โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

ป้ายกำกับ: พรรคพลังประชารัฐ

“พล.อ.ประวิตร” นั่งประธาน กบฉ. ขยายต่อ 3เดือน มุ่งสร้างสันติสุขในพื้นที่ชายแดนใต้ พร้อมคุมเข้มโรงงานสารประกอบระเบิดเพื่อความปลอดภัยปชช.

,

“พล.อ.ประวิตร” นั่งประธาน กบฉ. ขยายต่อ 3เดือน มุ่งสร้างสันติสุขในพื้นที่ชายแดนใต้ พร้อมคุมเข้มโรงงานสารประกอบระเบิดเพื่อความปลอดภัยปชช.

เมื่อ 28 ส.ค.66 พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานการประชุม คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน (กบฉ.) โดยมี รมว.มท และ รมช.กห. ที่ประชุมรับทราบผลการปฎิบัติงานตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ห้วง 20 มิ.ย.66 ถึง 20 ส.ค.66 ซึ่งมีแนวโน้มของสถานการณ์ ที่มีความสงบเรียบร้อยมากขึ้นตามลำดับ และมีสถิติการก่อเหตุความรุนแรงลดลง สามารถพัฒนาไปสู่การปรับลดพื้นที่ออกจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้มากขึ้น

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้มอบหมายหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ เพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบโรงงานที่เกี่ยวข้องกับสารประกอบระเบิด พร้อมเร่งรัดการช่วยเหลือ ฟื้นฟูประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์โรงงานพลุดอกไม้เพลิงระเบิด ที่ผ่านมาโดยเร็วด้วย

นอกจากนี้ที่ประชุม กบฉ.ได้เห็นชอบข้อเสนอของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ปรับลดพื้นที่ อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี ออกจากพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อนำ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯมาใช้แทน พร้อมทั้งขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ จังหวัดจชต. ยกเว้น อ.ศรีสาคร ,อ.สุไหงโก-ลก ,อ.แว้งและ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส อ.ยะหริ่ง ,อ.มายอ ,อ.ไม้แก่น และ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี อ.เบตง และ อ.กาบัง จ.ยะลา ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ 20 ก.ย.66 ถึง 19 ธ.ค.66 โดยเป็นการขยายระยะเวลา ครั้งที่ 73 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน ป้องกัน ระงับ ยับยั้งเหตุการณ์ในพื้นที่ให้ได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลรักษาความสงบ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ด้วย โดยให้ สมช.เสนอเรื่องไปยัง ครม.เพื่อพิจารณาเห็นชอบ ต่อไป

พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวขอบคุณ คณะกรรมการฯ หน่วยงานความมั่นคง ฝ่ายปกครอง และกำลังพลทุกนายที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความเสียสละ ทุ่มเท และกล้าหาญ อย่างน่าภาคภูมิใจ สามารถแก้ปัญหา จชต.เป็นไปด้วยความเรียบร้อยที่ผ่านมา และมีสถิติการก่อเหตุฯลดลง ตามลำดับ พร้อมทั้งได้ขอบคุณประชาชนในพื้นที่ ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี รวมทั้งได้กำชับ สมช.ซึ่งถือเป็นกลไกหลักในการเตรียมความพร้อมแก้ปัญหา จชต.ในระดับนโยบาย ที่ต้องขับเคลื่อนให้ต่อเนื่อง ไม่ขาดตอน มีความเป็นมืออาชีพ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเตรียมรับนโยบายจาก ครม.ชุดใหม่ ที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ในระยะเวลาอันใกล้นี้ด้วย ต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 29 สิงหาคม 2566

กลุ่มตัวแทนเกษตรกร เข้าให้กำลังใจ และยื่นหนังสือ ความเดือดร้อนให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา ส่งถึงมือ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า นำไปสู่การแก้ไขปัญหา ให้เกษตรกินดีอยู่ดี

,

กลุ่มตัวแทนเกษตรกร เข้าให้กำลังใจ และยื่นหนังสือ ความเดือดร้อนให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา ส่งถึงมือ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า นำไปสู่การแก้ไขปัญหา ให้เกษตรกินดีอยู่ดี

28 ส.ค.2566 ที่พรรคพลังประชารัฐ สหพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทย (สกท.) สภาอาชีพของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยภาคเหนือ 8 จังหวัด ,เครือข่ายเกษตร 4 ภาคกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ อาทิ จังหวัด ร้อยเอ็ด จ.มหาสารคาม จ.ขอนแก่น อ. สุไกลโก-ลก จ.นราธิวาส จ.เชียงใหม่ อ.บางเลน จ.นครปฐม ตลอดจนกลุ่มเกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ลำไย กลุ่มผู้ใช้น้ำ คูคลอง จังหวัดพะเยา เดินทางมายื่นหนังสือเกี่ยวกับความเดือดร้อน และข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลชุดใหม่ โดยมีนายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร และนายอรรถกร ศิริลัทธยากร กรรมการบริหารพรรค เป็นตัวแทนเชิญเกษตรกรกลุ่มดังกล่าวเข้ามาในห้องประชุม เพื่อรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น

