โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวประชาสัมพันธ์

“ตรีนุช”ลงพื้นที่น้ำท่วมให้กำลังใจชาวอุบลฯ

,

“ตรีนุช”ลงพื้นที่น้ำท่วมให้กำลังใจชาวอุบลฯ

วันนี้ ( 16 ตุลาคม 2565)
ที่จังหวัดอุบลราชธานี นางสาวตรีนุช เทียนทองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)
ลงพื้นที่ติดตามและให้ความช่วยเหลือสถานศึกษาที่ประสบอุทกภัย ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)อุบลราชธานี เขต 3 , โรงเรียนบ้านเดื่อสะพานโดม และ เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
โดยมีพระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม,นางสาวสมปรารถนา วิกรัยเจิดเจริญ
ที่ปรึกษา รมว.ศธ.,นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.), นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการร่วมลงพื้นที่

นางสาวตรีนุช กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยผู้บริหาร ศธ.ตั้งใจมาเยี่ยมให้กำลังใจครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาทุกคน ซึ่งปีนี้จังหวัดอุบลราชธานี ประสบกับอุทกภัยอย่างหนักและรุนแรง โดยตนได้รับรายงานว่า เฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานี มีสถานศึกษา ในสังกัด ศธ.มากกว่า 92 แห่งได้รับความเสียหาย ทั้งอาคารเรียน และอุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งตนได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ว่า หลังจากที่น้ำลดแล้วอาจจะต้องมีการซ่อมแซมโรงเรียน หรือวัสดุครุภัณฑ์ต่างๆที่ได้รับความเสียหาย ก็ขอให้หน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาได้จัดงบประมาณไปดูแลโดยเร่งด่วน เพื่อให้มีความพร้อมสามารถเปิดโรงเรียนจัดการเรียนการสอนได้ทัน การเปิดเทอมที่จะถึงนี้ หรือให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
และให้ดูแลครูผู้อยู่ในด่านหน้าได้รับขวัญกำลังใจ และได้รับการดูแลอย่างเต็มที่

“ ดิฉันพร้อมที่จะเป็นหลักในการช่วยเหลือสนับสนุนในทุกๆด้าน เพื่อทำให้โรงเรียน ทำให้เด็กๆของเรากลับมาสู่การเปิดภาคเรียนได้อีกครั้ง ซึ่งในการช่วยเหลือนั้น หน่วยงานของ ศธ. ทุกหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่จะทำงานเชื่อมโยง บูรณาการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น อาชีวะช่วยประชาชน , กศน. จิตอาสา ซ่อม สร้าง ล้างใหม่ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เป็นต้น และวันนี้ก็ได้รับการอนุเคราะห์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.) และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ได้มอบถุงยังชีพมาร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดิฉันขอขอบคุณผู้บริหารทุกท่านและเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คน ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปเร็ว ๆ ขอให้ทุกคนรักษาสุขภาพร่างกายจิตใจให้เข้มแข็งปลอดภัย เพื่อที่เราจะได้เป็นหลักในการทำงานให้กับลูกหลาน เยาวชน และครูของเราต่อไป” รมว.ศธ. กล่าว

รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยัง ได้รับเมตตาจากพระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ซึ่งเป็นพระนักพัฒนาได้จัดสรรพื้นที่ของวัด จัดเป็นโรงเรียนเอกชนขึ้น เพื่อดูแลเยาวชนของเราส่วนหนึ่งให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา มีการพัฒนานวัตกรรมในเรื่องการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เพื่อลดค่าไฟฟ้า , ช่วยระดมความช่วยเหลือจากชุมชนทุกด้านทำให้พวกเราบรรเทาทุกข์จากอุทกภัยในครั้งนี้ด้วย.


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ชูนโยบาย 3 แกนหลัก พร้อมสู้ศึกเลือกตั้งสานต่อช่วยประชาชน

,

“พล.อ.ประวิตร” ชูนโยบาย 3 แกนหลัก
พร้อมสู้ศึกเลือกตั้งสานต่อช่วยประชาชน

“พล.อ.ประวิตร”ประกาศเดินหน้า ขับเคลื่อนนโยบาย พปชร. สานต่อ 3 เสาหลัก พันธกิจ สวัสดิการประชารัฐ เศรษฐกิจประชารัฐ และสังคมประชารัฐ กลไกลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเศรษฐกิจ สังคมเท่าเทียม ประชาชนทุกคนได้ประโยชน์ถ้วนหน้า พร้อมสู้ศึกเลือกตั้งครั้งหน้า ต่อยอดนโยบายส่งมอบสิ่งที่ดีให้ประชาชน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนนโยบายของพรรคพลังประชารัฐ ที่จะนำเสนอให้กับพี่น้องประชาชน สำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้ว พปชร. ยังเดินหน้าสานต่อนโยบาย 3 พันธกิจหลัก ที่ประกอบด้วย 1.สวัสดิการประชารัฐขจัดความเหลื่อมล้ำ 2.เศรษฐกิจประชารัฐ สร้างความสามารถและโอกาสที่เท่าเทียม และ 3.สังคมประชารัฐ สงบสุข เข้มแข็ง แบ่งปัน โดยเป็นกรอบนโยบายที่จะมาช่วยเหลือประชาชน และตอบโจทย์ประเทศไทยภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมนำพาประเทศไทยรวมถึงประชาชนให้มีความกินดีอยู่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และช่วยเหลือชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง ครอบคลุมประชาชนทุกคนให้ได้รับสิทธิสวัสดิการของรัฐอย่างถ้วนหน้า

