โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรมพรรค

“ส.ส. พัชรินทร์” เสนอกทม.เร่งติดตั้งสัญญาณไฟคนข้ามทางม้าลายเขตสาทร

,

“ส.ส. พัชรินทร์” เสนอกทม.เร่งติดตั้งสัญญาณไฟคนข้ามทางม้าลายเขตสาทร ลดปัญหาอุบัติเหตุซ้ำซากเพิ่มความปลอดภัย ดูแลประชาชนบนท้องถนน

ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม.เขตปทุมวัน-สาทร-บางรัก พรรคพลังประชารัฐ(พปชร. ) หารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร กรณีสัญญาไฟจราจรบริเวณทางม้าลายคนข้ามถนนเจริญราษฎร์ ระหว่างชุมชนบ้านแบกและชุมชนโรงน้ำแข็ง เขตสาทร กทม.เป็นจุดที่รถลงจากทางด่วนและรถยนต์ใช้ความเร็วสูง ทำให้เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ทั้งกรณีมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องได้นำเสนอผ่านสภาฯแล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่รับการดำเนินการใดๆ จึงขอฝากท่านประธานฯ ไปยังกทม.เพื่อพิจารณาและติดตั้งสัญญาณไฟจราจรคนข้าม รวมทั้งติดตั้งป้ายสัญญาณเตือนต่างๆ หรือเครื่องมือเตือน เพื่อให้ผู้สัญจรลดความเร็วในการขับขี่ ก่อนถึงบริเวณทางม้าลายจุดนี้ เพื่อให้พี่น้องประชาชนสามารถข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย

นอกจากนี้ได้หารือท่านประธานฯ ฝ่านไปยังการไฟฟ้านครหลวง เพื่อแก้ไขเสาไฟฟ้าไม้ ที่ทั้งเก่าและผุพัง เอียงพิงหลังคาบ้านของพี่น้องประชาชน บริเวณ ซ.รองเมือง 1 เกรงว่าจะก่อให้เกิดอันตรายกับพี่น้องประชาชนหากโค่นล้มลงมา บริเวณชุมชนการเคหะฯ บ่อนไก่ เขตประทุมวัน มีต้นไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมาได้ประสานงานและทำการตัดต้นไม้ เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน แต่ยังคงมีบางจุดยังมีแนวต้นไม้ละสายไฟอยู่ เกรงจะก่อให้เกิดอันตราย ไฟฟ้าลัดวงจร จึงขอให้การไฟฟ้านครหลวง ดำเนินการตัดต้นไม้บริเวณริมถนนโดยรอบศูนย์เยาวชนบ่อนไก่ เพื่อความปลอดภัยของผู้สัญจร และบ้านเรือนที่อยู่ริมถนน

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 4 กุมภาพันธ์ 2565

“พัชรินทร์” ขอบคุณสภาฯรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันผิดซ้ำในคดีอุกฉกรรจ์

,

“พัชรินทร์” ขอบคุณสภาฯรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันผิดซ้ำในคดีอุกฉกรรจ์ พร้อมกลั่นกรองวาระ 2 ทันที เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม.เขต 2 ปทุมวัน บางรัก สาทร และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ ขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เห็นความสำคัญและร่วมกันผ่าน “ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ….” ที่ตน พร้อมด้วยสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ได้เสนอ รวมทั้งร่างของ ครม. ในวาระที่ 1 รับหลักการ ด้วยมติ 277 เสียงสนับสนุน จากผู้ลงมติทั้งหมด 286 เสียง ซึ่งหวังว่าจะได้เร่งพิจารณากฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ และเป็นเกราะคุ้มกัน ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่ม เด็กเยาวชน ผู้หญิง ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ที่มักตกเป็นเหยื่อความรุนแรง ด้วยข้อจำกัดทางกายภาพ และสรีระร่างกาย

ดร.พัชรินทร์ กล่าวว่า ทั้งนี้ ต้องขอขอบพระคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ที่เห็นถึงความสำคัญของปัญหาการใช้ความรุนแรง การก่อเหตุอาชญากรรม ที่นับวันจะยิ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนในทุกมิติ โดยได้ร่วมกันลงมติผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวในวาระที่ 1 ซึ่งตนพร้อมจะกลั่นกรองในวาระที่ 2 ร่วมกับเพื่อนสมาชิก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนทุกกลุ่ม

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 2 กุมภาพันธ์ 2565

“พล.อ.ประวิตร” เร่งมาตรการดูแลคนข้ามทางม้าลาย เพิ่มโทษผู้ขับขี่ผิด กม.

