โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

“พัชรินทร์” ขอบคุณสภาฯ คลอดกฎหมายป้องกันทำผิดซ้ำฯ ย้ำ มาตรการ “ฉีดไข่ฝ่อ” เป็นแค่ 1 ใน 13 มาตรการ ป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ เท่านั้น

“พัชรินทร์” ขอบคุณสภาฯ คลอดกฎหมายป้องกันทำผิดซ้ำฯ ย้ำ มาตรการ “ฉีดไข่ฝ่อ” เป็นแค่ 1 ใน 13 มาตรการ ป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ เท่านั้น

ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม. เขต2 และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะผู้เสนอร่างกฏหมายป้องกันกระทำผิดซ้ำฯ ควบคู่กับกระทรวงยุติธรรมกล่าวขอบคุณสภาฯ ที่ร่วมกันผ่านกฎหมายฉบับนี้ ด้วยมติเป็นเอกฉันท์ เห็นด้วย 292 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง และไม่ลงคะแนนเสียง 3 เสียง ซึ่งจะได้บังคับใช้ ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน อย่างแท้จริง โดยเฉพาะในมิติของความปลอดภัย ที่กฎหมายนี้ จะเป็นกลไกสร้างความเชื่อมั่นในชีวิต ของประชาชนทุกกลุ่มในสังคม รวมทั้งพัฒนาระบบการบำบัดฟื้นฟู ของกลุ่มนักโทษที่มีความรุนแรง

โดยก่อนหน้านี้ ดร.พัชรินทร์ ได้อภิปรายสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ว่า กฎหมายดังกล่าว มีขึ้นเพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์ ที่มีความรุนแรงใน 3 ความผิด

  1. ความผิดเกี่ยวกับเพศ เช่น การข่มขืนกระทำชำเราและอนาจาร
  2. ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เช่น ฆ่าคนตาย ทำร้ายร่างกายจนอันตรายสาหัส
  3. ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เช่น การเรียกค่าไถ่ โดยที่ผ่านมาการกระทำความผิดซ้ำประเทศไทย ยังไม่มีกลไกที่จะป้องกัน และแก้ไขปัญหาเหล่านี้ จึงเป็นที่มาต่อการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้

สำหรับการแก้ไขของวุฒิสภาทั้ง 12 มาตรา เมื่อพิจารณารายละเอียดแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงหลักๆ คือ ในมาตราที่ 21 มาตรการทางการแพทย์ ในประเด็นฉีดไข่ฝ่อ ที่สังคมและสื่อมวลชนให้ความสนใจ ซึ่งยังมีอีกหลายมาตรการนอกเหนือจากมาตรการทางการแพทย์ เช่น การเฝ้าระวังไม่เกิน 10 ปี / การติดกำไร EM / มาตรการคุมขังหลังพ้นโทษไม่เกิน 3 ปี หรือ การคุมขังไม่เกิน 7 วัน ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะมีคณะกรรมการพิจารณาว่าจะต้องบำบัดฟื้นฟูอย่างไร รวมถึงหลังการปล่อยตัวว่าจะเข้ามาตรการใด พร้อมยืนยันว่ามาตรการทางการแพทย์ เป็นเพียง 1 ใน 13 มาตรการที่จะนำมาป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ซึ่งในกฎหมายมาตราที่ 21 เป็นเรื่องการใช้มาตรการทางการแพทย์ให้ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างน้อย 2 คน โดยวุฒิสภาได้เพิ่มข้อความว่าจะต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาจิตเวชและสาขาอายุรศาสตร์ อย่างน้อยสาขาละ 1 คน หากมีความเห็นว่าจำเป็นต้องใช้ยา หรือโดยวิธีการรูปแบบอื่นให้กระทำได้เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอม

“ตนรู้สึกปลื้มปริ่มใจ ที่สามารถผลักดันกฎหมายฉบับนี้ออกมาได้ เพื่อเป็นประโยชน์ ต่อพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง แม้ตนจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยแรก และจะตั้งใจ ใช้ความรู้ ความสามารถ ที่มี ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติอย่างเต็มที่ เต็มกำลัง” ดร.พัชรินทร์ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 สิงหาคม 2565

" , ,