พล.อ. ประวิตร กล่าวต่อว่า นโยบายของพรรคพลังประชารัฐในครั้งนี้ เป็นการดำเนินนโยบาย เพื่อเป็นการต่อยอดจากการทำงาน และร่วมขับเคลื่อนนโยบายของพรรคในการบริหารราชการของรัฐบาลชุดนี้ เพราะเราต้องการต่อยอดนโยบายที่ดีและเป็นประโยชน์กับประชาชน พร้อมกับนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ดังนั้น ประชาชนจะเป็นศูนย์กลางของการขับเคลื่อนนโยบาย โดยทุกนโยบายจะมีการพิจารณาถึงงบประมาณ สามารถชี้แจงแหล่งที่มาของงบประมาณได้แน่นอน เราเน้นทำได้จริง ไม่ขายฝัน เราฟังเสียงประชาชนว่ามีความเดือดร้อนอย่างไร จึงมาสู่การกำหนดเป็นนโยบาย

“พรรคพลังประชารัฐให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ต้องทำให้ทุกคน มีโอกาส มีอนาคต ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงการดูแลคนวัยทำงาน เพราะถือเป็นการสร้างอนาคตของประเทศ ถือเป็นการลงทุนทางสังคม เด็กทุกคนควรจะมีสิทธิเลือกว่าอยากมีอนาคตอย่างไร เด็กต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพที่ดี จึงเกิดเป็นนโยบายสวัสดิการประชารัฐ จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน”ที่ดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ด้วยมารดาประชารัฐ ฝากครรภ์ จนคลอด นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เราก็ไม่ทอดทิ้ง ต้องมีการดูแลสวัสดิภาพผู้สูงอายุ ยังสานต่อในเรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ บ้านพัก และสวัสดิการรักษาพยาบาล ไปจนถึงแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง และผู้ที่เสียชีวิต “พลเอกประวิตร กล่าว

พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า นโยบายของพรรค ต้องคิดให้ละเอียดในการที่จะนำนโยบายไปใช้แต่ละพื้นที่ เพราะทุกพื้นที่มีความแตกต่างตามบริบทของท้องถิ่น แต่ยังคงยึด 3 เสาหลัก พรรคพลังประชารัฐ คือ สถาบันของการเมืองไทย เราคิดนโยบายเพื่อตอบโจทย์ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และตอบโจทย์ประชาชน เราจะเป็นพรรคที่ทำให้สังคมสงบสุข โดยจะก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยที่นโยบายของเราที่จะขับเคลื่อน เกิดขึ้นบนพื้นฐานการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ที่ประชาชนเห็นด้วย และให้การตอบรับในการทำงานที่ผ่านมา และพร้อมที่จะทำต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลกับประชาชนอย่างแท้จริง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 15 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” โทรชื่นชมครอบครัววอลเลย์หญิงไทย นำความสุขสร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติในเวทีโลก

,

“พล.อ.ประวิตร” โทรชื่นชมครอบครัววอลเลย์หญิงไทย นำความสุขสร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติในเวทีโลก

วันที่ 14 ต.ค.65 เวลา 12.00 น. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้วิดีโอคอลไปยัง “โค้ชด่วน” นายดนัย ศรีวัชรเมธากุล หัวหน้าผู้ฝึกสอนและนักกีฬาวอลเลย์หญิงทีมชาติไทย เพื่อขอบคุณที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศ ในงาน “ครอบครัววอลเลย์บอล สร้างสุขทั่วไทย ได้ใจทั่วโลก” ของสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 14 ต.ค.65 ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอรีน พระรามเก้า กรุงเทพฯ

โดยพลเอกประวิตร ได้กล่าวขอบคุณสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ผู้ฝึกสอน นักกีฬา ที่เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติรายการต่าง ๆ ตลอดปี 2022 รวมทั้งบุคลากรด้านอื่นๆ ที่มุ่งมั่น ทุ่มเท ด้วยความเสียสละ อดทน ทําให้ทีมวอลเลย์บอลของไทยประสบผลสําเร็จเป็นอย่างดียิ่ง และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ

สำหรับผลงานวอลเลย์บอลหญิงไทย 2022 โชว์ผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยการคว้าแชมป์ซีเกมส์ (13 สมัยติด /นับเป็นสมัยที่ 15), เนชันส์ลีก 2022 อันดับ 8 (สร้างประวัติศาสตร์เข้ารอบไฟนอลเป็นครั้งแรก), อันดับ 3 เอวีซี คัพ 2022 (AVC CUP 2022), แชมป์วัน อาเซียน กรังด์ปรีซ์ 2022 ก่อนส่งท้ายปี 2022 ด้วยการจบอันดับ 15ในศึกวอลเลย์บอลหญิง ชิงแชมป์โลก 2022 จากการชนะ ตุรกี, โครเอเชีย, เกาหลีใต้ และโดมินิกัน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 ตุลาคม 2565

“ตรีนุช” ถกประชุม รมต.ศึกษาอาเซียน พร้อมรับไม้ต่อปี67 ไทยเจ้าภาพชู “พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล”

,

“ตรีนุช” ถกประชุม รมต.ศึกษาอาเซียน พร้อมรับไม้ต่อปี67 ไทยเจ้าภาพชู “พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล”