,

“พล.อ.ประวิตร”เร่งมาตรการดูแลคนข้ามทางม้าลาย เพิ่มโทษผู้ขับขี่ผิดกม.-สร้างจิตสำนึกการใช้รถใช้ถนน

พล.อ.ประวิตร มอบศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการใช้รถใช้ถนน เร่งสร้างกระแสการรับรู้ ด้านความปลอดภัยทางถนนทั่วประเทศ

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (1 ก.พ. 2565) ว่าคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติได้เห็นชอบมาตรการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากกรณี รถจักรยานยนต์ชนคนเดินข้ามถนนบริเวณทางข้าม ดังนี้

1. มาตรการด้านกฎหมาย โดยเพิ่มโทษกรณีผู้ขับขี่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามสัญญาณหรือเครื่องหมายจราจรการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย จัดให้มีข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับประวัติและการกระทำความผิดของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ข้อมูลทะเบียนรถและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง เพิ่มฐานความผิดกรณีฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรให้เป็นฐานความผิดที่ต้องบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถเพื่อตัดคะแนนความประพฤติเมื่อผู้ขับขี่กระทำผิด

2. มาตรการด้านถนนด้วยการจัดทำมาตรฐานทางข้ามที่มีความปลอดภัย สำรวจมาตรฐานวิศวกรรมจราจร บริเวณทางข้ามเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข อาทิ การตีเส้นหยุดและการจัดทำป้ายเตือนให้หยุด หรือให้ทางแก่คนเดินข้าม การติดตั้งสัญญานไฟจราจรเพื่ออำนวยความปลอดภัยสำหรับคนข้าม การตีเส้นสีจราจรก่อนถึงทางข้ามเพื่อให้ลดความเร็ว การจัดทำเครื่องหมายจราจรบนพื้นผิวทางข้ามให้มีความชัดเจน ทั้งเส้นทางข้าม และข้อความบนพื้นทาง และจัดให้มีไฟส่องทางทั่วประเทศ

3. มาตรการด้านผู้ใช้รถใช้ถนน เช่น การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการข้ามถนนที่ปลอดภัยให้กับประชาชนทุกกลุ่ม การพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนโดยเน้นการให้ความรู้ และเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ เกี่ยวกับการข้ามทางที่ปลอดภัยในทุกช่วงวัย ตลอดจนการปลูกฝั่งเพื่อสร้างความตระหนักรู้ ทั้งในรูปแบบสื่อสร้างสรรค์ และ รูปแบบออนไลน์

ทั้งนี้ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้มอบหมายคณะอนุกรรมการด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการใช้รถใช้ถนน เร่งสร้างกระแสการรับรู้และความตระหนักด้านความปลอดภัยทางถนน นอกจากนี้ได้มอบหมายให้อนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน 8 คณะ เร่งนำมาตรการข้างต้นไปขับเคลื่อนและนำเสนอผลการดำเนินงานให้รับทราบโดยเร็วต่อไป

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 1 กุมภาพันธ์ 2565

อธิรัฐ ให้เจ้าท่าดำเนินการตามกฎหมายกับบริษัทฯ รับผิดชอบความเสียหาย

,

“อธิรัฐ ให้เจ้าท่าดำเนินการตามกฎหมายกับบริษัทฯ รับผิดชอบความเสียหายครอบคลุมทุกด้าน พร้อมเร่งขจัดคราบน้ำมันโดยเร็ว”

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 เวลา 10.30 น. ดร.อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง ตามข้อสั่งการท่านนายกรัฐมนตรี เพื่อติดตามสถานการณ์และการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบกรณีน้ำมันดิบรั่วไหล ท่าเรือมาบตาพุด ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการฉีดพ่นน้ำยาขจัดคราบน้ำมันทั้งทางเรือและเฮลิคอปเตอร์ และสามารถลดปริมาณคราบน้ำมันและควบคุมให้อยู่ในวงจำกัด

