โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: ข่าวประชาสัมพันธ์

“พล.อ.ประวิตร”ยินดี”น้องมายด์”นักกีฬาเยาวชนหญิงสนุกเกอร์คว้า แชมป์คนแรก สร้างชื่อเสียงไทย

,

“พล.อ.ประวิตร”ชื่นชม “น้องมาย”นักสนุกเกอร์เยาวชนไทยคนแรกคว้าแชมป์สนามประเทศโรมาเนีย!!!พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาการนายกรัฐมนตรี ในฐานัประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ ได้แสดงความยินดีและชื่นชม กับ ด.ญ. ปุณชญาจันทร์น้อยหรือ “น้องมายด์” นักเรียน รร.เทพลีลา และนักกีฬาสนุกเกอร์หญิงไทยวัย 14 ปี คนแรกในประวัติศาสตร์สนุกเกอร์หญิง ที่คว้าแชมป์สนุกเกอร์เยาวชนหญิงอายุไม่เกิน 21 ปี ระหว่างจัดการแข่งขัน 12 – 29 สิงหาคม 2565 ที่มีขึ้น ณ ประเทศโรมาเนีย

“ขอบคุณ สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย ที่สร้างความสุขและความภูมิใจให้กับคนไทยทั้งประเทศ และประสบความสำเร็จในการส่งนักกีฬาเข้าแข่งขัน โดยเฉพาะการคัดเลือก เตรียมและให้โอกาสนักกีฬาทุกคนเข้าร่วมแข่งขันในรายการสำคัญๆ ระดับโลก โดยย้ำว่า รัฐบาล พร้อมที่จะกระตุ้นและส่งเสริมให้เยาวชนไทย เข้ามาเล่นกีฬาทุกชนิดมากขึ้น โดยเฉพาะการสนับสนุนนักกีฬาไทยให้ประสบความสำเร็จ โดยจะให้ความสำคัญกับการใช้วิทยาศาสตร์การกีฬามากขึ้นในทุกสมาคมกีฬา เพื่อเตรียมพร้อมร่างกาย และทักษะของนักกีฬาทุกประเภทกีฬาให้มีขีดความสามารถมากขึ้น เพื่อเข้ารับการแข่งขันในระดับโลกต่อไป” พล.อ.ประวิตร กล่าว

ทีมา: ทีมข่าวพรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 สิงหาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”ลุยภารกิจเร่งด่วนแก้ปัญหาความเดือดร้อนปชช. บูรณาการแก้ปัญหาที่ทำกิน-ดึงหน่วยงานความมั่นคงรับมือภัยพิบัติ

,

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความเดือดร้อนของประชาชนในขณะนี้ ที่มีหลายด้านเข้ามากระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน และต้องรับผิดชอบราชการแทนนายกรัฐมนตรี สิ่งที่ต้องเร่งทำก็คือเรื่องการบริหารจัดการที่ดินทั่วประเทศ ที่ต้องบูรณาการหน่วยงานเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะให้22 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงาน ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในโครงการบูรณาการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ที่มีคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)กำกับดูแลในแผนการดำเนินงาน ระยะ 5 ปี

สำหรับ 22 หน่วยงานที่จะร่วมลงนาม ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ ได้แก่ กรมป่าไม้ กรมที่ดิน กรมธนารักษ์ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมอุทธยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช 2.กลุ่มหน่วยงานงานพัฒนา ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมทางหลวงชนบท กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมโยธาธิการและผังเมือง และ 3.กลุ่มหน่วยงานสนับสนุนส่งเสริม ได้แก่ กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน

ทั้งนี้ภารกิจที่ต้องทำร่วมกันได้ กำหนดเป้าหมาย ที่ให้ความสำคัญในด้านการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค รวมถึงส่งเสริมพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตให้ราษฎรมีรายได้ที่มั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามพ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ.2562 ที่กำหนดให้มี คทช. เพื่อทำให้การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินเป็นเอกภาพ มีการแก้ปัญหาแนวเขตที่ดินทับซ้อนระหว่างหน่วยงาน และหน่วยงานกับประชาชน โดยแก้ปัญหาประชาชนที่บุกรุกอยู่ในที่ดินรัฐ โดยการพัฒนาอาชีพเกษตรและนอกภาคเกษตร เพื่อให้ประชาชนมีรายได้ที่มั่นคง และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นการแก้ไขเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม ในช่วงสถานการณ์ภัยพิบัติที่มีความรุนแรงมากขึ้นขณะนี้ ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุและมรสุมที่พาดผ่าน ส่งผลให้มีปริมาณฝนตกชุก และต่อเนื่องในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ในระยะที่ผ่านมา ได้สั่งการให้กระทรวงกลาโหม จัดกำลังพล เข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เนื่องจากมีความพร้อม ทั้งกำลังคน และเครื่องมือที่จะเข้าช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที ทั้งด้านการอพยพประชาชน การซ่อมบำรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น การวางแผนเร่งระบายน้ำ เป็นต้น โดยจะทำงานร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่น ที่ผ่านมามีหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบ

“จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ได้กำชับกระทรวงกลาโหม ระดมกำลังพล และยุทโธปกรณ์ร่วมกับส่วนราชการ และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้บูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชน ในพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งให้ทุกหน่วยงานให้การสนับสนุนประชาชน วางแผนการใช้น้ำระยะยาว เก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง สำหรับพืชไร่ และการทำเกษตรด้วย”

สำหรับ พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวัง จากการรายงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พบว่า แบ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากปัญหาของปริมาณน้ำใน 3 รูปแบบ

1. พื้นที่ ที่อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ประกอบด้วย พื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ จ.ตาก (อ.แม่ระมาด ท่าสองยาง) พิษณุโลก (อ.นครไทย เนินมะปรางชาติตระการ วังทอง) และเพชรบูรณ์ (อ.หล่มเก่า หล่มสัก เขาค้อ) พื้นที่ภาคกลาง ได้แก่ จ.นครนายก (อ.เมืองฯ) ปราจีนบุรี (อ.ประจันตคาม นาดี) และกรุงเทพมหานคร

2.พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.ร้อยเอ็ด (อ.เสลภูมิ จังหาร โพนทอง) มหาสารคาม (อ.เมืองฯ กันทรวิชัย) และอุบลราชธานี (อ.เมืองฯ) พื้นที่ภาคกลาง ได้แก่ จ.อ่างทอง (อ.ป่าโมก วิเศษชัยชาญ) และพระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา ผักไห่บางบาล บางไทร บางปะหัน พระนครศรีอยุธยา)

3. พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง ได้แก่จังหวัด ต่างๆ ดังนี้ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ นนทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร ภาคใต้ ได้แก่ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงาภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: ทีมข่าวพรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 สิงหาคม 2565

 

“พล.อ.ประวิตร” ส่งทหาร 50 นายช่วย ผู้ว่ากทม.สะกัดน้ำท่วม เริ่ม 2 จุด29 ส.ค.นี้

“พล.อ.ประวิตร” ส่งทหาร 50 นายช่วย ผู้ว่ากทม.สะกัดน้ำท่วม เริ่ม 2 จุด 29 ส.ค.นี้

พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้โทรประสานไปยังนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกทม. เพื่อหารือถึงแผนรับมือน้ำท่วมกทม. จากปริมาณน้ำเหนือและปริมาณฝนในช่วงฤดูฝน พร้อมให้การสนับสนุนกำลังคนและบรูณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดผลกระทบกับประชาชนในกรุงเทพ

สำหรับแผนการสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำของกทม ได้มอบหมายให้พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นผู้ประสานงานกับ กทม พร้อมจีดส่งกำลังทหาร จำนวน 50 นาย แบ่งเป็น 2 จุด จุดละ 25 นาย โดยจุดแรกจะขอกำลังพลจาก กองพล.ม.พัน 3 มาเพื่อเสริมกำลังคนร่วมกับกองระบบท่อระบายน้ำ สำนักการระบายน้ำที่ดำเนินการ 20 คน เพื่อดำเนินการบรรจุกระสอบทรายและเรียงแนวกระสอบทราย ในพื้นที่กรุงเทพใต้ เพื่อนำไปวางแนวป้องกันน้ำหนุนและน้ำเหนือไหลหลาก โดยมีการขอใช้พื้นที่สวนสาธารณะใต้สะพานตากสิน โดยจะเริ่มดำเนินการ 09.30 น. ซึ่งจะใช้ทรายทั้งสิ้น 100 ลูกบาศก์เมตร สามารถบรรจุได้ประมาณ 16,000ใบ