เมื่อวานนี้ (13 ตุลาคม 2565) ที่โรงแรม MELIA Hanoi กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า ตน พร้อมด้วย นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีศึกษาของอาเซียน ครั้งที่ 12 (The 12th ASEAN Education Ministers Meeting: 12th ASED) ร่วมกับรัฐมนตรีศึกษาของ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนและเลขาธิการอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางของแต่ละประเทศในการจัดการศึกษาในยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และหารือถึงแนวทางการพัฒนาการศึกษาในอนาคตร่วมกัน

“การประชุม 12th ASED นี้ จัดขึ้นในหัวข้อ ‘Joint efforts to recover learning and building resilience of education systems in ASEAN and beyond in the new context’ หรือ ‘ความพยายามร่วมกันในการพลิกโฉมการเรียนรู้และการสร้างความยืดหยุ่นของระบบการศึกษาในอาเซียนและในบริบทใหม่’ ซึ่งรัฐมนตรีศึกษาประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมแลกเปลี่ยนถึงแนวทางการจัดการศึกษาที่ได้รับผลกระทบมาจากโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยประเทศไทย และประเทศสมาชิกส่วนใหญ่มีการปรับการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและเน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้ครูเพื่อสามารถรองรับรูปแบบการสอนที่เปลี่ยนไปได้ รวมถึงพัฒนาแพลตฟอร์มกลางให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ” นางสาวตรีนุช กล่าว

รมว.ศธ. กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยเฉพาะการพาเด็กตกหล่นและหลุดออกกลางคันให้ได้กลับมาเรียนอีกครั้ง ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยไทยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการพาเด็กที่หลุดออกจากระบบกลับมาให้มากที่สุด รวมถึงฟื้นฟูความรู้ในช่วงที่หายไป โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้สนับสนุน ดังนั้น การเรียนรู้แบบผสมผสานที่เกิดขึ้นทำให้ผู้เรียนและครูต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ใหม่ด้านดิจิทัล เพราะตอนนี้การศึกษาได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งตนได้ขอบคุณประเทศสมาชิกอาเซียนในการร่วมมือระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาในการพัฒนาทักษะผู้เรียนให้มีทักษะด้านดิจิทัลพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2567 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASED ครั้งที่ 13 โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาในเรื่อง “พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล” (Transforming Education to Fit in the Digital Era)

“ขอชื่นชมประเทศเวียดนามที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้และยินดีที่ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนมาร่วมกันขับเคลื่อนการศึกษาไปด้วยกัน เพราะงานด้านการศึกษาไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง เราในฐานะเจ้าภาพการประชุมในครั้งต่อไป จะสานต่อความร่วมมือที่เข้มแข็ง เพื่อสร้างหลักประกันว่าทุกคนจะต้องมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม” นางสาวตรีนุช กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 ตุลาคม 2565

รมต.อนุชา เยือนเกาหลีใต้ ร่วมเวทีบริหารจัดการน้ำ MKWF ครั้งแรก สานความร่วมมือน้ำโขง-น้ำฮันเร่งฟื้นฟูความสมบูรณ์ลุ่มน้ำในภูมิภาค

,

รมต.อนุชา เยือนเกาหลีใต้ ร่วมเวทีบริหารจัดการน้ำ MKWF ครั้งแรก สานความร่วมมือน้ำโขง-น้ำฮันเร่งฟื้นฟูความสมบูรณ์ลุ่มน้ำในภูมิภาค

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายจาก พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นำคณะ ประกอบด้วย ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะทำงาน เข้าร่วมการประชุม Mekong-Korea Water Forum (MKWF) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคม 2565 ณ สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)

การประชุมครั้งนี้เป็นผลจากการที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมการประชุมกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลี (Mekong-ROK Summit) ที่สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นการประชุมคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ ในระดับ ระดับผู้นําของอาเซียนกับประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งประเทศไทยและเกาหลีใต้ได้พัฒนาความร่วมมือความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์หลายด้าน โดยเฉพาะด้านทรัพยากรน้ำ มีการรับรองปฏิญญาแม่น้ำโขง–แม่น้ำฮัน เป็นเอกสารผลลัพธ์สำคัญของการประชุม ซึ่งได้กำหนดทิศทางความร่วมมือลุ่มน้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลี ในอนาคต

ทั้งนี้ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ไทยและเกาหลีใต้ได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินการด้านทรัพยากรน้ำร่วมกัน 3 ด้าน (3 Partnerships หรือ 3Ps) ได้แก่ หุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจสีเขียว หุ้นส่วนด้านอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และหุ้นส่วนด้านสาธารณสุข รวมถึงความร่วมมือที่ใกล้ชิดในกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ทั้งในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค

โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีที่ประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี ได้ประสานความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ซึ่งการประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครั้งนี้จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถของภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน

“สำหรับประเทศไทย แม่น้ำโขงเป็นเส้นเลือดใหญ่สำคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ใน 8 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 28 อำเภอ 100 ตำบล ตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา ประชาชนริมน้ำโขงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งปัจจัยทางธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ ส่งผลต่อความแปรปรวนของปริมาณน้ำ คุณภาพน้ำและระบบทางนิเวศ ซึ่งสิ่งนี้เป็นความท้าทายประเทศที่อาศัยแม่น้ำโขงในการดำรงชีวิต โดยต้องร่วมมือกันฟื้นฟูและรักษาคุณภาพทรัพยากรน้ำให้กลับมาสมบูรณ์ มีความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำ อาหาร พลังงาน เพื่อช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจระดับภูมิภาค” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะได้เข้าร่วมการประชุมระดับสูง(High Level Dialogue) โดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ร่วมอภิปรายเรื่องความร่วมมือด้านน้ำในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำโขงภายใต้ความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งพบปะหารือกับผู้บริหาร K-Water เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและส่งเสริมความร่วมมือด้านน้ำระหว่างไทยกับ K-Water และเยี่ยมชมโครงการบริหารจัดการน้ำของเกาหลีใต้ อาทิ สถานีโรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงซีฮวา และสถานีผลิตน้ำสะอาดฮวาซอง เป็นต้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 5 ตุลาคม 2565

“ส.ส. จักรพันธ์” พปชร.รุดตรวจความแข็งแรงเขื่อนเขตบางพลัด-บางกอกน้อย เร่งรับมือมวลน้ำทุกทิศทาง มั่นใจเข้าดูแล ปชช.ทันสถานการณ์

,

“ส.ส. จักรพันธ์” พปชร.รุดตรวจความแข็งแรงเขื่อนเขตบางพลัด-บางกอกน้อย
เร่งรับมือมวลน้ำทุกทิศทาง มั่นใจเข้าดูแล ปชช.ทันสถานการณ์

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2565 นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตบางพลัด บางกอกน้อย และหัวหน้าภาค พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) พร้อมด้วย ดร.บุณณดา สุปิยพันธุ์ ที่ปรึกษา ส.ส. ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำ และสนับสนุนการปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมริมเขื่อนแม่น้ำเจ้าพระยา และรับฟังข้อมูลสถานการณ์น้ำ จากสำนักการระบายน้ำ กทม. (สนน.) เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมวลน้ำที่เกิดขึ้น ทั้งมาจากภาคเหนือ,ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามากในพื้นที่ กทม.วานนี้ และน้ำทะเลหนุนสูงสุดที่ต้องเฝ้าระวังในวันที่ 10 ตุลาคม และวันที่ 27 และ 28 ตุลาคม2565 นี้ เพื่อไม่ให้ชุมชน และพื้นที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบ

นายจักรพันธ์ กล่าวว่า การดำเนินการเป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากการที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้ลงพื้นที่ จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.อ่างทอง และ จ.อยุธยา เพื่อติดตามการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมกำชับให้ ส.ส.ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาประสานหน่วยงานรัฐ เพื่อขอความช่วยเหลือ และแจ้งเตือนประชาชนอย่างทันท่วงที

นายจักรพันธ์ กล่าวต่อว่า เมื่อวานถือเป็นปรากฎการณ์ 3 น้ำคือ น้ำเหนือ น้ำหนุน และน้ำฝน ถ้ามี 3 น้ำนี้ประกอบกันขึ้น บริเวณชุมชน กทม.ที่อยู่ริมเจ้าพระยา และคลองหลัก ๆ ก็จะได้รับผลกระทบ แต่จากการประเมินสถานการณ์แล้ว ขณะนี้เข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 10 ต.ค.จะเป็นช่วงที่ทะเลหนุนสูง เพราะฉะนั้นในวันนี้ ได้พาคณะลงพื้นที่เพื่อติดามว่าเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดแนวในพื้นที่บางพลัด มีความแข็งแรงที่จะรับกับสถานการณ์น้ำได้ โดยเฉพาะน้ำเหนือ กับน้ำหนุน ซึ่งเท่าที่สำรวจดูก็อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ

“ในบางจุดที่เป็นจุดเสี่ยงอยู่แล้ว ประชาชนในพื้นที่ก็รับทราบแล้ว เช่น จุดที่เป็นฟันหลอ ไม่มีเขื่อนถาวรของ กทม.จุดที่เป็นคันกั้นน้ำของเอกชน จุดเหล่านี้ ทาง กทม.ก็ได้มาเตรียมการไว้แล้ว หรืออย่างจุดท่าเรือวัดเทพากร หรือ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 68 เขตบางพลัด ก็จะเป็นจุดที่มีเขื่อนถาวรที่สร้างมาเกือบ 30 ปีแล้ว ทางสำนักการระบายน้ำ กทม. ก็ได้มาดำเนินการเสริมความแข็งแรงของเขื่อน คืออัดฉีดน้ำปูนเข้าไปในเขื่อนเดิม เพื่อเสริมรอยรั่ว เสริมความแข็งแกร่งของเขื่อน ซึ่งประธานชุมชนบอกว่าถือว่าช่วยบรรเทาปัญหาไปได้มาก แต่ระยะยาวก็ต้องเร่งดำเนินการของบประมาณเพื่อสร้างเขื่อนถาวรซ้อนเข้าไปอีกชั้น “นายจักรพันธ์ กล่าว

นายจักรพันธ์ กล่าวด้วยว่า ในฐานะ ส.ส.ของพื้นที่ก็ได้มีการแจ้งกับชุมชนตลอด ซึ่งชาวบ้านก็เข้าใจ เพราะปกติหน้าน้ำชาวบ้านจะรับรู้ และเผชิญกับสถานการณ์แบบนี้ แต่จะน้อยจะมากก็แล้วแต่ปริมาณน้ำในช่วงนั้นตามภาวะน้ำแต่ละช่วงเวลา เพียงแต่ในขณะนี้ปริมาณน้ำเมื่อมารวมกันมีมากกว่าปกติ แต่เชื่อว่าจะไม่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมเหมือนในปี 2554


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร”เร่งยุทธศาสตร์แก้ปัญหาภัยพิบัติ จากโลกร้อน ร่วมศึกษาเปลี่ยนรถบัสขสมก.เป็นไฟฟ้าลดการก่อมลพิษในกทม.