สำหรับการช่วยเหลือเยียวยา โดยเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนแล้ว เพื่อให้บริษัทฯ รับผิดชอบชดใช้ความเสียหายในทุกมิติ ประกอบด้วย

• ด้านสังคม : วิถีชีวิตชาวประมง กิจกรรมทางน้ำต่างๆ สภาพจิตใจของประชาชนบริเวณน้ัน ทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน กระทบต่อความเช่ือมั่นของผู้บริโภคอาหารทะเลบริเวณน้ัน
• เศรษฐกิจ : กระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สูญเสียโอกาสในการใช้ทรัพยากรปิโตรเลียม ความเช่ือมั่นด้านการขนส่งน้ำมัน รายได้ของชาวประมง
• สิ่งแวดล้อม : ระบบนิเวศทางทะเลและสัตว์น้ำ กระทบต่อชายหาดปนเปื้อน มีกลิ่นเหม็น และสิ่งมีชิวิตบริเวณชายฝั่ง

ทั้งนี้ บริษัทฯ ยืนยันพร้อมเยียวยาทั้งในระยะเร่งด่วน ระยะสั้น และระยะยาว พร้อมตั้งศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์สำหรับผู้ได้รับผลกระทบ เบอร์โทรศัพท์ 038-699090

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 28 มกราคม 2565

อธิรัฐ รมช.คมนาคม สั่งการเจ้าท่า ปฏิบัติการตามแผนแห่งชาติฯ รับมือน้ำมันดิบรั่วไหล

,

“อธิรัฐ รมช.คมนาคม สั่งการเจ้าท่า ปฏิบัติการตามแผนแห่งชาติฯ รับมือน้ำมันดิบรั่วไหลที่มาบตาพุด”

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เผยว่าตนได้รับรายงาน เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 เวลาประมาณ 21.00 น. เกิดเหตุน้ำมันดิบรั่วไหล บริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกเดี่ยวกลางทะเล ท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง จากการตรวจสอบไม่พบผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จุดที่รั่วไหลนั้นทราบว่าเกิดจากท่อขนส่งน้ำมันดิบใต้ทะเล ปรากฎคราบน้ำมันครอบคลุมพื้นที่ กว้าง 200 เมตร ยาว 600 เมตร ส่วนปริมาณในการรั่วไหลยังไม่สามารถประเมินได้เนื่องจากขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน

ทั้งนี้ตนได้สั่งการด่วนที่สุดให้กรมเจ้าท่าปฏิบัติตาม “แผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ” โดยให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและยับยั้งไม่ให้น้ำมันเคลื่อนที่เข้าสู่ฝั่งเนื่องจากทิศทางลมพัดขึ้นไปทางด้านเหนือซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อพื้นที่จังหวัดระยองได้ รวมทั้งให้รายงานสถานการณ์และความคืบหน้าให้ทราบอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 26 มกราคม 2565

พล.อ.ประวิตร ลงพท.จ.ชัยนาทติดตามแผนรับมือภัยแล้ง เร่งรัดแผนพัฒนาแหล่งน้ำ

,

พล.อ.ประวิตร ลงพท.จ.ชัยนาทติดตามแผนรับมือภัยแล้ง เร่งรัดแผนพัฒนาแหล่งน้ำ-ป้อนภาคเกษตรให้มีเพียงพอ

เมื่อวันที่ 25 มกราคม ที่ห้องประชุมเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.ชัยนาทและสิงห์บุรี เพื่อติดตามมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 64/65 และแผนบริหารจัดการการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา โดยมี นายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท กล่าวต้อนรับ นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) รายงานสถานการณ์น้ำในภาพรวมการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งและมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 64/65 และผู้แทนกรมชลประทาน นำเสนอแผนบริหารจัดการน้ำและแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า รัฐบาลมีความห่วงใยต่อสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแล้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์น้ำปัจจุบันของ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ข้อมูล 24 ม.ค.65) ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำใช้การรวมกันอยู่ที่ 6,616 ล้าน ลบ.ม. หรือ 36% โดยเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย สำหรับสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2 ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2564/65 พื้นที่ในเขตชลประทาน 22 จังหวัด ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำข้างเคียง มีการเพาะปลูกเกินแผน จึงได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและแผนบริหารจัดการการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา รวมถึงแผนการปลูกข้าวนาปรังในเขตพื้นที่ลุ่มต่ำที่ได้รับผลกระทบจากการผันน้ำเข้าทุ่งในช่วงอุทกภัยที่ผ่านมา เพื่อเร่งชดเชยผลกระทบเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำทำนาตลอดฤดูการเพาะปลูก