นายอรรถกร กล่าวว่า เราเข้าใจว่าพี่น้องทุกท่าน เดินทางมาที่นี่ เพื่อที่จะมายื่นหนังสือและแสดงเจตจำนงว่าอยากให้ผู้ใหญ่ของเราทำอะไรบ้าง ซึ่งพวกเราจะเป็นพรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาล ที่ทำงานแก้ไขให้กับพี่น้องประชาชน พร้อมฟังเสียงสะท้อนพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง รู้ดีว่าประชาชนต้องการอะไร พวกเราก็เลยขอเปลี่ยนใจ เปิดห้องประชุมใหญ่พรรคพลังประชารัฐ และเชิญพี่ๆมาพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากพี่น้องภาคเกษตรกรโดยตรง ให้เสียงของพวกเราส่งผ่านไปยังพี่ๆสื่อมวลชน ให้เสียงของพี่ๆดังขึ้นเพื่อจะร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป

จากนั้นนายยศวัจน์ ชัยวัฒนศิริกุล ที่ปรึกษาสมาพันธ์ฯ ลุกขึ้นกล่าวว่า หลังจากที่พรรคพลังประชารัฐได้เข้าร่วมรัฐบาล พวกเราดีใจว่าวันนี้คงจะมีใครสักคนที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ที่ได้เข้ามาร่วมกำหนดนโยบายกับทางพรรคเพื่อไทย หลังจากนั้นก็ได้ติดตามตลอด พบว่าพวกเราก็ได้ส่งคนถูกแล้ว ที่เป็นลูกชาวนาจากจังหวัดพะเยา เราจึงมาให้กำลังใจท่าน ซึ่งพวกตนก็ดีใจ และมีความคาดหวังอย่างสูง

“เราได้เคยสัมผัสแล้ว พวกเราก็เคยได้รับติดตามผลงานของท่านธรรมนัส เช่นการคืนโฉนด การเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน ได้รับความอนุเคราะห์จาก พล.อ.ประวิตร โดยส่วนตัว พวกเราในฐานะที่เป็นเครือข่ายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยของภาคการเกษตร ที่ชื่อว่าสหพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทย พวกเรามีความเดือดร้อนในการทำมาหากิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแหล่งน้ำ เรื่องที่ดินทำกิน พร้อมทั้งเรื่องหนี้สิน และที่ผ่านมาสมัยที่ ร.อ.ธรรมนัสได้เป็นรัฐมนตรีช่วยฯ พวกเราได้เคยรับการสงเคราะห์ แนะนำ ติดต่อ ประสานงาน ให้ไปช่องทางที่จะต้องติดต่อกับหน่วยงานรัฐจนพวกเราได้รับการแก้ปัญหา” นายยศวัจน์ กล่าว

นายยศวัจน์ กล่าวต่อว่า วันนี้ ร.อ.ธรรมนัส จะได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีใหญ่ พวกเรามีความคาดหวังว่าตลอดระยะเวลา 4 ปีหลังจากนี้ พวกตนคงจะได้มีโอกาสยืนบนขาตัวเองได้ ภายใต้นโยบายของพรรคพลังประชารัฐที่ได้ติดตาม เรามีความเชื่อมั่น วันนี้อยากให้มีความสามัคคีกันในพรรคที่จะร่วมการจัดตั้งรัฐบาล ไม่อยากให้ทำลายความหวังของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร โดยพวกตนขอให้กำลังใจ และมีความเชื่อมั่นในหน่วยงานที่ผ่านมา แม้จะทำได้อย่างไม่เต็มที่มากนักเนื่องจากเป็นพรรคร่วม แต่ครั้งนี้เราต้องขอแสดงความดีใจ ขอแสดงจุดยืนว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเปลี่ยนไปเป็นพรรคอื่นไม่ได้

นายยศวัจน์ ย้ำว่า ทุกวันนี้มีคนบอกว่าเราเป็นกลุ่มจัดตั้ง เราเดินทางมาเอง ข้าวยังไม่ได้กินเลย มาจากภาคใต้ มาจากจังหวัดพะเยา จากจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ และอีกหลายจังหวัด รวมถึงจังหวัดในภาคอีสาน เราจะรอฟังว่ารัฐมนตรีของพวกเรา ที่เรามีความคาดหวัง ภายใต้การกำกับของ พล.อ.ประวิตร เรามีความเชื่อมั่น และตำแหน่งไม่ควรจะเปลี่ยนจากตรงนี้ไปอีกแล้ว

จากนั้น นายไผ่ กล่าวว่า ตนมาในนาม ร.อ.ธรรมนัส ตอนขับรถเข้ามา ตนเห็นถึงความลำบาก เห็นนั่งอยู่ริมถนน เราเป็นพรรคของประชาชน เราก็เลยคุยกันว่าให้เข้ามานั่งคุยในพรรคพลังประชารัฐ เนื่องจากอยากรู้เหตุผล อยากรับฟัง ตนก็เป็นคนส่วนหนึ่งที่ได้อยู่ในคณะเจรจาในการจัดตั้งรัฐบาลมาโดยตลอด