,

“พล.อ.ประวิตร”เร่งยุทธศาสตร์แก้ปัญหาภัยพิบัติ จากโลกร้อน
ร่วมศึกษาเปลี่ยนรถบัสขสมก.เป็นไฟฟ้าลดการก่อมลพิษในกทม.

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมตรี เปิดเผยว่า ได้เรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เพื่อเร่งขับเคลื่อนความร่วมมือการปฏิบัติงานรองรับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ผ่าน ระบบ VTC ณ มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อฯ โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมรับทราบ รายงานความก้าวหน้าโครงการเปลี่ยนรถประจำทางสาธารณะของภาคเอกชน เป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (รถร่วมบริการ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ที่ประชุม ได้ร่วมพิจารณาและเห็นชอบเรื่องสำคัญ ประกอบด้วย (ร่าง) การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (ร่าง) ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก็าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ ฉบับปรับปรุง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จะช่วยลดก็าซเรือนกระจกและเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2608 และช่วยสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม สำหรับการลงทุนที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ เช่น พลังงานหมุนเวียน ยานยนต์ไฟฟ้า การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน นอกจากนั้นยังช่วยให้สุขสภาวะของประชาชนดีขึ้น ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆและการจ้างงานสีเขียว รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจไทย สอดคล้องกับนโยบาย BCG

พล.อ.ประวิตร’ ได้แสดงความขอบคุณ ทส.และคณะกรรมการฯ ที่ร่วมกันเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระยะยาว และมาตรการต่างๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์’ นรม.และรมว.กห. ได้ไปลงนามความร่วมมือของไทยกับสหประชาชาติ ( COP 26 ) ทั้งนี้เพื่อการแก้ปัญหาและลดผลกระทบจากภัยพิบัติภายในประเทศที่ต้นทาง โดยขอให้นำเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบโดยเร็ว เพื่อเป็นกรอบการปฏิบัติงานร่วมกันและท่าทีเจรจาไทยกับต่างประเทศ พร้อมทั้ง ขอให้ ทส. ประสานความร่วมมือ เร่งศึกษาพิจารณาเปลี่ยนรถประจำทาง ขสมก.ให้เป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้าให้เป็นรูปธรรมไปพร้อมกัน


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 4 ตุลาคม 2565

“พล.อ.ประวิตร” ลงพื้นที่ติดตามปริมาณน้ำ “สิงห์บุรี-อ่างทอง-อยุธยา” กำชับหน่วยงานแจ้งเตือนเข้าเยียวยาความเดือดร้อนปชช.ทุกพื้นที่เสี่ยง

,

“พล.อ.ประวิตร” ลงพื้นที่ติดตามปริมาณน้ำ “สิงห์บุรี-อ่างทอง-อยุธยา”
กำชับหน่วยงานแจ้งเตือนเข้าเยียวยาความเดือดร้อนปชช.ทุกพื้นที่เสี่ยง

วันที่ 3 ตุลาคม 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปปฏิบัติราชการ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ เพื่อเร่งช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากพายุ”โนรู” บริเวณ เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท พร้อมเดินทางต่อไปยัง บริเวณพื้นที่ประตูน้ำบางโฉมศรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เพื่อติดตามสถานการณ์เขื่อนป้องกันตลิ่ง และ เดินทางต่อเนื่องไปยัง วัดโบสถ์(ล่าง) อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อตรวจ ติดตามสถานการณ์น้ำ บริเวณ แม่น้ำน้อย โดยมีนาย นิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัด.พระนครศรีอยุธยาให้การต้อนรับ พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม น้ำหลาก จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้พบปะพี่น้องประชาชนที่มาให้การต้อนรับ และให้กำลังใจชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ด้วยความเสียสละ ทุ่มเท ในการช่วยเหลือประชาชน อย่างเต็มที่

พล.อ.ประวิตร ยังได้สั่งการจังหวัด กรมชลประทาน ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยเร็วที่สุด ตามนโยบาย 13 มาตรการรับมือฤดูฝน รวมทั้ง ให้เร่งรัดการก่อสร้างคลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา และมอบหมายให้ ก.เกษตร ,ก.การคลัง เตรียมให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ อย่างทั่วถึง รวมทั้งได้กำชับ สทนช. เร่งขับเคลื่อนแผนป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งระยะสั้น ระยะยาว อย่างเป็นระบบ ควบคู่กับการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำ ให้ประชาชนทราบล่วงหน้า ครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยง พร้อมทั้ง ได้กล่าวยืนยันกับพี่น้องประชาชนว่า รัฐบาลมีความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ครั้งนี้ อย่างเต็มที่ ทุกครัวเรือน เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ โดยเร็วที่สุด เพื่อลดผลกระทบจากความเดือดร้อน และมีความอยู่ดี กินดี ต่อไป


