โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: ข่าวกิจกรรม ส.ส. และสมาชิกพรรค

“คอซีย์ สส.ปัตตานี”เดินหน้าทำงานเชิงบูรณาการ ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รับฟังปัญหาของ ปชช.ก่อนนำเข้าหารือในสภาฯ

,

“คอซีย์ สส.ปัตตานี”เดินหน้าทำงานเชิงบูรณาการ ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รับฟังปัญหาของ ปชช.ก่อนนำเข้าหารือในสภาฯ

นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า ตนและกลุ่มเพื่อน”สส.คอซีย์ มามุ”ไ้ด้เชิญผู้บริหารท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตพื้นอำเภอหนองจิก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เพื่อพบปะ รับทราบปัญหาความเดือดร้อน และปัญหาต่างๆ ของพื่น้องประชาชน ตามแนวทางการเป็น สส.ที่มีคุณค่าในสภาผู้แทนราษฎรและปัตตานี รวมถึงการเปลี่ยนแปลงปัตตานีบนหลักการไม่ทอดทิ้งประชาชน

นายคอซีย์ กล่าวต่อว่า การเข้ามาเป็นผู้แทนราษฎรมีภารกิจ และบทบาทในสภาฯในการนำปัญหาเข้าหารือส่วนราชการ การขับเคลื่อนทีมงานในพื้นที่ การจัดแผนงานลงพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการทุกระดับ
ทั้งนี้ การเชิญผู้บริหารท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้านในครั้งนี้ ยังได้สะท้อนการทำงานแบบการมีส่วนร่วมและบูรณาการร่วมกันเพื่อนำข้อมูลปัญหาข้อเท็จจริงในพื้นที่นำเสนอต่อสภาเพื่อประสานเร่งรัด ดำเนินการต่อหน่วยงานราชการต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 สิงหาคม 2566

“อามินทร์ มะยูโซ๊ะ”หวั่นภัยพิบัติสร้างผลกระทบที่ดินชายฝั่งพื้นที่ตากใบหาย เสนอหน่วยงานรัฐเร่งศึกษาแผนป้องกันการกัดเซาะลดความเดือดร้อนปชช.

,

“อามินทร์ มะยูโซ๊ะ”หวั่นภัยพิบัติสร้างผลกระทบที่ดินชายฝั่งพื้นที่ตากใบหาย
เสนอหน่วยงานรัฐเร่งศึกษาแผนป้องกันการกัดเซาะลดความเดือดร้อนปชช.

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ ส.ส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ได้ร่วมสังเกตการณ์ และรับฟังปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบ้านปูลาโต๊ะบีซู ต.ศาลาใหม่ อ.ตากใบ ที่กำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งตลอดแนว 3 กิโลเมตร ที่ส่งผลให้ที่ดินของชาวบ้านถูกกัดเซาะ จนหายไปปีละ 2 เมตรตลอดแนว ซึ่งเห็นว่าแนวทางการป้องกันยังไม่มีความคืบหน้า และแก้ไขได้ทันท่วงที

“แม้ว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เข้ามาดำเนินการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหา พร้อมประชุมรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านเป็นครั้งที่ 4 และมีแนวโน้มคืบหน้าในแนวทางการแก้ปัญหา แต่ยังติดที่โครงการดังกล่าว ต้องเข้าสู่กระบวนการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบส่ิงแวดล้อม (EIA) ตามกฎหมาย ที่ต้องใช้เวลาศึกษาหลายปีในขั้นตอนการทำแผนผลกระทบด้านส่ิงแวดล้อมในระยะยาว เห็นว่าประเด็นดังกล่าว อาจทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน หากไม่เร่งแก้ปัญหา เพราะผลกระทบจากสภาวะภูมิกาศโลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ฤดูกาล และภัยพิบัติทางธรรมชาติมีความรุนแรงในอดีต”

อย่างไรก็ตามในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรในพื้นที่ จะพยายามผลักดัน ให้เกิดการแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วเพื่อไม่ให้ประชาชน ได้รับผลกระทบในเรื่องของที่ดิน และที่ทำกิน สูญหายไปกับธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องเร่งพิจาณาแนวทางในการดำเนินโครงการฯให้กับประชาชนโดยเร็ว โดยเฉพาะการเร่งขั้นตอนการอนุมัติผลกระทบด้านส่ิงแวดล้อม