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำได้ตามแผนที่วางไว้ ได้กำชับให้ สทนช. กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และกระทรวงมหาดไทย ควบคุมการใช้น้ำให้เป็นไปตามแผนที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เห็นชอบ รวมทั้งให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดแผนงาน/โครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ ในพื้นที่ ที่ได้รับงบประมาณให้เสร็จโดยเร็ว โดยเฉพาะโครงการที่ได้รับงบกลางไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนโดยเร็ว พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ข้อมูลสถานการณ์น้ำเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง และเกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ทั้งนี้ รัฐบาลมุ่งหวังให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยังคงมุ่งมั่นบูรณาการขับเคลื่อนโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำในทุกมิติอย่างเป็นระบบและเกิดความมั่นคงด้านน้ำอย่างยั่งยืนต่อไป

นายชยันต์ กล่าวว่า นอกจากการติดตามแผนบริหารจัดการน้ำและการเพาะปลูกพืชลุ่มน้ำเจ้าพระยาแล้ว รองนายกรัฐมนตรี ยังได้ติดตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่มีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่เป็นการเร่งด่วน โดยมอบให้กรมชลประทาน เร่งดำเนินการเตรียมความพร้อมเรื่องที่ดิน การสำรวจ และออกแบบของโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ต.ประศุก และโครงการแก้มลิงหนองอ้อ จ.สิงห์บุรี โดยให้ สทนช. กำกับขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว อีกทั้งเน้นย้ำจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือสนับสนุนโครงการดังกล่าวให้เกิดขึ้นโดยเร็ว นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรี ยังได้ลงพื้นที่ติดตามโครงการซ่อมสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ต.ไม้ดัด อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี และโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าตำบลหัวป่า ที่กรมชลประทานได้ดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งสามารถช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกว่า 1,400 ไร่ ด้วย

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 25 มกราคม 2565

พล.อ.ประวิตรตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนมรดกโลก ส่งทะเลอันดามันขึ้นบัญชี

,

พล.อ.ประวิตรตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนมรดกโลก ส่งทะเลอันดามันขึ้นบัญชีทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (24 มกราคม 2565)ว่าจากการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเกี่ยวกับข้อมติคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 44 ปี 2564 ที่ให้ดำเนินการจัดทำรายงานสถานภาพการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก พื้นที่กลุ่มป่าดง พญาเย็น – เขาใหญ่และรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ในปี 2565 ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลกแสดงความยินดีที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยุติการขยายทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 348 และให้หาทางเลือกอื่นเพื่อทบทวนความจำเป็นและเหมาะสมในการก่อสร้างเขื่อน และอ่างเก็บน้ำในพื้นที่แหล่งมรดกโลก รวมถึงการยกเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนลำพระยาธาร เพื่อลดผลกระทบทางลบต่อคุณค่า ความโดดเด่น อันเป็นสากลของแหล่งมรดกโลก แต่ยังมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างเขื่อน และอ่างเก็บน้ำอื่นในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงว่าจะมีผลกระทบต่อคุณค่าและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่

โดยรายงานดังกล่าวจะเป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานความคิดริเริ่มและความมุ่งมั่นในการดำเนินงาน เพื่อปกป้อง คุ้มครอง และป้องกันให้คงคุณค่าความเป็นแหล่งมรดกโลก และไม่ให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน การนำเสนอพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันเป็นมรดกโลก ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้นำเสนอพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลก ดังนั้น เพื่อให้มีกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อนำเสนอพื้นที่ดังกล่าว ให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก คณะกรรมการแห่งชาติฯ จึงเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการนำเสนอพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันเป็นมรดกโลกขึ้น

พลเอก ประวิตรฯ ระบุการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก นอกจากจะสร้างความภาคภูมิใจ และความตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรของประเทศแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา – ๒๐๑๙ ให้กับชุมชนและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 24 มกราคม 2565