“ผมอยากจะบอกว่าผมเชื่อมั่นว่าคงไม่มีอะไรที่จะต้องกังวลในส่วนที่คิด และเรื่องนโยบายการเกษตร จะบอกว่าเป็นสิ่งที่เราพูดคุยกันในทุกพรรค เราบอกเรื่องนโยบายดีๆของทุกภาคส่วน เรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงเรื่องอะไรต่างๆ ก็ขอให้พี่น้องเกษตรกรสบายใจได้ ในส่วนที่หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐเคยทำเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำ เรื่องโฉนดที่ดินทำกิน ที่ดิน ส.ป.ก. ซึ่งเป็นนโยบายหาเสียงของเรา ทุกอย่างเพื่อที่จะให้พ่อแม่พี่น้องลืมตาอ้าปากได้

นายไผ่ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีที่ ร.อ.ธรรมนัส จะได้นั่งอยู่ในตำแหน่งนี้ ตนก็มั่นใจว่าทุกๆคนที่มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ อาจจะถูกหั่นนิดหน่อย แต่เชื่อว่าทุกอย่างจะจบลงได้ด้วยดี อยากให้ทุกคนสบายใจ วันนี้ที่มานั่งคุยกัน ท่านใดอยากจะฝากนโยบายอะไรไว้ ขอให้ฟังได้เลย ตนจะเอาไปนำเสนอ หลังจากนี้ที่เราเคยทำไว้เชื่อว่าถ้าเรามีโอกาส เรามีตำแหน่งที่ได้ขับเคลื่อนก็จะทำงานเต็มที่ ให้ดียิ่งขึ้น

มีรายงานว่า วันนี้ยังมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มเกษตรกรแต่ละจังหวัดรวมถึงประชาชนในพื้นที่ได้ส่งตัวแทนไปร่วมยื่นหนังสือแลัให้กำลังใจพรรคพลังประชารัฐในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล และให้กำลังใจร.อ.ธรรมนัส พรพมเผ่า ในฐานะเลขาธิการพรรค เช่นสภาอาชีพเกษตรกร ไปยื่นหนังสือที่สำนักงานสาขาพรรคจังหวัดเชียงใหม่ และที่ศูนย์ประสานงานร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า จังหวัดพะเยา เป็นต้น

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 28 สิงหาคม 2566

“ออม อนุรัตน์”นำหินคลุก 5 พ่วงสิบล้อ ช่วยชาวบ้านทำถนนที่เข้าพื้นที่การเกษตรช่วงฤดูฝน เผย รู้ว่าทุกคนเดือดร้อน จึงต้องทำงานให้เร็วที่สุด

,

“ออม อนุรัตน์”นำหินคลุก 5 พ่วงสิบล้อ ช่วยชาวบ้านทำถนนที่เข้าพื้นที่การเกษตรช่วงฤดูฝน เผย รู้ว่าทุกคนเดือดร้อน จึงต้องทำงานให้เร็วที่สุด

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง สส.พะเยา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ตนได้ลงพื้นที่ ต.พระธาตุขิงแกง โดยได้มีการประสานงานกับแขวงการทางพะเยา เพื่อขอเศษกากยาง และหินคลุก โดยตนได้บริจาคให้แก่ ลานธรรมพุทธมงคล จำนวน 5 พ่วงสิบล้อ เนื่องจากในช่วงเวลานี้เข้าสู่ฤดูฝน จึงทำให้ถนนที่เข้าพื้นที่การเกษตร ไม่สามารถเข้าออกได้ ซึ่งพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวบ้านสบถุ ต.แม่ลาว อ.เชียงคำ ต้องการหินคลุก เพื่อใส่ถนนในช่วงร่องล้อ ให้ถนนสามารถสัญจรได้ เพราะตนรู้ว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อน จึงต้องทำงานรับใช้ให้เร็วที่สุด

จากนั้น นายอนุรัตน์ ยังได้ลงพื้นที่พบปะกับพ่อแม่พี่น้องชาวสวนยางพารา เพื่อรับเรื่องปัญหาที่ดินทำกิน และราคายางพาราตกต่ำ รวมถึงปัญหาน้ำมันแพง โดยมีประธานกลุ่มแม่บ้านได้ยื่นหนังสือขอเครื่องครัวหมู่บ้านเพื่อไว้ใช้ ทั้งนี้ นายอนุรัตน์ได้ร่วมกับชาวบ้านในการเกลี่ยปรับแต่งหินคลุกลงถนน โดยใช้เวลาร่วมกิจกรรมกับพ่อแม่พี่น้องชาวขิงแกง เป็นเวลาร่วม 3 ชั่วโมงจากนั้นได้เดินทางลงพื้นที่ใน อ.เชียงคำต่อ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 27 สิงหาคม 2566

“คอซีย์ สส.ปัตตานี”เดินหน้าทำงานเชิงบูรณาการ ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รับฟังปัญหาของ ปชช.ก่อนนำเข้าหารือในสภาฯ

,

“คอซีย์ สส.ปัตตานี”เดินหน้าทำงานเชิงบูรณาการ ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รับฟังปัญหาของ ปชช.ก่อนนำเข้าหารือในสภาฯ

นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า ตนและกลุ่มเพื่อน”สส.คอซีย์ มามุ”ไ้ด้เชิญผู้บริหารท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตพื้นอำเภอหนองจิก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เพื่อพบปะ รับทราบปัญหาความเดือดร้อน และปัญหาต่างๆ ของพื่น้องประชาชน ตามแนวทางการเป็น สส.ที่มีคุณค่าในสภาผู้แทนราษฎรและปัตตานี รวมถึงการเปลี่ยนแปลงปัตตานีบนหลักการไม่ทอดทิ้งประชาชน