#สส_อามินทร์ #สส_ของคนโกลก_ตากใบ #คำไหนคำนั้น #ผู้รับใช้ประชาชน #พร้อมชนทุกสถานการณ์ #พรรคพลังประชารัฐ #พลังคนรุ่นใหม่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 สิงหาคม 2566

“ส.ส.ภาคภูมิ” พปชร.ร่วมโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน สะท้อนปัญหาสู่แนวแก้ไขในพื้นที่

,

“ส.ส.ภาคภูมิ” พปชร.ร่วมโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน สะท้อนปัญหาสู่แนวแก้ไขในพื้นที่

นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ตาก เขต 3. กล่าวว่า ได้ร่วมโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีประโยชน์กับพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก ต้องขอขอบคุณคณะกรรมการโครงการ ที่เลือกพื้นที่ อ.ท่าสองยาง อ.แม่ระมาด และอ. บ้านตาก เพื่อรับฟัง และนำเสียงสะท้อน ของประชาชน ที่จะต้องได้รับการแก้ไข ผ่านผู้นำท้องที่ ท้องถิ่นทั้งสามอำเภอ เพื่อเป็นข้อมูลที่จะให้สมาชิกวุฒิสภาไป เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น- ปัญหาการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าเพื่อทำถนน ไฟฟ้า ปะปา แหล่งน้ำ การสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ปัญหาด้านการศึกษา สาธารณสุข และการสื่อสาร ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินที่อยู่ในพื้นที่ป่า รวมถึงเรื่องปัญหาชายแดนที่มีการลักลอบข้ามแดน การสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง และเรื่องอื่นๆที่เป็นความทุกข์ร้อนของพี่น้องประชาชนอีกหลายเรื่อง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2566

“ชัยมงคล” เป็นปากเสียงแทนชาวสว่างแดนดิน 3 ตำบลไร้ตำรวจเหลียวแล วอนตำรวจเพิ่มความปลอดภัยในชุมชน พร้อมเสนอปรับปรุงถนนระหว่างอ.เจริญศิลป์ – อ.สว่างแดนดิน

,

“ชัยมงคล” เป็นปากเสียงแทนชาวสว่างแดนดิน 3 ตำบลไร้ตำรวจเหลียวแล
วอนตำรวจเพิ่มความปลอดภัยในชุมชน พร้อมเสนอปรับปรุงถนนระหว่างอ.เจริญศิลป์ – อ.สว่างแดนดิน

นายชัยมงคล ไชยรบ สส.สกลนคร เขต 5 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เนื่องจากอำเภอสว่างแดนดินเป็นอำเภอขนาดใหญ่ มีสถานีตำรวจอยู่ 3 สถานี สถานีที่มีปัญหาคือ สถานีภูธร อำเภอสว่างแดนดิน ซึ่งมีเขตรับผิดชอบอยู่ 12 ตำบลและมีอยู่ประมาณ 3 ตำบล ที่อยู่ติดกับจังหวัดอุดร แต่ไม่มีตำรวจเข้าไปดูแล ซึ่งได้รับการร้องเรียนจากผู้นำท้องที่อย่างผู้ใหญ่บ้าน กำนัน โดยไม่ได้ร้องเรียนธรรมดา เนื่องจากประชาชนไม่ได้รับการเอาใจใส่จากตำรวจ จึงได้บริจาคเงินสร้างป้อมตำรวจชุมชน ติดแอร์ให้ด้วย โดยหวังว่าจะมีตำรวจไปดูแล ไปประจำอยู่ที่ป้อม

“ผู้ใหญ่และกำนันได้ไปพบผู้บังคับบัญชาการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร เพื่อขอเจ้าหน้าที่ตำรวจไปประจำการที่ป้อม ผ่านมา 4 เดือน ก็ยังไม่มีตำรวจใดๆ ไปประจำการอยู่ มีแต่ตำรวจอาสา ซึ่งเป็นประชาชน
วันนี้ประชาชนชายขอบปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการดูแลจากตำรวจ แต่ไปปฏิบัติหน้าที่ด้านอื่นในเมือง แม้ว่าจะชุมชนได้สร้างสถานที่ปฏิบัติและอำนวยความสะดวกแล้วก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่ต้องการคือความเท่าเทียม และดูแลทุกข์สุขของประชาชน ข้าราชการตำรวจควรที่จะให้ความเท่าเทียมกับประชาชนในท้องที่ด้วย”นายชัยมงคล กล่าว