‘รมว.ตรีนุช’ เปิดโครงการ ‘อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ’ ตั้งเป้าดึงเด็ก 5.2 พัน

,

‘รมว.ตรีนุช’ เปิดโครงการ ‘อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ’ ตั้งเป้าดึงเด็ก 5.2 พัน เข้าระบบ

เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่วิทยาลัยการอาชีพป่าซาง จ.ลำพูน น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานในการเปิดโครงการ “สร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ” และร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ดึงเด็กยากจนเข้าสู่ระบบการศึกษา

น.ส.ตรีนุช กล่าวว่า โครงการนี้เป็นกิจกรรมต่อเนื่องกับโครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างโอกาสทางการศึกษา และการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ขาดโอกาสทางการศึกษาได้เข้าศึกษาต่อในสายอาชีพ ตามนโยบาย ศธ. ที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ในการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ตกหล่น จากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคบังคับ ได้เรียนต่อ 100% ซึ่งเป็นการผนึกกำลัง บูรณาการการทำงานภายในร่วมกันของ 4 หน่วยงานหลัก ประกอบด้วย สอศ. สพฐ. สช. และ กศน. ซึ่งรับผิดชอบกำกับดูแลเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กนักเรียนโดยตรง

“โครงการนี้ ทาง สอศ.ได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับปีการศึกษา 2565 ไว้แล้ว โดยสามารถให้การสนับสนุนน้องๆที่สนใจเข้าเรียนทางสายอาชีพในระดับประกาศณียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 5,200 คน ในวิทยาลัยการอาชีพ และวิทยาลัยเกษตร จำนวน 87 แห่ง โดยเป็นการเรียนฟรี และมีที่พักมาตรฐานให้พักฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลา3 ปีของการเรียน อีกทั้งยังสนับสนุนให้น้องๆ มีรายได้ผ่านการจัดทำโครงการหารายได้ระหว่างเรียน รวมถึงการหาแหล่งงานให้ทำภายหลังจบการศึกษาอีกด้วย คาดหมายว่าตลอด 10 ปีของโครงการ จะรับได้จำนวน 8 รุ่น จะมีน้องๆที่เข้าร่วมโครงการ ประมาณ 110,000 คน และภายใต้การดูแลของวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศใน 77 จังหวัด รวม169 แห่ง” น.ส.ตรีนุช กล่าว

น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อว่า ในปีการศึกษา 2565 เราจะเปิดทุกสาขาวิชาของระดับ ปวช. ที่สถานศึกษานั้นเปิดทำการสอนโดยจะเน้นให้ความสำคัญในภาคปฏิบัติ ส่วนวิชาสามัญที่เป็นพื้นฐานในการเรียนยังคงมีอยู่ แต่จะบูรณาการเข้ากับการเรียนเนื้อหาทางวิชาชีพ ในทางปฏิบัติ ทาง สอศ.จะประสานกับ สพฐ.เพื่อสำรวจนักเรียนที่กำลังจะจบการศึกษาม.3 ที่มีความประสงค์ในการเรียนต่อทางด้านสายอาชีพ แต่ครอบครัวขาดทรัพย์ที่จะให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นเด็กกลุ่มเป้าหมายหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำ และป้องกันเด็กตกหล่นจากระบบการศึกษา ให้เข้ารับการศึกษาสายอาชีพแทน

นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า สอศ.ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายศธ. ภายใต้โครงการ “อาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ” หรือ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ได้คัดเลือกสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการรับผู้เรียนเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 87 แห่ง ทั่วประเทศ โดยสามารถรับปริมาณนักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ ได้จำนวน 5,200 คน ระยะที่ 2 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 เพิ่มสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการรับผู้เรียนเข้าร่วมโครงการฯ ให้ได้จำนวนรวมทั้งสิ้น 169 แห่ง ทั่วประเทศ โดยสามารถสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน จำนวนรวมทั้งสิ้น 116,000 คน

