้ปัญหาให้นึกถึงระยะยาว ไม่ใช่แค่มีบ้าน จำเป็นต้องมีสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์เลี้ยงเด็กคุณภาพใกล้ชิดชุมชน เป็นต้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 9 มีนาคม 2566

“พล.อ.ประวิตร”ลุยตรวจโครงการน้ำเจ้าพระยาตอนล่างอยุธยา-สระบุรี การันตีปีนี้ทำนาได้ ลั่นลุยแก้ไขปัญหาให้ปชช.ปลื้มกองเชียร์ยกเป็นนายกคนที่30

,

“พล.อ.ประวิตร”ลุยตรวจโครงการน้ำเจ้าพระยาตอนล่างอยุธยา-สระบุรี
การันตีปีนี้ทำนาได้ ลั่นลุยแก้ไขปัญหาให้ปชช.ปลื้มกองเชียร์ยกเป็นนายกคนที่30

วันที่ 8 มีนาคม 2566 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะประกอบด้วย พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยม และติดตามความคืบหน้า แผนบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และแผนงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ณ วัดสะตือพุทธไสยาสน์ ค.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา

โดย พล.อ.ประวิตร ได้ตรวจแผนบรรเทาอุทกภัยพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง และแผนงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญในพื้นที่ รวมถึงการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ฝั่งตะวันออก และการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเขตอำเภอท่าเรือ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำของเขื่อนพระราม 6 ด้วย พร้อมมอบนโยบาย และพูดคุยกับประชาชนที่มาให้การต้อนรับว่า ขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มาให้การต้อนรับ และได้นำเสนอแผนงานภาพรวมของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตนเดินทางมาเพื่อเร่งรัด และติดตามการดำเนินการด้านน้ำที่อยุธยาอยู่หลายครั้ง เนื่องจากสภาพพื้นที่จังหวัดเป็นที่ราบลุ่มและอยู่ติดฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จึงประสบปัญหาน้ำหลากน้ำท่วม บ้านเรือนประชาชน รวมไปถึงพืชผลทางการเกษตรด้วย

พล.อ.ประวิตร กล่าวต่อว่า รัฐบาลมีความห่วงใย ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเร่งรัดให้เกิดการดำเนินการพร้อมวางแผนให้เกิดการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และยั่งยืนที่สำคัญต้องเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยเร็วที่สุด จึงขอมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ปฎิบัติดังนี้
1.ให้ สำนักงาน ทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ เร่งรัด การดำเนินการตามแผนการ บรรเทาอุทกภัยพื้นที่เจ้าพระยา ตอนล่าง 9 แผน โดยเฉพาะ โครงการ คลองระบายน้ำชัยนาท – ป่าสัก, ป่าสัก – อ่าวไทย และ บูรณาการ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน แก้ไข ปัญหาอุทกภัยพื้นที่ อำเภอท่าเรือ ซึ่งได้รับผลกระทบ จากการระบายน้ำ จากเขื่อนพระราม 6
2.ให้ กรมชลประทาน เร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการ ระบายน้ำหลาก บางบาล – บางไทร ให้แล้วเสร็จ ตามแผนที่วางไว้ รวมถึง ซ่อมแซม อาคารชลประทาน
ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พร้อมใช้งาน เพื่อเตรียมรับฤดูน้ำหลาก ที่จะมาถึง
3.ให้กรมโยธาธิการ และ ผังเมือง เร่งก่อสร้าง กำแพง ป้องกันน้ำท่วมบริเวณเขตโบราณสถานเพื่อป้องกัน ความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้น
4.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม 10 มาตรการ รองรับฤดูแล้ง เพื่อลดผลกระทบต่อ พี่น้อง ประชาชน
ให้ได้มากที่สุด และสุดท้ายของให้ทางจังหวัดสร้างการรับรู้ และ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ทราบถึง สถานการณ์ต่างๆ และ แผนการดำเนินการ ด้านทรัพยากรน้ำของหน่วยงานรัฐ

“ผมขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้งที่มาให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และ ขอให้มั่นใจว่ารัฐบาลมีความจริงใจ และมีเป้าหมายในการทำงาน เพื่อความผาสุกของประชาชนและแน่นอน โครงการขนาดใหญ่ที่รัฐดำเนินการ ต้องใช้ระยะเวลาและงบประมาณ ที่สำคัญ ต้องได้รับ การสนับสนุนความร่วมมือจาก พี่น้อง ประชาชน ในพื้นที่เป็นอย่างมาก ที่จะทำให้โครงการต่างๆ สำเร็จได้ ตามเป้าหมาย ซึ่งในปีนี้น้ำมีเพียงพแปละสามารถที่จะทำนาปีได้ ในโอกาสนี้ผมขออวยพร ให้ข้าราชการและ พี่น้องชาวพระนครศรีอยุธยาทุกท่าน มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยต่างๆ มีความสุข ความเจริญ คิดประสงค์สิ่งใด ขอให้สมความปรารถนา ทุกประการ”

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตรได้ถามกรมทรัพยากรน้ำในพื้นที่ถึงการทำนาของประชาชนในปีนี้ ซึ่งได้คำตอบว่า สามารถทำได้ พล.อ.ประวิตร จึงได้กล่าวกับชาวอยุธยาว่า “ปีนี้ทุกคนสามารถทำนาได้นะครับ ไม่มีน้ำท่วมมาทำลายนาของทุกคนอย่างแน่นอนครับ”

อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการลงพื้นที่ตรวจราชการในวันนี้ มีประชาชนมาให้การต้อนรับ และมอบดอกกุหลาบเพื่อให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งกล่าวว่า เรารักลุงป้อม ลุงป้อมสู้ ๆ และลุงป้อมน่ารัก อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง พลเอกประวิตร ก็ได้ทักทายกับประชาชนอย่างเป็นกันเอง

พล.อ.ประวิตร พร้อมคณะได้เดินทางไปยัง รร.วัดขอนชะโงก (เขียววิมลราษฎร์อุปถัมภ์) อ.หนองแค จ.สระบุรี เพื่อตรวจติดตามการบริหารจัดการน้ำของ จ.สระบุรี ณ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสระบุรี อ.หนองแค จ.สระบุรี โดยมี นางสาวกัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี ,นายองอาจ และนายอรรถพล วงษ์ประยูร อดีต ส.ส.สระบุรีและว่าที่ผู้สมัคร รวมถึง ผึ้ง น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ ว่าที่ผู้สมัคร สส. สระบุรี เขต 3 และทีมโฆษกพรรค พปชร.ให้การต้อนรับ

พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวมอบนโยบาย และพูดคุยกับประชาชนที่มาให้การต้อนรับว่า ผมมีความยินดี เป็นอย่างยิ่งที่ได้ลงพื้นที่จังหวัดสระบุรี อีกครั้งหนึ่ง จากที่เคยมาตรวจเยี่ยม และมอบหมายหน่วยงานไปดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วม เมื่อกลางปี 65 ซึ่งวันนี้ตนได้มาติดตาม และ รับทราบความก้าวหน้า แผนการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่พร้อมพบปะพี่น้อง และประชาชนเพื่อรับทราบปัญหา และความเดือดร้อนจากการรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเห็นว่า ได้มีการดำเนินการตามแผนงานโครงการเร่งด่วน ไปแล้วหลายโครงการ ทั้งงานปรับปรุง ซ่อมแซม งานเพิ่มประสิทธิภาพ การระบายน้ำ และยังคงมีแผนงานที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา ด้านทรัพยากรน้ำ ได้อย่างครอบคลุมทั้งระบบ จึงขอมอบหมาย ให้หน่วยงานได้เร่งรัด ดำเนินการ

“รัฐบาลมีความมุ่งมั่น และมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ให้กับพี่น้องประชาชน และปรารถนาให้ทุกคนดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ภายใต้การดูแลเอาใจใส่ จากรัฐบาลที่จะช่วยเหลือ ขับเคลื่อน การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในทุกมิติ ผมขอให้ทุกคนเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะดูแลทุกข์ สุข ของทุกท่านอย่างเต็มที่ เราจะสร้างรากฐาน ที่แข็งแรง ให้กับสังคม เพื่อความมั่นคง ของประเทศ”