นายชัยมงคล กล่าวต่อว่า หน่วยความรับผิดชอบของกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นถนนสาย 2042 เป็นถนนเชื่อมระหว่างอำเภอเจริญศิลป์ และอำเภอสว่างแดนดิน ที่ประชาชนอำเภอเจริญศิลป์ สามารถที่จะเดินทางเข้าจังหวัด และย่นระยะทางได้ 40 กิโลเมตร แต่ยังเป็นถนนลูกรังอยู่ จึงขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกรุณาช่วยไปทำให้ด้วย นอกจากนี้อำเภอสว่างแดนดิน เป็นอำเภอขนาดใหญ่ และมีหลายอำเภอที่จะเข้าอุดรราชธานี และสกลนคร ต้องผ่านอำเภอสว่างแดนดิน และกรมทางหลวงได้ไปสำรวจถนนเลี่ยงเมือง ทั้งทำประชาคมทั้งทำEIA ตั้งแต่ปี 2557 ผ่านมา 9 ปี ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ตนจึงอยากวิงวอนกรมทางหลวง ช่วยไปทำเรื่องนี้ให้ด้วย เพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุ และทำให้คนสว่างแดนดินที่รอคอยมานานได้สมหวังกันสักที

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 สิงหาคม 2566

“คอซีย์ สส.ปัตตานี”วอน อธิบดีกรมป่าไม้ เร่งวางแนวทางให้กับ ปชช.ได้รับสิทธิการใช้ที่ดินถูกต้องตาม กม.หลังไม่สามารถเข้าพื้นที่ปลูกยางพารา-ทุเรียน ได้

,

“คอซีย์ สส.ปัตตานี”วอน อธิบดีกรมป่าไม้ เร่งวางแนวทางให้กับ ปชช.ได้รับสิทธิการใช้ที่ดินถูกต้องตาม กม.หลังไม่สามารถเข้าพื้นที่ปลูกยางพารา-ทุเรียน ได้

นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงความเดือดร้อนของประชาชน ที่ตนได้มีการประชุมร่วมรับฟังกับผู้บริหารท้องถิ่นและกำนันในเขตพื้นที่ โดยนายก อบต.ทรายขาว ขอให้เร่งรัดแก้ไขพื้นที่ทำกินให้กับพี่น้องประชาชนในเขตตำบลทรายขาว และตำบลใกล้เคียง เนื่องจากมีผู้ได้รับผลกระทบไม่น้อยกว่า 2,000 ครัวเรือน เพราะพื้นที่ดังกล่าวปัจจุบันมีการกำหนดให้เป็นเขตป่าไม้ ก่อนและหลังที่ประชาชนเข้าไปทำประโยชน์ เพื่อปลูกยางพารา ปลูกทุเรียน และที่อยู่อาศัย

นายคอซีย์ กล่าวต่อว่า ต่อมาเมื่อกรมป่าไม้ตามเก็บข้อมูลจากประชาชนเพื่อตรวจสอบสถานะสิทธิ์ก็พบว่า ประชาชนบางรายมี สค.1 บางรายก็ได้ทำประโยชน์อย่างยาวนานและเปิดเผย ตนจึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอธิบดีกรมป่าไม้ เร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ดังนี้

1.ขอให้แก้ไขปัญหากรณีที่ประชาชนไม่สามารถเข้าทำการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อโค่นยางพารา ต้นทุเรียนที่หมดอายุ เพื่อที่จะเพาะปลูกใหม่ เพราะวันนี้มีการจับกุมประชาชนที่เข้าไปดำเนินการ ทั้งที่ ทุเรียนทรายขาวเป็นทุเรียนที่มีชื่อเสียง สร้างรายได้ให้กับชาวปัตตานีเป็นอย่างมาก ถ้าปลูกทดแทนไม่ได้ประชาชนก็จะไม่มีรายได้
2.ช่วยเร่งพิจารณาเรื่องที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้ เพื่อการพัฒนาก่อสร้างถนนไฟฟ้า แหล่งน้ำ ให้กับประชาชน เพราะว่าคำขอตกค้างมานาน การที่ประชาชนได้ใช้สิทธิในเขตดังกล่าวนี้ไม่ใช่เป็นการบุกรุก แต่ประชาชนกำลังช่วยสร้างมูลค่าทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัดปัตตานี จึงขอฝากไปยังอธิบดีกรมป่าไม้ เร่งวางแนวทางให้กับประชาชนได้รับสิทธิการใช้ที่ดินอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