ส่วนการดำเนินการในจุดที่ 2 พื้นที่ธนบุรี เพื่อเรียงแนวกระสอบทรายป้องกันน้ำหนุน บริเวณภายในกรมอู่ทหารเรือ ถนนอรุณอัมรินทร์ ดำเนินการในวันจันทร์ ที่ 29 ส.ค.เช่นกัน ตั้งแต่เวลา 09.30 น. ความยาวทั้งหมดประมาณ 100 เมตร ใช้กระสอบทรายใช้ประมาณ 8,000- 10,000 ใบ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 สิงหาคม 2565

“พลเอก ประวิตร” สั่งรับมือ 3 เดือน เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำภาคกลาง – อีสาน ปรับแผนขับเคลื่อนศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าดึงปชช.กลไกร่วมแก้วิกฤตน้ำท่วม

,

“พลเอก ประวิตร” สั่งรับมือ 3 เดือน เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำภาคกลาง – อีสาน
ปรับแผนขับเคลื่อนศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าดึงปชช.กลไกร่วมแก้วิกฤตน้ำท่วม

“พลเอก ประวิตร” ห่วงประชาชนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด รับมือฝน 3 เดือนที่เหลือ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำภาคกลาง – อีสาน อย่างใกล้ชิด ไฟเขียวปรับโครงสร้างและรูปแบบของศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าแก้วิกฤตน้ำท่วม เพิ่มกลไกภาคประชาชนร่วมจัดการน้ำหลาก เตือนภัย แก้ไขปัญหาและการช่วยเหลือได้รวดเร็วทันเหตุการณ์

วันนี้ (26 ส.ค.65) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุม กอนช.ครั้งที่ 1/2565 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เป็นต้น ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล โดยสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ในช่วงฤดูฝนในปีนี้ ที่มีปริมาณฝนมากและมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาอุทกภัยในบางพื้นที่ได้ พร้อมทั้งได้สั่งการให้ดำเนินงานตามมาตรการที่วางแผนไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างทั่วถึง
ที่ประชุม กอนช. เห็นชอบโครงสร้างและรูปแบบการดำเนินการของศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ และเห็นผลเป็นรูปธรรม โดยได้กำหนดกรอบโครงสร้างการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก คือ ส่วนอำนวยการ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประเมินสถานการณ์ และแจ้งเตือนภัย พร้อมทั้งรายงานและเสนอความเห็นต่อผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า กลุ่มที่ 2 ส่วนปฏิบัติการ/เผชิญเหตุ เพื่อประสานงานและบูรณาการข้อมูลในการเตรียมความพร้อมทั้งสรรพกำลัง เครื่องมืออุปกรณ์ แผนปฏิบัติการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และกลุ่มที่ 3 ส่วนสนับสนุน การปฏิบัติงานด้านการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การแจ้งเตือนและระบบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปัญหาอุทกภัย

พลเอก ประวิตร ยังเน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือตามกรอบโครงสร้างและรูปแบบการดำเนินการตั้งศูนย์ส่วนหน้าในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยเฉพาะในระยะนี้ต้องติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพิเศษ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัย ได้กำชับให้มีแผนเผชิญเหตุเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้ทันท่วงที พร้อมทั้งให้ปรับอำนาจหน้าที่ให้หน่วยงานและภาคเอกชน ที่ไม่ได้อยู่ในศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าฯ สามารถเข้ามาบูรณาการการทำงานร่วมกันได้ อย่างไรก็ตาม เกณฑ์การพิจารณาว่าจะตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในแต่ละพื้นที่หรือไม่นั้น ให้พิจารณาจากการคาดการณ์สภาพอากาศ การคาดการณ์ปริมาณน้ำฝน การคาดการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ และการคาดการณ์ปริมาณน้ำท่าในลำน้ำต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินล่วงหน้าว่ามวลน้ำที่เกิดผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 สิงหาคม 2565