ทั้งนี้ พลเอกประวิตรได้ร่วมผัดไส้และชิมขนมกะหรี่ปั๊บ ซึ่งเป็นของฝากชื่อดังชาวสระบุรี นอกจากนี้ยังมีนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 คน ของโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม มอบภาพวาดเหมือนด้วยฝีมือตัวเองให้กับพลเอกประวิตร พร้อมกับอวยพรขอให้ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 เพราะพวกตนเป็นเอฟซีติดตามผลงานของท่าน ซึ่งพลเอกประวิตร กล่าวว่า วาดดีมาก สวยเหมือนเปี๊ยบเลย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 มีนาคม 2566

พปชร.เปิดตารางเวทีปราศรัยใหญ่ 4 ภาค พบกันเชียงใหม่ 12 มี.ค.นี้ พร้อมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครภาคเหนือทุกเขต

,

พปชร.เปิดตารางเวทีปราศรัยใหญ่ 4 ภาค พบกันเชียงใหม่ 12 มี.ค.นี้ พร้อมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครภาคเหนือทุกเขต

นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า พรรคพลังประชารัฐได้เตรียมเดินสายจัดเวทีปราศรัยก่อนการยุบสภา ในพื้นที่ 4 ภาค โดยเริ่มที่ จ.เชียงใหม่ วันที่ 12 มี.ค.นี้

โดยจะมีการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครภาคเหนือทั้งหมด รับผิดชอบโดย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่าและนายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ , กทม. 18 มี.ค. 66 , จากนั้นจะเป็นเวที จ.สงขลา ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาจจะเป็นที่ จ.อุดรธานี หรือขอนแก่น

ส่วนที่ จ.นครราชสีมา ได้วางกำหนดการไว้ 26 มี.ค. 66 ซึ่ง นายวิรัช ระบุว่า ทุกเวทีจะมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ไปร่วมปราศรัยทุกเวทีด้วย


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 มีนาคม 2566

“รัฐภูมิ”แท็กทีม”บูรฮันธ์”ว่าที่ผู้สมัครพปชร.จ.ปัตตานี รับฟังปัญหาปชช.ดันลดเหลื่อมล้ำการศึกษาในพื้นที่

,

“รัฐภูมิ”แท็กทีม”บูรฮันธ์”ว่าที่ผู้สมัครพปชร.จ.ปัตตานี รับฟังปัญหาปชช.ดันลดเหลื่อมล้ำการศึกษาในพื้นที่

นายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ ทีมโฆษก พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) เปิดเผยว่า ตนได้ลงพื้นที่ปราศรัย กับประชาชนในพื้นที่ อ.ยะรัง อ.มายอ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี ร่วมกับ นาย บูรฮันธ์ สะเม๊าะ ว่าที่ผู้สมัคร สส พลังประชารัฐ เขต4 เพื่อรับฟังปัญหาของพื้นที่ ซึ่งมีหลากหลายปัญหา โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้การบรรจุครูเข้าสอนในพื้นที่ขาดแคลน มีโรงเรียนที่เปิดทำการเรียนการสอนได้เพียง 1-2 โรงเรียนต่อจังหวัด ประชาชนแก้ไขเบื้องต้นด้วยการตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยผู้ใหญ่เป็นผู้เข้าทำการเรียนการสอน ให้เด็กมีพัฒนาการด้านการเรียน การอ่าน และเขียน ซึ่งจะเห็นว่าเยาวชนเสียโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ทั้งที่เยาวชนในพื้นที่ มีศักยภาพด้านภาษา ที่สามารถพูดได้ถึง 3 ภาษา ทั้งไทย มาลายูและอาราบิค จำเป็นต้องเข้าไปส่งเสริมด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการโดย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมให้การสนับสนุน และส่งเสริมการศึกษาอย่างเต็มที่