นายคอซีย์ กล่าวต่อว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากนายก อบต.ท่าเรือ เกี่ยวกับปัญหาภารกิจที่ได้รับถ่ายโอนจากกรมชลประทาน ซึ่งประกอบด้วยคลองส่งน้ำประตูน้ำในพื้นที่หมู่ที่2 หมู่ที่4 และหมู่ที่ 6 ซึ่งปัจจุบันมีสภาพไม่พร้อมที่ใช้ประโยชน์ ซึ่ง อบต.ท่าเรือ มีงบประมาณไม่เพียงพอในการซ่อมแซม ทำให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 500 ไร่ และยังกระทบต่อการส่งน้ำเค็ม ในช่วงน้ำทะเลหนุน จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผ่านไปยังอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวให้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2ภ สิงหาคม 2566

“ชัยวุฒิ” นำสส.โชติวุฒิ พปชร. รุดลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้ประสบภัยไฟไหม้ตลาด 100 ปี อินทร์บุรี ประสานหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ ลดผลกระทบประชาชน

,

“ชัยวุฒิ” นำสส.โชติวุฒิ พปชร. รุดลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้ประสบภัยไฟไหม้ตลาด 100 ปี อินทร์บุรี ประสานหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ ลดผลกระทบประชาชน

วันนี้ (20 ส.ค.66) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วย นายโชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส. จ.สิงห์บุรี เขต1 ได้เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนที่ประสบเหตุอัคคีภัย เกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ในช่วงค่ำที่ผ่านมาในตลาดอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้ประสานทางจังหวัดในการเข้าดูแลความช่วยเหลือเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัย

“เหตุการณ์ครั้งนี้พบว่า มีผู้ประสบอัคคีภัย 34 หลังคาเรือน ที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดได้เข้าช่วยเหลือในการระงับเหตุ และบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ก่อนที่จะให้เจ้าหน้าที่เข้าสืบสวนหาสาเหตุ การเยียวยาในอนาคต ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย เข้าช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ซึ่งตลาดแห่งนี้ เป็นตลาดสด เปิดในช่วงเช้า เป็นย่านชุมชนเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี จำเป็นอย่างยิ่งต้องหาแนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำในอนาคตต่อไป”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 20 สิงหาคม 2566

“บุญชัย สส.เพชรบูรณ์”หารือหลายปัญหาของชาวเพชรบูรณ์ ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งคลี่คลาย แก้ไข บรรเทาความเดือดร้อนให้ ปชช.

,

“บุญชัย สส.เพชรบูรณ์”หารือหลายปัญหาของชาวเพชรบูรณ์ ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งคลี่คลาย แก้ไข บรรเทาความเดือดร้อนให้ ปชช.

นายบุญชัย กิตติยาราทรัพย์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาช้างป่าว่า ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมามีช้างป่าจากภูหลวง จังหวัดเลย ได้ออกมาหากินบริเวณหมู่บ้านของพี่น้องประชาชน ในตำบลศิลา ตำบลตาดกลอย อ.หล่มเก่า และทำลายพืชผลทางการเกษตร ของประชาชา รวมถึงที่อยู่อาศัย จึงฝากให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยผลักดันช้างป่าให้กลับไปอยู่ในป่าดังเดิม

นายบุญชัย กล่าวต่อถึงปัญหาของถนนทางหลวงหมายเลข 21 ตอนสักหลงถึงกกกะทอน ช่วงหลักกิโลที่ 286+700 ถึง289+700 ระยะทาง 3 กิโลเมตร มีระยะทางแคบ มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และในเวลากลางคืนจะมืดมาก ไม่มีไฟฟ้าข้างทาง ทั้งที่เป็นเขตชุมชน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกครั้ง ทำให้เกิดความสูญเสีย ทรัพย์สินและชีวิตของผู้ใช้ถนนเส้นนี้ จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการขยายถนนเป็นสี่เลนด้วย

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาด้านไฟฟ้าแสงสว่าง และสัญญาณจราจร ที่สามแยกบ้านกกกะทอน บนทางหลวงหมายเลข 21 ตัดกับถนนทางหลวง หมายเลข 2216 ซึ่งเป็นบริเวณชุมชนมีจำนวนประชากร ที่ใช้เส้นทางจราจรอย่างหนาแน่น และมักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอฝากให้กรมทางหลวง ช่วยดำเนินการติดตั้งไฟสัญญาณจราจรและไฟฟ้าสว่าง
ทั้งนี้เรื่องถนนถ่ายโอนหลายพื้นที่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะเขต3 ได้ถ่ายโอนถนนมาหลายเส้น เช่น อำเภอหล่มสักทางหลวงหมายเลข 20110100 ตอนแยกทางหลวง 203 ซึ่งเป็นถนนที่ใช้ระหว่าง บ้านหนองสว่าง ถึงบ้านฝ่ายนาแซง ระยะทาง 3-4 กิโลเมตร และสภาพถนนมีรอยแตกร้าวและเป็นหลุมเป็นบ่อ ขอให้ กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วยจัดงบประมาณปรับปรุงถนนเส้นนี้ด้วย