นายคอซีย์ กล่าวต่อว่า การเข้ามาเป็นผู้แทนราษฎรมีภารกิจ และบทบาทในสภาฯในการนำปัญหาเข้าหารือส่วนราชการ การขับเคลื่อนทีมงานในพื้นที่ การจัดแผนงานลงพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการทุกระดับ
ทั้งนี้ การเชิญผู้บริหารท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้านในครั้งนี้ ยังได้สะท้อนการทำงานแบบการมีส่วนร่วมและบูรณาการร่วมกันเพื่อนำข้อมูลปัญหาข้อเท็จจริงในพื้นที่นำเสนอต่อสภาเพื่อประสานเร่งรัด ดำเนินการต่อหน่วยงานราชการต่อไป

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 สิงหาคม 2566

“อามินทร์ มะยูโซ๊ะ”หวั่นภัยพิบัติสร้างผลกระทบที่ดินชายฝั่งพื้นที่ตากใบหาย เสนอหน่วยงานรัฐเร่งศึกษาแผนป้องกันการกัดเซาะลดความเดือดร้อนปชช.

,

“อามินทร์ มะยูโซ๊ะ”หวั่นภัยพิบัติสร้างผลกระทบที่ดินชายฝั่งพื้นที่ตากใบหาย
เสนอหน่วยงานรัฐเร่งศึกษาแผนป้องกันการกัดเซาะลดความเดือดร้อนปชช.

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ ส.ส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ได้ร่วมสังเกตการณ์ และรับฟังปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบ้านปูลาโต๊ะบีซู ต.ศาลาใหม่ อ.ตากใบ ที่กำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งตลอดแนว 3 กิโลเมตร ที่ส่งผลให้ที่ดินของชาวบ้านถูกกัดเซาะ จนหายไปปีละ 2 เมตรตลอดแนว ซึ่งเห็นว่าแนวทางการป้องกันยังไม่มีความคืบหน้า และแก้ไขได้ทันท่วงที

“แม้ว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เข้ามาดำเนินการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหา พร้อมประชุมรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านเป็นครั้งที่ 4 และมีแนวโน้มคืบหน้าในแนวทางการแก้ปัญหา แต่ยังติดที่โครงการดังกล่าว ต้องเข้าสู่กระบวนการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบส่ิงแวดล้อม (EIA) ตามกฎหมาย ที่ต้องใช้เวลาศึกษาหลายปีในขั้นตอนการทำแผนผลกระทบด้านส่ิงแวดล้อมในระยะยาว เห็นว่าประเด็นดังกล่าว อาจทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน หากไม่เร่งแก้ปัญหา เพราะผลกระทบจากสภาวะภูมิกาศโลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ฤดูกาล และภัยพิบัติทางธรรมชาติมีความรุนแรงในอดีต”

อย่างไรก็ตามในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรในพื้นที่ จะพยายามผลักดัน ให้เกิดการแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วเพื่อไม่ให้ประชาชน ได้รับผลกระทบในเรื่องของที่ดิน และที่ทำกิน สูญหายไปกับธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องเร่งพิจาณาแนวทางในการดำเนินโครงการฯให้กับประชาชนโดยเร็ว โดยเฉพาะการเร่งขั้นตอนการอนุมัติผลกระทบด้านส่ิงแวดล้อม

#สส_อามินทร์ #สส_ของคนโกลก_ตากใบ #คำไหนคำนั้น #ผู้รับใช้ประชาชน #พร้อมชนทุกสถานการณ์ #พรรคพลังประชารัฐ #พลังคนรุ่นใหม่

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 26 สิงหาคม 2566

“ส.ส.ภาคภูมิ” พปชร.ร่วมโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน สะท้อนปัญหาสู่แนวแก้ไขในพื้นที่

,

“ส.ส.ภาคภูมิ” พปชร.ร่วมโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน สะท้อนปัญหาสู่แนวแก้ไขในพื้นที่

นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ตาก เขต 3. กล่าวว่า ได้ร่วมโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีประโยชน์กับพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก ต้องขอขอบคุณคณะกรรมการโครงการ ที่เลือกพื้นที่ อ.ท่าสองยาง อ.แม่ระมาด และอ. บ้านตาก เพื่อรับฟัง และนำเสียงสะท้อน ของประชาชน ที่จะต้องได้รับการแก้ไข ผ่านผู้นำท้องที่ ท้องถิ่นทั้งสามอำเภอ เพื่อเป็นข้อมูลที่จะให้สมาชิกวุฒิสภาไป เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น- ปัญหาการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าเพื่อทำถนน ไฟฟ้า ปะปา แหล่งน้ำ การสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ปัญหาด้านการศึกษา สาธารณสุข และการสื่อสาร ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินที่อยู่ในพื้นที่ป่า รวมถึงเรื่องปัญหาชายแดนที่มีการลักลอบข้ามแดน การสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง และเรื่องอื่นๆที่เป็นความทุกข์ร้อนของพี่น้องประชาชนอีกหลายเรื่อง