นายรัฐภูมิ กล่าวต่อว่า ตนกับท่านบูรฮันธ์จะนำประเด็นปัญหาดังกล่าวเข้าสู่คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายพรรค เพื่อเป็นหนึ่งในนโยบายการทำงานของพรรค ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการเปิดปราศรัยครั้งนี้ มีประชาชนที่ศรัทธาในตัวนายบูรฮันธ์ เข้ามาร่วมฟังนโยบายของพรรค ที่จะช่วยเหลือ พี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนใต้ กว่า 5,000 คน ซึ่งยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมา ประชาชนในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือจากนายบูรฮันธ์ มาอย่างต่อเนื่อง ในการประสานงานช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือคนไทยที่ติดค้างในต่างประเทศในช่วงการแพร่ระบาดโควิด 19 สามารถช่วยเหลือได้ประมาณ 40,000 คน ทำให้เป็นที่รัก และเข้าใจปัญหาของคนในพื้นที่เป็นอย่างดี

“ยังมีปัญหาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทุกระบบ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการยกระดับคุณภาพชีวิต ของคนในพื้นที่ในการประกอบอาชีพ ความปลอดภัยในพื้นที่ เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ต้องเสนอต่อพรรค ที่จะนำไปพัฒนาเป็นนโยบาย เพื่อช่วยเหลือ ลดความเหลื่อมล้ำของคนในพื้นที่ได้”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 มีนาคม 2566

“พล.อ.ประวิตร” เกาะติดแก้ปัญหาน้ำเพื่อปชช. ตามติดโครงการสำคัญ เดินหน้า โครงการฯ รองรับแผนฟื้นฟู”คลองแสนแสบ” บรรเทาน้ำท่วม กทม.ฝั่งตะวันออก

,

“พล.อ.ประวิตร” เกาะติดแก้ปัญหาน้ำเพื่อปชช. ตามติดโครงการสำคัญ เดินหน้า โครงการฯ รองรับแผนฟื้นฟู”คลองแสนแสบ” บรรเทาน้ำท่วม กทม.ฝั่งตะวันออก

เมื่อ 8 มี.ค.66 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด โดย พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. กล่าวว่าที่ประชุมได้รับทราบ ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จ.จันทบุรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำของลุ่มน้ำคลองวังโตนด เพื่อบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ตอนล่าง และเพื่อพัฒนาส่งเสริมเกษตรกรรม ด้านผลไม้ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของ จ.จันทบุรี มีระยะเวลาโครงการ 6 ปี (ปี68-73) งบประมาณ 6,400 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ในกระบวนการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้ จากกรมป่าไม้และกรมอุทยานฯ ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ กรมชลประทาน ให้เร่งรัดดำเนินโครงการตามมติทึ่ประชุมโดยเร็ว เพื่อเตรียมรองรับความต้องการใช้น้ำของประชาชน ,เกษตรกร และพื้นที่EEC ให้เพียงพอในอนาคต ต่อไป

จากนั้น คณะอนุกรรมการฯได้เห็นชอบ การปรับปรุงเป้าหมายโครงการสำคัญด้านทรัพยากรน้ำปี66-70 โดยกำหนดนิยาม”โครงการสำคัญ” คือโครงการที่แก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรน้ำ ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ 20 ปี ที่มีผลสัมฤทธิ์ อย่างมีนัยยะสำคัญ หรือเกิดผลประโยชน์ในวงกว้าง และผ่านการเห็นชอบของ กนช. โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนงานโครงการตามนิยามและประเภทโครงการสำคัญที่กำหนดเพื่อเสนอเป็นโครงการสำคัญ ผ่านระบบ Thai Water Plan ตามขั้นตอน จากนั้นที่ประชุมยังได้อนุมัติหลักการ และทบทวนให้มีความเหมาะสม ในโครงการปรับปรุงคลองบางขนาก จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แผนหลักการพัฒนาฟื้นฟูสภาพแวดล้อม คลองแสนแสบ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ กทม.ฝั่งตะวันออก เพื่อช่วยระบายน้ำเสีย รักษาคุณภาพน้ำ และให้คลองแสนแสบกลับมามีระบบนิเวศ อยู่ในเกณฑ์ดี อีกครั้งหนึ่ง