นายบุญชัย ยังกล่าวถึงการสร้างอ่างเก็บน้ำทางตอนเหนือ ของอำเภอหล่มเก่า ซึ่งเป็นต้นน้ำ ของแม่น้ำป่าสักในฤดูฝน มีน้ำจำนวนมากไหลผ่าน จากอำเภอหล่มเก่า ผ่านอำเภอหล่มสัก ถึงอำเภอเมือง และหลายอำเภอของจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งจะทำให้เกิดอุทกภัย น้ำท่วมในหลายๆ พื้นที่ พอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำใช้ เพราะเป็นที่ลาดชันสูง จึงอยากให้กรมชลประทานเร่งรัดการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ห้วยน้ำเลา ตำบลตาดกลอย อ่างเก็บน้ำห้วยผักกรูด อ่างเก็บน้ำห้วยหินโง่น ตำบลศิลา จะได้ช่วยลดปัญหาน้ำท่วม และเก็บน้ำไว้ให้เกษตรกรใช้ สร้างเศรษฐกิจให้เกษตรกร และยังพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 สิงหาคม 2566

“จำลอง สส.กาฬสินธุ์”ขอการปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งแก้ปัญหาแหล่งน้ำให้ชาวบ้าน หลังถูกเวนคืนไปสร้างเขื่อนลำปาว ทำให้ไม่สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ได้ พร้อม วอน รัฐรวบรัดขั้นตอน ไม่ให้ล่าช้า

,

“จำลอง สส.กาฬสินธุ์”ขอการปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งแก้ปัญหาแหล่งน้ำให้ชาวบ้าน หลังถูกเวนคืนไปสร้างเขื่อนลำปาว ทำให้ไม่สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ได้ พร้อม วอน รัฐรวบรัดขั้นตอน ไม่ให้ล่าช้า

นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ ที่ถูกเวนคืนสร้างเขื่อนลำปาว เป็นระยะเวลานานแล้วที่ประชาชน ได้รับผลกระทบในการทำมาหากิน และนำน้ำขึ้นมาใช้ อย่างบ้านตนอยู่ฝั่งตะวันตกของเขื่อนลำปาว แต่ไม่สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ได้ โดยการปกครองส่วนท้องถิ่น อบต.หรือเทศบาลได้ร่วมมือกันเสนอโครงการขึ้นมาเพื่อขอใช้น้ำ ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ
ซึ่งได้อนุมัติโครงการไป 76 ล้าน ในขณะนี้ตนกังวงว่าโครงการดังกล่าวจะถูกตีตกไป จึงนำมาหารือไว้ก่อน

นายจำลอง ยังกล่าวถึงปัญหาของถนนทางหลวงเส้นอำเภอหนองสี อำเภอหนองวัดโพธิ์ เส้น 2009 มีความคับแคบ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตนได้เสนอให้มีการแก้ไขมาโดยตลอด แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด ซึ่งในพื้นที่ประชาชนมีอาชีพเกษตรกร ทำไร่อ้อย รถ 10 ล้อเยอะ รถเล็กสัญจรไปมาไม่สะดวก ควรจะมีไหลทาง มาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

นอกจากนี้ การประปาท้องถิ่นที่ทางพื้นที่ได้ขอใช้น้ำปรากฏว่า เกิดความล่าช้า ด้วยสำนักงานน้ำแห่งชาติ โดยพลเอกประวิตร ในฐานะประธานนโยบายน้ำแห่งชาติ ได้อนุมัติโครงการไป 8 โครงการ แต่อีก 2 โครงการต้องใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเองตามสภาพธรรมชาติ มีการสงวนหวงห้ามตามกฎหมายการใช้ประโยชน์ร่วมกันของราษฎร หรือโดยการอุทิศให้ ซึ่งเป็นที่มาของการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง หรือ น.ส.ล.จึงต้องผ่านคณะกรรมการหลายคณะ
จึงเกิดความล่าช้ามาก