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2566

“พล.อ.ประวิตร” นั่ง “ประธาน” ถก “กนภ.” เร่งรับมือสภาพอากาศผันผวนรุนแรง

,

“พล.อ.ประวิตร” นั่ง “ประธาน” ถก “กนภ.” เร่งรับมือสภาพอากาศผันผวนรุนแรง

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแห่งชาติ (กนภ.) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมประชุม เพื่อปรับปรุงองค์กรและระเบียบราชการ รับงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ซึ่งได้รับทราบถึงการปรับปรุงกฎกระทรวงและการแบ่งส่วนราชการ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2566 ที่เปลี่ยนชื่อจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยจะทำหน้าที่จะเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ยังทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานกลางของประเทศ ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นหน่วยให้บริการข้อมูลข่าวสารเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วนต่อไป

ที่ประชุมมีมติแก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการปรับปรุงองค์ประกอบคณะอนุกรรมการภายใต้ กนภ.จำนวน 8 คณะ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเสนอให้ส่วนราชการต่างกระทรวง มีหน่วยงานรองรับร่วมขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าวไปด้วยกัน

“การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ นับวันจะมีความผันผวนและทวีรุนแรงมากขึ้น โดยมีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นเรื่องรอไม่ได้ ที่จะต้องเตรียมการรับมือ โดยกำชับขอให้คณะกรรมการฯ รวมทั้ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ศึกษา ติดตามและขับเคลื่อนดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในและระหว่างประเทศ เตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นไปด้วยกัน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจและความร่วมมือกัน รับมือกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งการป้องกันและการแก้ปัญหาไปพร้อมๆกัน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้มากที่สุด” พล.อ.ประวิตร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 25 สิงหาคม 2566

“ชัยมงคล” เป็นปากเสียงแทนชาวสว่างแดนดิน 3 ตำบลไร้ตำรวจเหลียวแล วอนตำรวจเพิ่มความปลอดภัยในชุมชน พร้อมเสนอปรับปรุงถนนระหว่างอ.เจริญศิลป์ – อ.สว่างแดนดิน

,

“ชัยมงคล” เป็นปากเสียงแทนชาวสว่างแดนดิน 3 ตำบลไร้ตำรวจเหลียวแล
วอนตำรวจเพิ่มความปลอดภัยในชุมชน พร้อมเสนอปรับปรุงถนนระหว่างอ.เจริญศิลป์ – อ.สว่างแดนดิน

นายชัยมงคล ไชยรบ สส.สกลนคร เขต 5 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เนื่องจากอำเภอสว่างแดนดินเป็นอำเภอขนาดใหญ่ มีสถานีตำรวจอยู่ 3 สถานี สถานีที่มีปัญหาคือ สถานีภูธร อำเภอสว่างแดนดิน ซึ่งมีเขตรับผิดชอบอยู่ 12 ตำบลและมีอยู่ประมาณ 3 ตำบล ที่อยู่ติดกับจังหวัดอุดร แต่ไม่มีตำรวจเข้าไปดูแล ซึ่งได้รับการร้องเรียนจากผู้นำท้องที่อย่างผู้ใหญ่บ้าน กำนัน โดยไม่ได้ร้องเรียนธรรมดา เนื่องจากประชาชนไม่ได้รับการเอาใจใส่จากตำรวจ จึงได้บริจาคเงินสร้างป้อมตำรวจชุมชน ติดแอร์ให้ด้วย โดยหวังว่าจะมีตำรวจไปดูแล ไปประจำอยู่ที่ป้อม

“ผู้ใหญ่และกำนันได้ไปพบผู้บังคับบัญชาการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร เพื่อขอเจ้าหน้าที่ตำรวจไปประจำการที่ป้อม ผ่านมา 4 เดือน ก็ยังไม่มีตำรวจใดๆ ไปประจำการอยู่ มีแต่ตำรวจอาสา ซึ่งเป็นประชาชน
วันนี้ประชาชนชายขอบปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการดูแลจากตำรวจ แต่ไปปฏิบัติหน้าที่ด้านอื่นในเมือง แม้ว่าจะชุมชนได้สร้างสถานที่ปฏิบัติและอำนวยความสะดวกแล้วก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่ต้องการคือความเท่าเทียม และดูแลทุกข์สุขของประชาชน ข้าราชการตำรวจควรที่จะให้ความเท่าเทียมกับประชาชนในท้องที่ด้วย”นายชัยมงคล กล่าว

นายชัยมงคล กล่าวต่อว่า หน่วยความรับผิดชอบของกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นถนนสาย 2042 เป็นถนนเชื่อมระหว่างอำเภอเจริญศิลป์ และอำเภอสว่างแดนดิน ที่ประชาชนอำเภอเจริญศิลป์ สามารถที่จะเดินทางเข้าจังหวัด และย่นระยะทางได้ 40 กิโลเมตร แต่ยังเป็นถนนลูกรังอยู่ จึงขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกรุณาช่วยไปทำให้ด้วย นอกจากนี้อำเภอสว่างแดนดิน เป็นอำเภอขนาดใหญ่ และมีหลายอำเภอที่จะเข้าอุดรราชธานี และสกลนคร ต้องผ่านอำเภอสว่างแดนดิน และกรมทางหลวงได้ไปสำรวจถนนเลี่ยงเมือง ทั้งทำประชาคมทั้งทำEIA ตั้งแต่ปี 2557 ผ่านมา 9 ปี ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ตนจึงอยากวิงวอนกรมทางหลวง ช่วยไปทำเรื่องนี้ให้ด้วย เพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุ และทำให้คนสว่างแดนดินที่รอคอยมานานได้สมหวังกันสักที

