โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

“พล.อ.ประวิตร” เดินหน้าแผนบริหารภัยพิบัติฉบับใหม่ เร่งบูรณาการณ์ตั้งระบบแจ้งเตือนภัยส่งตรงถึงประชาชน

“พล.อ.ประวิตร” เดินหน้าแผนบริหารภัยพิบัติฉบับใหม่ เร่งบูรณาการณ์ตั้งระบบแจ้งเตือนภัยส่งตรงถึงประชาชน

วันที่ 25 ส.ค.65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุม คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กภช.) ครั้งที่1/2565 ที่ประชุมได้เห็นชอบ (ร่าง)แผนยุทธศาสตร์การบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570 ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านการบริหารการเตือนภัย ด้วยดิจิทัลแบบบูรณาการที่มีมาตรฐานสากล” ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก และสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี รวมถึงการเห็นชอบการดำเนินการแจ้งเตือนภัยโดยใช้ระบบ Cell Broadcast ที่มีการแจ้งเตือนภัยไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่สามารถระบุพิกัดของพื้นที่แจ้งเตือนได้และยังกระจายข้อมูลไปยังอุปกรณ์สื่อสารจำนวนมากในการส่งเพียงครั้งเดียว ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเตือนภัยให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ กิจการกระจายเสียง, กิจการโทรทัศน์, กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, กรมอุตุนิยมวิทยา, กรมชลประทาน, สทนช. และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อีกด้วย

ทั้งนี้พล.อ.ประวิตร จึงได้กำชับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย รวมทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน อย่างมีเอกภาพ เพื่อยกระดับการแจ้งเตือนสู่ระดับที่สูงขึ้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและปฏิบัติงานได้จริง เพื่อลดความเสี่ยง ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างมหาศาล จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว อาทิ น้ำท่วมฉับพลัน ไฟป่า แผ่นดินไหวหรือ
สึนามิ เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบถึงความคืบหน้าการถ่ายโอนศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จาก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)ไปสังกัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ 15 ก.ย.59 เป็นต้นมา ซึ่งจะทำหน้าที่ เป็นศูนย์เตือนภัยโดยจะปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในภาวะปกติ ภาวะที่มีความเสี่ยง และภาวะที่มีการเกิดภัยพิบัติ โดยการเฝ้าระวังที่มีช่องทางการแจ้งเตือนต่างๆ ทั้งนี้ในการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า ทั้งในด้านเพื่อการรับมือและอพยพปรเชาชน จะส่งผ่านไปยังอุปกรณ์การเตือนภัยประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หอเตือนภัยจำนวน 338 หอ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม จำนวน 163 แห่งารที่มีกติดตั้ง ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเขตทั้ง 18 เขต 70 จังหวัดและสถานีวิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัด จำนวน 285 แห่ง รับข้อมูลผ่านสัญญาณดาวเทียมและกระจายการแจ้งเตือนด้วยระบบคลื่นวิทยุไปยังหอเตือนภัยขนาดเล็กจำนวน 674 แห่ง และส่งถึงหอกระจายข่าวภายในชุมชน และหมู่บ้าน ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2565

" , ,