“ผมขอให้รวบรัดขั้นตอน ให้อยู่ที่เดียวกัน เพราะถ้ามีขั้นตอนเยอะ ก็จะทำให้เกิดความล่าช้า ผลประโยชน์ไม่ตกไปถึงประชาชนอย่างทั่วถึง ทันที รวดเร็ว ทันใจ”นายจำลอง กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 สิงหาคม 2566

“อัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์”วอน หน่วยงาทที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาภัยแล้ง-อุทกภัย แนะ เพิ่มแหล่งเก็บน้ำ และขยายเส้นทางน้ำให้น้ำมีทางไปได้

,

“อัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์”วอน หน่วยงาทที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาภัยแล้ง-อุทกภัย แนะ เพิ่มแหล่งเก็บน้ำ และขยายเส้นทางน้ำให้น้ำมีทางไปได้

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า เราปฎิเสธไม่ได้ว่าน้ำ เป็นต้นกำเนิดทุกสิ่ง น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่เราใช้บริโภคอุปโภคกันทุกคน แต่เมื่อน้ำน้อยเกินไปก็เกิดปัญหาภัยแล้ง เมื่อน้ำมากเกินไปก็เกิดปัญหาอุทกภัย 2 ปัญหานี้เกิดขึ้นที่อำเภอวิเชียรบุรี และศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่เป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำป่าสักเป็นหัวใจหลัก ซึ่งมีความยาวราว 350 กิโลเมตร ไหลผ่านตั้งแต่เหนือสุดไปถึงใต้สุดของจังหวัด ปัญหาคือความลาดชันของแม่น้ำป่าสัก จุดสูงสุดของความลาดชันอยู่ที่ 190 เมตรส่วน จุดต่ำสุดอยู่ที่อำเภอศรีเทพ อยู่ที่ประมาณ 40 เมตร จากความลาดชันนี้ทำให้อำเภอวิเชียรบุรีและศรีเทพ ไม่สามารถเก็บกักได้จากแม่น้ำป่าสักและไหลออกไปจังหวัดอื่นเกือบหมด

นายอัคร กล่าวต่อว่า ตนจึงอยากหารือ2 ประเด็นหลักคือ ปัญหาภัยแล้ง และปัญหาน้ำท่วม สำหรับปัญหาภัยแล้ง จังหวัดเพชรบูรณ์มีครัวเรือนทั้งหมดเกือบ 300,000 ครัวเรือน โดยทำอาชีพเกษตรกรรมไปแล้วเกือบ 100,000 ครัวเรือน คิดเป็น 38% ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลักของคนในพื้นที่ ทุกคนต่างหวังว่าน้ำฝนจะตกมาในปริมาณที่พอเพียง และตกตามฤดูกาล แต่ฝนกลับไม่ตกและ น้ำก็กักเก็บไม่พอ เช่น พื้นที่ในอำเภอวิเชียรมี พืชผลเสียหายทางการเกษตรกว่าพันไร่ เกษตรกรเสียหายหนัก โดยเฉพาะข้าว ข้าวโพด เช่น ตำบลทรัพย์สมบูรณ์ตำบล วัดประดู่และตำบลพุเตย ถ้าประเมินค่าความเสียหายถ้าเป็นข้าวก็ตกประมาณ 1000 ไร่ ตกอยู่ที่ 7.9 ล้านบาท ถ้าเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก็ตกอยู่ที่ 11.2 ล้านบาท

“สิ่งนี้ทำให้เห็นว่าเกษตรกรมีรายได้ลดลงจากการขายพืชผลทางการเกษตร แทนที่มีเงินจะไปจ่ายค่าเทอมลูก แทนที่จะมีเงินไปจ่ายในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือว่าจ่ายหนี้สิน ผมจึงฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเพิ่มแหล่งเก็บน้ำ ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ถ้ามีวิธีที่ไวกว่านี้ผมก็ยินดีอย่างยิ่ง”นายอัคร กล่าว

นายอัคร กล่าวต่อถึงปัญหาอุทกภัย อาจจะดูย้อนแย้งจากปัญหาแรก แต่เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดที่เกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง แต่ในหลายปีที่ผ่านมาความรุนแรงของปัญหานี้ทวีคูณยิ่งขึ้น เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานของอำเภอเชียรบุรีและอำเภอศรีเทพ ตั้งอยู่ช่วงทางผ่านน้ำ และเป็นจุดที่ต่ำกว่าอำเภออื่นๆ ทำให้น้ำจากตอนเหนือไหลลงมาท่วม 2 อำเภอนี้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับแม่น้ำป่าสักนั้นตื้นเขิน จึงไม่สามารถจุน้ำทั้งหมดไว้ได้ การระบายน้ำจึงเป็นไปได้ยากและช้ามาก รถไม่สามารถสัญจรได้ ต้องใช้เรือในการนำส่งอาหาร และส่งของใช้จำเป็น จากเหตุการณ์นี้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของบ้านเรือน พืชผลทางการเกษตร ผมจึงอยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยขยายเส้นทางน้ำให้น้ำมีทางไปได้