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 สิงหาคม 2566

“คอซีย์ สส.ปัตตานี”วอน อธิบดีกรมป่าไม้ เร่งวางแนวทางให้กับ ปชช.ได้รับสิทธิการใช้ที่ดินถูกต้องตาม กม.หลังไม่สามารถเข้าพื้นที่ปลูกยางพารา-ทุเรียน ได้

,

“คอซีย์ สส.ปัตตานี”วอน อธิบดีกรมป่าไม้ เร่งวางแนวทางให้กับ ปชช.ได้รับสิทธิการใช้ที่ดินถูกต้องตาม กม.หลังไม่สามารถเข้าพื้นที่ปลูกยางพารา-ทุเรียน ได้

นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงความเดือดร้อนของประชาชน ที่ตนได้มีการประชุมร่วมรับฟังกับผู้บริหารท้องถิ่นและกำนันในเขตพื้นที่ โดยนายก อบต.ทรายขาว ขอให้เร่งรัดแก้ไขพื้นที่ทำกินให้กับพี่น้องประชาชนในเขตตำบลทรายขาว และตำบลใกล้เคียง เนื่องจากมีผู้ได้รับผลกระทบไม่น้อยกว่า 2,000 ครัวเรือน เพราะพื้นที่ดังกล่าวปัจจุบันมีการกำหนดให้เป็นเขตป่าไม้ ก่อนและหลังที่ประชาชนเข้าไปทำประโยชน์ เพื่อปลูกยางพารา ปลูกทุเรียน และที่อยู่อาศัย

นายคอซีย์ กล่าวต่อว่า ต่อมาเมื่อกรมป่าไม้ตามเก็บข้อมูลจากประชาชนเพื่อตรวจสอบสถานะสิทธิ์ก็พบว่า ประชาชนบางรายมี สค.1 บางรายก็ได้ทำประโยชน์อย่างยาวนานและเปิดเผย ตนจึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอธิบดีกรมป่าไม้ เร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ดังนี้

1.ขอให้แก้ไขปัญหากรณีที่ประชาชนไม่สามารถเข้าทำการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อโค่นยางพารา ต้นทุเรียนที่หมดอายุ เพื่อที่จะเพาะปลูกใหม่ เพราะวันนี้มีการจับกุมประชาชนที่เข้าไปดำเนินการ ทั้งที่ ทุเรียนทรายขาวเป็นทุเรียนที่มีชื่อเสียง สร้างรายได้ให้กับชาวปัตตานีเป็นอย่างมาก ถ้าปลูกทดแทนไม่ได้ประชาชนก็จะไม่มีรายได้
2.ช่วยเร่งพิจารณาเรื่องที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้ เพื่อการพัฒนาก่อสร้างถนนไฟฟ้า แหล่งน้ำ ให้กับประชาชน เพราะว่าคำขอตกค้างมานาน การที่ประชาชนได้ใช้สิทธิในเขตดังกล่าวนี้ไม่ใช่เป็นการบุกรุก แต่ประชาชนกำลังช่วยสร้างมูลค่าทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัดปัตตานี จึงขอฝากไปยังอธิบดีกรมป่าไม้ เร่งวางแนวทางให้กับประชาชนได้รับสิทธิการใช้ที่ดินอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

นายคอซีย์ กล่าวต่อว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากนายก อบต.ท่าเรือ เกี่ยวกับปัญหาภารกิจที่ได้รับถ่ายโอนจากกรมชลประทาน ซึ่งประกอบด้วยคลองส่งน้ำประตูน้ำในพื้นที่หมู่ที่2 หมู่ที่4 และหมู่ที่ 6 ซึ่งปัจจุบันมีสภาพไม่พร้อมที่ใช้ประโยชน์ ซึ่ง อบต.ท่าเรือ มีงบประมาณไม่เพียงพอในการซ่อมแซม ทำให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 500 ไร่ และยังกระทบต่อการส่งน้ำเค็ม ในช่วงน้ำทะเลหนุน จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผ่านไปยังอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวให้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 2ภ สิงหาคม 2566

“วรโชติ สส.เพชรบูรณ์”พูดแทนชาวเพชรบูรณ์ หลายปัญหาที่ยังรอการจัดสรรงบประมาณมาแก้ไข ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวเร่งดำเนินการให้ ปชช.

,

“วรโชติ สส.เพชรบูรณ์”พูดแทนชาวเพชรบูรณ์ หลายปัญหาที่ยังรอการจัดสรรงบประมาณมาแก้ไข ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวเร่งดำเนินการให้ ปชช.