“ส.ส.วีระกร” เสนอสภาพัฒน์ฯปรับปรุงแผนพัฒนาศก.ฉบับ13 เน้นพัฒนาตรงจุด สร้างแหล่งน้ำ-ผลิตปุ๋ยเพื่อส่งเสริมเกษตรให้แข็งแรง

, ,

“ส.ส.วีระกร” เสนอสภาพัฒน์ฯปรับปรุงแผนพัฒนาศก.ฉบับ13 เน้นพัฒนาตรงจุด สร้างแหล่งน้ำ-ผลิตปุ๋ยเพื่อส่งเสริมเกษตรให้แข็งแรง

เมื่อวันที่ 25 ส.ค. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายวีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวตอนหนึ่งในการให้เสนอข้อคิดเห็น (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ว่า ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยเฉพาะ เรื่องบริบทการพัฒนาประเทศในมติด้านเศรษฐกิจ แต่การพัฒนาหรือการจัดสรรงบประมาณในแผนพัฒนาเศรษฐกิจในฉบีบก่อนหน้าที่ผ่านมา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ไม่ได้มีการนำงบประมาณมาจัดสรรทรัพยากรของประเทศให้เกิดความเหมาะสม เห็นว่าควรพิจารณาบรรจุการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น โดยเฉพาะระบบชลประทานในระดับต้นๆ เพราะความต้องการใช้น้ำของประชากรยังมีอยู่มาก และหลายพื้นที่ขาดแคลน ทั้งที่มีระบบฐานข้อมูลที่ชี้ชัดอยู่แล้ว

นายวีระกร กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ระบบชลประทานที่มีข้อมูลอยู่แล้ว โดยเฉพาะในภาคกลางทั้งหมดเกิดการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปีละกว่า 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แม้จะมีระบบชลประทาน แต่ไม่มีน้ำต้นทุน ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีโครงการผันน้ำยวม เพื่อเติมน้ำต้นทุนได้ปีละกว่า 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยที่มีบริษัทรัฐบาลจีนเข้ามาลงทุนให้ ด้วยงบลงทุนกว่า 40,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังร่วมถึงปัญหาเรื่องปุ๋ยทางการเกษตร ที่มีความต้องการใช้ เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร แต่ประเทศไทยกลับไม่มีโรงงานปุ๋ย ทั้งที่ประเทศไทยมีทรัพยากรที่พร้อมทุกด้าน ทั้งโปแตสเซียม กว่า 4 แสนล้านตันที่มีผู้ได้รับสัมปทานอยู่ในจังหวัดอุดรธานี และชัยภูมิ แต่ประเทศกลับไม่มีความมั่นคงทางปุ๋ยเคมี จึงทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากราคาปุ๋ยราคาแพงในทุกปี

นายวีระกร กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ยังรวมถึงการลดงบประมาณด้านพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต่างๆ ที่ประเทศไทยมีกว่า 20,000 สายพันธุ์ ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาในระดับโลกได้ เห็นได้จากค่าจีดีพีไตรมาสที่ 1 โตเพียง 2.3 ไตมาสที่ 2 โต 2.5 ในขณะที่เวียดนาม ไตรมาสที่ 1 โต 5.1 และไตรมาส 2 7.7 % มาเลเซีย ไตรมาสที่ 1 8.9 นั่นเท่ากับว่าเราด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านทั้งที่เรามีทรัพยากรมากกว่าประเทศเหล่านี้ ดังนั้นจึงขอให้สภาพัฒน์ฯ มองปัญหาที่แท้จริงของประเทศ ไม่ใช่มองบนแค่พื้นฐานทั่วไป แต่ไม่ได้มองว่าประเทศไทยจะใช้ทรัพยากรอย่างไร