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 16 สิงหาคม 2566

พรรคพลังประชารัฐ เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้ผลกระทบจากอุทกภัยอย่างหนักในพื้นที่จ.ตาก ภายใต้กิจกรรม”พลังน้ำใจ พลังประชารัฐ กำลังใจให้คนตาก”เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนโดยเร็ว

,

พรรคพลังประชารัฐ เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้ผลกระทบจากอุทกภัยอย่างหนักในพื้นที่จ.ตาก ภายใต้กิจกรรม”พลังน้ำใจ พลังประชารัฐ กำลังใจให้คนตาก”เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนโดยเร็ว

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.จังหวัดพะเยา พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ในฐานะเลขาธิการ พปชร. กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากติดต่อกันหลายวันในจังหวัดตากและพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะหมู่บ้านตามแนวตะเข็บชายแดนที่ติดแม่น้ำเมย และพื้นที่บนภูเขา เกิดดินถล่มเส้นทางถูกตัดขาด เป็นจำนวนมาก ทำให้บ้านเรือนประชาชนเสียหาย เส้นทางทรุดหนักเป็นบริเวณกว้าง รถยนต์ไม่สามารถสัญจรผ่าน ไป – มาได้อย่างสะดวกนั้น

ล่าสุด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐมีความห่วงใยประชาชนและผู้ใช้รถใช้ถนนที่สัญจรไปมาเป็นอย่างมาก จึงดำริให้ตนเองเร่งระดมความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนอย่างเร่งด่วน ภายใต้กิจกรรมชื่อ”พลังน้ำใจ พลังประชารัฐ กำลังใจให้คนตาก”ซึ่งขณะนี้ได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิธรรมนัสพรหมเผ่า เพื่อการกุศล สมาคมการค้าแลกเปลี่ยนเศรฐกิจไทย-เอเชีย นำถุงยังชีพอุปโภคบริโภคจำเป็นไปมอบให้ประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

โดยเบื้องต้น ทางพรรคฯได้มอบหมายให้สส.ของพรรคในพื้นที่ ได้แก่นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข สส.จังหวัดตาก และนายปกรณ์ จีนาคำ สส.จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นตัวแทนลงพื้นที่ไปเยี่ยมเยือนให้กำลังใจ พร้อมมอบถุงยังชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันยังเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดูแลซ่อมแซมถนนที่ชำรุดเสียหายเพื่อให้ประชาชนสัญจรอย่างปลอดภัย

ด้านนายภาคภูมิ กล่าวว่า ขอบคุณพรรคพลังประชารัฐและทุกภาคส่วนที่ร่วมช่วยเหลือประชาชน อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้ขอพี่น้องประชาชนระมัดระวังในการเดินทาง เฝ้าดูสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตนเองขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน ซึ่งใน วันพุธ 16 สิงหาคม นี้ มีประชุมสภาฯตน จะนำเรื่องนี้หารือต่อสภา เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนโดยเร่งด่วนต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 14 สิงหาคม 2566

“ส.ส.สะถิระ”เสนอสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทาง โอนย้ายบริการไฟฟ้าของชาวสัตหีบ จากไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ ไปให้ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดูแลแทนบรรเทาความเดือดร้อนให้ ปชช.

,

“ส.ส.สะถิระ”เสนอสภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทาง โอนย้ายบริการไฟฟ้าของชาวสัตหีบ จากไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ ไปให้ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดูแลแทนบรรเทาความเดือดร้อนให้ ปชช.