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ สทนช. ,กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องให้ความสำคัญเร่งด่วนต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องน้ำ ของประชาชนทั้งระยะเร่งด่วน และระยะยาว อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งมีการจัดลำดับความเร่งด่วนของโครงการอย่างเหมาะสม สอดรับตามแผนแม่บท 20 ปี ที่มีการปรับปรุงเป้าหมายใหม่แล้วด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 มีนาคม 2566

ศ.ดร.นฤมลรวมคนพปชร. ”พลังประชารัฐ เพิ่มพลังสตรีไทย” วันสตรีสากล

,

ศ.ดร.นฤมลรวมคนพปชร. ”พลังประชารัฐ เพิ่มพลังสตรีไทย” วันสตรีสากล

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม พรรคพลังประชารัฐ ได้ให้ความสำคัญการลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ ทางสังคมให้กับกลุ่มสตรี และเยาวชน ได้รับสิทธิเท่าเทียมในทุกมิติ เท่ากับเพศชาย ที่นำมาสู่การระดมความคิดเห็นของกลุ่มสตรีพรรคพลังประชารัฐ ในกลุ่ม “พลังประชารัฐ เพิ่มพลังสตรีไทย” โดยมีนางฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ ที่ปรึกษาด้านสิทธิสตรี และว่าที่ผู้สมัครพปชร. ประกอบด้วย น.ส.ชญาภา ปรีภาพาก นางนฤมล รัตนาภิบาล นายกานต์ กิตติอำพน น.ส.ณิรินทร์ เงินยวง นายศันสนะ สุริยะโยธิน นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ นายระพีพัฒน์ สุเมธโชติเมธา ดร.บุณณดา สุปิยพันธุ์ และ ดร.ภญ. สุชาดา เวสารัชตระกูล มาร่วมระดมความคิดเห็นครั้งนี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลพิจารณาข้อเสนอของเครือข่ายองค์กรสตรี

“ การเพิ่มพื้นที่และโอกาสการทำงานของผู้หญิง ความเท่าเทียมทางเพศทุกช่วงวัย ทุกสาขาอาชีพ และทุกศาสนา รวมถึงสิทธิและสวัสดิการที่ผู้หญิงควรจะได้รับ มีความสำคัญต่อเป้าหมายการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งพปชร.เรามีคนรุ่นใหม่ และผู้มีประสบการณ์ที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว แสวงหาแนวทางในการดูแลคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย พปชร.เปิดกว้างรับความคิดเห็นจากทุกฝ่ายสู่การผลักดันโยบายด้านสตรีให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเท่าเทียม ” ศ.ดร.นฤมล กล่าว

ทั้งนี้ นอกเหนือจากข้อเสนอของเครือข่ายองค์กรสตรี กลุ่ม “พลังประชารัฐ เพิ่มพลังหญิงไทย” ได้มีการนำเสนอแนวทางเพิ่มเติมให้ครอบคลุมการดูแลสตรี และเยาวชนให้มากยิ่งขึ้น อาทิเช่น การจัดสวัสดิการเพื่อการดูแลคุณภาพชีวิตแม่เลี้ยงเดี่ยว และยกระดับศูนย์รับเลี้ยงเด็กเล็กก่อนวัยเรียนในชุมชน เป็นต้น

นอกจากนี้ น.ส. ชญาภา เสนอให้มีมาตรการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบทุกพื้นที่ น.ส.ณิรินทร์ เสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์สุขภาพจิตในชุมชนเพื่อคนทุกช่วงวัย ดร.ภญ.สุชาดา เสนอให้มีแนวทางเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสิทธิการรักษาและป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวเกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลของว่าที่ผู้สมัคร พปชร. ที่ได้ลงพื้นที่จริง และพบปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ดังนั้นจำเป็นต้องเร่งการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วน เพื่อให้สอดรับกับบริบทการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 8 มีนาคม 2566

“ศ.ดร.นฤมล” ยกทีมผู้สมัครร่วมระดมสมองเจาะปัญหากทม. เปิดเวที”พลังกรุงเทพ พลังประชารัฐ” 9 มี.ค.นี้สู่นโยบายพปชร.