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 ตุลาคม 2565

พล.อ.ประวิตร’ ห่วงประชาชนพื้นที่ปลายเจ้าพระยารับมวลน้ำเพิ่ม เร่งหน่วยงานผันน้ำเข้าทุ่งพร้อมแผนเบี่ยงน้ำลดผลกระทบน้ำท่วมขัง

,

พล.อ.ประวิตร’ ห่วงประชาชนพื้นที่ปลายเจ้าพระยารับมวลน้ำเพิ่ม
เร่งหน่วยงานผันน้ำเข้าทุ่งพร้อมแผนเบี่ยงน้ำลดผลกระทบน้ำท่วมขัง

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และคณะผู้บริหารเดินทางลงพื้นที่ภาคกลาง จ.ชัยนาท และ อยุธยา เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง หลังเพิ่มปริมาณการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา โดยรับฟังสถานการณ์น้ำพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง จากศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า ณ สำนักงานชลประทานที่ 12 อ.สรรพยา จ.ชัยนาท โดยมี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ส.ส.จังหวัดชัยนาท พรรคพลังประชารัฐ นายวิรัช รัตนเศรษฐ สมาชิกพรรคพลังประรัฐ ร่วมติดตามลงพื้นที่ด้วย โดยมีประชาชนชาวจังหวัดชัยนาทร่วมต้อนรับและขอหอมแก้มให้กำลังใจ นำพวงมาลัยผ้าขาวม้า ผ้าขาวม้าผูกเอว และให้กำลังใจพล.อ.ประวิตร

สำหรับภาพรวมปริมาณน้ำปี 2565 มากกว่า ปี 2564 โดยใกล้เคียงกับปี 2554 อันเกิดจากมรสุมและพายุที่พาดผ่านไทยหลายลูก ปริมาณน้ำยม น่านและปิงรับน้ำมากขึ้น ส่งผลการบริหารการระบายน้ำเจ้าพระยา โดยศูนย์อำนวยการน้ำส่วนหน้า จ.ชัยนาท ได้พิจารณาให้ความสำคัญควบคุมความสมดุลไม่ให้กระทบพื้นที่อุทกภัยวงกว้าง

พล.อ.ประวิตร’ ได้ขอบคุณเจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยงาน ที่สนับสนุนรับมือสถานการณ์น้ำและช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ พร้อมทั้งสั่งการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ( สทนช. )จังหวัด กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกันติดตาม 13 มาตรการในการรับมือฤดูฝน โดยขอให้พิจารณาเร่งเบี่ยงน้ำจากแม่น้ำป่าสัก เข้าคลองระพีพัฒน์ออกทะเลโดยตรง รวมทั้งขอให้หน่วยน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ลงทุ่งรับน้ำในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ และให้ผันน้ำเข้าทุ่งรับน้ำ 10 ทุ่งที่จัดเตรียมไว้ เพื่อลดปริมาณน้ำลงพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง และขอให้เร่งระบายน้ำท่วมขังออกจากพื้นที่ชุมชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยให้ สทนช.เร่งขับเคลื่อนแผนป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งควบคู่กันไป เพื่อแก้ปัญหาน้ำระดับพื้นที่และกักน้ำไว้เพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง พร้อมทั้ง กำชับให้กรมชลประทานเร่งก่อสร้างคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร ให้เร็วขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ จว.อยุธยา ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว

พร้อมทั้งขอให้กระทรวงมหาดไทย โดยทุกจังหวัด ที่ประสบอุทกภัย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กระทรวงการคลัง ร่วมพิจารณามาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้ทั่วถึง และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบโดยทั่วถึง ในการบริหารจัดการสมดุลน้ำไปพร้อมกัน พร้อมกับขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ที่ร่วมบริหารจัดการน้ำและลงดูแลช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จากนั้นในบ่ายวันเดียวกัน พล.อ.ประวิตร’และคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่ อ.เสนา จว.อยุธยา ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่วัดโบสถ์


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 ตุลาคม 2565

พล.อ.ประวิตร’ กำชับหน่วยงานรัฐ เข้มมาตรการประมงผิดกฎหมาย ย้ำหยุดการกระทำทุจริตเรียกรับประโยชน์สร้างความเชื่อมั่นตามกฎ IUU

,

พล.อ.ประวิตร’ กำชับหน่วยงานรัฐ เข้มมาตรการประมงผิดกฎหมาย
ย้ำหยุดการกระทำทุจริตเรียกรับประโยชน์สร้างความเชื่อมั่นตามกฎ IUU

วันที่ 30 กันยายน 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ครั้งที่ 4/65 เพื่อติดตามเสริมประสิทธิภาพการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายให้ดียิ่งขึ้น โดย พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกประจำ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าที่ประชุมติดตามความคืบหน้า แนวทางและมาตรการในการพัฒนาการประมงของไทยให้ปลอดสัตว์น้ำและสินค้าสัตว์น้ำที่มาจากการทำประมง IUU โดยมีการให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทุกระดับมากขึ้น การลดการใช้โฟมหรือวัตถุที่ก่อให้เกิดไมโครพลาสติก สืบเนื่องจากผลการประชุมระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ที่เน้นให้ไทยยังคงดำเนินการแก้ไขปัญหาในมิติต่างๆของการประมงตามหลักวิทยาศาสตร์และหลักสากล เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนของการทำประมงต่อไป รวมทั้งการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทย ที่มุ่งเพิ่มผลผลิต 80,000 ตัน ในปี 66 และ (ร่าง) แผนพัฒนาด้านการประมงในพื้นที่แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน ปี 66-70