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565

ส.ส.พปชร.กทม. ขอบคุณ กทม. จัดสรรงบปรับปรุงท่อระบายน้ำ ซ.กรุงเทพกรีฑา-ถ.ลาดพร้าว หนุนจัดงบต่อเนื่องแก้ไขปัญหาย่านอื่น

, , ,

ส.ส.พปชร.กทม. ขอบคุณ กทม. จัดสรรงบปรับปรุงท่อระบายน้ำ ซ.กรุงเทพกรีฑา-ถ.ลาดพร้าว หนุนจัดงบต่อเนื่องแก้ไขปัญหาย่านอื่น

พรรคพลังประชารัฐ โดย “ส.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ พปชร.กทม. เขต 13” หารือประธานสภาผู้แทนราษฎร์ ไปยังกรุงเทพมหานคร ที่จัดสรรงบประมาณปรับปรุงท่อระบายน้ำในซอยกรุงเทพกรีฑา 8 แยก 3 และถนนลาดพร้าว 101 แยก 42 (ชุมชนเทพทวี ซอย 8) แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ซึ่งก่อนหน้าเคยหยิบยกขึ้นหารือผ่านสภาผู้แทนราษฎรมา 2 ปี อย่างไรก็ตามทาง กทม. ได้จัดสรรงบประมาณให้แล้วในปีนี้ และดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหวังว่าในปีงบประมาณต่อไปจะได้รับการจัดสรรงบประมาณให้กับถนนเส้นอื่นๆ ทั้งนี้ ได้ขอเสนอให้ กทม. มีการตรวจสอบการจัดสรรงบประมาณปี 2566 ที่กระจายไปยังสำนักงานเขตต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อทำโครงการอบรมสัมนาให้กับพี่น้องประชาชน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส หรือเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มคนใดคนหนึ่ง เพราะเงินที่จะนำไปใช้เป็นเงินภาษีของประชาชน

นอกจากนี้ ยังหารือไปยังผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ เพื่อขอให้ปรับปรุงรั้วโครงการบ้านเอื้ออาทรหัวหมาก ที่ชำรุดทรุดโทรม เกรงว่าจะเกิดอันตรายกับผู้อยู่อาศัย รวมถึงการสร้างสนามเด็กเล่น ลานออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุ และท่อน้ำดี โดยหากผู้ว่าการเคหะฯ รับเรื่องแล้ว ก็ยินดีที่จะนำลงพื้นที่ไปตรวจสอบก่อนดำเนินการแก้ไข

พรรคพลังประชารัฐ เดินหน้าในการเข้าถึงดูแลประชาชนเป็นไปตามนโยบาย ที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้กินดีอยู่ดี พร้อมการเข้าไปรับฟังปัญหา ความเดือดร้อนนำมาสู่การแก้ไขต่อไป โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565

ส.ส.พปชร. เยียวยาปชช.ที่ได้รับผลกระทบเพลิงไหม้ รง.รีไซเคิลจ.ราชบุรี บูรณาการหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพน้ำสาธารณะ

, ,

ส.ส.พปชร. เยียวยาปชช.ที่ได้รับผลกระทบเพลิงไหม้ รง.รีไซเคิลจ.ราชบุรี บูรณาการหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพน้ำสาธารณะ

“ส.ส.บุญยิ่ง นิติกาญจนา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร. ) จ.ราชบุรี” ได้หารือประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการโรงงานรีไซเคิล ในพื้นที่ตำบลน้ำพุ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เร่งเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงาน พร้อมเข้าตรวจสอบคุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะที่อยู่ในพื้นที่ เนื่องจากโรงงานที่เกิดเพลิงไหม้มีโรงเก็บถังน้ำมัน และถังสารเคมี ที่มีการฉีดน้ำเพื่อสกัดเพลิงเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดควันและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่และน้ำที่ใช้ไหลลงแหล่งน้ำสาธารณะ ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความกังวลในเรื่องของคุณภาพน้ำและไม่ใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคหรือทำการเกษตร

พรรคพลังประชารัฐ เดินหน้าในการเข้าถึงดูแลประชาชนเป็นไปตามนโยบาย ที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้กินดีอยู่ดี พร้อมการเข้าไปรับฟังปัญหา ความเดือดร้อนนำมาสู่การแก้ไขต่อไป โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565