“เด็กกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมโครงการ มี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นเด็กที่ตกหล่นจากระบบการศึกษาไปแล้ว คือ จบม.3 แล้วไม่ได้เรียนต่อ ซึ่งตกค้างมาหลายปี จะสามารถเข้ามาเรียนในโครงการนี้ได้ทั้งการศึกษานอกระบบและการศึกษาปกติ และกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่กำลังจะจบ ม.3 ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กกลุ่มนี้ตกหล่นจากระบบการศึกษาเนื่องจากวิเคราะห์แล้วพบว่ามีเด็กที่คาดว่าจะตกหล่นจากระบบการศึกษาด้วยสาเหตุหลักคือเรื่องของฐานะทางครอบครัวที่ยากจน และความไม่พร้อมในการศึกษา ถึงแม้จะมีโครงการเรียนฟรี15 ปี แต่ยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายในการเรียน ทั้งค่าอาหาร ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายอื่นอีก แต่โครงการนี้จะมีทั้งหอพักให้อยู่ฟรี มีอาหารเลี้ยง 3 มื้อ และยังให้เด็กทำงานหารายได้ระหว่างเรียนอีกด้วย “นายสุเทพ กล่าว

นายธีรศักดิ์ อรุณวัชรพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพป่าซาง จ.ลำพูน กล่าวว่า ทางวิทยาลัยการอาชีพป่าซางเน้นบริหารจัดการศึกษา ภายใต้แนวคิด “การอาชีพ…เพื่อชุมชน” ที่ต้องการส่งเสริมให้เด็กที่มีต้นทุนชีวิตไม่มาก ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อสายอาชีพ ซึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่ เป็นชนเผ่าชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ม้ง อาข่า กะเหรี่ยง จากดอยสูงสู่การเรียนรู้ 7 สาขาวิชาอาชีพ ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในศาสตร์ที่ผู้เรียนมีความสนใจ

สำหรับจำนวน 87 สถานศึกษาที่จะเปิดรับนักเรียนที่จบมัธยมศึกษาตอนต้น ในระยะแรก ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิค 1 แห่งวิทยาลัยการอาชีพ 39 แห่ง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 47 แห่ง แยกเป็นภูมิภาค ประกอบด้วยภาคเหนือ 26 แห่ง ภาคกลาง 19 แห่ง ภาคใต้ 19 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 แห่งภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร 5 แห่ง

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 22 มกราคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ตรวจพื้นที่พัฒนาแหล่งน้ำจ.เชียงราย แก้ไขปัญหาน้ำขาดแคลน

,

“พล.อ.ประวิตร” ตรวจพื้นที่พัฒนาแหล่งน้ำจ.เชียงราย แก้ไขปัญหาน้ำขาดแคลน

เมื่อวันที่ 21 มกราคม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ จ.เชียงราย ติดตามการบริหารจัดการน้ำภาคเหนือ และความก้าวหน้าการพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่เวียงหนองหล่ม ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติหนองมโนราห์ ต.จันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย โดยมีนายภาสกร บุญญลักษม์ ผวจ.เชียงราย กล่าวต้อนรับและสรุปข้อมูลการบริหารจัดการน้ำของจังหวัด ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขา สทนช. สรุปภาพรวมการบริหารจัดการน้ำของประเทศในพื้นที่ภาคเหนือ และ จ.เชียงราย และหน่วยงานเกี่ยวข้องสรุปผลการดำเนินงานในการพัฒนาเวียงหนองหล่มและพื้นที่โดยรอบจากนั้นคณะรองนายกฯ ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการขุดลอกหนองมโนราห์ และส่งมอบโครงการจัดหาน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภค เพื่อแก้ไขการขาดแคลนน้ำแก่ประชาชนในพื้นที่บ้านท่าข้าวเปลือก ต.ท่าข้าวเปลือก อ.แม่จัน พร้อมพบปะประชาชนในพื้นที่