นายวรโชติ สุคนธ์ขจร สส.เพชรบูรณ์ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ได้หารือสภาผู้แทนราษฎรถึงความเดือดร้อนของประชาชนว่า ถนนเส้นโรงเรียน ดงขุยวิทยาคม ตำบลดงขุยไปถึงบ้านหนองกุ่ม ตำบลดงขุย ไปตำบลศาลาลาย ถนนเส้นนี้ได้รับการถ่ายโอนมาจาก ทางหลวงชนบท ระยะทาง 8 กิโลเมตร ปัจจุบันไม่มีงบประมาณในการพัฒนา ประชาชนเดือดร้อนมาก ถนนเส้นนี้ นักเรียนนักศึกษาที่ใช้ในโรงเรียนหนองขุยวิทยาคม ไม่สามารถเดินทางได้สะดวก จึงขอฝากไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ของบประมาณในการดูแลถนนเส้นนี้ด้วย

นายวรโชติ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ถนนจากอำเภอ วังโป่ง ไปโรงพยาบาลวังโป่ง ซึ่งจริงๆแล้วถนนเส้นนี้จะได้รับงบประมาณประมาณ ปี 2567 แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในการจัดตั้งรัฐบาลของสภาฯได้ล่าช้า กลัวงบประมาณจะไม่ทันการณ์ จึงขอฝากให้กระทรวงคมมนาคมช่วยพิจารณาจัดสรรงบประมาณ เนื่องจากพี่น้องประชาชนเดือดร้อน โดยเฉพาะการสัญจรที่จะเข้าไปโรงพยาบาลไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร

อย่างไรก็ตามยังมีถนนเส้น 3101 เป็นถนนสายหลักของ3 จังหวัด คือ จังหวัดเพชรบูรณ์แจังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก แต่ถนนเส้นนี้กลับไม่มีไฟส่องทาง และพื้นถนนระยะทาง 19 กิโลเมตรมีสภาพไม่ดี ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตั้งไฟส่องทาง และงบเพื่อพัฒนาถนนเส้นนี้ด้วย

“ปัญหาของจังหวัดเพชรบูรณ์ตอนนี้คือ ภัยแล้ง ซึ่งจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่ทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นข้าวข้าวโพด แล้วก็ผลไม้ต่างๆแวันนี้ฝนไม่ตกท่าน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าเป็นไปได้ช่วยจัดสรรงบประมาณดูแลเรื่องทำฝนเทียมหรือว่าฝนหลวง ทั้ง 11 อำเภอ 98 ตำบล พื้นที่ได้รับความเสียหาย 510,000 กว่าไร่ วันนี้เราได้นายกรัฐมนตรีแล้ว อยากได้เรื่องนี้ตามมาอย่างเร่งด่วน เพราะว่าข้าวข้าวโพดและ พืชผลทางการเกษตรของพี่น้องจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้รับความเสียหายอย่างมากถึง 500,000 กว่าไร่แล้ว”นายวรโชติ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 สิงหาคม 2566

“สุธรรม สส.นครศรีธรรมราช”เร่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตั้งสัญญาณไฟจราจร 2 จุด บนเส้นทางหลัก หลังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งจากจราจรที่คับคั่ง

,

“สุธรรม สส.นครศรีธรรมราช”เร่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตั้งสัญญาณไฟจราจร 2 จุด บนเส้นทางหลัก หลังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งจากจราจรที่คับคั่ง

นายสุธรรม จริตงาม สส.นครศรีธรรมราช เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนขอขอบคุณที่ไว้วางใจให้เป็นตัวแทนของพี่น้องของอำเภอทุ่งสง ตนจะขอปฎิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด ทั้งในสภาแห่งนี้และนอกสภา ซึ่งวันนี้ตนจะหารือถึงความเดือดร้อนของประชาชน โดยขอให้ติดตั้งสัญญาณไฟจราจร บริเวณสามแยกจุดกลับรถ สามแยกตลาดนัด ต.ที่วัง อ.ทุ่งสง เส้นทางหลวงหมายเลข 403 ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราชกับจังหวัดตรัง โดยสามแยกจุดกลับรถแห่งนี้มีการจราจรคับคั่งตลอดทั้งวัน เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ และเป็นที่ตั้งของโรงงานปูนซีเมนต์ ไทย สาขาภาคใต้ ส่งผลให้มีรถบรรทุกขนาดใหญ่ วิ่งสัญจรไปมาตลอดทั้งวัน

นายสุธรรม กล่าวต่อว่า สภาพแวดล้อมที่มีทั้งตลาดนัด จุดกลับรถ คนข้ามถนน และรถบรรทุกขนาดใหญ่ ประกอบกับมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ถึง 2 โรงงาน และไม่มีไฟสัญญาณจราจร ทำให้เกิดอุบัติเหตุง่ายขึ้น ส่งผลกระทบกับประชาชนและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งติดตั้งสัญญาณไฟจราจร ที่บริเวณสามแยกจุดกลับรถด้วย

นอกจากนี้ นายสุธรรม กล่าวว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง ถึงปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง บริเวณสี่แยกวังขรี เส้นทางหลวงหมายเลข 4116 ช่วงอำเภอบ่อน้ำร้อน กม.ที่ 2+960 ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักมุ่งหน้าสู่ อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อมุ่งหน้าต่อจังหวัดกระบี่ เส้นทางสายนี้มีพี่น้องใช้สัญจรเป็นจำนวนมาก มีทั้งโรงเรียนวัดดงขรี และร้านสะดวกซื้อ โดยในช่วงสองปีที่ผ่านมามีหมู่บ้านจัดสรรทยอยขึ้นบริเวณแห่งนี้หลายโครงการ ทำให้มีการจราจรคับคั่ง ส่งผลทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ตนขอฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 2 กรมทางหลวงคมมนาคม เพื่อเร่งให้ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรสองจุดนี้ อย่างเร่งด่วนด้วยครับ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 สิงหาคม 2566