ส.ส.พปชร.นครศรีธรรมราช เสนอแขวงการทาง ปรับระบบจราจรสามแยกลาดนิคมเป็นสี่แยกเชื่อมทางหลวง ย่นระยะทางขนส่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์เพิ่มความสะดวกให้ประชาชน

, ,

ส.ส.พปชร.นครศรีธรรมราช เสนอแขวงการทาง ปรับระบบจราจรสามแยกลาดนิคมเป็นสี่แยกเชื่อมทางหลวง ย่นระยะทางขนส่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์เพิ่มความสะดวกให้ประชาชน

“ส.ส.รงค์” นครศรีธรรมราช เขต 1 พลังประชารัฐ ขอความร่วมมือหน่วยงานเกี่ยวข้อง แก้ไขเส้นทางสามแยกลาดนิคม เทศบาลนครศรีธรรมราช เป็นสี่แยก เชื่อมต่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 เพื่อย่นระยะทางจากตัวเมืองไปอีกหลายตำบล เพื่อรองรับการเดินทางด้านโลจิสติกส์

พรรคพลังประชารัฐ โดย “ส.ส.รงค์ บุญสวยขวัญ พปชร. จ.นครศรีธรรมราช” หารือประธานสภาผู้แทนราษฎร์ ไปยังแขวงการทางนครศรีธรรมราช เทศบาลนครศรีธรรมราช และผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีการบูรณาความร่วมมือเปลี่ยนถนนสามแยกลาดนิคม เทศบาลนครศรีธรรมราช ให้เป็นสี่แยกลาดนิคม ที่ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นอุปสรรคในการเดินทางเข้าออกเมือง เนื่องจากลักษณะของถนนที่เป็นแบบสามแยก คล้ายกับถนนถูกบล๊อกการเดินทาง จึงทำให้การเดินทางของประชาชนในพื้นที่ไม่สะดวก

ทั้งนี้ หากเปลี่ยนมาสามแยกมาเป็นสี่แยก เพื่อเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 สายแยกโคกเคียน – นครศรีธรรมราช จะช่วยลดอุบัติเหตุและย่นระยะทางการเดินทางของชาวบ้านในตัวเมืองและในพื้นที่ตำบลนาวง, ท่าซัก, ปากพูน และท่าแพ โดยไม่ต้องมีถนนบล๊อกกันเหมือนที่ผ่านมา และยังรองรับระบบขนส่งโลจิสติกส์ในอนาคต อย่างไรก็ดี มองว่าโครงการดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการร่วมมือกันทุกภาคส่วน ซึ่งหากทำได้ก็จะเป็นตัวอย่างของการบูรณาการในเชิงพื้นที่ท้องถิ่น เพื่อให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

พรรคพลังประชารัฐ เดินหน้าในการเข้าถึงดูแลประชาชนเป็นไปตามนโยบาย ที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้กินดีอยู่ดี พร้อมการเข้าไปรับฟังปัญหา ความเดือดร้อนนำมาสู่การแก้ไขต่อไป โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565

ส.ส.พปชร.ชลบุรี เสนอหน่วยงานเพิ่มความปลอดภัยตรวจจุดเสี่ยง-ล่อแหลม สร้างความปลอดภัย ปชช.

, ,

ส.ส.พปชร.ชลบุรี เสนอหน่วยงานเพิ่มความปลอดภัยตรวจจุดเสี่ยง-ล่อแหลม สร้างความปลอดภัย ปชช.