,

“ศ.ดร.นฤมล” ยกทีมผู้สมัครร่วมระดมสมองเจาะปัญหากทม.
เปิดเวที”พลังกรุงเทพ พลังประชารัฐ” 9 มี.ค.นี้สู่นโยบายพปชร.

6 มีนาคม 2566 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า วันที่ 9 มี.ค.นี้พปชร.จะเปิดเวทีเสวนา “พลังกรุงเทพ พลังประชารัฐ” ที่ทำการพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งจะเป็นการระดมความคิดเห็นเป็นครั้งแรก และยังมีการจัดต่อเนื่อง ในประเด็นที่จะนำไปสู่นโยบายการแก้ไขปัญหาให้คนกทม.ในทุกมิติ จากว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. พปชร. เครือข่ายภาคประชาสังคม นักวิชาการ และประชาชนในพื้นที่เขตเลือกตั้งกทม. เพื่อร่วมหารือถึง ประเด็นปัญหาและวิธีการขจัดปัญหา แก้ไขปรับปรุง สู่การผลักดัน เพื่อออกนโยบาย นำไปสู่การพัฒนากทม.ให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับสังคม เพิ่มคุณภาพชีวิต ขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนตามนโยบายของพปชร.

“ เวทีครั้งนี้จะเป็นการ นำแนวคิด และนโยบายของ ว่าที่ผู้สมัครส.ส.กรุงเทพฯพรรคพลังประชารัฐ ที่ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาสังคม นักกิจกรรม นักวิชาการและประชาชนคนกทม. เพื่อมาร่วมเสนอแนวคิด มุมมอง และวิธีการแก้ปัญหา ที่นำไปสู่การออกแบบการพัฒนาหรือนโยบายในการพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่แต่ละเขต ที่มีปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกันไป”ศ.ดร.นฤมลกล่าว

โดยเริ่มต้นจาก เป้าหมายการพัฒนากทม. ให้มีที่อยู่อยู่อาศัย และชุมชน ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านสวัสดิการ การประกอบอาชีพ ภายใต้แนวคิด Eco living society เพื่อเพิ่มพื้นที่ความสุขให้คนกทม. โดยจะเป็นในรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกับชุมชน สะท้อนให้เห็นว่าในบางพื้นที่ เช่นพื้นที่ “บางคอแหลม” มีข้อเสนอนโยบายด้านที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในเมือง ตอบโจทย์การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

“เรื่องที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน เป็นพื้นฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สำคัญ ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ชุมชน และเมือง ซึ่งควรจะมีพื้นที่สีเขียว ลานกีฬา สถานพยาบาล โรงเรียนที่ดี ซึ่งเป็นการสร้างเศรษฐกิจชุมชนที่มีคุณภาพและเป็นแบบอย่างการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ “

สำหรับพื้นที่ ที่เป็นชุมชนแออัด อย่าง “บางขุนเทียน” มีข้อเสนอนโยบายเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด เพื่อให้ชุมชนมีคุณภาพ โดยเฉพาะปัญหาขยะที่ต้องมีการบริหารจัดการเพื่อพลิกโฉมให้เป็นชุมชนน่าอยู่ ส่วนปัญหาเด็กในชุมชนแออัด ใน”พื้นที่ราษฎร์บูรณะ” มีแนวคิดที่จะสร้างโอกาสการเรียนรู้ ให้เยาวชน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้หลุดพ้นจากความยากจน

อย่างไรก็ตามว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ทุกพื้นที่ มีความตั้งใจและพร้อมรับฟังเสียงสะท้อนจากความคิดเห็นของหลายกลุ่มคน เพื่อที่จะเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ และแก้ปัญหาให้ตรงกับความต้องการของประชาชน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 6 มีนาคม 2566