พลเอกประวิตร กล่าวมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนและดำเนินการเพื่อให้ จ.เชียงราย มีความมั่นคงด้านน้ำ พร้อมทั้งให้ทุกหน่วยงานบูรณาการพัฒนาเวียงหนองหล่ม ให้สามารถเก็บกักน้ำได้เต็มศักยภาพในฤดูฝนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง รวมถึงการพัฒนาด้านอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้ โดยมอบหมายให้ สทนช. พิจารณาเร่งจัดทำและดำเนินการศึกษาแผนหลักพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูเวียงหนองหล่ม ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมตั้งกรอบวงเงินให้ครอบคลุมการพัฒนาตามแผนแม่บทฯ น้ำ 20 ปี โดยเฉพาะในมิติด้านทรัพยากรน้ำ ให้ สทนช.ติดตามกำกับ และประสานงานหน่วยงาน เช่น กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ดำเนินงานตามแผนงานให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนด ส่วนของการพัฒนาในมิติด้านอื่นๆให้สำนักงบประมาณ พิจารณาสนับสนุนงบประมาณตามแผนที่ จ.เชียงรายเสนอ

โดยหน่วยงานในพื้นที่เตรียมความพร้อมของโครงการในทุกมิติเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณ สำหรับแผนงานโครงการที่ได้รับงบประมาณแล้วให้หน่วยงานเร่งดำเนินงานให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด อาทิ การสำรวจและกันแนวเขตโบราณสถาน การรังวัด ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน การขุดลอกน้ำกกสายเก่า เป็นต้น รวมถึงสั่งการให้กรมชลประทาน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งประสานขออนุญาตการใช้พื้นที่ของโครงการอ่างฯแม่ตาช้าง อ่างฯแม่คำ และอ่างฯแม่แสลบ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านแหล่งน้ำให้แก่ประชาชน จ.เชียงราย นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรี ยังได้เดินทางไปยังศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงราย ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย เพื่อพบปะเกษตรกรชาวสวนลำไยจังหวัดเขียงราย และผู้แทนเกษตรกรชาวสวนลำไย 8 จังหวัดภาคเหนือ อีกด้วย

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 21 มกราคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ปลื้ม ไทยได้ประกาศเกียรติบัตรขึ้นทะเบียน กลุ่มป่าแก่งกระจาน มรดกโลก

,

“พล.อ.ประวิตร” ปลื้ม ไทยได้ประกาศเกียรติบัตรขึ้นทะเบียน กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ดันพื้นที่อันดามันต่อเนื่อง กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 20 มกราคม ที่ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ครั้งที่ 1/2565 ผ่านวีดิทัศน์ทางไกล (Video Conference) โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รมว.กระทรวงวัฒนธรรม นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ

พล.อ.ประวิตร ในฐานะประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เป็นประธานในการมอบประกาศเกียรติบัตรรับรองการขึ้นทะเบียน พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 เมื่อปี พ.ศ. 2564 โดยนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รับมอบ

ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบ (ร่าง) เอกสารการรายงานสถานภาพการอนุรักษ์ พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารดังกล่าวก่อนจัดส่งให้ศูนย์มรดกโลกเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ในปี พ.ศ. 2565 ต่อไป ทั้งนี้ การจัดทำเอกสารดังกล่าวเป็นการรายงานผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของราชอาณาจักรไทย ตามข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อปกป้อง คุ้มครอง และดูแลรักษาแหล่งมรดกโลกพื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น–เขาใหญ่ ให้คงคุณค่าสืบไป

นอกจากนี้ ยังเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการนำเสนอพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันเป็นมรดกโลกเพื่อขับเคลื่อนและกำกับ การดำเนินงานในการนำเสนอพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน ในพื้นที่จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต ให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ทั้งนี้ หากพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก นอกจากจะสร้างความภาคภูมิใจและความตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรให้กับประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังส่งเสริมการท่องเที่ยวและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนา – 19 ให้กับชุมชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย

พลเอกประวิตร กล่าวว่า วันนี้ ได้ให้ความเห็นชอบ เรื่องที่ได้มีการพิจารณาจำนวน 3 เรื่องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละเรื่อง นำความเห็นของ คณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ไปดำเนินการตามขั้นตอน ต่อไปและ ขอขอบคุณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทุกท่าน ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ ในการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อการดำเนินงานของ คณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเป็นอย่างดี

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 20 มกราคม 2565

พล.อ.ประวิตร เร่งพัฒนาท้องถิ่น ยกระดับคุณภาพชีวิตปชช. ประชุม อ.ก.บ.ภ.