ทั้งนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบ มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเป้า ตรวจสอบและดำเนินคดีเรือที่ต้องสงสัย ซึ่งกำหนดหน่วยปฏิบัติงาน ขั้นตอนการดำเนินงานและกรอบเวลาในแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจนขึ้น และเห็นชอบการบังคับใช้กฎหมายกับการทำประมงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมอบหมายให้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ( ศร.ชล.) กองทัพเรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมการจัดหางาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด รวมทั้งเห็นชอบแนวทางการถอนรายชื่อเรือประมงทำประมงผิดกฎหมายออกจากบัญชี

พล.อ.ประวิตร’ ได้กำชับ ศร.ชล.และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังต้องทำงานหนักร่วมกัน ดำรงความเข้มงวดกวดขันมาตรการต่างๆในการป้องกันและแก้ไขการทำประมง IUU อย่างจริงจังต่อเนื่องกันไป รวมทั้งทำงานร่วมกับต่างประเทศอย่างใกล้ชิด พร้อมย้ำต้องไม่มีคอรัปชั่น เอื้อหรือเรียกรับประโยชน์จากเจ้าหน้าที่และทุกหน่วยงานอย่างเด็ดขาด โดยจะต้องมีการกำกับตรวจสอบและประเมินมากขึ้น เพื่อมิให้สถานะการทำประมงของประเทศ กลับไปสู่จุดต่ำสุด ที่ละเลยการปฏิบัติจากหน่วยที่มีอำนาจหน้าที่ดังเช่นที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะมาตรการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ขอให้พัฒนาบุคลากรในแต่ละองค์กรให้มีความเข้าใจและมีความสามารถสูงขึ้น เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำประมงให้ถูกต้องตามหลักสากล และเป็นการช่วยรักษาฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลที่ยั่งยืนร่วมกันในทุกภาคส่วน

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 30 กันยายน 2565

พล.อ.ประวิตร ผลักดัน “กองทุนดีอี” ต่อยอด 5G เส่งเสริมเศรษฐกิจ-สังคม อนุมัติใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษาภาคประชาชนตามนโยบายรัฐบาล

,

พล.อ.ประวิตร ผลักดัน “กองทุนดีอี” ต่อยอด 5G เส่งเสริมเศรษฐกิจ-สังคม
อนุมัติใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษาภาคประชาชนตามนโยบายรัฐบาล

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสิงห์ทอง ลาภพิเศษพันธุ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน น.ส.สดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และคณะ เข้าพบ นายคาโตะ คัทซึโนบุ (Mr.KATO Katsunobu) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ญี่ปุ่น เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ และขอบคุณที่กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนกระทรวงแรงงานในด้านต่างๆ และทั้งสองฝ่ายยินดีจะสนับสนุนภารกิจที่เกี่ยวข้องร่วมกัน ณ ห้องรับรองกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ประเทศญี่ปุ่น

นายสุชาติ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานขอขอบคุณรัฐบาลญี่ปุ่นที่ดูแลแรงงานไทยเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 กระทรวงแรงงานมีสำนักงานแรงงานในประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ทำหน้าที่ขยายตลาดแรงงานและคุ้มครองแรงงานไทยในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ญี่ปุ่น

“และในวันนี้เปิดโอกาสให้เข้าเยี่ยมคารวะเพื่อหารือข้อราชการด้านแรงงาน และขอบคุณที่ได้ดำเนินการตามความตกลงด้านแรงงาน ได้แก่ บันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) โครงการฝึกปฏิบัติงานทางเทคนิคในญี่ปุ่น และเอ็มโอยูด้านข้อมูลพื้นฐานเพื่อการจัดระบบและการพำนักของแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ รวมทั้งขอบคุณที่ให้ความร่วมมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการร่วมกันพัฒนาทักษะแรงงานไทย การขยายตลาดแรงงานไทยในญี่ปุ่น โดยกระทรวงแรงงานของญี่ปุ่นยินที่กระทรวงแรงงานของไทยจะสนับสนุนให้มีคนไทยเข้าไปฝึกงานและทำงานในสาขาทักษะเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาผู้ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) มีความพร้อมในการจัดหลักสูตรฝึกอบรมในสาขาที่ญี่ปุ่นมีความต้องการ” นายสุชาติ กล่าว

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสำคัญที่จะส่งเสริมให้แรงงานไทยมีโอกาสทำงานในต่างประเทศมากขึ้น ในส่วนของประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2564 มีแรงงานไทยแจ้งความประสงค์จะมาทำงานที่ญี่ปุ่น จำนวน 3,867 คน มากเป็นอันดับ 4 รองจากอิสราเอล เกาหลีใต้ และไต้หวัน แสดงให้เห็นว่า ญี่ปุ่นเป็นตลาดสำคัญที่แรงงานไทยต้องการจะมาทำงาน ซึ่งกระทรวงแรงงานมีความพร้อมที่จะขยายตลาดแรงงานไทยในประเทศญี่ปุ่น ทั้งการพัฒนาทักษะแรงงานไทยให้มีคุณสมบัติทั้งทักษะอาชีพและภาษาตามที่ญี่ปุ่นกำหนด