“ผู้กองมาร์ค” พลังประชารัฐ นำร่องแก้ปัญหาน้ำเสียในชุมชน คืนสุขภาพที่ดีสู่ประชาชน

,

“ผู้กองมาร์ค” พลังประชารัฐ นำร่องแก้ปัญหาน้ำเสียในชุมชน คืนสุขภาพที่ดีสู่ประชาชน

5 มี.ค. 2566 / ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ อำนรรฆสรเดช (ผู้กองมาร์ค) ผู้สมัคร ส.ส. เขตบางซื่อ พรรคพลังประชารัฐ ได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกได้เสียชีวิต ณ ชุมชมวัดสร้อยทอง เขตบางซื่อ กทม. ซึ่งได้สร้างความกังวลใจให้กับประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เพราะไข้เลือดออกมีสาเหตุมาจากยุงลาย และเป็นปัญหาใหญ่ที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ สาเหตุสืบเนื่องมาจากในน้ำมีขยะสะสมเป็นจำนวนมากซึ่งเกิดจากการปล่อยน้ำเสีย และทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงสู่แหล่งน้ำในชุมชน ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย และปัญหานี้เกิดขึ้นสะสมมาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่ยังไม่เคยได้รับการแก้ไข ตนจึงได้ติดต่อและประสานงานไปที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ซึ่งมีประสบการณ์ในด้านของการบำบัดน้ำเสียจากก๊าซชีวภาพ โรงงานเคมี ปิโตรเคมี และน้ำเสียจากฟาร์มสุกร จึงได้ก่อเกิดการจัดทำโครงการนำร่องบำบัดน้ำเสีย กำจัดกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์ และแก้ไขปัญหายุงลาย ณ ชุมชนวัดสร้อยทอง โดยทางสำนักงานเขตบางซื่อ ได้ร่วมสังเกตการณ์ โครงการบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์ ที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์ของประชาชนในชุมชนในการแก้ปัญหาระยะยาวอย่างยั่งยืน

ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ กล่าวอีกว่า วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโครงการบำบัดน้ำเสียนั้น ก็เพื่อลดกลิ่นเหม็นและลดการเกิดยุงลาย เพราะในส่วนของคลองที่มีน้ำนิ่ง นั้นจะเป็นจุดกำเนิดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก และการที่จะลดปริมาณการวางไข่ของยุงลาย คือการทำให้น้ำไม่นิ่ง โดยการติดตั้งกังหันตีน้ำ เพื่อเป็นการเติมอากาศบริสุทธิ์ให้น้ำ ทำให้จุลินทรีย์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประโยชน์ที่ได้จากน้ำที่บำบัดเพิ่มเติมคือสามารถนำไปใช้รดต้นไม้ และสามารถที่จะปล่อยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างปลอดภัย ในส่วนของพลังงานที่เราใช้ในการบำบัดน้ำเสียนี้เราได้ใช้พลังงานทั้งหมดจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) และเพื่อลดปัญหาโลกร้อน จึงต้องรบกวนขอความร่วมมือจากประชาชน ว่าอย่าทิ้งขยะ พลาสติก และเศษอาหารลงในน้ำใต้บ้านเรือนและในคูคลองต่าง ๆและทั้งนี้ทางโครงการได้เพิ่มประสิทธิภาพให้โครงการแบบยั่งยืน โดยอบรมให้คนในชุมชนสามารถสร้างถังดักไขมัน (Grease Trap) และถังบำบัดน้ำเสีย (SEPTIC) ด้วยตนเอง (Do it yourself: DIY) เพื่อป้องกันไม่ให้ไขมัน และน้ำสกปรกจากครัวเรือนไหลลงใต้ถุนบ้านและทางน้ำในชุมชน ซึ่งหลังจากการบำบัดนั้นน้ำจะใสขึ้นภายใน 1 ชั่วโมง และทำให้กลิ่นเหม็นลดลงแบบสัมผัสได้อย่างชัดเจน ซึ่งทางโครงการเชื่อว่าคุณภาพน้ำจะดีขึ้นตามลำดับ และที่สำคัญที่สุดคือการคืนน้ำสะอาด และสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อสุขภาพและจิตใจที่ดีของประชาชนให้กับชุมชนและประเทศ


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 มีนาคม 2566