“ส.ส.จองชัย วงศ์ทรายทอง พปชร.จ.ชลบุรี” หารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร์ กรณีความไม่ปลอดภัยของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดใกล้เคียง จึงขอให้สถานีตำรวจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดอื่นๆ รวมถึงแขวงทางหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เน้นย้ำดูแลในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่จุดล่อแหลม หรือสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเหตุร้าย เช่น บริเวณสะพานลอยคนข้าม ตามตรอกซอกซอย และถนนหลักต่างๆ พบว่ามีไฟฟ้าดับและแสงสว่างไม่เพียงพอหลายจุด รวมถึงกล้องวงจรปิดเสีย คนเร่รอนอาศัยหลับนอน กลุ่มวัยร่นมั่วสุม แข่งขันรถ เปิดเพลงส่งเสียงดังในพื้นที่สาธารณะ สร้างความรำคาญให้กับผู้คนบริเวณนั้นรวมถึงผู้ที่สัญจรไปมา โดยเฉพาะทำให้เด็กนักเรียนและสุภาพสตรีเกิดความหวาดกลัวรู้สึกไม่ปลอดภัย จึงอยากให้หน่วยงานที่ดังกล่าวออกตรวจตราในจุดเสี่ยงต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการป้องปรามเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น และสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชน

นอกจากนี้ ยังได้หารือเรื่องการแก้ไขเรื่องราคาน้ำมันแพง จึงของให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เร่งรัดและพิจารณาเรื่องการที่ ปตท. สนับสนุนเรื่องเงินงบประมาณ 3,000 ล้านบาท เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ว่าจะมีช่องทางรับเงินสนับสนุนโดยมีระเบียบใด หรือต้องทำอย่างไร เพื่อประชาชนจะได้ใช้น้ำมันราคาที่ถูกลง ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการที่รัฐของความร่วมมือกลุ่มโรงงานกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซธรรมชาตินำส่งกำไรส่วนหนึ่งจากค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลและเบนซินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงวิกฤตราคาน้ำมันแพง เพื่อนำมาใช้ในการบริหารราคาน้ำมันดีเซลในประเทศ จึงขอให้กรมบัญชีกลางเร่งพิจารณาเรื่องการรับเงินให้ถูกระเบียบโดยด่วน

พรรคพลังประชารัฐ เดินหน้าในการเข้าถึงดูแลประชาชนเป็นไปตามนโยบาย ที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้กินดีอยู่ดี พร้อมการเข้าไปรับฟังปัญหา ความเดือดร้อนนำมาสู่การแก้ไขต่อไป โดยมี
เป้าหมายชัดเจนในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและยั่งยืน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” เดินหน้าแผนบริหารภัยพิบัติฉบับใหม่ เร่งบูรณาการณ์ตั้งระบบแจ้งเตือนภัยส่งตรงถึงประชาชน

, ,

“พล.อ.ประวิตร” เดินหน้าแผนบริหารภัยพิบัติฉบับใหม่ เร่งบูรณาการณ์ตั้งระบบแจ้งเตือนภัยส่งตรงถึงประชาชน

วันที่ 25 ส.ค.65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุม คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กภช.) ครั้งที่1/2565 ที่ประชุมได้เห็นชอบ (ร่าง)แผนยุทธศาสตร์การบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570 ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านการบริหารการเตือนภัย ด้วยดิจิทัลแบบบูรณาการที่มีมาตรฐานสากล” ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก และสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี รวมถึงการเห็นชอบการดำเนินการแจ้งเตือนภัยโดยใช้ระบบ Cell Broadcast ที่มีการแจ้งเตือนภัยไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่สามารถระบุพิกัดของพื้นที่แจ้งเตือนได้และยังกระจายข้อมูลไปยังอุปกรณ์สื่อสารจำนวนมากในการส่งเพียงครั้งเดียว ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเตือนภัยให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ กิจการกระจายเสียง, กิจการโทรทัศน์, กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, กรมอุตุนิยมวิทยา, กรมชลประทาน, สทนช. และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อีกด้วย