นายสุชาติ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานยังได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสำนักงานมาตรฐานแรงงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ญี่ปุ่น ที่ให้ความคุ้มครองแรงงานไทยในประเทศญี่ปุ่น ในเรื่องการให้คำปรึกษาการช่วยเหลือและตรวจเยี่ยมผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิคและแรงงานไทย นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือในการประสานแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการจัดทำความตกลงประกันสังคม ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือให้สามารถดำเนินการสำเร็จลุล่วงอันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกันตนต่อไปด้วย

ด้าน นายคาโตะ คัทซึโนบุ กล่าวว่า ในนามรัฐบาลญี่ปุ่นขอบคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของไทยและคณะที่ได้เข้าเยี่ยมคารวะกระชับความร่วมมือด้านแรงงานในวันนี้ แรงงานไทยมีส่วนสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของญี่ปุ่น เนื่องจากปัจจุบันมีคนไทยมาฝึกปฏิบัติงานทางเทคนิคและมีแรงงานไทยเดินทางมาทำงานในประเทศญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ส่วนประเด็นข้อหารือต่างๆ ในวันนี้จะได้ประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 29 กันยายน 2565

“รมว.สุชาติ” สานความร่วมมือรัฐบาลญี่ปุ่นด้านแรงงาน เปิดเจรจาขยายตลาดแรงงาน-สวัสดิการความคุ้มครอง

,

“รมว.สุชาติ” สานความร่วมมือรัฐบาลญี่ปุ่นด้านแรงงาน
เปิดเจรจาขยายตลาดแรงงาน-สวัสดิการความคุ้มครอง

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสิงห์ทอง ลาภพิเศษพันธุ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน น.ส.สดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และคณะ เข้าพบ นายคาโตะ คัทซึโนบุ (Mr.KATO Katsunobu) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ญี่ปุ่น เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ และขอบคุณที่กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนกระทรวงแรงงานในด้านต่างๆ และทั้งสองฝ่ายยินดีจะสนับสนุนภารกิจที่เกี่ยวข้องร่วมกัน ณ ห้องรับรองกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ประเทศญี่ปุ่น

นายสุชาติ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานขอขอบคุณรัฐบาลญี่ปุ่นที่ดูแลแรงงานไทยเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 กระทรวงแรงงานมีสำนักงานแรงงานในประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ทำหน้าที่ขยายตลาดแรงงานและคุ้มครองแรงงานไทยในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ญี่ปุ่น

“และในวันนี้เปิดโอกาสให้เข้าเยี่ยมคารวะเพื่อหารือข้อราชการด้านแรงงาน และขอบคุณที่ได้ดำเนินการตามความตกลงด้านแรงงาน ได้แก่ บันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) โครงการฝึกปฏิบัติงานทางเทคนิคในญี่ปุ่น และเอ็มโอยูด้านข้อมูลพื้นฐานเพื่อการจัดระบบและการพำนักของแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ รวมทั้งขอบคุณที่ให้ความร่วมมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการร่วมกันพัฒนาทักษะแรงงานไทย การขยายตลาดแรงงานไทยในญี่ปุ่น โดยกระทรวงแรงงานของญี่ปุ่นยินที่กระทรวงแรงงานของไทยจะสนับสนุนให้มีคนไทยเข้าไปฝึกงานและทำงานในสาขาทักษะเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาผู้ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) มีความพร้อมในการจัดหลักสูตรฝึกอบรมในสาขาที่ญี่ปุ่นมีความต้องการ” นายสุชาติ กล่าว

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสำคัญที่จะส่งเสริมให้แรงงานไทยมีโอกาสทำงานในต่างประเทศมากขึ้น ในส่วนของประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2564 มีแรงงานไทยแจ้งความประสงค์จะมาทำงานที่ญี่ปุ่น จำนวน 3,867 คน มากเป็นอันดับ 4 รองจากอิสราเอล เกาหลีใต้ และไต้หวัน แสดงให้เห็นว่า ญี่ปุ่นเป็นตลาดสำคัญที่แรงงานไทยต้องการจะมาทำงาน ซึ่งกระทรวงแรงงานมีความพร้อมที่จะขยายตลาดแรงงานไทยในประเทศญี่ปุ่น ทั้งการพัฒนาทักษะแรงงานไทยให้มีคุณสมบัติทั้งทักษะอาชีพและภาษาตามที่ญี่ปุ่นกำหนด

นายสุชาติ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานยังได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสำนักงานมาตรฐานแรงงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ญี่ปุ่น ที่ให้ความคุ้มครองแรงงานไทยในประเทศญี่ปุ่น ในเรื่องการให้คำปรึกษาการช่วยเหลือและตรวจเยี่ยมผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิคและแรงงานไทย นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือในการประสานแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการจัดทำความตกลงประกันสังคม ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือให้สามารถดำเนินการสำเร็จลุล่วงอันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกันตนต่อไปด้วย

ด้าน นายคาโตะ คัทซึโนบุ กล่าวว่า ในนามรัฐบาลญี่ปุ่นขอบคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของไทยและคณะที่ได้เข้าเยี่ยมคารวะกระชับความร่วมมือด้านแรงงานในวันนี้ แรงงานไทยมีส่วนสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของญี่ปุ่น เนื่องจากปัจจุบันมีคนไทยมาฝึกปฏิบัติงานทางเทคนิคและมีแรงงานไทยเดินทางมาทำงานในประเทศญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ส่วนประเด็นข้อหารือต่างๆ ในวันนี้จะได้ประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป


ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 29 กันยายน 2565