,

พล.อ.ประวิตร เร่งพัฒนาท้องถิ่น ยกระดับคุณภาพชีวิตปชช. ประชุม อ.ก.บ.ภ. เห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ภาคกลางปี 66-70 มุ่งสู่ความเจริญ อย่างยังยืน

เมื่อ 19 ม.ค.65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาคกลาง (อ.ก.บ.ภ.ภาคกลาง) ครั้งที่1/ 2565 ณ ห้องประชุม 521 อาคาร 5 สศช. โดย พล.ต.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รองนายกรัฐมนตรีได้รายงานการ

ประชุมเห็นชอบ แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ภาคกลาง พ.ศ. 2566-2570 ทั้ง 17 จังหวัด และ 4 กลุ่มจังหวัด ประกอบด้วยภาคกลางตอนบน(6จังหวัด), ภาคกลางปริมณฑล(4จังหวัด), ภาคกลางตอนล่าง1 (3จังหวัด) และภาคกลางตอนล่าง2 (4จังหวัด) เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ และเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ/แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่13 (ปี66-70) และเห็นชอบแผนปฎิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ภาคกลางโดยมอบให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ติดตามผลการจัดสรรงบประมาณและบูรณาการแผนงานโครงการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้สอดคล้องแผนฯทรัพยากรน้ำของประเทศ พร้อมเร่งรัดโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลา อย่างเคร่งครัด

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ คณะอนุกรรมการฯ และทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้กำกับ ติดตามแผนงาน/โครงการให้เป็นไปตามมติ อ.ก.บ.ภ. ภาคกลางและนโยบายของ ก.บ.ภ.ซึ่งมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยยึดประชาชนในพื้นที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนา มีการบูรณาการทำงาน ร่วมกัน มุ่งผลสัมฤิทธิ์ให้ประชาชนได้รับประโยชน์โดยตรง ส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติ อย่างเป็นรูปธรรม ต่อไป

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 19 มกราคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” เตรียมลงชัยนาท-สิงห์บุรี ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง

,

“พล.อ.ประวิตร”เตรียมลงชัยนาท-สิงห์บุรี ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เร่งแผนบริหารจัดการน้ำช่วยเกษตรกรประชาชนลุ่มน้ำเจ้าพระยา

“พล.อ.ประวิตร” ห่วงสถานการณ์น้ำภาคกลางช่วงแล้ง เตรียมลงพื้นที่ชัยนาท-สิงห์บุรี 24 ม.ค.นี้ วางแผนจัดการน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค และการเกษตร หลังพบน้ำต้นทุน 4 หลักยังมีน้อย โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีแผนลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในภาพรวมในพื้นที่ภาคกลาง เพื่อรับฟังความก้าวหน้าการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตาม 9 มาตรการรองรับสถานการณ์แล้ง การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งและมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง 64/65 แผนบริหารจัดการการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา รวมถึงแผนการปลูกข้าวนาปรังในเขตพื้นที่พื้นที่ลุ่มต่ำที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในพื้นที่ จ.ชัยนาท และสิงห์บุรี หลังได้รับรายงานสถานการณ์น้ำ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิตติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำรวม 13,651 ล้าน ลบ.ม. หรือ 55% ของความจุอ่างฯ รวมกัน ปริมาณน้ำใช้การ 6,992 ล้าน ลบ.ม. หรือ 39% ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ปัจจุบันมีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 2,072 ล้าน ลบ.ม. โดยมีความเป็นห่วงพื้นที่กลางที่อาจจะประสบปัญหาในช่วงแล้งนี้ จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามแผนเพื่อให้ไม่กระทบกับกิจกรรมการใช้น้ำ โดยเฉพาะเรื่องน้ำอุปโภค-บริโภค

พร้อมทั้งได้กำชับให้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งมีหน้าที่ในการให้คำแนะนำ กำกับ ประสานการปฏิบัติ รวมถึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการ โดยคำนึงถึงแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงและแผนเผชิญเหตุรองรับสถานการณ์น้ำภัยแล้งในบางพื้นที่ไว้ล่วงหน้าด้วย รวมถึงเร่งรัดติดตามแผนงานโครงการการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอุปสรรคและบูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาด้านน้ำให้ประชาชนในพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ที่มา : facebook.com/PPRPThailand/
เมื่อวันที่ : 17 มกราคม 2565