นายสะถิระ เผือกประพันธุ์ ส.ส.ชลบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)เปิดเผยว่า ตนได้เสนอญัตติด่วนเพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการมอบหน้าที่การให้บริการไฟฟ้า อำเภอสัตหีบ จากกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทาน กองทัพเรือ ไปเป็นหน้าที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยตรง เพราะในตอนนี้พี่น้องประชาชน อำเภอสัตหีบ ทั้ง ๕ ตำบล ตำบลแสมสาร ตำบลพลูตาหลวง ตำบลสัตหีบ ตำบลบางเสร่ และตำบลนาจอมเทียน ประสบปัญหาได้รับความเดือดร้อนจากการให้บริการไฟฟ้า โดยกิจการไฟฟ้าสวัสติการสัมปทานกองทัพเรือ ทั้งการขยายเขตไฟฟ้า ไฟดับ ไฟตก ค่าไฟ รวมถึง สิทธิประโยชน์ของผู้ใช้ไฟฟ้าเมื่อเทียบกับไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

นายสะถิระ กล่าวต่อว่า การขยายเขตไฟฟ้าพี่น้องประชาชนอำเภอสัตหีบ ยังไม่มีไฟฟ้าถาวรใช้อีกหลายครัวเรือน รวมถึงการเพิ่มขนาดกระแสไฟฟ้าในแต่ละครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันกระแสไฟฟ้าในอำเภอสัตหีบตกบ่อยมาก ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ได้รับความเสียหาย ทำให้พี่น้องประชาชนอำเภอสัตหีบ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา

“การให้บริการไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นการให้บริการไฟฟ้าหลักของคนไทยทั้งประเทศ ควรเข้ามาให้บริการไฟฟ้าประชาชนอำเภอสัตหีบ เช่นเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ ผมจึงขอเสนอญัตติด่วนดังกล่าว เพื่อตั้ง กมธ.ศึกษาให้ประชาชนอำเภอสัตหีบได้รับการบริการสาธารณะชั้นพื้นฐาน เช่นเดียวกับคนไทยทั้งประเทศ และเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยด่วน”นายสะถิระ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2 สิงหาคม 2566

“ส.ส อรรถกร”ยื่นญัตติด่วนขอสภาฯตั้ง กมธ.แก้ไขราคากุ้งตกต่ำ หาทางช่วยเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก หลังมีการนำเข้าจาก ตปท.ย้ำ รัฐต้องเร่งจัดการก่อนปัญหาบานปลาย

,

“ส.ส อรรถกร”ยื่นญัตติด่วนขอสภาฯตั้ง กมธ.แก้ไขราคากุ้งตกต่ำ หาทางช่วยเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก หลังมีการนำเข้าจาก ตปท.ย้ำ รัฐต้องเร่งจัดการก่อนปัญหาบานปลาย

31 กรกฎาคม 2566 นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.)จ.ฉะเชิงเทรา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ตนได้เสนอญัตติด่วน เพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ เนื่องจากในขณะนี้ ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้งขนาดกลาง และขนาดย่อยกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากราคากุ้งเลี้ยงตกต่ำอย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งหลังจากการที่ คณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโช่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) หรือบอร์ดกุ้งอนุมัติการนำเข้ากุ้งจากเอกวาดอร์และอินเดียเข้ามา โดยอ้างว่าเกษตรกรไทยมีโครงการประกันราคากุ้งอยู่แล้ว

“ปัญหาการขาดทุนจากการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร เกิดมาจากราคาน้ำมันเซื้อเพลิงมีราคาสูง และ มีโรคระบาดในกุ้ง ประกอบกับราคาประกันขั้นต่ำที่ห้องเย็นตั้งไว้นั้นเท่ากับราคาตันทุนการผลิตที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งเท่ากับเป็นการบังคับให้เกษตรกรขายในราคาขาดทุน ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาหนี้สิน”นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า แม้ราคากุ้งจะถูกกำหนดโดยคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) แต่ราคาของจริงไม่ได้ตามที่คณะกรรมการฯ กำหนด จึงต้องการให้รัฐช่วยลดภาระต้นทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เช่น ค่าอาหารกุ้ง ค่าปู่น ค่าไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำไรของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง หากภาครัฐไม่ดำเนินมาตรการอย่างเป็นรูปธรรม ปัญหาอาจบานปลายได้

“ผมจึงขอให้สภาฯตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยโดยเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของแผ่นดินและประชาชนจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะรักษาความมั่นคง ของประเทศในทางเศรษฐกิจและสังคม โดยญัตติที่ผมเสนอไปได้ถูกบรรจุในระเบียบวาระการประชุมสภาฯเรียบร้อยแล้ว ซึ่งผมหวังว่าจะสามารถช่วยแก้ไขความเดือดร้อนของเกษตรกรได้ทันท่วงที”นายอรรถกร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 31 กรกฎาคม 2566