“อัครแสนคีรี”แนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขุดลอกเขื่อนลำปะทาว กำจัดตะกอนดิน เพิ่มความจุในเขื่อน ป้องกันน้ำท่วม จ.ชัยภูมิ

,

“อัครแสนคีรี”แนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขุดลอกเขื่อนลำปะทาว กำจัดตะกอนดิน เพิ่มความจุในเขื่อน ป้องกันน้ำท่วม จ.ชัยภูมิ

วันที่ 22 ส.ค.2566 ที่รัฐสภา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)มอบหมายให้ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการ พปชร.รับหนังสือจากสหพันธ์ครูแสะบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย โรงเรียนบ้านหันเชียงเทียน ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม ภายใต้การประสานงานโดยนายปรีดา บุญเพลิง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคครูไทยเพื่อประชาชน

สำหรับโดยหนังสือดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ ขอให้คณะกรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)พิจารณามติก.ค.ศ.ที่คลาดเคลื่อนเพื่อเยียวยาผู้ส่งผลงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการว13/2556 น้ำสู่การพิจารณารับรองคุณสมบัติข้ารับการประเมิน โดยการเปิดประชุม ก.ค.ศ.

ทั้งนี้ ในรายละเอียดหนังสือ ยังอ้างถึง
1. หนังสือที่ศธ 0206.3/ว(23 สิงหาคม 2566 )นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงโครงการขุดลอกเขื่อนลำปะทาวและขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า โดยเขื่อนลำปะทาวซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกรมพัฒนาพลังงานทดแทน สังกัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งปัจจุบันเขื่อนลำปะทาวประกอบไปด้วย เขื่อนบนและเขื่อนล่าง ตั้งอยู่บนเขาของจังหวัดชัยภูมิ เขื่อนด้านบนจะอยู่ทางซ้าย เขื่อนด้านล่างจะอยู่ด้านขวา เป็นตัวผลิตไฟฟ้า เป็นเครื่องที่ตั้งอยู่ตีนเขา กรณีผลิตไฟฟ้าจะต้องปล่อยน้ำลงมาจากบนเขา ส่งไปที่ตัวเครื่องเจนเพื่อผลิตไฟ แล้วก็ป้อนไฟเข้าระบบ ในส่วนของเครื่องเจนเองจะอยู่ตรงตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอแก่งคล้อ หลังจากที่มีการสร้างเขื่อนนี้ มีการผลิตไฟฟ้า มีการปล่อยน้ำลงมา ก็จะได้ประโยชน์สองเรื่องหลักๆ เรื่องแรกคือเรื่อง ไฟฟ้าที่ได้ใช้ เรื่องที่ 2 คือ เกษตรกรที่อยู่ในเขตนาหนองทุ่มจะได้ใช้น้ำในการปล่อยน้ำลงมา เพื่อผลิตไฟฟ้า

นายอัครแสนคีรี กล่าวต่อว่า ขณะนี้เขื่อนลำปะทาว กำลังพบเจอปัญหาวิกฤติ หลักๆ คือการที่ไม่สามารถเก็บน้ำในเขื่อนได้ ปัจจุบันเขื่อนลำปะทาวเขื่อนบน ฃสามารถเก็บน้ำได้ 44 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนล่างกักเก็บน้ำได้ประมาณ 14 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่หลังจากสร้างใช้ระยะเวลานานยังไม่มีการขุดลอกในเขื่อน ทำให้เกิดปัญหา คือทำให้มีตะกอนดินสะสมมหาศาลจากการสำรวจพบว่ามีอยู่หลายล้านคิว ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมหรือเกิดเหตุ ช่วงพายุเข้ามาก็จะทำให้น้ำที่อยู่ในเขื่อนไหลทะลักและเข้าท่วมจังหวัดชัยภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศบาลเมือง

“ผมมีข้อเสนอ 2 ข้อ ข้อแรกคือ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการขุดลอกเขื่อนลำปะทาวทั้งเขื่อนบนและเขื่อนล่าง ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับคือ ได้กำจัดตะกอนดิน เพิ่มความจุในเขื่อน และสามารถขยายกำลังผลิตไฟฟ้าได้ เพราะมีน้ำไว้ผลิตไฟมากขึ้น
นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันปัญหาน้ำไหลไปท่วมในตัวจังหวัดชัยภูมิ เมื่อเราเก็บน้ำได้มากขึ้นแล้ว ปัญหาน้ำที่จะล้นก็จะน้อยลง”

ข้อ 2 เพิ่มกำลังการผลิตไฟ โดยการติดตั้งเครื่อง Generator ในพื้นที่ตำบลโคกกุงซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับ ตำบลนาหนองทุ่ม จุดผลิตไฟเดิม และโดยตำบลโคกกุงนั้นเป็นพื้นที่แห้งแล้ง ซึ่งเกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากน้ำที่ปล่อยลงมาเพื่อผลิตไฟ มีตัวอย่างให้เห็นที่ ตำบลนาหนองทุ่ม

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 สิงหาคม 2566