ทั้งนี้พล.อ.ประวิตร จึงได้กำชับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย รวมทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน อย่างมีเอกภาพ เพื่อยกระดับการแจ้งเตือนสู่ระดับที่สูงขึ้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและปฏิบัติงานได้จริง เพื่อลดความเสี่ยง ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างมหาศาล จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว อาทิ น้ำท่วมฉับพลัน ไฟป่า แผ่นดินไหวหรือ
สึนามิ เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบถึงความคืบหน้าการถ่ายโอนศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จาก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)ไปสังกัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ 15 ก.ย.59 เป็นต้นมา ซึ่งจะทำหน้าที่ เป็นศูนย์เตือนภัยโดยจะปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในภาวะปกติ ภาวะที่มีความเสี่ยง และภาวะที่มีการเกิดภัยพิบัติ โดยการเฝ้าระวังที่มีช่องทางการแจ้งเตือนต่างๆ ทั้งนี้ในการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า ทั้งในด้านเพื่อการรับมือและอพยพปรเชาชน จะส่งผ่านไปยังอุปกรณ์การเตือนภัยประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หอเตือนภัยจำนวน 338 หอ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม จำนวน 163 แห่งารที่มีกติดตั้ง ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเขตทั้ง 18 เขต 70 จังหวัดและสถานีวิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัด จำนวน 285 แห่ง รับข้อมูลผ่านสัญญาณดาวเทียมและกระจายการแจ้งเตือนด้วยระบบคลื่นวิทยุไปยังหอเตือนภัยขนาดเล็กจำนวน 674 แห่ง และส่งถึงหอกระจายข่าวภายในชุมชน และหมู่บ้าน ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565

ส.ส.พปชร.ชัยภูมิ ร่วมขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน สร้างเศรษฐกิจฐานรากสู่ความเข้มแข็ง

,

ส.ส.พปชร.ชัยภูมิ ร่วมขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน สร้างเศรษฐกิจฐานรากสู่ความเข้มแข็ง

พรรคพลังประชารัฐ โดย “ส.ส.เชิงชาย ชาลีรินทร์ พปชร. จ.ชัยภูมิ” ร่วมกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ท่านอนุชา นาคาศัย พร้อมคณะ เปิดงานกิจกรรมส่งเสริมและสร้างโอกาสในการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน เพื่อผลักดันและส่งเสริมในการขับเคลื่อนวิหสากิจชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้ชาวบ้านให้มีความเข้มแข็ง

ทั้งนี้ นายอนุชา และ ส.ส.เชิงชาย ได้เยี่ยมชมกิจกรรมและบูธแสดงสินค้าจากชุมชนต่างๆ พร้อมร่วมพูดคุยและรับฟังปัญหาอุปสรรค รวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ จากชาวบ้าน เพื่อนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป สอดคล้องกับยนโยบายของพรรคพลังประชารัฐ ที่ต้องการให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

พรรคพลังประชารัฐ เดินหน้าในการเข้าถึงดูแลประชาชนเป็นไปตามนโยบาย ที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้กินดีอยู่ดี พร้อมการเข้าไปรับฟังปัญหา ความเดือดร้อนนำมาสู่การแก้ไขต่อไป โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและยั่งยืน


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565

ส.ส.พปชร.เพชรบูรณ์ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย มอบอาหาร-น้ำดื่ม ช่วยเหลือเบื้องต้น

,

ส.ส.พปชร.เพชรบูรณ์ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย มอบอาหาร-น้ำดื่ม ช่วยเหลือเบื้องต้น

พรรคพลังประชารัฐ โดย “นายจักรรัตน์ พั้วช่วย พปชร. จ.เพชรบูรณ์” พร้อมด้วยทีมงาน ลงพื้นที่บ้านศรีสะอาด ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อนำอาหารและน้ำดื่มไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากพายุพัดถล่มในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้น้ำท่วมบ้านเรือนที่อยู่อาศัย สร้างความยากลำบากในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก

การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและแบ่งเบาภาระด้านความเป็นอยู่ให้กับพี่น้องประชาชนและพระภิกษุสงฆ์ในพื้นที่ ให้ได้รับความสะดวกในเรื่องของอาหารการกิน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของพรรคพลังประชารัฐ ที่ต้องการให้คนไทยทุกคนกินดีอยู่ดีและมีความเป็นอยู่ที่ดี

พรรคพลังประชารัฐ เดินหน้าในการเข้าถึงดูแลประชาชนเป็นไปตามนโยบาย ที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้กินดีอยู่ดี พร้อมการเข้าไปรับฟังปัญหา ความเดือดร้อนนำมาสู่การแก้ไขต่อไป โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและยั่งยืน


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565